อิ่มกาย อิ่มใจ > สุขภาพกับชีวิต

เชื้ออีโคไลระบาดทั่วยุโรป พบผู้ติดเชื้อเพิ่มกว่า 1,500 คนแล้ว

(1/3) > >>

sithiphong:
เชื้ออีโคไลระบาดทั่วยุโรป พบผู้ติดเชื้อเพิ่มกว่า 1,500 คนแล้ว


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักข่าวเอพี (AP) รายงานว่า เชื้อแบคทีเรีย "อีโคไล" ที่ปนเปื้อนในผักเริ่มระบาดเป็นวงกว้างขึ้นไปทั่วยุโรป ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 18 คน และล้มป่วยอีกกว่า 1,500 คนแล้ว ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ชี้นี่เป็นการระบาดของเชื้อโรคในอาหารที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

          รายงานระบุว่า หลังจากที่เชื้อแบคทีเรีย "อีโคไล" ระบาดในเยอรมนี คร่าชีวิตประชาชนไป 15 คน และล้มป่วยอีก ประมาณ 1,200 คน ตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุด มีรายงานว่า ขณะนี้เชื้อแบคทีเรียดังกล่าว ได้ระบาดขยายวงกว้างไปทั่วยุโรปแล้ว โดยในอังกฤษ พบผู้ป่วยติดเชื้ออีโคไลแล้ว 7 ราย และเสียชีวิตอีก 1 ราย ขณะที่ประชาชนที่ติดเชื้ออีโคไลทั่วยุโรปตอนนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่า 1,500 คนแล้ว ซึ่งกว่า 500 คน มีอาการระบบไตล้มเหลวรุนแรงและอาจจะเสียชีวิต ทำให้หลายประเทศในยุโรปต้องประกาศห้ามประชาชนทานผักสดทุกชนิด ส่งผลให้ธุรกิจค้าผักสดขาดทุนหลายพันล้านบาท

         จากเหตุการณ์ดังกล่าว องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง WHO ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์การระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไลอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ที่มีอันตรายกว่าเดิมมาก ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นเลือด เม็ดเลือดแดงแตก และระบบไตล้มเหลว เป็นอันตรายถึงชีวิต จึงถือเป็นเชื้อโรคในอาหารที่มีพิษรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะนอกจากมันจะส่งผลร้ายดังที่กล่าวมาแล้ว เชื้อแบคทีเรียตัวนี้ยังติดต่อกันได้ถ้ามีความแข็งแรงพอ โดยไม่จำเป็นต้องรับเชื้อโดยตรงจากการบริโภคผักเลย

           ส่วนทางด้านประเทศเยอรมนี ที่เป็นพื้นที่แพร่เชื้อแหล่งใหญ่ที่สุดในขณะนี้ ทางการยังคงประกาศเตือนให้ประชาชนงดบริโภคผักสดชั่วคราว เพราะยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า เชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่นี้แพร่ระบาดมาจากไหน อีกทั้งยังแนะนำให้ประชาชนล้างมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างคนสู่คนอีกด้วย






[1 มิถุนายน] เยอรมนีสั่งห้ามกินผัก หลังคนตาย-ป่วยอื้อ เพราะกินแตงกวา

          เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ชาวเยอรมันเสียชีวิตกว่า 15 คน และล้มป่วยอีกหลายร้อยคน หลังทานแตงกวาที่วางขายตามท้องตลาด จนทางการต้องออกประกาศเตือนห้ามทานผักสดทุกชนิด

          รายงานระบุว่า ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา มีประชาชนจำนวนหลายร้อยพากันล้มป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ ขณะที่อีก 15 คนเสียชีวิตหลังมีภาวะอาหารเป็นพิษโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้สถาบันศึกษาวิจัยโรคแห่งชาติของเยอรมนี ต้องนำศพผู้เสียชีวิตไปชันสูตร และพบว่า ผู้เสียชีวิตแต่ละรายล้วนได้รับเชื้อแบคทีเรีย "อีโคไล" เช่นเดียวกันทั้งหมด ซึ่งต่อมาก็มีการตรวจพบว่า แบคทีเรียดังกล่าวนี้ มาจากแตงกวาที่วางขายในท้องตลาด ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และขณะนี้ก็มีผู้ป่วยที่ทานแตงกวาและป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษทั่วประเทศแล้วเกือบ 1,200 คน

          จากการแพร่ระบาดของเชื้อดังกล่าว ทางด้านศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของยุโรป ในกรุงสตอกโฮล์ม ได้ออกมาเปิดเผยว่า นี่เป็นการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่ร้ายแรงที่สุดในโลก และในเยอรมนีเลยทีเดียว โดยผู้ที่ได้รับเชื้อดังกล่าว จะมีอาการท้องร่วง ปวดท้องอย่างรุนแรง ถ่ายเป็นเลือด ตับได้รับความเสียหายอย่างฉับพลัน และทำให้เสียชีวิตได้

          ซึ่งจากความร้ายแรงของเชื้อดังกล่าวนี้ ทำให้ทางการเยอรมนีต้องออกประกาศห้ามประชาชนบริโภคผักสดทุกชนิดแล้ว เนื่องจากเกรงว่าจะมีเชื้อแบคทีเรียอีโคไลในผักชนิดอื่นด้วย พร้อมกับได้สั่งห้ามนำเข้าผักสดทุกชนิดจากประเทศสเปนด้วย หลังจากมีการตรวจพบเชื้อดังกล่าวในแตงกวาชีวภาพที่นำเข้าจากสเปน ทำให้การส่งออกแตงกวาและผักสดของสเปนต้องหยุดชะงัก เกษตรกรในสเปนขาดทุนรวมกันแล้วกว่า 9,300 ล้านบาท

          นอกจากนี้ ยังมีรายงานอีกว่า เชื้อแบคทีเรียอีโคไล ไม่ได้ระบาดเฉพาะในเยอรมนีเท่านั้น เพราะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังตรวจพบผู้ป่วยจากเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวทั่วยุโรปรวมแล้วกว่า 1,000 คน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยในสเปน สวีเดน ฝรั่งเศส อังกฤษ เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ โดยผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีความเชื่อมโยงกับผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับจากเยอรมนี

          ทั้งนี้ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล เพราะก่อนหน้านี้ ก็มีการระบาดในญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาเช่นกัน โดยมีการตรวจพบเชื้อดังกล่าวในบาร์บีคิวจากร้านอาหารแห่งหนึ่งในโตเกียว ทำให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิต 4 คน และล้มป่วยอีกไม่ต่ำกว่า 20 คน



.

http://hilight.kapook.com/view/59371

.

sithiphong:
เผยอีโคไลตัวใหม่ ทนยาปฏิชีวนะได้





เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          นักวิทยาศาสตร์ระบุ อีโคไลตัวใหม่นอกจากจะผลิตสารพิษร้ายแรงได้ ยังสามารถฝังตัวในลำไส้ผู้ป่วย ซ้ำร้ายทนทานยาปฏิชีวนะได้สูง คาดใช้เวลานับเดือนกว่าจะหาทางแก้ได้

          องค์การอนามัยโลกระบุว่า แบคทีเรียอีโคไลที่กำลังระบาดคร่าผู้ติดเชื้อชาวยุโรป 17 ราย และทำให้ล้มป่วยอีก 1,624 ราย เป็นเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ ด้านผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าแหล่งที่มาของโรคน่าจะอยู่ในเยอรมนีเอง

          โดยปกติแบคทีเรีย "เอสเคอริเคียโคไล" หรืออีโคไล ไม่มีอันตราย แต่สายพันธุ์ใหม่ที่สังหารผู้ได้รับเชื้อในยุโรปนั้น มีชื่อสายพันธุ์ว่า "0104:H4" และจัดอยู่ในสายพันธุ์ที่สามารถผลิตสารพิษชิกะท็อกซิน

          อีโคไลสายพันธุ์นี้สามารถฝังตัวเองในลำไส้ใหญ่แล้วผลิตสารพิษออกมาสู่ร่างกายเหยื่อ ทำให้มีอาการคลื่นไส้และท้องร่วง ไปจนถึงมีอาการ "เม็ดเลือดแดงแตก-ไตวาย" (เอชยูเอส) ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต

          ดร. โรเบิร์ต ต็อกซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อโรคที่แพร่กระจายผ่านอาหาร แห่งสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ ระบุว่า ขณะนี้ในเยอรมนีมีผู้ป่วยอาการเอชยูเอสทั้งหมด 470 รายแล้ว นับว่ามีจำนวนเป็น 10 เท่า ของการแพร่ระบาดเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใกล้เคียงกันในสหรัฐปี 2537

          สถาบันพันธุกรรมวิทยากรุงปักกิ่ง ซึ่งจัดวางรหัสพันธุกรรมของเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ ชี้แจงว่า อีโคไลสายพันธุ์ใหม่นี้มีความทนทานต่อยาปฏิชีวนะ ดร.ต็อกซ์กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเหตุใดเชื้อสายพันธุ์จึงมีภูมิต้านทานยาสูง และแนะนำว่าไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาผู้ป่วย เพราะอาจจะทำให้เชื้อดื้อยามาขึ้น

          การแพร่ระบาดของเชื้อโรคยังส่งผลต่อการค้าและทำให้เกิดความขัดแย้งในทวีปยุโรป ด้านรัสเซียได้สั่งแบนสินค้าพืชผักที่นำเข้าจากยุโรป ส่งผลให้สหภาพยุโรปวิจารณ์ท่าทีดังกล่าวและเรียกร้องให้ยกเลิกการแบนสินค้าโดยทันที ส่วนเยอรมนี ออกมาขอโทษสเปนหลังก่อนหน้านี้กล่าวหาว่าผักนำเข้าจากสเปนเป็นต้นเหตุการระบาด แต่ผลการพิสูจน์พบว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน


.

http://hilight.kapook.com/view/59371

.

sithiphong:
สธ.เผยยังไม่พบผู้ติดเชื้ออี.โคไลในไทย เตือนพวกนิยมกินผักสด ระวังเป็นพิเศษ

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าววันที่ 4 มิถุนายน ถึงการแพร่ระบาดของโรคอุจจาระร่วง จากเชื้อแบคทีเรียอี.โคไลทางแถบยุโรปว่า จากการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ไทยพบโรคอุจจาระร่วงทั่วไปในปี 2554 มีรายงานทั่วประเทศประมาณ 5.3 แสนราย เสียชีวิต 21 ราย และยังไม่พบผู้ป่วยติดเชื้ออี.โคไลชนิดรุนแรง ที่ทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตก และไตวาย

 

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากโรคระบบทางเดินอาหาร โดยการปรุงสุกผ่านความร้อน และกลุ่มของผู้ที่นิยมบริโภคผักสด ในรูปของผักสลัด ผักแนม หรือผักจิ้มน้ำพริกต่างๆ ขอให้ล้างผักก่อนด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ควรล้างผักผ่านน้ำไหลนานประมาณ 2 นาที เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค และที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขมีระบบเฝ้าระวังโรคนี้อย่างเข้มแข็ง ทั้งด้านระบาดวิทยา และการตรวจเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ขอให้คนไทยสบายใจได้ และไทยมีการนำเข้าผักจากยุโรปน้อยมาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม สามารถผลิตพืชผักบริโภคได้ตลอดปี

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1307171317&grpid=&catid=19&subcatid=1904

.

sithiphong:
สธ.เล็งระดมผู้เชี่ยวชาญถกเชื้อ "อี.โคไล" ระบาด 6 มิ.ย. แนะเลี่ยงกินผักสด-ผลไม้ต้องปอกเปลือก

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนถึงการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล โอ 104Ž ในประเทศแถบยุโรป 12 ประเทศว่า ในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ สธ.จะระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัด ทั้งกรมควบคุมโรค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หารือถึงมาตรการเฝ้าระวังว่า จะมีการออกมาตรการใดเพิ่มเติม นอกเหนือจากการเฝ้าระวังเชื้อในสถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ

 

"อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคไปประจำที่สนามบินนานาชาติ เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต อีกทั้งประเทศไทยก็มีระบบตรวจสอบผู้โดยสารขาเข้าอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้กรอกเอกสารขาเข้า จะสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ ซักประวัติโรคเบื้องต้น ขณะเดียวกัน บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก็มีระบบตรวจสอบผู้โดยสารกลุ่มนี้ด้วย หากพบโรคเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ประจำ ตม.จะทำหน้าที่คัดกรองผู้ป่วยเอง โดยหากพบรายใดมีอาการป่วยที่อาจเข้าข่าย เจ้าหน้าที่จะซักประวัติ และขอที่อยู่ขณะพำนักหรืออาศัยภายในประเทศไทย เพื่อติดตามอาการ ทั้งหมดเป็นขั้นตอนที่มีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องจัดตั้งทีมเฉพาะกิจไปประจำอีก"Žนพ.ไพจิตร์กล่าว และว่า นอกจากนี้ สธ.ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เฝ้าระวังผู้ที่อาจมีอาการใกล้เคียงโรคนี้


นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป สธ.กล่าวว่า เชื้อ อี.โคไล เป็นเชื้อที่อยู่ในลำไส้ของมนุษย์อยู่แล้ว เพียงแต่กรณีนี้มีการติดเชื้อจากภายนอก ชาวยุโรปเชื่อว่าอาจปนเปื้อนมากับอาหาร ทำให้เชื้อ อี.โคไล แตกต่างจากเดิม กลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ โดยเชื้อดังกล่าวเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า เอสทีอีซี (STEC-Shiga toxin-producing Escherichia coli) หรือ E.coli O 104 เป็นเชื้อก่อโรคที่มีความรุนแรงกว่าเดิม โดยเชื้อดังกล่าวจะไปสร้างสารพิษทำลายลำไส้ ทำให้ลำไส้มีเลือดออก และอุจจาระเป็นเลือด ขณะเดียวกันยังส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตกในกระแสเลือด อาจลุกลามไปทำลายไต ก่อให้เกิดไตวาย และหากรักษาไม่ทันจะเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้น ควรป้องกันโดยการดูแลสุขอนามัย ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ปรุงอาหารให้สุก เนื่องจากหากปรุงสุกด้วยความร้อนเกิน 70 องศาเซลเซียส จะทำลายเชื้อนี้ได้ และหากต้องการบริโภคผักผลไม้ก็ต้องล้างให้สะอาด

 

"หากกังวลมาก ช่วงนี้อาจหลีกเลี่ยงกินผักสด ส่วนผลไม้ก็ควรปอกเปลือก เนื่องจากเชื้อประเภทนี้จะติดบริเวณเปลือก แต่ไม่อยากให้กังวลมาก เพราะประเทศไทยนำเข้าผักผลไม้จากยุโรปน้อยมากŽ" นพ.โอภาสกล่าว


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1307197366&grpid=00&catid=&subcatid=

.

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
เรื่องนี้น่ากลัวครับ รู้สึกว่า เราจะทานเนื้อ ทานพักก็ไม่ได้เลย โรคเยอะไปหมด สงสัยต่อไปเราต้องทานอาหารแคปซูนซะแล้วล่ะครับพี่หนุ่ม

ขอบคุณครับพี่หนุ่มสำหรับเรื่องข้อมูล^^

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version