วิถีธรรม > แนวทางปฏิบัติธรรม

พระอภิธรรมสังคิณีมาติกาบรรยาย : หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

<< < (14/15) > >>

ต๊ะติ้งโหน่ง:
 :25: :25: :25:


โดยความอธิบายว่า ความไม่สงบระงับใจ คือความเดือดร้อนขึ้นในใจ แต่ใจนั้นก็เป็นธรรมชาติดิ้นรนเดือดร้อนอยู่โดยปกติธรรมดาของตนแล้ว มิหนำซ้ำยังเอาธรรมภายนอก ซึ่งมิใช่ธรรมเครื่องระงับเข้ามาเป็นอารมณ์อีกเล่า ก็ยิ่งร้อนหนักทวีขึ้นไป เพราะเหตุนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาจึงได้ทรงตรัสเทศนาสั่งสอนแก่พุทธบริษัททั่วไปว่า ธรรมภายนอกไม่ใช่ธรรมเครื่องระงับ และไม่ใช่ธรรมของเราตถาคต ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า พะหิทธารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้


 :25: :25: :25:

ไม่ชัดเจน

ธรรมชาตินั่น นั่นเป็นธรรมชาติของจิต? หรือเจตสิก ? หรือใจกันแน่ น๊า ?

ต๊ะติ้งโหน่ง:
 :25: :25: :25:

ลองเอาพระอภิธรรม หลวงปู่ฝั้น  ไปเทียบกับพระอาจารย์มั่น บรมครูของหลวงปู่ฝั่นดีก่า

ว่า ขัดแย้งกันยังไง

ไม่ชัดเจนยังไง

เอาที่คุณยายเงาฝันโพสต์ ที่บอร์ดอื่น เป็นตัวอย่าง เล็กๆน้อยๆ

http://agaligohome.com/index.php?topic=4708.0

แล้วก็อันนี้

http://www.google.co.th/url?q=http://truthoflife.fix.gs/index.php%3Ftopic%3D4260.0&sa=U&ei=eQaXTurfKse8rAfjsPWFBA&ved=0CBAQFjAA&usg=AFQjCNFfzJj8Y_22YPOg41b4DUPmllor-A

อ่อ ฝากคุณยายเงาฝัน โพสต์อภิธรรมหลวงปู่มั่น ในบอร์ดนี้ด้วยอ่า
และก็ฝากโพสต์ในบอร์ด คุณยายโกวโฮม ด้วยอ่า
แล้วก็บอร์ดสุขใจด้วยอ่า

ฐิตา:




๖๓. อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๖๓ นั้นโดยนัยพระบาลีว่า อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีภายในแลภายนอกเป็นอารมณ์ โดยเนื้อความว่า ธรรมทั้งหลายมีอารมณ์เป็น ๒ บังเกิดขึ้นพร้อมกันแล้วแลถือเอาเป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา ดังนี้ เมื่อจะชี้บุคคลที่ได้สำเร้จมรรคผลธรรมวิเศษให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยอำนาจแห่งธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ก็มีที่มามากเป็นอเนกประการ

    ดังพระภิกษุ ๓๐ รูปได้เห็นพยับแดดแล้ว ก็นึกเปรียบเทียบกับกายของตนว่า ธรรมในกายของเรานี้ก็เช่นเดียวกับพยับแดดฉะนี้ ในทันใดนั้น สมเด็จพระศาสดาก็ทรงเปล่งพระรัศมีไปให้ต้องกายของพระภิกษุ ๓๐ รูปนั้น แล้วจึงทรงตรัสเทศนาว่า เอสะธัมโม สนันตะโน ธรรมดวงเดียวนี้แลเป็นธรรมของเก่า เป็นธรรมของพระอริยเจ้า ธรรมดวงเดียวเป็นธรรมของเก่านั้นคือพระนิพพานนี้เอง พระภิกษุทั้ง ๓๐ รูปนั้นก็ได้บรรลุอาสวักขัยเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ เหาะลอยมาสู่สำนักสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วจึงกล่าวสรรเสริญซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์โดยอเนกปริยาย โดยความอธิบายว่า พระอริยเจ้าท่านเอาธรรมภายนอกเปรียบกับธรรมภายใน เอาธรรมภายในออกเป็นอารมณ์ภายนอกดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ แสดงมาในติกมาติกา บทที่ ๖๓ แต่โดยสังเขปกถาก็ยุติลงเพียงเท่านี้ฯ


ฐิตา:

                   

๖๔. สะนิทัสสนะสัปปะฏิฆา ธัมมา

 ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๖๔ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า สะนิทัสสนะสัปปะฏิฆา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายเป็นไปกับด้วยความคับแค้นนั้น ก็เพราะความที่ได้เห็นซึ่งอนิฏฐารมณ์ อันไม่เป็นที่รักที่ปรารถนาของตน เป็นต้นว่า ได้เห็นโจรผู้ร้ายหรือได้เห็นสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ มี เสือ หมี เป็นต้น หรือบางทีได้เห็นบุคคลต่าง ๆ มีเจ้าหนี้และบุคคลผู้ประทุษร้ายแก่ตน เป็นต้น เช่นกับพระอานนท์ถึงซึ่งความคับแค้นขึ้นในใจ เพราะได้เห็นช้างนาฬิคิรีวิ่งเข้ามาจะประทุษร้ายแก่ตนกับพระพุทธเจ้า ในกาลครั้งนั้น พระอานนท์ก็บังเกิดความเดือดร้อนคับแค้นขึ้นในใจ เพราะความที่ได้เห็นฉะนี้ฯ

ฐิตา:



๖๕. อะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา

    ในบทที่ ๖๕ นั้นมีพระบาลีว่า อะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายบังเกิดคับแค้นขึ้นในใจเพราะความที่ไม่ได้เห็น โดยเนื้อความว่าบุคคลทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อเวลาได้ประสบซึ่งความพลัดพรากจากสัตว์แลสังขารอันเป็นที่รักที่เจริญใจ หรือเวลาทรัพย์แลสมบัติฉิบหายไปด้วยภัยอันใดอันหนึ่งก็ดี ย่อมบังเกิดความคับแค้นขึ้นในใจเพราะความที่ไม่ได้เห็น

    ดังมีบุคคลเป็นนิทัศนอุทาหรณ์ว่า ยังมีบุรุษผู้หนึ่งไปเรียนมนต์ปลาอยู่ในสำนักของอาจารย์แห่งหนึ่ง ครั้งจำได้จนชำนิชำนาญแล้ว จึงลาอาจารย์ไปกระทำบริกรรมอยู่ที่หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ตั้วความเพียรในบริกรรมไป ๆ ก็ไม่เห็นปลามา ตัวเองบังเกิดความคับแค้นขึ้นในใจ ครั้นรู้ถึงอาจารย์ อาจารย์จึงบอกว่า ท่านอย่าบริกรรมลืมตาขึ้น ปลามันกลัว บุรุษนั้นก็กระทำตามลัทธิของอาจารย์นั่งหลับตาบริกรรมไป อาจารย์ก็จับปลามาใส่ลงในบ่อที่บุรุษนั้นบริกรรมอยู่ ครั้นบุรุษนั้นลืมตาขึ้นก็ได้เห็นปลา ก็บังเกิดความดีใจ สิ้นความคับแค้นในใจ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นจึงได้ชื่อว่า อะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา ฉะนี้ฯ


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version