ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากหนังเรื่อง “YESMAN”  (อ่าน 2785 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากหนังเรื่อง “YESMAN”
 
 
หนังเรื่องนี้ เป็นหนังที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมได้เปิดรับและพร้อมที่จะเรียนรู้โลกกว้าง ได้ดีอีกเรื่องหนึ่ง
 
 
หนังเรื่องนี้ เป็นหนังที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมได้เปิดรับและพร้อมที่จะเรียนรู้โลกกว้าง ได้ดีอีกเรื่องหนึ่ง


หนังเรื่องนี้นักวิจารณ์หนังบอกว่าเป็นการขายมุขเดิมๆ ของ จิม แครี ซึ่งมีการดำเนินเรื่องคล้ายกับหนังเรื่อง Liar Lair ของเขาเองเมื่อหลายปีก่อน แต่ในมุมมองของผมแล้ว หนังเรื่องนี้ เป็นหนังที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผมได้เปิดรับและพร้อมที่จะเรียนรู้โลกกว้าง ได้ดีอีกเรื่องหนึ่ง

เรื่องราวของหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มพนักงานสินเขื่อชื่อคาร์ล อัลเลน ที่รับบทโดย จิม  แครี ในช่วงแรกของเรื่องคาร์ลเป็นคนที่ปิดตัวเอง หมกตัวดู VDO อยู่ในห้องพักคนเดียว ไม่สุงสิงกับใคร เนื่องจากถูกแย่งคนรักไป ในชีวิตมีแต่คำว่า “NO” ชีวิตจึงตกต่ำอยู่ตลอด ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม หน้าที่การงานตกต่ำ จนกระทั่งได้พบกับนิคเพื่อนเก่าของเขารับบทโดยจอห์น ไมเคิล ฮิกกินส์ แนะนำให้เขารู้จักกับเทอร์เรนซ์ บันด์ลี่ วิทยากรเจ้าของโครงการสัมนาเพื่อช่วยเหลือตนเอง ชีวิตของเขาก็เปลี่ยนไป จากที่เคยปฏิเสธก็ตอบรับทุกเรื่อง ทำให้เขาได้รับโอกาสดีๆ ทั้งในเรื่องของความรักและหน้าที่การงาน


หนังเรื่องนี้ผมคิดว่าตัวเนื้อเรื่องสอนให้เรารู้จักการเรียนรู้เพื่อเปิดโลกกว้าง ในบางเรื่องที่เราไม่เคยทำ ไม่เคยรู้ ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมโยง หรือจุดประกายสิ่งที่เราเคยทำ หรือเคยรู้แบบเดิมๆ ซ้ำๆ ถ้าเปรียบเทียบกับการสร้างนวัตกรรม เมื่อเราอยู่ในที่เดิมๆ บรรยากาศเดิมๆ การเรียนรู้ก็จะแคบ ไม่สามารถแตกประเด็นจุดประกายเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาต่างๆ เมื่อเราหมกมุ่นอยู่กับปัญหานั้น เราก็จะไม่เห็นปัญหา แต่ถ้าหยุดคิด ปล่อยวาง เราจะเห็นว่าทางออกของปัญหาก็จะผุดขึ้นมาเองโดยที่เราไม่ต้องคิด

อย่างไรก็ตามตัวละคร คาร์ล อัลเลน เชื่อว่า ลัทธิ “Yes” คือ ปาฏิหาริย์ เขาเชื่ออย่างงมงาย จึงตอบ “Yes” ไปกับทุกเรื่อง ซึ่งวิทยากรในเรื่องก็บอกแล้วว่าถ้าคิดว่าไม่ใช่ก็ไม่ใช่ ต้องใช้วิจารญาณพิจารณา ในหนังเรื่องนี้ก็สอนให้เราคิดพิจารณาให้รอบคอบ รอบด้าน เดินสายกลางก่อนตัดสินใจ ซึ่งทางพุทธศาสนาเราก็มีหลักการของปรัชญานี้สอนไว้อย่างชัดเจนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายกลาง ทำอะไรให้พอดี อย่าเชื่ออะไรง่ายๆตามหลักกาลามสูตร พิจารณาการดำเนินการด้วยหลักโยนิโสมนสิการ (ผมเคยเขียนบันทึกเรื่องเหล่านี้ไว้ใน http://gotoknow.org/blog/attawutc/217939 )

ตัวละครที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งคือ คาร์ล – นอร์แมน หัวหน้าของ คาร์ล รับบทโดย รีส ดาร์บี้ ผมคิดว่าเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดีคนหนึ่ง ปกครองลูกน้องด้วยใจ สนุกกับงาน เอาใจ ใส่ดูแล ให้กำลังใจ ให้โอกาส ลูกน้อง เป็นคนในระดับ I in You คนหนึ่ง ( I in You เป็น 1 ใน 4 ระดับ ของ  4 Social Field ใน Theory U –ของ Otto C Scharmer   ที่ท่านไร้กรอบได้บันทึกไว้ ตาม Link นี้ http://gotoknow.org/blog/ariyachon/162927)
ในเรื่องจะเป็นคนที่สร้างบรรยากาศการทำงานได้ดีมาก ลูกน้องไม่รู้สึกกดดัน เป็นหัวหน้าที่มีพรหมวิหารธรรมค่อนข้างดีคนหนึ่งเลยทีเดียว

ข้อมูลอ้างอิงและภาพบางส่วนจาก http://hilight.kapook.com/view/20756 และ http://www.nangdee.com/title/html/m1643.html

 
http://gotoknow.org/blog/attawutc/268337
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...