พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 493
ว่าด้วยอารมณ์ของปฏิสนธิ ว่าโดยสังเขป อารมณ์ของปฏิสนธิจิต มี ๓ คือ
กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต.
บรรดา อารมณ์ทั้ง ๓ เหล่านั้น เจตนาที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำแล้ว
ชื่อว่า กรรม กรรมย่อมประกอบวัตถุใด ทำให้เป็นอารมณ์ วัตถุนั้นชื่อว่า
กรรมนิมิต ในกรรมและกรรมนิมิตนั้น เมื่อกรรมที่สัตว์ทำไว้ในอดีต
เเม้ในที่สุดแห่งแสนโกฏิกัป กรรมนั้น ย่อมมาปรากฏเป็นกรรมหรือกรรมนิมิต
ในขณะนั้น. ในข้อนั้น มีเรื่องเทียบเคียงของ
กรรมนิมิต ดังต่อไปนี้
เรื่องนายโคปกสีวลี
ได้ยินว่า บุรุษชื่อ นายโคปกสีวลี ยังบุคคลให้สร้างพระเจดีย์ในวิหาร
ชื่อว่า ตาลปิฏฐิกะ เมื่อเขานอนในเตียงจะมรณะ พระเจดีย์ปรากฏแล้ว
เขาถือเอาเจดีย์นั้นนั่นแหละเป็นนิมิต ทำกาละแล้วไปบังเกิดในเทวโลก.
เรื่องการตายของผู้ลุ่มหลง
ยังมีความตายอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
สัมมุฬหกาลกิริยา (
การทำกาละ
ของผู้ลุ่มหลง) จริงอยู่ เมื่อบุคคลมุ่งเดินไปข้างหน้า บุคคลเอาดาบอันคมกล้า
ตัดศีรษะข้างหลังก็ดี เมื่อบุคคลนอนหลับถูกบุคคลเอาดาบคมกล้า ตัดศีรษะก็ดี
ถูกบุคคลกดให้จมน้ำตายก็ดี ในกาลแม้เห็นปานนี้
กรรมหรือว่า
กรรมนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ย่อมปรากฏ.
ภาพ (วรรณะ) อย่างหนึ่ง ปรากฏในภูมิ (โอกาส) ของสัตว์ที่จะบังเกิดขึ้น
ชื่อว่า
คตินิมิต ในคตินิมิตนั้น เมื่อ
นรกจะปรากฏ ก็จะปรากฏในคตินิมิตนั้น
เมื่อนรกจะปรากฏก็จะปรากฏเป็นภาพ เช่นกับโลหกุมภี (หม้อทองแดง)
เมื่อ
มนุษยโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏเป็นภาพท้องมารดา ผ้ากัมพล และยาน.
เมื่อ
เทวโลกจะปรากฏ ก็จะปรากฏเป็นภาพต้นกัลปพฤกษ์ วิมาน และที่นอน เป็นต้น
ปฏิสนธิมีอารมณ์ ๓ อย่างโดยสังเขปคือ
กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต ด้วยประการฉะนี้.
-http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=2057.0