๑๕. อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา จักได้แสดงติกมาติกาในบทที่ ๑๕ สืบต่อไป โดยนับพระบาลีว่า อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา ดังนี้ แปลว่า ธรรมทั้งหลาย
อันทรงไว้ซึ่งจิตที่ไม่เศร้าหมอง ความคิดนึกก็คิดนึกในธรรมที่ไม่เศร้าหมอง ดังนี้ โดยความอธิบายว่า จิตที่เป็นกิริยาประกอบไปด้วย
ธรรม อันเป็นเครื่องถอนออกเสียซึ่งธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่องเศร้าหมองอยู่ในสันดาน เปรียบเหมือนหนึ่งทารกไม่มีความยินดีในกามคุณแต่ไปบรรพชา บรรพชาก็เป็นเครื่องกำจัดเสียจากกามคุณ เพราะฉะนั้นจึงสมกับบาลีว่า อะสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกา ธัมมา
ซึ่งแปลว่า ธรรมก็ไม่เศร้าหมอง จิตก็ไม่เศร้าหมอง ความคิดนึกในธรรมารมณ์ก็ไม่เศร้าหมองฉะนี้ แก้ไขในบทติกมาติกาที่ ๑๕ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ
๑๖. สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา ในลำดับนี้จักได้แสดงติกมาติกาในบทที่ ๑๖ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา เป็นต้น แปลว่า ธรรมทั้งหลาย
เป็นไปกับวิตกและวิจารณ์ วิตกและวิจารณ์ทั้ง ๒ นี้ โดยความอธิบายว่า บุคคลที่มีวิจารณ์ตรึกตรองไปต่าง ๆ นั้น เปรียบเหมือนหนึ่งพระโสดาบันท่านวิจารณ์
ไปว่า สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามานขาดไปแล้ว
ไม่มีอยู่ในสันดานของเราแล้ว จะคิดเป็นประการใดหนอ จึงจะสละกามฉันทะ พยาบาท ได้ฉะนี้
ความตรึกตรองไปเช่นนี้เรียกชื่อว่าวิจารณ์ แล้วท่านจึง
วิตกไปว่า กามฉันทะ พยาบาท ก็ยังมีอยู่ในสันดานของเรา เราจะคิดเป็นประการใดหนอ เราจึง
สละกามฉันทะ พยาบาทไปได้ ฉะนี้
พระสกวาทีฯ จึงขออุปาอุปไมยต่อไปอีกว่า ข้าแต่ท่านปรวาทีฯ ความข้อนี้ข้าพเจ้ายังมีความสงสัยอยู่ เพราะฉะนั้นขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงอุปมาอุปไมยอีกต่อไป
พระปรวาทีฯ จึงได้แสดงอุปมาอุปไมยว่า เปรียบเหมือนหนึ่งพ่อค้าลงทุนหากำไร การค้าขายนั้นมีกำไรมากอยู่แล แต่ว่าวิตกไป กลัวบุคคลผู้อื่นเขาจะมาแบ่งซึ่งค้าขายฉะนี้ ถ้ามิฉะนั้นเปรียบเหมือนท่านทายก อุบาสก อุบาสิกาที่ได้โอกาสถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และพิจารณาทดลองของบริโภคเครื่องไทยทานของตน
ก็เห็นว่าดีแล้ว และคิดไปว่าพระท่านจะชอบหมดทุกองค์ หรือว่าจะไม่ชอบบ้างเป็นประการใด คอยตรวจตราแลดู เพิ่มเติมเปรี้ยวหวานมันเค็มเป็นต้นอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล เรียกว่าวิตกวิจารณ์ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า สะวิตักกะสะวิจารา ธัมมา