ผู้เขียน หัวข้อ: 5 อานิสงส์ของการฟังธรรม  (อ่าน 2338 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
5 อานิสงส์ของการฟังธรรม
« เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 07:12:19 pm »

5 อานิสงส์ของการฟังธรรม 

ธรรมสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์ของการฟังธรรม หมายถึงผลดีหรือส่วนดีที่เกิดขึ้นทันทีที่คนเรามีความตั้งใจฟังธรรม คือหลักคำสั่งสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ที่พระภิกษุค้นคว้านำมาเทศน์ ปาฐกถา บรรยายหรือบอกเล่ากล่าวสอนในกาลเทศะต่างๆ โดยไม่ต้องรอการให้ผลในชาติหน้า มี 5 ประการ ดังนี้

1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง หมายถึงว่า การฟังธรรมนั้นเป็นการหาความรู้ที่ดีอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะความรู้ที่เกี่ยวกับหลักพระพุทธศาสนาจากพระภิกษุผู้มีภูมิธรรมศึกษา ปฏิบัติพุทธธรรมตามหลักพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกอย่างเชี่ยวชาญ พร้อมที่จะนำออกเผยแผ่แก่ประชาชน โดยมีคุณสมบัติของการเป็นนักเทศน์หรือนักสอนธรรมที่ดี

โดยเหตุที่ผู้ฟังคือคฤหัสถ์หรือชาวบ้านนั้น เป็นผู้มีโอกาสน้อยที่จะได้ศึกษาค้นคว้าหลักพุทธธรรมในพระไตรปิฎกโดยตรง ดังนั้น จึงต้องอาศัยการฟังจากพระภิกษุที่เมตตาแสดงธรรม

เมื่อตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ อานิสงส์ที่จะได้อย่างแน่นอน เป็นประการแรก ก็คือได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง เพราะพระภิกษุนั้นท่านย่อมจะมีวิธีการนำเสนอหลักธรรมที่ไม่ซ้ำๆ กันอย่างชาญฉลาด พร้อมทั้งให้ข้อคิดความเห็นแปลกๆ ใหม่ๆ โดยปรับปรุงวิธีการเทศน์การสอน ที่ประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ

2. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด หมายความว่า ธรรมข้อใด หรือเรื่องใดที่เคยฟัง มาแล้วจากการแสดงธรรมเป็นต้น ของพระภิกษุในครั้งก่อน แต่ยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง เมื่อตั้งใจฟังอีกครั้ง อานิสงส์ที่จะได้อย่างแน่นอนเป็นประการที่ 2 ก็คือความเข้าใจ ชัดแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการทบทวนความรู้เดิมที่ดีอีกด้วย

3. บรรเทาความสงสัยเสียได้ หมายความว่า ตามปกติ ของผู้ไม่มีโอกาสศึกษาหลักพุทธธรรมอย่างลึกซึ้ง ย่อมจะเกิดความสงสัยในเรื่องนามธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น เรื่องบาป บุญ คุณ โทษเป็นอย่างไร มีผลอย่างไร อะไรเป็นบุญกุศล อะไรคือบาปอกุศล ผลของบาปหรือบุญมีจริงหรือไม่ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ เป็นต้น ความสงสัยเช่นนี้ จะบรรเทาลงได้ ถ้าตั้งใจฟังธรรม ซึ่งนับเป็นอานิสงส์ประการที่ 3 ที่ผู้ฟังธรรมจะได้รับทันทีเมื่อฟังธรรมจากพระภิกษุผู้มีความสามารถในการ เทศน์ ซึ่งจะอธิบายเรื่องที่เป็นนามธรรม ด้วยการสาธกยกอุปมาเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย

4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ หมายถึงว่า เพราะคฤหัสถ์ ชาวบ้านบางคนได้นับถือพระพุทธศาสนาตามที่บรรพบุรุษนับถือมา ดังนั้น จึงอาจจะมีความคิดเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรมได้ เช่น เห็นว่าทำดีเมื่อไม่มีคนเห็น ก็ไม่ได้รับผลดี หรือเห็นว่าจะดีหรือชั่ว ก็แล้วแต่โชคชะตาฟ้าลิขิต เป็นต้น

การมีความคิดเห็นเช่นนี้จะถูกทำลายลงได้ คือเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็ต่อเมื่อตั้งใจฟังธรรมโดยเคารพ จากพระภิกษุผู้มีความสามารถในการแสดงธรรม ที่จะพรรณาสาธกยกเหตุผลประกอบจนผู้ฟังนั้นคล้อยตาม ปรับความเห็นให้ถูกต้องอย่างปราศจากข้อโต้แย้งในใจ

5. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส หมายถึงว่า การตั้งใจฟังธรรมนั้น ท่านจัดเป็นส่วนหนึ่งของการภาวนา คือการฝึกอบรมพัฒนาจิตให้ เกิดปัญญา เพราะเมื่อตั้งใจฟัง จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส อันเป็นคุณสมบัติของสมาธิจิต เมื่อจิตผ่องใสตั้งมั่นเป็นสมาธิ ย่อมมีพลานุภาพที่จะคิดอ่านทำการต่างๆ อย่างสร้าง สรรค์ด้วยปัญญา สามารถที่จะรู้และเข้าใจธรรมต่างๆ ที่ลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพได้ง่าย และอานิสงส์ข้อนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากอานิสงส์ทั้ง 4 ข้อดังกล่าวมา

พระพุทธศาสนาได้ให้ความสำคัญต่อการฟังธรรมเป็น อย่างมาก เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ที่เรียกว่า สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรม ข้อนี้มีพระพุทธภาษิตตรัสรับรองไว้ว่า สุสฺสุสํ ลภเต ปัญญํ ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา

การฟังธรรมท่านจัดเป็น 1 ในบุญกิริยาวัตถุ 10 (ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการฟัง) ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่ง ความดีในการพัฒนาตนให้มีความคิดสติปัญญาที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ และเจริญงอกงามในพุทธธรรมต่อไป

แต่การฟังธรรมนั้น ผู้ฟังจะได้รับอานิสงส์หรือจะสำเร็จ ผลได้อย่างแท้จริง ต้องอาศัยความตั้งใจฟังโดยเคารพ คือมีสติสัมปชัญญะคอยควบคุมจิต ให้มุ่งดำเนินไปตามกระแสธรรมที่พระภิกษุท่านนำมาแสดง ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆจึงจะได้รับอานิสงส์ทั้ง 5 ประการดังที่แสดงมา

แต่หากว่าผู้ฟังแสดงอาการไม่เคารพในการฟัง เช่น ในขณะฟังหรือในขณะที่พระท่านเทศน์ กลับพูดคุยกัน แข่งแย่งกันพูด บ่นว่าปวดเมื่อยหรือรำคาญ แสดงอาการเหม่อ ใจลอย หรือหลับ ไม่ใช้สติปัญญาคิดพิจารณาตามกระแสธรรม การฟังธรรมก็จะไม่สำเร็จประโยชน์เป็นอานิสงส์ใดๆ แก่ผู้ฟังเลย กลับจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

                    

9 จรรยาบรรณของผู้ฟังธรรมที่ดี

ผู้ฟังธรรมที่ดี จึงควรมีจรรยาบรรณของผู้ฟัง ดังนี้
1. ไม่พูดมากขณะฟัง
2. ไม่พูดเรื่องที่คนอื่นเขาพูดมากแล้ว
3. ไม่พูดถึงคนอื่นในแง่ร้าย
4. ใช้สติปัญญาขณะฟัง

5. ยอมรับความจริงว่ายังไม่รู้ไม่เข้าใจในสิ่งที่ฟัง

6. ไม่ลบหลู่ดูถูกดูหมิ่นผู้เทศน์หรือผู้แสดงธรรม
7. ไม่มีจิตคิดแข่งดี คือไม่คิดยกตนว่าสามารถพูดได้ดีกว่าผู้แสดง
8. ไม่มีจิตกระด้าง คอยจ้องจับผิดผู้แสดงธรรม
9. ไม่ฟังแบบเสียไม่ได้

เมื่อมีจรรยาบรรณเช่นนี้ ก็จะได้รับประโยชน์จากการฟังธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน

(จากส่วนหนึ่งของหนังสือคู่มือพุทธศาสนิกชน)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 117 สิงหาคม 2553 โดย แก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
ที่มา  :http://board.palungjit.com/f14/5-อานิสงส์ของการฟังธรรม-289872.html

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

ธรรมคุณ ๖ (คุณของพระธรรม)

๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง)

๒. สนฺทิฏฺฐิโก (อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้)

๓. อกาลิโก (ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล)

๔. เอหิปสฺสิโก (ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง)

๕. โอปนยิโก (ควรน้อมเข้ามา คือ ควรเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึง ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่า เชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดู อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน)

๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญชนจะพึงรู้ได้ เป็นของจำเพาะตน ต้องทำจึงเสวยได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง)

คุณข้อที่ ๑ มีความหมายกว้างรวมทั้งปริยัติธรรม คือ คำสั่งสอนด้วย ส่วนข้อที่ ๒ ถึง ๖ มุ่งให้เป็นคุณของโลกุตตรธรรม จะเห็นได้ในที่อื่นๆ ว่า ข้อที่ ๒ ถึง ๖ ท่านแสดงไว้เป็น คุณบทของนิพพาน ก็มี

อ้างอิง
ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๘.
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)



http://www.madchima.org/forum/index.php?PHPSESSID=265e3779f802a6869cd40de5f126ea8a&board=1.0
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ