ผู้เขียน หัวข้อ: นั่งรถไฟไปโพธาราม ชมความงาม เสน่ห์วิถีถิ่นคนสวย  (อ่าน 2577 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



พระประธานกับจิตกรรมฝาผนังโบราณในวัดคงคาราม

นั่งรถไฟไปโพธาราม ชมความงาม เสน่ห์วิถีถิ่นคนสวย

วัดคงคาราม ตั้งอยู่ตำบลคลองตาคตเป็นศูนย์กลางของวัดมอญในละแวกนี้ ชื่อเดิมว่าวัดกลางหรือ เกี้ยโต้ ต่อมาสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามวัดนี้ว่า "วัดคงคาราม" เป็นที่จำวัดของพระครูรามัญญาบดี ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่รามัญ นิกาย เป็นวัดในอุปถัมภ์ของตระกูลจอมมารดากลิ่นในรัชกาลที่ 4 ผู้มีเชื้อสายมอญ ในปี พ.ศ. 2518 วัดคงคารามขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานแห่งชาติทั้งนี้เพราะพระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีมาแล้ว มีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถที่งดงาม ยังคงสภาพดี และพระประธานมีแกนในทำด้วยหินศิลาแลงกุฏิเก้าห้อง ในวัดคงคารามเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเป็นเรือนไม้พิพิธภัณฑ์ที่เก็บงานศิลปะโบราณอันทรงคุณค่าและงดงาม เช่น ตู้พระธรรม หีบพระธรรม เครื่องปั้นดินเผา และลุ้งที่สมบูรณ์มีอายุประมาณ 200 ปี เป็น  โลงศพไม้ท่อนเดียวแกะสลักลายดอกพุดตานอย่างสวยงาม ลักษณะด้านหน้าเป็นก้านขดลายลูกฟัก ลายดาว   เพดานตัวหีบ ด้านบนนั้นผายลงมายังส่วนฐานด้านล่างสุดลายกรวยเชิงด้านข้างทำเป็นลายประตู ศพที่บรรจุในลุ้งได้ต้องเป็นพระยามอญ หรือ พระภิกษุชั้นผู้ใหญ่หรือเจ้าอาวาสวัดคงคาราม

        นั่งรถไฟ ไปโพธาราม ชมความงามของสถานที่ท่องเที่ยวและวิถีชีวิตในอดีตที่ยังคงอยู่ พร้อมกับร่วมชมงานนิทรรศการภาพถ่ายสัญจร ซึ่งช่วยแต่งแต้มให้ที่นี้มีความน่าหลงไหลมากยิ่งขึ้น
           
            ที่ไหนเอ่ย ผู้คนจอแจ เดินไปมาวุ่นวาย บ้างนั่ง บ้างนอน รายรอบไปด้วย เสียงหวูด และกลิ่นไอสนิม ที่ยังคงไม่เคยจางไปจากความรู้สึก ใช่แล้ว ที่นี่คือสถานีรถไฟแบบไทยๆ นี่เอง ซึ่งทริปนี้ ตะลอนเที่ยว ได้เก็บกระเป๋าเดินทาง โดดขึ้นรถไฟที่หัวลำโพง แอบตามทัวร์กะทิกะลา มุ่งหน้ามายังจังหวัดราชบุรี ไปเที่ยวย้อนวันวาน ตามคอนเซปต์ เที่ยวละไม ไปโพธาราม อีก หนึ่งแนวคิดทางการท่องเที่ยวยุคนี้ ที่ดึงจุดเด่นของวิถีชีวิตท้องถิ่นตั้งแต่ครั้งอดีต นำกลับมานำเสนอให้คนกรุงในปัจจุบัน ได้ย้อนรำลึกถึงกันอีกครั้ง


         วิกครูทวี โรงหนังเก่าของโพธาราม
        เราใช้เวลา ประมาณ 2 ชั่วโมงเดินทางจากสถานีหัวลำโพง ไปยังสถานีโพธาราม ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนที่มีกล้องติดตัวไปด้วยคงสนุกสนานกับการถ่า ยรูปวิถี ชีวิตต่างๆ สองข้างทางตลอดจนบนโบกี้รถไฟ ภาพพ่อค้าแม่ค้าเดินขวักไขว่ไปมา อาจเป็นภาพชินตา แต่ก็ดูเหมือนว่าเป็นบรรยากาศแปลกใหม่ทุกครั้งที่ได้พบเจอ เพราะเดินทางมากับคณะทัวร์ จึงมีกิจกรรมสนุกๆ ที่ทำร่วมกันได้ทั้งครอบครัวอย่างการวาดและเพ้นท์สีกระเป๋าผ้า ซึ่งเด็กๆ นั้นดูจะชื่นชอบเป็นพิเศษ วาดภาพ ละเลงสี ขณะที่รถไฟวิ่งนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สุดท้ายก็ได้ผลงานที่ประทับใจของแต่ละคนออกมา
ผลงานศิลปะ บนรถไฟ

        เมื่อเริ่มใช้ สมองกับสองมือ ส่งผลให้ท้องก็เริ่มหิว และได้จังหวะที่มาถึงสถานีนครปฐม ซึ่งมีก๋วยเตี๋ยวห่อจิ๋ว ราคาแค่เพียงห่อละ 5 บาทเท่านั้น ส่วนเรื่องรสชาตินั้น บอกได้แค่ว่าแต่ละคนนั้นทานกันไม่ต่ำกว่าสองห่อ จากนั้นก็กลับมาใช้ชีวิตสนุกสนานบนรถไฟกันต่อ บ้างคุย บ้างหลับ เด็กๆ วิ่งเล่นไปมา จนในที่สุดก็ถึงปลายทางที่สถานีโพธาราม จุดหมายปลายทางในครั้งนี้
ก๋วยเตี๋ยว 5 บาท รสชาติอร่อยบนรถไฟ

        คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง ท่อนแรกของคำขวัญประจำจังหวัด ที่หนุ่มๆ หลายคนคงอยากพบเจอ แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ลงจากรถไฟแล้วเราก็มุ่งหน้ามายังบริเวณตรอกจับกัง ย่านชุมชนเก่าอีกแห่งของที่นี่
        เหตุที่เรียกว่าตรอกจับกังก็เพราะว่า ครั้งในสมัยก่อนนั้นการขนส่งสินค้าทางรถไฟนั้นเป็นที่นิยมกันมา กเพราะสะดวก สบาย และขนส่งได้ครั้งละมากๆ และบริเวณใกล้ๆ สถานีรถไฟโพธารามนี้ จึงเป็นที่อยู่อาศัยของจับกัง หรือคนที่รับจ้างขนถ่ายสินค้าจากรถไฟ จึงเป็นชื่อเรียกติดปากของชาวบ้านกันมาถึงปัจจุบัน

               ตรอกจับกัง
          เต้าหู้ดำ รสชาติดี เดินเลยตรอกจับกังมาก็ได้กลิ่นหอมของเต้าหู้ต้มลอยมาแต่ไกล ซึ่งเต้าหู้ดำที่โพธารามนี้เป็นของขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่ง มีทั้งรสเค็มและหวาน ส่วนสีดำของเต้าหู้นั้นเกิดจากการที่นำไปต้มกับเครื่องเทศแบบจี น คล้ายๆ ที่เราใช้ต้มพะโล้ ส่วนเคล็ดลับความอร่อยนั้น บอกกันมิได้ แต่เท่าที่เห็นนั้น นักท่องเที่ยวมักจะซื้อกลับไปเป็นของฝาก ปัจจุบันก็จะมีอยู่ 2 ร้าน ที่ยังคงขายเต้าหู้ดำอยู่คือร้านแม่เล็กโพธาราม และร้านเจ๊อั้งโพธาราม ซึ่งเจ้าเต้าหู้นี่สามารถนำไปประยุกต์เป็นเมนูอาหารได้อีกมากมา ย แล้วแต่ไอเดียใครจะบรรเจิด แต่แค่ลองชิมแบบที่ไม่ได้ปรุงแต่งรสชาติใดๆ ก็อร่อยถูกใจอย่างแน่นอน

              เต้าหู้ดำแสนอร่อย
        หลังจากชิม เต้าหู้ดำแล้ว เราชวนกันเดินผ่านตลาด มาหยุดอยู่ที่วิกครูทวี โรงหนังเก่าแก่ ที่อยู่คู่โพธารามมานานหลายสิบปี แต่ปัจจุบันนั้นได้ปิดตัวลงไป แต่ในที่สุดวันนี้ วิกครูทวีก็ได้กลับมามีสีสันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อทางชมรมอย่าลืมโพธาราม ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน ร่วมมือกับกลุ่มสห+ภาพ จัดงาน โพธาราม ลืมไม่ลง คงไม่ลืม งานนิทรรศการภาพถ่ายสัญจรซึ่งนำเสนอภาพวิถีชีวิตของคนในชุมชนดั งที่กล่าวมา และมาวิกครูทวีวันนี้เป็นวันที่เขากำลังจัดงานกันอยู่ ทำให้มีนักท่องเที่ยวจากหลากหลายที่ทยอยกันมาเดินเล่น ถ่ายรูป กับโรงหนังเก่า และบ้านเรือนในระแวกอยู่เยอะพอสมควร

  ภาพถ่าย แต่งแต้มวิถีชีวิต
        ถือได้ว่าเป็น โชคดีของ  ตะลอนเที่ยว เพราะทางชุมชนโพธารามเองได้เปิดให้เราได้ขึ้นไปดูห้องฉายหนังเก ่า ซึ่งยังคงสภาพเหมือนวันสุดท้ายที่เลิกใช้งาน คาดกันว่าน่าจะปิดตัวไปในช่วงปี พศ. 2541 และเครื่องฉายหนังนั้นเป็นเครื่องในสมัยรุ่นหลังสงครามโลก นับว่าน่าเสียดายที่เราไม่สามารถหลอมรวมวัฒนธรรมใหม่ๆ กับสิ่งมีคุณค่าในอดีตไว้ด้วยกันได้ เพราะอาจจะเป็นเรื่องความสะดวกสบายที่โรงหนังสมัยใหม่นั้นตอบโจ ทย์ไลฟ์สไตล์ คนในปัจจุบันได้มากกว่า แต่เชื่อได้เลยว่า สิ่งเก่าๆ เหล่านี้จะยังคงมีคุณค่าทางจิตใจมากกว่าเสมอ

     เครื่องฉายหนังโบราณ
      ก่อนจะเดิน ทางกลับสู่ที่พักนั้นได้มีโอกาสชมการแสดงที่ชาวโพธารามนั้นภูมิ ใจนำเสนอ นั่นก็คือการแสดงของหนังใหญ่วัดขนอน ศิลปะการแสดงที่คนเมืองโพธารามภาคภูมิใจ ปะทะโชว์หุ่นละครเล็กจากคลองบางหลวงซึ่งก็ไม่ทำให้ผู้ชมผิดหวัง เรียกเสียงปรบมือและรอยยิ้มจากทุกคนได้เป็นอย่างดี
        ศิลปะการแสดงทั้งสองเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชาวไทยมาช้านาน ซึ่งนับเป็นโชคดีของชาวโพธาราม ที่มีคนรุ่นใหม่เห็นคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์การแสดงทั้งสองเอาไว้ โดยเฉพาะกับหนังใหญ่วัดขนอนนั้น ปัจจุบันนอกจากจะโด่งดังไปไกลถึงเมืองนอกเมืองนาแล้ว ยังมีดีกรีพ่วงท้ายด้วยรางวัล 1 ใน 6 ชุมชนดีเด่นของโลกที่มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมจากองค์กรยูเนสโก

หนังใหญ่วัดขนอน 
            ทั้งนี้ศิลปะ การแสดงหนังใหญ่นั้นคาดกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 จนมาถึงปัจจุบัน สำหรับวัดขนอนถือเป็น 1 ใน 3 เป็นชุมชนที่หลงเหลือของเมืองไทยที่ยังคงอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน การแสดงหนัง ใหญ่เอาไว้ โดยนอกจากการละเล่นหนังใหญ่อันน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว วัดขนอนยังมีพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอนในกุฏิเรือนไทย ที่ภายในจัดแสดงตัวหนังใหญ่แกะสลักอย่างสวยงามจำนวนมาก           
            หลังจบการแสดงหนังใหญ่ปะทะหุ่นละครเล็ก คืนนั้นงานปิดท้ายด้วยเสียงเพลงขับกล่อมจากพี่จุ้ย ศุบุญเลี้ยง ให้ทุกคนกลับไปนอนฝันดี

   
                 หุ่นละครเล็กคลองบางหลวง
        เช้าวันใหม่ อากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน แต่ทุกคนชวนกันไปปั่นจักรยานลัดเลาะไปตามถนน ชมวิถีชีวิตเมืองโพธาราม ซึ่งน้อยคนที่จะรู้ว่า เมืองนี้มีมุมสวยๆ ให้ถ่ายรูปเยอะมาก ซึ่งแทบทุกบ้านนั้นยินดีให้เราถ่ายรูปได้ เพียงแค่เอ่ยปากบอกก่อนเท่านั้น

 
                 ร้านตัดผมแบบนี้ ก็ยังมีให้เห็นอยู่
          หลังจากปั่นมาได้สักพักก็มาแวะพักกันที่วัดคงคาราม เป็นวัดมอญ อายุกว่า 200 ปี ภายในโบสถ์มีภาพจิตกรรมฝาผนังที่สวยงาม เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนภาพวาดเกี่ยวกับไตรภูมิตลอดจนความเชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ ซึ่งยังคงสภาพความสวยงามไว้เป็นอย่างดี คาดกันว่าภาพเขียนนี้น่าจะอยู่ในราวรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4

  ร้านกาแฟสวยๆ ทยอยเปิดบริการ
        นอกจากนั้น ด้านหลังพระประธานในโบสถ์นี้ ยังมีพระประธานองค์เก่า ซึ่งหันหน้าไปคนละทางกับองค์ปัจปัจจุบัน สันนิษฐานว่าในสมัยก่อนนิยมหันหน้าพระประธานไปยังทิศที่มีแม่น้ ำ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนพระประธานองค์ใหม่ แต่ก็ยังคงพระประธานองค์เดิมไว้ และฝากสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปถ่ายภาพว่าไม่ควรใช้แฟลชขณะ ถ่ายภาพจิต กรรมฝาผนังตลอดจนวัตถุโบราณต่างๆ เพราะมันอาจเป็นการทำลายสิ่งมีค่าทางประวัติศาสตร์ได้

 
                   ตัวหนังใหญ่ในพิพิธภัณฑ์วัดขนอน
            อีกสิ่งหนึ่ง ที่น่าสนใจภายในวัดก็คือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่รวบรวมข้าวของเครื่องใช้โบราณ ทั้งของชาวมอญ ชาวไทย และชาวพม่า ที่หน้าสนใจก็คือโลงศพแบบมอญโบราณ ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และตู้เก็บคำภีร์โบราณ ซึ่งรวบรวมคำภีร์ บทสวดมนต์ต่างๆ ไว้กว่า 1,000 เล่ม           
            พระอนุวัตร ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์เล่าให้เราฟังว่า ข้าวของเครื่องใช้ที่เก็บรวบรวมเอาไว้นั้นได้มาจากชาวบ้านในชุม ชนซื้อมาถวาย ให้วัดในอดีต ซึ่งก็เหมือนในปัจจุบัน เมื่อเวลาชาวบ้นจัดงานบุญต่างๆ มักจะมาหยิบยืมข้าวของเครื่องใช้จากวัด และหลังจากนั้นก็มีการซื้อมาถวายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจก็ลองแวะมาศึกษาประวัติศาสตร์ได้ที่ วัดคงคาราม แห่งนี้

พระประธานองค์เก่า 
        สำหรับโพธาราม ในวันนี้เต็มไปด้วยภาพถ่ายวิถีชีวิตของคนในชุมชน กระจายตัวอยู่ตามบ้านเรือนและอาคารเก่าต่างๆ ซึ่งจะจัดแสดงกันจนถึงราวปลายเดือนมกราคม 2554ก็เป็นไอเดียที่ดีสำหรับกลุ่มคนรักในการถ่ายภาพต่างๆ ที่จะเข้ามาร่วมส่งเสริมให้ในชุมชนเกิดจุดขายทางการท่องเที่ยวข ึ้นมาอีกทาง หนึ่ง เพราะปัจจุบันนั้น การก้าวเข้าสู่ยุคติจิตอลของกล้องถ่ายรูป ทำให้นักท่องเที่ยวหลายคนสนใจเรื่องการถ่ายภาพมากขึ้น และภาพถ่ายนี้เองก็ทำให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวได้ดีอย่างไม่น่ าเชื่อ ปัจจุบันในตัวเมืองโพธารามเองก็มีร้านค้า ร้านกาแฟใหม่ๆ ทยอยเปิดตัว เมื่อเริ่มเห็นโอกาสทางการท่องเที่ยวที่กำลังเติบโต


ข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งตู้เก็บคำภีร์
        แต่สำหรับผล กระทบของการท่องเที่ยวนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากกว่าที่จ ะจินตนาการ ได้ มองผิวเผิญนั้น การจัดการการท่องเที่ยวอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย แต่ถ้าไม่มีการควบคุมที่ดี รวมทั้งความร่วมมือจากทุกส่วนในชุมชนโดยเฉพาะการให้องค์ความรู้ กับประชาชนใน พื้นที่ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ เหมือนแหล่งท่องเที่ยวหลายๆแห่ง ที่ถูกกระแสวัตถุนิยม อำนาจเงิน เข้ามาแทนที่จิตสำนึกในความรักท้องถิ่น ทำให้วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์อันทรงเสน่ห์ของชุมชนต้องเสียศูนย์ไปอย่าง น่าเสียดาย

โลงศพมอญโบราณ 
        การเดินทางมา ยังอำเภอโพธารามนั้นสามารถใช้ทางรถยนต์และรถไฟ ซึ่งจะให้ความสะดวกสบายและประสบการณ์การเดินทางแตกต่างกันไป สำหรับพิพิธภัณฑ์ภายในวัดคงคารามนั้นเปิดตั้งแต่ 9.00 - 16.30 ทุกวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามข้อมูลโทร. 08-1194-3798 (พระอนุวัตร)

วัดไทรอารีรักษ์
เป็นวัดมอญตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง กลางเมืองอำเภอโพธาราม
มีหอระฆังไม้อยู่หน้าบริเวณกุฏิเจ้าอาวาส งดงามนักภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งสี่ด้าน
เขียนขึ้นปี พ.ศ. 2450 ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ภาพจิตรกรรมบนฝาผนัง
                    ภายในอุโบสถวัดขนอน

วัดขนอน ตั้งอยู่ตำบลสร้อยฟ้าเป็นวัดที่พบหลักฐานเสมาหินรอบพระอุโบสถ จารึกปี พ.ศ. 2327 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นวัดเจ้านายในราชสำนักกรุงเทพฯ  ซุ้มประตู ด้านตะวันออกของระเบียง คดเป็นซุ้มจัตุรมุขทรงไทยปูนปั้นปิดทองที่หน้าบันเป็นรูปมหาพิชัยมงกุฎ ด้านล่างเป็นปูนปั้นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ       (อันเป็นตราประทับรัชกาลที่ 4) ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ หนังใหญ่เป็นมหรสพเก่าแก่ของคนไทยนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นการแสดงชั้นสูง ประกอบด้วย ศิลปะหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นหัตถศิลป์ นาฏศิลป์       คีตศิลป์  แผ่นหนังใหญ่ทำมาจากหนังวัวมีเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์เรือนไม้ (ศาลาการเปรียญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี) จำนวน 131 ตัว อยู่ในสภาพสมบูรณ์

        ที่วัดขนอนจะมีการแสดงหนังใหญ่ให้ชมฟรี เวลา 10.00 -11.00 น. และมีงานเทศกาลหนังใหญ่วัดขอนในวันที่ 13-14 เม.ย. เวลา 15.00-21.00 น. ของทุกปี ส่วนพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เปิดทุกวัน เวลา 8.00 -17.00 น. ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-3223-3386

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
-http://www.chula-alumni.com/forum/forum_postpop.asp?FID=3&TID=507&PN=1&TPN=27
และ -วัดสำคัญที่โพธาราม
-http://www.paktho.ac.th/ratchaburi/ratchaburi2/temple_potaram.htm

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2012, 07:11:21 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ยันต์ตรีนิสิงเห "มหาเป้อ" วัดป่าไผ่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2012, 07:56:46 pm »



ภาพเขียน "ยันต์ตรีนิสิงเห" ที่เพดานหอพระไตรปิฏก วัดป่าไผ่

ยันต์ตรีนิสิงเห "มหาเป้อ" วัดป่าไผ่

...สมัยก่อนนั้น ไม่เพียงวัดป่าไผ่เท่านั้นที่มีความเชื่อยันต์ตรีนิสิงเห แต่รวมไปถึงวัดต่างๆ ในละแวกนี้...

วัดป่าไผ่ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นวัดสำคัญของชาวมอญอีกวัดหนึ่ง "มหาเป้อ" อดีตเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ เป็นชาวมอญซึ่งมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฏก ทั้งภาษาไทยและมอญ  และมนต์คาถาต่างๆ อย่างเช่นการทำ "ยันต์ตรีนิสิงเห" ซึ่งแพร่หลายและทำตกทอดสืบมาหลายร้อยปีทั้งในพม่า เขมร เมื่อครั้งลัทธิตันตระ พุทธศาสนาฝ่ายมหายานกำลังเฟื่องฟูในภูมิภาคดังกล่าว

ที่เพดานหอพระไตรปิฏก ณ วัดป่าไผ่ นี้ มีภาพเขียนเป็นรูป "ยันต์ตรีนิสิงเห" ช่าวเขียนเต็มพื้นเพดาน ที่บานประตูนั้น มีภาพเขียนเป็นรูปเซี่ยวกางทั้งสองบาน และที่บานหน้าต่างเขียนเป็นรูปทวารบาล สวยงามทั้งสองบานเช่นกัน ผนังด้านนอกทั้งสี่ด้านของอาคารเขียนเรื่องพุทธประวัติ ทว่าบางส่วนลบเลือนไป เหลือไว้แต่เฉพาะส่วนภายในชายคาอาคาร ซึ่งอยู่ในที่ที่ไม่ถูกทำลายด้วยฝน แดด สีสันจึงยังสดใส ที่ใต้ถุนหอไตรเขียนเป็นลายผ้ามีดอกดวงเต็มพื้นที่อย่างสวยงาม  น่าเป็นห่วงที่หอพระไตรปิฏกแห่งนี้อยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก ผู้รับผิดชอบน่าจะเข้าไปดูแลก่อนที่จะพังครืนลงมา

คุณตาเลี่ยม วังวารี อายุ 85 ปี เคยเป็นลูกศิษย์มหาเป้อ บวชเณรเมื่อตอนอายุ 10  ขวบ เป็นหนึ่งในจำนวนลูกศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางโหราศาสตร์ มนต์คาถาจากพระมหาเป้อ ปัจจุบันเหลือท่านเพียงคนเดียวเท่านั้นในลุ่มน้ำแม่กลอง ที่สามารถลงเลขยันต์ตรีนิสิงเหแบบมอญ ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านมักเรียกท่านว่า "หมอเลี่ยม"

             

คุณตาเลี่ยมเล่าให้ฟังว่า "มหาเป้อ เคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดป่าไผ่ ตอนหลังสึกเป็นฆราวาส มาตั้งบ้านอยู่ตรงข้ามกับวัดขนอน ท่านเป็นผู้มีความสามารถมาก  มีความรู้เรื่องพระไตรปิฏกทั้งภาษาไทยและภาษามอญ ว่ากันว่า ท่านเรียนภาษามอญที่วัดป่าไผ่ตั้งแต่เด็กๆ จึงเก่งทางบาลีและโหราศาสตร์ด้วย มีตำราการเขียนยันต์ ซึ่งจะบอกว่าเขียนอย่างไร สวดคาถาอะไรระหว่างเขียน ภาพเขียนที่เราเห็นที่หอไตรนั้น เขาวาดภาพแทนตัวเลข แต่ถ้าใช้ติดตามบ้านนั้น เขาใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แทน เช่น พระเจ้าห้าองค์ก็ใช้เลข 5 พระอาทิตย์ พระจันทร์ ก็ใช้เลข 2 ตัวเลขแต่ละตัวนั้นเขาจะมีคาถาหรือคำภาวนากำกับยันต์ตรีนิสิงเห จะเรียกว่ายันต์แปดทิศก็ได้ เป็นสี่เหลี่ยมสองอันซ้อนกัน เมื่อเวลาลากเส้นลงยันต์นั้น จะให้เส้นสะดุดหยุดชะงักไม่ได้ ปากก็ท่องบ่นคาถาที่ถ่ายทอดกันเฉพาะตั้งแต่เมื่อครั้งโบราณ เรียกว่า ลงยันต์ เป็นวิชาที่ยาก คนเรียนต้องมีทั้งสมาธิ อดทนแน่วแน่ จิตไม่แกว่ง"

คุณตาจวน เครือวิชฌยาจารย์ เล่าเสริมเรื่องนี้ว่า ยันต์ตรีนิสิงเห นั้นเคยเห็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไร สมัยก่อนไม่เพียงมีที่วัดป่าไผ่เท่านั้น วัดต่างๆ ในละแวกนี้ต่างนิยม คาถายันต์ตรีนิสิงเหนี้ มีจารหรือจารึกในสมุดข่อยที่พบอยู่ตามวัดทั่วไป เช่น ที่วัดป่าไผ่ วัดม่วง(บน)

"เมื่อตอนที่ผมเป็นเด็กๆ ประมาณ 10 ขวบ ผมได้ทันเห็นมหาเป้อ ท่านเป็นผู้ที่ดังมากทางนักธรรม รู้เรื่องหลักการทางศาสนาอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังเก่งเรื่อคาถาอาคม อย่างเรื่องยันต์ตรีนิสิงเหก็ถือว่าท่านเก่งกล้าสมารถทีเดียว ชาวบ้านแถบนี้ต้องมาหา คนมอญเชื่อถือกันมาก  แม้ปัจจุบันก็ไม่เสื่อมคลาย ทว่าหาคนทำ คนรู้อย่างจริงจังในปัจจุบันแทบจะไม่มี หาคนถ่ายทอดไม่ได้ คนเรียนก็ไม่มี"

"ชาวบ้านมักจะนำยันต์ไปติดไว้ที่หัวเสาตามบ้านเรือน ยุ้งฉาง อันนี้ไม่ได้เพื่อป้องกันผี แต่เป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้ายอันตรายภัยพิบัติที่จพเข้ามาต่างหาก  เช่น ไฟไหม้ พายุ เป็นต้น...ในเมื่อชาวมอญยังนับถือผี ถ้ายันต์ป้องกันผีแล้ว ผีที่เราเลี้ยงไว้จะเข้ามาที่บ้านเราได้อย่างไรกัน"

-http://rb-buddha.blogspot.com/2010/07/blog-post_2881.html