คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา

ธรรมะเสวนา สไตล์ my-way

<< < (4/5) > >>

ต๊ะติ้งโหน่ง:
LuiPan เขียน:
การไปฝึกการเคี้ยวอาหารเพื่อเจริญสติ จะทำได้ยาก จะเกิดสติยาก หรือว่า เกิดสติช้า

ก็เหมือนกับ เทวดา ที่เขาอยู่ในภพของการบริโภค ภพเทวดานี้ ถือว่าเป็นภพที่เกิดสติช้า

เหตุเพราะ การบริโภค มันเป็นเรื่องของความสุขอยู่กับกาม คลุกเคล้ากับกาม คนที่เกลือกกลั้ว
กับกาม จะหวังการเจริญสติ ย่อมเป็นไปได้ยาก

จึงต้องฉลาดในการบริโภค เช่น ทำให้อาหารนั้นเป็นสิ่งเรกูล ไปเสีย ซึ่งก็มีหลายวิธี
อย่างเช่น เคี้ยวไปสามสี่ครั้งแล้ว สติ ไม่เกิด ก็คายออกมา แล้วก็ตักกินเข้าไปใหม่

ตรงนี้จะเป็นอุบายในการ ละนันทิราคะในการกินได้ จะทำให้ การเคี้ยวเพื่อการเจริญสติ
นั้นเข้าใกล้เป้าหมายต่อการทำนิพพานให้แจ้ง หรือ การปรารภมีจิตตั้งมั่น ได้มากขึ้น

my-way เขียน:
ความฉลาดในการบริโภค ไม่ใช่การสร้างอุบาย เพื่อทำอาหารดีๆ ให้เป้นปฎืกูล โดยอาศัยความจำ
สติในการบริโภค
เกิดง่ายดาย และเป้นสติที่ไม่ผิดเพี้ยน ไม่ต้องไปแปลงสัญญา
สติที่อินทรีย์ ลิ้นแตะปุ๊ป รู้หวาน นั่นมีสติ
เป้นสติระดับหนึ่ง
ความพอใจ ไม่พอใจในหวาน
เป็นสติอีกระดับหนึ่ง
ความเห็นอาหาร เป็นธาตุ เป็นสติอีกระดับหนึ่ง

แค่แตะลิ้น สติก็เกิดหลายเด้งแล้ว

มันจะยากเย็นตรงไหน

ที่มันยาก ก็เพราะไปเอาที่ปฎิกูลัญญา มาพิจารณา

เพราะไม่มีสติที่ปลายลิ้น แต่ไปทำสติที่ปลายเหตุ

กินกันทุกวัน กินด้วยปัญญา และสติ ตั้งแต่ปลายลิ้น


ถ้าคุณทำสติในการกินยาก
ไม่รู้จักการทำสติในการกิน

ผมจะเคี้ยวให้แทน แล้วคายให้คุณกิน นะครับ

เคี้ยวครั้งเดียว แล้วก็คายให้คุณกิน ก็พอ
จะได้ไม่ต้องพิจารณาอาหาเรเลย

สติที่ตาเห้นปุ๊ป มันจะรู้ทันที ว่า แหวะ
นี่แหละ สติการกิน แบบง่ายๆ
เอาไปหัดปฎิบัตินะครับ

ต๊ะติ้งโหน่ง:
กรัชกาย เขียน:
ท่านผู้รู้ผู้ทราบที่นับถือ ชาวพุทธอยากได้วิธีปฏิบัติเพื่อการ ละ ว่าต้องทำยังไง ปฏิบัติยังไง จึงจะละกิเลส ละสังโยชน์ได้ วิธีทำ วิธีปฏิบัติน่ะทำยังไง 

my-way เขียน:

คุณกรัชกาย ครับ ไม่ต้องชาวพุทธหรอก ชาวไหนๆ ก็รู้จักละได้
ชาวบ้านชาวเมืองชาวป่า
ก็รู้จักครับ
การละกิเลสหยาบๆๆ ไปจนถึงสังโยนข์เบื้องสูง

ถามคนที่ติดคุกติดตารางอยู่ ก็รู้ การลด การละ การเลิก นั่นควรทำยังไง
ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างติดเหล้า ติดนักเรียนสาวๆ
ใครๆก็รู้อยู่แล้ว
ว่าทำยังไง
เมื่อยังติดใจ มันก้ละ ไม่ได้ ลดไม่ได้ เลิกไม่ได้

อ่านธรรมมะมาตั้งมากมาย ยังไม่รู้อีกเหรอครับ

ต๊ะติ้งโหน่ง:
LuiPan เขียน:
คำว่า ละ นั้น มีปัญหามากในการให้คำอธิาย เสมือนการตอกลิ่มไม้ใหม่เข้าไปในเนื้อกลองจัญไร

ดังนั้น ควรใช้คำของตถาคต

คำว่า ละ ที่เป็นคำเดิมของพระตถาคต คือ ไม่เผลอเพลิน หรือ ไม่เผลอมีนันทิราคะ

ละ แบบ ละนันทิราคะ หากกลับไปอ่านสำนวนบาลีเดิม จะพบว่า คำเดิมก็ใช้คำว่า
ขจัดนันทิราคะ นี่แหละ แต่เพราะลิ่มสลักที่แปลเข้าไปใหม่ แล้วนิยมใช้กัน ก็เอา
คำว่า ละ เข้าไปแทนที่ ทำให้คำของตถาคตที่กล่าวไว้ดีแล้ว อันตรธานหายไป

eragon_joe เขียน:

อันตรธาน มิได้เริ่มที่ บัญญัติ

ละนันทิราคะ หรือ ขจัดนันทิราคะ เพื่อให้ได้ผลซึ่งอะไร นี่คือนัยที่หายไป

ถ้าปัจจัยหนึ่งมิจางไป การแตกร้าวย่อมไม่ปรากฎ

ความเสื่อมแรกที่ปรากฎก่อนที่ ความเสื่อมอื่น ๆ จะปรากฎตามมาก็คือ

สมดุลแห่งความเป็นกลอง เมื่อสมดุลเสีย สิ่งแรกที่สังเกตได้คือ เสียงกลองที่เพี้ยนไป

ส่วนรูปลักษณ์ภายนอก เป็นสิ่งที่เห็นได้หลังจากนั้นมา

ผู้ที่จะรู้ว่าเสียงกลองนั้นเพี้ยนไป มีเพียง ผู้ที่ชำนาญในอุปกรณ์นั้น

สำเนียงที่เพี้ยนไป คือ สิ่งแรกที่ทำให้เรารู้ว่า
กลองนั้นเสียสมดุล และกำลังเดินทางเข้าสู่การเสื่อมในกาลต่อไป

การเห็น นัยยะแห่งกลอง สะท้อน
หนึ่ง กลองที่เราเห็น ไม่ใช่สิ่งเดียวกับกลองใบเก่า
ดังนั้นการตีกลอง ยังกลองใบนี้ เสียงที่ได้ ก็ไม่ใช่เสียงเดียวกับเสียงที่ได้ออกมาจากกลองใบเก่า

สอง เราไม่อาจจะยึดกลองใบนี้ เสียงกลองเสียงนี้ ว่าเป็นสำเนียงที่แท้จริงของกลองได้ไม่

สาม สำเนียงดั่งเดิมของกลองนั้น จางหายไปจากความทรงจำของพวกเราได้อย่างไร
แล้วอะไรคือ สิ่งที่จะช่วยให้เราแกะรอยกลับไปหาสำเนียงนั้นได้ อีกครั้ง

นี่คือเหตุผลที่ ทำไม พุทธจึงแบ่งแยกออกเป็นสองสาย
ก็คือ แบ่งหน้าที่ในการเก็บรักษา
เพื่อสักวันหนึ่ง จะมีผู้นำสมบัติทั้งสองชิ้น กลับมาเชื่อมต่อกันอีกครั้ง

 ไร้สาระท่าน ... ไม่มีอะไร
แค่อ่านความเห็นท่านแล้ว มันรู้สึกไปถึงสำเนียงที่หายไปก่อนที่เนื้อกลองจะหายไป

 

my-way เขียน:

กลองหุ้มด้วยหนังอะไร ถึงจะตีดัง

มุสิละ ดีดพิณเจ็ดสาย เสียงไพเราะเสนาะโสตจับใจคนฟัง

แต่อาจารย์ของมุสิละ ใช้พิณจัญไร ไม่มีสายสักสายเดียว
แต่เสียงธรรม กระจายไปถึงเทวโลก

เสียงของธรรม หาได้เกิดจากหนังกลอง
เสียงของธรรม หาได้เกิดจาสายพิณ

ต๊ะติ้งโหน่ง:
mes เขียน:

สรุปว่าอย่างนี้ได้ไหม

สิ่งที่เกิดจากการปรุ่งแต่งไม่ใช่วิมุติธรรม

my-way เขียน:

ยังสรุปอย่างนั้นไม่ได้ ครับ
วิมุติธรรม วิมุตญารทรรศนะ ยังเป็นสิ่งปรุงแต่ง
ยังไม่เป็นของแท้
เอาเข้านิพพานไม่ได้
พระสารีบุตรยังทิ้งไว้ เอาไปไม่ได้ ครับ


my-way เขียน:
[๗๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ สารี-

บุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติ-

ญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วยหรือ.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระ-

สารีบุตร มิได้พาศีลขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณ-

ทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย.

ต๊ะติ้งโหน่ง:

กรัชกาย เขียน:

ท่านผู้รู้ผู้ทราบที่นับถือ ชาวพุทธอยากได้วิธีปฏิบัติเพื่อการ ละ ว่าต้องทำยังไง ปฏิบัติยังไง จึงจะละกิเลส ละสังโยชน์ได้ วิธีทำ วิธีปฏิบัติน่ะทำยังไง 

LuiPan เขียน:



ก่อนจะถามหาการปฏิบัตินั้นทำอย่างไร ก็ต้องมาทำความเข้าใจเรื่อง อินทรีย์ ที่ระบุในลาย
เซ็นนั้นเสียใหม่ให้ถูกก่อน

หากยังทำอะไรๆ แล้ว เซ็นลายเซ็นเรื่อง อินทรีย์ อยู่แบบนั้น ก็คง ป่วยการที่จะถามหาการปฏิบัติ

คำว่า อินทีรย์ คือ คือ สภาพธรรมที่เป็นใหญ่

ความเป็นใหญ่ของสภาพธรรม คือ เหนือการควบคุม เป็นสภาพธรรมที่เหนือบุคคล
สัตว ตัวตน บุคคล เราเขา ทั้งปวง จึงชื่อว่า อินทรีย์ธรรม

ยกตัวอย่างเช่น

ลูกตา หรือ ตา ซึ่งเป็น อินทรีย์อย่างหนึ่ง มีความเป็นใหญ่เหนือสรรพสิ่ง เหนือชีวิตตา

การที่มีการระบุว่า จะบังคับบัญชาได้ หรือ ขั้นสูงนั้นจะสำรวมอินทรีย์คือบังคับบัญชาได้

ถามว่า หากมีมัจจุมารหมายทวงคืนวาระกรรม คือ จิ้มลูกตาให้บอดเสีย

ผู้ที่มี อินทรีย์สังวรณ์ ที่ไหนในโลกธาตุ จะบังคับให้ตน มองเห็น หรือ มีความเป็นใหญ่
กว่า ตาอินทรีย์ ที่เสียหายไปแล้วได้บ้าง

จะเห็นว่า อินทรีย์คือ ความเป็นใหญ่

การระบุว่า


อ้างคำพูด:
ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆที่จะเกิดจากการรับรู้อารมณ์ทางตา ทางหู เป็นต้นเหล่านั้น สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆได้ตามต้องการ



จึงเป็นเรื่องของบุคคล ที่ถือ สิ่งที่ไม่ถูกต้องอยู่ในมือ หากไม่วางลงก่อนเสีย ก็ป่วยการที่จะถาม
หา วิธีปฏิบัติ

my-way เขียน:
คุณลูแปงนี่ ก็ตาแหลม เหมือนกัน ใช้ได้ ๆๆ

สงสัยว่า คุณกรัชกายคงจะยังไม่รู้
ว่าที่ถูกต้องของลายเซนต์ ควรเป็นยังไงครับ
ถ้าได้ปฎิบัติบ้าง ไม่ถึงกับมากมาย ต้องรู้ว่าลายเซนต์ นั่นมันเพี้ยน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version