ในกรณีมหาวาตภัยเรือล่มในทะเล กล่าวว่า : บุคคลใดถ้าภาวนาระลึกถึงพระมหาโพธิสัตว์กวนอีมก็จะรอดพ้นจากการจมน้ำตาย ทะเล ในกรณีนี้ พระคัมภีร์มีความหมายถึง
ทะเลทุกข์ ซึ่งเรียกกันในพระพุทธศาสนา สัตว์โลกอุปมาดังผู้อาศัยอยู่ในเรือน้อยลอยลำร่อนเร่พเนจรอยู่ในกลางทะเลทุกข์ อันเป็นวัฏฏสงสาร เวียนเกิดเวียนตายอยู่ในโลก คือได้แก่:-
การเกิด การแก่ การเจ็บ และ การตาย สัตว์โลกจะหนีรอดพ้นจาก
อาการทั้งสี่ที่กล่าวนี้ไม่ได้
ต้องอยู่ใน
สภาพอันผันแปรอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เช่น :-
1. สภาพเป็นเด็กเล็กแล้วก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ใหญ่
2. สภาพเป็นคนหนุ่มแน่นภายหลังก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนแก่ชรา
3. สภาพเป็นคนแข็งแรงในสุขภาพ แล้วก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนเพียบไปด้วยโรคาพยาธิ
4. สภาพเป็นคนเกิดมาในโลก แล้วก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนตายไปจากโลก
การผันแปรเปลี่ยนแปลงอยู่ทุก ๆ นาทีนี้ เช่นเดียวกับการลาดเอียงสูงต่ำแห่งกระแสคลื่นในทะเล จะมีอะไรเป็นแก่นสารก็หาไม่
ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็อยู่เพียงระยะชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่มีอะไรจะคงทนอยู่ได้ตลอดกาล
โดยไม่มีการผันแปรเปลี่ยนแปลงเสื่อมคลาย และสูญดับ อนิจจัง คือ ความไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
ทุกขัง คือ ความทุกข์ ความยาก
อนัตตา คือ สิ่งที่ไม่ใช่เป็นตัวตนของตนเอง เหล่านี้เป็นไปตาม
กรรมบถ คือ ทางของ
กุศลกรรมคลุกเคล้าอกุศลกรรม เป็น
ปัจจัยกระทำให้สัตว์โลก
มีการเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในทะเลทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น (จมน้ำตายกันอย่างนี้)
ถ้าบุคคลใดตีปัญหาปริศนาธรรมในพระคาถาของพระมหาโพธิสัตว์กวนอีมแตก ก็จะเกิด
ปัญญาคุณ คือ มีปัญญาหลักแหลมมองทะลุความจริงได้ ก็เท่ากับสามารถนำเรือของตน
เข้าถึงฝั่งจากมหาวาตภัยและรอดจากการจมน้ำตาย
ได้จริง
ในกรณีศัสตราภัย กล่าวว่า : - บุคคลใดเมื่อภาวนาพระคาถาของพระมหาโพธิสัตว์กวนอีม อาวุธแหลมทุกชนิดจะไม่สามารถระคายผิวได้
คำในคาถาข้อสุดท้ายนี้แหละ แสดงให้แลเห็นเด่นชัดว่าในมหายานมี
ธรรมคาถาเป็น กลบท ชั้นเชิงทำให้ฉงนไปในทางหนึ่งนัยว่า ต้องการให้มีความไหวพริบ คือ
ปัญญา (ให้เกิดปัญญาขึ้นในตัวไม่ต้องไปหาปัญญาจากที่อื่น) ถ้าเกิดปัญญาคุณขึ้นแล้วก็มองทะลุความจริงว่า พระคาถานี้หาได้มีความหมาย
ตายตัวตามศัพท์ที่ว่าไม่ เพราะผิวหนังมนุษย์ไม่ใช่เหล็กกล้าจึงจะคงกระพันชาตรี เมื่อเป็นเช่นนี้อรรถในพระคาถานี้คงหมายความเป็น
ปริศนาธรรมให้ขบคิด และจุดอันแท้จริงของพระคาถานี้ ได้แก่ :-
บุคคลที่สามารถรักษา
อายตนะทั้งหก คือ อินทรีย์ทั้ง 6 นั้นเอง อายตนะ มี ตา หู จมูก ปาก กาย และใจ อันเชื่อมโยงไปใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ อารมณ์
ถ้าบุคคลใดมีความสามารถ
ไม่โยงใย และตัดขาดจากสิ่งที่จะมากระทบให้เกิดอกุศลกรรม กล่าวคือ :-
1. เมื่อหูได้ยิน ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เช่นหูไม่ได้ยิน
2. เมื่อตาและเห็น ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เมินไม่แลเห็น
3. เมื่อจมูกได้กลิ่น ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เหมือนมิได้ดมกลิ่น
4. เมื่อลิ้มรส ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เหมือนมิได้รับรสรู้
5. เมื่อกายสัมผัส ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น ประดุจไม่ได้สัมผัส
6. เมื่อใจได้รับอารมณ์ ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เฉยเฉื่อยไม่ได้รับรู้ในอารมณ์นั้น ๆ
และไม่หวั่นไหว ระงับ ตัณหา ที่จะเป็นปัจจัยให้เกิด อกุศล เจตนาขึ้น คือ :- 1. ความปรารถนา
2. ความดิ้นรน
3. ความอยาก และ
4. ความเสน่หา เมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่บังเกิดขึ้น
อำนาจแห่ง ธรรมมิตร ก็เข้าชักจูงเรียกร้องดูดดึงเอา
สันติคุณ ตลอดจน เมตตากรุณาธิคุณ เข้ามาไว้ในตัว ก็จะเสมือนว่า เป็นเกราะบังป้องกันศัตราวุธไม่ระคายผิวหนัง
ตามพระคาถาได้ไม่ต้องสงสัย
เท่าที่บรรยายมาเบื้องต้น พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือ พระกวนอิม จึงเป็นที่เคารพบูชานับถือว่า พระองค์เป็นที่พึ่งของปวงสัตว์โลก ทั้งเป็นผู้มีพระเมตตาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยของสัตว์โลกทั่วไตรภูมิ และทรงปฏิบัติเช่นนี้เป็นนิจสิน
พระคาถาของพระมหาโพธิสัตว์กวนอิมนั้น ไม่ใช่แต่เพียงท่องบ่นอย่างเดียว เป็นกลบทในปริศนาธรรมให้ขบคิดด้วยพร้อมกัน และในเมื่อบุคคลใดสามารถขบปัญหาแตกกับปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็ได้ชื่อว่าอัญเชิญพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์มาอยู่ในดวงจิตของบุคคลนั้น และบุคคลผู้นั้นก็ปลอดภัยจากอันตรายนานาประการ ดังได้บรรยายมาแล้ว
พระอวโลกิเตศวร หรือพระกวนอีมมหาโพธิสัตว์นี้ ทางอุตรนิกายนับถือว่า เป็น
พระปัทมปาณีมหาโพธิสัตว์ ได้โปรดสัตว์โลกในอดีตมานานแล้ว ทั้งทรงตั้งปณิธานวัฒนาการโปรดสัตว์โลกต่อไปอีกในอนาคต จึงยังไม่เสด็จเข้าสู่พระพุทธภูมิ
อนึ่ง มวลพิธีที่มีในนิกายนี้ เช่น มี
พิธีกงเต็ก เป็นต้น พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์อัญเชิญพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ เสด็จมาประทับรับการบูชาในพิธี
เพื่ออานิสงส์ ส่วนพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ และองค์อื่น ๆ นั้น อัญเชิญมาเป็น
ประมุขในการประกอบพิธี
โปรดสัตว์โลกให้รอดตาย คือไม่ฆ่าชีวิตสัตว์ และยังไม่เสพเลือดเนื้อสัตว์ เจริญมหาเมตตากรุณาธรรมจริง ๆ ตามลัทธิ ด้วยประการฉะนี้ ขอจบการวิสัชชนา เรื่องพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือ พระมหาโพธิสัตว์กวนอีม แต่เพียงนี้
(
ที่มา : จากหนังสือพระคัมภีร์ กวนอีมมหาโพธิสัตว์
แปลโดย : เสถียร โพธินันทะ พิมพ์แจกเป็นธรรมทานโดย ชมรมธรรมทาน ทางไปรษณีย์
พุทธสถานโรงเจ
เป้าเก็งเต๊ง ซอยปลูกจิต 2 ถนนพระราม 4 กทม.)
วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล999
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
Credit by :
http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/mahayana.htmPics by :
Google อกาลิโกโฮม *
สุขใจดอทคอมใต้ร่มธรรมดอทเน็ท อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ