ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น.จูฬนิทเทส  (อ่าน 2274 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

     
              เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น.   

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส - หน้าที่ 192
พราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า           
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์
ผู้เห็นธรรมอันงามอย่างนี้.
เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงไม่เห็น.   

     [๕๐๔] ดูกรโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความ         
              เป็นของสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงข้ามพ้นมัจจุราชได้       
              ด้วยอุบายอย่างนี้.       
              เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น. 

[๕๐๕] คำว่า โลก ในอุเทศว่า สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ
ดังนี้ คือ นิรยโลก ติรัจฉานโลก ปิตติวิสยโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกพร้อมทั้งเทวโลก.
 

ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า         
โลก โลก ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลก เพราะเหตุเท่าไรหนอแล? 
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ เรากล่าวว่าโลก เพราะเหตุว่า ย่อมแตก. อะไรแตก? 
จักษุแตก รูปแตก จักษุวิญญาณแตก จักษุสัมผัสแตก สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี
 
อทุกขมสุขเวทนาก็ดี ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็แตก. หูแตก เสียง       
แตก จมูกแตก กลิ่นแตก ลิ้นแตก รสแตก กายแตก โผฏฐัพพะแตก มนะแตก ธรรมารมณ์ 
แตก มโนวิญญาณแตก มโนสัมผัสแตก สุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อทุกขมสุขเวทนาก็ดี 
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้เวทนานั้นก็แตก. ดูกรภิกษุ ธรรมมีจักษุเป็นต้นนั้น       
ย่อมแตกดังนี้แล เพราะเหตุนั้นเราจึงกล่าวว่าโลก.
 
คำว่า จงพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโลกโดย 
ความเป็นของสูญ ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยสามารถความกำหนดว่าไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ 
ด้วยสามารถการพิจารณาเห็นสังขารโดยเป็นของว่างเปล่า ๑. 

บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการกำหนดว่า ไม่เป็นไป 
ในอำนาจ อย่างไร?
ใครๆ ย่อมไม่ได้อำนาจในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ. 

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา.             
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และจะพึงได้   
ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็นอย่างนี้ รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่     
เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในรูปว่า ขอรูปของเราจงเป็น     
อย่างนี้ รูปของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.

เวทนาเป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้     
จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และพึงได้ในเวทนาว่า ขอเวทนาของเรา         
จงเป็นอย่างนี้ เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะเวทนาเป็นอนัตตา   
ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า ขอเวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้           
เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.

สัญญาเป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักเป็น       
อัตตาแล้วไซร้ สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และพึงได้ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเรา             
จงเป็นอย่างนี้ สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัญญาเป็นอนัตตา   
ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า ขอสัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้           
สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.

สังขารเป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารนี้จักเป็น     
อัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และจะพึงได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเรา         
จงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสังขารเป็น       
อนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเราจงเป็น         
อย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.

วิญญาณเป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณ     
นี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และจะพึงได้ในวิญญาณว่า ขอ           
วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะ     
วิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ. และย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า ขอ 
วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้ วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.   

และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่
ของท่านทั้งหลาย ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว       
มีเจตนาเป็นมูลเหตุ. ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมมนสิการโดยแยบคายด้วยดี
ถึงปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ก็เกิด
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ  สิ่งนี้ก็ดับ

คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติ     
เป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ก็เพราะอวิชชานั้นแล
ดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ
วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหา             
จึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ

ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการกำหนด 
ว่าไม่เป็นไปในอำนาจ อย่างนี้


บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการพิจารณา
เห็นสังขารโดยความเป็นของว่างเปล่า อย่างไร?
ใครๆ ย่อมไม่ได้แก่นสารในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ.
 
รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
โดยสาระว่าความเที่ยง เป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร
โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง 
โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา.

เวทนา ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
สัญญา ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
สังขาร  ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
วิญญาณ ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจาก แก่นสาร

โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร
โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน
โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวน  เป็นธรรมดา.

ต้นอ้อไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นละหุ่งไม่มีแก่นสาร           
ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นมะเดื่อไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร
ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นรักไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
อนึ่ง ต้นทองหลางไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ฟองน้ำ
ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต่อมน้ำไม่มีแก่นสาร
ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง ต้นกล้วยไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร
ปราศจากแก่นสาร อนึ่ง พยัมแดดไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
 
ฉันใด รูปไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระว่าความเที่ยงเป็นแก่นสาร 
โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน             
โดยความมั่นคง หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
เวทนาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
สัญญาไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
สังขารไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร
วิญญาณไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร

โดยสาระว่า ความเที่ยงเป็นแก่นสาร โดยสาระว่าความสุขเป็นแก่นสาร
โดยสาระว่าตนเป็นแก่นสาร โดยความเที่ยง โดยความยั่งยืน โดยความมั่นคง
หรือโดยมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน.
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ด้วยสามารถการพิจารณา 
เห็นสังขารโดยเป็นของว่างเปล่า อย่างนี้. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลก
โดยความเป็นของสูญ ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้.
 
อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๖ อย่าง 
คือ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความที่ตนไม่เป็นใหญ่ ๑ โดยทำตามความชอบใจไม่ได้ ๑ โดยเป็น 
ที่ตั้งแห่งความไม่สบาย ๑ โดยไม่เป็นไปในอำนาจ ๑ โดยเป็นไปตามเหตุ ๑ โดยว่างเปล่า ๑.             
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความที่ตนไม่เป็นใหญ่ ... โดย 
ว่างเปล่า. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๖ อย่างนี้. 

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๑๐ อย่าง 
คือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็นรูป

   โดยความว่าง ๑
   โดยความเปล่า ๑
   โดยความสูญ ๑
   โดยไม่ใช่ตน ๑
   โดยไม่เป็นแก่นสาร ๑

   โดยเป็นดังผู้ฆ่า ๑
   โดยความเสื่อม ๑
   โดยเป็นมูลแห่งทุกข์ ๑         
   โดยมีอาสวะ ๑
   โดยความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑.
 
บุคคลย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความว่าง ...
โดยความเป็นขันธ์อันปัจจัยปรุงแต่ง. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลก
โดยความเป็นของสูญ โดยอาการ ๑๐ อย่างนี้.     

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ
โดยอาการ ๑๒ อย่าง คือ ย่อมพิจารณาเห็นว่า
 
   รูปไม่ใช่สัตว์ ๑
   ไม่ใช่ชีวิต ๑
   ไม่ใช่บุรุษ ๑
   ไม่ใช่คน ๑

   ไม่ใช่มาณพ ๑   
   ไม่ใช่หญิง ๑
   ไม่ใช่ชาย ๑
   ไม่ใช่ตน ๑

   ไม่ใช่ของที่เนื่องกับตน ๑
   ไม่ใช่เรา ๑
   ไม่ใช่ของเรา ๑       
   ไม่มีใครๆ ๑.

บุคคลย่อมพิจารณาเห็นว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่สัตว์ ... 
ไม่มีใครๆ. บุคคลย่อมพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญโดยอาการ ๑๒ อย่างนี้. 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 34
 [๙๗]   คำว่า  กุสโล  สพฺพธมฺมานํ   ความว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง
 ว่า
    สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ...    สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ...    ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา ...   เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย  จึงมีสังขาร ฯ ล ฯ   สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา      สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็น
ธรรมดา   พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้
.

อีกอย่างหนึ่ง    พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง   โดยเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง 
เป็นทุกข์    เป็นโรค    เป็นดังฝี    เป็นดังลูกศร   เป็นความลำบาก
เป็นอาพาธ    เป็นอย่างอื่น   เป็นสภาพชำรุด    เป็นเสนียด   เป็นอุบาทว์
เป็นสภาพไม่สำราญ   เป็นภัย   เป็นอุปสรรค   หวั่นไหว   ผุพัง   ไม่ยั่งยืน
ไม่มีอะไรต้านทาน  ไม่มีที่เร้น    ไม่มีสรณะ  ไม่เป็นที่พึ่ง  ว่าง  เปล่า  สูญ

เป็นอนัตตา   มีโทษ   มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา   ไม่เป็นแก่นสาร
เป็นมูลแห่งทุกข์    เป็นผู้ฆ่า    เป็นสภาพปราศจากความเจริญ    มีอาสวะ
มีปัจจัยปรุงแต่ง  เป็นเหยื่อแห่งมาร  มีชาติเป็นธรรมดา  มีชราเป็นธรรมดา
มีพยาธิเป็นธรรมดา  มีมรณะเป็นธรรมดา  มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสเป็นธรรมดา    มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา

อีกอย่างหนึ่ง    พึงเป็นผู้ฉลาดในขันธ์  ...     ธาตุ ...    อายตนะ ...
ปฎิจจสมุปบาท ...  สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ...  อิทธิบาท ... อินทรีย์ ...   
พละ ... โพชฌงค์ ... มรรค ...  ผล ...  นิพพาน
  พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรม
ทั้งปวง
แม้ด้วยอาการอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง   อายตนะ ๑๒   คือ จักษุ  รูป   หู   เสียง  จมูก  กลิ่น
ลิ้น   รส   กาย   โผฏฐัพพะ  ใจ   ธรรมารมณ์       เรียกว่า ธรรมทั้งปวง.
ก็ภิกษุเป็นผู้ละความกำหนัดในอายตนะภายในภายนอก    คือ   ตัดรากขาด
แล้ว  ทำไม่ให้มีที่ตั้งเหมือนตาลยอดด้วน  ถึงความไม่มีในภายหลัง  มีความ
ไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา  ด้วยเหตุใด  ภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง
แม้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้      เพราะฉะนั้น     จึงชื่อว่า     ฉลาดในธรรม
ทั้งปวง.

         [๙๘]  บทว่า สโต  ในอุเทศว่า "สโต  ภิกขุ ปริพฺพเช"   ความ
ว่า ภิกษุมีสติด้วยเหตุ ๔ ประการ

-----------------
----------------------

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 190
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอกสมาบัติเป็นที่อาศัยและธรรมเป็นทางที่ออก
ยิ่งขึ้นไป     แก่พราหมณ์นั้นว่า

ท่านเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากสมาบัติแล้ว จงเพ่งดู
คือ  ตรวจดู   พินิจดู   พิจารณาดู  ซึ่งธรรม   คือจิต  และเจตสิกที่เกิดใน
สมาบัตินั้น    โดยความเป็นธรรม
    ไม่เที่ยง   เป็นทุกข์   เป็นโรค   เป็นฝี
เป็นลูกศร   เป็นความลำบาก   เป็นอาพาธ    เป็นของชำรุด    เป็นเสนียด
เป็นอุบาทว์  เป็นของไม่สำราญ    เป็นภัย  เป็นอุปสรรค  เป็นของหวั่นไหว
เป็นของทำลาย   เป็นของไม่ยั่งยืน  เป็นของไม่มีที่ต้านทาน   เป็นของไม่มี
ที่เร้น     เป็นของไม่เป็นสรณะ      เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง      เป็นของว่าง
เป็นของเปล่า   เป็นของสูญ   เป็นอนัตตา  เป็นโทษ   

เป็นวิปริณามธรรม
เป็นของไม่มีแก่นสาร     เป็นมูลแห่งทุกข์     เป็นของไม่เจริญ     เป็นของ
มีอาสวะ   เป็นดังเพชฌฆาต   เป็นธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง   เป็นเหยื่อมาร
เป็นของมีชาติเป็นธรรมดา   เป็นของมีชราเป็นธรรมดา  เป็นของมีพยาธิ
เป็นธรรมดา     เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา      เป็นของมีโสกะปริเทวะ
ทุกข์โทมนัสและอุปายาสเป็นธรรมดา      เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา
เป็นของมีความดับเป็นธรรมดา  เป็นของไม่น่าพอใจ 
เป็นของมีอาทีนพโทษ  เป็นของไม่มีเครื่องสลัดออก.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค - หน้าที่ 136

 [๓๗๑] ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ       
   ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งการบริจาคทาน ๑
   ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต ๑
   ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งลักษณะความเสื่อม ๑
   ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งนิโรธ ๑

   (๑)ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่ง
การบริจาคทาน ของบุคคลผู้น้อมใจไปในจาคะทั้งหลาย
   (๒)ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏ
แห่งสมถนิมิตของบุคคลผู้หมั่นประกอบในอธิจิตทั้งหลาย
   (๓)ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏ
แห่งลักษณะความเสื่อม ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย และ
   (๔)ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความ
ปรากฏแห่งนิโรธ ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย จิตที่ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียวในฐานะ ๔ เหล่านี้
ย่อมเป็นจิตที่มีปฏิปทาวิสุทธิผ่องใส เจริญงอกงามด้วยอุเบกขา และถึงความร่าเริงด้วยญาณ ฯ

      [๓๗๒] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน  ความหมดจด
แห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ฯ
        [๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
        ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ
      จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น  จิตดำเนินไปสู่
สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนิน
ไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
   จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑
 จิตแล่นไปในสมถนิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑
 ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้
 เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ

   [๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งท่ามกลาง
เท่าไร ฯ
        ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ
      จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่
จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑
   จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉย ๑
   จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑
   ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน
   ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
        [๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
        ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ
      ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
      ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑       
      ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลาย
      ไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
      ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑
      ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน
      ลักษณะแห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
      ปฐมฌานมีความงามในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึง ความเป็นไป ๓ ประการ
      มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
      ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต  ศรัทธา วิริยะ สติ
สมาธิและถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
        [๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯ
        ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง ความ
ร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึง
พร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ ... และถึงพร้อมด้วย
ปัญญา ฯ
        [๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งตติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึง
ความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม อย่าง ๓ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็น
จิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
        [๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ จิตอันถึง
ความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา
การอธิษฐานจิต  ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
        [๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอัน
ถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อม
เป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ

     [๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจานุปัสนา ฯลฯ จิตอันถึงความ
เป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐
ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
        อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่ง
      ทุกขานุปัสนา
      อนัตตานุปัสนา
      นิพพิทานุปัสนา
      วิราคานุปัสนา
      นิโรธานุปัสนา
      ปฏินิสสัคคานุปัสนา 
      ขยานุปัสนา
      วยานุปัสนา
      วิปริณามานุปัสนา
      อนิมิตตานุปัสนา
      อัปปณิหิตานุปัสนา
      สุญญตานุปัสนา
      อธิปัญญา
      ธรรมวิปัสนา
      ยถาภูตญาณทัสสนะ
      อาทีนวานุปัสนา
      ปฏิสังขานุปัสนา
      วิวัฏฏนานุปัสนา
      โสดาปัตติมรรค
      สกทาคามิมรรค
      อนาคามิมรรค ฯลฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

   [๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
        ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง ความ
ร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
        ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
        ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ
      จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะ
เป็นจิตหมดจดจิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
   จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑
   จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑
   ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓
   ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
 อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
        [๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งท่ามกลาง
เท่าไร ฯ
        ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ
      จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑
      จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑
      จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑
      จิตหมดจดวางเฉยอยู่ ๑
   จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่   จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่นั้น  ท่านจึง
กล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
        [๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
        ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ

      ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในอรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
      ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
      ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และ
      ความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
   ความร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑

   ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค
ลักษณะแห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความ
งามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการมีความงาม ๓ อย่าง ถึง
พร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐาน
จิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและพร้อมด้วยปัญญา ฯ
          นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
          เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
          อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
          รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ
        [๓๘๔] ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เป็นธรรมไม่ปรากฏ จิต
ไม่ถึงความฟุ้งซ่าน จิตปรากฏเป็นประธาน จิตให้ประโยคสำเร็จและบรรลุผลวิเศษอย่างไร ฯ

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

               

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค - หน้าที่ 147

 [๓๙๖] บุคคลรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาว
ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้จักโคจรและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์
ฯลฯ ย่อมให้ธรรมทั้งหลายประชุมกันรู้จักโคจรและแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
        คำว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้
ประชุมลงอย่างไร ฯ
        บุคคลย่อมยังสัทธินทรีย์ ให้ประชุม ลงด้วย ความน้อมใจเชื่อ ยังวิริยินทรีย์ให้ประชุมลงด้วย
ความประคองไว้ ยังสตินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ยังสมาธินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ยังปัญญินทรีย์ให้ประชุมลงด้วยความเห็น บุคคลนี้ยังอินทรีย์เหล่านี้ให้ประชุมลงใน
อารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
        คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจรแห่งธรรมนั้น รู้จัก
โคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น บุคคล ความรู้ปัญญา ฯ
        คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความสงบ จิต
ตั้งมั่นเป็นความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ ฯ
        คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็น

ประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ ฯ        คำว่า
 แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอดความที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้วเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
        [๓๙๗] คำว่า ย่อมให้พละทั้งหลายประชุมลง ความว่า ย่อมให้พละทั้งหลายประชุม
ลงอย่างไร ฯ
        บุคคลย่อม ยังสัทธาพละให้ประชุมลง ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ยัง
วิริยพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ยังสมาธิพละให้ประชุมลงด้วยความ
ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ยังปัญญาพละให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา บุคคล
นี้ย่อมยังพละเหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังพละ
ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
        คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์ ฯ
        [๓๙๘] คำว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุม ความว่า บุคคลย่อมยังโพชฌงค์
ทั้งหลายให้ประชุมลงได้อย่างไร ฯ
        บุคคลย่อมยังสติสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังธรรมวิจยสัมโพช
ฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความเลือกเฟ้น ยังวิริยสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความประคองไว้ ยังปีติ
สัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความแผ่ซ่านไป ยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความสงบ
ยังสมาธิสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้ประชุมลงด้วย
ความวางเฉยบุคคลนี้ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงในอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึง
กล่าวว่า ย่อมยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
        คำว่า รู้โคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์ ฯ
        [๓๙๙] คำว่า ย่อมยังมรรคให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังมรรคให้ประชุมลง
อย่างไร ฯ
        บุคคลย่อมยังสัมมาทิฐิให้ประชุมลงด้วยความเห็น ยังสัมมาสังกัปปะให้ประชุมลงด้วย

ความดำริ ยังสัมมาวาจาให้ประชุมลงด้วยความแน่นอน ยังสัมมากัมมันตะให้ประชุมลงด้วย
ความที่เกิดขึ้นดี ยังสัมมาอาชีวะให้ประชุมลงด้วยความผ่องแผ้ว ยังสัมมาวายามะให้ประชุมลงด้วยความ
ประคองไว้ ยังสัมมาสติให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้ ยังสัมมาสมาธิให้ประชุมลงด้วยความ
ไม่ฟุ้งซ่านบุคคลนี้ย่อมยังมรรคนี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าย่อม
ยังมรรคให้ประชุมลง ฯ
        คำว่า รู้จักโคจร ฯลฯ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า และแทงตลอดธรรมอันมีความ
สงบเป็นประโยชน์ ฯ
        [๔๐๐] คำว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ความว่า บุคคลย่อมยังธรรมทั้งหลาย
ให้ประชุมลง อย่างไร ฯ
      บุคคลย่อมยังอินทรีย์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่
      ยังพละทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความไม่หวั่นไหว
      ยังโพชฌงค์ทั้งหลายให้ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมเครื่องนำออก
      ยังมรรคให้ประชุมลงด้วยความเป็นเหตุ
      ยังสติปัฏฐานให้ประชุมลงด้วยความเข้าไปตั้งไว้
      ยังสัมมัปปธานให้ประชุมลงด้วยความเริ่มตั้ง
      
      ยังอิทธิบาทให้ประชุมลงด้วยความให้สำเร็จ
      ยังสัจจะให้ประชุมลงด้วยความถ่องแท้
      ยังสมถะให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
      ยังวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความพิจารณาเห็น
      ยังสมถะและวิปัสสนาให้ประชุมลงด้วยความมีกิจเป็นอันเดียวกัน
      
      ยังธรรมเป็นคู่กันให้ประชุมลงด้วยความไม่ล่วงเกินกัน
      ยังสีลวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความสำรวม
      ยังจิตวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
      ยังทิฐิวิสุทธิให้ประชุมลงด้วยความเห็น
      ยังวิโมกข์ให้ประชุมลงด้วยความหลุดพ้น
      
      ยังวิชชาให้ประชุมลงด้วยความแทงตลอด
      ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความสละรอบ
      ยังญาณในความสิ้นไปให้ประชุมลงด้วยความตัดขาด
      ยังญาณในความไม่เกิดขึ้นให้ประชุมลงด้วยความเห็นเฉพาะ
      ยังฉันทะให้ประชุมลงด้วยความเป็นมูลเหตุ
      
      ยังมนสิการให้ประชุมลงด้วยความเป็นสมุฏฐาน
      ยังผัสสะให้ประชุมลงด้วยความประสบ
      ยังเวทนาให้ประชุมลงด้วยความรู้สึก
      ยังสมาธิให้ประชุมลงด้วยความเป็นประธาน
      ยังสติให้ประชุมลงด้วยความเป็นใหญ่
      
      ยังสติสัมปชัญญะให้ประชุมลงด้วยความเป็นธรรมที่ยิ่งกว่านั้น
      ยังวิมุตติให้ประชุมลงด้วยความเป็นสาระ
      ยังนิพพานอันหยั่งลงในอมตะให้ประชุมลงด้วยความเป็นที่สุด

      
บุคคลนี้ย่อมยังธรรมเหล่านี้ให้ประชุมลงในอารมณ์นี้
เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้ประชุมลง ฯ
       
คำว่า รู้จักโคจร ความว่า รู้จักอารมณ์แห่งธรรมนั้นว่าเป็นโคจรแห่งธรรมนั้น รู้จัก
โคจรแห่งธรรมนั้นว่าเป็นอารมณ์แห่งธรรมนั้น บุคคล ความรู้ปัญญา ฯ

คำว่า สงบ ความว่า อารมณ์ปรากฏเป็นความสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นความสงบ จิตตั้งมั่นเป็น
ความสงบ จิตผ่องแผ้วเป็นความสงบ ฯ

คำว่า ประโยชน์ ความว่า ธรรมอันไม่มีโทษเป็นประโยชน์ ธรรมอันไม่มีกิเลสเป็น
ประโยชน์ ธรรมอันมีความผ่องแผ้วเป็นประโยชน์ ธรรมอันประเสริฐเป็นประโยชน์ ฯ

คำว่า แทงตลอด ความว่า แทงตลอดความที่อารมณ์ปรากฏ แทงตลอดความที่จิตไม่
ฟุ้งซ่าน แทงตลอดความที่จิตตั้งมั่น แทงตลอดความที่จิตผ่องแผ้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
และแทงตลอดธรรมมีความสงบเป็นประโยชน์ ฯ
        [๔๐๑] ....
-----------------
-------------------



อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน
ตนคำแรก คือ โลกุตตรธรรม 9
ตนหลัง คือ ดวงจิต อันสัมปยุตด้วย
ขันธ์


ศรีธรรมนูญ เรืองศรี : http://www.srthinth.info/PC.php
พฤศจิกายน 2551
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ