คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา
ธรรมะเสวนา สไตล์ my-way
ต๊ะติ้งโหน่ง:
:24:เก็บมาจากสมาชิกเฝ้าระวัง ในลานธรรมจักร
ที่ถูกแบนด้วย ข้อหา เก่งเกินไป เตือนแล้วไม่ฟัง
eragon_joe เขียน:
สัจจะอันเป็น สมมติ คืออะไร
ความจริง คือ สัญญา
หรือ ความจริง คือรู้
รู้ ประหนึ่ง ฟางเส้นสุดท้ายที่เราถือไว้ในมือ ที่เราเห็นได้ว่ายังคงปรากฎอยู่
เมื่อฟางเส้นสุดท้ายพ้นไปจากการเกาะกุม ...
ตราบเท่าที่ขันธ์ห้ายังอยู่ การประคองความพร้อมไว้ เป็นสิ่งเดียวที่ผู้รู้ย่อมรู้ดี
ว่าเป็นยิ่งกว่าการจ้องตางูเห่าที่อยู่ตรงหน้าที่มันพร้อมจะฉกเราในทุกเวลา
เพราะ โอกาสของเรา มีเพียงเท่าที่มี
เป็นคำเปรียบเปรยของนักสู้ท่านหนึ่งที่ได้รู้จัก
ท่านบอกว่า
ที่สุดของทุกข์นั้น
แง่หนึ่ง คือผู้ที่มองเห็นความสุขอันเป็นนิรันดร์
แง่หนึ่ง คือ ที่สุดแห่ง รู้
และเราก็เป็นได้แค่สิ่งที่เรารู้
จิตส่งออกนอก เป็นสมุทัย
เพราะทันทีที่มันส่งออก มันจะไปรู้ มันจะไปเป็น
เป็นอะไร ก็เป็นไปตามขันธ์ห้า เป็นไปมากกว่านั้นไม่ได้
เป็นรูปบ้าง เป็นเวทนาบ้าง เป็นสัญญาบ้าง เป็นสังขารบ้าง เป็นวิญญาณบ้าง
ที่เห็นเป็นไปได้มากกว่านั้น ก็เพราะ อุปทาน
...
my-way ตอบ:
หมายความว่า
ยังไม่รู้สัจจะ แห่งขันธ์ห้า เลยต้องเอาขันธ์ห้า มาประคองขันธ์ห้า
แล้วเมื่อไร จะพ้นการอิงอาศัยได้หละครับ
ต๊ะติ้งโหน่ง:
ปล่อยรู้ เขียน:
พระพุทธศาสนา บอกว่า สรรพสิ่งใดๆทั้งหลายที่มีการเกิดขึ้น
ล้วนอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดมีขึ้นมาทั้งสิ้น
ไม่มีสรรพสิ่งใดๆที่เกิดขึ้นเองได้ โดยไม่อาศัยเหตุปัจจัย
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
จิต หรือวิญญาณ หรือมโน หรือ จิตผู้รู้
ล้วนมีลักษณะเดียวกันทั้งสิ้น
นั้นก็คือ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
จิตหรือวิญญาณหรือมโนหรือจิตผู้รู้ พระพุทธศาสนาบอกว่า
จำต้องอาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งในการเกิดปรากฏ นั่นก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
หากปราศจากเสียซึ่ง รูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร เสียแล้ว
จิต หรือวิญญาณ หรือมโน หรือจิตผู้รู้ ก็ไม่มีฐานะที่จะปรากฏเกิดขึ้นมาได้แต่อย่างใดเลย
ด้วยธรรมชาติของสิ่งที่เรียกว่าจิต หรือวิญาณ หรือมโน หรือจิตผู้รู้ ก็ดี คือการรู้ คือการรับรู้ คือการเข้าไปรู้
หากปราศจากสิ่งที่ให้รู้ สิ่งที่ให้เข้าไปรู้ เสียแล้ว
จิตหรือวิญญาณ หรือมโนหรือจิตผู้รู้ ก็ไม่อาจที่จะเกิดมีขึ้นมาได้แต่อย่างใด.
เพราะความเบื่อหน่ายจางคลาย ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในจิตในวิญาณ
จึงเป็นเหตุให้เกิดความไม่ยึดมั่นถือมั่น ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่น ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
จึงทำให้เกิดความหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
เมื่อหลุดพ้น ก็รู้ว่าหลุดพ้น
อะไรที่หลุดพ้น ก็จิตอีกนั้นแหละที่หลุดพ้น
แต่เป็นจิตที่ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในสรรพสิ่งใดๆทั้งหลายแล้วนั่นเอง
จากจิตที่เคยมีความสำคัญมั่นหมาย จากจิตที่เคยยึดมั่นถือมั่น
กลายเป็นจิตที่ไม่มีความสำคัญมั่นหมาย กลายเป็นจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ
"เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว
จิตจึงดำรงค์อยู่(ในธรรมที่ได้รู้แล้วเห็นแล้ว)
เพราะเป็นจิตที่ดำรงค์อยู่
จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี
จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง
เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว"...
my-way ตอบ:
จิตประเภทที่ต้องอิงอาศัยสิ่งอื่น
และอีกอย่าง พฤติกรรมแห่งจิต ของความเริงร่ายินดี มาจากไหน
นับว่า ยังหลง วนเวียน จึงเกิดเริงร่ายินดี
หลุดพ้นชั่วประเดี๋ยวประด๋าว
จิตที่เกิดดับอย่างนี้ เป็นจิตประเภทไหนกันนะ
ยังห่างไกลที่จะเรียกว่า จิตปกติเสียด้วยซ้ำ
ต๊ะติ้งโหน่ง:
ปล่อยรู้ เขียน:
พระพุทธศาสนา บอกว่า สรรพสิ่งใดๆทั้งหลายที่มีการเกิดขึ้น
ล้วนอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดมีขึ้นมาทั้งสิ้น
ไม่มีสรรพสิ่งใดๆที่เกิดขึ้นเองได้ โดยไม่อาศัยเหตุปัจจัย
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
จิต หรือวิญญาณ หรือมโน หรือ จิตผู้รู้
ล้วนมีลักษณะเดียวกันทั้งสิ้น
นั้นก็คือ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ย่อมมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป
จิตหรือวิญญาณหรือมโนหรือจิตผู้รู้ พระพุทธศาสนาบอกว่า
จำต้องอาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งในการเกิดปรากฏ นั่นก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
หากปราศจากเสียซึ่ง รูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร เสียแล้ว
จิต หรือวิญญาณ หรือมโน หรือจิตผู้รู้ ก็ไม่มีฐานะที่จะปรากฏเกิดขึ้นมาได้แต่อย่างใดเลย
ด้วยธรรมชาติของสิ่งที่เรียกว่าจิต หรือวิญาณ หรือมโน หรือจิตผู้รู้ ก็ดี คือการรู้ คือการรับรู้ คือการเข้าไปรู้
หากปราศจากสิ่งที่ให้รู้ สิ่งที่ให้เข้าไปรู้ เสียแล้ว
จิตหรือวิญญาณ หรือมโนหรือจิตผู้รู้ ก็ไม่อาจที่จะเกิดมีขึ้นมาได้แต่อย่างใด.
เพราะความเบื่อหน่ายจางคลาย ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในจิตในวิญาณ
จึงเป็นเหตุให้เกิดความไม่ยึดมั่นถือมั่น ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่น ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
จึงทำให้เกิดความหลุดพ้นไปจากรูป เวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
เมื่อหลุดพ้น ก็รู้ว่าหลุดพ้น
อะไรที่หลุดพ้น ก็จิตอีกนั้นแหละที่หลุดพ้น
แต่เป็นจิตที่ไม่มีความสำคัญมั่นหมายในสรรพสิ่งใดๆทั้งหลายแล้วนั่นเอง
จากจิตที่เคยมีความสำคัญมั่นหมาย จากจิตที่เคยยึดมั่นถือมั่น
กลายเป็นจิตที่ไม่มีความสำคัญมั่นหมาย กลายเป็นจิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ
"เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว
จิตจึงดำรงค์อยู่(ในธรรมที่ได้รู้แล้วเห็นแล้ว)
เพราะเป็นจิตที่ดำรงค์อยู่
จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี
จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง
เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว"...
my-way ตอบ:
จิตประเภทที่ต้องอิงอาศัยสิ่งอื่น
และอีกอย่าง พฤติกรรมแห่งจิต ของความเริงร่ายินดี มาจากไหน
นับว่า ยังหลง วนเวียน จึงเกิดเริงร่ายินดี
หลุดพ้นชั่วประเดี๋ยวประด๋าว
จิตที่เกิดดับอย่างนี้ เป็นจิตประเภทไหนกันนะ
ยังห่างไกลที่จะเรียกว่า จิตปกติเสียด้วยซ้ำ
ต๊ะติ้งโหน่ง:
mes เขียน:
ปัญญา และนิมิตหรือเครืองหมายกำหนดรู้ทั้งหลาย ไม่ได้เกิดขึ้นตอนนั่งสมาธิ
แต่ผลของสมาธิทำให้เกิดปัญญา หรือ นิมิตเกิดขึ้นในมโนวิญญาณ
บางท่านอาจเกิดปัญญารู้ อดีต อนาคต รู้ความคิด รู้ความจริงอย่างฉับพลัน
บางท่านอาจพบกับพะพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระพรหม เทวดา บางครั้งมากันเป็นขบวนใหญ่มีมโหรีบันเลง
อาจเห็นภาพ หรือ ได้ยินแต่เสียง
สิ่งเหล่านี้จะเห็นภาพหรือไม่ก็ตาม เจ้าตัวกำหนดรู้ได้ว่าเป็นอะไร
นิมิตเป็นเรื่องหนึ่ง เป็นเครื่องกำหนดให้รับรู้
ที่อยากกล่าวถึงในกระทู้นี้คือปัญญา
ถกเถียงกันเนินนานและกว้างขวาง
ทำสมาธิแล้วเกิดปัญญา ทำสมาธิแล้วไม่เกิดปัญญา
ผมขอแสดงความคิดเห็นไว้ตรงนี้ว่า
ในขณะทำสมาธิไม่เกิดปัญญาในเวลานั้นหรอกครับ
แต่ผลของสมาธิจะทำให้ปัญญาผุดขึนในมโนวิญญาณอย่างไมรู้ตัว
ปัญญาคือธรรมเอกที่ผุดขึ้นในมโนวิญญาณครับ
สำนักหรืออจารย์ท่านใดที่พยายามสอนว่าสมาธิปิดกั้นปัญญาจึงเป็นมิจฉทิฏฐิปิดกั้นทางสู่นิพพาน
และแสดงให้เห็นว่า
อาจารย์ท่านนั้นถึงแม้จะมีบุคคริกน่าเลื่อมใสศรัทธา แต่ขาดความรู้ในการปฏิบัติธรรมแน่นอน
ท่านผู้แสวงหาวิโมกขธรรมทั้งหลายจึงไม่ควรเสน่หารูปกริยาของครูบาอาจารย์
ควรยึดหลักโยนิโสมนสิการและกาลามสูตรให้หนักแน่นเข้าไว้ในสถานะการณ์ที่ศาสนาพุทธกำลังอยู่ในความล่อแหลม
ล่อแหลมที่จะเดินสู่ทางผิด
ทางที่ไม่ใช่อริยมรรค
ในลานธรรมทั้งหลายย่อมมีโวหารมากมายให้หลงเชื่อ
แต่
โวหารไม่สามารถทนต่อการพิสุจน์ได้เหมือนเช่นสัจจธรรม
จงมีศรัทธา แต่ อย่าเสน่หา
เจริญทำ
my-way ตอบ:
ความเห็นคับแคบไปหน่อยแล้วมังครับคุณ mes
อริยะมรรคมีองค์แปด
ปัญญาดำริชอบ เห็นชอบ ก่อนจะมานั่งสมาธิ หายไปไหน
ก่อนจะลงนั่งทำสมาธิ
ถ้าไม่เกิดปัญญา อันเป้นอริยมรรค์
ไม่มีทางที่จะไปนั่งสมาธิ
ไปตรองไปศึกษาดูให้ดีเสียก่อนครับ
ต๊ะติ้งโหน่ง:
my-way เขียน:
ยังไม่รู้สัจจะ แห่งขันธ์ห้า เลยต้องเอาขันธ์ห้า มาประคองขันธ์ห้า
แล้วเมื่อไร จะพ้นการอิงอาศัยได้หละครับ
อ้างอิง Supareak Mulpong
ขันธ์ตามความหมายของท่าน คืออะไรละครับ?
my-way เขียน:
แม้ขันธ์ห้าทั้งสองนัย ตามปฎิจจสมุบาท หรือตามไตรลักษ
แต่ คุณควรจะถามว่า สัจจะหมายถึงอะไรมากกว่า
ถ้าคุณรู้สัจจะ แล้วใยจึงนำขันธ์ห้า มาประคองขันธ์ห้า
ก็เพราะว่า คุณรู้แต่ความหมายของขันธ์
ไม่ว่าจะขันธ์แบบไหนๆก็ตาม
แต่ไม่รู้จัก สัจจะของขันธ์ ทั้งสองแบบ
คุณก็ได้แต่ประคองขันธ์ห้า ต่อไป
การปฎิบัติ เพื่อละอาสวะ ไม่ได้เพื่อแสวงหาขันธ์ห้า หรือทำนุบำรุงขันธ์ห้า
แต่การปฎิบัตินาๆประการในพระศาสนา ก็เพื่อถึงสัจจะ
ตั่งเป้าหมายให้ถูกทางเสียก่อนครับ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version