ผู้เขียน หัวข้อ: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง  (อ่าน 18506 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มกราคม 05, 2014, 08:41:21 am »
ต่อครับ


ความเชื่อ
      
กระบือหนึ่งห้ามอย่า   ควรครอง
   เมียมิ่งอย่ามีสอง         สี่ได้
โคสามอย่าควรปอง      เป็นเหตุ
   เรือนอยู่สี่ห้องให้         เดือดร้อนรำคาญ ฯ
            จาก โคลงโลกนิติ สำนวนเก่า
* เรือนสี่ห้อง ลักษณะเทคนิคสถาปัตย์ของการสร้างบ้านทรงไทย  จะมีการกั้นแบ่งห้องตามช่วงของเสาเรือน  ซึ่งทำให้เรือนไทยมีจำนวนห้องเป็นเลขคี่ คือ ๑ห้อง ๓ห้อง หรือ ๕ห้อง จึงจะได้บ้านที่มีความมั่นคงแข็งแรง  ดังนั้นการสร้างบ้านทรงไทยให้มีเรือนสี่ห้องอันเป็นจำนวนคู่จึงถือเป็นข้อห้าม

      มีเรือค้าขี่ห้า      ลำนอ
   สุนัขหกอย่าพึงพอ      จิตเลี้ยง
   แมวเจ็ดเร่งเร็วขอ      มาใส่  อีกนา
   ช้างแปดม้าเก้าเหยี้ยง      อย่างห้ามเพรงมา ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
   พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

   อนึ่งภูษาผ้าทรงณรงค์รบ      ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี
วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี      เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล
เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว      จะยืนยาวชันษาสถาผล
อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน      เป็นมงคลขัตติยาเข้าราวี
เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด      กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี
วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี      วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม
วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ         แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม
หนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม         ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย
                         จาก สวัสดิรักษา
       ของ สุนทรภู่

   บรรสานสีสอดเสื้อ   วันเสาร์
พื้นม่วงอ่อนงามเพรา      เพริศพริ้ง
อาภรณ์พิจิตรเฉลา      ฉลักสุ  พรรณแฮ
นิลมณีรัตน์กลิ้ง         กลอกน้ำสลำสลัว
   แต่งตัวปัทมราคนั้น   วันรวี
จรูญจรัสรัตตมณี      แจ่มจ้า
แสงจับรับพรรณฉวี      แดงเปล่ง
สวมสนอบสนิทผ้า      แต่พื้นพรรณแดง
   จันทร์แปลงนุ่งห่มผ้า   โขมพัสตร์
แต่งเครื่องสีขาวจรัส      ผ่องแผ้ว
มุกดาสกาวรัตน์         เรียบระดับ
แปลงเปลี่ยนโอปอล์แก้ว      กอบรุ้งเรืองชู
   ชมพูพรรณพัสตร์ใช้   อังคาร
มณีจัดรัตนประพาล      เผือดคล้ำ
ประดับสรรพอลังการ      งามแง่
ผาดพิศพิจิตรล้ำ         เล่ห์เพี้ยงอัปสร
   พัสตราภรณ์พุธพื้น   เขียวสรร-  พสิ่งแฮ
ขจีจรัสรัตนปิลันธน์      เลื่อมแพร้ว
มรกตสดสีบรร-         เจิดเพริศพรายแฮ
ช้าช่อนอาภรณ์แผ้ว      เพ่งเพี้ยงพะวงตาย
   แต่งกายพฤหัสบดิ์ล้วน   สีเหลือง
ดูดั่งกาญจนประเทือง      เทียบแท้
ไพฑูรย์รัตน์รองเรือง      รังสฤษฎ์
ผาดผ่าสังวาลแม้      กลับกลิ้งกลอกฉาย
   พรรณรายเพ็ชรรัตน์รุ้ง   เรืองจรัส  จรูญแฮ
วันศุกร์ประสาธจัด      รจิตไว้
น้ำเงินพิพิธพัส-         ตราส่ง  ซบแฮ
งามเงื่อนเตือนเนตรให้      แต่ตั้งตะลึงหลง
               จาก ลิลิตนิทราชาคริต
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   
   
   อนึ่งวันชำระสระพระเกล้า   อังคารเสาร์สิ้นวิบัติปัดไถม
ตัดเล็บวันพุธจันทร์กันจังไร      เรียนสิ่งใดวันพฤหัสสวัสดี
                  จาก สวัสดิรักษา
  ของ สุนทรภู่

   อันจตุระเคหาภิริยาสอง      ดูเห็นต้องสุภาษิตประดิษฐ์ห้าม
ไหนจะมีความสบายพ่อพลายงาม   ต้องว่าความเมียรักนั้นร่ำไป
               จาก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน

   หนึ่งจงเว้นอุบาทว์เหล่าทั้งเก้าสิ่ง   หนึ่งมหิงส์เมียสองอย่าปองหา
ทาสสามสุนัขสี่วิฬาร์ห้า         อีกบุตราเจ็ดคนมลทินมี
สุนัขเจ็ดแปดม้าคชาเก้า         แต่ล้วนเหล่าแรงร้ายเร่งหน่ายหนี
จะถอยถดยศศักดิ์ชักอัปรีย์      เป็นราคีดังกล่าวเรื่องราวมา
                  ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง


คำสอน

   เมื่อแก่เฒ่าหมายเจ้าช่วยรับใช้   เมื่อยามไข้หมายเจ้าเฝ้ารักษา
เมื่อยามถึงวันตายวายชีวา      หวังลูกช่วยปิดตาเมื่อสิ้นใจ
                  จาก  วิวาห์พระสมุท 
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
      
คนฉลาดเปลี่ยนคิดได้   แต่ว่าคนโฉดไซร้          ไป่แปลง  ฯ
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

      อันนารีรูปงามทรามสวาท   ถ้าแม้ไร้มรรยาทอันงามสม
   คงไม่มีชายดีจะอบรม         มีแต่ชมเพื่อพลางแล้วร้างไป
จาก บทละครร้องเรื่องพระร่วง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ผู้ที่ควรมีทรัพย์   ต้องเป็นผู้รู้จักราคาของทรัพย์  ต้องรู้จักว่าทรัพย์นั้นจะเป็นเครื่องให้ความสุขแก่โลกได้เพียงไร   จะทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองได้เพียงไร
                        จาก มหาตมะ
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ใครจะไว้ใจอะไรตามใจเถิด   แต่อย่าเกิดไว้ใจในสิ่งห้า
หนึ่งอย่าไว้ใจทะเลทุกเวลา      สองสัตว์เขี้ยวเล็บงาอย่าวางใจ
สามผู้ถืออาวุธสุดจักร้าย         สี่ผู้หญิงทั้งหลายอย่ากรายใกล้
ห้ามหากษัตริย์ทรงฉัตรชัย      ถ้าแม้นใครประมาทอาจตายเอย
                        จาก นิทานเวตาล ของ น.ม.ส.

แม่สอนเจ้ามาแต่น้อยกว่าร้อยพัน   สุดสำคัญแต่เพียงอดนั้นเป็นต้น
   อย่าทำชั่วเพราะว่าตัวของตัวจน      เขาเปรียบเทียบจงสู้ทนต้องเกรงกลัว
   ใครจะด่าเจาะจังก็ชั่งเขา         จงอดเอาอย่าสำออยคอยฟ้องผัว
   อันคนดีนานดอกจึงออกตัว      ถ้าคนชั่วเขาคงเห็นเป็นไปเอง
                  จาก ขุนช้างขุนแผน
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

   โบราณท่านจึงตั้งคติมา      ว่าวุฒิมีสี่ประการ
หนึ่งเป็นผู้ดีมีเชื้อชาติ         กิริยามารยาทส่งสัณฐาน
หนึ่งได้ศึกษาวิชาการ         เป็นแก่นสารคือคุณอุดหนุนตัว
หนึ่งว่าอายุเจริญวัย         เข้าใจผิดชอบประกอบทั่ว
หนึ่งปัญญาว่องไวไม่มึนมัว      จึงจะรู้ดีชั่วในทางธรรม
               จาก ขุนช้าง-ขุนแผน
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ด้วยวิสัยในการประเวณี      ย่อมอยู่ที่ดวงจิตพิสมัย
พอถึงกันก็ประหวัดกำหนัดใน      แต่พอได้รู้รสก็หมดกลัว
ยิ่งหนุ่มสาวคราวแรกภิรมย์รัก      พอประจักษ์ได้เสียเป็นเมียผัว
มักหลงใหลคลึงเคล้าเฝ้าพันพัว      ราวกับตัวขึ้นสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์
เมื่อแรกแรกร่วมเรียงเคียงเขนย      อย่ากลัวเลยจะพิโรธโกรธขึ้ง
ต่อนานวันว่างวายคลายเคล้าคลึง      นั่นแลจึงจะได้รู้ดูใจกัน
วิสัยชายคล้ายกับคชสาร         ถ้าหมอควาญรู้ทีดีขยัน
แต่ทว่าบางยกตกน้ำมัน         ต้องรู้จักผ่อนผันจึงเป็นเพลง
ธรรมดาสตรีที่มีผัว         ต้องเกรงยำจำกลัวผัวข่มเหง
เพราะถ้าผัวตัวนั้นยังคุ้มเกรง      ถึงคนอื่นครื้นเครงมิเป็นไร
ถ้าผัวทิ้งคนเดียวเปลี่ยวอนาถ      เหมือนสิ้นชาติสิ้นเชื้อที่เนื้อไข
หญิงที่ผัวทิ้งขว้างห่างเหไป      จะเข้าไหนเขากระหยิ่มมักยิ้มเยาะ
ถึงจะหาลูกผัวแก้ตัวใหม่         ก็ยากนักจักได้ที่มั่นเหมาะ
ด้วยสิ้นพรหมจารีที่จำเพาะ      เหมือนไส้กลวงด้วงเจาะรังเกียจกัน
                  จาก ขุนช้างขุนแผน
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
อันเป็นหญิงสุดแต่สิ่งปรนนิบัติ   ใครสันทัดผัวก็รักเป็นหนักหนา
แม้นเจ้าทำเหมือนคำของมารดา      ดีกว่ายาแฝดฝังทั้งตาปี
                  จาก ขุนช้างขุนแผน
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
   
อันคำคมบุรุษนั้นสุดกล้า      เขาย่อมว่ารสลิ้นนี้กินหวาน
จงระวังตั้งมั่นในสันดาน         อย่าลนลานหลงละเลิงด้วยเชิงชาย
เขารักจริงให้สู่ขอกับพ่อแม่      อย่าเที่ยวแร่หลงงามไปตามง่าย
เขาไม่เลี้ยงไล่ขับจะอับอาย      ต้องเป็นม่ายอยู่กับบ้านประจานตน
                     จาก สุภาษิตสอนหญิง
    ของ สุนทรภู่

   เกิดเป็นหญิงให้เห็นว่าเป็นหญิง   อย่าทอดทิ้งกิริยาอัชฌาสัย
เป็นหญิงครึ่งชายครึ่งอย่าพึงใจ      ใครเขาไม่สรรเสริญเมินอารมณ์
แม้นผัวเดือดเจ้าจงดับระงับไว้      อย่าพอใจขึ้นเสียงเถียงประสม
เขาเป็นไฟเราเป็นน้ำคอยพรำพรม      แม้นระดมขึ้นทั้งคู่จะวู่วาม
                     จาก สุภาษิตสอนหญิง
    ของ สุนทรภู่
   
จงรักนวลสงวนนามห้ามใจไว้   อย่าหลงใหลจำคำที่ร่ำสอน
คิดถึงหน้าบิดาแลมารดร         อย่ารีบร้อนเร็วนักมักไม่ดี
เมื่อสุกงอมหอมหวนจึงควรหล่น      อยู่กับต้นอย่าให้พรากไปจากที่
อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี      เมื่อบุญมีคงจะมาอย่าปรารมภ์
                  จาก สุภาษิตสอนหญิง
    ของ สุนทรภู่

ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์   บำรุงรักกายไว้ให้เป็นผล
สงวนงามตามระบอบให้ชอบกล      จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา
เป็นสาวแส้แร่รวยสวยสะอาด      ก็หมายมาดเหมือนมณีอันมีค่า
แม้นแตกร้าวรานร่อยถอยราคา      จะพลอยพาหอมหายจากกายนาง
อันตัวต่ำแล้วอย่าทำให้กายสูง      ดูเยี่ยงยูงแววยังมีที่วงหาง
ค่อยเสงี่ยมเจียมใจจะไว้วาง      ให้ต้องอย่างกิริยาเป็นนารี
                  จาก สุภาษิตสอนหญิง
    ของสุนทรภู่

อันหญิงดีเพราะผลปรนนิบัติ   รักษาสัตย์สู้ม้วยอยู่ด้วยผัว
ผัวยิ่งรักหนักหญิงก็ยิ่งกลัว      อย่าถือตัวต่อชายจะหน่ายใจ
                     จาก พระอภัยมณี
    ของ สุนทรภู่   
แต่โบราณท่านว่าจะค้าขาย   อย่ามักง่ายเงินก็ลองทองก็ฝน
เกิดเป็นคนอย่าไว้แก่ใจคน      ค่อยผ่อนปรนปรองดองให้ต้องความ
                     จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่   

มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท   อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง      อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ         ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล      จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ
                            จาก สุภาษิตสอนหญิง
ของ สุนทรภู่

แก้วหนึ่งนงนุช   สองแก้วพุทธวาจา    สามแก้วแกล้วกล้าพูดจาองอาจ    สี่แก้วนวยนาดผ้าขาดไม่รู้ตัว       ห้าแก้วทูลหัวไม่กลัวมูลนาย        หกแก้วโฉมฉายความตายไม่คิด       เจ็ดแก้วมิ่งมิตรพูดผิดทุกคำ     แปดแก้วงามขำมือคลำหาทาง    เก้าแก้วเอวบางเห็นช้างเท่าหมู    สิบแก้วโฉมตรูมดเลียตา
                           ของเก่า

   อันที่จริงคนเขาอยากให้เราดี   แต่ถ้าเด่นขึ้นทุกทีเขาหมั่นไส้
จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย      ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน
               ของ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ

   ทำทานการสละสิ้น      สบสถาน
จงประกอบสามกาล         เกิดพร้อม
แรกคิดขณะทาน            ทำเสร็จ  แล้วแฮ
โสมนัศมาโนชน้อม         นั่นนั้นเป็นบุญ
                จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร
*หมายความว่าการทำบุญที่จะให้เกิดผลบุญอย่างเต็มที่นั้น  จะต้องเป็นการกระทำด้วยความศรัทธาจริงใจไม่คิดเสียดายในทรัพย์ที่ทำบุญในกาลทั้งสาม  คือ ก่อนทำ  ขณะทำ  และเมื่อทำบุญเสร็จ



   คุณแม่หนาหนักเพี้ยง   พสุธา
คุณบิดรดุจอา-         กาศกว้าง
คุณพี่พ่างศิขรา         เมรุมาศ
คุณพระอาจารย์อ้าง      อาจสู้สาคร
   เมื่อร้อนน้ำท่านให้           เย็นใจ
เมื่อเยือกเย็นได้ไฟ      อุ่นเนื้อ
เมื่อทุกข์ท่านแก้ไข      ชูช่วย
เมื่อยากจนท่านเกื้อ      ก่อให้ทุนทำ
            จาก โคลงโลกนิติ
     พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

โคควายวายชีพได้   เขาหนัง
เป็นสิ่งเป็นอันยัง         อยู่ไซร้
คนเด็ดดับสูญสัง         ขารร่าง
เป็นชื่อเป็นเสียงได้      แต่ร้ายกับดี
                   จาก โคลงโลกนิติ
   พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

   ช้างม้าเมียมิ่งแก้ว   เงินทอง
ตัวมิตายจักปอง         ย่อมได้
ชีวิตสิ่งเดียวของ         หายาก
ใช่ประทีปเทียนไต้      ดับแล้วจุดคืน
               จาก โคลงโลกนิติ
  พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

   วัยหนึ่งไป่เรียนรู้      วิทยา
วัยสองไป่หาทรัพย์      สิ่งแก้ว
วัยสามไป่รักษา         ศีลสืบ  บุญนา
วัยสี่เกินแก่แล้ว         ก่อสร้างสิ่งใด
         จากโคลงโลกนิติ สำนวนเก่า
พฤษภกาสร   อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง      สำคัญหมายในกายมี
   นรชาติวางวาย   มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี      ประดับไว้ในโลกา
         จาก กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
 พระนิพนธ์สมเด็จ ฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

      เป็นข้าราชการ   อย่าเกียจอย่าคร้าน   การงานตรึกตรอง
   เข้านอกออกใน         อย่าให้ลำพอง   จักกราบทูลฉลอง   อย่าได้มุสา
      อย่าเห็นกับคน       สินบาทคาดบน   ไม่พ้นอาญา
   อย่าประจบประแจง   ช่วยแรงวาสนา   กิจการพารา   จงหมั่นจิตจำ
      แม้นจะว่าความ        ไล่เลียงไต่ถาม        ให้งามแม่นยำ
   อย่าคุมเหงไพร่         หาให้ชอบธรรม   เกรงบาปกลัวกรรม   ในอนาคตกาล
      กุศลหาไม่   เงินทองบ่าวไพร่           ถึงได้ไม่นาน
   คงให้วิบัติ   พลัดพรากจากสถาน   เวรกรรมบันดาล            ฉิบหายวายชนม์
                     จาก จินดามณี
         
คนกล้าหาญย่อมไม่ชิงชังชีวิตที่ยืนยาว  ตราบเท่าที่ตนสามารถครองชีวิตอยู่ได้  ดังนั้นเขาจึงไม่หวาดหวั่นต่อความตายในเมื่อถึงเวลาแล้ว  เพราะความตายเป็นด่านซึ่งคนได้ปิดกั้นความทุกข์ยากทั้งมวล  เหตุผลข้อนี้แหละทำให้หม่อมฉันตัดขาดจากอุปาทานยึดมั่นกับชีวิตและไม่กลัวความตาย
               จาก จดหมายเหตุฟานฟลีต 

จงตระหนักว่าคุณงามความดีเป็นเกราะคุ้มกันภัยที่ไม่แตกสลาย  เป็นน้ำพุธรรมชาติที่ไม่เคยเหือดแห้ง เป็นเพลิงซึ่งไม่เคยดับ เป็นของหนักซึ่งไม่เคยทำความลำบากให้แก่ผู้ถือ  เป็นสมบัติซึ่งไม่ลดจำนวนลงไป  เป็นกองทัพที่ไม่มีใครเอาชนะได้  เป็นผู้ชี้ทางซึ่งไม่นำไปในทางที่ผิด  และเป็นชื่อเสียงเกียรติคุณที่ไม่กลับมัวหมอง
จาก จดหมายเหตุฟานฟลีต

ถ้าทุกคนได้ทุกอย่างดังที่คิด   สิ้นชีวิตจะเอาของกองไว้ไหน
   จะได้บ้างเสียบ้างช่างปะไร      เรื่องของใครเรื่องของมันเท่านั้นเอง
               พระธรรมวราจารย์ (สมพงษ์  ขันติโก)
                     วัดภูดานแต้ จ.มุกดาหาร


สงสารแต่หมอน           จะขาดสองท่อน       ช่างนอนขยัน
   กินนอนกินนอน      จนหมอนเป็นมัน      วิชาสักอัน   หนึ่งก็ไม่มี
      ฉะนั้นตัวเรา        อย่าได้ง่วงเหงา      คิดดูให้ดี
   อย่าเกียจอย่าคร้าน   การงานหน้าที่      หมั่นเพียรเรียนดี             จะมีปัญญา
      ถ้าไม่หมั่นเพียร      ไม่เล่าไม่เรียน      กินแล้วนิทรา
   เหมือนอย่างสุกร      เขาตอนอัณฑา      อ้วนพีดีหนา   เพราะกินแล้วนอน
            ของ สมเด็จพุฒาจารย์(โสม   ฉันนะเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์

เป็นมนุษย์  เป็นได้  เพราะใจสูง
   เหมือนหนึ่งยูง  มีดี  ที่แววขน
   ถ้าใจต่ำ  เป็นได้  แต่เพียงคน
   ย่อมเสียที  ที่ตน  กำเนิดมา.
      ใจสอาด  ใจสว่าง  ใจสงบ
   ถ้ามีครบ  ควรเรียก  มนุสสา
   เพราะทำถูก  พูดถูก  ทุกเวลา
   เปรมปรีดา  คืนวัน  ศุขสันติ์จริง.
      ใจสกปรก  มืดมัว  และร้อนเร่า
   ใครมีเข้า  ควรเรียก  ว่าผีสิง
   เพราะพูดผิด  ทำผิด  จิตประวิง
   แต่ในสิ่ง  นำตัว  กลัวอบาย.
      คิดดูเถิด,  ถ้าใคร  ไม่อยากตก
   จงรีบยก  ใจตน  รีบขวนขวาย
   ให้ใจสูง  เสียได้  ก่อนตัวตาย
   ก็สมหมาย  ที่เกิดมา;  อย่าเชือนเอยฯ
         จาก เป็นมนุษย์หรือเป็นคน
    ของ พุทธทาสภิกขุ
   *จัดวรรคตอนตามต้นฉบับลายมือของท่านพุทธทาสภิกขุ


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มกราคม 05, 2014, 08:42:19 am »
ต่อครับ

ความรัก

         รักลูกผูกจิตเพี้ยง      รักตน
      อยากแต่ให้ดีดล         ดับร้าย
      จำจักระวังผจญ         จิตรลูก  ตนแฮ
      แม้ปล่อยเป็นชั่วคล้าย      กับเลี้ยงรักงู ฯ
                  จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

         พี่รักนุชนาฏด้วย      เห็นใจ  จริงแฮ
      ใช่รักรูปวิไลย         เลิศล้ำ
      ชื่นจิตแต่หล่อนไข      คำซื่อ
      อีกสิ่งปฏิบัติล้ำ         ส่งให้รักแรง ฯ
                     จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

         รักตนควรให้คิด      สงวนตน
      อย่าประมาทกระมล      หมิ่นพลั้ง
      ไภยนอกและในกระมล      ใดเกิด  มีแฮ
      บำบัดเร็วอย่ารั้ง         รอดได้ชนม์ยืน ฯ
                     จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

       รู้     อารีโอบอ้อม      กว้างขวาง
      รัก   มิตรคิดทอดทาง      อย่าร้าว
      จัก   ปราศทุกข์ระคาง      เคืองขุ่น  ใจแฮ
      ดี     เพราะประพฤติน้าว      หน่วงด้วยสามัคคี ฯ
               จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
พระนิพนธ์กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์



      รู้     แล้วไป่หมั่นตั้ง      ใจทำ
      รัก   แต่นิ่งไป่นำ         ชอบให้
      จัก   ดีจักชั่วสำ         เหนียกแน่  ไฉนนา
      ดี     และร้ายจักได้      เสร็จด้วยตนทำ ฯ
                  จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      รู้     ประกอบราชกิจเกื้อ      การดี
      รัก   ซึ่งสัจวาที         อย่าพลั้ง
      จัก   คิดสิ่งใดมี         ความตริ  ตรองแฮ
      ดี     ตลอดการตั้ง      แต่ต้นจนปลาย ฯ
               จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
   พระนิพนธ์กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ

         รักตนเร่งรอบรู้      การระวัง  ตนเอย
      รักพ่อแม่จึงฟัง         ท่านห้าม
      รักเจ้าแห่งตนฝัง         ใจซื่อ  ตรงแฮ
      รักทรัพย์อย่าซุ่มส้าม      ค่อยค้อยมีเอง ฯ
               จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
     พระนิพนธ์กรมหลวงพิชิตปรีชากร

         รักเมียรักมิตรแม้      รักดไนย  ก็ดี
      หมื่นรักแสนรักใคร      ทั่วหล้า
      ไป่เทียบเท่าเทียมใจ      รักอาต  มะเฮย
      รักชีพรักแรงกล้า         ยิ่งพ้องพงศ์พันธุ์ ฯ
         ว่ารักเทียมเท่าด้วย   ดวงชี  วาตม์นา
      รักหากปากพาที         เทอดอ้าง
      ไป่จริงเพราะไป่มี      ใครร่วม  ตายแฮ
      เป็นแต่คำคิดข้าง      ล่อเล้าโลมหญิง ฯ
               จาก โคลงพิพิธพากย์
    โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)

         เป็นคนควรรักแส้      สงวนวงศ์
      รักชาติตระกูลพงศ์      เผ่าพ้อง
      รักจริงก็ควรจง         จิตโอบ  เอื้อเอย
      รักยศรักศักดิ์ต้อง      เสพย์ไท้ภูธร ฯ
                  จาก โคลงพิพิธพากย์
โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)

         อันที่จริงหญิงชายย่อมหมายรัก   มิใช่จักตัดทางที่สร้างสม
      แม้นจักรักรักไว้ในอารมณ์      อย่ารักชมนอกหน้าเป็นราคี
      ดังพฤกษาต้องวายุพัดโบก      เขยื้อนโยกก็แต่กิ่งไม่ทิ้งที่
      จงยับยั้งชั่งใจเสียให้ดี         เหมือนจามรีรู้จักรักษากาย
      อันตัวนางเปรียบอย่างปทุเมศ      พึ่งประเวศผุดพ้นชลสาย
      หอมผกาเกสรขจรจาย         มิได้วายภุมรินถวิลปอง
      ครั้นได้ชมสมจิตพิศวาส         ก็นิราศแรมจรัลผันผยอง
      ไม่อยู่เฝ้าเคล้ารสเที่ยวจดลอง      ดูทำนองใจชายก็คล้ายกัน
      แม้นชายใดใจประสงค์มาหลงรัก      ให้รู้จักเชิงชายที่หมายมั่น
      อันความรักของชายนี้หลายชั้น      เขาว่ารักรักนั้นประการใด
                     จาก สุภาษิตสอนหญิง
      ของ สุนทรภู่

         เหมือนเขาเปรียบเทียบความเมื่อยามรัก   แต่น้ำผักต้มขมก็ชมหวาน
      ถึงยามยืดจืดกร่อยทั้งอ้อยตาล         เคยโปรดปรานเปรี้ยวเค็มรู้เต็มใจ
                     จาก บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

         เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก   แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
      ครั้นจืดจางห่างเหินไปเนิ่นนาน         แต่น้ำตาลก็ว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล
                        จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร   ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
      แม้เกิดในใต้หล้าสุธาธาร         ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
      แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ      พี่ขอพบขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา   
      แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา      เชยผกาโกสุมปทุมทอง
      เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่         เป็นราชสีห์สิงสู่เป็นคู่สอง
      จะติดตามทรามสงวนนวลละออง      เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
                     จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่
         
         แม้นเป็นไม้ให้พี่นี้เป็นนก   ให้ได้กกกิ่งไม้อยู่ไพรสัณฑ์
      แม้นเป็นนารีผลวิมลจันทร์   ขอให้ฉันเป็นพระยาวิชาธร
      แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นแมงภู่   ได้ชื่นชูสู่สมชมเกสร
      เป็นวารีพี่หวังเป็นมังกร      ได้เชยช้อนชมทะเลทุกเวลา
      แม้นเป็นถ้ำน้ำใจใคร่เป็นหงส์   จะได้ลงสิงสู่ในคูหา
      แม้นเนื้อเย็นเป็นเทพธิดา      พี่ขออาศัยเสน่ห์เป็นเทวัญ
      กว่าจะถึงซึ่งมหาศิวาโมกข์   เป็นสิ้นโศกสิ้นสุดมนุษย์สวรรค์
      เสวยสวัสดิ์ชัชวาลนานอนันต์   เหลือจะนับกัปกัลป์พุทธันดร
                       จาก นิราศพระประธม
ของ สุนทรภู่
   *คำประพันธ์ที่มีความคล้ายคลึงกันสองบทนี้ของท่านสุนทรภู่  ได้รับการดัดแปลงผสมผสานกันแล้วนำไปขับร้องเป็นเพลงไทยสากล  โดยมีการปรับเปลี่ยนข้อความจาก “เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่          เป็นราชสีห์สิงสู่เป็นคู่สอง” ในบทแรกมาใช้เป็น “แม้นเป็นถ้ำน้ำใจใคร่เป็นหงส์        จะได้ลงสิงสู่ในคูหา”  แต่ในบทเพลงยังคงมีการปรับความอีกเล็กน้อยเป็น “แม้นเป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์           จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง”

ถึงต่างชาติวาสนาได้มาพบ   ก็ควรคบเคียงชมประสมสอง
      เจ้าโฉมงามทรามสงวนนวลละออง   อย่าขัดข้องคิดหมางระคางใจ
      ประเวณีมีอยู่ทั่วทุกตัวสัตว์      ไม่จำกัดห้ามปรามตามวิสัย
      นาคมนุษย์ครุฑาสุราลัย         สุดแต่ใจปรองดองจะครองกัน
                     จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่

         ประเวณีเป็นที่กำเริบใจ   แต่ใหม่ใหม่มุ่งมอบชีวิตกัน
      อุประมาเหมือนผ้าที่นุ่งห่ม   ซื้อใหม่ก็นิยมว่าเฉิดฉัน
      ยามขัดสนจนมาสารพัน      ผืนนั้นนุ่งซ้ำประจำกาย
      ครั้นได้อื่นผืนใหม่เข้ามาผลัด   ก็เหยาะหยัดซัดกรุยทำฉุยฉาย
      เป็นสองผืนชื่นจิตคิดสบาย   นุ่งห่มกรุยกรายทุกเวลา
      ก็เหมือนกันกับหมายไม่วายรัก   ที่เก่าก่อนแล้วก็ชักประเชินหน้า
      ลงประเชินแล้วก็ก็เมินทุกเวลา   ลงเป็นผ้าชุบอาบไม่เอื้อเฟื้อ
      แต่ซักซักฟาดฟาดจนขาดวิ่น   จนเป็นชิ้นเช็ดใช้ไม่หลอเหลือ
      ถึงจะเย็บตะเข็บขาดไม่พาดเจือ    ให้เป็นเนื้อเดิมได้ดังก่อนมา
      เหมือนหญิงชายว่าจะตายด้วยกันได้    จะเห็นใจฤๅไม่จางไปข้างหน้า
      ลิ้นกับฟันอยู่ด้วยกันเป็นอัตรา           ลางเวลาก็กระทบกระทั่งกัน
                     จาก ขุนช้าง-ขุนแผน
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 

      แล้วว่าอนิจจาความรัก      พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
   ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป      ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
   สัตรีใดในพิภพจบแดน         ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า
   ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา         จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์
   โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก         เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงช้ำจิต
   จะออกชื่อลือชั่วไปทั่วทิศ         เมื่อพลั้งคิดผิดแล้วจะโทษใคร
                  จาก บทละครเรื่องอิเหนา
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 

       แม้นแผ่นดินสิ้นชายที่พึงเชย   อย่ามีคู่เลยจะดีกว่า
   พี่พลอยร้อนใจแทนทุกเวลา      ฤๅวาสนาน้องจะต้องกัน
                  จาก บทละครเรื่องอิเหนา
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

      อนึ่งหญิงทิ้งสัตย์เราตัดขาด   ถึงเนื้อน้ำธรรมชาติไม่ปรารถนา
ข้างนอกนวลส่วนข้างในใจสุดา      เหมือนปลาร้าร้ายกาจอุจาดจริง
ถึงรูปชั่วตัวดำระยำยาก         รู้รักปากรักหน้าประสาหญิง
ถึงปากแหว่งแข้งคอดไม่ทอดทิ้ง      จะรักยิ่งยอดรักให้หนักครัน
จนแก่กกงกเงิ่นเดินไม่รอด      จะสู้กอดแก้วตาจนอาสัญ
อันหญิงลิงหญิงค่างหญิงอย่างนั้น      ไม่ผูกพันพิศวาสให้คลาดคลา
                     จาก นิราศพระประธม
ของ สุนทรภู่


รักกันอยู่ขอบฟ้า      เขาเขียว
   เสมออยู่หอแห่งเดียว      ร่วมห้อง
   ชังกันบ่แลเหลียว      ตาต่อ  กันนา
   เหมือนขอบฟ้ามาป้อง      ป่าไม้มาบัง ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

      อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า   มาถนอม
   สูงสุดมือมักตรอม      อกไข้
   เด็ดแต่ดอกพยอม      ยามยาก  ชมนา
   สูงก็สอยด้วยไม้         อาจเอื้อมเอาถึง ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

   ความเอยความรัก   เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน
เริ่มเพาะเหมาะกลางวางหัวใจ   หรือเริ่มในสมองตรองจงดี
แรกจะเกิดเป็นไฉนใครรู้บ้าง   อย่าอำพรางตอบสำนวนให้ควรที่
ใครถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงรดี   ผู้ใดมีคำตอบขอบใจเอย
   ตอบเอยตอบถ้อย   เกิดเมื่อเห็นน้องน้อยอย่าสงสัย
ตาประสบตารักสมัครไซร้      เหมือนหนึ่งให้อาหารสำราญครัน
แต่ถ้าแม้สายใจไม่สมัคร      เหมือนฆ่ารักเสียแต่เกิดย่อมอาสัญ
ได้แต่ชวนเพื่อนยามาพร้อมกัน   ร้องรำพันสงสารรักหนักหนาเอย
                  จาก เวนิสวาณิช
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
   
               รสใดไม่เหมือนรสรัก      หวานนักหวานใดจะเปรียบได้
   แต่มิได้เชยชมสมใจ         ขมใดไม่เทียบเปรียบปาน
                  จาก ท้าวแสนปม
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว



ความรักเหมือนโรคา   บันดาลตาให้มืดมล
ไม่ยินและไม่ยล         อุปะสัคคะใดๆ.
   ความรักเหมือนโคถึก   กำลังคึกผิขังไว้,
ก็โลดจากคอกไป      บ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง;
   ถึงหากจะผูกไว้      ก็ดึงไปด้วยกำลัง,
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง          บ่ หวนคิดถึงเจ็บกาย.
                  จาก มัทนะพาธา
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

เปนผู้หญิงแท้จริงแสนลำบาก   เปนผู้ชายยิ่งยากกว่าหลายเท่า
หญิงต้องเจียมกายามาแต่เยาว์      ชายต้องเฝ้าวิงวอนให้หล่อนรัก
               จาก วิวาห์พระสมุท
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ความรักเหมือนเด็กซน     อาจจะตัดช่องย่องเข้าสู่เรือน    แต่ถ้าเปิดประตูและกวักเรียกให้เข้าไปดีๆ ก็มักจะวิ่งหนี
                     จาก กุศโลบาย
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

   คนหนุ่มในเวลาที่กำลังรักผู้หญิงคนไหน  คนนั้นก็ต้องเป็นยอดโลก  ไม่มีใครเสมอเหมือน  จนกว่าจะรักอีกคนหนึ่ง
                  จาก เพื่อนตาย
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ความรักเป็นเครื่องจองจำ   แน่นยิ่งกว่าโซ่ตรวนใดๆทั้งสิ้น
                  จาก ขนมสมกับน้ำยา
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ถึงมีเพื่อนเหมือนพี่ไม่มีเพื่อน   เพราะไม่เหมือนนุชนาฏที่มาดหมาย
มีเพื่อนเล่นก็ไม่เหมือนกับเพื่อนตาย   มีเพื่อนชายก็ไม่เหมือนกับเพื่อนชม
ถึงจะมีวิมานสถานทิพย์         ให้ลอยลิบเลิศมนุษย์สุดประถม
ถ้าไม่มีคู่เคียงเรียงภิรมย์         จะเกรียมตรมตรึกตราเป็นอาจิณ
                  จาก นิราศพระแท่นดงรัง
                   ของ นายมี

   ตราบขุนคิริข้น      ขาดสลาย  แลแม่
รัก บ่ หายตราบหาย      หกฟ้า
สุริยจันทรขจาย         จากโลก  ไปฤๅ
ไฟแล่นล้างสี่หล้า      ห่อนล้างอาลัย
               จาก นิราศนรินทร์
      ของ นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)

   โฉมแม่จักฝากฟ้า   เกรงอินทร์  หยอกนา
อินทรเทอกเอา         สู่ฟ้า
โฉมนางจะฝากดิน      ดินท่าน  แล้วแฮ
ดินท่านขัดเจ้าหล้า      สู่สมสมสอง
   โฉมแม่ฝากน่านน้ำ   อรรณพ  แลฤๅ
เยียวนาคเชยชมอก      พี่ไหม้
โฉมแม่รำพึงจบ         ไตรโลก
โฉมแม่ใครสงวนไว้      เท่าเจ้าสงวนเอง
            จาก กำสรวลศรีปราชญ์
    ของ ศรีปราชญ์

ความรักของฉันจะเปรียบด้วยดอกไม้สีอะไรๆไม่ได้  เพราะฉันได้ยินกล่าวกันว่าความรักที่แท้จริงไม่ใช่สีแดง  ย่อมมีสีดำดั่งสีนิล  เหมือนดั่งสีศอพระศิวะ  เมื่อดื่มพิษร้ายเพื่อรักษาโลกไว้ให้พ้นภัย  ความรักแท้จริงด้วยสามารถต้านพิษแห่งชีวิตและต้องเต็มใจลิ้มรสอันขมขื่นที่สุดเพื่อเสียสละให้ผู้ที่เรารักคงชีพอยู่   และเพราะด้วยความขมขื่นที่สุดนี้  ความรักย่อมเต็มใจเลือกเอาสีนิลคือสีแห่งความขมขื่นไว้ดีกว่าที่จะเลือกเอาสีอื่น  คือมุ่งแต่จะหาความบันเทิงสุขอย่างเดียว
                  จาก กามนิต                                ของ เสฐียรโกเศศ และ นาคะประทีป 


ความงาม

      ชนงามเพราะเหตุด้วย      วาจา
   หนึ่งอีกคือกิริยา            อ่อนน้อม
   ใครพบย่อมสนทนา         ชวนชอบ
   ว่าประกอบไปพร้อม         สรูปสิ้นสิ่งงาม ฯ
                  จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
พระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์

      งามสารเมื่อบุ่มบ้า      บ่มมัน
   งามสัตรีมีครรภ์            เคร่งเนื้อ
   งามสงฆ์พิสุทธิสรรพ์         ศีลวัตร  นาพ่อ
   งามบ่าวเจ้าก่อเกื้อ         กอบเลี้ยงโดยเสมอ ฯ
                  จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
พระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์

      แผ่นดินงามเพราะด้วย      เรือนชาน  มากแล
   ไม้เพราะผลไพศาล         ดกแท้
   สัตว์งามเพราะขนประสาน      สีสลาบ
   นรชาติงามเลิศแล้         เหตุน้ำใจเดียว ฯ
                  จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปกรณ์

      เห็น     ชอบเห็นชั่วด้วย      ใจตน
      งาม     มิงามยามยล      ย่อมรู้
      ตาม     แต่จะคิดขวน      ขวายเสพย์
      ใจ   แห่งตนเป็นผู้      คัดค้นความงาม ฯ
                  จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
      พระนิพนธ์กรมหลวงพิชิตปรีชากร

      อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์   เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
   ใครใครเห็นไม่เปนที่จำเริญตา      เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
   ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก      ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
   จำเริญตาพาใจให้สบาย         อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ
   แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม         เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
   เพราะขาดเครื่องระงับดับรำคาญ      โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
                     จาก วิศวะกรรมา
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
   *เนื้อความตั้งแต่ “ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก – โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ”  ได้มีการนำขับร้องเป็นเพลงไทยเดิม ชื่อเพลงเวสสุกรรม

      เพ็ญพระจันทร์นั้นสว่างแต่ข้างขึ้น   กระต่ายมึนเมาเพ็ญจนเป็นบ้า
   อันทรามวัยใสสุกทุกเวลา         น้ำใจข้าเมามึนทั้งขึ้นแรม
   ได้ยลพักตร์รักเหลือไม่เบื่อรัก      อกจะหักเพราะอนงค์ศรทรงแหลม
   ให้แค้นคิดจิตเจ็บที่เหน็บแนม      ไม่ยิ้มแย้มเยื้อนให้ชื่นใจเอย
                     จาก นิทานเวตาล
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

      เมื่อสิ้นแสงเทียนส่องห้องสว่าง   นางทุกนางสวยสมอุดมศรี
   เพราะความมืดอำนวยความสวยดี   ทุกนารีงามสรรพเมื่อดับเทียน
                     จาก นิทานกลอนพาไป 
   พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

         ฤๅษีโสภาคย์ด้วย   รูปทรง
      สัตว์สี่เท้างามยง         ใหญ่อ้วน
      บุรุษรอบรู้คง         งามเมื่อ  รู้นา
      หญิงจักงามล้นล้วน      เลิศด้วยสามี
               จาก โคลงจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ



      สัตว์เลี้ยงผอมฤๅษีพีนี้สองสิ่ง   อีกผู้หญิงรูปดีไม่มีถัน
   ทั้งคนจนแต่งอินทรีย์นี้อีกอัน      สี่ด้วยกันดูเป็นไม่เห็นงาม
                          จาก อิศรญาณภาษิต
        พระนิพนธ์พระองค์เจ้าอิศรญาณ
   *เทียบสำนวนสุภาษิต ว่า สัตว์เลี้ยงผอม ฤๅษีพี นารีไม่มีถัน หมายถึงลักษณะที่ไม่งาม เพราะสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการดูแลอย่างดีควรจะมีร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์  แต่ฤๅษีที่มีร่างกายอ้วนแสดงว่ามีความสุขในการบริโภคมากกว่าการบำเพ็ญเพียรอันเป็นการกระทำที่ผิดวิสัยผู้ทรงพรต  และผู้หญิงงามก็ควรจะมีทรวงอกที่งดงามด้วย 



ความเพียร

         ผู้ดีมีชาติเลี้ยง      กูลวงศ์
      ประมาทจิตรคิดทะนง      เชื่อหน้า
      ไป่เพียรกลับพาพงศ์      ตนเสื่อม  สูญแฮ
      นานหน่อยค่อยตกช้า      หมดเชื้อมีชุม ฯ
         ชนใดมีชาติช้า      เลวทราม
      เพียรอุส่าห์พยายาม      หมั่นหมั้น
      อยู่บดอยู่ฝนความ      รู้แก่  เกินแฮ
      กลับยศใหญ่ยิ่งชั้น      เช่นเชื้อผู้ดี ฯ
               จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
      
      วิชาเหมือนสินค้า   อันมีค่าอยู่เมืองไกล
   ต้องยากลำบากไป      จึ่งจะได้สินค้ามา
      จงตั้งเอากายเจ้า      ดั่งสำเภาอันโสภา
   ความเพียรเป็นโยธา      แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ
      นิ้วเป็นสายระยาง   สองเท้าต่างสมอไม้
   ปากเป็นนายงานไป      อัชฌาศัยเป็นเสบียง
      สติเป็นหางเสือ      ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง
   ถือไว้อย่าให้เอียง      ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา
      ปัญญาเป็นกล้องแก้ว   ส่องดูแถวแนวหินผา
   เจ้าจงเอาหูตา         เป็นล้าต้าฟังดูลม
      ขี้เกียจคือปลาร้าย   มากล้ำกรายให้เรือจม
   เอาใจเป็นปืนคม         ยิงระดมให้จมไป
      จึ่งจะไปได้สินค้า      คือวิชาอันพิสมัย
   จงหมั่นมั่นหมายใจ      อย่าได้คร้านการวิชา
               จาก สุภาษิตศรีสวัสดิ์
     ของ นายมี
*สุภาษิตศรีสวัสดิ์ หรือศรีสวัสดิวัด สำนวนนี้คัดลอกจากต้นฉบับหนังสือสมุดไทย  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ งานบริการหนังสือตัวเขียนและจารึก  หอสมุดแห่งชาติ   
                     

 การสงคราม

      ประเวณีตีงูให้หลังหัก   มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
   จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง   เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
   อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า      ไปข้างหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย
   ต้องตำรับจับให้มั่นคั้นให้ตาย   จะทำภายหลังยากลำบากครัน
   จะพลิกพลิ้วชิวหาเป็นอาวุธ   สังหารบุตรเจ้าลังกาให้อาสัญ
   ต้องตัดศึกลึกล้ำที่สำคัญ      นางหมายมั่นมุ่งเห็นจะเป็นการ
                  จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่

จึงสั่งสอนอุปเท่ห์เป็นเล่ห์กล
      ถ้าแม้นว่าข้าศึกมันโจมจับ   จะรบรับสารพัดให้ขัดสน
      เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน      ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ
      คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส   เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร
      ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ   จึงคิดอ่านเอาชัยเหมือนใจจง
                     จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่

      อันแยบยลกลศึกสี่ประการ   เป็นประธานที่ในกายของนายทัพ
      ประการหนึ่งถึงจะโกรธพิโรธร้าย   หักให้หายเหือดไปเหมือนไฟดับ
      ค่อยคิดอ่านการศึกที่ลึกลับ   แม้จะจับก็ให้มั่นคั้นให้ตาย
      อนึ่งถ้าข้าศึกยังฮึกฮัก      จะโหมหักเห็นไม่ได้ดังใจหมาย
      สืบสังเกตเหตุผลกลอุบาย   ดูแยบคายคาดทั้งกำลังพล
      อนึ่งให้รู้รบทีหลบไล่      ทหารไม่เคยศึกต้องฝึกฝน
      ทั้งถ้อยคำสำหรับบังคับคน   อย่าเวียนวนวาจาเหมือนงาช้าง
      ประการหนึ่งซึ่งจะชนะศึก      ต้องตรองตรึกยักย้ายให้หลายอย่าง
      ดูท่วงทีกิริยาในท่าทาง      อย่าละวางไว้ใจแก่ไพรี
                     จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่
อันวิสัยในพิภพแม้รบกัน      ก็หมายมั่นจะให้ได้ชัยชนะ
                  จาก พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่
เกียรติยศศักดิ์ศรี

      ทางไปสู่เกียรติศักดิ์      จักประดับดอกไม้
   หอมยวนชวนจิตไซร้         บ่มี
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
* โคลงสุภาษิตบทนี้  พระราชนิพนธ์ด้วยโคลง ๓ ดั้น จากภาษิตฝรั่งเศสของปราชญ์ชาวฝรั่งเศสนาม ลาฟองเตน  ความว่า “Aucun  chemin  de  fleurs  ne  conduit  a  la  gloire”

      รูปย่อมย่อยยับได้   แต่ชื่อและโคตร์ไซร้   บ่สิ้นสูญหาย ฯ
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
* โคลงสุภาษิตบทนี้ พระราชนิพนธ์ด้วยโคลง ๒ จาก บทพุทธศาสนะสุภาษิตความว่า “รูปํ  ชีระติ มัจจานํ  นามะโคตตํ  นะ  ชีระติ”

      ประวัติวีรบุรุษไซร้   เตือนใจ  เรานา
   ว่าอาจจะยังชนม์      เลิศได้
   และยามจะบรรลัย      ทิ้งซึ่ง
   รอยบาทเหยียบแน่นไว้      แทบพื้นทรายสมัย
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
*โคลงสุภาษิตบทนี้  พระราชนิพนธ์ด้วยโคลงมหาวิชชุมาลี จากโคลง A psalm  of  life ของ เฮนรี่  วอดส์เวอร์ท  ลองเฟลโลว์ จินตกวีชาวอเมริกัน  ความว่า
   “ Lives  of  great  men  all  remind  us
      We  can  make  our  lives  sublime,
      And, departing, leave  behind  us
       Footsprints  in  the  sand  of  time “
      
เราก็ชายหมายมาดว่าชาติเชื้อ   ถึงปะเสือก็จะสู้ดูสักหน
   ไม่รักวอนงอนง้อทรชน         แล้วพาพลกลับมาเภตราพลัน
                     จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่

เราก็รู้ว่าท่านเจ้ามารยา      ที่เรามาหมายเชือดเอาเลือดเนื้อ
      ไม่สมนึกศึกพลั้งลงครั้งนี้      จะกลับดีด้วยศัตรูอดสูเหลือ
      เราก็ชายหมายมาดว่าชาติเชื้อ   ไม่เอื้อเฟื้อไม่ฝากตัวไม่กลัวตาย
      
จงห้ำหั่นบั่นเกล้าเราเสียเถิด   จะไปเกิดมาใหม่เหมือนใจหมาย
      แกล้งจ้วงจาบหยาบช้าพูดท้าทาย   จะใคร่ตายเสียให้ลับอัประมาณ
จาก พระอภัยมณี 
ของสุนทรภู่

   ดังจอมสุรารักษ์มัฆวาน         เมื่อกรุงพาลลอบโลมสุจิตรา
   เสียเดชเพราะทะนงด้วยองอาจ      เสียสวาทเพราะห่างเสนหา
   เสียมนต์เพราะกลอสุรา         สุจิตราจึงพรากไปจากกัน
      เราเสียแก้วกากีศรีสวาท      เพราะประมาทจะถนอมเป็นจอมขวัญ
   เสียฤทธิ์เพราะไม่คิดจะป้องกัน      คนธรรพ์มันจึงแทรกเข้าซ้อนกล
      ครั้งนี้เสียรักก็ได้รู้      เสียชู้ได้เชิงที่เฉาฉงน
   เป็นชายหมิ่นชายได้อายคน      จำจนจำพรากอาลัยลาญ
                     จาก บทมโหรีเรื่องกากี
     ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

      สะท้อนถอนฤทัยอยู่ในอก   แสนวิตกตัดรอนสมรสมาน
   ประดุจดั่งจอมจักรมัฆวาน      เมื่อกรุงพาณลอบโลมสุจิตรา
   พระเสียเดชเพราะทะนงด้วยองอาจ   พระเสียสวาทเพราะห่างเสน่หา
   พระเสียมนต์เพราะกลอสุรา      สุจิตราจึงพรากไปจากกัน
   เราเสียแก้วกากีศรีสวาท         เพราะประมาทไม่ถนอมเป็นจอมขวัญ
   เสียฤทธิ์เพราะไม่คิดจะป้องกัน      คนธรรพ์มันจึ่งแทรกเข้าซ้อนกล
   ครั้งนี้เสียรักก็ได้รู้         ถึงเสียชู้ก็ได้เชาวน์ที่เฉาฉงน
   เป็นชายหมิ่นชายต้องอายคน      จำจนจำพรากอาลัยลาญ
                     จาก กากีกลอนสุภาพ
     ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

         เสียสินสงวนศักดิ์ไว้   วงศ์หงส์
      เสียศักดิ์สู้ประสงค์      สิ่งรู้
      เสียรู้เร่งดำรง         ความสัตย์  ไว้นา
      เสียสัตย์อย่าเสียสู้      ชีพม้วยมรณา ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         ถึงจนทนสู้กัด      กินเกลือ
      อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ      พวกพ้อง
      อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ      สงวนศักดิ์
      โซก็เสาะใส่ท้อง         จับเนื้อกินเอง ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
     พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         นพคุณใส่เบ้าสูบ      แสนที
      ค้อนเหล็กรุมรันตี      ห่อนม้วย
      บ่ เจ็บเท่าธุลี         สักหยาด
      เจ็บแต่ท่านชั่งด้วย      กล่ำน้อยหัวดำ ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ สำนวนเก่า

มะโนมอบพระผู้      เสวยสวรรค์
      แขนมอบถวายทรงธรรม์      เทอดหล้า
      ดวงใจมอบเมียขวัญ      และแม่
      เกียรติศักดิ์รักของข้า      มอบไว้แก่ตัว
               จาก โคลงภาษิตนักรบโบราณ 
              พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มกราคม 05, 2014, 08:43:47 am »
ต่อครับ

         คำพูด

อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก   แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
   แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย   เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ
   จะรักชังทั้งสิ้นเพราะลิ้นพลอด      เป็นอย่างยอดแล้วพระองค์อย่าสงสัย
   อันช่างปากยากที่จะมีใคร      เขาชอบใช้ช่างมือออกอื้ออึง
                  จาก เพลงยาวถวายโอวาท
      ของ สุนทรภู่

      หนาวน้ำค้างพร่างพรมจะห่มเสื้อ   พอนุ่มเนื้อนอนสนิทพิสมัย
   ถึงลมว่าวหนาวยิ่งจะผิงไฟ      แต่หนาวใจกล้ำกลืนทุกวันคืน
   แม้มีคู่ชูชิดสนิทนุ่ม         เหมือนห่อหุ้มผ้าทิพย์สักสิบผืน
   หอมบุปผามาลัยไม่ยั่งยืน         ไม่ชูชื่นเช่นรสพจมาน
                     จาก พระอภัยมณี
  ของ สุนทรภู่         

      ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์   มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
   แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร      จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
                     จาก นิราศภูเขาทอง
    ของ สุนทรภู่

         ชุมนักผักตบซ้อน   บอนแซง
      บอนสุพรรณหั่นแกง      อร่อยแท้
      บอนบางกอกดอกแสลง      เหลือแหล่  แม่เอย
      บอนปากยากจะแก้      ไม่สริ้นลิ้นบอน ฯ
                  จาก โคลงนิราศสุพรรณ
     ของ สุนทรภู่

      ถึงบางบอนบอนที่นี่มีแต่ชื่อ   เขาเลื่องลือบอนข้างบางยี่ขัน
   อันบอนต้นบอนน้ำตาลย่อมหวานมัน   แต่ปากคันแก้ไขมิใคร่ฟัง
                  จาก นิราศเมืองเพชร
    ของ สุนทรภู่

      การนินทากาเลเหมือนเทน้ำ   ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดลงขีดหิน
   พี่อาสามาสู้กู้แผ่นดิน         เขารู้สิ้นแล้วว่ารักภัคินี
                     จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่

         งาสารฤๅห่อนเหี้ยน   หดคืน
      คำกล่าวสาธุชนยืน      อย่างนั้น
      ทุรชนกล่าวคำฝืน      คำเล่า
      หัวเต่ายาวแล้วสั้น      เล่ห์ลิ้นทรชน ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         ห้ามเพลิงไว้อย่าให้   มีควัน
      ห้ามสุริยะแสงจันทร์      ส่องไซร้
      ห้ามอายุให้หัน         คืนเล่า
      ห้ามดั่งนี้ไว้ได้         จึ่งห้ามนินทา ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร

      สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน   ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
   กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม   อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
   แม้นล้อลามหยามหยามไม่ปลาบปลื้ม   ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
   ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์      ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
               พระนิพนธ์กรมหลวงนรินทรไพศาลโสภณ

      หนาวน้ำค้างพร่างพรมจะห่มเสื้อ   พอนุ่มเนื้อนอนสนิทพิสมัย
   ถึงลมว่าวหนาวยิ่งจะผิงไฟ      แต่หนาวใจจำกล้ำทุกวันคืน
   แม้มีคู่ชูชิดสนิทนุ่ม         เหมือนห่อหุ้มผ้าทิพย์สักสิบผืน
   หอมบุปผามาลัยไม่ยั่งยืน         ไม่ชูชื่นเช่นรสพจมาน
                     จาก พระอภัยมณี
  ของ สุนทรภู่
   *ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงลมว่าว  มักเข้าใจกันว่าเป็นลมที่ใช้ในการเล่นว่าวซึ่งพัดมาในต้นฤดูร้อน  แต่ความจริงลมว่าวเป็นชื่อเรียกของลมที่พัดมาในเดือนอ้ายอันเป็นช่วงฤดูหนาว  ซึ่งคำว่า “ว่าว” ในชื่อเรียกของลมว่าวนี้เป็นคำที่ไทยเรารับมาจากภาษามอญ  ที่ใช้เป็นชื่อเรียกลมที่พัดมาในช่วงเดือนอ้ายเช่นกัน

      อันมนุษย์สุดจะเชื่อมันเหลือปด   พูดสบถแล้วสะบัดไม่ขัดสน
   เพราะแต่คำน้ำจิตคิดประจญ      ปากเป็นผลใจเป็นพาลเหมือนมารยา
   ใครหลงลิ้นกินลูกยอก็พอม้วย      ต้องตายด้วยมนุษย์ที่มุสา
   คนทุกวันมันมิซื่อถือสัจจา      สู้สัตว์ป่าก็มิได้ใจลำยอง
                          จาก โคบุตร
          ของ สุนทรภู่

      เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก   จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
   แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา         จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
   ถึงชายใดเขาพอใจมาพูดเกี้ยว      อย่าโกรธเกรี้ยวโกรธาว่าหยาบหยาม
   เมื่อไม่ชอบก็อย่าตอบเนื้อความตาม   มันจะลามเล่นเลยเหมือนเคยเป็น
                     จาก สุภาษิตสอนหญิง
      ของ สุนทรภู่

      ข้าไม่ขอนินทาผู้ใดในโลกนี้นอกจากตัวข้าเอง   ซึ่งข้ารู้อยู่ว่ามีความชั่วมากน้อยเท่าใด
                        จาก ตามใจท่าน
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

      มีคนอยู่ชุดหนึ่ง     ที่ไม่ทำอะไรในโลกนี้   นอกจากตั้งกองใส่ความกับนินทาคน
                        จาก นินทาสโมสร
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

เพราะการนินทาเป็นของเหลือที่มนุษย์จะเว้นได้  บางคนเมื่อหันหน้าไปข้างขวา  ก็ชมมือขวานินทามือซ้าย  เมื่อหันไปข้างซ้ายก็ย้ายไปนินทามือขวา  มียุติธรรมในข้อที่นินทาหมดไม่เลือกหน้า  สุดแต่ว่าอยู่ลับหลังแล้วเป็นใช้ได้
                        จาก นิทานเวตาล
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์


         นาเอ๋ยนารี         ภคินี,กันยา,สุดา,สมร
   นุชนาถ,วนิดา,พงางอน,         สายสวาท,บังอร,พธู,นวล
   ยุพดี,กานดา,ยอดยาจิต,         โฉม-มิ่งมิตร,นงนุช,สุดสงวน
   สิบเก้าแล้วยังไม่หมดบทกระบวน      เออสำนวนนามผู้หญิงมากจริงเอย
                     ของ ชิต  บุรทัต



ความอาวรณ์

      พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต   ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
   ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง      อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย
   ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้      ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย
   โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย   น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร
   หนาวอารมณ์ลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยชื่น   ระรวยรื่นรินรินกลิ่นเกสร
   แสนสงสารบ้านเรือนเพื่อนที่นอน      จะอาวรณ์อ้างว้างอยู่วังเวง
                        จาก พระอภัยมณี 
        ของ สุนทรภู่
      
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง      ยามสาย
   สายบ่หยุดเสน่ห์หาย         ห่างเศร้า
   กี่วันกี่คืนวาย            วางเทวษ  ราแม่
   ถวิลทุกขวบค่ำเช้า         หยุดได้ฉันใด
                  จาก ลิลิตตะเลงพ่าย
พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

      จะหักอื่นขืนหักก็จักได้      หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก
   สารพัดตัดขาดประหลาดนัก      แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ
                     จาก นิราศอิเหนา
   ของ สุนทรภู่

โอ้พระพายชายกลิ่นมารัญจวน      หอมหวนนาสาเหมือนกากี
   รื่นรื่นชื่นจิตพี่จำได้         เหมือนเมื่อไปร่วมภิรมย์ประสมศรี
   ในสถานพิมานสิมพลี         กลิ่นยังซาบทรวงพี่ทั้งวรกาย
   นิจาเอ๋ยจากเชยมาเจ็ดวัน      กลิ่นสุคันธรสรื่นก็เหือดหาย
   ฤๅว่าใครแนบน้องประคองกาย      กลิ่นสายสวาทซาบอุรามา
                  จาก กากีกลอนสุภาพ
       ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
   * บทประพันธ์นี้ได้มีการนำไปดัดแปลงและขับร้องเป็นเพลงไทยสากล  ชื่อเพลง “ชื่นจิต” โดยได้ดัดแปลงข้อความจาก “ในสถานพิมานสิมพลี       กลิ่นยังซาบทรวงพี่ทั้งวรกาย” เป็น “ในสถานพิมานฉิมพลี       กลิ่นซาบทรวงพี่ไม่เว้นวาย”

      อาลัยทรัพย์เปรียบด้วย      บ่วงมัด  บาทแฮ
   ห่วงมิ่งเมียผูกหัตถ์         แน่นไว้
   อาลัยบุตรสุดรัด            คอพ่อ  ติดแฮ
   สามบ่วงห่วงละได้         จักไร้ทุกข์ทน ฯ
               จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
 พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปกรณ์

      ฤดูลมชระล่องเนื้อ      หนาวใด  เปรียบเลย
   อกพี่เยือกเย็นไกล         กอดเกี้ยว
   พันผืนพัสตราไป            ปานกึ่ง  กรแม่
   อุ่นอัคคีเสื้อเสี้ยว            ซีกนิ้วนางผงม
                  จาก โคลงนิราศนรินทร์
      ของ นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)   



ธรรมชาติ

      โอ้เอ็นดูปูไม่มีซึ่งศีรษะ      เท้าระกะก้อมโกงโม่งโค่งขัน
   ไม่มีเลือดเชือดฉะปะแต่มัน      เป็นเพศพันธุ์ไร้ผัวเพราะมัวเมา
   แม้นเมียออกลอกคราบไปคาบเหยื่อ   เอามาเผื่อภรรยาเมตตาเขา
   ระวังดูอยู่ประจำทุกค่ำเช้า      อุตส่าห์เฝ้าฟูมฟักเพราะรักเมีย
   ถึงทีผัวลอกพอออกคราบ         เมียมันคาบคีบเนื้อเป็นเหยื่อเสีย
   จึงเกิดไข่ไร้ผัวเที่ยวยั้วเยี้ย      ยังแต่เมียเคลื่อนคล้อยขึ้นลอยแพ
                     จาก นิราศเมืองเพชร
    ของ สุนทรภู่
   *แต่เดิมเชื่อกันว่าปูไม่มีเลือด  ถึงกับมีสำนวนไทยว่า “รีดเลือดจากปู” หรือ “หรือ “หาเลือดกับปู”ซึ่งหมายถึงแสวงหาในสิ่งที่ไม่มีอยู่หรือความหมายโดยนัยคือการขูดรีดเอาทรัพย์สินจากคนจน  แต่ในความเป็นจริงแล้วปูนั้นมีเลือด  แต่ว่าเลือดปูมีสีน้ำเงิน

   โอ้คิดเห็นเอ็นดูหมู่แมงดา         ตัวเมียพาผัวลอยเที่ยวเล็มไคล
เขาจับตัวผัวทิ้งไว้กลางน้ำ      ระลอกซ้ำสาดซัดให้ตัดษัย
พอเมียตายฝ่ายผัวก็บรรลัย      โอ้เหมือนใจพี่ที่รักภัคินี
แม้น้องตายพี่จะวายชีวิตด้วย      เป็นเพื่อนม้วยมิ่งแม่ไปเมืองผี
รำจวนจิตคิดมาในวารี         จนถึงที่ศาลาบ้านนาเกลือ
               จาก นิราศเมืองแกลง
     ของ สุนทรภู่

               อกเอ๋ยโอ้เอ็นดูหมู่แมงดา
ให้สามีขี่หลังเที่ยวฝั่งแฝง         ตามหล้าแหล่งเลนเค็มเล็มภักษา
เขาจับเห็นเป็นสมเพชเวทนา      ทิ้งแมงดาผัวเสียเอาเมียไป
ฝ่ายตัวผู้อยู่เดียวเที่ยวไม่รอด      เหมือนตาบอดมิได้แจ้งตำแหน่งไหน
ต้องอดอยากจากเมียเสียน้ำใจ      ก็บรรลัยแลกลาดดาษดา
                  จาก นิราศเมืองเพชร
    ของ สุนทรภู่
   *คำว่าแมงดาในที่นี้มิได้หมายถึงแมงดาที่เป็นแมงดาทะเล  แต่หมายถึงแมลงดาซึ่งมีอยู่สองชนิด คือ แมลงดานาและแมลงดาสวนซึ่งเรียกกันทั่วไปตามภาษาพูดสามัญว่าแมงดา   ตามธรรมชาติแมลงดาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าและมักจะให้แมลงดาตัวผู้เกาะหลังออกเที่ยวหาอาหาร  และที่บทประพันธ์ทั้งสองสำนวนที่ยกมานี้กล่าวถึงการจับเอาแต่เฉพาะแมลงดาตัวเมียและทิ้งตัวผู้ไปเสีย  หมายถึงการจับเอาสัตว์ชนิดนี้มาทำเป็นอาหาร  ซึ่งมีความนิยมใช้แมลงดาตัวเมียมากกว่าตัวผู้  เพราะแมลงดาตัวเมียมีกลิ่นหอมมากกว่า

   ว่าพลางทางชมคณานก      โผผกจับไม้อึงไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี         เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน         เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา      เหมือนจากนางสการะวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง         เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที         เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร      เหมือนเวรใดให้นิราศเสนหา
เค้าโมงจับโมงอยู่เอกา         เหมือนพี่นับโมงมาเมื่อไกลนาง         
คับแคจับแคสันโดษเดี่ยว         เหมือนเปล่าเปลี่ยวคับใจในไพรกว้าง
ชมวิหคนกไม้ไปตามทาง         คะนึงนางพลางรีบโยธี
                  จาก อิเหนา
     พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

   นานาปลาว่ายเคล้า   คลอเรือ
สีเสียดซิวกระโสงเสือ      ซ่าสร้อย
เพลี้ยตภากตเพียนเหลือ      หลายหลาก  มากเฮย
กริมกระตรับนับร้อย      เร่หว้ายรายเรียง
               จาก โคลงนิราศสุพรรณ
     ของ สุนทรภู่   

   นกน้อยนอนแนบน้ำ      ในนา
ตมเตอะติดเต็มตา         ตื่นเต้น
เหลียวแลหลบลี้ลา         หลัดหลีก
เร็วเร่ร่อนรังเร้น            รักร้างโรยรา
               จาก กลบทศิริวิบูลย์กิติ์
          ของ หลวงศรีปรีชา (เซ่ง)

   
นวลจันทร์เป็นนวลจริง      เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา
คางเบือนเบือนหน้ามา         ยังไม่เท่าเจ้าเบือนชาย
               จาก กาพย์เห่เรือ
พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร

   แก้มช้ำช้ำใครต้อง      อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
ปลาทุกข์ทุกข์อกตรม         เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง
               จาก กาพย์เห่เรือ
พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร

   เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ      เนื้อน้องหรืออ่อนทั้งกาย
ใครต้องข้องจิตชาย         ไม่วายนึกตรึกตรึกทรวง
                  จาก กาพย์เห่เรือ
พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มกราคม 05, 2014, 08:47:24 am »
ต่อครับ

ภูมิสถาน

      เราได้ฟังกังวานประสานสาย   บรรยายหลากจิตคิดถวิล
   อนึ่งนายก็เป็นชายแต่เดินดิน      ไฉนรู้เสร็จสิ้นในสิมพลี
   เราแจ้งทางทุเรศเขตอรัญ         สัตตภัณฑ์คั่นสมุทรใสสี
   แม้นจะขว้างแววหางมยุรี         ก็จมลงถึงที่แผ่นดินดาล
   ด้วยน้ำนั้นสุขุมละเอียดอ่อน      จึงชื่อสีทันดรอันไพศาล
   ประกอบหมู่มัจฉากุมภาพาล      คชสารเงือกน้ำแลนาคินทร์
   ผู้ใดข้ามนทีสีทันดร         ก็ม้วยมรณ์เป็นเหยื่อแก่สัตว์สิ้น
   แสนมหาพญาครุฑยังเต็มบิน      จึงล่วงสินธุถึงพิมานทอง
                     จาก กากีกลอนสุภาพ
     ของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

      ถึงสามเสนแจ้งความตามสำเหนียก   เมื่อแรกเรียกสามเสนทั้งกรุงศรี
   ประชุมฉุดพุทธรูปในวารี            ไม่เคลื่อนที่ชลธารบาดาลดิน
   จึงสาปนามสามแสนเป็นชื่อคุ้ง         เออชาวกรุงกลับเรียกสามเสนสิ้น
   นี่หรือรักจะมิน่าเป็นราคิน         แต่ชื่อดินเจียวยังกลายเป็นหลายคำ
                        จาก นิราศพระบาท
    ของ สุนทรภู่   

      อนิจจาธานินท์สิ้นกษัตริย์   เหงาสงัดเงียบไปดังไพรสณฑ์
   แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน      จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง
   มโหรีปี่กลองจะก้องกึก         จะโครมครึกเซ็งแซ่ด้วยแตรสังข์
   ดูพาราน่าคิดอนิจจัง         ยังได้ฟังแต่เสียงสกุณา
ทั้งสองฝั่งแฝกแขมแอร่มรก      ชะตาตกสูญสิ้นพระชันษา
แต่ปู่ย่ายายเราท่านเล่ามา      เมื่อแรกศรีอยุธยายังเจริญ
กษัตริย์สืบสุริย์วงศ์ดำรงโลก      ระงับโศกสุขสุดจะสรรเสริญ
เราเห็นยับยังแต่รอยก็พลอยเพลิน      เสียดายเกิดมาเมื่อเกินน่าน้อยใจ
กำแพงรอบขอบคูก็ดูลึก         ไม่น่าศึกอ้ายพม่าจะมาได้
ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย      โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย
                  จาก นิราศพระบาท
   ของ สุนทรภู่

      อยุทธยายศยิ่งฟ้า   ลงดิน  แลฤา
   อำนาจบุญเพรงพระ      ก่อเกื้อ
   เจดีย์ลอออินทร์         ปราสาท
   ในทาบทองแล้วเนื้อ      นอกโสรม
               จาก กำสรวลศรีปราชญ์
   ของ ศรีปราชญ์

      อยุธยายศล่มแล้ว   ลอยสวรรค์  ลงฤา
   สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร      เจิดหล้า
   บุญเพรงพระหากสรรค์      ศาสน์รุ่ง  เรืองแฮ
   บังอบายเบิกฟ้า         ฝึกฟื้นใจเมือง
      เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น   พันแสง
   รินรสพระธรรมแสดง      ค่ำเช้า
   เจดีย์ระดะแซง         เสียดยอด
   ยลยิ่งแสงแก้วเก้า      แก่นหล้าหลากสวรรค์
               จาก นิราศนรินทร์
    ของ นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)

      พรายพรายพระธาตุเจ้า   เจียรจันทร์  แจ่มแฮ
   ไตรโลกยเลงคือโคม      ค่ำเช้า
   พิหารระเบียงบรร      รจเรข  เรืองแฮ
   ทุกแห่งห้องพระเจ้า      นั่งเนือง
               จาก กำสรวลศรีปราชญ์
     ของ ศรีปราชญ์      
   



สัจธรรม

   ฝูงคนกำเนิดคล้าย   คลึงกัน
ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ      แผกบ้าง
ความรู้อาจเรียนทัน      กันหมด
ยกแต่ชั่วดีกระด้าง      อ่อนแก้ฤๅไหว
         พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
* พระราชนิพนธ์ขึ้นพระราชทานแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ(ร.๖) ด้วยลายพระราชหัตถเลขาในสมุดของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐

   อันธรรมดาสตรีมีผัว   ค่อยยังชั่วกว่าเช่นที่เป็นม่าย
ไม่มีคนข่มเหงคะเนงร้าย      ไปไหนไปง่ายสบายใจ
               จาก ไกรทอง
         พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย      

      คือรูปรสกลิ่นเสียงไม่เที่ยงแท้      ย่อมเฒ่าแก่เกิดโรคโศกสงสาร
   ความตายหนึ่งพึงให้เห็นเป็นประธาน      หวังนิพพานพ้นทุกข์สนุกสบาย
   ซึ่งบ้านเมืองเคืองเข็ญถึงเช่นนี้                   เพราะโลกีย์ตัณหาพาฉิบหาย
   อันศีลห้าว่าอย่าทำให้จำตาย         จะตกอบายภูมิขุมนรก
   หนึ่งว่าอย่าลักเอาของเขาอื่น         มาชมชื่นฉ้อฉลคนโกหก
   หนึ่งทำชู้คู่เขาเล่าลามก            จะตายตกในกะทะอเวจี
   หนึ่งสูบฝิ่นกินสุรามุสาวาท         ใครทำขาดศีลห้าสิ้นราศี
   ใครสัตย์ซื่อถือมั่นในขันตี            จะถึงที่นิพพานสำราญใจ
   อย่าโกรธขึ้งหึงสาพยาบาท         นึกว่าชาติก่อนกรรมจะทำไฉน
   เหมือนดุมวงกงเกวียนวนเวียนไป         อย่าโทษใครนี่เพราะกรรมจึงจำเป็น
   ประการหนึ่งซึ่งขาดพระศาสนา         ทั้งโลกาเกิดทุกข์ถึงยุคเข็ญ
   ซึ่งจะกลับดับร้อนให้ผ่อนเย็น         ก็ต้องเป็นไมตรีปรานีกัน
                        จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่
อันทุกข์สุขชั่วดีทั้งสี่สิ่ง      ให้ชายหญิงหยั่งคิดเป็นปริศนา
   กับข้อหนึ่งซึ่งเกิดกำเนิดมา      มีหูตาปากจมูกสิ้นทุกคน
   ที่ต้องใจนัยนาก็พาชื่น         ดูอื่นอื่นเห็นแจ้งทุกแห่งหน
   ที่คิ้วตาหน้าผากปากของตน      ถ้าแม้นคนใดเห็นจะเป็นบุญ
   แม้ไม่เห็นเป็นกระบือทั้งดื้อดุ      มุทะลุเลโลโมโหหุน
   ไม่เห็นผลประโยชน์ที่โทษคุณ      ย่อมหมกมุ่นเมามัวว่าตัวดี
   เมื่อใครไม่เห็นหน้าหากระจก      จะช่วยยกเงาส่องให้ผ่องศรี
   อนึ่งนั้นตัณหาตาไม่มี         ไม่เห็นที่ทางสวรรค์เป็นสันดาน
   อนึ่งว่าตาบอดสอดตาเห็น      ไม่คิดเป็นทางธรรมพระกรรมฐาน
   สืบกุศลผลผลาปรีชาชาญ      ตามโบราณรักษาสัจจาใจ
                         จาก พระอภัยมณี
ของ สุนทรภู่

       อันว่าความกรุณาปรานี      จะมีใครบังคับก็หาไม่
   หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ      จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
   เป็นสิ่งดีสองชั้นพลันปลื้มใจ      แห่งผู้ให้และผู้รับสมถวิล
เป็นกำลังเลิศพลังอื่นทั้งสิ้น      เจ้าแผ่นดินผู้ทรงพระกรุณา
                  จาก เวนิสวานิช 
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

   รสหวานชอบลิ้นโรค   เร็วเจริญ
ขมเฝื่อนดับโรคเมิน      ไม่ลิ้ม
เสื่อมผลเพราะสรรเสริญ      โสตสดับ  ชอบนา
คำซื่อพูลผลปิ้ม         เปรียบไม้รคายกรรณ ฯ
               จาก โคลงพิพิธพากย์
 โดย พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน)

   เกียจเรียนบำราศรู้   วิทยา  ยิ่งนา
เกียจกอบกิจหากิน      แสบท้อง
เกียจเก็บทรัพย์แสวงหา      เปลืองเปล่า
เกียจต่อกุศลต้อง      ตกห้องนรกานต์ ฯ
            จาก โคลงพิพิธพากย์
พระนิพนธ์กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย



   ทุกข์เกิดเกิดทุกข์แท้      เบญจขันธ์
ความอยากเกิดก่อสรรพ์         ทุกข์พร้อม
ทุกข์ดับหมดทุกข์บรร         ลุถิ่น  เกษมนา
อัฏฐมรรคตัดทางอ้อม         ออกพ้นวนเวียน ฯ
            จาก โคลงพิพิธพากย์
  พระนิพนธ์กรมหลวงวรเสรฐสุดา

ผู้ตรงตรงเที่ยงต้อง      ยุติธรรม  นั้นฤา
   ปราศจากดวงจิตอัน         โลภได้
   มละเสียซึ่งกำนัล            นำสู่  ตนนอ
   เหตุโลภเห็นลาภให้         หากทิ้งทางธรรม
      อย่าเห็นแก่พวกพ้อง      พงศา
   ที่สุดบุตรภรรยา            อย่าเข้า
   เอาแต่ยุติธรรมา            หมายมั่น  ใจพ่อ
   เสียญาติอย่าเสียเค้า         สิ่งข้อความตรง ฯ
               จาก โคลงพิพิธพากย์
      พระนิพนธ์หม่อมเจ้าชายดำ

      เพราะเจริญยศลาภด้วย      ทางตรง
   ประโยชน์ย่อมยืนยง         อยู่ช้า
   ไป่ต้องหวั่นหวาดพะวง         ระแวงโทษ  ถึงเลย
   สู่ที่ประชุมกล้า            กล่าวถ้อยแถลงสาร ฯ
               จาก โคลงพิพิธพากย์
โดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (กมล) (เมื่อยังเป็นนายจำนงราชกิจ)

      ไร้วิชาอวดรู้ยิ่ง         ยกตน
   ไร้ทรัพย์เสือกสนซน         จ่ายจ้ำ
   ไร้แรงร่านหาญรน         รุกต่อ  แรงฤา
   ไร้เพื่อนไปเปลี่ยวล้ำ         เหล่าล้วนเสื่อมถอย ฯ
               จาก โคลงพิพิธพากย์
โดยพระพิมลธรรม (ม.ว.เจริญ) วัดระฆังโฆสิตาราม
            (เมื่อยังเป็นพระราชานุพัทธมุนี)


         สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ   ในตน
      กินกัดเนื้อเหล็กจน      กร่อนขร้ำ
      บาปเกิดแต่ตนคน      เป็นบาป
      บาปย่อมทำโทษซ้ำ      แต่ผู้บาปเอง ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         จำสารสับปลอกเกี้ยว   ตีนสาร
      จำนาคมนตร์โอฬาร      ผูกแท้
      จำคนเพื่อใจหวาน      ต่างปลอก
      จำโลกนี้มั่นแล้         แต่ด้วยไมตรี ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         จามรีขนข้องอยู่      หยุดปลด
      ชีพ บ่ รักรักยศ         ยิ่งไซร้
      สัตว์โลกซึ่งสมมติ      มีชาติ
      ดูเยี่ยงสัตว์นั้นได้         ยศซ้องสรรเสริญ ฯ
                  จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         นาคีมีพิษเพี้ยง      สุริโย
      เลื้อย บ่ ทำเดโช         เชื่องช้า
      พิษน้อยหยิ่งโยโส      แมลงป่อง
      ชูแต่หางเองอ้า         อวดอ้างฤทธี ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
      พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร



         ปลาร้าพันห่อด้วย   ใบคา
      ใบก็เหม็นคาวปลา      คละคลุ้ง
      คือคนหมู่ไปหา         คบเพื่อน  พาลนา
      ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง         เฟื่องให้เสียพงศ์ ฯ
         ใบพ้อพันห่อหุ้ม      กฤษณา
      หอมระรวยรสพา         เพริศด้วย
      คือคนเสพเสน่หา      นักปราชญ์
      ความสุขซาบฤาม้วย      ดุจไม้กลิ่นหอม ฯ
จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

ตมเกิดแต่น้ำแล่น   เป็นกระสาย
      น้ำก็ล้างเลนหาย         ซากไซร้
      บาปเกิดแต่ใช่กาย      เพราะจิต  ก่อนนา
      อันจักล้างบาปได้      เพราะน้ำใจเอง
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม   ดนตรี
      อักขระห้าวันหนี         เนิ่นช้า
      สามวันจากนารี         เป็นอื่น
      วันหนึ่งเว้นล้างหน้า      อับเศร้าหมองศรี ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

คบกากาโหดให้      เสียพงศ์
      พาตระกูลเหมหงส์      แหลกด้วย
      คบคนชั่วจักปลง         ความชอบ  เสียนา
      ตราบลูกหลานเหลนม้วย      ไม่ม้วยนินทา ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

รูปแร้งดูร่างร้าย      รุงรัง
      ภายนอกเพียงพึงชัง      ชั่วช้า
      เสพสัตว์ที่มรณัง         นฤโทษ
      ดังจิตสาธุชนกล้า      กลั่นสร้างทางผล ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

ก้านบัวบอกลึกตื้น   ชลธาร
      มารยาทส่อสันดาน      ชาติเชื้อ
      โฉดฉลาดเพราะคำขาน      ควรทราบ
      หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ      บอกร้ายแสลงดิน ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         ใดใดในโลกล้วน      อนิจจัง
      คงแต่บาปบุญยัง      เที่ยงแท้
      คือเงาติดตัวตรัง         ตรึงแน่น  อยู่นา
      ตามแต่บาปบุญแล้      ก่อเกื้อรักษา
               จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         หมอแพทย์ทายว่าไข้   ลมคุม
      โหรว่าเคราะห์แรงรุม      โทษให้
      แม่มดว่าผีกุม         ทำโทษ
      ปราชญ์ว่ากรรมเองไซร้      ก่อสร้างมาเอง
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร





         ไม้ค้อมมีลูกน้อม      นวยงาม
      คือสัปบุรุษสอนตาม      ง่ายแท้
      ไม้ผุดั่งคนทราม         สอนยาก
      ดัดก็หักแหลกแล้         ห่อนรื้อโดยตาม
               จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

         ธรรมดามหาสมุทร   มีคราหยุดพายุผัน
      มีคราวสลาตัน         ตั้งระลอกกระฉอกฉาน
         ผิวพอกำลังเรือ      ก็แล่นรอดไม่ร้าวราน
      หากกรรมจะบันดาล      ก็คงล่มทุกลำไป
         ชาวเรือก็ย่อมรู้      ฉะนี้อยู่ทุกจิตใจ
      แต่ลอยอยู่ตราบใด      ก็จำแก้ด้วยแรงระดม
         แก้รอดตลอดฝั่ง      จะรอดทั้งจะชื่นชม
      เหลือแก้ก็จำจม         ให้ปรากฏว่าถึงกรรม
         ผิวทอดธุระนิ่ง      บ วุ่นวิ่งเยียวยาทำ
      ที่สุดก็สูญลำ         เหมือนที่แก้ไม่หวาดไหว
         ผิดกันแต่ถ้าแก้      ให้เต็มแย่จึงจมไป
      ใครห่อนประมาทใจ      ว่าขลาดเขลาและเมาเมิน
         เสียทีก็มีชื่อ      ให้เลื่องลือสรรเสริญ
      สงสารว่ากรรมเกิน      กำลังดอกจึงจบสูญ
            พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
      
สมเด็จกรมดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์บทกลอนนี้ขึ้นโดยมิได้ทรงร่างต้นฉบับก่อน ด้วยพระอารมณ์สะเทือนพระทัย  อันเนื่องมาจากได้ทรงอ่านบทกลอนพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นด้วยพระอารมณ์โทมนัส  จากเหตุการณ์ที่ประเทศไทยขณะนั้นถูกประเทศมหาอำนาจข่มเหง  ทรงโทมนัสจนถึงกับทรงพระประชวรหนักและทรงท้อพระราชหฤทัย  จึงทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนทูลลาเจ้านายหลายพระองค์  ความว่า
   “เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์   มานะเรื่องบำรุงกาย
ส่วนจิต บ่ มิสบาย         ศิระกลุ้มอุราตรึง
   แม้หายก็พลันยาก      จะลำบากฤทัยพึง
ตริแต่จะถูกรึง         อุระรัดและอัตรา
   กลัวเป็นทวิราช      บ ตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจึงนินทา         บ ละเว้น ฤ ว่างวาย
   คิดใดจะเที่ยงแท้      ก็ บ่ พบซึ่งเงื่อนสาย
สบหน้ามนุษย์อาย         จึงจะรุดแลเสยสูญ”
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงอ่านพระนิพนธ์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนำขึ้นทูลเกล้าฯถวาย
ก็ทรงมีกำลังพระทัย  เสวยพระโอสถและทรงปฏิบัติพระราชกิจต่อไป


      เสือพีเพราะป่าปก   และป่ารกเพราะเสือยัง
   ดินเย็นเพราะหญ้าบัง      และหญ้ายังเพราะดินดี
            จาก บทละครเรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง 
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

         รัฐใดไร้ราชไร้   ราศี
      สวนว่างพรรณบุบผา   ดุจร้าง
      เรือนใดบ่มีนาง      ครองอยู่
      ถึงจะใหญ่กว้างก็   ขาดขวัญ
               จาก โคลงสุภาษิต
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

         พุทธานุภาพนำผล      
เกิดสรรพมงคล
เทวาอารักษ์ทั่วไป
ขอให้เปนสุขสวัสดี
   ธรรมานุภาพนำผล
เกิดสรรพมงคลเฉลิมศรี
เทพช่วยรักษาปรานี
ให้สุขสวัสดีทั่วกัน
   สังฆานุภาพนำผล
เกิดสรรพมงคลแม่นมั่น
เทเวศคุ้มครองป้องกัน
สุขสวัสดิสันติ์ทั่วไป
      บทอำนวยพร
              พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว




ถึงยากง่ายหมายว่าตามแต่เวรา      ด้วยเกิดมามิได้พ้นคนผู้ใด
   อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์      ไม่รู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน
   เหมือนกงเกวียนกำเกวียนเวียนระไว   จงหักใจเสียเถิดเจ้าเยาวมาลย์
                  จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่

หญิงไม่อยากมีสามี   หาในโลกนี้หาไหน
   อันปวงบุบผามาลัย      เกลียดแมลงภู่ไซร้ฤามี
   ควรจำธรรมดานาไร่      จักไม่รับไถใช่ที่
   ฉันใดชาดานารี         พึงมีสามีแนบตัว
               จาก กนกนคร
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์   

   หญิงใด  (๑) อยู่ในเหย้าแห่งพ่อก็จริงอยู่แหล่แต่มิฟังบังคับ  (๒) มิกำชับใจตัวมัวแต่เที่ยวรื่นเริงเชิงสนุกทุกเบื้อง  (๓) ปลดเปลื้องผ้าคลุมต่อหน้าชาย  (๔) หลับราวตายแล้วมิวายง่วง  (๕) ดื่มเหล้าล่วงลำคอ  (๖) พอใจอยู่ห่างจากสามี  สตรีนั้นปราศจากธรรมนำจิตชอบ  ประกอบด้วยใจบาปหยาบยิ่ง  จริงแล ฯ
                     จาก นิทานเวตาล
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

   สิ่งใดเกิดแล้วสิ่งนั้นย่อมเกิดแล้ว  จะแก้ให้กลับไม่เกิดนั้นไม่ได้
                     จาก นิทานเวตาล
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

   คัมภีร์โบราณสอนว่า  เมื่อจะไปเฝ้าพระราชา ๑  ไปหาพระอุปัชฌาย์ ๑  ไปหาตุลาการ ๑  ไปหาหญิงสาว ๑  ไปหาหญิงแก่ผู้มีลูกสาวซึ่งเราใคร่ได้ ๑  อย่าให้ไปมือเปล่า
                     จาก นิทานเวตาล
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

   การในเรือนหนึ่ง  ความคิดในใจหนึ่ง  ความเสียหายหนึ่ง  ไม่ควรบอกให้ใครทราบ
                     จาก นิทานเวตาล
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

   พระราชา ๑  หญิง ๑  ไม้เลื้อย ๑  ย่อมรักที่จะดูแลสิ่งที่อยู่ใกล้
                  จาก นิทานเวตาล
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

มายาคือความมั่งคั่ง  แลมายาคือความรักนี้มีคุณความดีที่ไหนบ้าง  ความชื่นบานอันเกิดแต่มายาทั้งสองนี้อยู่ได้ครู่เดียวก็กลับเป็นความขมตลอดชาติ  ศฤงคารนี้เปรียบเหมือนเหล้าในถ้วยของนักเลงสุรา  เมื่อจิบครั้งแรกมีรสดีเอิบอาบไปทั่วกาย  ยิ่งดื่มบ่อยยิ่งหย่อนรส  ในที่สุดก็เป็นทุกข์อันหนัก ชีวิตนี้มิใช่อื่นไกล  คือความหมุนเวียนแห่งความชื่นบาน  ซึ่งเป็นความหลง  กับความเร่าร้อนซึ่งเป็นความจริงเท่านั้น  วันที่ตื่นจากชีวิตก็คือวันที่ถึงที่สุดแห่งชีวิตนั่นเอง
                     จาก นิทานเวตาล
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

      ชายหาญเห็นได้เมื่อ   สงคราม  นั้นเนอ
   ความซื่อส่อถนัดยาม      ส่งหนี้
   เห็นมิตรคิดเห็นความ      จริงเมื่อ  ทุกข์แล
   เมียสัตย์ชัดชื่อชี้         เมื่อไข้ไร้สิน
               จาก นิทานเวตาล
พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

         อะไรใหม่มิใช่ความจริงแน่
      ความจริงแท้เกิดใหม่เกิดได้หรือ
      อะไรใหม่ไม่จริงทุกสิ่งคือ
      อะไรจริงใช่ชื่อว่าใหม่เอย
            จาก นิทานเวตาล
 พระนิพนธ์กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
   
ปรารถนาสารพัดในปัฐพี      เอาไมตรีแลกได้ดังใจจง
               จาก เพลงยาวถวายโอวาท
ของ สุนทรภู่




      เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ      มังสา
   นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา         ไป่อ้วน
   สองสามสี่นายมา         กำกับ  กันแอ
   บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน         บาทสิ้นเสือตาย
               จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

ทั้งโลกเปรียบเหมือนโรงละครใหญ่
      ชายหญิงไซร้เปรียบเหมือนตัวละครนั่น
      ต่างมียามเข้าออกอยู่เหมือนกัน
      คนหนึ่งนั้นย่อมเล่นตัวนานา
               จาก ตามใจท่าน
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว   

ดูหนังดูละคร      แล้วย้อนดูตัว
   ยิ้มเยาะเล่นหวัว         เต้นยั่วเหมือนฝัน
               จาก รุไบยาต
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

   ถึงแม้จะยังเข้าใจอย่างละเอียดไม่ได้ว่าชีวิตคืออะไร  แต่ก็พอสรุปความได้ว่า  ชีวิตคือทางเดินเส้นหนึ่ง  ราบเรียบในบางแห่ง  ขรุขระในบางตอน  บางทีก็เต็มไปด้วยขวากหนาม  บางทีก็เต็มไปด้วยรุกขชาติอันมีดอกหอมตระหลบและสวยงาม  เราเดินไปตามทางเส้นนี้-เดินไป-เดินไป  ถ้าโชคดีเราก็ได้ทางราบเรียบเป็นส่วนมาก  ถ้าโชคร้าย  เราก็ต้องลุยเลนตมและบุกป่าฝ่าหนามเป็นส่วนใหญ่   แต่ว่าทางเส้นนี้ใครจะเดินก็ตาม  ย่อมจะไปจบลงในที่อันเดียวกัน  คือที่ซึ่งมีความเสมอภาค  ไม่มีไพร่  ไม่มีผู้ดี  ไม่มีนาย  ไม่มีทาส  ไม่มีรวยไม่มีจน  ที่นั้นคือหลุมฝังศพและเชิงตะกอน
                           จาก ปักกิ่ง-นครแห่งความหลัง
ของ สด  กูรมะโรหิต




ชาติ   เกิดรูปพร้อม   อาการ
   ชรา   ร่างสาธารณ์      เหี่ยวแห้ง
   พยาธิ   บันดาล         ต่างต่าง
   มรณะ   กาแร้ง         แย่งยื้อกันกิน
            จาก โคลงโลกนิติสำนวนเก่า
      
เห็นอยู่หลัดหลัดเช้า   สายตาย
   สายอยู่สุขสบาย         บ่ายม้วย
   บ่ายคงคู่เคียงสาย      สวาทค่ำ  ดับนอ
   ค่ำอยู่ดึกดับฉ้วย         ฉุดไว้คงไฉน
            ของ ขุนอาเทศคดี
* พิมพ์แจกครั้งสุดท้ายเมื่อวันเกิดครบ ๘ รอบของท่านเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๗

   
ชีวิตคือการต่อสู้  ศัตรูคือยากำลัง  อุปสรรคคือหนทางแห่งความสำเร็จ  ความลำบากในวันนี้คือความสุขในวันหน้า
   บุคคลใดไม่เคยต้องทำการต่อสู้  ไม่เคยมีศัตรู  ไม่เคยประสบอุปสรรค  บุคคลผู้นั้นเป็นคนเคราะห์ร้ายที่สุด  เพราะเขาจะมีลักษณะอ่อนแอไม่ได้พบความก้าวหน้า  ชีวิตของเขาจะไร้ประโยชน์ไปทั้งชาติ
   ขอให้เราเริ่มต้นชีวิตด้วยการต่อสู้  ขอให้เรากล้ากวักมือเรียกศัตรู  ขอให้เรากล้าเผชิญอุปสรรคโดยไม่พยายามหลีกเลี่ยง  ทำได้ดังนี้  เราจะได้ชื่อว่าเกิดมามีประโยชน์
                     ของ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ

แม้นเรามิได้เกิดเป็นดอกซากุระ  ก็อย่ารังเกียจที่จะเกิดเป็นบุปผาพันธุ์อื่นเลย     ขอแต่ให้เป็นดอกที่งามที่สุดในพันธุ์ของเรา  ภูเขาไฟฟูจีมีอยู่ลูกเดียว   แต่ภูเขาทั้งหลายก็หาไร้คุณค่าไม่  แม้นมิได้เป็นซามูไร  ก็จงเป็นลุกสมุนของซามูไรเถิด  เราจะเป็นกัปตันกันหมดไม่ได้  ด้วยว่าถ้าปราศจากลูกเรือแล้ว   เราจะไปกันได้อย่างไร……
                     จาก ข้างหลังภาพ
 ของ ศรีบูรพา




 ดนตรี

   ชนใดที่ไม่มีดนตรีการ      ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ      เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์
หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก         มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก      ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่
ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้         เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ
               จาก เวนิสวานิช
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
   
ท้าวสุทัศน์ฟังอรรถโอรสราช   บรมนาถขัดข้องให้หมองศรี
โกรธกระทืบบาทาแล้วพาที      อย่าอวดดีเลยกูไม่พอใจฟัง
อันดนตรีปี่พาทย์ตะโพนเพลง      เป็นนักเลงเหล่าโลนเล่นโขนหนัง
แต่พวกกูผู้หญิงที่ในวัง         มันก็ยังเรียนร่ำได้ชำนาญ
อันวิชาอาวุธแลโล่เขน         ชอบแต่เกณฑ์ศึกเสือเชื้อทหาร
เป็นกษัตริย์จักรพรรดิพิสดาร      มาเรียนการเช่นนั้นด้วยอันใด
               จาก พระอภัยมณี
  ของ สุนทรภู่

   พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม   จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข
อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป         ย่อมใช้ได้ดังจินดาค่าบุรินทร์
ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช            จตุบาทกลางป่าพนาสิน
แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน            ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา
ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ         อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา
ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์         จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง
                  จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่

ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย      ยังไม่เคยชมชิดพิสมัย
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย            จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย
พระจันทรจรสว่างกลางโพยม         ไม่เทียมโฉมนางงามเจ้าพราหมณ์เอ๋ย
แม้นได้แก้วแล้วจะค่อยประคองเคย      ถนอมเชยชมโฉมประโลมลาน
เจ้าพราหมณ์ฟังวังเวงวะแว่วเสียง         สำเนียงเพียงการเวกกังวานหวาน
หวาดประหวัดสัตรีฤดีดาล         ให้ซาบซ่านเสียวสดับจนหลับไป
                  จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่            


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มกราคม 05, 2014, 08:48:18 am »
ต่อครับ

สุภาษิต-คำพังเพย

      เพื่อนกิน   สิ้นทรัพย์แล้ว      แหนงหนี
   หาง่าย   หลายหมื่นมี         มากได้
   เพื่อนตาย   ถ่ายแทนชี         วาอาตม์
   หายาก   ฝากผีไข้         ยากแท้จักหา ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
     พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

      รู้น้อยว่ามากรู้      เริงใจ
   กลกบเกิดอยู่ใน         สระจ้อย
   ไป่เห็นชเลไกล         กลางสมุทร
   ชมว่าน้ำบ่อน้อย         มากล้ำลึกเหลือ ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

      ดูข้าดูเมื่อใช้      งานหนัก
   ดูมิตรพงศารัก         เมื่อไร้
   ดูเมียเมื่อไข้หนัก         จวนชีพ
   อาจจักรู้จิตไว้         ว่าร้ายฤาดี ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

      ช้างสาร   หกศอกไซร้   เสียงา
   งูเห่า   กลายเป็นปลา      อย่าต้อง
   ข้าเก่า   เกิดแต่ตา      ตนปู่  ก็ดี
   เมียรัก   อยู่ร่วมห้อง      อย่าไว้วางใจ ฯ
               จากโคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร




      ป่าพึ่งพาลพยัคฆ์ร้าย   ราวี
   เสือพึ่งไพรพงพี         เถื่อนถ้ำ
   ความชั่วพึ่งความดี      เท็จพึ่ง  จริงนา
   เรือพึ่งแรงแรงน้ำ         หากรู้คุณเรือ ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

   อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ   ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก         จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
               จาก เพลงยาวถวายโอวาท
ของ สุนทรภู่

   จับให้มั่นคั้นให้ตายให้วายวอด   ช่วยให้รอดรักให้ชิดพิสมัย
ตัดให้ขาดปรารถนาหาสิ่งใด      เพียรจงได้ดังประสงค์ที่ตรงดี
               จาก เพลงยาวถวายโอวาท
        ของ สุนทรภู่

   คำบุราณท่านว่าเหล็กแข็งกระด้าง    เอาเงินง้างอ่อนตามความประสงค์
                    จาก เพลงยาวถวายโอวาท
ของ สุนทรภู่

      ลิ้นพราหมณ์ตานกแร้ง   จมูกมด
   น้ำจิตพระยากำหนด      ยากแท้
   คำครูสั่งสอนบท         ธรรเมศ
   ห้าสิ่งนี้แหลมแล้         รวดรู้เร็วจริง ฯ
               จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร




      บุราณท่านว่าน้ำ      สำคัญ
   ช้างป่าต้นคนสุพรรณ      ผ่องแผ้ว
   แดนดินถิ่นสูวรรณ      ธรรมชาติ  มาศเอย
   ผิวจึ่งเกลี้ยงเสียงแจ้ว      แจ่มน้ำคำสนอง ฯ
               ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

มีเมียเคล้ามีข้าวกินได้สิ้นทุกข์   อยู่ไหนไหนได้เป็นสุขสนุกสนาน
                  จาก พระอภัยมณี
   ของ สุนทรภู่

   ระวังตัวเหมือนวัวสันหลังขาด   เห็นแต่กาบินผาดก็หวาดหวั่น
ท่วงทีทำนองจะป้องกัน         เชิงชั้นของเจ้าเราเข้าใจ
                  จาก สังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

   ปรับทุกข์กันทุกคนบ้างบ่นมี่   เอ็นดูด้วยสักทีพอรอดหลัง
บ้างว่าเลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง      แม้นมิฟังชั่งเจ้าสมดังวาจา
                  จาก สังข์ทอง
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
*เทียบสำนวนไทย ว่า “เลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง” หมายถึงเป็นการที่อาจนำภัยมาถึงตัว

   ใช่จะมีที่รักสมัครมาด      แรมนิราศร้างมิตรพิสมัย
ซึ่งครวญคร่ำทำทีพิรี้พิไร         ตามนิสัยกาพย์กลอนแต่ก่อนมา
เหมือนแม่ครัวคั่วแกงพะแนงผัด      สารพัดพยัญชนังเครื่องมังสา
อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา      ต้องโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ
                  จาก นิราศภูเขาทอง
   ของ สุนทรภู่
      *เทียบสำนวนไทย ผักชีโรยหน้า

      ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า   น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย
   เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ            รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ
                     จาก ภาษิตอิศรญาณ
                           ของ หม่อมเจ้าอิศรญาน

คนแก่มีสี่ประการโบราณว่า   แก่ธรรมาพิสมัยใจแห้งเหี่ยว
   แก่ยศแก่วาสนาปัญญาเปรียว      แต่แก่แดดอย่างเดียวแก่เกเร
                  จาก ภาษิตอิศรญาณ
                  ของ หม่อมเจ้าอิศรญาน

เรียมฤๅคือบรรทัด   ช่างชาญดัดขัดเกลาขยัน
   ทอดเขียนเรียนพระธรรม์      ใช่สันเคียวเบี้ยวบิดงอ
      ใจเรียมเทียมดุจด้วย   บรรทัด
   คนช่างเกลาเหลาดัด      รอบรู้
   ทอดเขียนระเบียนอรรถ      ธรรม์เมธ
   ใช่อันสันเคียวคู้         คดค้อมคมหนา
            จาก กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ
ของ พระศรีมโหสถ
      *เทียบสำนวนไทย  เคียวอยู่ในท้อง  หมายถึงเป็นผู้มีเล่ห์เหลี่ยมคดโกงเชื่อถือไม่ได้

      อุปมาเหมือนงาระคนถั่ว      ประดังไฟใส่คั่วกระเบื้องนั่น
   งาร้อนฤๅจะผ่อนให้ถั่วทัน      พอถั่วสุกก็จะอันตรายงา
                     จาก ขุนช้างขุนแผน
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

      จะมาขืนฟื้นฝอยหาตะเข็บ   หยิกเล็บจะเจ็บเนื้อหรือหาไม่
   เมื่อกินอยู่ที่ลับแล้วเป็นไร         จะมาไขกลางแจ้งให้แพร่งพราย
                     จาก ไกรทอง
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
   * คำว่าตะเข็บในสำนวนไทย ฟื้นฝอยหาตะเข็บ นี้  หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายตะขาบแต่มีขนาดเล็กกว่า  มีความยาวประมาณ ๑.๕-๓ นิ้วฟุต  ชอบอาศัยอยู่ในที่รก กองเศษสิ่งของ ซึ่งบางครั้งเรียกว่ากองกุมฝอยและเมื่อรื้อกองกุมฝอยตะเข็บซึ่งแฝงตัวอยู่ก็จะวิ่งออกมา  สำนวนนี้มีความหมายว่ารื้อฟื้นเรื่องราวที่จบลงไปแล้วเหมือนกับการรื้อค้นกองกุมฝอยเพื่อหาตัวตะเข็บนั้นไม่มีประโยชน์  เพราะมีแต่จะทำให้ยุ่งเหยิงยิ่งขึ้น




      เมื่อครั้งกรุงยังสนุกสุขสบาย   ได้ยินฝ่ายผู้เฒ่าท่านเล่ามา
   ว่าเศรษฐีมีทรัพย์ไม่นับได้         สร้างวัดให้ลูกรักนั้นหนักหนา
   ถ้าบุตรใครไม่มีซึ่งวัดวา         ไปเล่นอารามเขาเศร้าฤทัย
   เจ้าของเฝ้าเปรียบเปรยเยาะเย้ยหยอก   กลับมาบอกบิดาน้ำตาไหล
   พ่อก็สร้างอารามให้ตามใจ      วัดจึงได้เกลื่อนกลาดดูดาษตา
                     จาก นิราศทวาราวดี
                        ของ หลวงจักรปาณี (ฤกษ์
*เทียบสำนวนไทย “สร้างวัดให้ลูกเล่น”  หมายถึงคนแต่ก่อนที่มีฐานะดีมักจะนิยมสร้างวัดกัน  จนเป็นคำกล่าวว่าสร้างวัดให้เพื่อให้ลูกได้มีที่ไว้วิ่งเล่น

      สวรรค์   แสวงสุขได้   เสียกรรม
   ในอก   อิ่มบุญธรรม      เที่ยงได้
   นรก   รักบาปนำ      ไปสู่   ทุกข์แฮ
   ในใจ   ให้สุขให้         ทุกข์ด้วยใจเอง
            จาก โคลงโลกนิติสำนวนเก่า
เราดีเขาว่าร้าย      ช่างเขา
สวรรค์นรกอกใจเรา      ย่อมแจ้ง
ใช่ควรจะถือเอา         เป็นมั่น
ดีชั่วอาจกลั่นแกล้ง      กล่าวได้ดุจจริง
            ปัญหาขัดข้องในวชิรญาณ
*เทียบสำนวนไทย “สวรรค์ในอก  นรกในใจ”  หมายความว่าใจของตนนั้นเป็นสำคัญ  จะดีจะชั่วหรือจะทุกข์จะสุขย่อมอยู่ที่ตัวของเรา  ซึ่งท่านขุนวิจิตรมาตราได้อธิบายสำนวนนี้เทียบกับพุทธภาษิต จาก มุลมูลิ ไว้ในหนังสือสำนวนไทย ความว่า "นรกไม่มีผู้ใดก่อสร้างขึ้น  คือไฟโกรธในใจให้เกิดไฟนรก  และเผาผลาญเจ้าของไฟที่ให้เกิดขึ้นนั้น  เมื่อผู้ใดทำการชั่ว  ผู้นั้นจุดไฟนรกขึ้นและผู้นั้นย่อมไหม้ไปดวยไฟของตนเอง"










คมคำจำขึ้นใจ

บารมีพระมากพ้น   รำพัน
   พระพิทักษ์ยุติธรรม์      ถ่องแท้
   บริสุทธิ์ดุจดวงตะวัน      ส่องโลก  ไสร้แฮ
   ทวยราษฎร์รักบาทแม้      ยิ่งด้วยบิตุรงค์
               จาก ลิลิตนิทราชาคริต
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      เป็นหญิงสัตย์ซื่อด้วย   สวามี
   สิ่งขัดแคลงราคี         ห่อนข้อง
   ความลับรับวาที         บ่แพร่ง  พรายนา
   การชั่วช่วยปัดป้อง      ปกเหย้างำเรือน
                  จาก โคลงสุภาษิต
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ทำดีดีกว่าขอพร      ทำชั่วจะวอน
   ให้เทวะช่วยบ่มิไหว
      ทำดีนิรทุกข์สุขใจ   ทำชั่วนั้นไซร้
   ไม่ช้าต้องดิ้นดักแด
      ทำดีได้ดีแน่แท้      ทำชั่วมัวแก้
   เท่าใดไม่พ้นโทษา
      ดีอยู่ผู้ใดนินทา      ผลความอิจฉา
   ก็กลับกระทบคนพาล
         พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
* ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อเป็นของขวัญและคำอวยพรพระราชทานแด่พระยาประสิทธิ์ศุภการ    เนื่องในโอกาสทำบุญอายุครบ
เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม   ดนตรี
   อักขระห้าวันหนี         เนิ่นช้า
   สามวันจากนารี         เป็นอื่น
   วันหนึ่งเว้นล้างหน้า      อับเศร้าหมองศรี
จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

จำสารสับปลอกเกี้ยว   ตีนสาร
   จำนาคมนต์โอฬาร      ผูกแท้
   จำคนเพื่อใจหวาน      ต่างปลอก
   จำโลกนี้นั่นแล้         แต่ด้วยไมตรี
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

      กบเกิดในสระใต้      บัวบาน
   ฤๅห่อนรู้รสมาลย์      หนึ่งน้อย
   ภุมราอยู่ไกลสถาน      นับโยชน์  ก็ดี
   บินโบกมาค้อยค้อย      เกลือกเคล้าเสาวคนธ์
               จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาเดชาดิศร

วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย
   บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย
   บ้านกับวัดผลัดกันช่วยยิ่งอวยชัย
   ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง
         ของ เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร  อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม

      ลางลิงลิงลอดไม้      ลางลิง
   แลลูกลิงลงชิง         ลูกไม้
   ลิงลมไล่ลมติง         ลิงโลด  หนีนา
   แลลูกลิงลางไล้         ลอดเลี้ยวลางลิง
             จาก กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์

      ดูหนูสู่รูงู   งูสุดสู้หนูสู้งู
   หนูงูสู้ดูอยู่      รูปงูทู่หนูมูทู
            จาก กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง
     พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์

      หะหายกระต่ายเต้น   ชมจันทร์
   มัน บ่ เจียมตัวมัน      ต่ำต้อย
   นกยูงหากกระสัน      ถึงเมฆ
   มัน บ่เจียมตัวน้อย      ต่ำเตี้ยเดียรัจฉาน
      หะหายกระต่ายเต้น   ชมแข
   สูงส่งสุดตาแล         สู่ฟ้า
   ฤดูฤดีแด         สัตว์สู่  กันนา
   อย่าว่าเราเจ้าข้า         อยู่พื้นเดียวกัน
*โคลงสองบทนี้กล่าวกันว่า เป็นการกล่าวโต้ตอบกัน  โดยโคลงบทแรกเป็นของพระสนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ส่วนโคลงบทที่สองเป็นพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์

ธรณีนี่นี้      เป็นพยาน
      เราก็ศิษย์มีอาจารย์   หนึ่งบ้าง
      เราผิดท่านประหาร   เราชอบ
      เรา บ่ ผิดท่านมล้าง   ดาบนั้นคืนสนอง
            จาก โคลงกำสรวลศรีปราชญ์
               ของ ศรีปราชญ์

         เรียมร่ำน้ำเนตรท่วม   ถึงพรหม
      มวลหมู่สัตว์จ่อมจม      ชีพม้วย
      พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม      ทบท่าว  ลงนา
      หากอกนิษฐ์พรหมฉ้วย      ชีพไว้จึงคง
            จาก โคลงกำสรวลศรีปราชญ์
               ของ ศรีปราชญ์

         ตราบขุนคิริข้น      ขาดสลาย  แลแม่
      รักบ่หายตราบหาย      หกฟ้า
      สุริยันจันทรขจาย      จากโลก  ไปฤๅ
      ไฟแล่นล้างสี่หล้า      ห่อนล้างอาลัย
            จาก
         ของนายนรินทร์ธิเบศร (อิน)
   * หกฟ้า  คือสวรรค์หรือเทวโลกอันเป็นที่อยู่ของเทวดา  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๖ ชั้น มีชื่อเรียกนับแต่ชั้นต่ำสุดถึงชั้นสูงสุด ดังนี้    จาตุมหาราชิกา  ดาวดึงส์   ยามา  ดุสิต  นิมานรดี  ปรนิมมิตวัสวัตตี
      สี่หล้า  หมายถึงทวีปทั้งสี่แบ่งตามตำราภูมิศาสตร์โบราณในหนังสือไตรภูมิกถา  ได้แก่  อุตตรกุรุทวีป  ชมพูทวีป  ปุพพวิเทห์ทวีป และ อมรโคยานทวีป

         นทีสี่สมุทรม้วย      หมดสาย
      ติมิงคล์มังกรนาคผาย      ผาดส้อน
      หยาดเหมพิรุณหาย      เหือดโลก  แล้งแม่
      แสนสาดแสนร้อยร้อน      ฤๅเถ้าเรียมทน
               จาก  นิราศนรินทร์
            ของ นายนรินทร์ธิเบศ (อิน)
   * นทีสี่สมุทร คือมหาสมุทรทั้งสี่ที่คั่นระหว่างสี่ทวีปตามความเชื่อทางภูมิศาสตร์โบราณ      

แล้วจัดแจงแต่งกายพลายชุมพล   แปลงตนเป็นมอญใหม่ดูคมสัน
   นุ่งผ้าตาหมากรุกของรามัญ      ใส่เสื้อลงยันต์ย้อมว่านยา
   คอผูกผ้าประเจียดของอาจารย์      โอมอ่านเสกผงผัดหน้า
   คาดตะกรุดโทนทองของบิดา      โพกผ้าสีทับทิมริมขลิบทอง
   ถือหอกสัตตะโลหะชนะชัย      เหมือนสมิงมอญใหม่ดูไวว่อง
   ขุนแผนขี่สีหมอกออกลำพอง      ชุมพลขึ้นกะเลียวผยองนำโยธา
                     จาก บทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
   * บทกลอนนี้ได้มีการนำไปขับร้องเป็นเพลงไทยเดิม  ใช้ทำนองเพลงมอญดูดาว
   **  เบญจโลหะ  คือโลหะห้าอย่าง  ได้แก่ เหล็ก  ปรอท  ทองแดง  เงิน  ทองคำ   และถ้าเป็นสัตตะโลหะจะเพิ่ม  เจ้า (ตัดคำมาจากเจ้าน้ำเงิน ซึ่งเป็นชื่อเรียกอีกชือ่หนึ่งของพลวง เป็นแร่อย่างหนึ่ง  มีสีเขียวปนน้ำเงินเกาะอยู่กับแร่อื่นๆ มีมากแถบจังหวัดกาญจนบุรี บริเวณภูเขา เมื่อจะใช้ต้องนำมาหุงก่อน) กับ สังกะสี  และหากเพิ่มโลหะอีกสองชนิด คือ ชิน และบริสุทธิ์ (หมายถึงทองแดงบริสุทธิ์ ) ก็จะเป็นนวโลหะ

      อันชนกชนนีนี้รักเจ้า      เทียมเท่าชีวาก็ว่าได้
   ใช่จะแสร้งสลัดซัดเสียไกล      เพราะเป็นความจำใจของบิดา
                  จาก อิเหนา
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
      พ่อตายคือฉัตรกั้ง   หายหัก
   ครั้นแม่ตายรถจักร      จากด้วย
   พี่ตายพ่ายแขนหัก      สินขาด  ไปนา
   เมียมิ่งตายวายม้วย      มืดกลุ้มแดนไตร
            จาก โคลงโลกนิติสำนวนเก่า

      พ่อตายคือฉัตรกั้ง   หายหัก
   แม่ดับดุจรถจักร         จากด้วย
   ลูกตาย บ่ วายรัก      แรงร่ำ
   เมียมิ่งตายวายม้วย      มืดคลุ้มแดนไตร
               จาก โคลงโลกนิติ
 พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร

คุณแม่หนาหนักเพี้ยง   พสุธา
   คุณบิดรดุจอา-         กาศกว้าง
   คุณพี่พ่างสิขรา         เมรุมาศ
   คุณพระอาจารย์อ้าง      อาจสู้สาคร
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร

      เมื่อร้อนน้ำท่านให้   เย็นใจ
   เมื่อเยือกเย็นได้ไฟ      อุ่นเนื้อ
   เมื่อทุกข์ท่านแก้ไข      ชูช่วย
   เมื่อยากจนท่านเกื้อ      ก่อให้ทุนทำ
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร

สงสารคำ “ทำการ”มานานแล้ว
      ดูไม่แคล้วตาไปในหนังสือ
      มันถูกใช้หลายอย่างไม่วางมือ
      แต่ละมื้อตรำตรากยากเต็มที
      
ตำรวจเห็นโจรหาญ “ทำการ”จับ
      โจรมันกลับวิ่งทะยาน”ทำการ”หนี
      “ทำการ”ป่วยเป็นลมล้มพอดี
      “ทำการ”ซี้จีนหมายว่าตายเอย
            ของ นมส.
      
โอ้ว่าดวงใจอยู่ไกลลิบ      เหลือจะหยิบมาชมภิรมย์ขวัญ
   เหมือนดวงดาววาววาวอยู่ไกลครัน   ชิดสวรรค์สุดเอื้อมมาเชยชม
   เสียแรงชื่ออุษานารี         ไยไม่มีเทวามาอุ้มสม
   ปล่อยให้นั่งฟูมฟกอกตรม      ร้อนระบมร้อนระบมจิตใจดังไฟราน
   อ้าองค์เทวาสุรารักษ์         ทรงฤทธิ์สิทธิศักดิ์มหาศาล
   ช่วยดลใจให้ชู้คู่ชีวานต์         เสียวสร้านเสน่หามาไวไว
                     จาก ท้าวแสนปม
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
*บทกลอนนี้ ได้มีการนำไปขับร้องเป็นเพลงไทยเดิม  ใช้ทำนองเพลงสร้อยเพลง

ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง   มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
   โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา      ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
   ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ      สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
   ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย         ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
   ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก      สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
   ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป      แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน
                     จาก นิราศภูเขาทอง
     ของ สุนทรภู่
ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด   คิดถึงบาทบพิตรอดิศร
   โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร      แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น
   พระนิพพานปานประหนึ่งศีรษะขาด   ด้วยไร้ญาติยากแค้นถึงแสนเข็ญ
   ทั้งโรคซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็น      ไม่เล็งเห็นที่ซึ่งจะพึ่งพา
   จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งส่วนบุญถวาย   ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา
   เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา      ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป
                     จาก นิราศภูเขาทอง
    ของ สุนทรภู่

      ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า   พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
   ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี      ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว
   โอ้พระคุณสูญลับไม่กลับหลัง      แต่ชื่อตั้งยังอยู่เขารู้ทั่ว
   โอ้เรานี้ที่สุนทรประทานตัว      ไม่รอดชั่วเช่นสามโคกยิ่งโศกใจ
   สิ้นแผ่นดินสิ้นนามตามเสด็จ      ต้องเที่ยวเตร็ดเตร่หาที่อาศัย
   แม้นกำเนิดเกิดชาติใดใด         ขอให้ได้เป็นข้าฝ่าธุลี
   สิ้นแผ่นดินขอให้สิ้นชีวิตบ้าง      อย่ารู้ร้างบงกชบทศรี
   เหลืออาลัยใจตรมระทมทวี      ทุกวันนี้ก็ซังตายทรงกายมา
                     จาก นิราศภูเขาทอง
    ของ สุนทรภู่

มาถึงบางธรณีทวีโศก      ยามวิโยคยากใจให้สะอื้น
   โอ้พสุธาหนาแน่นเป็นแผ่นพื้น      ถึงสี่หมื่นสองแสนทั้งแดนไตร
   เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้      ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย
   ล้วนหนามเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ   เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา
                     จาก นิราศภูเขาทอง
    ของ สุนทรภู่

      ดวงดอกอุทุมพร         ทั่วนครหายากฉันใดไฉน
   จะหาสารศรีเสวตรในแดนไพร      ยากจะได้ดั่งประสงค์ที่จงจินต์
   จะหานางกัลยาณีนารีปราชญ์      ประหนึ่งอนงค์นพมาศอย่าหมายถวิล
   จะหาได้ในท้องธรณิน         ก็ด้วยบุญเจ้าแผ่นดินอย่างเดียวเอย
                  จาก ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

อันสตรี  ไร้ศีล  ก็สิ้นสวย      บุรุษด้วย  ไร้ศีล  ก็สิ้นศรี
   แม้ภิกษุ  ไร้ศีล  ก็สิ้นดี         ถึงเมธี  ไร้ศีล  ก็สิ้นงาม
                     จาก คติธรรม
    ของ พระพิมลธรรม (ชอบ  อนุจารีเถระ)

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: มกราคม 05, 2014, 08:48:41 am »



เมื่อเจ้ามา  มีอะไร  มาด้วยเจ้า   เจ้าจะเอา  แต่สุข  สนุกไฉน
   มามือเปล่า  เจ้าจะ  เอาอะไร      เจ้าก็ไป  มือเปล่า  เหมือนเจ้ามา
                     จาก อยู่เย็นเป็นสุข
        ของ พระพุทธทาสภิกขุ

      ใครชอบ  ใครชัง  ช่างเถิด      ใครเชิด  ใครชู  ช่างเขา 
   ใครเบื่อ  ใครบ่น  ทนเอา         ใจเรา  ร่มเย็น  เป็นพอ
                       จาก ธรรมธาร 
ของ สิริ  กรินชัย

      อย่าขโมยมันสมองของผู้อื่น   อย่าทนขืนงานเลวเขียนเหลวไหล
   อย่าหลงผิดคิดว่าดีกว่าใคร      อย่าแฝงภัยร้ายชนในผลงาน
                         แด่นักกลอน
       ของ ชลัมพ์  ขำศิริ

      ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง      แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
   ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง      จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                        จาก เพลงชาติ
ของ  นภาลัย  สุวรรณธาดา

      ฉันเยาว์  ฉันเขลา  ฉันทึ่ง      ฉันจึง  มาหา  ความหมาย
   ฉันหวังเก็บ  อะไร  ไปมากมาย      สุดท้าย  ให้กระดาษ  ฉันแผ่นเดียว
                     จาก เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน
ของ  วิทยากร  เชียงกูล

      เกิดเป็นคนก็ต้องทนให้คนด่า   จะทำดีทำบ้าถูกด่าหมด
   ทำซื่อซื่อเขาก็ด่าว่าไม่คด         ทำเลี้ยวลดเขาก็ด่าว่าไม่ตรง
                     จาก เกิดเป็นคน
   ของ  โพยม  โรจนวิภาต

      ร้อยชู้ฤๅเท่าเนื้อ      เมียตน
   เมียแล่พันฤๅดล         แม่ได้
   ทรงครรภ์คลอดเป็นคน      ฤๅง่าย  เลยนา
   เลี้ยงยากนักท้าวไท้      ธิราชผู้มีบุญ
                  จาก ลิลิตพระลอ

      เมื่อล้มกลิ้งใครหนอวิ่งเข้ามาช่วย   แล้วปลอบด้วยนิทานกล่อมขวัญให้
   หรือจูบที่เจ็บชะมัดปัดเป่าไป      ผู้นั้นไซร้ที่แท้แม่ฉันเอง
                     ของ พระราชธรรมนิเทศ

      เป็นการง่ายยิ้มได้ไม่ต้องฝืน   เมื่อชีพชื่นเหมือนบรรเลงพลงสวรรค์
   แต่คนที่ควรชมนิยมกัน         ต้องใจมั่นยิ้มได้เมื่อภัยมา
                           จาก มหาบุรุษ
  ของ  หลวงวิจิตรวาทการ
      
      ไม้   ใดอุบัติเบื้อง   บรรพต
      สูง   แต่พอสมยศ   เยี่ยงไม้
      กว่า   ไปกิ่งใบลด   แหลกเพราะ  ลมนา
      เขา   บ่ อาจบังได้   เพราะไม้สูงเกิน
               ของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
      
         แฮะแฮะใครอย่าเย้ย   หยันเด็ก
      พริกก็พริกเม็ดเล็ก      เผ็ดล้ำ
      ใครใครจะกินเหล็ก      ห่อนเล่า  ลือนา
      โคแก่มีเขาง้ำ         เด็กขึ้นขี่คอ
         เข้าใจกันว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
   *เข้าใจกันว่าเป็นบทพระราชนิพน์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นตอบความโคลงกระทู้ “ไม้สูงกว่าเขา” ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์


พระน้องเอยเสียดายนัก   พระวรพักตร์ดังดวงเดือน
   หาไหนจะได้เหมือน      ไม่มีแล้วในโลกีย์
      มาดแม้นจะหาดวง   วิเชียรช่วงเท่าคีรี
   หาดวงพระสุริศรี         ก็จะได้ดุจดังใจ
      จะหาโฉมให้เหมือนนุช   จนสุดฟ้าสุราไลย
   ตายแล้วแลเกิดใหม่      ไม่ได้เหมือนเจ้านฤมล
            จาก คำพากย์รามเกียรติ์ พากย์นางลอย
         พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

      อินทรชิตบิดเบือนกายิน      เหมือนองค์อมรินทร์
   ทรงคชเอราวรรณ      
      ช้างนิมิตรฤทธิแรงแข็งขัน      เผือกผ่องผิวพรรณ
   สีสังข์สะอาดโอฬาร์
      สามสิบสามเศียรโสภา      เศียรหนึ่งเจ็ดงา
   ดังเพ็ชรรัตน์รูจี
      งาหนึ่งเจ็ดโบกขรณี      สระหนึ่งย่อมมี
   เจ็ดกออุบลบันดาล
      กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์   ดอกหนึ่งบ่งบาน
มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา
   กลีบหนึ่งมีเทพธิดา      เจ็ดองค์โสภา
แน่งน้อยลำเพานงพาล
   นางหนึ่งย่อมมีบริวาร      อิกเจ็ดเยาวมาลย์
ล้วนรูปนิมิตรมารยา
   จับระบำรำร่ายส่ายหา      ชำเลืองหางตา
ทำทีดังเทพอัปสร
   มีวิมานแก้วงามบวร      ทุกเกศกุญชร
ดังเวไชยันต์อมรินทร์
         จาก คำพากย์รามเกียรติ์ พากย์เอราวรรณ
      พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   
   

เบ็ดเตล็ด

      ขอร่ำรำพรรณบรรยาย   ความคิดเครื่องหมาย
   แห่งสีทั้งสามงามถนัด
      ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์   หมายพระไตรรัตน์
   และธรรมะคุ้มจิตไทย
      แดงคือโลหิตเราไซร้   ซึ่งยอมสละได้
   เพื่อรักษะชาติศาสนา
      น้ำเงินคือสีโสภา      อันจอมประชา
   ธโปรดเป็นของส่วนองค์
      จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์   จึงเป็นสีธง
   ที่รักแห่งเราชาวไทย
      ทหารอวตารนำไป   ยงยุทธ์วิชัย
   วิชิตก็ชูเกียรติสยาม
                   จาก เครื่องหมายแห่งไตรรงค์
         พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ในสมัยโบราณ  อะไรไม่สำคัญเท่ากำลังกาย  ใครมีกำลังก็มีอำนาจมาก  จะทำอะไรก็ทำได้  มาเดี๋ยวนี้อะไรไม่สำคัญเท่าเงิน  ใครมีเงินถุงใหญ่  คนนั้นก็มีอำนาจมาก  จะต้องการสิ่งไรก็ได้ทุกอย่าง
                        จาก มหาตมะ
               พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
      
      คนเช่นไหนก็ชอบคนเช่นนั้น
               จาก ปรียทรรศิกา
         พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

      ถูกคนด่า  หรือถูกเขาหลีกเลี่ยง  เป็นหมาหัวเน่า   ก็ยังดีกว่าถูกเขาลืม
                     จาก บ่วงมาร
            พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว





      เย็นกายรอบร่มไม้   ใบหนา
   เย็นญาติบิดุรมารดา      กว่านั้น
   ร่มครูร่มพระยา         เย็นยิ่ง  ยิ่งพ่อ
   ร่มพระเจ้าจอมหั้น      แห่งห้องนฤพาน
            จาก โคลงโลกนิติสำนวนเก่า

นอนกลางวันเล่ห์นี้   เต็มระอา
   เบื่อดุเล่นตุ๊กตา         ไป่ได้
   เบื่อยาถ่ายอีกยา         สำรอก  นาพ่อ
   เบื่อแต่งเกี้ยวนวมให้      เบื่อล้นจนใจ
            จาก โคลงสุภาษิตเจ้านาย
 พระนิพนธ์กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์

      อ้าแม่วิมลรูป      ศิริโลกมาตา
   อ่อนเพศ บ่ อ่อนภา      ระผดุงดรุณผอง
      ทารกกำเนิดแล้ว      ธุระเลี้ยงและสำนอง
   จักรอดมิรอดลอง      ผิมิเจ้าจะใครไฉน ?
      หากเด็กจะดีชั่ว      คุรุแรกนะคือใคร ?
   ครูบาบิดาไซร้         อนุสิษฐะภายหลัง
      ดัดเด็ก ฤ ดัดไม้      ขณะอ่อนก็กำลัง
   แก่ไป บ ได้ดัง         มนะมุ่งประจงสมาน
      โลกเราจะดีเลว      ก็เพราะคนแหละบันดาล
   คนเราจะเอาการ         ฤ จะป่วยกำเนิดไฉน
      มารดาสำนองหนัก   บริรักษะก่อนใคร
   จึ่งควรคำนึงใน         คุณโลกมาตา
               จาก โลกะมาตา
   ของ ครูเทพ



      อาหารเป็นที่ตั้ง      เกิดแรง
   ปลูกพืชผักฟักแฟง      พึ่งน้ำ
   แว่นกล้องส่องสำแดง      อาโลภ
   แม่ย่อมเป็นที่ล้ำ         เลิศเลี้ยงบุตรตน
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร

      ใครรักย่อมว่าเพี้ยง   พงศ์พันธุ์
   ใครชอบชิดชมฉัน      เพื่อนไร้
   ใครเลี้ยงรักษาครรภ์      คือแม่  ตนนา
   ใครดับดำฤษณ์ได้      ชื่อชู้เมียสม
               จาก โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศร
      บวชนานเบื่อหน่ายน้ำ   ใจหวน  เหเฮย
   ปั่นปั่นคิดป่วนรวน      ราคเร้า
   จีวรเร่าร้อนจวน         จักพลุ่ง  โพลงนา
   ลาละสิกขาเข้า         เขตรบ้านบ่วงกาม
            โคลงสุภาษิตเจ้านาย
              พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)   

   ขอให้ท่านผู้อ่านของข้าพเจ้า  จงเป็นนักทำงาน  ขอให้เราสร้างชีวิต  สร้างอนาคตของเราด้วยการทำงาน  และขอให้การทำงานจงเป็นความผาสุก  เป็นความสนุก  และเป็นเกียรติ  ขอให้หนังสือที่กำลังอยู่ในมือของท่านนี้  จงเป็นเครื่องอุปกรณ์ให้ท่านประสบผลสำเร็จในการงานของท่าน
                  ของ หลวงวิจิตรวาทการ








            บรรณานุกรม

กรมพระปรมานุชิตชิโนรส,สมเด็จพระมหาสมณเจ้า.ลิลิตเตลงพ่าย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน, ๒๕๔๒
กรมศิลปากร. โคลงนิราศนรินทร์. กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรจริญทัศน์ จำกัด, ๒๕๔๕
กรมศิลปากร.โคลงพิพิธพากย์.พระนคร:โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก,๒๕๔๙
กรมศิลปากร.โคลงสุภาษิตเจ้านาย. พระนคร:ราชโสภณพิพรรฒธนากร,๒๔๖๓
กรมศิลปากร.ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา,๒๕๒๙
กรมศิลปากร. นารีเรืองนาม.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาดไทย กรมราชทัณฑ์ , ๒๔๙๘
กรมศิลปากร. นิราศทวาราวดี.กรุงเทพฯ :
กรมศิลปากร. นิราศพระแท่นดงรัง. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร,๒๕๐๔
กรมศิลปากร.ประชุมโคลงจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ .กรุงเทพฯ:
กรมศิลปากร. รวมนิทานสุภาษิตและบทเห่กล่อมของสุนทรภู่. กรุงเทพ : โรงพิมพ์หัตถศิลป์, ๒๕๒๙
กรมศิลปากร. รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟานฟลีต(วัน วลิต). กรุงเทพฯ: หจก.โชติวงศ์ ปริ๊นติ้ง,๒๕๔๖
กรมศิลปากร. ลิลิตพระลอ. กรุงเทพฯ : บุญส่งการพิมพ์,๒๕๐๒
กรมศิลปากร. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๓. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, ๒๕๓๑
ขุนวิจิตรมาตรา. สำนวนไทย เล่ม ๑-๒ . กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น, ๒๕๒๑
คณะกวีไทย.กวีแก้ว .กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด,๒๕๓๒
เจ้าพระยาพระคลัง(หน). วรรณคดีเจ้าพระยาพระคลัง (หน) .พระนคร: สำนักพิมพ์คลังวิทยา,๒๕๑๕
เดชาดิศร,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. ประชุมโคลงโลกนิติ. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิง หม่อมเจ้าสมรศรีโสภา, ๒๕๓๙
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จ.ลิลิตนิทราชาคริต. พระนคร : โรงพิมพ์คลังออมสิน, ๒๔๙๔
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย,พระบาทสมเด็จพระ.บทละครนอก พระราชนิพนธ์ในพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร,๒๕๔๕
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย,พระบาทสมเด็จ.บทละครเรื่องอิเหนา.กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๔๓
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จ. โคลงสุภาษิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๒๒
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จ. พระราชนิพนธ์ร้อยกรองร้อยเรื่อง.กรุงเทพฯ:บริษัทสยามธุรกิจและการตลาด จำกัด, ๒๕๒๔
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. มัทนะพาธา. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๐
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. เวนิสวานิช.กรุงเทพฯ: บริษัทไทยร่มเกล้าจำกัด,๒๕๒๙
พิทยาลงกรณ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่น. กนกนคร. พระนคร : รวมสาส์น, ๒๔๖๕
ราชบัณฑิตยสภา.พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕.กรุงเทพ ฯ:ราชบัณฑิตยสถาน,๒๕๒๕
หลวงวิจิตรวาทการ,พลตรี.วิจิตรวาทการอนุสรณ์ เล่ม ๑-๒ . พระนคร: รัชดารมภ์การพิมพ์และหล่อตัวพิมพ์,๒๕๐๕
อธึก   สวัสดีมงคล.กะลาปิดทอง.ชลบุรี:ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์กิตติวรรณ,๒๕๒๙
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: วันภาษาไทยแห่งชาติ-ใช้ให้ถูกต้อง
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: มกราคม 05, 2014, 08:59:40 am »
 โอวาท สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


          บุญเราไม่เคยสร้างใครที่ไหนจะมาช่วยเรา

          “ลูกเอ๋ย..........ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือ บารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญกุศลได้บารมีมาก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้ (สร้างความดี) แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง จงจำไว้นะ เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดคิดช่วยก็ไม่ได้ แต่ครั้นถึงเวลาทั่วฟ้าจรดดินอะไรก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”

---------------------------------------------------------

          “ความจริง พอกิน พอใช้ พออยู่ รู้พอ ย่อมสงบ มนุษย์หยุดนิ่งไซร้ความจริงย่อมเกิด ถ้าท่านยังไม่หยุด ท่านยังไม่มีโอกาสพบความจริง”
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)