ผู้เขียน หัวข้อ: พระอภิธรรมสังคิณีมาติกาบรรยาย : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร  (อ่าน 23279 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                     

๔๙. อุปปันนา ธัมมา

    เบื้องหน้าแต่นี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๔๙ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อุปปันนา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายบังเกิดขึ้นแล้ว โดยความอธิบายว่า ธรรมทั้งหลายที่เป็นสมมติกิจหรือวิมุตติกิจ ถ้าบังเกิดขึ้นแล้วก็เรียกว่าชื่ออุปันนา ธัมมา ทั้งสิ้น

 พระสกวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า อย่างไรจึงเรียกว่าสมมติธรรม อย่างไรจึงเรียกว่าวิมุตติ?
    พระปรวาทีฯ จึงวิสัชนาว่า ธรรมเหล่าใดที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นธรรมสมมติทั้งสิ้น ธรรมเหล่าใดที่เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นวิมุตติทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่ง โลกเรียกว่า สมมติ พระนิพพานเรียกว่าวิมุตติ ฉะนี้

    พระสกาวาทีฯ จึงถามขึ้นว่า สมมตินั้นบังเกิดขึ้นแก่ใคร วิมุตตินั้นบังเกิดขึ้นแก่ใคร?
    พระปรวาทีฯ จึงวิสัชนาว่า สมมตินั้นก็เกิดขึ้นแก่นันทมาณพที่ไปกระทำสมัครสังวาสกับนางอุบลวรรณาเถรี จนธรณีสูบเอาไปดังนี้ จึงชื่อว่าสมมติบังเกิดขึ้นแล้ว วิมุตตินั้นก็บังเกิดขึ้นแก่พระยสกุลบุตรเมื่อเวลาไปดูอาการฟ้อนรำแล้วเกิดความเบื่อหน่าย ฉะนั้น แสดงมาทั้งนี้โดยย่อ ๆ พอให้สมกับพระบาลีว่า อุปปันนา ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๕๐. อะนุปปันนา ธัมมา   

    ในบทที่ ๕๐ นั้นมีพระบาลีว่า อะนุปปันนา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายไม่บังเกิดขึ้นแล้ว โดยความอธิบายว่า บุคคลที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรม แล้วธรรมที่จะนำความสุขมาให้นั้น ก็ไม่บังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้นั้น ครั้นดับขันธ์ลงก็คงไปบังเกิดในนรก เช่นอย่างนายจุนทสุกรเป็นต้น ฉะนั้นอีกนัยหนึ่งโดยพุทธประสงค์ว่า อนันตริยกรรม ๕ และ นิวรณธรรม ๕ อย่างนี้ ถ้ามีอยู่ในบุคคลผู้ใดแล้ว มรรคผลธรรมวิเศษสิ่งใด ก็ไม่บังเกิดแก่บุคคลผู้นั้น จัดเป็นสัคคาวรณ์ มรรคาวรณ์ไปดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะนุปปันนา ธัมมา ดังนี้
 

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๕๑. อุปปาทิโน ธัมมา

    ในบทที่ ๕๑ นั้น โดยนัยพระบาลีว่า อุปปาทิโน ธัมมา แปลว่าธรรมทั้งหลายอันบังเกิดขึ้นแล้ว โดยความอธิบายว่า อุปปาทินธรรม นี้ เป็นธรรมของพระอริยเจ้า เมื่อบังเกิดในบุคคลผู้ใด ก็ยังบุคคลผู้นั้นให้เป็นพระอริยเจ้า ธรรมของพระอริยเจ้านั้นก็คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ธรรมทั้ง ๙ เหล่านี้ ถ้าบังเกิดขึ้นแล้วก็เป็นของแท้ของจริง และเป็นของไม่เสื่อมสิ้นไป อีกนัยหนึ่งท่านประสงค์ว่าพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ขีณาสพทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ก็เรียกชื่อว่า อุปปาทิโน ธัมมา สุดแต่เป็นธรรมบังเกิดขึ้นแล้ว ก็จัดได้ชื่อว่า อุปปาทินธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อุปปาทิโน ธัมมา ฉะนี้ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๕๑ โดยสังขิตกถาเพียงเท่านี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                 

๕๒. อะตีตา ธัมมา

ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๕๒ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อะตีตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ที่จัดเป็นกุสลา กุศลก็ดี หรือร่างกายที่จัดเป็นธาตุทั้ง ๔ หรือจัดเป็นอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ที่เกิดขึ้นแล้ว และดับสูญไปนั้นก็ดี เรียกชื่อว่า อะตีตา ธัมมา ทั้งสิ้น

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                       

๕๓. อะนาคะตา ธัมมา

 ในบทที่ ๕๓ นั้น พระบาลีว่า อะนาคะตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายที่ยังมาไม่ถึง โดยความอธิบายว่า บุญก็ดี บาปก็ดี ที่บุคคลได้กระทำโดยกายวาจาใจแล้วแลยังไม่เห็นผลนั้น ก็ชื่อว่าอนาคตธรรม หรืออีกนัยหนึ่งว่า สัตว์ที่บังเกิดแล้วและยังไม่ถึงแก่ความตายนั้น ก็เรียกชื่อว่าอนาคตธรรม หรืออีกประการหนึ่ง บุคคลที่สร้างบารมียังไม่เต็มที่และมรรคผลธรรมวิเศษก็ยังไม่เกิดมีนั้น ก็เรียกชื่อว่าอนาคตธรรมเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะนาคะตา ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๕๔. ปัจจุปปันนา ธัมมา

   ในบบที่ ๕๔ นั้น โดยพระบาลีว่า ปัจจุปปันนา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันบังเกิดขึ้นเฉพาะหน้า โดยความอธิบายว่า ธรรมที่เป็นปัจจุบันนั้นก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เห็นอยู่เฉพาะหน้านี้แลชื่อว่า ปัจจุบันธรรม โดยความเป็นจริงก็คือไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมีความดับไปเป็นธรรมดาและเป็นทุกข์เหลือที่จะทน จนตั้งอยู่ไม่ได้ต้องดับไป ไม่มีวิสัยที่จะฝ่าฝืน และไม่เป็นไปตามอำนาจของท่านผู้ใด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้แลเป็นปัจจุบันธรรม แลเป็นวิปัสสนาปัญญา เป็นธรรมที่คงทนต่อความเพียร เมื่อบุคคลผู้ใดเห็นปัจจุบันธรรมคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ให้แจ้งชัดแล้ว บุคคลผู้นั้นก็จัดเป็นผู้สามารถจะยังศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ขึ้นในตนได้ เพราะอารมณ์ของปัจจุบันธรรมนั้นน้อย  ย่อมเป็นอารมณ์อันสะดวกดี

ปัจจุบันธรรมนี้ เมื่อบุคคลผู้ใดมารู้แจ้งเห็นชัดตามความเป็นจริงอย่างไรแล้ว บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้ไม่ฝ่าฝืนและไม่ต้องแก้ไขยักย้าย เมื่อเป็นอยู่อย่างไรก็รู้ตามเห็นตามไปอย่างนั้น ก็เป็นทางสัมมาทิฏฐิปฏิบัติอยู่เอง เพราะมารู้เห็นตามความเป็นจริงอย่างไร ย่อมถูกต้องตามพระพุทธประสงค์ซึ่งพระองค์ทรงบัณฑูรเทศนาไว้ว่า อะสังหิรัง อะสังกุปปัง แปลว่า ธรรมไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน และเป็นธรรมไม่กำเริบจลาจล เป็นธรรมทนต่อความเพียรจริงดังนี้ ปัจจุบันธรรมนี้แล เป็นมัชฌิมาปฏิปทา หนทางปฏิบัติอย่างกลาง เมื่อจะสันนิษฐานตามนัยพระสุตตันตโวหารแลวินัยบัญญัติ ปรมัตถ์ ๔ ธรรมทั้ง ๓ ปิฎก ที่พระองค์ทรงตรัสสอนพระปัญจวัคคีย์ภิกขุนั้น ก็มีพระพุทธประสงค์จะให้เห็นตามความที่เป็นจริง โดยสภาพอันเป็นปัจจุบันนี้เอง เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า ปัจจุปปันนา ธัมมา ฉะนี้ แก้ไขมาในติกาติกาบทที่ ๕๔ ก็ยุติลงแต่เพียงเท่านี้ฯ
       

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๕๕. อะตีตารัมมะณา ธัมมา

    เบื้องหน้าแต่นี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๕๕ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อะตีตารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีอดีตเป็นอารมณ์ โดยเนื้อความว่า บุคคลมาระลึกถึงทานศีลที่ตนได้บำเพ็ญไว้แล้วให้เป็นอารมณ์ว่า ทานที่เราได้ให้แล้วด้วยตัดรากมัจฉริยตระหนี่เสียได้ แลจิตของเราก็เป็นจิตบริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากโลภมัจฉริยธรรมแล้ว แลจัดเป็นจาคานุสสติ แปลว่าระลึกถึงกิเลสที่ตนละได้แล้ว ดังนี้ก็ดี หรือสีลานุสติ แปลว่าระลึกถึงศีลที่รักษาแล้ว ด้วยละโลภะ โทสะ โมหะ เสียได้ แลจิตของเราก็เป็นจิตผ่องใส สะอาด ปราศจากอภิชาพยาบาทได้แล้วดังนี้ก็ดี บุคคลมาระลึกถึงคุณแห่งทาน ศีล เป็นต้น ที่ตนได้บำเพ็ญไว้แล้วก็ดี ก็จัดได้ชื่อว่าอตีตารมณ์ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อะตีตารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ฯ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

๕๖. อะนาคะตารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๕๖ นี้มีพระบาลีว่า อะนาคะตารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีอนาคตเป็นอารมณ์ โดยเนื้อความว่า บุคคลมาคิดถึงตนว่า นัตถิ ญาณัง อะปัญญัสสะ คุณะสัมปัตติ สิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นต้นว่าญาณหรือปัญญาก็ดียังไม่มีแก่เรา เราก็ยังไม่ได้ไม่ถึงซึ่งคุณธรรมอะไร ยัมหิ ญาณัญจะ ถ้าเรามีญาณมีปัญญาแล้วไซร้ นิพพานัง สันติเก ก็จะได้ชื่อว่า เราเป็นผู้นั่งใกล้กับพระนิพพาน ดังนี้ เมื่อบุคคลมาคิดถึงแต่ความโง่ของตนขึ้นแล้ว แลมาอุตสาหะบำเพ็ญฌาณสมบัติ แลวิมุตติญาณทัสสนะ คือความรู้แจ้งเห็นชัดในพระนิพพานธรรม เพื่อจะให้บังเกิดในตน ดังนี้ ก็จัดได้ชื่อว่า อนาคตารมณ์ สมกับพระบาลีว่า อะนาคะตารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 19, 2011, 09:54:33 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



๕๗. ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๕๗ นั้น โดยนัยพระบาลีว่า ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีปัจจุบันเป็นอารมณ์แห่งจิต โดยเนื้อความว่า บุคคลผู้มาพิจารณาตนว่า ในเวลานี้เรามีความสุขเพราะกุศลวิบาก คือผลแห่งสุจริตทั้ง ๓ ในเวลานี้เรามีความทุกข์เพราะอกุศลวิบาก คือผลแห่งทุจริตทั้ง ๓ ดังนี้ โดยความอธิบายว่าบุคคลผู้มีสติไม่เผลอไปในเวลาเมื่อได้เสวยสุขทุกข์อันบังเกิดขึ้นเฉพาะหน้าแล้ว เอาวิบากแห่งสุจริตนั้นให้เป็นอารมณ์ ไม่ต้องไปแสวงหาที่อื่นไกล โดยพระพุทธประสงค์นั้นก็คือ ให้พิจารณาในสติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้นเอง เรียกชื่อว่า ปัจจุปปันนารัมมะณะธรรม เพราะเป็นธรรมบังเกิดอยู่ที่เฉพาะหน้า ตามอิริยาบถทั้ง ๔ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า ปัจจุปปันนารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๕๗ แต่โดยสังขิตกถาเพียงเท่านี้ฯ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


๕๘. อัชฌัตตา ธัมมา

    ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๕๘ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อัชฌัตตา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันเป็นภายใน โดยเนื้อความว่า ธรรมที่เป็นภายในนั้น ท่านประสงค์ธรรม ๒ ประการ คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ๑ ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล ๑

    ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลนั้นคือฌาณทั้ง ๕ ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลนั้นคือนิวรณ์ ๕ ธรรมทั้งสองนี้ ก็จัดเป็นอัชฌัตตธรรม บังเกิดขึ้นในภายในอย่างหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่งอาการ ๓๒ ซึ่งจัดเป็นดิน ๒๐ น้ำ ๑๒ ลม ๖ ไฟ ๔ เหล่านี้ก็ดี หรือจัดเป็นอายตนะ ๖ คือ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ เหล่านี้ก็ดี จะเรียกว่าชื่อ อัชฌัตติกธรรมทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อัชฌัตตา ธัมมา ฉะนี้ฯ