ผู้เขียน หัวข้อ: ภควัทคีตา บทเพลงแห่งองค์ภควัน  (อ่าน 5067 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด






ภควัทคีตา

(บทเพลงแห่งองค์ภควัน)



สมภาร พรมทา แปล และเรียบเรียง


คลิ๊กอ่าน...>>> : http://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=259&Itemid=14









อนุโมทนาค่ะ ขอให้มีความสุขในการอ่านนะคะ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ภควัทคีตา บทเพลงแห่งองค์ภควัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 08:51:23 am »

มหาภารตะยุทธ...บทที่ ๑ - ๑๑



สัญชัย กำลังทูลเล่าเหตุการณ์การรบให้ท้าวธฤตราษฎร์พระราชาตาบอด
พระบิดาของเการพทั้ง 100 คน ให้ทราบความเป็นไปในสนามรบ...สัญชัยนี้
ได้รับพรจากฤษีวยาส..พระบิดาของท้าวธฤตราษฎร์ให้มีสัมผัสพิเศษมอง
เห็นความเป็นไปในสนามรบได้ตลอดในทุกๆเหตุการณ์




หลังการยุทธจบลง..บรรดาครอบครัวผู้ร่วมรบก็มาเก็บศพ
ญาติพี่น้องตัวเองไปเผา...




ฤๅษีวยาส...ผู้รจนามหาภารตะยุทธ

มหาภารตะยุทธ...บทที่ ๑ - ๑๑
คลิ๊กเพื่ออ่าน...: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=01-2009&date=25&group=2&gblog=61

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ภควัทคีตา บทเพลงแห่งองค์ภควัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:04:31 am »



มหาภารตะยุทธ...บทที่ ๑ - ๑๑

เกริ่นนำ….

มหากาพย์ภารตยุทธ..นี้เป็นวรรณกรรมยิ่งใหญ่
หนึ่งในสองของอินเดียมาแต่โบราณ...
หนึ่งนั้นคือรามายณะ...หรือ รามเกียรติ์ อันแพร่
หลายขจรขจายไปทั่วเอเชียอาคเนย์
และหนึ่งคือ มหาภารตยุทธ ที่จะเป็นเอกเฉพาะ
ในดินแดนชมพูทวีปเองเท่านั้น

ทั้งสองเรื่อง..รจนาขึ้นหลังการบุกเข้ามาสู่ชมพูทวีป
ของชนชาติอารยันจากแถบเอเชียกลางแถวทะเลสาป
แคสเปี้ยน ที่เรียกกันว่า เอเชียไมเนอร์
ชนกลุ่มนี้มีลักษณาการเช่นเดียวกับฝรั่ง..คือผิวขาว
จมูกโด่ง ตาโตมีขอบตาสองชั้น ดวงตาสีฟ้า-เขียว..
เส้นผมแดง น้ำตาล ทอง เป็นโครงสร้างร่างกายของพวก..
คอเคซอยด์....นั่นเอง

ขณะที่อพยพลงมาจากถิ่นเดิมนั้น...มุ่งลงมาที่
ดินแดนรอบอ่าวเปอร์เซียก่อนเป็นลำดับแรก...และลง
หลักปักฐานที่นั่นส่วนหนึ่งคือชนชาติอิหร่านในปัจจุบัน...
ส่วนที่เหลือก็อพยพข้ามเทือกเขาต่อมาผ่านดินแดน
กัษมีระ หรือ ที่เรียกว่า แคชเมียร์ ในปัจจุบันลงมาสู่ริม
เทือกเขาหิมาลัย..แล้วค่อยๆขยายขอบเขตลงมาสู่..
ลุ่มน้ำคงคาและลงหลักปักฐานในอินเดียตอนบนในที่สุด

การอพยพนี้กินเวลายาวนาน...เป็นหลายร้อยปี...ด้วยความเป็น
ชนเผ่าเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์...จึงขยายตัวกินแดนเรื่อยมา
ขณะที่ชมพูทวีปตอนนั้น..ชนพื้นเมืองเดิมที่มีอาชีพทำ
เกษตรกรรม ได้ยึดครองอยู่ก่อนแล้ว...เรียกว่าพวก มิลักขะ
มีรูปลักษณ์เดียวกับ ชาวอินเดียตอนล่างในปัจจุบัน
คือผิวดำ ตัวเล็ก คล้ายๆแขกขายโรตี ตามบ้านเรา ซึ่งชนกลุ่มนี้
อพยพมาจากแอฟริกาอีกต่อหนึ่งเมื่อหลายพันปีมาแล้ว

ช่วงเวลาของเรื่องราว..การอพยพนี้
ผู้เขียนประเมินเอาจากอายุพระพุทธศาสนาเป็นแนวทาง
เมื่อสมัยพุทธกาลนั้น..เรานับเนื่องขึ้นไปได้ถึงประมาณ
2600 ปี จากสมัยปัจจุบัน
สมัยนั้นคัมภีร์พระเวทของชาวอารยันแพร่หลาย
มีพัฒนาการกันถึงขั้น..โต้อภิปรัชญา..กันแล้ว
ช่วงนั้นเองเป็นช่วงที่พราหมณ์เริ่มปฏิรูปคำสอนกัน
ขนานใหญ่...เนื่องจากการเกิดขึ้นของศาสนาใหม่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็น พุทธ ไชนะ ฯลฯ...เป็นคู่แข่งขันดึงศรัทธาคน

แปลว่า..การลงหลักปักฐาน..การกำเนิดแนวคิดปรัชญาต่างๆนั้น
สืบทอดมาอย่างยาวนาน..หยั่งรากลึกจนมั่นคงแล้วในจิตใจคน
เมื่อมาถึงยุคพุทธกาล

แปลว่า...การอพยพใหญ่ครั้งนั้นควรต้องมีมาไม่ต่ำกว่า
1,000-1,500 ปีแล้วก่อนพุทธกาล
เมื่อรวมกับอายุพุทธศาสนา การอพยพใหญ่ครั้งนั้นน่าจะ
อยู่ที่ เมื่อ 4,000 - 4,300 ปีที่แล้วนับจากปัจจุบันย้อนกลับขึ้นไป
ช่วงเวลานี้คงมีความใกล้เคียงกับอายุของศาสนา โซโรแอสเตอร์
ในอิหร่าน

แปลว่า อารยัน มีเทพเจ้าสำหรับการบวงสรวง...รวมทั้งการบูชาไฟ
เป็นของตนเองมาก่อนนับนานแล้ว...ไปไหนก็เอาไปด้วย....
เมื่อมาอยู่ชมพูทวีปก็เอามาด้วยทั้ง พระอิศวร ทั้ง ลัทธิบูชาไฟ
และเป็นกลุ่มที่มีพัฒนาการทางด้านปรัชญาเหนือกว่ากลุ่มแรกที่
ปักหลักที่อิหร่าน...

ผู้เขียนเองเข้าใจว่านักปราชญ์ผู้รู้จะอยู่ในกลุ่ม
ที่เดินทางเลยเถิดมาถึงชมพูทวีปเป็นส่วนใหญ่
กลุ่มก้อนในอิหร่านจึงไม่อาจให้กำเนิดปรัชญา ศาสนา
อะไรได้มากนัก....ที่รู้จักก็มีเพียง โซโรแอสเตอร์ เท่านั้น
ซึ่งผิดกับกลุ่มที่ปักหลักในอินเดียตอนเหนือที่ให้กำเนิด
ปรัชญา ศาสนา ลัทธิ ต่างๆมากมาย

การปฏิรูปหลักคำสอนนี้
กินเวลาเป็นพันปี...เริ่มก่อนพุทธกาล..และสิ้นสุดหลัง
พุทธกาล..เรียกยุคนี้ของพราหมณ์ หรือ ฮินดู ปัจจุบันว่ายุค
อุปนิษัท....ซึ่งก่อนยุคปฏิรูปนี้...มีกฎเกณฑ์บางข้อ
ตราไว้ถึงขนาดว่า....”ศูทรผู้ใดแอบฟังพราหมณ์สาธยายพระเวท
ในเทวาลัย...โทษของมันผู้นั้นคือ...เอาตะกั่วหลอมไฟกรอกหู”...
อันสะท้อนถึงการแบ่งแยกวรรณะอย่างรุนแรงในยุคสมัยนั้น

รามายณะ หรือ รามเกียรติ์
พูดถึงสงครามระหว่าง มนุษย์ ลิง เทวดา ยักษ์แปรพักตร์ นั้นฝ่ายหนึ่ง
กับ ยักษ์..อีกฝ่ายหนึ่ง....ซึ่งแปลความได้ว่า...
มนุษย์...คือเผ่าพันธุ์อารยัน หรือ ตัวแทนแห่งความดีงามนั่นเอง
ลิง...คือ ชนพื้นเมืองที่ยอมรับอำนาจของอารยัน ที่มาใหม่
ให้เป็นใหญ่ในดินแดนที่ตนอยู่มาก่อน
เทวดา...คือ ผู้ช่วยเหลืออารยัน เป็นผู้สนับสนุนค้ำจุนเป็นกำลังใจ
ยักษ์...คือ ชนพื้นเมืองเดิม คือ พวก มิลักขะ ที่ต่อสู้กับการถูกรุกราน
จนต้องร่นถอยลงใต้ เหมือน อินเดียนแดงใน อเมริกา
เป็นตัวแทนแห่งความชั่วร้าย

เป็นการบอกโลก..ผ่านวรรณกรรมว่า...การรุกรานดินแดน
มิลักขะของอารยันนั้นชอบธรรม


มหาภารตะยุทธ...
เป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นหลัง...รามายณะ
เป็นเหตุการณ์เมื่ออารยันลงหลักปักฐานสร้างบ้านแปง
เมืองมั่นคงแล้ว มีนครรัฐต่างๆ...มีเจ้าผู้ครองนครเป็นอิสระบ้าง
ขึ้นกับนครใหญ่บ้าง...มีนักปราชญ์...มีรูปแบบการปกครอง
ที่ชัดเจน...มีหลักการเชิงเหตุผลเป็นปรัชญาการดำเนินชีวิต
ของผู้คนแล้ว...

ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็น ภายในสังคมอารยันด้วยกันเองทั้งสิ้น
เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กันก็ย่อมมีความขัดแย้งกันเป็นธรรมดา
จึงเป็นที่มาของสงครามของพวกเผ่าเดียวกัน...

ฤษีวยาส เห็นเหตุการณ์ฆ่าฟันกันของชนเผ่าเดียวกัน
ก็รู้สึกสลดใจ จึงมีแรงบันดาลใจรจนาเรื่องการยุทธในระหว่าง
สายเลือดเดียวกันขึ้นมา...โดยมีตัวแทนของฝ่ายดีงามคือ ปาณพ
และฝ่ายชั่วร้ายคือ เการพ....ทำสงครามกัน
ศึกสายเลือด..ว่างั้นเถอะ

เมื่อแปลความต่อไปอีกชั้น..ก็คือการต่อสู้กันของสำนึกฝ่ายดี
และฝ่ายชั่วของจิตใจภายในคนคนหนึ่งนั่นเอง...
จิตใจที่มีร่างเดียวกันนั่นแหละที่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
คือความหมายของสายเลือดเดียวกันของปาณฑพและเการพ
โดยที่หัวใจของเรื่องคือบทตอนที่ พระกฤษณะที่ทำหน้าที่
สารถีให้กับท่านอรชุน ได้พูดเตือนสติท่านอรชุนไม่ให้รู้สึกท้อแท้
เราเรียกบทนี้ว่า บทเพลงแห่งองค์ภควัน หรือ ภควัตคีตา
อันเป็นแนวคิดหลักของศาสนาฮินดู หรือ พราหมณ์ เลยทีเดียว

ชนชาติอารยันส่วนหนึ่งได้อพยพไปทางยุโรปเหนือ ที่เป็นดินแดน
เยอรมันในปัจจุบัน....ซึ่งชื่อเผ่าพันธุ์อารยันนี้ อดอร์ฟ ฮิตเลอร์ เคยเอามา
เชิดชูสำหรับเป็นเครื่องมือทำลายล้างชนชาติยิวจนตกตายกว่า 6 ล้าน
คนมาแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2



อ่าน.. = ปณามคาถา =
สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ 
ต่อตามลิ้งค์ด้านบนค่ะ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 30, 2010, 04:37:46 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: ภควัทคีตา บทเพลงแห่งองค์ภควัน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 11:20:19 am »
 :13: ภาพสวยเนื้อเรื่องน่าอ่านดีครับ ^^ อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
โอม! ตัต! สัต! ภควัทคีตา!
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2011, 12:16:16 pm »





ไม่ว่าเรา, ท่าน, หรือราชบุตรเการพเหล่านั้น
ทั้งหมดไม่มีใครเกิดและไม่มีใครตาย
       
อาตมันที่สิงอยุ่ในร่างของเราต่างหากที่ลอยล่องผ่านร่างเด็ก,
ร่างหนุ่มสาว, และร่างชราของเราไป
อาตมันนี้ย่อมจะเข้าสิงอาศัยร่างใหม่เรื่อยไป
เมื่อร่างเก่าขำรุดจนใช้งานไม่ได้
ผู้มีปัญญาย่อมไม่คลางแคลงในเรื่องนี้

ใครก็ตามที่คิดว่าอาตมันนี้เป็นผู้ฆ่า หรืออาตมันนี้เป็นผู้ถูกฆ่า
คนผู้นั้นไม่รู้ความจริง เพราะอาตมันนี้ไม่เคยฆ่าใคร และใครฆ่าไม่ได้

อาตมันนี้ไม่เกิด ไม่ตาย เป็นสภาวะนิรันดร เที่ยงแท้ไม่มีแปรเปลี่ยน

เมื่อร่างกายของคนถูกฆ่า อาตมันหาได้ถูกฆ่าด้วยไม่

อุปมาเหมือนคนถอดเสื้อผ้าที่เก่าชำรุดทิ้งแล้วสวมเสื้อผ้าใหม่เข้าแทน
อาตมันก็ฉันนั้น ละร่างเก่าแล้วก็ลอยล่องออกสิงสู่ร่างใหม่

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่สอง)


ไม่มีใครในโลกนี้จะอยู่เฉยๆ โดยไม่กระทำสิ่งที่เรียกว่ากรรมได้แม้เพียงชั่วอึดใจเดียวก็ตาม
ทุกขีวิตล้วนแต่ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำสิ่งนี้

ทุกชีวิตในโลกถูกลิขิตให้เดินไปตามแรงบันดาลของกรรม
แต่การกระทำที่มุ่งความหลุดพ้นจากห้วงกรรมไม่จัดเป็นกรรม
เพราะฉะนั้นเมื่อจะกระทำกรรมขอจงอุทิศการกระทำนั้นเพื่อความหลุดพ้นเถิด

กรรมทั้งปวงมนุษย์ไม่ใช่ผู้กระทำ
กรรมทั้งหลายเหล่านั้นถูกขับเคลื่อนด้วยพลังแห่งธรรมชาติ

คนโง่เขลาไม่เข้าใจความเป็นจริงอันนี้ย่อมหลงผิดว่าตนคือผู้กระทำกรรม

ส่วนผู้ฉลาดย่อมรู้จักแยกแยะกรรมกับพลังแห่งธรรมชาติอันผลักดันกรรมนั้นว่า
ปรากฏการณ์อันเรียกว่ากรรม แท้ก็คือการแสดงตนของพลังธรรมชาติ
คนเช่นนั้นย่อมไม่ยึดติดในกรรม

คนเขลาไม่เข้าใจถึงพลังธรรมชาติอันอยู่เบื้องหลังกรรม
ย่อมเข้าใจสับสนว่ากรรมกับพลังแห่งธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งเดียวกัน
ปราชญ์ควรชี้แนะให้บุคคลผู้หลงผิดเช่นนั้นเข้าใจความเป็นจริง

ท่านกล่าวว่าอำนาจของความรู้สึกเป็นสิ่งมีพลัง
แต่ที่มีพลังเหนือความรู้สึกนั้นได้แก่พลังแห่งจิตใจ

จิตใจที่ว่ามีพลังก็ยังพ่ายแพ้อำนาจแห่งปัญญา
กระนั้นก็ดีปัญญาก็ยังด้อยอำนาจกว่าอาตมัน

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่สาม)


ฟังนะ! เราจะเฉลยไขเรื่องราวอันลี้ลับแห่งกรรมแก่ท่าน
เมื่อทราบความข้อนี้แล้ว ทานจะพ้นจากบาปทั้งมวล

กรรมก็ดี วิกรรมก็ดี อกรรมก็ดี
สามสิ่งนี้บุคคลพึงทำความเข้าใจให้ถ่องแท้
เรื่องราวอันเกี่ยวแก่กรรมนี้ช่างเป็นสิ่งลึกซึ้งและลึกลับ
ยากแก่การเข้าใจยิ่งนัก

บุคคลใดมองเห็นอกรรมในกรรม
ส่วนในอกรรมเล่าก็สามารถมองเห็นกรรม
บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาเหนือสามัญมนุษย์
กรรมที่เขากระทำลงไปทุกอย่างถือเป็นอันสมบูรณ์ไม่มีบกพร่อง

ผู้ใดกระทำกรรมด้วยความรู้สึกเป็นอิสระจากการยึดมั่นถือมั่น
ผู้ใดสามารถเผากรรมของตนให้มอดไหม้ด้วยไฟ คือปัญญา
ปราชญ์เรียกผู้นั้นว่าบัณฑิต

ผู้สลัดความยึดมั่นในผลของกรรมทิ้งได้
มีใจแนบสนิทในปรมาตมันอยู่เสมอและเป็นผู้ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใดอีกแล้วในโลกนี้
คนเช่นนั้นแม้คลุกคลีอยู่ในกรรม ก็ไม่ชื่อว่ากระทำกรรม

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่สี่)


ทั้งการสลัดกรรมและการประกอบกรรมต่างสามารถทำให้จิตหลุดพ้นได้เหมือนกัน
หากแต่เมื่อเทียบกันแล้ว การกระทำกรรมด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่น
ย่อมดีกว่าไม่ยอมกระทำกรรมอันใดเลย

บุคคลผู้มีอาตมันแนบสนิทเป็นหนึ่งเดียวกับปรมาตมันเช่นนั้นกระทำกรรมอันใดลงไปก็ไม่แปดเปื้อนเพราะกรรมนั้น

บุคคลผู้รู้เท่าทันมายา ย่อมทราบว่าตนเองไม่ได้กระทำอะไร
การที่ตามองเห็น หูได้ยินเสียง กายได้สัมผัส จมูกได้สูดกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส
หรือการที่คนต้องเดิน ต้องหลับนอน ต้องหายใจ ต้องพูด ต้องขับถ่าย
ต้องหยิบโน่นฉวยนี่ ต้องลืมตาและหลับตา เป็นต้น
ทั้งหมดล้วนเป็นธรรมชาติของชีวิต เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
เขาก็ปล่อยให้มันสักแต่ว่าเกิดขึ้น ไม่ยึดมั่นถือมั่น

ผู้ใดกระทำกรรมโดยไม่หวังผลของกรรมนั้น
หากแต่มุ่งอุทิศการกระทำความดีนั้นแด่พรหม ผู้นั้นย่อมไม่แปดเปื้อนบาป
ประหนึ่งใบบัวไม่แปดเปื้อนหยดน้ำฉะนั้น

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่ห้า)


ธรรมชาติอันหนึ่งไม่รู้จักเสื่อมสลายไปตามกาล
เป็นใหญ่เหนือทุกสิ่งในจักรวาล นั่นล่ะพรหมอันสูงสุด

สภาวะไร้รูปอย่างหนึ่งสถิตอยู่ในร่างกายของมนุษย์
เป็นตัวรับรู้อารมณ์และคิดนึก
สภาวะนี้เรียกว่าอาตมัน

มีพลังลึกลับชนิดหนึ่งเป็นตัวผลักดันให้เกิดชีวิตใหม่
สิ่งมีชีวิตทุกอย่างในจักรวาลต่างเวียนว่าตายแล้วเกิดตามแรงผลักดันของพลัง อันนี้
พลังที่ว่านี้เรียกว่ากรรม

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่แปด)


อรชุน! จงจำเอาไว้ประการหนึ่งว่า
เราเป็นอาตมันที่สถิตอยู่กลางหัวใจของมนุษย์และสัตว์ทั้งปวง!

เราเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตแก่มนุษย์และสัตว์ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่น
และเป็นผู้เนรมิตวัตถุที่ไร้ใจครองทั้งปวงขึ้นไว้ในโลกและจักรวาล
ดังนั้นเราจึงชื่อว่าเป็นปฐมกำเนิดของสรรพสิ่ง

เราเป็นผู้ควบคุมสรรพสิ่งให้หมุนเดินหรือหยุดนิ่ง
ดังนั้นเราจึงชื่อว่าเป็นมัธยภาวะของสรรพสิ่ง

และสุดท้ายเมื่อถึงคราวที่ต้องล้างกัลป์ให้พินาศย่อยยับ
เราก็คือผู้ทำลายโลก จักรวาล และสรรพสิ่ง
ดังนั้นเราจึงชื่อว่าเป็นอันตภาวะของสรรพสิ่ง

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่สิบ)


ปัญญา ย่อมประเสริฐกว่าสมาธิ ความรู้แจ้งประเสริฐกว่าปัญญา
แต่ความรู้แจ้งนั้นก็ยังไม่ประเสริฐเท่า การสละผลของกรรม
ผู้สละผลของกรรมเสียได้ ย่อมประสบสุขชั่วนิรันดร์

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่สิบสอง)


ปรมาตมันนั้นแทรกอยู่ในทุกอณูของสรรพสิ่ง
เมื่อสิ่งอาศัยสิงสถิตแตกสลายไป ปรมาตมันหาได้พินาศไปด้วยไม่

ปรมาตมัน ไม่รู้จักสิ้นสูญ เป็นสภาวะอมตะ
ไม่ได้เกิดมาจากอะไร ไม่มีใครทำให้ปรมาตมันเกิด
แม้ว่าปรมาตมันนั้นจะตั้งอยู่ในร่างของคนที่กระทำกรรม
ผลของกรรมก็มิได้แปดเปื้อนมาถึงปรมาตมัน!

อุปมา ดังอากาศที่ซึมแทรกอยู่ทั่วทุกอณูของสรรพสิ่ง
อากาศนั้นก็หาได้แปดเปื้อนด้วยสิ่งที่ตนซึมซ่านอยู่ไม่
ข้อนี้ฉันใด อาตมันก็ฉันนั้น แม้สิงสถิตอยู่ในร่างของคน
ก็หาได้แปดเปื้อนด้วยกรรมที่คนผู้นั้นกระทำไม่!

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่สิบสาม)


ผู้ด้อยปัญญาย่อมมองไม่เห็นชีวภูตอันอยู่เบื้องหลังการรับรู้อารมณ์และการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้ได้
ผู้มีดวงตาคือปัญญาเท่านั้นจึงจะหยั่งเห็นความลี้ลับแห่งชีวภูตนี้

ชีวภูตนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอาตมัน

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่สิบห้า)


พื้นฐานชีวิตอันได้แก่คุณะย่อมจำแนกหน้าที่ของคนด้วยประการฉะนี้
ผู้ใดอุทิศตนให้แก่หน้าที่โดยไม่บกพร่อง ผู้นั้นย่อมประสบความสมบูรณ์แห่งชีวิตได้
ไม่ว่าเขาจะเกิดในวรรณะสูงหรือต่ำก็ตาม

เพราะปรมาตมันคือต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง
เมื่อบุคคลบูชาปรมาตมันอันเป็นต้นกำเนิดของตน
ด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ของตัวโดยไม่ขาดตก
เขาย่อมบรรลุความสมบูรณ์ของชีวิต

ผู้เข้าถึงพรหมภาวะแล้วย่อมมีใจผ่องใส
เมื่อประสบความล้มเหลวในชีวิตก็ไม่เศร้าเสียใจ
เขาย่อมไม่ปรารถนาความมั่งคั่งหรือชื่อเสียงเกียรติยศใดๆ
จิตใจจะวางเป็นกลางเสมอในสรรพสิ่ง
และคนเช่นนี้จะเป็นผู้ภักดีอย่างมั่นคงในเรา

ด้วยความภักดีนั้น เขาย่อมรู้ซึ้งถึงภาวะของเราทุกแง่ทุกมุม
และอาศัยการรู้จักเรานั่นเอง เขาย่อมร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับเรา

ผู้ที่เข้าร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับเราเมื่อกระทำกิจอันใดลงไป
ย่อมจะบรรลุถึงความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการ
ทั้งนี้ก็ด้วยความกรุณาช่วยเหลือจากเรา
ซึ่งพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือบุคคลเช่นนั้นให้ก้าวหน้าสูสิ่งดีงาม
อันมีอมตศานติสถานเป็นที่สุด

เพราะฉะนั้น จงสลัดกรรมทั้งปวงไว้ที่เรา
แล้วนับถือเอาเราเป็นสิ่งสูงสุดในชีวิตเถิดอรชุน!

อนึ่ง บุคคลใดนอกจากจะศรัทธาในเราแล้ว ยังชักชวนคนอื่นให้ศรัทธาด้วย
บุคคลนั้นนับว่าเข้าถึงเราแล้วโดยบริบูรณ์ทุกประการ

ในโลกนี้ไม่มีผู้ใดจะกระทำความดีได้ยิ่งไปกว่าผู้ศรัทธาในเรา
แล้วชักชวนให้ผู้อื่นศรัทธาด้วยนี้ คนเช่นนี้เป็นผู้ที่เราโปรดปรานที่สุด

เรื่องที่เราสองคนสนทนากันมาตั้งแต่ต้นนี้
หากใครได้ยินได้ฟังจนบังเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง
เขาย่อมจะไม่รีรอเลยที่จะนับถือเอาเราเป็นสรณะ

เป็นความจริงทีเดียวที่ใครก็ตามหากได้ฟังอนุศาสนธรรมของเราแล้ว
มีใจศรัทธาเชื่อมั่นน้อมนำเอาสิ่งที่เราสั่งสอนไปปฏิบัติ
ผู้นั้นย่อมบรรลุถึงโมกษะความหลุดพ้น
ก้าวเข้าสู่ศุภโลกอันเป็นบรมสุขสถานชั่วกาลนิรันดร

ภควัทคีตา .. บทเพลงแห่งองค์ภควัน .. (บทที่สิบแปด)

“โอม! ตัต! สัต!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2011, 03:31:22 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2011, 04:33:26 pm โดย ฐิตา »