ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะของสติ : พระธรรมดิลก(วิชมัย)  (อ่าน 1556 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ธรรมมีอุปการะมาก  มี  ๒  อย่าง  คือ
        ๑.  สติ  ความระลึกได้
        ๒.  สัมปชัญญะ  ความรู้ตัว

ลักษณะของสติ

        ๑.  ระลึกได้          ๒.  ยึดและถือไว้

สติเกิดขึ้นได้อย่างไร 
        อาการที่จะทำให้สติเกิดขึ้นได้นั้นมี  ๖  อย่าง
                ๑.  ด้วยการเตือน
                ๒.  ด้วยการสังเกต
                ๓.  ด้วยการนับ
                ๔.  ด้วยการจดจำ
               ๕.  ด้วยการทำเครื่องหมาย
                ๖.  ด้วยการภาวนา  (ทำสิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้น  ไม่อยู่นิ่งเฉย)

สติมี  ๒  ประเภท  คือ
                ๑.  ระลึกได้ในทางดี  เรียกว่า  สัมมาสติ
                ๒.  ระลึกได้ในทางชั่ว  เรียกว่า  มิจฉาสติ

หน้าที่ของสติมี  ๗  ประการ
                ๑.  ทำหน้าที่เป็นอุปการธรรม
                ๒.  ทำหน้าที่เป็นที่พึ่ง
                ๓.  ทำหน้าที่เป็นกำลัง
                ๔.  ทำหน้าที่เป็นอินทรีย์  คือความเป็นใหญ่ในการรู้เห็น
                ๕.  ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนด
                ๖.  ทำหน้าที่เป็นโพชฌงค์องค์แห่งความรู้
                ๗.  ทำหน้าที่เป็นองค์มรรค
                สติเปรียบเหมือนดวงไฟ
                สัมปชัญญะเปรียบเหมือนแสงของดวงไฟ

                สติ  ระลึกได้  ในเรื่องที่คิด  ในกิจที่ทำ  ในคำที่พูด 
                สัมปชัญญะ รู้ตัวว่า  กำลังคิด  กำลังทำ  กำลังพูด

                สติ เป็นไปทั้ง  ๓  กาล  คือ อดีต  ปัจจุบัน และ อนาคต
                สัมปชัญญะ  เป็นเฉพาะปัจจุบัน

สัมปชัญญะมี ๔  คือ
                ๑.  ความรู้ตัวในสิ่งที่เป็นประโยชน์
                ๒.  ความรู้ตัวในสิ่งที่พอเหมาะ
                ๓.  ความรู้ในสิ่งที่ควร
                ๔.  ความรู้ว่าไม่ลุ่มหลงไม่งมงาย

        สติสัมปชัญญะ  ธรรมะทั้ง ๒  นี้  เป็นธรรมะสำหรับชีวิตประจำวันเป็นอุปการธรรม  ทำให้คนเราทำงานตามหน้าที่  เป็นผู้ตื่น  ไม่มัวเมาประมาท  เป็นที่พึ่งได้ทั้งทางโลกและทางธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในทางปฏิบัติธรรมนั้น  จะขาดสติสัมปชัญญะมิได้

สาเหตุที่ทำให้คนเราขาดสติ
                ๑.  มัวเมาในวัยว่ายังเป็นเด็ก  เป็นหนุ่มสาว  ยังไม่แก่เป็นต้น
                ๒.  เมาในความไม่มีโรค  ไม่เจ็บไข้
                ๓.  เมาในชีวิต  คือ  เมาในลาภ  ยศ  สรรเสริญ สุข

จากหนังสือ อธิบายธรรมในนวโกวาท
หัวข้อสอนธรรมะ สำหรับนวกภิกขุ  วัดบวรนิเวศวิหาร
โดย พระธรรมดิลก   (วิชมัย)
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่  ๒๕ - ธันวาคม - ๒๕๑๖ 

ผู้บันทึก
สุชาโต  ภิกฺขุ  (สุชาติ  ไกรฤกษ์)
นวกะปี  ๒๕๑๖



http://www.watphaidam.com/dm/navakowatsay.htm#%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 29, 2011, 10:03:53 am โดย ฐิตา »