ผู้เขียน หัวข้อ: ปัจจุบันจิต - ปัจจุบันธรรม  (อ่าน 2486 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ปัจจุบันจิต - ปัจจุบันธรรม
« เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2011, 07:33:14 pm »



[wma=250,50]http://www.se-ed.com/ads/pr/sile/song/07.%20Track%207.wma[/wma]

<a href="http://d1.scribdassets.com/ScribdViewer.swf?document_id=54592860&amp;access_key=key-1y8my7m1fgevvc4muaz6&amp;page=1&amp;viewMode=list" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">http://d1.scribdassets.com/ScribdViewer.swf?document_id=54592860&amp;access_key=key-1y8my7m1fgevvc4muaz6&amp;page=1&amp;viewMode=list</a>



http://www.facebook.com/itsariyathanakorn

http://twitter.com/soka45

http://forums.212cafe.com/boxser/



......................................มัชฌิมประภาสปุญสถาน.........................

ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญอนุตรวิถี กลับจิตแปรใจ ได้คืนจิตเดิม มีความสงบเย็นใจกาย ปราศจากเสียซึ่งสรรพกำทุกข์ ปลอดพ้นจากภัยเวร สงครามข้าวยาก ด้วยเดชะบุญนี้ จงช่วยค้ำชูบิดา - มารดา ครูบาอาจารย์ - ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท - มิตรรัก ศัตรูหมู่มาร สรรพเจ้ากรรมนายเวร เทวาทุกชั้นฟ้า อารักษ์ทั่วชั้นดิน เหล่าภูติ นาคา - นาคี เหล่าวิญญา - หมู่เปรต - อสูรกายเหล่าสัตว์ใด ๆ จงเป็นผู้ได้รับอานิสงค์เดชะแห่งผลบุญนี้ถ้วนทั่วทุกคนเทอญ......................

นำมาแบ่งปันโดย..  時々sometime
อนุโมทนาสาธุค่ะ...


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปัจจุบันจิต - ปัจจุบันธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 28, 2013, 03:55:51 pm »

"คติธรรม..
ปัจจุบันจิต..ปัจจุบันธรรม..
นิ่งดับ..ขยับเกิด "

ผู้เรียบเรืยง :ธีรขณะ
intarawimon : 19-05-2012
/ประสบการณ์ เรื่องเล่า ://board.palungjit.
 
(ลำดับที่ ๑)
คติธรรม คำกลอนเล่มนี้ผู้เขียนได้รวบรวมหัวข้อธรรมะ ที่หลวงปู่หลวงพ่อครูบาอาจารย์ท่านได้กลั่นกรองออกมาจากจิตที่เข้าถึงแก่นธรรม เผื่อนักปฏิบัติธรรมท่านใด มีจริตตรงกับการภาวนาแนวทางดูจิต (จิตตานุปัสสนา) เพื่อจิตจะได้เห็นแจ้งตามคำสอนท่านและจะเป็นแนวทางได้เป็นอย่างดี ไม่ออกนอกทางมัชฌิมาหรือปัจจุบันจิต ปัจจุบันธรรม ถ้าเรามีนิสัยวาสนามีปัญญา...ทุกคำกลอนจะเป็นว่า.. ให้เราเข้าถึงจิตเดิม ละถอนอัตตาตัวตน ว่าเราว่าของของเราตัวกูของกู "อุปาทานาเวรมณี" งดเว้นจากการยึดถือ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเรา สักกายทิฏฐิ สังโยชน์ ข้อแรก ถ้ายังเห็นผิดหลงผิดอยู่ ความเป็นอริยะจะเกิดขึ้นไม่ได้ ก็ต้องเวียนว่ายในวัฏสังสารต่อไป ความเป็นอริยะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อวิสุทธิ ๗ สัปปุริสธรรม ๗ สมบูรณ์พอสมควร...เมื่อนักปฏิบัติภาวนาไปได้รู้ได้เห็นสภาวธรรมใดที่เกิดขึ้น ก็ให้เป็นสักแต่ว่าเป็นอย่าได้ไปใส่ใจ ให้ยึดหลักธรรมที่หลวงปู่ท่านว่า
 "จงรู้ทุกอย่างที่จิตรู้ แต่อย่าไปติดในรู้นั้น" 

หรือที่พระพุทธองค์ทรงได้ตรัสไว้ว่า
,,,,  "ถึงแม้ ตถาคต จะรู้ธรรมเห็นธรรมทั้งหลาย แต่ ตถาคต ไม่ยึดติดในรู้นั้น ตถาคต จึงได้พบกับความสุข ความสงบอันสูงสุด"  ,,,,
ขอให้นักปฏิบัติธรรมทุกท่านจงจำให้ขึ้นใจจะได้ไม่เนิ่นช้าในการปฏิบัติ
.. .. .. ธีรขณะ เขียน .. .. ..

การตัดเวร ตัดกรรม คือการตัดความคิดปรุ่งแต่งการหยุดความคิดปรุงแต่ง คือการหยุดวัฏสงสาร การข้ามพ้นจากโลกทั้งสามหมายความว่าอย่างไร....... คือการยกจิตอยู่เหนือความเป็นคู่ จากความดี ความชั่ว ความกลัว ความกล้า ยินดี ยินร้าย.. โลกทั้งสามจะดับหายไป ถ้าได้ลุถึงขั้นที่..อยู่เหนือความคิด... เมื่อความคิดปรุ่งแต่งเกิดขึ้นก็เข้าไปสู่ภูมิทั้งสาม เมื่อความคิดหยุด ก็ออกมาจากภพทั้งสาม การก้าวพ้นจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นพุทธะ ทำให้สิ้นกรรม จงดูแลรักษาความรู้สึกตัวทั่วพร้อมให้ต่อเนื่อง (เจริญสติสัมปชัญญะ) เมื่อใดปุถุชน เห็นธรรมชาติของตนเองอุปาทานทั้งปวง ก็หมดไป ความรู้สึกตัวทั่่วพร้อมไม่ใช่สิ่งลึกลับ แต่สามารถพบมันได้ในปัจจุบันขณะ.. อกาลิโก
คำสอน  พระโพธิธรรม ตั๊กม้อ

" อย่าให้จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก
ถ้าเผลอ.. เมื่อรู้ตัวให้ดึงจิตกลับมา
(ให้อยู่กับปัจจุบันรู้ตัวทั่วพร้อม)
อย่าปล่อยให้มันรู้อารมณ์ ดีหรือชั่ว สุขหรือทุกข์
ไม่คล้อยตามและไม่หักหาญ
(อยู่กับอิริยะบัพพะนี่แหละทุกข์ไม่เกิด)"
"หลวงปู่ดูลย์"

จิต คือ ผู้คิดผู้นึกในอารมณ์ต่างๆ ส่วนกิเลส อันเป็นต้นเหตุมาครอบงำจิตทำให้จิตเศร้าหมองขุ่นมัว จึงต้องฝึกหัดเจริญสติสัมปชัญญะควบคุมจิตให้รู้เท่าทันจิต "คำว่ารู้เท่า" คือสติรู้จิตอยู่ไม่ขาดไม่เกินยิ่งหย่อนกว่ากัน สติกับจิตเท่าเสมอกันนั้นเอง "คำว่ารู้ทัน" คือ สติทันจิตว่าคิดนึกอะไร พอจิตคิดนึกสติก็จะรู้สึกทันที ปรุงพรับก็ดันพร้อม เรียกว่ารู้ทันแต่ถ้าจิตนึกคิดแล้วจึงรู้นี้ เรียกว่า " รู้ตาม " อย่างนี้เรียกว่า ไม่ทันจิต ถ้าทันจิตแล้วจะไม่มีตัณหาตามมาเป็นอุเบกขาจิต เอกัคคตาจิต ญาณจิต วิสุทธิจิต วิสุทธิธรรม...
" หลวงปู่เทสก์ "

ผู้ที่จะเป็นพระอริยบุคคลทั้งหลายจะบรรลุนิพพานก็ดี จะต้องทำจิตให้เป็นกลาง วางจิตให้เป็นหนึ่งเหมือนกันทั้งหมดเลย ทั้งนักบวช ทั้งคฤหัสถ์ ต่างกันแต่ใคร จะทำให้จิตเป็นกลางนานเท่าใด เร็วเท่าไรเท่านั้น มันต่างกันตรงนี้..เวลากระทบผัสสะ อายตนะทั้ง ๖
" หลวงปู่เหรียญ"

จิตของเราที่ไปคลุกคลีอยู่กับอารมณ์ แส่หาอารมณ์ เพราะใจไม่มีหลัก ถ้าใจได้หลัก จิตจะถอนจากอารมณ์กลับเข้ามาอยู่ตามปกติของจิตที่ไม่มีอารมณ์..อนารัมณัง สิ่งนั้นไม่มีอารมณ์ ความเป็นคนเป็นสัตว์ เป็นเราเป็นเขา มันเกิดจากใจของเราที่ไม่เเจ่มชัดในกองธาตุกองขันธ์ ถ้าแจ่มแจ้งในกองธาตุกองขันธ์แล้ว ความเป็นสัตว์เป็นบุคคลจะเกิดขึ้นไม่ได้
"หลวงปู่แบน"

ชอบถามนั้นเป็นเรื่องดี แต่ถ้าตัวเองไม่คิดเลยเอาแต่ถาม แม้จะได้รับคำตอบที่ถูกต้อง ก็หาเกิดประโยชน์มากมายไม่ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องศึกษาก่อนถาม.. ผู้รู้จริง ตอบคำถามต่อผู้ถามที่อยากรู้ แต่ไม่ตอบคำถามต่อผู้ถามที่อยากถาม
คำถามที่ดีที่สุดต้องผ่านการตอบ ที่พิจารณาด้วยตนเองเสียก่อนที่จะถาม คำตอบที่ดีที่สุด คือคำตอบที่เหมาะสมแก่ผู้ถามซึ่งมันจะเป็นจริงหรือไม่ก็ช่างคำตอบมันเถอะ คำถามที่น่าสนใจ คือ**คำถามที่ไม่ผ่านคำพูดและคำตอบที่ไม่ผ่านคำพูด** คือคำตอบที่ควร*ตั้งใจฟัง*ที่สุด
"ท่านจันทร์"
** ** ** ** ** ** ** ** **

"รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตอย่าได้ไปใส่ใจ"
แนวการภาวนาของหลวงปู่หลวงพ่อ ว่าโดยย่อให้มีสติรู้อยู่กับที่(ปัจจุบันธรรม) ปัดทุกอย่างที่ผุดขึ้นมาในจิตอย่ารอรี จงกระทำอยู่ ณ จุดนี้ทุกวี่วัน
.. .. ..
" จงทำญาณให้เห็น จิต เหมือนตาเห็นรูป"
ที่สวนพุทธธรรมป่าละอู เป็นที่อยู่ของหมู่พระกรรมฐาน ทุกๆท่านเจริญสติให้เป็นญาณ เพื่อถอดถอนอุปาทานในจิตตน
.. .. ..
"ความคุ้นเคย ความคลุกคลี ความมีมนุษย์สัมพันธ์
ไม่เป็นผลดีแก่นักภาวนา"
ความคุ้นเคยและความคลุกคลีไม่ดีแน่ เพราะมันจะเป็นตัวแปรทำให้จิตไม่คงที่ การปฏิบัติติดต่อสืบเนื่องจะไม่มี และการภาวนาจะไปดีได้อย่างไร
.. .. ..
"หาความพอดีในการปฏิบัติให้เจอ"
ปฏิปทามัชฌิมาของกระผมอยู่ไหน อ๋อ..ภาวนาไปๆ ก็ค่อยๆเห็น ตรงไหนจิต (คุณ) เด่นชัดสงบเย็น นั่นแหละเป็นมัชฌิมาปฏิปทาเรา การจะเอาใครเป็นตัวอย่างนั้นยังไม่ถูก อาจจะปลูกนิสัยให้สับสน ใจของตนย่อมจะรู้กำลังตน เพราะจริตของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน
.. .. ..
"อิริยะบัพพะ รู้กายเคลื่อนไหว รู้ใจนึกคิด "
ต้องฉลาดในการเฉลี่ยอิริยาบถ เพียรกำหนดรู้เท่าทันการเคลื่อนไหว ยืน เดิน นอน หรือจะนั่งทุกครั้งไป รักษาความเป็นกลางของจิตไว้อย่าให้เอียง
.. .. ..
"ทำขณะนี้ ให้ยิ่ง"
ทำให้ยิ่งในขณะนี้ ไม่มีหลง จิตมั่นคง ตรงทางมรรควิถี รักษาความเป็นกลางไว้ให้ดี ไม่กี่ปีจะ ไม่มีโรคทางใจ
.. .. ..
"อย่าใช้พระเดชในการดูจิตต้องใช้พระคุณ"
การดูจิตต้องดูอย่างนักปราชญ์ อย่าฉลาดวาดภาพจะผิดคำสอน ธรรมะนั้นต้องเป็นไปตามขั้นตอน ยืนเดินนอนกำหนดรู้ดูเบาๆ ดูนุ่มๆ ชำเลืองดูอย่างหวานๆ อย่ารำคาญจะผิดคำอาจารย์สอน อย่าส่งจิตออกนอกจะขาดตอน ความรุ่มร้อนที่ปรากฏค่อยหมดไป
.. .. ..
"ผัสสะเป็นสมุทัย ผัสสะเป็นนิโรธ"
ได้รู้ได้เห็นก็ให้เป็นสักแต่ว่า "อย่าไปคิด" จงรักษาสภาวะจิตเดิมให้ผ่องใส ระวังตรงผัสสะว่าจะเกิดไฟ(ไฟคือ ราคา โทสะ โมหะ) ถ้าควบคุมความคิดได้ก็โอเค เอวัง
.. .. ..
"ต้องดูจิตตอนเจอปัญหา ว่าอุเบกขาได้แค่ไหน"
อุเบกขาแปลว่าการวางเฉย คือไม่เลยออกไปเป็นเหยื่อของตัณหา จะหยุดอยู่เพียงแค่ผัสสะเวทนา เพราะอินทรีย์ทั้ง ๕ ท่านแก่กล้าพอ ส่วนผู้ที่อินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ตัวตัณหาจะแฝงเข้ามาอาศัย เวลากระทบอายตนะทุกขณะไป จิตจะหวั่นไหวไปตามอำนาจมัน
*ผู้ที่ยังมีตัณหามานะทิฏฐิอาศัยอยู่ย่อมมีความหวั่นไหว ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่มีตัณหามานะทิฏฐิอาศัยอยู่
.. .. ..
"ตัดกระแสกรรม กรรมเกิดเวลาผัสสะอายตนะทั้ง ๖"
เห็นก็ให้เห็นเพียงสักแต่ว่า อย่าให้มีตัณหาเข้ามาเสริม คอยระวังรักษาสภาวะจิตเดิม (ความเป็นกลางของจิต) อย่าได้เติมปรุงต่อหยุดก่อกรรม
.. .. ..
"อุเบกขาจิตมีเพราะความเห็นถูก"
สภาวธรรมในขณะนี้มีค่านัก
ต้องประจักให้เห็นเป็น อุเบกขา
ต้องระงับดับให้ทันตรงเวทนา
อย่าให้มี ตัณหา เข้ามาคุม
.. .. ..
"กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม ให้เกิดทุกข์"
มีแต่กิเลสเท่านั้นที่เกิดขึ้นและตั้งอยู่ ต้องหมั่นคอยชำเลืองจิตดูอยู่เฉยๆ เพียรรู้อยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้
อย่าละเลยทุกข์ที่เคยมาปรากฏจะค่อยหมดไป
.. .. ..
"ความเป็นกลางของจิต คือ พุทธะ"
จงรักษาใจให้เป็นกลางและวางเฉย อย่าละเลยปัจจุบันที่ปรากฏเห็น จะมีแต่ความสงบระงับและดับเย็น อย่าสำคัญตนเข้าไปมีไปเป็น ก็.. แล้วกัน
.. .. ..
"หมดอาลัยตายอยาก"
ความยินดียินร้ายไม่มีอยู่ในจิต ก็เป็นอันจบกิจในพุทธศาสนา มีแต่ใจปรานีและเมตตา และอุเบกขาที่ตื่นรู้อยู่ภายใน
.. .. ..
"ความทุกข์ จะไม่มีอยู่ในกับคนฉลาด"
อย่าขัดขืนฝืนธรรมชาติ ผู้ฉลาดย่อมจะอยู่อย่างสุขี ผู้โง่เขลาย่อมจะเป็นทุกข์ไปฟรีๆ เพราะเข้าใจว่าโลกสมมุตินี้เป็นของเรา
.. .. ..
"ผู้รู้ท่านได้แต่ดู แต่ผู้เขลาชอบเข้าไปแสดง ผู้รู้หาข้องไม่"
ผู้รู้ท่านได้แต่ชำเลืองแลดู ปล่อยให้งูมันเลื้อยผ่านไป อย่าห้าม อย่าเข้าไปจับมันไว้ ก็จะไม่ถูกพิษของมัน
.. .. ..
"พระธรรมมีปรากฏทั้งใน-นอก"
จงอยู่กับความจริงที่ปรากฏตามปกติ อย่าไปดำริหาข้อธรรมที่ไหนๆ เพราะธรรมชาติเขาว่างอยู่ทั้งนอกใน ถ้าไม่เข้าใจก็จะไม่เข้าถึงซึ่งธรรมญาณ
.. .. ..
"รับทราบแต่อย่าให้ซึมทราบ ทราบแล้วเปลี่ยนอย่าหยุดอยู่"
รับรู้สัตว์โลกเขาเป็นไป ไม่เก็บใส่ใจมันก็ดับเย็น ทุกขณะที่ผัสสะเห็น ปล่อยให้เป็นเรื่องของมัน
(กรรมใครกรรมมัน เราอย่าสร้างกรรมขึ้นมาละกัน พระอริยเจ้าท่านไม่คิด ไม่ทำ ไม่พูด ที่จะเบียดเบียนตนและคนอื่น)
.. .. ..
"แค่รู้"
จิตมีราคะก็ให้รู้นะว่ามี อย่าทำอะไรเกินกว่ารู้นี้จะได้ไหม จิตมีโทสะก็เช่นกันปล่อยผ่านไป ตั้งมั้นอยู่กับรู้ไว้ อย่าไหวตาม
.. .. ..
"คม ชัด ลึก "
สติที่คมชัดจะต้องทันต่อความคิด ปรุงแต่งอะไรชึ้นมาไม่เข้าไปข้องติด ปู่ย้ำว่า อย่าใส่ใจกับนามนิมิต ความรู้ความคิดก็จะไม่เป็นพิษแก่จิตใจ
.. .. ..
"ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม"
ให้เห็นเป็นสักแต่ว่าเห็นจะไม่เป็นพิษ ไอ้เรื่องความรู้ความคิดอะไรอย่าไปสน สติปัฏฐาน๔ ท่านว่าไม่ใช่สัตว์และบุคคล แล้วสัปดนไปคนให้มันขุ่นทำไม...
(คิดทำไมให้ใจขุ่นมัว คิดทำไมให้สมุทัยก่อตัว)
.. .. ..
"หมดความหมายมั่น"
รู้แล้วจะไม่เข้าไปหมายมั่น รู้เท่าทันทุกข์มันก็จะไม่มี ธรรมะแท้ไม่มีสู้ไม่มีหนี พิจารณาให้ดีดีแล้วมันจะมีอะไร ที่กระทบแล้วเกิดความหวั่นไหว เพราะทิฏฐิมานานุสัยภายในยังมี
(เพราะไม่เข้าใจกฎแห่งกรรม.บาป-กรรมย่อมไม่มีกับผู้ไม่ทำ)
.. .. ..
"ไม่มีเราทุกอย่างก็ว่างเปล่า"
ความไม่รู้เท่าทันในความคิด จึงหลงเข้าไปยึดติดในสังขาร ว่าเป็นจริงเป็นจังดั่งเวตาล ความเป็นธรรมญาณก็รางเลือน ต้องรู้เท่ารู้ทันให้มันคล่อง ดูแต่ตามืออย่าต้องของไม่เสีย เอาธรรมะตถตาเข้าไปเคลียร์ จิตจะไม่เสียความเป็นมัชฉิมา ช่างไพเราะจริงๆนะกลอนนี้ สิบสามปีที่แสวงหา ธรรมะแท้เพียงแต่ตื่นแล้วลืมตา พุทธะก็มาปรากฏดูงดงาม
*เขาไม่รู้ว่าเพียงหยุดความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พุทธะก็ปรากฏต่อหน้าเขา
.. .. ..
"ธรรมชาติของเขา"
ว่างอยู่รู้อยู่สังเกตจิตดูจะได้เห็น ว่าธรรมชาติเดิมๆเขานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่เข้าไปมั่นหมายว่าตัวเรามี อะไรๆก็จะไม่มีให้ละวาง ก็จะว่างอยู่อย่างนี้มิแปรผัน รู้เท่าทันทุกขณะที่ผัสสะเห็น มีแต่ความสงบระงับและดับเย็น จะพบเห็นธรรมะได้จำเพาะตน
.. .. ..
"เขตปลอดความคิด ใช้แค่รับรู้ รับทราบพอ"
เขตงดเว้นจากการปรุงจิต คือเว้นขาดจากการนึกคิด พิจารณาหาเหตุผล เพราะธรรมชาติทุกอย่างมิใช่สัตว์และบุคคล ถ้าต้องการความหลุดพ้นจากสมมุติ..จงหยุดปรุง
.. .. ..
"จิตคือธาตุรู้ อาการรู้ สภาวะรู้ล้วนๆ"
ถ้าภาวนาไม่ถึงธาตุรู้ล้วนๆ จะชวนให้ครุ่นคิด เรื่องธาตุรู้อาจจะดูน้อยนิด..มหาศาล ถ้าอบรมสติจนแก่กล้ากลายเป็นญาณ การเวียนว่ายในวัฏสงสารก็จะหยุด ยุติ-ธรรม
.. .. ..
"ความไม่กังวล ความไม่ยึดมั่น ในขันธ์ ๕
เป็นธรรมที่พระศาสดาทรงกล่าวย้ำ
ให้สาวกทั้งหลายได้จดจำว่า
อย่าทุจริตในธรรมทั้งหลายนา"
.. .. ..
"เห็นโทษ เห็นธาตุ เห็นธรรม "ตถตา"
ถ้าเห็นเป็นสักแต่ว่าธาตุก็จะปราศจากทุกข์ ถ้าเห็นเป็นสุขเดี๋ยวทุกข์ก็จะตามมาถามหา
ถ้าเห็นสรรพสิ่งทุกชนิดเป็น อิทัปปัจจยตา อนัตตา สุญญตา ถ้าจะไม่ต้องเกิดมาเวียนว่ายในวัฏฏะวน
.. .. ..
"เลิกเป็นขโมย เลิกทุจริต ว่ารูปธาตุ นามธาตุ เป็นเรา"
ผู้ที่ไม่ยึดถือครองเป็นเจ้าของจิต จะหาความทุกข์สักน้อยนิดก็ไม่เห็น เพราะไม่เข้าไปหมายมั่นอย่างที่เคยเป็น จึงอยู่เย็นเป็นสุขทุกคืนวัน(ยังค่ำคืนยังรุ่ง)
.. .. ..
"อัปปะติสถัง อัปปะวัตตัง อนารัมมณัง"
การเข้าสู่ธรรมชาติจิตเดิม ต้องเข้าอย่างเงียบกริบ อย่าได้ไปหยิบเอาหัวข้อธรรมมาคลำหา เพราะสภาวะชั้นปรมัตถธรรมนั้นดับเวทนา(สัญญา) ไม่มีไปไม่มีมา อนารัมณัง
.. .. ..
"มีทุกข์..ไม่มี..?ทุกข์"
สัจธรรมของพระองค์นั้นเที่ยงแท้ดี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมีจริงๆหนา ถ้าสิ่งนี้ไม่มี(เหตุ)สิ่งนี้ก็จะไม่มีมา ผู้ที่มีปัญญาก็จะไม่เป็นบ้าว่าตัวเรามี
.. .. ..
"มีทุกข์..ไม่มี..?ทุกข์"
สัจธรรมของพระองค์นั้นเที่ยงแท้ดี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมีจริงๆหนา ถ้าสิ่งนี้ไม่มี(เหตุ)สิ่งนี้ก็จะไม่มีมา ผู้ที่มีปัญญาก็จะไม่เป็นบ้าว่าตัวเรามี
.. .. ..
"ข้ามกระแสโลกธรรม๘"
โลกียรมณ์นั้นเพียงแต่ข่มจิตไว้ เผลอสติเมื่อไหร่ก็จะไหลไปตามกระแส โลกุตตระนั้นไม่ต้องกดข่มเพียงแต่ชำเลืองแล(สักแต่ว่า) เพราะจิตท่านอยู่เหนือกระแสตัณหามานานนม
.. .. ..
"อย่าไปยึดสิ่งที่เิกิดดับเป็นพยับแดด"
ภาวนาดี ภาวนาไม่ดี บ่มีปัญหา ผู้ที่มีัญญาจะได้ศึกษาสิ่งทั้งสอง เป็นแต่เพียงอาการของจิตคิดไตร่ตรอง จะได้รู้ว่าอารมณ์ทั้งสองของเป็นคู่นั้นไม่แน่นอน (และอะไรที่แน่นอน ลองสังเกตจิตดู ห้ามคิดนะ แล้วจะได้คำตอบ)
.. .. ..
"จิตเป็นที่ตั้งแห่งธรรมทั้งปวง"
จิตนั้นแหละคือธรรมและความว่าง อย่ามัวสร้างมัวคิดให้จิตบ้า ไม่ต้องหลบปรากฏการณ์ให้มันมา จะเป็นหินลับปัญญาได้อย่างดี จิตนั้นแหละคือธรรมจำเอาไว้ ถ้าเห็นจิตเมื่อไหร่แล้วนิ่งเฉย ไม่หวั่นไหวกับเหตุการณ์อะไรเลย จิตวางเฉยเป็นกลางว่างจากกู
.. .. ..
"อย่าเข้าไปมีส่วนรู้ร่วมคิด"
ทุกสรรพสิ่งนั้นออกจากใจมิใช่หรือ อย่าไปถือสาหาความกับสังขาร ปล่อยผ่านไปอย่าได้วิตกวิจาร แล้วจะพบกับธรรมญาณเมื่อหยุดปรุง *เตสังโวปสโมสุโข* -การเข้าไปสงบระงับสังขารเป็นความสุขอย่างยิ่ง-
.. .. ..
"ไม่แยบคาย ก็คลายไม่ได้"
ไม่มีใครตาย ไม่มีใครอยู่ ปู่ชาบอก ให้คลายออกจากวัฏฏะ ละสังขาร ระวังตรงผัสสะมันจะเกิดอุปทาน มีโยนิโสมนสิการ คอยกำกับยับยั้งใจ
.. .. ..
"เผลอเป็นทุกข์ เผลอเป็นหลง ลืมไปว่าตัวเราไม่มี"
เผลอสติหนึ่งนาทีก็จะเป็นบ้า ถ้าเผลอถึงห้าเห็นท่าจะไม่ไหว เจริญสติสมาธิให้ติดต่อสืบเนื่องไป จนกว่าจะเข้าใจในธัมมาอนัตตา ธรรมทั้งปวงไม่ควรเข้าไปแตะต้อง
.. .. ..
"ขอความเป็นธรรม"
ขี้เกียจก็ทำ ขยันก็ทำมันไปอยู่อย่างนี้ ใช่ว่าจะทำตอนอารมณ์ฉันดีมีที่ไหน หมั่นบริกรรมภาวนามันอยู่ร่ำไป จนกว่าใจจะไม่ลำเอียง ไม่อคติ ยุติธรรม
.. .. ..
"ฝึกเป็นพระโสดาบัน"
พระโสดาบันเห็นปัจจุบันเกิดดับเป็นปกติ(มีศีล5ปกติ)
มีหิริโอตัปปะอยู่เสมอ ไม่มีที่ลับที่แจ้งกลัวใครเจอ ว่าจะเผลอผิดศีลธรรมประจำใจ ไม่ว่าใครให้เจ็บช้ำระกำจิต ไม่ยึดติดกับสิ่งนอกพระศาสนา มีแต่ใจปราณีและเมตตา ไม่อิจฉาริษยากับผู้ใด นี่แหละคุณธรรมของพระโสดา จิตใครเป็นอย่างที่ว่าอย่าสงสัย เพียรพยายามทำให้จิตสูงขึ้นไป จนถึงฝั่งสุดท้ายคือพระนิพพาน
*******
ต่อที่ ๕๔ จิตคือใคร
"ปัจจุบันจิต - ปัจจุบันธรรม" >หยาดฝนแห่งธรรม>ใต้ร่มธรรม

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ปัจจุบันจิต - ปัจจุบันธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 28, 2013, 06:14:26 pm »

๕๔. จิตคือใคร... ห้ามคิดนะ
แล้วจะได้คำตอบ...
คุณคือใคร ใครคือคุณ คุ้นๆอยู่

ไม่ต้องหาเหตุผลกับสิ่งใดเลย
แล้วจะได้คำเฉลยที่แท้จริง
.. .. ..

๕๕. อยู่คนเดียว หรือ อยู่กับใคร
หรือไม่มีใครอยู่

อยู่คนเดียวบางที ตัณหา ก็มาเป็นเพื่อนสอง
จิตจะไหลออกไปในอกุศลวิตก (กาม พยาบาท วิหิงสา)
กลายเป็นกามาและอัตตวาทุปาทาน
จึงน่าสงสารที่อุตส่าห์ออกจากหมู่ ไปอยู่แต่ผู้เดียว
ส่วนผู้ที่อยู่กับหมู่ ชื่อว่าอยู่แต่ผู้เดียว
จิตท่านจะไม่ส่งออกไปเกาะเกี่ยวกับใครเขา
กายและจิตท่านจึงเป็นอิลระและโปร่งเบา
ถึงรวมอยู่กับหมู่เขา ก็ชื่อว่า.. อยู่แต่ผู้เดียว