buddha037ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน
ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว พระพุทธเจ้าประทาน
โอวาทพระสงฆ์ โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย มีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องหนึ่งเกี่ยว
กับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่ คือ คำว่า 'อาวุโส' และ 'ภันเต' อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า
'คุณ' และภัตเตว่า 'ท่าน'
พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน หรือที่อ่อนอายุ
พรรษากว่าว่า 'อาวุโส' หรือ 'คุณ' ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า
'ภันเต' หรือ 'ท่าน'
ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถาม ว่าท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์
ทรงสั่งสอนไว้แล้วก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม
ปรากฏตามท้องเรื่องใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าใน
ข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย
เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่ง
เป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์
องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ชัดเจนก่อนจะนิพพานว่า
"เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จำนงจะถอนขุททานุขุททกสิกขาบท*** ก็จงถอนเถิด" ตรัสบอกพระอานนท์ว่า "
ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ
บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป
แล้ว"
ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า "
ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน
พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น
ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๖ หรือวันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง
วันที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7831 ข่าวสดรายวัน
คำนวณ ชานันโท สุดยอดพุทธจิตรกร
คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com
ขอทราบประวัติ อ.คำนวณ ผู้เขียนภาพพุทธประวัติ ตอนนี้ท่านยังมีชีวิตอยู่ไหม ขอทราบด้วยนะคะ
supawadee
ตอบ supawadee
ครูคำนวณ ชานันโท ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม พุทธศักราช 2540 สาขาทัศนศิลป์ (ภาพประกอบหนังสือ) ปัจจุบันท่านอายุ 80 ปี เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2475 ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้ชอบการวาดเขียนมาแต่เด็ก เมื่อมีการประกวดหรือแข่งขันงานศิลปะในท้องถิ่น ท่านก็มักจะได้รับรางวัลอยู่เสมอ
ต่อมาเมื่อได้รับทุนจากกระทรวงศึกษาธิการเข้าเรียนที่โรงเรียนเพาะช่าง ทำให้ท่านได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาศิลปะจากครูอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะวิชาโดยตรง เช่น เรียนวิชาทางสุนทรียศาสตร์กับ อาจารย์จิตร บัวบุศย์ เรียนการเขียนภาพสีน้ำมันจาก อาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ เรียนวาดเขียนกับอาจารย์แนบ บังคม และ อาจารย์พูน เกษจำรัส เป็นต้น
ครูคำนวณมีความประทับใจในการเขียนภาพประกอบของ ครูเหม เวชกร และอาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ เป็นพิเศษ จึงได้ฝึกฝนการเขียนภาพประ กอบโดยมีผลงานของทั้งสองท่านเป็นแบบอย่างจนมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
ท่านได้ใช้ความรู้ด้านการเขียนภาพทำงานให้กับหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนจำนวนมาก และในสมัยที่ท่านไปทำงานกับองค์การยูเสด (USAID) ท่านก็ได้ทำหน้าที่เขียนภาพประกอบลงในแบบเรียนวิชาต่างๆ ให้กับกระทรวงศึกษาธิการลาวด้วย และต่อมาก็ยังได้เขียนภาพประกอบให้กับนิตยสารหลายเล่ม รวมถึงเขียนภาพประกอบให้แก่นักประพันธ์ดังๆ หลายคน เช่น รพีพร กฤษณา อโศกสิน ลมูล อติพยัคฆ์ และทมยันตี เป็นต้น
ผลงานที่โดดเด่นคือ การเขียนภาพวิจิตรชุดพุทธประวัติ ภาพประกอบคำอธิบายธรรมของท่านพุทธทาส และท่านปัญญานันทภิกขุ
ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ครูคำนวณได้ทำงานช่าง ท่านได้ผลิตผลงานออกมามากมายจนยากจะจดจำได้หมด และท่านยังมีอุปกรณ์และสรรพตำราไว้ค้นคว้าหาข้อมูล ทำให้ผลงานของท่านมีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นเอกสารอ้างอิงในทางวิชาการได้แทบทุกเรื่อง ชื่อของครูได้รับการกล่าวขวัญว่า ปรมาจารย์คำนวณ ชานันโท หรือ คำนวน ชานันโท สุดยอดพุทธจิตรกร
ผลงานของครูเป็นที่ประจักษ์ในคุณค่า นอกจากได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมแล้ว ครูยังได้รับรางวัลศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมแนวประเพณี) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ครูบอกว่า ภาพพระพุทธเจ้าประสูติ เป็นภาพสุดท้ายที่ครูเขียน ก่อนที่ครูจะป่วยเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้ปัจจุบันไม่สามารถเขียนภาพได้ เพราะไม่มีแรง และความจำบางส่วนจะหายไป กอปรกับอายุที่มากขึ้น ทุกวันนี้ครูใช้ชีวิตที่เรียบง่ายในบั้นปลายกับลูกชายและภรรยา
ครูยังเล่าอีกว่า น้ำท่วมกรุงเทพฯ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา บ้านครูก็เป็นหนึ่งในเขตที่ท่วมเช่นกัน คือแถววัดดุสิตาราม บางกอกน้อย โดยน้ำท่วมสูงกว่าครึ่งเมตร แต่ตอนนี้ครูล้างบ้านและทาสีใหม่แล้ว
Copyright © by Matichon Public Co.,Ltd. All Rights Reserved.