แสงธรรมนำใจ > ดอกบัวโพธิสัตว์
ภาพวาดพุทธประวัติ โดย อ.คำนวน ชานันโท สุดยอด พุทธจิตรกร
ฐิตา:
buddha036
ทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชกให้สำเร็จมรรคผล นับเป็นปัจฉิมเวไนย
พระอานนท์สร่างจากความเสียใจถึงร้องไห้แล้ว ท่านก็เข้าไปแจ้งข่าวในเมืองตามพระดำรัส
รับสั่งของพระพุทธเจ้า เพื่อรายงานให้เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทราบว่า พระพุทธเจ้าจะนิพพาน
ในตอนสิ้นสุดแห่งราตรีวันนี้แล้ว แจ้งว่าใครจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ให้รีบไปเฝ้าเสียแต่ในขณะนี้ จะได้ไม่
เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่ได้เฝ้า
พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ที่กำลังประชุมกันอยู่ในเมือง ด้วยเรื่องพระพุทธเจ้านิพพานต่างก็ถือ
เครื่องสักการะมาเฝ้าพระพุทธเจ้ากันเนืองแน่นที่สุด แต่ละคนน้ำตานองหน้า ร่ำไห้รำพันต่างๆ นานา เมื่อ
ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพาน
ในจำนวนคนที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งนี้ มีปริพาชกคนหนึ่งนามว่า 'สุภัททะปริพาชก' คือ
นักบวชนอกศาสนาพุทธพวกหนึ่ง
สุภัททะปริพาชกเข้าหาพระอานนท์ ภายหลังเจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราได้เข้าเฝ้าแล้ว
บอกว่าใคร่จะขออนุญาตเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อทูลถามปัญหาบางอย่างซึ่งข้องใจมานาน พระอานนท์
ปฏิเสธปริพาชกผู้นี้ว่าอย่าเลย อย่าได้รบกวนพระพุทธเจ้าเลย เพราะตอนนี้กำลังจะนิพพาน
ขณะนั้น พระพุทธเจ้าซึ่งทรงได้ยินการโต้ตอบกันระหว่างพระอานนท์กับสุภัททะปริพาชก
จึงตรัสบอกพระอานนท์ว่าพระองค์ทรงอนุญาตให้สุภัททะปริพาชกเข้าเฝ้าได้ เมื่อสุภัททะปริพาชกได้
โอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงทูลถามปัญหาที่ข้องใจมานาน ปัญหาข้อหนึ่งว่าสมณะผู้ได้บรรลุมรรคผลใน
ศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนามีหรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่มี แล้วทรงแสดงธรรมให้ปริพาชก
ฟังโดยละเอียด
สุภัททะปริพาชกฟังแล้วเสื่อมใส ทูลขอบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
ตรัสว่านักบวชในศาสนาอื่นจะมาขอบวชเป็นพระภิกษุในศาสนาของพระองค์นั้น จะต้องอยู่ปริวาสครบ ๔
เดือนก่อนจึงจะบวชได้ สุภัททะปริพาชกกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าอย่าว่าแต่ ๔ เดือนเลย จะให้อยู่ถึง ๔ ปี
ก็ยอม
พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ ให้พระสงฆ์จัดการบวชให้สุภัททะปริพาชกใน
คืนวันนั้น สุภัททะปริพาชกจึงนับเป็นสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า
ฐิตา:
buddha037
ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน
ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว พระพุทธเจ้าประทาน
โอวาทพระสงฆ์ โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย มีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องหนึ่งเกี่ยว
กับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่ คือ คำว่า 'อาวุโส' และ 'ภันเต' อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า
'คุณ' และภัตเตว่า 'ท่าน'
พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน หรือที่อ่อนอายุ
พรรษากว่าว่า 'อาวุโส' หรือ 'คุณ' ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า
'ภันเต' หรือ 'ท่าน'
ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถาม ว่าท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์
ทรงสั่งสอนไว้แล้วก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม
ปรากฏตามท้องเรื่องใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าใน
ข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย
เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่ง
เป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์
องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ชัดเจนก่อนจะนิพพานว่า
"เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จำนงจะถอนขุททานุขุททกสิกขาบท*** ก็จงถอนเถิด"
ตรัสบอกพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ
บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป
แล้ว"
ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า "ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน
พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น
ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๖ หรือวันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง
นำมาแบ่งปันโดย : nazha
:http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?PHPSESSID=873d03cfce14c8a559956031d2d53cd5&topic=74901.0
Credit by : http://www.palungdham.com/gallery/main.php?g2_itemId=85278
ขอบคุณ คุณพสิษฐ์ ที่ช่วยปรับลดขนาดภาพให้นะคะ
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
วันที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7831 ข่าวสดรายวัน
คำนวณ ชานันโท สุดยอดพุทธจิตรกร
คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com
ขอทราบประวัติ อ.คำนวณ ผู้เขียนภาพพุทธประวัติ ตอนนี้ท่านยังมีชีวิตอยู่ไหม ขอทราบด้วยนะคะ
supawadee
ตอบ supawadee
ครูคำนวณ ชานันโท ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม พุทธศักราช 2540 สาขาทัศนศิลป์ (ภาพประกอบหนังสือ) ปัจจุบันท่านอายุ 80 ปี เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2475 ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้ชอบการวาดเขียนมาแต่เด็ก เมื่อมีการประกวดหรือแข่งขันงานศิลปะในท้องถิ่น ท่านก็มักจะได้รับรางวัลอยู่เสมอ
ต่อมาเมื่อได้รับทุนจากกระทรวงศึกษาธิการเข้าเรียนที่โรงเรียนเพาะช่าง ทำให้ท่านได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชาศิลปะจากครูอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะวิชาโดยตรง เช่น เรียนวิชาทางสุนทรียศาสตร์กับ อาจารย์จิตร บัวบุศย์ เรียนการเขียนภาพสีน้ำมันจาก อาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ เรียนวาดเขียนกับอาจารย์แนบ บังคม และ อาจารย์พูน เกษจำรัส เป็นต้น
ครูคำนวณมีความประทับใจในการเขียนภาพประกอบของ ครูเหม เวชกร และอาจารย์เฉลิม นาคีรักษ์ เป็นพิเศษ จึงได้ฝึกฝนการเขียนภาพประ กอบโดยมีผลงานของทั้งสองท่านเป็นแบบอย่างจนมีฝีมือและชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
ท่านได้ใช้ความรู้ด้านการเขียนภาพทำงานให้กับหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนจำนวนมาก และในสมัยที่ท่านไปทำงานกับองค์การยูเสด (USAID) ท่านก็ได้ทำหน้าที่เขียนภาพประกอบลงในแบบเรียนวิชาต่างๆ ให้กับกระทรวงศึกษาธิการลาวด้วย และต่อมาก็ยังได้เขียนภาพประกอบให้กับนิตยสารหลายเล่ม รวมถึงเขียนภาพประกอบให้แก่นักประพันธ์ดังๆ หลายคน เช่น รพีพร กฤษณา อโศกสิน ลมูล อติพยัคฆ์ และทมยันตี เป็นต้น
ผลงานที่โดดเด่นคือ การเขียนภาพวิจิตรชุดพุทธประวัติ ภาพประกอบคำอธิบายธรรมของท่านพุทธทาส และท่านปัญญานันทภิกขุ
ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ครูคำนวณได้ทำงานช่าง ท่านได้ผลิตผลงานออกมามากมายจนยากจะจดจำได้หมด และท่านยังมีอุปกรณ์และสรรพตำราไว้ค้นคว้าหาข้อมูล ทำให้ผลงานของท่านมีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นเอกสารอ้างอิงในทางวิชาการได้แทบทุกเรื่อง ชื่อของครูได้รับการกล่าวขวัญว่า ปรมาจารย์คำนวณ ชานันโท หรือ คำนวน ชานันโท สุดยอดพุทธจิตรกร
ผลงานของครูเป็นที่ประจักษ์ในคุณค่า นอกจากได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมแล้ว ครูยังได้รับรางวัลศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมแนวประเพณี) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ครูบอกว่า ภาพพระพุทธเจ้าประสูติ เป็นภาพสุดท้ายที่ครูเขียน ก่อนที่ครูจะป่วยเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้ปัจจุบันไม่สามารถเขียนภาพได้ เพราะไม่มีแรง และความจำบางส่วนจะหายไป กอปรกับอายุที่มากขึ้น ทุกวันนี้ครูใช้ชีวิตที่เรียบง่ายในบั้นปลายกับลูกชายและภรรยา
ครูยังเล่าอีกว่า น้ำท่วมกรุงเทพฯ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา บ้านครูก็เป็นหนึ่งในเขตที่ท่วมเช่นกัน คือแถววัดดุสิตาราม บางกอกน้อย โดยน้ำท่วมสูงกว่าครึ่งเมตร แต่ตอนนี้ครูล้างบ้านและทาสีใหม่แล้ว
Copyright © by Matichon Public Co.,Ltd. All Rights Reserved.
ฐิตา:
มิลินทปัญหา
เมณฑกปัญหา วรรคที่ ๒
ปัญหาที่ ๑ ถามเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงธรรมอันไม่ควรรู้ยิ่ง "
ดังนี้ แต่ต่อมาได้ตรัสไว้ในพระวินัยบัญญัติว่า
" ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราล่วงไปแล้ว สงฆ์จำนงถอนขุททานุขุททกสิกขาบท*** ก็ถอนเถิด "
ดังนี้ จึงขอถามว่า พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขุททานุขุททกสิกขาบทนั้น ทรงบัญญัติไว้ไม่ดีหรือ หรือว่าทรงบัญญัติไว้ในเวลายังไม่มีเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงอนุญาตให้ถอนขุททานุขุททกสิกขาบท ในเมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว
ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระตถาคตเจ้าทรงแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่ง การโปรดให้ถอนสิกขาบทก็ผิดไป ถ้าการโปรดให้ถอนสิกขาบทเป็นการถูก การที่ว่าแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่งผิดไป ปัญหาข้อนี้เป็นอุภโตโกฏิ เป็นปัญหาอันสุขุมละเอียด ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงความกว้างขวางแห่งกำลังญาณ เหมือนกับมังกรที่อยู่ในท้องสาครฉะนั้นเถิด "
พระนาคเสนถวายพระพรว่า
" มหาราชะ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เราแสดงธรรมอันควรรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงธรรมอันไม่ควรรู้ยิ่ง ดังนี้จริงและตรัสไว้อีกในพระวินัยบัญญัติว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จำนงจะถอนขุททานุขุททกสิกขาบท ก็จงถอนเถิด ดังนี้ก็จริง เป็นอันว่าจริงทั้งสองคำ ขอถวายพระพร เมื่อพระตถาคตเจ้าจะทรงทดลองภิกษุทั้งหลายว่า สาวกของเราจักเลิกถอนขุททานุขุททกสิกขาบทที่เราอนุญาตไว้ หรือจักยึดมั่นไว้ ดังนี้ จึงได้ตรัสไว้อย่างนั้น มหาราชะ เหมือนอย่างว่า พระเจ้าจักรพรรดิตรัสแก่พระราชโอรสว่า
" ลูกเอ๋ย...บ้านเมืองอันกว้างขวางนี้ มีมหาสมุทรเป็นที่สุดในทิศทั้งปวง เป็นของปกครองยาก เมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว จงสละปัจจัตประเทศตามความประสงค์เถิด "
พระราชกุมารเหล่านั้น จะยอมสละปัจจัตประเทศ อันตกอยู่ในเงื้อมมือของตน ตามพระดำรัสสั่งของพระราชบิดาหรือไม่ ? "
" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระราชกุมารเหล่านั้น มีแต่อยากจะหาเพิ่มขึ้นอีกถึงสองเท่า ด้วยความโลภ จะสละทิ้งบ้านเมืองที่อยู่ในเงื้อมมือของตนแล้วได้อย่างไร "
" ขอถวายพระพร ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละพระพุทธบุตรทั้งหลาย ก็มีแต่จะเพิ่มสิกขาบทอื่นเข้าไปอีก ด้วยความโลภในธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ อย่าว่าแต่สิกขาบทอื่นที่ทรงบัญญัติไว้แล้วเลย "
" ข้าแต่พระนาคเสน ขุททานุขุททกสิกขาบทนั้น ได้แก่อะไร ? "
" ขอถวายพระพร ขุททกสิกขาบท ได้แก่ ทุกกฎฯ อนุขุททกสิกขาบท ๆ ได้แก่ ทุพภาษิตฯ ขุททานุขุททกสิกขาบททั้งสองนี้เมื่อก่อนพระอรหันต์ทั้งหลายเกิดความสงสัย ท่านจึงได้รวมเข้าไว้เป็นอันเดียวกับสิกขาบทอื่น ๆ ด้วย ธรรมสังคีตปริยาย เพราะเห็นว่าปัญหานั้นสมเด็จพระภควันต์ได้เข้าไปเห็นแล้ว "
" ข้าแต่พระนาคเสน ข้อลี้ลับของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เก็บไว้นานแล้ว ได้เปิดให้ปรากฏขึ้นในโลกวันนี้แล้ว "
สายลมที่หวังดี:
อนุโมทนาสาธุค่ะ ขอบคุณพี่แป๋มที่นำมาแบ่งปันด้วยนะค่ะ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version