คลังธรรมปัญญา > หนังสือธรรมะ
เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
ฐิตา:
เรื่องย่อ มหากาพย์ มหาภารตะ
อรัมภบท :
มหาภารตะ ซึ่งแต่งขึ้นระหว่างปี 300 ก่อน ค.ศ. และ ค.ศ. 300 ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลกวรรณคดี ด้วยร้อยกรองถึง 100,000 โศลกๆ ละ 2 บาท (บรรทัด) (ถึงแม้ว่าผลการพิมพ์เชิงวิพากษ์วิจารณ์ล่าสุดแก้ไขใหม่ให้ลดลงเหลือเพียง 88,000 โศลกก็ตาม มหาภารตะก็ยังยาวกว่ามหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์รวมกันถึงแปดเท่าและยาวกว่าคัมภีร์ไบเบิล(ฉบับไชยทันยา เจ็ด)ถึงสามเท่าอ้างตามฉบับของนรสีมหานแล้วมีเพียงประมาณ4,000บรรทัดเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับใจความหลักของเรื่องส่วนที่เหลือเป็นตำนานหรือนิทานปรัมปราที่เพิ่มเติมเข้ามาหรืออีกนัยหนึ่งมหาภารตะมีลักษณะคล้ายกับการเดินทางยาวไกลไปตามทางแยกย่อยอ้อมวกวนนั่นเองกล่าวกันว่า“อะไรก็ตามที่มีอยู่ในมหาภารตะยังหาได้ในที่อื่นอีกแต่อะไรก็ตามที่ไม่มีในมหาภารตะจักหาไม่ได้ในที่อื่นใดอีกแล้ว”
ชื่อมหากาพย์นี้ หมายความว่า“(เรื่องราวของ)ภารตะที่ยิ่งใหญ่” ภารตะเป็นบรรพบุรุษแรกเริ่มของทั้งเหล่าปานฑพ และเการพ ที่ต่อสู้กันในมหาสงคราม แต่คำว่า ภารตะโดยทั่วไปยังหมายถึงเผ่าพันธุ์ชาวอินเดียอีกด้วย ดังนั้นมหาภารตะบางครั้งจึงหมายถึง “เรื่องราวที่ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย”
หนังสือแบ่งออกเป็น 18เล่ม(ว่าด้วยสงครามสิบแปดวันท่ามกลางกองทัพ 18กอง)แกนหลักของเรื่องที่เล่าถึงสงครามนั้นอยู่ในหนังสือสิบเล่มแรกชื่อของตัวละครหลักเทียบอักษรโรมันและอักษรไทย(อักษรโรมันที่เป็นตัวใหญ่หมายความว่าให้ลงเสียงหนักที่พยางค์นั้นเมื่ออ่านออกเสียง)แต่เวลาเขียนให้เขียนเหมือนชื่อคนทั่วไป คือเป็นตัวเล็ก นอกจากนอกจากอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่
Vyasa[วยาสะ]:ผู้เล่าเรื่องและเป็นบิดาของปาณฑุ และ ธฤษตราษฎร์
BHISH-ma: ภีษมะ ลุงเขย(เป็นลุงโดยการแต่งงาน)ของปาณฑุ และ ธฤษตราษฎร์
Dhri-ta-RASH-tra: ธฤษตราษฎร์ กษัตริย์บอด บิดาของทุรโยธน์และเหล่าเการพ
GAN-dhari: กัณธารี ภรรยาของ ธฤษตราษฎร์
KUN-ti:กุนตี ภรรยาของปาณฑุ และแม่ของปาณฑุทั้งห้า และ กรรณะ
Yu-DHISH-thira: ยุธิษฐิระ ผู้นำของปาณฑพ ทายาทโดยชอบธรรมแห่งราชบัลลังก์
BHI-ma: ภีมะ ผู้ทรงพลังที่สุดในหมู่ภราดาปาณฑพ
AR-juna: อรชุน นายขมังธนูและนักรบผู้กล้าแกร่งที่สุด
NA-kula and Saha-DE-va: นกุล และ สหเทพ พี่น้องปาณฑพฝาแฝด
DRAU-pa-di: เทราปที ภรรยาของภราดาปาณฑพทั้งห้า
Du-ry-ODH-ana: ทุรโยธน์ผู้นำของเหล่าเการพ
Duh-SA-sa-na: ทูสาสนะ น้องชายของ ทุรโยธน์
KRISH-na:กฤษณะ ผู้สนับสนุนของเหล่าปาณฑพและอวตารแห่งวิษณุ
DRO-na: โทรณะ ครูของเหล่าปาณฑพและเการพ
KAR-na: กรรณะ นักรบ บุตรลับของนางกุณตี พันธมิตรฝ่ายเการพ
หมายเหตุ: ทั้งหมดอ้างอิงจากฉบับของ C. V. นรสีมหาน
[Narasimhan:CN],กฤษณะธรรมะ[Krishna Dharma:KD]หรือละคร โดยJean-Claude Carriere
การแบ่งภาคของเรื่องย่อต่อไปนี้ปรับปรุงมาจากฉบับของ David Williams,
Peter Brook และมหาภารตะ: มุมมองเชิงวิจารณ์ (Critical Perspectives), 1991.
ฐิตา:
ฤๅษีวยาส...ผู้รจนามหาภารตะยุทธ
มหาภารตะ
ภาคแรก
"การพนันสกา"
ในหนังสือมหาภารตะสองเล่มแรก เราจะเรียนรู้ปูมหลังของภารตะ (เรียกอีกหนึ่งว่า กุรุ หรือ ครู) เรื่อยเรียงไปจนถึงความขัดแย้งระหว่างโอรสทั้งห้าของปาณฑุกับเหล่าเการพซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เรื่องเล่าโดยนักปราชญ์ผู้หนึ่ง นามว่า วยาสะ ชื่อนี้มีความหมายว่า “ผู้รวบรวม” (ที่จริงแล้วผู้ประพันธ์มหากาพย์มหาภารตะเป็นคนนิรนามเชื่อว่าน่าจะมีผู้ประพันธ์หลายคนกระจายไปทั่วประเทศอินเดีย มารดาของวยาสะคือ สัตยาวตี ซึ่งมีความหมายว่า “ความจริง” ดังนั้นวยาสะจึงเป็น “บุตรแห่งความจริง”
ในเรื่องที่เล่าให้ผู้สืบสกุลของเหล่าปาณฑพฟัง วยาสะกล่าวว่า “ถ้าพวกเธอสดับอย่างใคร่ครวญแล้ว สุดท้ายพวกเธอจะกลายเป็นคนอื่นไป” ดูเหมือนว่าในเรื่องไม่กล่าวถึงวยาสะบ่อยนัก บอกแต่เพียงว่าเป็นบิดาแห่งปาณฑุและธฤษตราษฎร์เท่านั้นเอง
- - บรรพบุรุษแห่งปาณฑุและเการพ
สันทนุ กษัตริย์แห่งหัสตินาปุระ ทรงอภิเษกสมรสกับคงคาผู้แสนงดงามและเป็นเทพีแห่งสายน้ำจำแลงมา คงคาจะประทับอยู่กับสันทนุตราบใดที่พระองค์ไม่ทรงตรัสถามถึงการกระทำของพระนาง หลายปีที่ใช้ชีวิตร่วมกันทั้งสองมีโอรสด้วยกันเจ็ดพระองค์ แต่คงคาโยนโอรสแต่ละองค์ลงสู่แม่น้ำ สันทนุเศร้าโศกเสียใจมากแต่จำต้องรักษาสัจจะสัญญาของพระองค์
ในที่สุด เมื่อโอรสองค์ที่แปดประสูติ สันทนุทรงตรัสถามคงคาว่าพระนางเป็นใครและทำไมจึงกระทำเช่นนั้นคงคาเปิดเผยพระองค์และตรัสว่าโอรสของพระนางเคยประทับในสวรรค์แต่ได้รับคำสาปให้กลายเป็นมนุษย์ พระนางจึงไถ่โทษโอรสทุกองค์เสียแต่เนิ่นโดยการโยนลงให้จมน้ำตายทันทีที่ประสูติ แล้วคงคาก็จากสันทนุไปพร้อมกับเทวรัตน์โอรสองค์สุดท้องเนื่องจากสันทนุผิดสัญญา
เทวรัตน์ มีชื่อท้ายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า ภีษมะ นามนี้มีความหมายว่า "แห่งการตัดสินใจอย่างแน่วแน่" ได้มาหลังจากสาบานว่าจะไม่แต่งงานหรือมีบุตร บิดาของเทวรัตน์ใคร่แต่งงานใหม่ (กับสัตยาวตี มารดาของวยาสะ) แต่เงื่อนไขการแต่งงานมีอยู่ว่าภรรยาคนที่สองจะเป็นมารดาของกษัตริย์ในวันหนึ่งวันใด เพื่อเสริมพระเกียรติยศให้เป็นไปตามพระประสงค์ของบิดา ภีษมะจึงให้สัจจะสาบานว่าไม่ว่าพระองค์หรือบุตรของพระองค์จะไม่อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์
หลายปีผ่านไปกึ่งภราดาองค์หนึ่งของภีษมะตายในสนามรบและองค์อื่นๆ ต่างก็ถึงวัยอภิเษกสมรส ในนามแห่งกึ่งภราดา ภีษมะฉุดพี่น้องสามสาวและต่อสู้ชนะคดีความกับโจทย์ผู้ฟ้องร้องระหว่างทางกลับบ้าน ภีษมะทราบว่าหญิงหนึ่งในสามพี่น้องนามว่าอำภา คัดเลือกโจทย์เตรียมฟ้องไว้เรียบร้อยแล้ว ภีษมะจึงยินยอมปล่อยนางนั้นไปแต่คู่หมั้นของนางไม่ต้องการนางอีกต่องไป เมื่อเขาทอดทิ้งเช่นนั้นนางจึงกลับมาหาภีษมะและต้องการให้ภีษมะแต่งงานกับนางแต่ภีษมะปฏิเสธ เนื่องจากยึดมั่นกับถ้อยสาบานของตน อำภาจึงสาบานว่าวันหนึ่งนางจะฆ่าภีษมะเสียถึงแม้ว่าทวยเทพได้ประทานพลังให้ภีษมะเลือกวันตายของตนได้ตามถ้อยสาบานก็ตาม
ความสำคัญของอำนาจแห่งคำสาบานปรากฏชัดเจนตลอดทั้งเรื่องของมหากาพย์ มีอยู่ครั้งหนึ่งกล่าวถึงการสาบานกลายเป็นความจริงและต้องปฏิบัติตามให้สำเร็จดังตั้งใจไม่ว่าอะไรจักเกิดขึ้นก็ตาม เมื่อบิดาของภีษมะและกึ่งภราดาทั้งคู่ของตนถึงแก่กรรมก่อนวัยอันสมควรโดยไร้ทายาทสืบสกุล ภีษมะปฏิเสธการแต่งงานกับภรรยาม่าย (มากกว่าหนึ่งคน) ของน้องเลี้ยงของตน (น้องสาว-หลายคน-ของอำภา) ภีษมะจะไม่ฝืนคำสาบานของตนเลยถึงแม้ว่าการดำรงความโสดนั้นไม่ทำให้อะไรแตกต่างไปจากเดิมอีกต่อไปก็ตาม
เจ้าหญิงทุกองค์ในวัยเยาว์มีหน้าที่ให้กำเนิดบุตรและธิดา แต่ใครจะเป็นบิดาของบุตรและธิดานั้นเล่าไม่มีชายอื่นคนใดอีกแล้วในครอบครัวนอกจากภีษมะ แต่ภีษมะก็ทรงปฏิเสธสตรีเสียแล้ว ดังนั้นสัตยาวตีมเหสีองค์ที่สองของกษัตริย์สันทนุจึงตรัสถามโอรสองค์แรก ซึ่งก็คือวยาสะผู้ประพันธ์มหากาพย์ว่าจะยกวยาสะให้แก่เจ้าหญิงสององค์ วยาสะจึงไปหาแต่ทั้งสององค์ไม่ชอบวยาสะเนื่องจากการบำเพ็ญตนอย่างเคร่งครัดต่อคำสาบานว่าจะใช้ชีวิตอย่างอัตคัดขัดสนเยี่ยงคนเข็ญใจ วยาสะจึงสกปรกโสโครกและมีกลิ่นตัวเหม็น
วยาสะอธิบายให้เจ้าหญิงฟังว่าแต่ละองค์จะต้องอดทนเพื่อให้กำเนิดโอรส อย่างไรก็ตามโอรสองค์แรกจะเกิดมาตาบอด เนื่องจากเจ้าหญิงองค์แรกนั้นหลับตาเสียเมื่อเห็นวยาสะ และโอรสองค์ที่สองจะมีพระฉวีซีด เนื่องจากเจ้าหญิงองค์ที่สองนั้นซีดพระองค์เมื่อสัมผัสวรกายกับวยาสะ โอรสบอดทรงพระนามว่าธฤษตราษฎร์ องค์ที่มีพระฉวีซีดทรงพระนามปาณฑุ
วยาสะมีโอรสองค์ที่สามทรงพระนามว่าวิฑูร เกิดแต่สาวพรหมจรรย์ผู้หนึ่ง
เนื่องจากพระเชษฐาพระเนตรบอดและไม่เหมาะสมกับราชบัลลังก์ ปาณฑุจึงได้เสวยราชสมบัติแห่งกรุงหัสตินาปุระวันหนึ่งขณะทรงล่าสัตว์อยู่ในป่า ปาณฑุทรงยิงละมั่งตัวหนึ่งขณะจับคู่ผสมพันธุ์ ละมั่งตัวนั้นแท้ที่จริงเป็นนักบวชพราหมณ์จำแลงมา จึงสาปแช่งปาณฑุว่า ถ้าปาณฑุร่วมรักกับมเหสีองค์หนึ่งองค์ใดในสององค์ (กุณตี และมัทรี) แล้วจักสวรรคตทันที เมื่อทรงตระหนักทราบว่าพระองค์ไม่สามารถมีโอรสและธิดาได้ปาณฑุจึงสละราชบัลลังก์ และปลีกพระองค์ไปประทับอยู่ในภูเขาพร้อมมเหสีทั้งสององค์ กุณตีมเหสีองค์แรกกล่าวแก่ปาณฑุว่า พระนางมีอำนาจมนตราอยู่ จึงสาธยายมนต์ลับอ้อนวอนเทพเจ้าองค์หนึ่งให้ประทานบุตรสักองค์มาให้สมดังปณิธาน
ด้วยอำนาจแห่งมนตรา กุณตีจึงให้กำเนิดโอรสสามองค์ ประกอบด้วย
ยุธิษฐิระ ธรรมเทพบุตร โอรสองค์แรกผู้เปี่ยมด้วยความซื่อสัตย์และเที่ยงธรรม
องค์ที่สองคือ ภีมะ วายุเทพบุตรผู้แข็งแรงที่สุดในหมู่ชนทั้งหลาย
และองค์ที่สาม อรชุน อินทราเทพบุตรนักรบผู้ไม่มีใครต่อกรได้
และมัทรี มเหสีองค์ที่สองของปาณฑุ ก็ได้รับพลังอำนาจนี้ด้วยเช่นกัน พระนางมีโอรสฝาแฝดสององค์ คือ นกุลและสหเทพ ดังนั้นปาณฑุจึงมีโอรสห้าองค์ที่สืบเชื้อสายมาจากทวยเทพโดยตรง จากมเหสีทั้งสององค์ คือ ภราดาปาณฑพ วีระบุรุษแห่งมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่เรื่องนี้
หลายปีผ่านไปวันหนึ่งปาณฑุพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัญหาของพระองค์กับมัทรี แต่เนื่องจากเกรงว่าปาณฑุจักถึงแก่ความตาย มัทรีจึงพยายามผลักไสปาณฑุออกไป แต่การดิ้นรนต่อสู้ของพระนางกลับเร่งเร้าให้อำนาจแห่งดำกฤษณาของปาณฑุทวีขึ้นทันทีที่ทั้งคู่ร่วมรักกันปาณฑุก็สวรรคตตามคำสาปแช่ง และมัทรีด้วยความจงรักภักดีต่อพระสวามีจึงยินยอมตายตามด้วยในเชิงตะกอน
ในขณะนั้น ธฤษตราษฎร์กลายเป็นกษัตริย์แล้วถึงแม้พระเนตรบอดก็ตาม พระองค์ทรงอภิเษกกับกัณธารี ด้วยการจัดแจงขึ้นมา เมื่อทรงทราบถึงความพิการของพระสวามีพระนางจึงตัดสินพระทัยปิดพระเนตรของพระองค์ด้วยการคาดผ้าผูกตาซึ่งพระนางจะไม่ยอมถอดออกอีกเลย เพื่อร่วมเคราะห์กรรมในโลกมืดเยี่ยงเดียวกับพระสวามี แล้วหลังจากทรงครรภ์นานผิดปกติถึงสองปี พระนางให้กำเนิดเนื้อกลมๆ ก้อนหนึ่งออกมา วยาสะบอกให้พระนางแยกก้อนเนื้อนั้นออกเป็นหนึ่งร้อยส่วนและเอาไปใส่ไว้ในโอ่งน้ำมันเนย โดยการนี้พระนางจึงกลายเป็นพระมารดาของโอรสหนึ่งร้อยองค์ ซึ่งก็คือ ภราดาเการพ นั่นเอง
องค์แรกที่ประสูติมาคือ ทุรโยธน์ มีลางร้ายบอกเหตุแห่งความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อทุรโยธน์ประสูติมาสู่โลก กล่าวคือหมาไนเห่าหอนคำรามพายุบ้าคลั่งเพลิงพิโรธลุกลามไปทั่วเมือง ธฤษตราษฎร์ทรงกังวลพระทัยกับลางร้ายนี้มาก วิฑูรจึงทูลว่าโอรสองค์แรกนำเอาความเกลียดชังและการทำลายล้างมาสู่โลก วันหนึ่งจะทำลายล้างวงศ์ของตนวิฑูรรบเร้ากษัตริย์ให้จำกัดโอรสองค์นี้เสียแต่ธฤษตราษฎร์ทรงเพิกเฉยต่อคำแนะนำของวิฑูร
ธฤษตราษฎร์ทรงเป็นนักปกครองที่อ่อนแอ พระองค์มักยกอ้างถึงความบอดของตนเพื่อปฏิเสธการเผชิญหน้ากับความจริงและความฝืนพระทัยในการเผชิญกับการตัดสินพระทัยอันยากยิ่ง ต่อมาทุรโยธน์จึงจูงจมูกได้อย่างง่ายดาย พระองค์ทรงเอาแต่โทษชาตากรรม ชอบแต่หาข้ออ้างมาแก้ตัวกับความเฉื่อยชาของพระองค์เอง อาทิ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ใครจักไปหยุดยั้งไว้หาได้ไม่แล้วข้าฯ จักทำอะไรได้
ชาตากรรมคือพลังอำนาจทั้งมวลอย่างไม่ต้องสงสัย แต่คณะมนตรีแห่งธฤษตราษฎร์แนะนำว่า "โอ พระองค์ แน่นอนล่ะว่าผู้ใดซึ่งประสบเหตุการณ์เลวร้าย อันเป็นผลจากการกระทำของตนเองไม่ควรตำหนิกล่าวโทษเทพเจ้า ชาตากรรม หรืออื่นใด เราแต่ละคนต่างก็ได้รับผลจากการกระทำของเราเองทั้งสิ้น"
ฐิตา:
- - การแข่งขันระหว่างพี่น้องปาณฑพและเการพดุเดือดขึ้น
ภีษมะตอนนี้ทรงชราภาพแล้วเข้ามารับผิดชอบอบรมเลี้ยงดูภราดาทั้งสองกลุ่ม เจ้าชายทั้งสองฝ่ายนี้ต่างก็เอาแต่แข่งขันต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา พยายามแม้กระทั่งสังหารอีกฝ่าย วันหนึ่งโทรณะ ครูและผู้ชำนาญสรรพาวุธ ปรากฏตัวขึ้นและเสนอตัวเข้ามาสอนเจ้าชายน้อยทั้งปวง โทรณะมีภารกิจลับนั่นคือการแก้แค้นการดูถูกเหยียดหยามที่เพื่อนเก่าคนหนึ่งกระทำไว้แก่ตนขณะยังหนุ่ม
โทรณะใกล้ชิดกับทรุปาทะแต่หลายปีต่อมา เมื่อโทรณะไปเห็นเพื่อนในวัยเด็กของตน ซึ่งกลายเป็นกษัตริย์ไปแล้ว กลับได้รับการถูกถูกหยียดหยามจากทรุปาทะว่า “ผู้เท่าเทียมกันเท่านั้นจึงเป็นเพื่อนกันได้” โทรณะขอให้ภราดาปาณฑพแก้แค้นแทนให้เป็นค่าตอบแทนในการสอน ภราดาปาณฑพเป็นนักรบที่กล้าแกร่งจึงพิชิตราชอาณาจักรแห่งทรุปาทะแล้วยกต่อไปให้โทรณะ แต่โทรณะแบ่งปันอาณาจักรกึ่งหนึ่งคืนแก่เพื่อนเก่าทันที พร้อมกับกล่าวว่า “ตอนนี้เราเท่าเทียมกันแล้ว”
เพื่อการแก้แค้น ทรุปาทะมีบุตรโดยการอำนาจมนตราเกิดแต่พระเพลิง โอรสองค์หนึ่งคือธฤษตยุมนะซึ่งชาตากรรมกำหนดจะเป็นผู้สังหารโทรณะ โหรคนหนึ่งทำนายว่าบุตรสาวคนหนึ่งชื่อ เทราปที จะนำความวินาศฉิบหายมาสู่ผู้ปกครองที่ไม่เที่ยงธรรมและบุตรองค์ที่มีนามว่า สิขันติ นั้น คืออำภากลับมาเกิดใหม่
ต่อมาในสงครามโทรณะและภีษมะจะเข้าร่วมกับฝ่ายเการพ ไม่ใช่ไม่ซื่อสัตย์จงรักภักดีแต่เป็นเพราะอริผู้นำความตายมาให้ของทั้งคู่ซึ่งคือ ธฤษตยุมนะและสิขันตินั้นเข้าร่วมกับฝ่ายปาณฑพ
โทรณะสำนึกดีถึงฐานะความเป็นผู้ชำนาญสรรพาวุธที่ยิ่งใหญ่อันหาผู้ใดทัดเทียมไม่ได้ของอรชุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยิงธนูและช่วยเหลืออรชุนด้วยการอบรมสั่งสอนอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ ในการแข่งขันประลองยุทธโทรณะทูลปาณฑพแต่ละองค์ให้ยิงเป้าหมายตานกไม้ที่อยู่บนต้นไม้ โทรณะสลับถามปาณฑพแต่ละองค์ว่า
"โอ ทูลกระหม่อม ตรัสบอกข้าฯ เถิดว่าทรงเห็นอะไร"
แต่ละองค์ตรัสตอบว่า หม่อมฉันเห็นครูของหม่อมฉัน ภราดาของหม่อมฉัน ต้นไม้ แล้วก็นก
โทรณะตรัสต่ออีกว่า "กระนั้นหรือ แล้วพระองค์จะทรงยิงไม่ถูกเป้าเลยพระเจ้าข้า"
แต่อรชุนตรัสว่าเห็นแต่นกเท่านั้นและที่จริงเห็นแต่ตาของนกเท่านั้น ดังนั้นจึงเพ่งความสนใจไปแต่ที่เป้าหมายเท่านั้นแล้วทรงยิงอย่างแม่นยำสมบูรณ์แบบ โทรณะจึงประทานพราห์มาศิระซึ่งเป็นสุดยอดอาวุธเป็นรางวัลแก่อรชุน เพื่อเอาไว้ใช้ต่อสู้กับผู้สืบเชื้อสายมาจากสวรรค์เท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งเป็นอาวุธล้างโลก
โทรณะจัดเวทีแข่งขันเพื่ออวดทักษะของปาณฑพแต่ละองค์ แต่บุรุษแปลกหน้าคนหนึ่งกลับปรากฏกายขึ้นมาท้าทายอรชุนและมีฝีมือเชิงธนูทัดเทียมกับอรชุน บุรุษคนนี้คือ กรรณะ ที่ผู้อ่านทราบมาแล้วว่าเป็นโอรสองค์แรกของกุณตี เกิดแต่สูรยเทพหรือเทพแห่งตะวัน พระนางกุณตีมีความระอาต่อสูรยเทพอย่างยิ่งก่อนอภิเษกสมรสกับปาณฑุ จึงลอยกรรณะไปในตระกร้ากับสายน้ำ (เช่นเดียวกับโมเสส) ดังนั้น กรรณะจึงเป็นเชษฐาองค์โตของภราดาปาณฑุนั่นเอง
อย่างไรก็ตามกรรณะไม่ทราบว่ามารดาที่แท้จริงของตนเป็นใคร คนขับรถม้าเก็บได้แล้วนำไปเลี้ยงจนเติบโต เหล่า ปาณฑุ ทรงดูถูกเย้ยหยันสถานภาพทางสังคมอันต่ำต้อยของกรรณะและจะไม่ทรงต่อสู้กับใครก็ตามที่ไม่มีพระชาติ เป็นขัตติยะมาตั้งแต่เกิด แต่ทุรโยธน์ลูกพี่ลูกน้องของภราดาปาณฑพเล็งเห็นโอกาสสร้างพันธมิตรกับกรรณะ โดยไม่ใส่ใจต่อกฎอันเข้มงวดแห่งวรรณะตรัสว่า "ชาติกำเนิดไม่สำคัญและมนุษย์เป็นเสมือนหนึ่งสายน้ำซึ่งมีต้นกำเนิดไม่เป็นที่รู้จักแก่ชนทั่วไป"
ทุรโยธน์ยกอาณาจักรเล็กๆแห่งหนึ่งให้แก่กรรณะและกรรณะสาบานเป็นมิตรกับเหล่าเการพตลอดไป
วรรณะ (สถานภาพทางสังคม) อันต่ำต้อยของกรรณะติดตามหลอกหลอนกรรณะตลอดทั้งเรื่องในมหากาพย์ ต่อมาในการแข่งขันแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งเจ้าหญิงเทราปที พระนางทรงปฏิเสธกรรณะอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากกรรณะมาจากครอบครัวของคนรับใช้ สำหรับบุคคลผู้ซึ่งปรารถนาให้ตนเป็นที่ยอมรับจากความสำเร็จแล้ว การใช้ชีวิตอยู่ใต้เงาทะมึนมืดเยี่ยงนี้ย่อมทนไม่ได้
ในฐานะสูรยเทพบุตรกรรณะถือกำเนิดมาพร้อมกับเกราะทองคำห่อผิว ต่อมาอินทราใช้เล่ห์เลี่ยมแกล้งกรรณะทำให้เกราะคุ้มครองที่ได้รับประทานมา จากสวรรค์นี้สูญไปเสีย
หลังกำเนิดกรรณะกุณตียังดำรงความเป็นสาวพรหมจารีอยู่
ภราดาปาณฑพหลบหนีอัคคีภัยเอาชีวิตรอดไปได้อย่างฉิวเฉียด ทุรโยธน์วางแผนคลอกภราดาปาณฑพให้ตายในวังที่ก่อสร้างด้วยวัสดุที่เป็นเชื้อ ไฟอย่างดี หลังจากนั้นต่อมาอีกหลายเดือน เหล่าปาณฑพ หลบซ่อนองค์โดยอาศัยอยู่ในป่าคืนหนึ่งในขณะที่ภีมะอยู่เฝ้ายามและพี่น้องอื่นพากันหลับไหล นางรากษสตนหนึ่งนามว่าหิทิมพีปรากฏตนขึ้นมาในร่างของหญิงรูปงามและตกหลุมรักอย่างคลั่งไคล้กับภีมะผู้ซึ่งต่อสู้และสังหารพี่ชายผู้ชั่วร้ายของนางรากษสนั้น ภีมะและนางจำแลงมีบุตรภูตเป็นชายที่แข็งแรงมากด้วยกันคน(ตน)หนึ่งนามว่า ฆโตคัตฉะ ผู้ซึ่งปฏิญาณตนเอาไว้ว่าจะมาช่วยเหลือบิดาของตนเมื่อถึงคราวจำเป็น
ฐิตา:
ท้าวยุธิษฐิระประกอบพิธีราชสูยะในกรุงอินทรปรัสถ์
- - อรชุนชนะได้เจ้าหญิงเทราปที
ภราดาปาณฑพเข้าร่วมพิธีสยัมวารของเจ้าหญิงเทราปที ในพิธีนี้พระนางจะทรงเลือกพระสวามีจากเจ้าชายทั่วแว่นแคว้นที่มีสิทธิเข้าร่วมพระราชพิธีนี้ อรชุนชนะการแข่งขันยิงธนูอย่างง่ายดาย เทราปทีจึงเลือกอรชุนเป็นสวามี เมื่ออรชุนบอกมารดาว่าได้ “รางวัล” มา กุณตีบอกให้อรชุนแบ่งรางวัลนั้นให้พี่น้องด้วย โดยที่ยังไม่ได้เห็นเทราปทีและไม่ทราบว่ารางวัลนั้นคืออะไร คำกล่าวของกุณตีเป็นเสมือนหนึ่งคำสาบานที่ถอนคืนไม่ได้ แม้จะพลาดพลั้งไปแล้วก็ตาม ดังนั้นภราดาทั้งห้าองค์จึงอภิเษกสมรสกับเทราปทีราชบุตรีแห่งทรุปาทะ
การอภิเษกสมรสที่ไม่ปกติสามัญครั้งนี้สมใจกรรณะ เนื่องจากในชาติปางก่อนนั้นเทราปทีได้อธิษฐานไว้กับศิวเทพให้มีสวามีห้าครั้ง และดังนั้นเทราปทีจึงได้รับผลนั้นตามแรงปณิธานของตนในชาติปัจจุบัน ในมหาภารตะศิวะเทพไม่ใช่ผู้ที่ต่อมาเกิดเป็นบูรณะ แต่มีภาระมากกว่านั้นกับการประทานพรแห่งการกำเนิดของมนุษย์ รวมทั้งประทานโอรสหนึ่งร้อยองค์ให้พระนางกัณธารีด้วย
ภราดาทั้งห้าตกลงเคารพความเป็นส่วนตัวของแต่ละองค์เมื่ออยู่กับพระนางนางเทราปที แต่วันหนึ่งอรชุนเข้าไปในกระโจมที่พักเพื่อซ่อมแซมอาวุธของตน และพบยุธิษฐิระอยู่บนเตียงด้วยกันกับเทราปที ถึงแม้ว่ายุธิษฐิระจะยกโทษให้ก็แล้วตาม อรชุนก็ยังยืนยันรักษาคำสาบานเพื่อไถ่บาปนั้น จึงเนรเทศตนเป็นเวลาหนึ่งปี ขณะที่อยู่ห่างไกลออกไปนั้น อรชุนแต่งงานอีกกับสตรีสามคน คนหนึ่งเป็นน้องสาวของกฤษณะ โดยส่วนใหญ่แล้วเพื่อพันธมิตรทางการเมือง
ในขณะที่ความตรึงเครียดระหว่างลูกพี่ลูกน้องเขม็งเกลียวมากขึ้น กฤษณะก็ปรากฏองค์ขึ้นมา กล่าวกันว่าวิษณุเทพผู้พิทักษ์อาจทรงสร้างองค์กฤษณะขึ้นมาแล้วส่งลงมาพิทักษ์โลกให้รอดจากความสับสนยุ่งเหยิง
การปรากฦฏองค์ของกฤษณะเป็นการเริ่มต้นของแก่นเรื่องสำคัญสามประเด็นในมหากาพย์นั่นคือ ธรรมะ (ระเบียบของจักรวาล) ซึ่งตกอยู่ในอันตรายจากความสับสนยุ่งเหยิง ดังนั้นกฤษณะต้องก้าวเข้ามาเพื่อชี้ทางว่านี่ไม่ใช่แต่เพียงการแข่งขันกันในวงศาคณาญาติตระกูลหนึ่งเท่านั้นแต่แป็นความขัดแย้งกับผลลัพท์ที่มีผลต่อทั้งโลก
ในบูรณะสมัยโบราณมหากาพย์ดำเนินเรื่องว่าวิษณุได้ปรากฏองค์อวตารหรือเนรมิตรองค์จำแลงมาบนโลกแล้วเก้าครั้งในอดีต เพื่อจัดโลกให้กลับไปอยู่บนวิถีทางที่ถูกต้อง และจักปรากฏองค์ขึ้นมาอีกครั้ง ณ ตอนสิ้นยุค การเคารพบูชากฤษณะเสมือนหนึ่งเทพเจ้าในมหาภารตะมีกล่าวแทรกถึงต่อไปในเรื่อง เพราะมีความตรึงเครียดที่สำคัญอยู่ในมหากาพย์ ระหว่างการบรรยายภาพของกฤษณะซึ่งเสด็จมาจากสวรรค์และเจ้าชายมนุษย์ที่เป็นมุขมนตรีของภราดาปาณฑพ
ด้วยคำแนะนำของกฤษณะภราดาปาณฑพจึงไปปรากฏองค์ต่อกษัตริย์บอด เพื่อสันติภาพ ธฤษตราษฎร์จึงเสนอแบ่งปันอาณาจักรให้ภราดาปาณฑพกึ่งหนึ่ง แต่เป็นพื้นที่ที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากป่าดงพงพีและทะเลทราย ยุธิษฐิระยอมรับข้อเสนอด้วยความหวังว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดสงครามขึ้น ระหว่างนั้นอรชุนและกฤษณะตกลงช่วยเหลือพราห์มหิวโซคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเปิดเผยตัวว่าคืออัคนีเทพแห่งไฟ อัคนีต้องการหากินอยู่ใกล้ป่าที่มีฝนของอินทราคุ้มครองอยู่ อัคนีให้จักรเป็นรางวัลแก่กฤษณะและให้กัณทิวาคันศรแห่งวรุณพร้อมลูกศรที่ใช้ไม่รู้จักหมดแก่อรชุน ด้วยรางวัลที่ได้รับมาอรชุนสามารถสร้างม่านลูกศรคลุมไว้ไม่ให้ฝนตกลงมาดับเพลิงของอัคนีได้ แม้แต่อินทรายังเอาชนะอรชุนไม่ได้ เนื่องจากอรชุนมีกฤษณะอยู่ด้วย (สัญญาณบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของวิษณุเทพที่เหนือกว่าอินทรเทพในตอนนี้) มายา (ไม่ใช่เทพีแห่งภาพหลอน แต่เป็นอสูรที่หลบหนีรอดจากเพลิงไปได้) สร้างหอที่ยิ่งใหญ่แห่งอินทรปราสาทขึ้นมาโดยไม่รู้สึกสำนึกในบุญคุณ
ในแว่นแคว้นใหม่ที่ภราดาปาณฑพได้รับแบ่งปันมา ยุธิษฐิระพลิกผืนดินแห้งแล้งกันดารให้เป็นราชอาณาจักรที่มั่งคั่งและประกาศราชาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง ทุรโยธน์อิจฉาและทำอับอายขายหน้าระหว่างเสด็จเยี่ยมพระราชวังอันโอ่อ่างดงามตระการตาของยุธิษฐิระ เนื่องจากสำคัญผิดว่าพื้นกระจกเป็นสระว่ายน้ำ แล้วยังหล่นลงไปในสระน้ำ เนื่องจากสำคัญผิดว่าเป็นพื้นกระจก เทราปทีและภีมะหัวเราะเยาะใส่ทุรโยธน์ เมื่อกลับถึงอาณาจักรของตน ทุรโยธน์มุ่งมั่นหาทางประดิษฐ์คิดทำลายล้างฝ่ายปาณฑพให้จงได้
ฐิตา:
พระกฤษณะเนรมิตผ้ายาวไม่มีปลายจบพันห่อวรกายของพระนางเทราปที
- - การพนันสกา และความอับอายขายหน้าของเทราปที
ทุรโยธน์ปฏิบัติตามคำแนะนำของสกุณีลุงเจ้าเล่ห์และนักชาญสกาที่ไม่มีใครรู้จัก โดยเชิญยุธิษฐิระมาเล่นการพนันกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าการพนันเป็นจุดอ่อนของลูกพี่ลูกน้องของตน ยุธิษฐิระ ตกลงรับคำเชิญ
ทุรโยธน์ไม่ใช่ผู้ต้นคิดแต่มักพึ่งพาอาศัยความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เสมอ ลุงของทุรโยธน์เป็นผู้ต้นคิดแผนลอบวางเพลิงคลอกเหล่าปาณฑพและการพนันสกา(ต่อมาระหว่างสงครามทุรโยธน์เสนอแนะให้จับกุมยุธิษฐิระและใช้กลอุบายอื่น ซึ่งโทรณะถึงกับเรียกว่าโง่เง่าไร้หัวคิดสิ้นดี)
ทุรโยธน์มักขู่ว่าจะประกอบอัตวินิบาตกรรม เมื่อไม่ได้อะไรตามแนวทางที่ตนต้องการ (ตลกขบขันแต่หัวเราะไม่ออก)การยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางมากเกินไปย่อมนำไปสู่ความต้องการที่ไม่เป็นจริง และความคาดหวังที่ไม่สมเหตุสมผลจากชีวิต ทุรโยธน์เป็นโอรสของกษัตริย์บอด ที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างมืดบอด
ทั้งธฤษตราษฎร์และยุธิษฐิระต่างก็เพิกเฉยต่อคำเตือนของวิฑูรให้หลีกเลี่ยงการพนันเสีย โดยปล่อยให้ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามชาตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และอยู่เหนือสิ่งอื่นใด กฤษณะเตือนภีษมะไม่ให้สอดมือเข้าไปแทรกเรื่องของคนอื่นในการพนันสกา "หากเผ่าพันธุ์ของเธอต้องถูกทำลายล้างไปเพื่อพิทักษ์ธรรมะแล้วไซร้ เธอจักยินยอมหรือไม่”
ทุรโยธน์นึกถึงคำดำรัสของบิดาว่าธรรมะของนักรบคือต้องสู้รบอย่างมีเกียรติ ไม่ใช่ทำทุกวิถีทางให้ได้มาซึ่งชัยชำนะ จึงกล่าวว่า “วิถีแห่งนักรบคือยึดมั่นอยู่กับชัยชำนะ ไม่ว่าบนวิถีนั้นมีธรรมะหรืออธรรมะอยู่ก็ตาม”
เนื่องจากความลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในการพนัน ยุธิษฐิระจึงวางเดิมพันและสูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างที่มี เป็นต้นว่า แผ่นดิน ราชอาณาจักร พี่น้องของตน แม้กระทั่งตนเอง และสุดท้ายคือ เทราปที ผู้ซึ่งถูกจิกผมทึ้งดึงลากต่อหน้าสมัชชาแห่งราชครู ถือว่าเป็นเรื่องที่หยาบคายอย่างยิ่งเพราะผมของสตรีแต่งงานแล้วเป็นสิ่งสักการะแด่พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งใครจะมาล่วงเกินหาได้ไม่
เทราปที ท้าทายเหล่าเการพด้วยคำถามว่า "คนที่สูญสิ้นแม้กระทั่งตนเองเยี่ยงยุธิษฐิระจักวางคนอื่นเป็นเดิมพันได้อย่างไร" แต่ไม่มีใครตอบพระนางได้ แม้กระทั่งภีษมะเองก็สับสน “มรรคาแห่งธรรมะช่างหลักแหลมนัก” เมื่อแม้กระทั่งภีษมะผู้ชาญฉลาดตอบคำถามนี้ไม่ได้ เทราปทีจึงตรัสว่า “หม่อมฉันคิดว่าเวลาเลื่อนหลุดออกจากรอยต่อแล้ว ธรรมะอันเป็นนิรันดร์มาแต่โบราณกาลสูญสลายไปแล้วในฝ่ายเการพ” แทนการตอบคำถามแก่เทราปทีให้บังเกิดความชื่นชม ในระหว่างนั้นเหล่าเการพกลับดูถูกเย้ยหยันหยาบหยาม กรรณะผู้ยังมีแผลเป็นอยู่ในใจจากการปฏิเสธในพีธีสยัมวาร เรียกพระนางว่าเป็นโสเภณีที่ให้บริการแก่บุรุษห้าคน ทุรโยธน์หาสิ่งที่น่าพอใจจากเทราปที โดยเปลือยโคนขาของพระนางออก (น่าสะอิดสะเอียนมากในวัฒนธรรมอินเดีย) เนื่องจากความโกรธแค้นที่ภรรยาได้รับการกระทำเยี่ยงนี้ ภีมะสาบานว่าวันหนึ่งจะดื่มโลหิตและหักโคนขาของทุรโยธน์ให้หายแค้นจงได้
เทราปทีถูกเปลื้องอังสะจนเกือบเปลือยเปล่าอยู่แล้ว จึงอ้อนวอนกฤษณะ กฤษณะจึงเข้าช่วยเหลือพระนางและเนรมิตผ้ายาวไม่มีปลายจบพันห่อวรกายของพระนางแทนที่ เทราปทีสาบานว่าสักวันหนึ่งความแค้นของพระนางต้องได้รับการชดใช้จะมีสงครามใหญ่เกิดขึ้น สงครามที่ไร้ความเมตตาการุณย์ จบคำสาบแช่งของพระนาง หมาไนตัวหนึ่งเห่าหอนขึ้นมา ด้วยความหวาดกลัว ทุรโยธน์ขออภัยต่อเทราปทีและยกทุกสิ่งทุกอย่างที่สวามีทั้งห้าของพระนาง สูญเสียไปในการพนันคืนให้หมด แต่เทราปทีไม่ขออะไรเลยสำหรับพระนางเอง ตรัสว่า “ความละโมบเผาผลาญมนุษย์ทุกรูปนาม และเป็นความล่มสลาย (ความชอบธรรม) ของธรรมะ ข้าฯ ขอปฏิเสธความละโมบ”
เมื่อเห็นว่าความได้เปรียบของตนสูญไปแล้วทุรโยธน์รบเร้าให้ทอดลูกเต๋าอีกหนึ่งครั้ง ยุธิษฐิระตกลงเล่นการพนันครั้งสุดท้าย แต่ซ้ำรอยคำรบเดิม คือแพ้ เหล่าเการพจึงประกาศโทษของภราดาปาณฑพและเทราปที ว่าให้เนรเทศไปอยู่ป่าเสียสิบสองปีและในปีที่สิบสามให้ไปอยู่ในที่ที่ไม่มีใครรู้จักและปลอมตัวไม่ให้ใครจำได้ ถ้าใครก็ตามจำได้แล้ว ภราดาปาณฑพต้องเนรเทศตัวเองอีกต่อไปสิบสองปี…
จบภาคหนึ่ง "การพนันสกา"
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version