ผู้เขียน หัวข้อ: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ  (อ่าน 4268 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



อิทัปปัจจยตา
โดย..ท่านพุทธทาสภิกขุ

อิทัปปัจจยตา คือหลักเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผล
อุปมาเราทำความดีไม่ทำความผิด นั่นคือเหตุ
เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผลก็คือทำให้จิตใจเป็นสุขไม่เดือดร้อน


ตัวอย่างเช่น เราหาเงินได้แล้วก็ใช้อย่างประหยัดเก็บออมนั่นเป็นเหตุ
แล้วผลที่ได้ก็คือพอมีเงินเก็บ
เหตุดีผลก็ออกมาดี เหตุไม่ดีผลก็ไม่ดี   
สภาวะธรรมชาติของโลกนั้นอาศัยเกี่ยวเนื่องอยู่กับเหตุปัจจัย
เมื่อมีสิ่งนั้นเกิดสิ่งนั้นก็เกิด ยกตัวอย่างเช่น

มีการตัดไม้ทำลายป่ามากๆ เมื่อมีเหตุแห่งการกระทำอย่างนี้ 
 ผลที่ได้จากเหตุนั้นคือความแห้งแล้งตามมา
เมื่อมีความแห้งแล้งเป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อการปลูก
พืชพันธุ์ต่างๆ การเลี้ยงสัตว์บกสัตว์น้ำ ก็ประสบปัญหา
เมื่อการเกษตรประสบปัญหา เมื่อสิ่งนี้เป็นเหตุ ผลกระทบจาก
เหตุการณ์นี้  คือความอดอยาก
   
เมื่อมีความอดอยากขาดแคลนอาหารเป็นเหตุ ก็มีการอพยพไปสู่
แหล่งอื่นเพื่อความอยู่รอด การลักการปล้นก็จะเกิดขึ้น
เมื่อปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคืองเป็นเหตุ   ผลกระทบก็นำไปสู่
ปัญหาสังคม การเมือง ระดับประเทศระดับโลก

อกาลิโก แปลว่า (พระธรรม)ไม่ประกอบด้วยกาล หมายความว่า
พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติโดยไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ขึ้นกับกาลเวลา

พุทธทาสภิกขุ

การทำหน้าที่ คือ ธรรมะ เราสามารถทำได้โดยไม่ใช่การถูกบังคับ
 ไม่เช่นนั้นเราจะทำงานไปพลาง ตกนรกไปพลาง
เมื่อทำหน้าที่ให้เป็นธรรมะแล้ว จะเกิดผลคือว่า เราจะมีธรรมะ
และมีความสุขในทุกอิริยาบถ หรือตลอดเวลาที่ได้ทำหน้าที่   
เราจึงต้องทำหน้าที่ให้เป็นธรรมะ จะได้เป็นสุขในการทำหน้าที่
กล่าวคือเราจะทำงานไปพลาง เป็นสุขไปพลาง และพอใจเป็นสุขได้ทุกเวลา


ร.ศ. ดร.มณีวรรณ ฉัตรอุทัย

มีหลากหลายค่ะ ลองแวะไปเลือกชมนะคะ
ขอบพระคุณ  รองศาสตราจารย์ ดร.มณีวรรณ ฉัตรอุทัย
เรียนขออนุญาตนำมาเผยแพร่


อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ

คลิ๊กค่ะ...http://www.drmaneewan.com/religion/religion012.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 14, 2011, 10:48:23 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2010, 02:36:35 pm »
 :45: อนุโมทนาสาธุครับผม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 07:49:24 pm »
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรื่องอิทัปปัจจยตา



พระธรรมเทศนาโดย
พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านเจ้าประคุณพุทธทาส อินทปัญโญ)


........ขอให้ท่านทั้งหลายถือเป็นหลักไว้ว่า การเรียนนั้นคือการลองปฏิบัติดู ถ้าจะศึกษาศีล ก็ต้องลองปฏิบัติศีลดู ถ้าจะศึกษาสมาธิ ก็ต้องลองปฏิบัติสมาธิดู ถ้าจะศึกษาปัญญา ก็ต้องลองปฏิบัติปัญญาหรือวิปัสสนาดู ไม่ใช่อ่านหนังสือ ไม่ใช่ท่องจำไม่ใช่บอกเล่ากันด้วยปาก การศึกษาของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าสิกขา สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา นี้เป็นเรื่องปฏิบัติทั้งสิ้น ต่อเมื่อได้ปฏิบัติแล้ว จึงจะเป็นสิกขาหรือเป็นการศึกษา ฉะนั้นอย่าเพียงแต่ได้ยินได้ฟังเฉยๆ ได้อ่านเฉยๆ ต้องเอาไปลองปฏิบัติดูทั้งศีล ทั้งสมาธิ และทั้งปัญญา

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 07:51:44 pm »
.........ทีนี้เรื่องอะไรที่ลองปฏิบัติดู? ก็พูดว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั่นแหละสำคัญ แล้วก็สำคัญมาถึงเรา ที่เราก็ต้องตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าด้วย มันก็ต้องไต่ขึ้นไปหาต้นตอ ว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อะไร? เหมือนที่กล่าวตอนกลางวันที่พูดว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เรื่อง อิทัปปัจจยตา ซึ่งเป็นกฏของธรรมชาติ และการตรัสรู้นั้น มันเป็นการปฏิบัติในทางจิตใจ ด้วยก็เลยทำให้เกิดผลในทางจิตใจ คือ หมดกิเลส เย็นเป็นนิพพานนี้ก็เลยรู้จริง รู้จริงเมื่อหมดไฟกิเลส และไฟทุกข์ เย็นเป็นนิพพานแล้ว เราก็ต้องทำอย่างนั้น ดังนั้น เราก็ต้องรู้เรื่องว่า พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อะไร?
           นี้คำตอบ ถ้าตอบตามตัวหนังสือที่มีอยู่ในพระบาลี ที่กล่าวถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ท่านตรัสรู้อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาโท คือ ตรัสรู้เรื่องอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาโท ตามตัวหนังสือเรียงอย่างนั้น แต่ถ้าว่าเราจะพูดกันตามที่เราพูดกันชั้นหลังชอบพูดกันโดยสะดวกเราก็จะพูดว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ ถึงแม้เงื่อนงำในพระบาลีลางสูตรบางแห่ง ก็พอที่จะทำให้พูดว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจจ์ ๔ได้เหมือนกัน ท่านก็เน้นในเรื่องที่ว่ารู้อริยสัจจ์ ๔ สมบูรณ์แล้ว จึงปฏิญญาตัวว่าเป็นพระพุทธเจ้า แต่ถ้าไปดูในเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ก็เห็นชัดว่าหนังสือระบุไปยังปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับทบไปทบมา ตรัสรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท
                ทีนี้ปัญหามันก็เกิดขึ้นมาว่า เรื่องอริยสัจจ์ ๔ กับเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้น มันต่างกันอย่างไร หรือว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน? ถ้ามีการศึกษาเพียงพอ ก็จะเห็นเป็นเรื่องเดียวกัน เรื่องอริยสัจจ์ ๔ เป็นเรื่องกล่าวย่อๆ เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องกล่าวโดยพิสดาร เช่น

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 07:53:50 pm »
           ถ้าโดยทำนองของอริยสัจจ์ ๔ เมื่อถามว่าความทุกข์เกิดมาจากอะไร? ก็ตอบว่า ความทุกข์เกิดมาจากตัณหา ตัณหาเป็นสมุทัยให้เกิดทุกข์ นี่ก็ถูกที่สุด แต่มันย่อที่สุดเหมือนกัน
          ส่วนเรื่องปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจยตานั้น ถ้าถามว่าความทุกข์เกิดมาจากอะไร? มันก็ตอบได้หมด เกิดมาจากอวิชชา เกิดมาจากตัณหา  เกิดมาจากอุปาทาน แล้วแต่จะชี้ลงไปที่ตรงไหน เพราะว่าสายของปฏิจจสมุปบาทนั้นมันยาวมาก มีทั้ง ๑๑ – ๑๒ รายการว่าเกิดมาจากอวิชชามันก็ถูก เกิดมาตามลำดับจนกระทั่งมาเกิดเวทนา แล้วเกิดตัณหา มันก็อยู่ในสายของปฏิจจสมุปบาท ตัณหาก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ได้
 

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 07:54:30 pm »
         มีตัณหาแล้วมันต้องให้เกิดอุปาทานเสียก่อน มันจึงจะเป็นทุกข์ได้ ตัณหาคือความอยาก ก็ต้องทำให้ ต้องทำให้เกิดความรู้สึกที่เป็นอุปาทาน ว่าตัวกูผู้อยากเสียก่อน มันจึงจะมีภพ คือการปรุงขึ้นแห่งตัวตน แล้วก็มีชาติเป็นตัวตนที่สมบูรณ์ สำหรับจะได้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้นว่าความเกิดของกู ความแก่ของกู ความเจ็บของกู ความตายของกู โลกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสของกู

      นี่เป็นเรื่องสำคัญ ทีต้องเข้าใจ ว่ามันต้องมีการยึดมั่นว่า เป็นตัวกูหรือเป็นของกูเสียก่อน จึงจะเป็นความทุกข์ได้ แม้ในพระบาลีท่าจะกล่าวไว้สั้นๆ ลุ่นๆ ว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ นั่นท่านหมายความว่า ในนั้นมีความยึดมั่นถือมั่นโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยจิตใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ความเกิดจึงจะเป็นทุกข์ ความแก่จึงจะเป็นทุกข์ ความเจ็บจึงจะเป็นทุกข์ ความตายจึงจะเป็นทุกข์ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นทุกข์ แก่บุคคลผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น เช่น พระอรหันต์ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายไม่เป็นทุกข์แก่ท่านเลย แม้จะเกิดจะความเจ็บปวดอย่างไร ก็รู้สึกว่าเจ็บปวดเท่านั้น ไม่เป็นทุกข์แก่ท่านเลย พระพุทธเจ้าก็เหมือนกันแหละ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย หรือว่าความไม่ได้ตามต้องการอะไรก็ตาม ไม่ทำให้พระพุทธเจ้าเป็นทุกข์ เพราะว่าท่านไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านั้น โดยความเป็นตัวตนของตน มันต้องมีความยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งเหล่านั้น โดยความเป็นตัวตนของตน จึงจะเป็นทุกข์



              แต่ถ้าสำหรับปุถุชนคนธรรมดาแล้ว พูดว่าความเกิดก็พอ ความแก่พูดสั้นๆ อย่างนั้นก็พอ เพราะว่าปุถุชนคนธรรมดา

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 07:55:24 pm »
ย่อมยึดมั่นถือมั่นอย่างเต็มที่ ว่าความเกิดของกู ความแก่ของกู ความเจ็บ ของกู ความตายของกู อะไรๆ ก็ของกู มันก็เป็นทุกข์แหละ นี้เรียกว่าพูดอย่างภาษาคนธรรมดาสามัญ เขาจะยึดมั่นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ว่าเป็นของกูเสมอ ฉะนั้นพูดว่าความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ก็พอแล้ว เพราะมันมีความยึดมั่นถือมั่นรวมกันอยู่ในนั้นแล้ว
                แต่คำอย่างนี้เอาไปใช้กับพระอรหันต์ไม่ได้ พระอรหันต์ไม่มีความยึดถือว่า เกิด แก่ เจ็บ ตายของกู ฉะนั้นแม้ว่าร่างกายมันจะแก่ มันจะเจ็บ มันจะตายลงไปนี้ ท่านก็ไม่ได้เป็นทุกข์ ท่านรู้สึกว่า มันเจ็บปวดอยู่อย่างนั้น เป็นความเจ็บไข้อย่างนั้น ก้เป็นไปซิ มันเป็นของความเกิดแก่ เจ็บ ตายนั้น มันไม่ใช่ของฉัน ฉันก็กลายเป็นของเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ตามธรรมดาไป ไม่ทำให้เป็นทุกข์
                นี่การตรัสรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ใจความสำคัญที่อยู่ใกล้ชิดที่สุด มีน้ำหนักมากที่สุด ก็คือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่าสังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา เมื่อกล่าวโดยสรุปย่อที่สุดแล้ว และมันเป็นทุกข์เพราะยึดถือ ถ้าไม่ยึดถือมันก็ไม่เป็นทุกข์ จิตที่มีความยึดถือเป็นตัวกูของกูในสิ่งใดก็ตาม มันก็ต้องเป็นทุกข์ สิ่งที่จะถูกยึดถือนั้นก็คือขันธ์ 5 นั่นเอง

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 07:56:41 pm »
               คำว่าขันธ์ ๕ นี้สำคัญมาก สำคัญตรงที่ว่า พวกเราไม่รู้จักตัวจริงของมัน รู้จักแต่ชื่อ ฟังแต่เสียงด้วยหู ท่องว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วก็ไม่รู้ว่าคืออะไร อยู่ที่ไหน ขอร้องให้ทุกคนสนใจเป็นพิเศษ ให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ ๕ กันนี้ให้จริง หรือให้พอสมควร ให้จริงจัง ให้ถึงที่สุดก็ยิ่งดี ว่าความยึดถือนั้นมันมีอยู่ในกลุ่มสังขาร ใช้คำว่ากลุ่มสังขาร เดี๋ยวจะไปปนกับคำว่าสังขารเสียอีก ใช้คำว่าในกลุ่มของการปรุงแต่ง ๕ กลุ่ม
                ขันธ์ คำนี้แปลว่ากลุ่ม แปลว่ากอง คือมันไม่ใช่สิ่งเดียว มันประกอบอยู่ด้วยสิ่งหลายสิ่งรวมกันอยู่ เช่น รูปขันธ์ มันก็มีธาตุหลายธาตุมีอะไรหลายอย่างรวมกันอยู่ เรียกว่ากลุ่มรูป รูปขันธ์ ความรูสึกที่เป็นเวทนาก็เหมือนกัน มันมีอะไรหลายๆ สิ่งรวมกันอยู่เป็นเหตุเป็นปัจจัย เป็นผลเป็นอะไร รวมอยู่ในนั้น ก็เรียกว่ากลุ่มเวทนา กลุ่มสัญญาก็เหมือนกันอีกแหละ มันก็มีธรรมะที่เนื่องด้วยกัน เกี่ยวข้องกันอยู่ เป็นเหตุก็มีผลก็มี ก็เรียกว่ากลุ่มสัญญา กลุ่มสังขารความคิดนึกนี้ มีอะไรหลายอย่างรวมกันอยู่ในนั้น เรียกว่ากลุ่มความคิดหรือกลุ่มสังขาร นี้กลุ่มวิญญาณ ก็ต้องมีอะไรรวมกันอยู่ มันจึงจะเป็นวิญญาณปรากฏออกมา อย่างน้อยประกอบด้วยอายตนะภายในและอายตนะภายนอก ถึงกันเข้าแล้ว เกิดจักษุวิญญาณ ในความหมายคำว่าวิญญาณ มันต้องรวมอายตนะนั้นอยู่ด้วย จึงเรียกว่ากลุ่ม

                ทีนี้เราไม่ศึกษา หรือไม่ชี้แจงกันให้เห็นชัดว่า กลุ่มทั้งห้านี้ มันมีอยู่อย่างไร หรือว่าสอนกันผิดๆ จนถึงกับพูดว่าร่างกาย ชีวิตจิตใจนี่ผ่าแล่งออกไปได้เป็น ๕ ส่วน ๕ กอง เหมือนกับเอาสัตว์มาตัวหนึ่ง ผ่าให้เป็ น ๕ ส่วน ๕ กอง อย่างนี้เสียก็มี จึงทำให้คนบางคนคิดว่า เรามีขันธ์ทั้งห้าอยู่ตลอดเวลา  บางคนคิดเตลิดเปิดเปิง ไปถึงกับว่า นอนหลับอยู่ก็ยังมีขันธ์ทั้ง ๕ นี้เป็นต้น
                อันที่จริงขันธ์ ๕ นั้น เราจะมีพร้อมกันทั้ง ๕ ขันธ์ ไม่ได้ มันแล้วแต่ว่าเราไปยึดถืออยู่ส่วนไหน ส่วนนั้นมันจึงจะมี ส่วนที่ไม่ยึดถือนั้นมันก็เหมือนกับไม่มี จะพูดอีกอย่างหนึ่งก็ว่า ชีวิตนี้มันอยู่ใน ๕ รูปแบบ บางเวลามันไปสนใจอยู่ที่พวกรูป คือรูปขันธ์ ชีวิตนี้ก็อยู่ในลักษณะของรูปขันธ์ ไปยึดมั่นถือมั่น เป็นตัวกู – เป็นของกู มันก็เป็นทุกข์ เพราะรูปขันธ์
                ทีนี้บางเวลาชีวิตไม่อยู่ที่รูปขันธ์ หรือเวทนาขันธ์ ความหมายของชีวิตไปอยู่ตรงที่คำว่าสัญญา คือเขาสำคัญมั่นหมายในสิ่งใดว่าเป็นอย่างไรสำคัญว่าสุข สำคัญว่าทุกข์ สำคัญว่าหญิง สำคัญว่าชาย สำคัญว่าได้ สำคัญว่าเสียซึ่งขึ้นอยู่กับความจำหมาย จิตมันไปหมายอยู่ที่นั่น ที่สัญญาอย่างนั้น ชีวิตในขณะนั้นมันมีความหมายอยู่ที่สัญญา ก็เป็นความทุกข์เพราะยึดมั่น
                บางเวลามันกำลังทำหน้าที่คิด คิดนั่น คิดนี่ คิดอย่างนั้น อย่างนี้ ชีวิตมีความหมายอยู่ที่ความคิด ก็มีการยึดถือในสิ่งที่คิดหรือสิ่งที่มันคิดได้ หรือการคิดนั้นเอง ว่าเป็นตัวตน มันก็ยึดถือที่นั่น มันก็เป็นทุกข์ที่นั่น ก็เรียกว่ามีสังขารขันธ์ สังขารขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ แล้วก็เป็นทุกข์
                บางเวลามันก็ไปอยู่ที่วิญญาณขันธ์ กลุ่มที่ทำให้เกิดความรู้สึกได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ วิญญาณ ทั้ง ๖ อย่าง แต่ละอย่างนั้นมันเป็นตัวชีวิตขึ้นมา เพราะว่าจิตมันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น ไปหมายอยู่ที่นั่น ยึดถืออยู่ที่ตัววิญญาณว่ารู้สึกอะไรได้ อย่างที่บางคนชอบพูดผิดๆ ว่า จิต ตัวตนมาทำหน้าที่ทางตา ทำหน้าที่ทางหู จมูก ลิ้น กาย อย่างนี้ มันเป็นคำพูดที่ผิด มันเป็นการปรุงแต่งของสิ่งเหล่านั้นต่างหากที่เกิดเป็นวิญญาณ รู้แจ้งขึ้นมา อย่าให้มีตัวตนอะไรซ่อนเร้นอยู่ที่ไหนออกมาทำงานทางตา ทางหู อย่างนี้เป็นต้น นี่เป็นเรื่องลัทธิอื่น เป็นเรื่องศาสนาอื่น ถ้าเป็นศาสนานี้ ก็จะตรงตามพระบาลีว่า อาศัย ตา กับ รูป เกิดจักษุ วิญญาณ สังคติแห่งธรรม ๓ ประการนี้ เรียกว่าผัสสะอย่างนี้ วิญญาณเพิ่งเกิดเมื่อมีการกระทบของอายตนะ ทีนี้จิตใจมันไปสนใจอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า วิญญาณ เพราะมันรู้สึกอารมณ์ได้ เหมือนกับว่าเป็นสัตว์ เป็นคน ชีวิตในระยะนี้ในกรณีนี้ มันไม่มีความหมายอยู่ที่วิญญาณ
                เหมือนกับว่าชีวิตนี้มันเล่นตลกได้หลายรูปแบบ หรือเหมือนกับมันแต่งตัวเล่นละครได้หลายรูปแบบ บางเวลาความของชีวิตไปอยู่ที่รูปขันธ์ คือความรู้สึกที่เป็นเวทนา ที่เป็นความรู้สึกของจิต หรือจิตที่กำลังมีเวทนา มันก็มีความหมายเช่นกัน มันมีความหมายอยู่ที่เวทนารู้สึกอยู่ได้ เพราะรู้สึกอยู่ได้จึงมีตัวฉัน ตัวฉันรู้สึกมัน บางทีไปมีความหมายอยู่ที่สัญญาหมายมั่นอย่างนั้นหมายมั่นอย่างนี้ บางที่ไปรู้สึกอยู่ที่สังขาร สังขารขันธ์ คือคิดอย่างนั้น คิดอย่างนี้ คิดอย่างโน้น ต้องการอย่างนั้น ต้องการอย่างนี้ บางทีก็ไปอยู่ที่พวกกลุ่มที่ทำหน้าที่รู้แจ้งชั้นนอกๆ รู้แจ้งที่ตา รู้แจ้งที่หู รู้แจ้งที่จมูก ฯลฯ ทั้งหกนั้น

                นี่เรียกว่าขันธ์ ๕ หรือ ๕ ขันธ์ จะเรียกว่าการปรุงแต่ง ๕ กลุ่ม ๕ กอง ทั้งห้านั้นแหละเรียกว่าสังขาร ทั้ง ๕ กลุ่มนั้นถ้าเรียกโดยคำสามานยนามแท้ๆ ส่วนลึดแล้วเรียกว่าสังขารได้ทั้งนั้น แต่เดี๋ยวนี้ทั้งเอาสังขารมาใช้กับกลุ่มที่ ๔ คือ สังขารขันธ์ ซึ่งมีความหมายแคบเข้ามา สังขารขันธ์หมายถึงความคิด แต่สังขาร เฉยๆ หมายถึงการปรุงแต่งทุกสิ่ง รูปขันธ์ก็เป็นสังขาร เวทนาขันธ์ก็เป็นสังขาร สัญญาขันธ์ก็เป็นสังขาร สังขารขันธ์เองก็เป็นสังขาร อย่างนี้เป็นต้น
                ดังนั้นเราไม่อาจจะมีขันธ์ทั้งห้าพร้อมกันในคราวเดียว มันแล้วแต่ว่าจิตมันกำลังไปยึดมั่นให้เป็นชีวิตอยู่ที่กลุ่มไหน บางเวลาความยึดมั่นถือมั่นของจิต มันไปยึดมั่นอยู่ที่กลุ่มรูป ตามเรื่องตามกรณี ที่มันมีอำนาจหรือมีเหตุปัจจัยให้ไปสนใจ ให้ไปยึดมั่นอยู่ที่กลุ่มรูป
                แต่บางเวลามันไม่เป็นอย่างนั้น มันไปสนใจยึดมั่นอยู่ที่กลุ่มเวทนาแล้วมันก็เป็นเรื่องสืบต่อกันด้วย เพราะมีรูปขันธ์ คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอก มันจึงเกิดวิญญาณ มันจึงเกิดผัสสะ แล้วมันจึงเกิดเวทนา ดังนั้นรูปขันธ์กับเวทนาขันธ์ จะเกิดพร้อมกันไม่ได้ และเวทนาขันธ์มันก็สืบทอดมาจากรูปขันธ์ ที่มันทำหน้าที่ของมัน
                ครั้นเกิดเวทนาขันธ์รู้สึกอย่างไรแล้ว มันจึงจะเกิดความยึดมั่นหมายมั่นในเวทนาขันธ์ เรียกว่าสัญญา มีเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นวัตถุให้เกิดสัญญาหรือความมั่นหมาย
                เมื่อมีสัญญามั่นหมายในสิ่งใด โดยวิธีใดแล้ว มันก่อให้เกิดความคิดขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มสังขารขันธ์
                ส่วนวิญญาณขันธ์นั้นมันใช้ทั่วไป ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในบางครั้งก็ในชั้นผิวเผินคือ ที่ตากระทบรูป หูกระทบเสียง เป็นต้น ครั้นเกิดเวทนาขึ้นมาแล้ว จิตมันยึดมั่นเวทนานั้นเป็นธรรมารมณ์ก็ได้  นี่คำว่าสังขารจึงมีความหมายกว้างเหลือเกิน ใช้ในกรณีอะไรก็ได้ เมื่อมันเป็นวิญญาณขันธ์ ทำหน้าที่เป็นวิญญาณขันธ์ มันก็มีส่วนให้หลงเข้าใจผิดว่า เป็น ตัวตนได้เหมือนกัน ดังนั้นมันจึงไปยึดมั่นที่วิญญาณขันธ์

                นี่ดูให้ดีก็จะเห็นได้เองว่า มันจะมีพร้อมกันทั้งห้านั้นไม่ได้ แล้วมันยังเป็นปัจจัยส่งเสริมแก่กันและกันด้วย ฉะนั้นเราก็ต้องฉลาด แล้วก็มีสติมากพอว่า เดี๋ยวนี้เราหรือจิตกำลังยึดมั่นที่ขันธ์ี่ไหน กำลังยึดมั่นในกลุ่มไหน นี่จะถ้าระวังจิต จะดูจิตแล้ว ก็จงดูว่ามันกำลังยึดมั่นอยู่ในขันธ์ไหน
                ถ้าจะพูดอย่างสวนทางกันก็จะพูดว่า เรากำลังมีความทุกข์ใจอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ในความรู้สึกว่าเป็นทุกข์ แล้วก็ดูเถอะ ว่าจิตมันกำลังยึดมั่นถือมั่น อยู่ในส่วนใดหรือขันธ์ไหน จึงได้เป็นทุกข์ เดี๋ยวนี้คนก็ไม่สนใจ เป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์ ก็ร้องไห้ไปหรือดิ้นรนไป ถ้าจะเป็นสัตบุรุษผู้มีปัญญาก็จะต้องสนใจว่า ความทุกข์นี้มาจากกลุ่มไหน มาจากเหตุปัจจัยอะไร แล้วก็จะพบเองว่า โอ้ เรามันกำลังโง่ กำลังไปยึดมั่นในรูปขันธ์ หรือว่าในเวทนาขันธ์ หรือว่าในสัญญาขันธ์ หรือว่าในสังขารขันธ์ เป็นต้น


นี่เราจงดูให้เห็น อาตมาใช้คำว่าดูนะ ไม่ได้ใช้คำว่าคิดนะ ใช้คำว่าดูให้เห็น ว่าจิตมันกำลังเข้าไปยึดมั่นถือมั่นอยู่ในขันธ์ไหน จึงเกิดผลออกมาเป็นความทุกข์อยู่ในจิตใจ กรุ่นอยู่ในจิตใจ หรือรุนแรงอยู่ในจิตใจ มองให้เห็นทุกทีว่า ความทุกข์กรณีนี้ มันเกิดมาจากยึดมั่นในขันธ์ไหน ในขันธ์ทั้งห้านั้น มันกำลังไปยึดมั่นในขันธ์ไหน แล้วก็จะพบว่า มันเกิดมาจากความยึดมั่นในขันธ์นั้น ซึ่งมันจะตรงตามหลักพระพุทธภาษิตว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานนักขันธา ทุกขา ขันธ์ที่มีความยึดมั่นถือมั่นโดยอุปาทานนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ เมื่อมีความทุกข์แล้ว มันก็ต้องมีความยึดมั่นถือมั่น เมื่อมีความยึดมั่นถือมั่นแล้ว มันต้องมีสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น มันก็ไม่พ้นไปจาก ๕ สิ่งนี้ คือ รูป เวทนา สังขาร สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเอง
แต่ว่า ๕ อย่างนี้ ๕ ขันธ์นี้ มันจะแจกลูกออกเป็นกี่สิบอย่าง กี่ร้อยอย่างก็ได้ เช่น เวทนานี้มาจากอะไร สัญญานี้มันตั้งอยู่บนวัตถุอะไร สังขารนี้มันคิดนึกเรื่องอะไร มันได้หลายสิบอย่าง หลายร้อยอย่าง หลายพันอย่าง ถ้ามันมีความยึดมั่นในสิ่งใดเป็นทุกข์อยู่ เราก็ดูว่ามันเป็นอะไร แล้วสิ่งนั้นมันจะสงเคราะห์ลงในขันธ์ไหน คือในรูปขันธ์ หรือเวทนาขันธ์ หรือสัญญาขันธ์ หรือสังขารขันธ์ นี่ที่พูดมานี้ อย่าเพิ่งสับสน
ถ้าเราจะพูดโดยนัยแห่งอริยสัจจ์ ก็ว่าตัณหาเป็นเหตุให้เป็นทุกข์ ตัณหาเฉยๆ มันต้องให้เกิดอุปาทาน แล้วเกิดภพแล้วเกิดชาติแล้วจึงจะเป็นทุกข์ อริยสัจจ์ ว่าความทุกข์เกิดมาจากตัณหา หมายความว่า มันต้องผ่านอุปาทาน ภพ และชาติ เพราะมีความยึดมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งอย่างที่ว่ามาแล้ว
ถ้าจะพูดอย่างปฏิจจสมุปบาท ก็พูดว่า ตั้งแต่อวิชชามาทีเดียว จะว่าอวิชชาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ก็ได้ หรือจะเอาที่ผัสสะ ที่เวทนาก็ได้ เอาที่ตัณหาก็ได้ ก็ไปเข้ากับเรื่องเดียวกับอริยสัจจ์ แต่ที่แท้จริง ที่ถ้าจะดูกันชัดๆ ละก็ มันอยู่ที่อุปาทาน ตัณหาให้เกิดอุปาทาน ให้เกิดภพ เป็นตัวกูเต็มที่ออกมา สำหรับจะยึดถืออะไร ว่าเป็นตัวกู ว่าเป็นของกู มันจึงเป็นความยึดถือในขันธ์ใดขันธ์หนึ่งแห่งขันธ์ทั้งห้าแล้ว จึงเป็นตัวทุกข์
พูดอีกทีหนึ่งก็ว่า ถ้าจะแจกกันโดยรายละเอียด รายละเอียดให้มันละเอียด เท่าที่มันจะละเอียดได้แล้ว มันจะมีถึง ๑๒ อาการ หรือ ๑๑ อาการตามที่แจกไว้ในปฏิจจสมุปบาทอิทัปปัจจยตา หรือว่าถ้าจะมองดูในแนวของอริยสัจจ์ ก็ตัณหา ตัณหาคือเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะอยากได้จึงเกิดทุกข์ ความอยากมันทำให้เกิดความรู้สึกของผู้อยาก นั้นคืออุปาทาน แล้วมีภพ มีชาติ ในความหมายของตัวกูผู้อยาก มันเต็มที่ขึ้นมา แล้วก็เป็นทุกข์
ถ้าเข้าใจเห็นแจ้งอย่างนี้ ก็จะพูดได้ด้วยตนเองว่า เรื่องอริยสัจจ์ ๔ เป็นเรื่องย่อ เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องพิสดาร เราจะเรียกปฏิจจสมุปบาทว่าเป็นอริยสัจจ์ใหญ่ อริยสัจจ์พิสดารก็ได้ อริยสัจจ์ ๔ นั้นเป็นอริยสัจจ์ธรรมดา ในความหมายธรรมดา แต่ถ้าแจกออกไปเป็นปฏิจจสมุปบาทแล้วก็เรียกว่าอริยสัจจ์โดยพิสดาร
แต่จะโดยย่อหรือโดยพิสดาร ความทุกข์ต้องอยู่ที่ตัวอุปาทานโดยตรงทั้งนั้น เมื่อมีอุปทานในสิ่งใด สิ่งนั้นก็กลายเป็นของหนักขึ้นมา แล้วก็เป็นทุกข์ เพราะการยึดถือของหนัก เรียกว่าขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนัก ขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์
ภารา หเว ปัญจักขันธา ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนักเน้อ ที่สวดกันอยู่ทุกวัน
ภาระหาโร จ ปุคคโล อุปาทานที่ว่าคนนั่นแหละ อุปาทานที่ว่าบุคคลนั่นแหละ จะเป็นผู้แบกของหนักพาไป
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก เมื่อแบกของหนัก ก็เป็นความทุกข์ ในโลก
ภาระนิกเขปะ นัง สุขัง สลัดของหนักทิ้งออกไปเสียได้ ก็เป็นความสุข
ครั้นทิ้งของหนักลงไปแล้ว อย่ากลับไปจับฉวยขึ้นมาอีกก็จะเป็นผู้หลุดพ้น เป็นพระอริยเจ้า สลัดทิ้งของหนักลงเสียได้

                นี่เรื่องของขันธ์ห้าที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นแล้วก็จะทำให้เกิดทุกข์ ความที่มันเป็นปัจจัยต่อกันและกันอย่างนี้ ก็เรียกว่าอิทัปปัจจยตา ซึ่งแปลว่าเพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิด โดยชื่อก็ว่าอย่างนี้ แต่ถ้าว่าให้ละเอียดมันแจกออกไปว่า เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะการดับลงแห่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป
                สูตรของอิทัปปัจจยตามีว่าอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป ก็คือส่วนที่เห็นเหตุมี แล้วส่วนที่เป็นเหตุดับไป ส่วนที่เป็นผลก็จะดับไป
                นี่เป็นกฎของธรรมชาติ เรียกว่ากฎของธรรมชาติ เป็นความจริงของธรรมชาติ เป็นสิ่งมีอำนาจสูงสุดของธรรมชาติ เรียกกฏอิทัปปัจจยตา พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสรู้สิ่งนี้ ค้นคว้าสิ่งนี้ โดยรายละเอียดที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
                คำว่า อิทัปปัจจยตาเป็นคำย่อ ให้เหลือแต่คำว่าน้อยๆ เป็นคำกว้างจะหมายถึงอะไรก็ได้ ของอะไรก็ได้ แต่คำว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ กระจายออกเป็นละเอียด แล้วใช้เฉพาะสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้นแหละ คำว่าอิทัปปัจจยตาเราใช้ไปได้ทุกสิ่ง จะมีชีวิต ไม่มีชีวิต รูปธรรม นามธรรม อะไรก็ได้ แม้แต่ก้อนหินนี้ก็ได้ มีกฏเกณฑ์แห่งอิทัปปจจยตา แต่ถ้าใช้คำว่าปฏิจจสมุปบาทแล้วมันจะใช้เฉพาะสิ่งมีชีวิต ที่รู้สึกเป็นทุกข์ได้
                เรื่องที่สำคัญมันอยู่ที่ความทุกข์ของสิ่งที่รู้สึกได้ ฉะนั้นเราจึงพูดถึงแต่คำว่าปฏิจจสมุปบาท แต่การตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้านั้นรู้หมด ทั้งส่วนที่เป็น อิทัปปัจจยตา และส่วนที่เป็นปกิจจสมุทบาท ดังนั้นในพระบาลีจึงเรียกควบคู่กันไปเสียเลยว่า อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปปาโท เป็นคำเดียวกันว่า มันเป็นอย่างนั้น มันต้องเป็นอย่างนั้น เรียกว่าอวิตถตา มันไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น อนัญญถตา มันไม่เป็นโดยประการนั้น ธัมมัฏฐิตตา เป็นการตั้งอยู่ตามธรรมดา ธัมมนิยามตา เป็นกฎตายตัวของธรรมดา อิทัปปัจจยตาปกิจจสมุปปาโท นี่แหละคือ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ถ้าพูดแจงรายละเอียดมันก็ยาว แต่ถ้าพูดให้สั้น มันก็เหลือแต่คำว่าอิทัปปัจจยตา
                พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ คือค้นพบกฎของธรรมชาติ ที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ทีนี้มันก็ใช้สำหรับรู้ว่า ความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความดับทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร กฎของอิทัปปัจจยตาจึงถูกแยกออกเป็น ๒ สาย หรือเป็น ๒ ทิศทาง ทิศทางหนึ่งเป็นกฎสำหรับให้มันเกิดทุกข์ขึ้นมา ทิศทางหนึ่งสำหรับจะทำไม่ให้เกิดทุกข์ได้
                เราจงรู้จักอิทัปปัจจยตาทั้ง ๒ สาย คือ ทั้งสายที่จะให้เกิดทุกข์ขึ้นมา และสายที่ไม่ให้เกิดทุกข์ได้ นั่นแหละรู้สิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้ ตรัสรู้ แล้วเราก็รู้ตาม ฉะนั้นขอให้ทุกคนพยายามรู้เรื่องนี้ ว่าความทุกข์เกิดขึ้นมาอย่างไร? มันเกิดขึ้นโดยกฎของอิทัปปัจจยตาอย่างนี้ ถ้าแจกโดยละเอียดก็เป็นเรื่องปฏิจจสมุปบาท ๑๑ อาการ ถ้าแจกเป็นอริยสัจจ์ ๔ ก็อาการเดียว คือ ตัณหาให้เกิดทุกข์

               เราจะไม่เพียงแต่ได้ยินได้ฟังอย่างนี้ เราต้องเอาไปจับเข้ากับความจริงที่มันมีอยู่จริง ที่ปรากฏอยู่ในจิตใจของเรา จริงว่าเดี๋ยวนี้เรากำลังเป็นอย่างไร? แล้วก็ไล่ไปๆ มันก็จะครบทั้ง ๑๑ อาการ เหมือนที่พระพุทธเจ้าทรงนั่งใคร่ครวญไล่เลียงอยู่ ในคืนวันที่ตรัสรู้นั้น
                พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา คือกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ อันเฉียบขาดตายตัว ว่าความทุกข์จะต้องเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ว่าความทุกข์จะต้องดับไปอย่างนี้ ถ้ารู้จริงมันก็ป้องกันได้ ดับทุกข์ได้ อยู่ได้โดยที่ไม่ต้องเป็นทุกข์ นี่เรียกว่าเราได้รับประโยชน์จากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า โดยที่เราก็ได้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า มีการประสูติและมีการนิพพาน อย่างเดียวกันด้วย เกิดชีวิตใหม่ อยู่ในชีวิตใหม่ นี่เรียกว่าประสูติใหม่ เกิดใหม่ แล้วก็นิพพาน คือดับเย็นแห่งความร้อนทั้งปวง ชีวิตนี้กลายเป็นชีวิตเย็น นี่คือประโยชน์ของการที่เราได้ตรัสรู้ตามพรพุทธเจ้า มีประสูติ มีนิพพาน เหมือนพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นใจความสำคัญของวันนี้ ใจความสำคัญของวันนี้ คือวันวิสาขปุณณมี สำหรับพระพุทธเจ้า เรื่องโดยละเอียดมันยังมีอีกมาก แต่โดยหัวข้อมันมีอย่างนี้

                ขอให้ท่านทั้งหลายจดจำให้ดี แล้วเอาไปคิด ไปนึก ไปใคร่ครวญ ไปทดสอบ ไปปฏิบัติดู ที่ขอร้องให้ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งก็คือว่า ถ้ามันเกิดความทุกข์หม่นหมองใจ แม้แต่นิดเดียวขึ้นมา แล้วก็รีบหาให้พบว่า มันมาจากยึดมั่นถือมั่นในอะไร? เพราะยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นมันจึงได้เป็นทุกข์ ถ้าว่างไปเสียจากความยึดมั่นถือมั่น จิตว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ไม่มีทางที่จะเกิดความทุกข์
                เราป้องกันไม่ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นด้วยสติ เราต้องมีสติ เราจึงต้องฝึกกรรมฐานให้มันมีสติ ให้ระลึกได้โดยเร็ว นี้เรียกว่าสติ ให้มีปัญญารู้เรื่องอิทัปปัจจยตานี้ ซึ่งสรุปแล้วก็จะเหลือแต่ ตถตา ว่ามันเช่นนั้นเอง มันเช่นนั้นเอง อริยสัจจ์ก็ดี ปฏิจจสมุปบาทก็ดี คือความเป็นเช่นนั้นเอง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนอะไร นี่เรียกว่าปัญญา
                พอกระทบอะไรทางตาเป็นต้น ก็ให้มีสติ เอาปัญญาว่าเช่นนั้นเองมาทันท่วงที เห็นว่าสิ่งนี้เช่นนั้นเอง ผัสสะนี้เช่นนั้นเอง เวทนานี้เช่นนั้นเอง แล้วก็ไม่ยึดถือ ก็ไม่เกิดความอยาก คือตัณหา ไม่เกิดความยึดถือ คือ อุปาทาน มันก็ไม่เกิดทุกข์ เพราะว่ามีสติรวดเร็ว เอาปัญญามาเพียงพอว่ามันเช่นนั้นเอง ผัสสะเช่นนั้นเอง เวทนาเช่นนั้นเอง อย่างนี้เรียกว่า ไม่โง่เมื่อมีผัสสะ คำพูดสั้นๆ เมื่อตอนกลางวันว่าไม่โง่ เมื่อมีผัสสะ นั่นแหละเป็นหลักสำคัญ ที่จะไม่ให้เกิดความทุกข์
                เดี๋ยวนี้เรามันโง่ จนความทุกข์เกิดแล้วก็ยังไม่รู้สึก ฉะนั้นจะต้องมีสติว่องไวฉับพลันทันที ถ้ามันไม่ว่องไวฉับพลันทันที มันก็ต้องฝึกมัน ฝึกมัน ก็ต้องฝึกมัน ให้เป็นสติที่ว่องไว แล้วก็อบรมปัญญาให้มากพอ มีปัญญาถูกต้องมากพอ สติรวดเร็ว สตินั้นเหมือนเครื่องขนส่ง สติเหมือนกับเจ้าหน้าที่ขนส่ง มันขนเอาปัญญา คือความรู้เรื่องอิทัปปัจจยตามาทันท่วงทีเมื่อผัสสะ ผัสสะของเราไม่โง่ซิ เพราะเป็นผัสสะที่เต็มอยู่ด้วยสติและปัญญา มันไม่เป็นผัสสะโง่ ความทุกข์ไม่มีทางจะเกิด
                เมื่อตอนกลางวันก็บอกแล้วว่า ความทุกข์เกิดที่จิต เพราะเห็นผิดเมื่อผัสสะ ถ้าเห็นถูกที่ผัสสะเสียแล้ว ความทุกข์ไม่อาจจะเกิดที่จิต ความทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่เมื่อผัสสะ ถ้าเรามีความเข้าใจแตกฉานเรื่องผัสสะ ควบคุมผัสสะได้ ด้วยสติปัญญา แล้วความทุกข์ก็เกิดไม่ได้ นี่ช่วยจำไว้เล่นๆ เหมือนกับร้องเพลงเล่นก็ได้ มันมีประโยชน์
                ความทุกข์เกิดที่จิต                               เพราะเห็นผิดเมื่อผัสสะ
                ความทุกข์จะไม่โผล่                            ถ้าไม่โง่เมื่อผัสสะ
                ความทุกข์เกิดไม่ได้                             ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ
                นั่นแหละ คือผลของการรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา แล้วควบคุมกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาได้ปิดกั้นกระแสแห่งการเกิดทุกข์เสียได้โดยสติ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสแห่งความทุกข์ นี้เป็นหลักใหญ่ทั่วไปในพระพุทธศาสนา

                เรารู้เรื่องอิทัปปัจจยตา ว่ากระแสแห่งความทุกข์มันเกิดขึ้นอย่างไร ไหลไปอย่างไร แล้วเราก็มีสติ กั้นกระแสนั้น ความทุกข์ก็ไม่อาจจะเกิด หรือเกิดแล้วมันก็หยุด ถ้าเราเป็นคนสติไม่สมบูรณ์ ก็อุตส่าห์ฝึกสติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือฝึกอานาปานสติ มีหลายแบบ แบบที่มี ๑๖ ขั้น อย่างที่พระพุทธองค์ตรัสไว้นั้น นั่นแหละเป็นแบบดีที่สุด
                คำว่าอานาปานสตินี้มันกว้าง เมื่อฝึกอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออกเป็นอานาปานสติทั้งนั้น แต่มีหลายแบบ แบบที่บริบูรณ์เป็นเทคนิคดีที่สุด ก็คือแบบที่เราเอามาสอนกันอยู่เรื่องอานาปานสติ ๑๖ ขั้น
                ขอให้ศึกษาให้เข้าใจทีละนิด แล้วปฏิบัติดูไปตามลำดับ เข้าใจนิดหนึ่งก็ปฏิบัติเท่าที่เข้าใจ แล้วก็รู้เพิ่มขึ้น แล้วก็ศึกษาเพิ่มเติม แล้วก็ปฏิบัติอีก นี่เรียกว่าศึกษา ศึกษาพอให้เข้าใจเรื่อง แล้วก็ปฏิบัติให้ได้ แล้วก็ศึกษาต่อ แล้วก็ปฏิบัติให้ได้ ให้มันมีการปฏิบัติ ให้มันมีการปฏิบัติ เพราะมันรู้เมื่อปฏิบัติ มันไม่รู้เมื่ออ่าน หรือเมื่อพูด หรือเมื่อฟัง
                ในเรื่องสตินี้มันต้องฝึก แล้วก็จะมีผล คือได้หรือรู้ แล้วก็ทำต่อๆ ไปจนถึงที่สุด เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ คือสติไวที่สุด เหมือนสายฟ้าแลบ เพราะว่าการเกิดแห่งกิเลสหรือกระแสแห่งอิทัปปัจจยตานั้น มันเหมือนสายฟ้าแลบ มันเร็วมาก เราก็ต้องฝึกสติของเราให้เร็วขึ้น ให้เป็นสิ่งที่เร็วเหมือนกับสายฟ้าแลบ มันก็จะแก้ปัญหาได้
                ส่วนเรื่องของปัญญานั้น ในขั้นตอนของธัมมานุปัสนา ๔ ข้อข้างท้ายนั้น มันเห็นอนิจจัง จนกระทั่งเห็นวิราคะ จนนิโรธะ จนปฏินิสสัคคะ นี่ปัญญามันสมบูรณ์แล้ว มันตัดกิเลสแล้ว มันหลุดพ้นแล้ว เพราะอำนาจของการปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างนี้
                รู้เรื่องกาย รู้เรื่องเวทนา รู้เรื่องจิต รู้เรื่องธรรม คือ สิ่งทั้งปวง มันก็เท่ากับว่ารู้กระแสอิทัปปัจจยตา ของทุกสิ่ง รู้กระแสการเกิดขึ้นอย่างไร ดับไปอย่างไร ปรุงแต่งกันอย่างไร ของกาย ของเวทนา ของจิต และของธรรมทั้งปวง
                นี้เรียกว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสรู้ ท่านตรัสรู้สิ่งใด เราก็รู้ตามในสิ่งนั้น ท่านที่ตรัสรู้ ไปรวมอยู่ที่รู้กฎของอิทัปปัจจยตา ว่าเป็นสิ่งสูงสุด นี่คือเรื่องอิทัปปัจจยตา ในฐานะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

                คำว่าเป็นสิ่งสูงสุดนั้น จะต้องอธิบายกันอีกมาก ว่ากฎอิทัปปัจจยตานั่นแหละเป็นสิ่งสูงสุด เหมือนกับพระเจ้าที่สูงสุด มันควบคุมทุกสิ่ง มันทีการปรุงแต่งทุกสิ่ง มันทำลายทุกสิ่ง มันมีอำนาจเหนือทุกสิ่ง มันมีอยู่ในที่ทั่วไป นั้นแหละเหมือนกับพระเจ้าที่แท้จริง เขาพูดกันว่าพระเจ้า พระเจ้า ต่างคนต่างก็พูด แล้วมีพระเจ้าไหน ที่ว่าจะสร้างหรือให้เกิดสิ่งทุกสิ่ง ควบคุมสิ่งทุกสิ่ง ทำลายสิ่งทุกสิ่ง เป็นใหญ่กว่าสิ่งทุกสิ่ง มีอยู่ในที่ทุกแห่ง แล้วก็รู้ทุกสิ่ง สามารถจะสร้างอะไรก็ได้ ที่มนุษย์สร้างอะไรขึ้นได้แปลกๆ ใหม่ๆ อย่างเดี๋ยวนี้ มันก็ตามกฎอิทัปปัจจยตา ซึ่งมีอยู่แล้ว สำหรับจะรู้ทุกสิ่ง หรือจะสร้างทุกสิ่ง
                นี่พระเจ้าของเราเป็นพระเจ้าที่แท้จริง ยิ่งกว่าพระเจ้าในศาสนาไหนหมดแหละ แล้วเป็นพระเจ้าที่พระพุทธองค์ก็ทรงเคารพในทันที เมื่อคนพบ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องกฎอิทัปปัจจยตา ได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านยังเคารพธรรมะ ที่ท่านตรัสรู้ คือเรื่องอิทัปปัจจยตา
                เอาละเป็นอันว่า เรามาพูดกันอย่างเพียงพอแล้ว ถึงเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่ทำให้เกิดพระพุทธเจ้า และการนิพพาน คือการเย็นลงของความร้อน ของกิเลส และความทุกข์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เราก็จะนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างนั้น ป้องกันการเกิดแห่งความทุกข์ หรือว่าหยุดการไหลไปแห่งความทุกข์ นี่คือ เป็นพุทธบริษัท ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นพุทธบริษัท

 

พุทธทาส อินทปัญโญ

นำเนื้อหามาจากหนังสือ จากศรีวิชัยถึงพุทธทาส ภิกขุ เรียบเรียงโดย คุณชำนาญ สัจจะโชติ พิมพ์ครั้งที่๑, ๒๕๔๙

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
Re: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 08:56:44 pm »
 :46: :45: :45:
*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: อิทัปปัจจยตา ท่านพุทธทาสภิกขุ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2011, 10:55:48 am »