คลายวิถีทุกข์ด้วยธรรมะ > ธรรมะเสวนา
ชื่อว่าที่ลับในโลก ย่อมไม่มีแก่ผู้กระทำบาปกรรม
ฐิตา:
ความลับไม่มีในโลก
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ปรารภอุบายเครื่องข่มกิเลสที่เกิดขึ้นภายในพวกภิกษุในยามรุ่งแจ้งได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า…
กาลครั้นหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ในเมืองพาราณสี เมื่อเติบโตขึ้นเป็นหนุ่มได้ไปเรียนศิลปวิทยาในสำนักอาจารย์คนหนึ่งในเมืองนั้นเอง
ที่สำนักเรียน อาจารย์มีลูกสาวสวยคนหนึ่ง ต้องการอยากจะได้ลูกเขยเป็นผู้มีศีลธรรม คิดแผนการได้อย่างหนึ่งแล้ว ก็เรียกประชุมลูกศิษย์ทั้งหมด ประกาศให้ทราบว่า “นี่เธอทั้งหลาย ลูกสาวเราเติบโตเป็นสาวแล้ว เราจักให้เธอแต่งงานแต่ยังขาดผ้าประดับอยู่อีกมาก ขอให้พวกเธอจงลักเอาผ้าประดับพวกญาติๆ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องไม่มีใครเห็นนะ ผ้าที่มีคนเห็นเราจะไม่รับ” พวกลูกศิษย์รับคำ ตั้งแต่วันนั้นมา ลูกศิษย์คนอื่น ๆ ก็พากันนำผ้าประดับที่แอบลักได้มอบให้อาจารย์ ท่านก็เก็บรวบรวมไว้ที่หนึ่ง มีเพียงพระโพธิสัตว์เท่านั้นที่ไม่มีผ้าอะไรมามอบให้ อาจารย์จึงถามว่า “ทำไมเธอถึงไม่ลักผ้าประดับมาให้อาจารย์ละ” พระโพธิสัตว์ตอบว่า “อาจารย์ แม้แต่ท่านก็ไม่รับเอาสิ่งของที่เขาเอามาให้ เมื่อมีคนเห็น ผมก็ไม่เห็นที่ลับในการทำบาปเลย” แล้วกล่าวเป็นคาถาว่า
“ชื่อว่าที่ลับในโลก ย่อมไม่มีแก่ผู้กระทำบาปกรรม ต้นไม้ที่เกิดในป่าก็ยังมีคนเห็น คนพาลย่อมสำคัญบาปกรรมนั้นว่าเป็นความลับ”
อาจารย์เลื่อมใสเขามาก จึงยกลุกสาวให้แก่เขา พร้อมกับประกาศให้ศิษย์ทุกคนทราบและให้นำผ้าที่ทุกคนนำมาให้กลับคืนบ้านไป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : ความลับไม่มีในโลก แม้นไม่มีผู้อื่นทราบ ตัวเราเองย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจ
ธรรมะออนไลน์
ธรรมะวันนี้/นิทานธรรมะ/http://www.chonburiguide.com
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม ขอบคุณครับ ชอบหัวข้อนี้จังครับ
แหม๋ ผมว่าแล้ว ทำไมอาจารย์ไม่ยกลูกสาวให้ผม ที่แท้ผมไปขโมยผ้าประดับนี่เอง 55
ต๊ะติ้งโหน่ง:
อ่า
ไม่จริงมั๊งครับ
ที่ลับที่สุดในโลก ก็คือเรืองอจินไตย
เงาใจ:
ความจริงก็ไม่มีในโลก
แม้เราไม่รู้
:07: :07: :07:
พระพุทธองค์ย่อมรู้
ดุจเม็ดทราย:
--- อ้างจาก: เงาใจ ที่ กรกฎาคม 26, 2012, 10:08:18 am ---ความจริงก็ไม่มีในโลก
แม้เราไม่รู้
:07: :07: :07:
พระพุทธองค์ย่อมรู้
--- End quote ---
กรรมดี กรรมชั่ว ก็ไม่มีด้วยหรือครับ ?
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version