ผู้เขียน หัวข้อ: พระมหากัสสปะ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์  (อ่าน 2688 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

               

พระมหากัสสปะ
เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
    พระมหากัสสปะ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปะในบ้านมหาติฏฐะ
    แคว้นมคธ ชื่อเดิมของท่านคือ “ปิปผลิ” แต่คนทั่วไปมักเรียกท่านตามวงศ์ตระกูลว่า
    “กัสสปะ” เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี ซึ่งเป็นสาวงาม
    วัย ๑๖ ปี ธิดาของพราหมณ์ตระกูลโกลิยะ ณ เมืองสาคลนคร แคว้นมคธ

     ปิปผลิมาณพถูกแปลงสาร
      เมื่อปิปผลิมาณพ อายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้ปรึกษากันว่าจะหาภรรยาให้แก่บุตรชาย
      จึงได้มอบเงินและทองให้แก่พราหมณ์ ๘ คน เพื่อสืบแสวงหาสาวงามที่มีฐานะเสมอกัน
      พราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวสืบแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ มาจนถึงสาคลนคร ได้พบธิดาของ
      โกลิยพราหมณ์นามว่า “ภัททกาปิลานี” วัย ๑๖ ปี เป็นที่ถูกอกถูกใจยิ่ง จึงสู่ขอกับบิดามารดา
      ของนาง ตกลงแล้วได้มอบสิ่งของเงินและทองหมั้น กำหนดวันอาวาหมงคลแล้วกลับไปแจ้งข่าว
      สารแก่กปิลพราหมณ์

      ปิปผลิมาณพ ได้ทราบข่าวสารนั้นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ เพราะตนไม่มีความปรารถนาจะ
      แต่งงาน จึงหลบเข้าไปในห้อง เขียนจดหมายบรรยายความประสงค์ของตนให้นางทราบว่า
      “ตนไม่ปรารถนาจะแต่งงาน ขอให้นางจงแต่งงานกับชายที่มีชาติตระกูลเสมอกัน และอยู่ครอง
      ชีวิตคู่ด้วยความสุขสำราญเถิด ส่วนข้าพเจ้าจะออกบวช” เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็มอบให้คนใช้
      สนิทนำไปส่งให้แก่นางภัททกาปิลานี

      แม้นางภัททกาปิลานีก็มีใจตรงกัน และได้เขียนจดหมายซึ่งมีใจความเหมือนกัน มอบให้
      คนรับใช้นำไปส่งให้แก่ปิปผลิมาณพ บังเอิญคนถือจดหมายทั้งสองฝ่ายมาพบกันระหว่างทาง ทัก
      ทายปราศรัยถามไถ่กิจธุระของกันและกันแล้วนำจดหมายทั้งสองฉบับออกอ่าน ทราบความโดย
      ตลอดแล้วฉีกทำลายทิ้งแล้วเขียนจดหมายขึ้นมาใหม่ บรรยายความรักแก่กันและกันแล้วนำไปส่ง
      ให้แก่เจ้านายของตน การอาวาหมงคลระหว่างคนทั้งสองจึงเกิดขึ้น

      สภาพชีวิตการครองคู่
      ภายหลังจากแต่งงานกันแล้ว การครองคู่ของคนทั้งสองนั้นไม่เหมือนสามีภรรยาคู่อื่น ๆ
      เพราะสักแต่ว่าอยู่ร่วมห้องกันเท่านั้น ต่างก็ไม่มีจิตคิดจะร่วมสังวาสกัน แม้เวลาจะขึ้นเตียงนอนก็
      ขึ้นกันคนละข้าง มีแจกันดอกไม้ตั้งอยู่ตรงกลางเตียง ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองอยู่ร่วมกันนั้น มิ
      ได้สัมผัสถูกต้องกันเลยจึงไม่มีบุตรหรือธิดาสืบสกุล

      เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงานทุกอย่างจึงเป็นภาระของ
      สองสามีภรรยา และเนื่องจากตระกูลทั้งสองเป็นตระกูลมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมสอง
      ตระกูลเข้าเป็นตระกูลเดียวกันแล้วทรัพย์สมบัติก็ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยงและคนงาน
      จำนวนมาก สองสามีภรรยาต้องบริหารสั่งการทุกอย่าง

      จนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่ปิปผลิกำลังตรวจดูทาสและกรรมกรทำงานอยู่ในไร่นา ได้
      เห็นนกกาจิกกินสัตว์น้อยมีไส้เดือนเป็นต้น ก็รู้สึกสงสารและสลดใจที่สัตว์เหล่านั้นต้องตาย
      เพราะตนเป็นเหตุ ส่วนนางภัททกาปิลานี ก็ให้คนนำเมล็ดถั่วงาออกมาตากที่ลานหน้าบ้าน เห็น
      หมู่นกกามาจิกกินตัวหนอนและแมลงต่าง ๆ ก็เกิดความสงสารและสลดใจเช่นกัน เมื่อสองสามี
      ภรรยามีโอกาส อยู่กันตามลำพังได้สนทนาถึงเรื่องความในใจของกันและกันแล้ว จากนั้นทั้งสอง
      ก็มีความคิดตรงกันว่า

      “ผู้อยู่ครองเรือน แม้จะไม่ได้ลงมือทำการงานเอง แต่ก็ต้องคอยรับบาปที่ทาสและ
      กรรมกรทำให้” จึงเกิดความเบื่อหน่ายเพศฆราวาสพร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติ
      และบริวาร
      ส่วนทั้งสองสามีภรรยาพากันออกบวช จัดหาผ้ากาสาวพัสตร์และบริขารพากันปลงผม
      แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ อธิฐานเพศบรรพชิตบวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินร่วมทาง
      กันไป พอถึงทางสองแพร่งจึงแยกทางกัน ปิปผลิไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานี ไปทางซ้าย
      นางเดินทางไปพบสำนักปริพาชกแล้วได้เข้าไปขอบวชในสำนักนั้น เนื่องด้วยขณะนั้น พระผู้มี
      พระภาคยังมิได้ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา ต่อเมื่อพระนางปชาบดีโคตรมีได้
      บวชแล้ว นางจึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระเถระ ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญ
      วิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล


อุปสมบทด้วยวิธีรับโอวาท ๓ ข้อ
    ส่วนปิปผลิมาณพพบพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ร่ม “ พหุปุตตนิโครธ ” ( ต้นกร่าง ) ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองลันทาต่อกัน เห็นพุทธจริยารู้สึกน่าเลื่อมใสแปลกกว่านักบวชอื่น ๆ ที่ตนเคยพบมา ปลงใจเชื่อว่าต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอน จึงน้อมกายกราบถวายบังคมแทบพระบาท กราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา

    พระพุทธองค์ทรงประทานพระโอวาท ๓ ประการ เรียกว่า " โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา " โอวาท ๓ ข้อนั้นคือ
    ๑. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นพระเถระผู้เฒ่า ผู้มีพรรษาปานกลาง และผู้บวชใหม่
    ๒. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักฟังธรรม บทใดบทหนึ่งอันประกอบด้วยกุศลด้วยความตั้งใจฟังโดยเคารพ และพิจารณาจดจำเนื้อความธรรมบทนั้น
    ๓. กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่ละสติไปในกาย คือ พิจารณากายเป็นอารมณ์โดยสม่ำเสมอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2011, 12:56:40 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระมหากัสสปะ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2011, 01:27:10 pm »

                              

ได้รับยกย่องในทางผู้ทรงธุดงค์
      เมื่อท่านอุปสมบทแล้วทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบท
      ได้ ๘ วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม “พระมหากัสสะ” ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรม
      สั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทาน
      ธุดงค์ ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด คือ:-

      ๑) ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร
      ๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
      ๓) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร


      เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยก
      ย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงธุดงค์
      นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ:-
      ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่งท่านได้พับผ้า
      สังฆาฏิของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่ง
พระพุทธองค์ตรัสว่า:-
      “กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี”
      “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช้สอยเถิด พระเจ้าข้า”
      “กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำสังฆาฏิเล่า ?”
      “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ
      พระเจ้าข้า”

      ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่าน
      แล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการคือ:-

      ๑) กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้ง
      หลายควรถือเป็นแบบอย่าง
      ๒) กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคน
      ใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น
      ตั้งจิตเป็นกลางว่า
“ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็
      มีใจเป็นฉันนั้น”
      ๓) กัสสปะ มีจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น
      ๔) ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช้สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติ
      ชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง


พระเถระขับไล่นางเทพธิดา   
      ครั้งหนึ่งพระเถระพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิ เข้าฌานสมาบัติอยู่ ๗ วัน ออกจากฌานแล้วเข้าไป
      บิณฑบาต ในบ้านหญิงสาวคนหนึ่งเห็นพระเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้นำข้าวตอกใส่บาตร
      พระเถระแล้วตั้งความปรารถนา ขอเข้าถึงส่วนแห่งธรรมที่พระเถระบรรลุแล้ว พระเถระกล่าว
      อนุโมทนาแก่เธอแล้วกลับยังที่พัก

      ฝ่ายนางกุลธิดานั้นมีจิตเอิบอิ่มด้วยทานที่ตนถวาย ขณะเดินกลับบ้านถูกงูพิษกัดตาย และ
      ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า “ลาชา” (ลาชา = ข้าวตอก) มีวิมานทอง
      ประดับด้วยขันทองห้อยอยู่รอบ ๆ วิมาน ในขันนั้นเต็มด้วยข้าวตอกทองเช่นกัน นางมองดูสมบัติ
      ทิพย์ที่ตนได้แล้วก็ทราบว่าได้มาเพราะถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นบุญเพียงเล็กน้อย
      นางต้องการที่จะเพิ่มผลบุญให้มากยิ่งขึ้น จึงลงจากเทวพิภพเข้าไปปัดกวาดเสนาสนะและ
      บริเวณที่พักของพระเถระ จัดตั้งน้ำใช้น้ำฉันเสร็จแล้วกลับยังวิมานของตน
      พระเถระคิดว่ากิจเหล่านี้คงจะมีพระภิกษุหรือสามเณรมาทำให้ ในวันที่สองที่สาม นาง
      เทพธิดามาทำเหมือนเดิม แม้พระเถระก็คิดเช่นเดิม แต่พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดและเห็นแสง
      สว่างจากช่องกลอนประตูจึงถามว่า “นั่นใคร ?”

      “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเทพธิดาชื่อลาชา เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน”
      พระเถระคิดว่า หญิงผู้เป็นอุปัฏฐากของเราชื่ออย่างนี้ไม่มี จึงเปิดประตูเห็นนางเทพธิดา
      กำลังปัดกวาดอยู่ จึงสอบถามทราบความโดยตลอดตั้งแต่ต้นแล้ว จึงกล่าวห้ามว่า “กิจที่เธอทำ
      แล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ต่อแต่นี้เธอจงอย่างมาทำอีก เพราะในอนาคต จะมีพระธรรมกถึกยกเอา
      เหตุนี้เป็นตัวอย่างอ้างแก่พุทธบริษัททั้งหลาย ว่า “พระมหากัสสปะมีนางเทพธิดามาปฏิบัติใช้
      สอย
" ดังนั้น เธอจงกลับไปเถิด


      นางเทพธิดาได้อ้อนวอนซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าขอพระคุณเจ้าอย่างทำให้ดิฉันประสบหายนะเลย
      ขอให้ดิฉันได้ครองสมบัติทิพย์นี้ตลอดกาลนานเถิด
      พระเถระเห็นว่านางเทพธิดาดื้อดึงไม่ยอมฟังคำ จึงโบกมือพร้อมกล่าวขับไล่นางออกไป
      นางลาชาเทพธิดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จงเหาะขึ้นไปบนอากาศยืนประนมมือร้องไห้เสียดายที่
      ไม่มีโอกาสทำทิพยสมบัติของตนให้ถาวรได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2011, 01:39:51 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระมหากัสสปะ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2011, 09:19:49 pm »

                     

พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา
      ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อย
      โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่าน
      กำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก
      อาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ
      รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ
      พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระ
      พุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำ
      อะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว”

      พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์
      ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็
      คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง”
      ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้
      ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้
      เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดา
ปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป

      สาระสำคัญของปฐมสังคายนา 
      ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย
      ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย
      ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม
      ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์
      ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์
      ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ


ชีวิตในบั้นปลาย
      ในคัมภีร์พระสาวกนิพพานกล่าว่า พระมหากัสสปะเถระ เมื่อทำหน้าที่เป็นประธานใน
      การทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี
      ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้วทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวัน
      เดียวเท่านั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอน
      ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียรและอย่าประมาท
      แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยัง
      ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริยิ์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิต
      ขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูขาทั้ง ๓ ลูกนั้นมีภูเขาเวภารบรรพตสถานที่ทำ
      ปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นั้น

      ท่านยังอธิษฐาน ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั่งพระศาสนา
      พระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระ
      ของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิด
      ขึ้นเผาสรีระของท่าน
บนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น



http://www.84000.org/one/1/18.html
baby@home :http://agaligohome.com/index.php?topic=3446.0
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ




มหากัสสปสูตร
[๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป-
*สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปนั่งเข้าสมาธิ
อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ โดยบัลลังก์เดียว ที่ถ้ำปิปผลิคูหา สิ้น ๗ วัน ครั้น
พอล่วง ๗ วันนั้นไปท่านพระมหากัสสปก็ออกจากสมาธินั้น เมื่อท่านพระมหากัสสป

ออกจากสมาธินั้นแล้ว ได้มีความคิดว่า ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปบิณฑบาตยัง
พระนครราชคฤห์เถิด ก็สมัยนั้นแล เทวดาประมาณ ๕๐๐ ถึงความขวนขวาย
เพื่อจะให้ท่านพระมหากัสสปได้บิณฑบาต ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระมหา-
*กัสสปห้ามเทวดาประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น แล้วนุ่งผ้าอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ ฯ

[๘๐] ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงพระประสงค์จะถวาย
บิณฑบาตแก่ท่านพระมหากัสสป จึงทรงนิรมิตเพศเป็นนายช่างหูกทอหูกอยู่
นางอสุรกัญญาชื่อว่าสุชาดากรอด้ายหลอดอยู่ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเที่ยว
ไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ตามลำดับตรอก เข้าไปถึงนิเวศน์ของท้าวสักกะ-
*จอมเทพ ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงเห็นท่านพระมหากัสสปมาแต่ไกล ครั้นแล้ว

เสด็จออกจากเรือนทรงต้อนรับ ทรงรับบาตรจากมือ เสด็จเข้าไปสู่เรือน ทรงคด
ข้าวออกจากหม้อใส่เต็มบาตร แล้วทรงถวายแด่ท่านพระมหากัสสป บิณฑบาตนั้น
มีสูปะและพยัญชนะเป็นอันมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปคิดว่า สัตว์นี้
เป็นใครหนอแล มีอิทธานุภาพเห็นปานนี้ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป
มีความคิดว่าท้าวสักกะจอมเทพหรือหนอแล ท่านพระมหากัสสปทราบดังนี้แล้ว

ได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรท้าวโกสีย์ มหาบพิตรทำกรรมนี้แล้วแล
มหาบพิตรอย่าได้ทำกรรมเห็นปานนี้แม้อีก ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่าน
พระมหากัสสปผู้เจริญ แม้ข้าพเจ้าก็ต้องการบุญ แม้ข้าพเจ้าก็พึงทำเพราะบุญ
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพทรงอภิวาทท่านพระมหากัสสป ทรงทำประทักษิณ
แล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส เปล่งอุทาน ๓ ครั้งในอากาศว่า

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป ฯ

[๘๑] พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับอุทานของท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเหาะ
ขึ้นไปสู่เวหาสแล้ว ทรงเปล่งอุทานในอากาศ ๓ ครั้งว่า
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป
โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่งเราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป ฯ

ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ลำดับนั้นแลพระผู้มี-
*พระภาคทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อภิกษุผู้ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่เลี้ยงคนอื่น ผู้คงที่สงบแล้ว
มีสติทุกเมื่อ ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 08, 2014, 08:03:42 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: พระมหากัสสปะ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 29, 2011, 10:11:28 pm »

                 

                         อดีตชาติตั้งความปรารถนา

   ในกาลแห่งพระศาสนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหากัสสปเถระนี้ ได้บังเกิดขึ้นในเรือนตระกูลหงสาวดีนคร มีชื่อว่า " เวเทหะ " วันหนึ่งได้ไปสดับฟังพระธรรมเทศนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาจบการแสดงพระธรรมเทศนา ท่านได้เห็นพระภิกษุรูปหนึ่งได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์ แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

   ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระปทุมุตตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก ขณะที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกกำลังฉันภัตตาหารอยู่ที่บ้านของท่านนั้น พระมหานิสภะเดินบิณฑบาตผ่านมาพอดี ท่านจึงนิมนต์ให้เข้าไปฉันภัตตาหารในบ้าน พระมหานิสภะปฏิเสธเพราะท่านสมาทานธุดงค์ครอบทั้ง ๑๓ ข้อ และธุดงค์อยู่ในข้อหนึ่งว่าด้วยการฉันแต่เฉพาะอาหารที่บิณฑบาตได้มา

   โดยจะไม่ยอมฉันในที่นิมนต์ ท่านจึงให้คนจัดอาหารมาใส่บาตร ครั้นพระมหานิสภะกลับไปแล้ว ท่านได้กราบทูลเรื่องพระมหานิสภะให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสรรเสริญพระมหานิสภะในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องธุดงค์ ยิ่งทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสจึงถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกเพิ่มอีกเป็น ๗ วัน วันสุดท้ายหลังจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกฉันภัตตาหารแล้ว ท่านได้ถวายผ้าไตรจีวรให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกครอง แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระสัมปทุมุตรพุทธเจ้าพลางกราบทูลว่า

   " ข้าแต่พระบรมศาสดาจารย์ ตลอด ๗ วันที่ข้าพระองค์ถวายมหาทานอยู่นี้ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ข้าพระองค์ไม่จำนงถึงซึ่งสมบัติอย่างอื่น ไม่ว่าสวรรค์สมบัติหรือมนุษย์สมบัติ นอกจากนิพพานสมบัติเท่านั้น ด้วยผลบุญนี้ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นผู้เลิศกว่าพระภิกษุทั้งหลายในด้านสมาทานธุดงค์เหมือนพระมหานิสภะ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกาลข้างหน้านี้เถิด พระเจ้าข้า "

   พระปทุมุตตพุทธเจ้า ทรงพิจารณาเห็นว่าการตั้งปณิธานของกุลบุตรผู้นี้จักสำเร็จสมมโนรถเป็นแน่แท้ จึงมีกระแสพระพุทธฏีกาว่า

   " ในที่สุดอีกแสนกัปข้างหน้า จะมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระโคดม จะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้บรรลุอรหัตผลและได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์"

   ท่านได้ฟังพระปทุมุตตพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึง

   ในสมัยของพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า ท่านได้มาเกิดพราหมณ์ยากจนชื่อ " จูเฬกสาฏก" ได้นางพราหมณียากจนคนหนึ่งเป็นภรรยา จูเฬกสาฏกกับภรรยาต่างผลัดเปลี่ยนกับไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ภรรยาไปฟังธรรมตอนกลางวัน ส่วนจูเฬกสาฏกไปฟังธรรมตอนกลางคืน เหตุที่ทั้งสองสามีภรรยาไม่สามารถไปฟังธรรมพร้อมกันได้เพราะมีผ้าห่มออกข้างนอกเพียงผืนเดียว ซึ่งต้องผลัดกันใช้ คืนวันหนึ่ง ขณะที่นั่งฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่นั้น จูเฬกสาฏกเกิดศรัทธาจึงได้ถวายผ้าห่มที่มีอยู่ผืนเดียวของตนนั้นเป็นพุทธบูชา พร้อมทั้งเปล่งวาจาว่า " ข้าพระองค์ชนะแล้ว "

   ชัยชนะที่จูเฬกสาฏกหมายถึง คือ ชนะความตระหนี่ในใจของตนเองได้ พระเจ้าพันธุมราชกษัตริย์แห่งเมืองพันธุมดีทรงทราบความจริงจึงพระราชทานทรัพย์ให้เขาเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยให้เขาพ้นจากความยากจน จูเฬกสาฏกกับภรรยาแม้จะมั่งมีขึ้นก็ไม่ได้ประมาท ทั้งสองได้บริจากทรัพย์ส่วนหนึ่งบำรุงพระพุทธศาสนาและบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธดรหนึ่ง ( ช่วงระยะเวลาที่โลกว่างพระพุทธเจ้า ไม่มีพระพุทธศาสนา)

   ชาติหนึ่งในพุทธันดรนั้นท่านได้เกิดเป็นบุตรกฏมพี วันหนึ่งขณะเดินไปตามริมฝั่งน้ำพบพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งกำลังทำจีวรอยู่ ทราบว่าผ้าสำหรับทำอนุวาตะ ( ผ้าทาบชายจีวร ) ไม่พอท่านจึงได้ถวายผ้าชิ้นหนึ่ง และท่านยังได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอีกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธกาลของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

   ท่านได้เกิดเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทได้ช่วยกันสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ท่านได้สละทรัพย์จำนวนหนึ่งออกร่วมทำบุญถวายเป็นพุทธบูชา

   นอกจากนั้นยังได้จัดดอกไม้บูชาพระเจดีย์จนดูสวยงาม ท่านยังได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอีกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านได้เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์กปิละดังกล่าวมาแล้ว ครั้นท่านออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล...



:http://www.larnbuddhism.com/atatakka/pratera/pratera05.html
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ออฟไลน์ zeun4749

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 1
  • พลังกัลยาณมิตร 1
    • ดูรายละเอียด
Re: พระมหากัสสปะ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 21, 2012, 08:00:43 pm »
ครับๆ ผมเข้าใจเเล้วครับท่าน!