ผู้เขียน หัวข้อ: โรคไต ภาวะไตวาย อาการและสัญญาณ  (อ่าน 6829 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
 
เมื่อพูดถึง โรคไต คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า คือ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งหมายถึง การสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างถาวร และถ้าเข้าสู่ ระยะสุดท้าย ก็ต้องได้รับการฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ไปได้ จริงๆ แล้ว โรคไต มีอยู่หลายชนิด แต่ก่อนที่เราจะรู้จักโรคไตนั้น ควรทำความรู้จักกับไตก่อน

ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง มี 2 ข้างอยู่บริเวณบั้นเอว หน้าที่สำคัญของไต คือ

  1. ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีนในอาหารออกจากร่างกาย
  2. รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรอและด่างของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  3. ควบคุมความดันโลหิต
  4. สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก

ไต เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนที่ต่อจากท่อไต (URETER) ซึ่งจะนำปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เข้าสู่ท่อปัสสาวะ (URETHRA) ในเพศชายจะมีต่อมลูกหมาก อยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ

โรคไตและระบบปัสสาวะ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. โรคที่เกิดจากการอักเสบ ในส่วนของไตที่มีหน้าที่กรอง (โกสเมอรูรัส - GLOMERULUS) หรือเกิดจากภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ กลุ่มอาการเนฟโฟติค (NEPHROTIC) และไตอักเสบ (NEPHRITIS)
  2. โรคที่เกิดจากความผิดปกติของไต ที่เป็นท่อเล็กๆ (TUBULE) และเซลล์ที่ผยุงไตให้เป็นรูปร่าง (INTERSTIJIUM) ซึ่งเราเรียกรวมๆ ว่า โรคของ TUBULO INTERSTITIUM โรคที่พบบ่อย คือ การตายของเนื้อเยื่อที่ท่อไต (ACUTETUBULAR NECROSIS) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของ ไตวายเฉียบพลัน
  3. โรคติดเชื้อ เช่น โรคติดเชื้อจากบคทีเรีย ของทางเดินปัสสาวะ
  4. โรคที่เกิดจากการอุดตันทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต, นิ่ว เป็ฯต้น
  5. โรคไตที่มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต
  6. เนื้องอกในไต
  7. โรคทางด้านร่างกาย ที่มีแนวโน้มจะทำให้ การทำงานของไตเสื่อมลง เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

ภาวะไตวายคือ ภาวะที่มีการสูญเสียการทำงานของไต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  1. ไตวายเฉียบพลัน โดยช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจะเป็นชั่วโมง หรือ เป็นวันทำให้เกิดการคั่งของ ของเสียทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และ การควบคุม ปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ถ้าไม่ได้รับการรัดษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะมีปริมาณปัสสาวะต่อวันน้อยกว่า 400 ซีซี สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน มีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติ ของการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยที่ช๊อกจากการติดเชื้อ, เสียเลือดจำนวนมาก หรือขาดน้ำอย่างรุนแรงจากท้องเสีย การใช้คำว่า "เฉียบพลัน" นอกจากบ่งถึง ช่วงเวลาระยะสั้นที่เกิดขึ้นแล้ว ยังบ่งถึงความเป็นไปได้ ที่ไตจะกลับสู่ภาวะปกติได้
  2. ไตวายเรื้อรัง คือการสูญเสียการทำงานของไต ที่เป็นไปอย่างช้าๆ และถาวร ช่วงเวลาอาจตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปีขึ้นไป จนในที่สุดเข้าสู่ภาวะสุดท้ายของไตวาย (END STAGE OF RENAL FAILURE) ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ต้องการการรักษา แบบทดแทน (เช่น ฟอกเลือด, เปลี่ยนไต) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้

อาการและสัญญาณบอกเหตุ ของผู้ป่วยโรคไต

  1. ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งอาจเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรืออาจมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
  2. มีโปรตีนหรือไขขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้ปัสสาวะที่ออกมามีฟองมาก และฟองไม่สลายตัวไปง่ายๆ (การมีฟองในปัสสาวะเล็กน้อยถือเป็นเรื่องปกติ)
  3. อาการบวมรอบๆ ตาและข้อเท้า
  4. อาการปวดหลัง จะปวดบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวที่ขาหนีบ และลูกอัณฑะ หากความเจ็บปวดเกิดขึ้น เหนือกระดูกหัวเหน่า แสดงว่า มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ และถ้าความเจ็บปวดเกิดขึ้น พร้อมกับอาการไข้และหนาวสั่น แสดงว่ามีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนบน คืแท่อไตและกรวยไต สิ่งที่ต้องคำนึงไว้ คือ อาการปวดหลัง ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับไตเสมอไป เนื่องจจากส่วนหลังของร่างกาย ยังมีกระดูกกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ความเป็นจริงที่พบคือ โรคไตส่วนใหญ่ที่พบ ก็ไม่ได้มีอาการปวดหลัง
  5. ปัสสาวะลำบาก สาเตุจากนิ่ว หรือต่อมลูกหมากโต
  6. อาการของไตวาย ผู้ป่วยที่ไตวายไม่มากนักจะไม่ปรากฎอาการให้เห็น แต่จะทราบโดยการเจาะเลือด ตรวจดูการทำงานของไต ที่สำคัญ คือ ระดับยูเรียไนโตรเจน (BLOOD UREA NITROGEN - BUN) และระดับเครียตินิน (SERUM CREATININE) เมื่อไตวายเป็นมากขึ้น ผู้ป่วยมีอาการที่เราเรียกว่า "กลุ่มอาการยูรีเมีย" ซึ่งเกิดจากการที่มีของเสียสะสมในร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติ ของการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวซีด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย คันไปทั้งตัว บวมที่ส่วนหน้าและส่วนขา ปัสสาวะบ่อยครั้งในเวลากลางคืน และเกิดหัวใจล้มเหลว

การล้างไต

ที่ใช้อยู่มี 2 วิธี คือ การล้างไตทางหน้าท้อง และการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม เนื่องจากการล้างไต เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะฉะนั้น กรณีผู้ป่วยยังไม่มีอาการทางยูรีเมีย เช่น ยังรู้สึกสบายดี ไม่เพลีย ไม่คลื่นไส้ สมรรถภาพหัวใจ ยังอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ และไม่มี ภาวะทุโภชนาการ แพทย์จึงดูแลแบบประคับประคองไปก่อน บางครั้งแพทย์ที่ดูแลจะใช้ผลเลือด เป็นเกณฑ์ในการแนะนำ ให้ผู้ป่วยเข้าโปรแกรมล้างไต คือ ค่าซีรัม BUN ควรจะเกิน 100 mg/d หรือค่าซีรัมเครียตินิน ควรเกิน 9 mg/d ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรมีกาอารยูรีเมียร่วมด้วย

ข้อบ่งชี้ที่แน่นอนและชัดเจนของผู้ป่วยที่ควรเริ่มทำการล้างไต

  1. ผู้ป่วยที่มีการทำงานของสมองผิดปกติ ซึมลง ไม่ค่อยรู้สึกตัว
  2. มีการอักเสบของเยื้อหุ้มปอด และเยื้อหุ้มหัวใจจากยูรีเมีย
  3. มีความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย เ่นมีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า แขนขาอ่อนแรง
  4. มีภาวะน้ำเกินหรือหัวใจล้มเหลวบ่อยๆ
  5. มีโพแทสเซียมในเลือดสูงบ่อย ๆ และไมาสามารถควบคุมได้ โดยการใช้ยา
  6. มีภาวะเป็นกรดในเลือด และไม่สามารถควบคุมโดยการให้ยารักษา
   
       
 ขอขอบพระคุณที่มาจาก: สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม - province.moph.go.th/nakhonpathom   
 
 http://www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-5.html

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
รู้จักไตวาย ก่อนจะสายไป
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 07:28:52 pm »
แต่โอกาสที่แต่ละคน จะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องรอไตจากผู้เสียชีวิต อันเนื่องมาจากสมองตายเท่านั้น และต้องรีบผ่าตัดภายในเวลาจำกัด ก่อนที่เซลล์ต่างๆ ของไตจะตายไป นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการขโมยไต

อาการแรกเริ่มไตวายเรื้อรัง

ไตเป็นอวัยวะที่มีขนาดกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของ รูปร่างคล้ายถั่วแดงอยู่ด้านหลังทั้ง 2 ข้างของลำตัว ในแนวระดับของกระดูกซี่โครงล่าง หรือเหนือระดับสะดือ มีหน้าที่ ขับถ่ายของเสีย อันเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน, ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ และควบคุมการทำงานของฮอร์โมน ดังนั้นหากไตมีความบกพร่อง หน้าที่การขจัดของเสีย และดูแลความสมดุลก็จะบกพร่องไปด้วย ซึ่งผู้ป่วยบางรายจะมีอาการบ่งชี้ แต่บางรายกว่าจะแสดงอาการก็อยู่ในระยะรุนแรงแล้ว

โรคไตมีอยู่ 8 ชนิด แต่ที่รุนแรงก็คือไตวายเรื้อรัง โดยอาการแรกที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ซึ่งขณะนั้นผู้ป่วยยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นไตวาย คือ อาการอ่อนเพลีย ซึมๆ มึนงง นอนไม่หลับ คันตามร่างกาย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ความรู้สึกรับรสของลิ้นเปลี่ยนไป น้ำหนักลด ชาปลายมือปลายเท้า รู้สึกหนาวง่าย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า ปวดศีรษะ เป็นต้น
แต่อาการเหล่านี้ยังไม่ใช่อาการเฉพาะของโรคไตเพราะอาจพบในโรคอื่นๆ ได้

อาการเตือนที่สำคัญ 6 อย่างที่ทำให้นึกถึงโรคไตคือ

  • การเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่นปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อยลง
  • มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะสะดุดหรือมีเศษนิ่วปนออกมา
  • ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อหรือปัสสาวะเป็นฟอง
  • การบวมของใบหน้า เท้า และท้อง
  • อาการปวดเอวหรือหลังด้านข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่อยู่กลางหลัง)
  • ความดันโลหิตสูง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีบางคนที่เป็นไตวาย แต่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ จึงต้องอาศัยการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม โรคไตวายเรื้อรัง มักเป็นผลแทรกซ้อนจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ จากการศึกษาพบว่ากว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูงและเบาหวาน นอกจากนี้ยังพบสาเหตุอื่นๆ อีก คือ เกาต์ เอสแอลอี ภาวะหัวใจวาย กรวยไตอักเสบเรื้อรัง รวมถึงการแพ้ยา

ควบคุมอาหารก่อนไตเสื่อมสภาพ

ในผู้ป่วยไตวายที่ยังสูญเสียสภาพไตไม่มาก จะต้องพยายามชะลอการเสื่อมของไตให้มากที่สุด ดังนี้

  • จำกัดอาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่รสเค็ม ทั้งเกลือ น้ำปลา ซอส หรือพวกดองเค็ม ดองเปรี้ยว หรือที่มีรสหวานจัด และจำกัดอาหารที่มีโปรตีนและโปแตสเซียม ได้แก่ พวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม พวกผัก หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่ว ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่นลูกเกด ลูกพรุน และกากน้ำตาล ช็อคโกแล็ต มะพร้าวขูด (คำว่าจำกัดหมายถึงให้กินแต่น้อย ประมาณ 20-25 กรัมต่อวัน)

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นไตวายขั้นรุนแรง จะต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวัน ให้เหมาะสมตามวิธีการคำนวณง่ายๆ คือ
ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร
 
  • รักษาด้วยยา เช่น ยาลดความดัน ยาจับฟอสฟอรัส หรือยารักษาความเป็นกรดในเลือด เป็นต้น
  • ไม่ทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาหักโหม อาบน้ำทุกวันโดยใช้สบู่อ่อน ทาผิวหนังด้วยน้ำมันหรือครีม เพื่อลดอาการผิวแห้งและคัน ตัดเล็บให้สั้น ทำความสะอาดปากและฟันบ่อยๆ เพื่อลดการติดเชื้อ

หากผู้ป่วยมีอาการถึงระยะสุดท้ายจะต้องล้างไต โดยการฟอกเลือดจากเครื่องไตเทียม หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต

กันดีกว่าแก้

การบริโภคอาหารตามแนวทางชีวจิต ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้เราห่างไกลโรคร้ายนี้ได้ รวมทั้งยังได้ความอร่อย และทำให้ภูมิชีวิตเราทำงานได้ดีขึ้นด้วย

การทานอาหารชีวจิตง่ายๆ ก็คือ ไม่กินแป้งที่ขัดขาว งดเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก ได้แก่ เนื้อ หมู ไก่ แล้วหันมาทานโปรตีนที่ได้จากพืช และทานผลไม้เป็นอาหารยามว่าง แทนที่จะเป็นขนมกรุบกรอบทั่วไป นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ คือ หมั่นออกกำลังกายและทำจิตใจให้สงบ แจ่มใส สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรจะตรวจปัสสาวะทุกปี เพื่อดูการทำงานของไตว่าปกติอยู่หรือไม่

 

 


นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 124   
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
สังเกตสัญญาณร้ายส่อโรคไต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 07:34:22 pm »
โรคไต คือโรคไม่ติดต่อชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารรสเค็ม และอาหารที่มีไขมันสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะคนที่ชอบกินขนมขบเคี้ยว (อุดมไปด้วยเกลือ) และอาหารจังค์ฟู้ด (เต็มไปด้วยไขมันเลว) จะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคไตเพิ่มขึ้น ซึ่งบางคนกว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้เห็นถึงอันตราย ของโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค (แต่เกิดจากพฤติกรรมการกิน) ชนิดนี้ จึงขอนำข้อมูลในการสังเกต สัญญาณอันตรายของโรคไตมาฝาก

สังเกตอย่างไร ไตผิดปกติ

โดยทั่วไปร่างกายจะแสดงอาการผิดปกติออกมา ก็ต่อเมื่อไตทำงานหนักมากแล้ว ซึ่งกว่าจะรู้ตัวและหาทางรักษาอาจสายเกินไป และอาการต่อไปนี้ คือ สัญญาณอันตรายที่เป็นข้อบ่งชี้ว่า คุณอาจเป็นโรคไต
     
อาการปัสสาวะผิดปกติ

เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะและไต ทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นที่ไต กระเพาะปัสสาวะจึงผิดปกติไปด้วย ซึ่งคุณหมอได้แนะวิธีสังเกตอาการผิดปกติของปัสสาวะไว้ดังนี้

  • ปัสสาวะขัด สำหรับผู้ที่มีอาการ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะขัด เจ็บ ต้องออกแรงเบ่ง ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะสะดุดกลางคัน เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่า อาจเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือเป็นนิ่วในไต ซึ่งมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยทั่วไป หากไม่ได้ดื่มน้ำก่อนเข้านอน เมื่อนอนหลับไปแล้ว 6 - 8 ชั่วโมง เรามักจะไม่ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึก ทั้งนี้เพราะกระเพาะปัสสาวะจะสามารถเก็บน้ำได้ถึง 250 ซี.ซี. แต่ในคนที่เป็นโรคไต ไตจะไม่สามารถหยุดการขับน้ำในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีน้ำออกมามากและปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ จึงมักจะตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางดึก 
  • ปัสสาวะเป็นฟองมาก ปกติเวลาที่เราปัสสาวะ จะมีโปรตีนไหลปนออกมาด้วย ซึ่งโปรตีนนี่เอง ที่ทำให้เกิดฟองสีขาวๆ หากใครปัสสาวะแล้วมีฟองสีขาวเหมือนฟองสบู่ ออกมามากกว่าที่เคยเป็น นั่นอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่า ไตของเราทำงานผิดปกติ เนื่องจากเส้นเลือดฝอยในไตเกิดการอักเสบ ซึ่งหากเกิดร่วมกับการปัสสาวะเป็นเลือด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นโรคไต ควรไปพบแพทย์โดยด่วน 
  • ปัสสาวะเป็นเลือด ปกติน้ำปัสสาวะของเราจะมีสีเหลืองใส หรืออาจจะมีสีเข้มขึ้นได้นิดหน่อยหากดื่มน้ำน้อย หรือจางลงได้เมื่อดื่มน้ำมาก แต่ถ้าหากปัสสาวะมีสีแดงคล้ายเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ หรือสีเหลืองเข้ม นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่ามีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ โดยอาจจะเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่วในไต เป็นไตอักเสบ หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น 

อาการบวม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตส่วนใหญ่ มักจะมีอาการบวมตามที่ต่างๆ ของร่างกาย เช่น อาการบวมรอบดวงตา และที่บริเวณหน้า ซึ่งอาจสังเกตได้เวลาตื่นนอน หรืออาการบวมที่เท้า สังเกตได้ในตอนช่วงบ่ายของทุกวัน หรือเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องยืนเป็นเวลานาน จะรู้สึกว่ารองเท้าที่สวมอยู่ดูคับขึ้น ทั้งนี้ หากใช้นิ้วกดไปตรงบริเวณที่บวม แล้วมีรอยบุ๋มลงไป ให้สันนิษฐานไว้เลยว่าเป็นโรคไต ควรไปพบแพทย์โดยด่วน
     
อาการปวด

พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดกระดูกและข้อ โดยจะมีลักษณะการปวด คือ รู้สึกปวดที่บั้นเอว หรือบริเวณชายโครงด้านหลัง และมักปวดร้าวไปถึงท้องน้อย ขาอ่อน หัวเหน่า และที่อวัยวะเพศ การปวดในบริเวณดังกล่าว อาจเกิดจากมีการอุดตันที่ท่อไต กรวยไตอักเสบ หรือในท่อไตมีถุงน้ำโป่งพอง 

ความดันโลหิตสูง

เป็นอาการสำคัญอย่างหนึ่งที่บอกให้รู้ว่า คุณมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะคนที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงมานาน และไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะที่สมดุล จะยิ่งมีภาวะเสี่ยงมากกว่าปกติ โดยอาจจะเป็นโรคไตเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดแดงในไตตีบได้

เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคไต ทำยังไงดี

โรคชนิดนี้เกิดจากพฤติกรรมการกินเป็นสำคัญ ดังนั้น หากไม่อยากเป็นโรคไต ควรหันมาใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน โดยพยายามงดอาหารที่มีรสเค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูงอย่างเด็ดขาด สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองเป็นโรคไต หากมีอาการผิดปกติในข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น ไม่ควรนิ่งนอนใจให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะโรคไตบางชนิด เช่น นิ่วในไต กรวยไตอักเสบ รักษาได้ หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

 

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 222
   
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
อาการของโรคไต ใครเป็นควรระวัง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 07:45:42 pm »
โรคไต กินไม่เลือก ตายสถานเดียว
โรคไต เป็นอีกโรคหนึ่งที่นอกจากจะสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นโรคที่ต้องบอกว่า ใช้ “ทุนทรัพย์” ในการรักษาที่เอาการทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ร่างกายเข้าสู่จุดที่ต้องทำการฟอกไต
ดังนั้น ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ก็ควรจะทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถป้องกันได้ด้วยการระมัดระวังในการบริโภค
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องล้างไตเทียมไปเรียบร้อยแล้ว ก็มีความจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพของตนเองไปพร้อมๆ กันด้วย กล่าวคือต้องเลือกรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์และหลีกเลี่ยงอาหารที่จะให้โทษ เพราะนอกจากจะไปทำอันตรายต่อไตมากขึ้นแล้ว ยังจะทำให้เกิดภาวะอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะหัวใจวาย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
พ.ท.น.พ.อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า อาหารที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารที่มีรสเค็ม เพราะจะส่งผลต่อความดันโลหิตสูง หัวใจโตและน้ำท่วมปอด นอกจากนี้ ก็รวมไปถึงอาหารที่ฟอสเฟสมากเพราะจะทำให้กระดูกบาง ผุและหักง่าย ต่อมไทรอยด์จะโต ส่วนอาหารที่มีโปแตสเซียมก็ต้องเลี่ยงเช่นกัน เนื่องจากทำให้หัวใจเต้นเร็วและอาจเกิดภาวะหัวใจวายตามมา

ด้าน รศ.วลัย อินพรัมพรรย์ ที่ปรึกษาโภชนบำบัด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องล้างไตเทียม ล้างไตผ่านทางช่องท้อง จะสูญเสียสารอาหารมากมาย อาทิ โปรตีน เกลือแร่ ดังนั้น จำต้องรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่คือโปรตีน(เนื้อสัตว์) คาร์โบไฮเดรต(แป้ง) ไขมัน เกลือแร่(ผักและผลไม้) และวิตามิน

อย่างไรก็ตาม ในการรับประทานเนื้อสัตว์จะต้องเลือกชนิดที่ไม่ติดมันและติดหนัง ไข่ควรรับประทานแต่ไข่ขาว เพราะไข่แดงจะมีโคเลสเตอรอล โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส ส่วนนมและเนยแข็ง รวมทั้งอาหารจำพวกถั่วต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วแดง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ รวมทั้งขนมเปี๊ยะ กระยาสารทก็ต้องละเว้น เนื่องจากมีฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูง ซึ่งผู้ป่วยที่ฟอกเลือดจะมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายฟอสฟอรัส

ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานข้าวรวมถึงอาหารจำพวกก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น เพราะนอกจากจะมีคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีโปรตีนที่เหมาะสมกับร่างกาย กระนั้นก็ดีข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องก็ไม่เหมาะกับผู้ป่วยเนื่องจากมีฟอสฟอรัสมาก

“ขนมประเภททองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ไอศกรีม พวกนี้ทำจากไข่แดง มีสารฟอสเฟสมาก ควรระมัดระวังในการรับประทาน ขนมหวานที่ผู้ป่วยรับประทานได้จะต้องไม่หวานมากนัก เช่น ขนมน้ำดอกไม้ ขนมมัน ขนมถ้วยฟู สาคูเปียก เพราะจะช่วยให้เกิดพลังงาน สำหรับผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้อง ควรเลี่ยงพวกขนมหวานจัด เพราะยาล้างไตทางช่องท้องจะมีกลูโคสสูง จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงและพบปัญหาเรื่องหลอดเลือดหัวใจ”

“ผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลืองเข้ม เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บล็อคเคอรี่ ดอกกะหล่ำ ใบคะน้า คึ่นฉ่าย มะเขือเทศ แครอท จะมีโปแตสสูง ควรหลีกเลี่ยง กลุ่มที่รับประทานได้ เช่น แตงกวา น้ำเต้า บวบ ฟักเขียว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักกาด ส่วนผักที่ไม่ควรรับประทานก็เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลูกพรุน ลูกพลับ ขนุน ผลไม้แห้ง มะขามหวาน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ ช็อกโกแลต โคล่า ซึ่งมีทั้งโปแตสเซียมและฟอสฟอรัส”

“อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ หมูหยอง หมูแผ่น นอกจากจะมีโคเลสเตอรอลแล้ว ยังมีโปแตสเซียมและโซเดียมสูง ควรยกเว้น อาหารสำเร็จรูปทุกประเภท บะหมี่ โจ๊ก มีโซเดียมสูง มีรสเค็มจัดไม่ควรรับประทานอย่างยิ่ง เพราะนอกจากร่างกายจะบวมแล้ว ยังส่งผลถึงความดันสูงอีกด้วย”รศ.วลัยแนะนำ

และปิดท้ายกันที่ ดร.ชนิดา ปโชติกาล แห่งภาควิชาคหกรรมศษสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ที่แนะนำว่า การที่ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการฟอกเลือดด้วยเครื่องล้างไตเทียมหรือล้างไตผ่านทางช่องท้องจะต้องรับการตรวจเลือดก่อนว่า มีสารประเภทใดในเลือดที่สูงมาก เมื่อทราบแล้วก็ไปปรึกษานักกำหนดอาหาร ซึ่งจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้และคำปรึกษาเกี่ยวกับโภชนาการให้เป็นไปตามที่แพทย์กำหนด เมื่อผู้ป่วยได้บริโภคอาหารถูกต้องเหมาะสมกับภาวะที่ร่างกายอยู่ระหว่างการฟอกเลือด ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ที่สำคัญช่วยยึดอายุให้ยืนยาวมากขึ้น...

ขอขอบพระคุณที่มาhttp://www.plantinthecrudefrom.is.in.th/?md=content&ma=show&id=1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 18, 2011, 07:54:29 pm โดย lek »

ออฟไลน์ สายลมที่หวังดี

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 840
  • พลังกัลยาณมิตร 319
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคไต ภาวะไตวาย อาการและสัญญาณ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 18, 2011, 08:25:09 pm »
ขอบคุณค่ะคุณเล็ก :46:

ออฟไลน์ bevayou

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 5
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
Re: โรคไต ภาวะไตวาย อาการและสัญญาณ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 27, 2011, 11:22:10 am »
ขอบคุณครับ
เราคือตัวจริงด้าน เครื่องกรองน้ํา เครื่องบรรจุน้ําดื่ม ตู้น้ําดื่ม ให้เราดูแลคุณ โทร: 02-171-5272