ผู้เขียน หัวข้อ: อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น โดยสมเด็จองค์ปฐม  (อ่าน 2146 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.





ภาพ : สมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง

.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2011, 10:33:09 am โดย sithiphong »
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
หมายเหตุ
    อารมณ์คือกระแสของจิต (คลื่นอารมณ์) โดยหลวงพ่อฤาษี
    เรื่องจริต ๖ โดยหลวงปู่ตื้อ

พิมพ์จากหนังสือ ''ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น''

หลวงพ่อฤาษี (พระราชพรหมยานมหาเถระ)
วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
รวบรวมโดย : พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ทรงเมตตาสอนไว้เมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ พิจารณาแล้วเห็นว่าจะมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อ่าน แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผล มีความสำคัญโดยย่อ
ดังนี้

ในวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรม มองเห็นชายคนหนึ่งที่แพเลี้ยงปลาของวัด





จับปลาสวายตัวใหญ่ (ปลาของวัดเชื่องมาก) ขึ้นมาจากน้ำ ปลาก็ดิ้นจนหลุด

จากมือตกน้ำไป เขาก็จับปลาขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนาน ในครั้งนี้ปลาดิ้น

แล้วตกลงที่พื้นกระดานของแพปลา แล้วจึงตกลงไปในน้ำ เมื่อพวกเราเห็นการกระทำ (กรรม) ของเขา

ก็เกิดอารมณ์ปฏิฆะ (ไม่พอใจ) พูดขึ้นว่า ''บ้า'' อีก

ท่าน หนึ่งพูดว่า ''ทะลึ่ง'' ซึ่งเป็นการคิดชั่ว พูดชั่ว (สอบตกในมโนกรรม และวจีกรรม ทั้งคู่)


สมเด็จองค์ปฐมทรงเมตตาตรัสสอนว่า (เพื่อสะดวกในการจดจำ แล้วนำไปปฏิบัติต่อ ขอเขียนเป็นข้อ ๆ) ดังนี้


๑. ''เหตุที่จิตมีอุปทาน ยึดเอากรรมของผู้อื่นมาใส่จิตของเรา จึงกล่าว

เป็นวจีกรรมหลุดออกไป เพราะเหตุไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิตที่ยึดเอาอุปทานนั้น ๆ (บุรุษผู้สร้างกรรมกับปลา)

ถ้าไม่ใช่อดีตกรรมส่งผลให้เขาทำกับปลา กล่าวคือ ถ้าไม่ใช่ปลาเคยเป็นคน

มาแล้วจับคนที่เป็นปลาอยู่อย่างนี้แล้ว กรรมนี้ก็เป็นกรรมปัจจุบัน คือ มี

อารมณ์ฟุ้งซ่านเหลวไหล เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ

มีอารมณ์พอใจสนุกไปกับการเบียดเบียนปลา จึงสร้างกรรมนี้ให้เกิดขึ้น

ซึ่งกรรมนี้เมื่อลุล่วงไปแล้ว ก็เป็นกายกรรม อันส่งผลให้เกิดกรรมในอนาคตได้

กล่าวคือ จะต้องมีชาติหนึ่งในต่อไปข้างหน้า บุรุษนี้ก็จะเกิดมาเป็นปลาสวาย


และปลานั้น กลับชาติมาเกิดเป็นคนจับเงี่ยงปลาชูให้ดิ้นรน จนกระทั่งตกลงกระแทกแพอีก

นี่คือกรรมภายนอก แต่เจ้าทั้งสองเอามาเป็นกรรมภายใน สร้างวจีกรรมให้เกิด


เท่ากับเห็นคนผิด เห็นปลาถูก จึงไปตำหนิกรรมอยู่อย่างนั้น


''วจีกรรมคือนินทากับสรรเสริญนั่นเอง''

๒. ถ้าจิตยังละการตำหนิกรรมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมโนกรรม หรือ วจีกรรม

ก็เท่ากับสร้างผลกรรมให้ต่อเนื่องกันไป ในการตำหนิกรรมไม่รู้จักสิ้นสุด

ในโลกนี้มัน เป็นวัฎจักรอยู่อย่างนี้ ผิดถูกในโลกนี้ไม่มี มันมีแต่กรรมล้วน ๆ''




๓. '' ในเมื่อเจ้าทั้งสองตำหนิกรรมนี้แล้ว พอไปชาติหน้าก็ประสบมาเป็นคน

จากคนที่เป็นปลาก็ต้องตำหนิกรรมอีก เมื่อมัวแต่ตำหนิธรรม หรือ กรรมของผู้อื่น

อันสืบเนื่องเป็นสันตติ ประดุจกงกำกงเกวียน หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

แล้วพวกเจ้าจักเอาชาติไหนมาตัดสินว่า ใครผิด-ใครถูก โลกทั้งโลกมันเป็นอยู่อย่างนี้

เพราะกิเลส-ตัญหา-อุปทาน-อกุศลกรรมเป็นเหตุ

ทำให้จิตของคนกระทำกรรม ให้เกิดแก่มโน-วจี และกายได้อยู่เป็นอาจิณ''

๔. ''เจ้าต้องการพ้นกรรม ก็จงหมั่นปล่อยวาง มองเห็นเหตุแห่งกรรม อะไรจักเกิด

ก็ต้องคิดว่า กรรมใครกรรมมัน รู้สันตติของกฎแห่งกรรมว่ามันเป็นอย่างนี้

ถ้าเขาไม่ทำกรรมกันมาก่อน กรรมนี้ก็จักไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นมาได้ ตถาคตจึงได้

ตรัสยืนยันว่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เมื่อเรารู้เหตุก็จงดับที่เหตุแห่งกรรมนั้น

จงอย่ามองว่าใครผิดใครถูก กรรมถ้าไม่ใช่ก่อขึ้นเอง มันก็เกิดขึ้นไม่ได้เองหรอก''


๕. '' เมื่อพวกเจ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จงหมั่นทำจิตให้พ้นจากการตำหนิธรรมเถิด

ค่อยๆวาง ค่อยๆทำ กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ

กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในวิมุติธรรม ทำอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ ยอมรับนับถือ

กฎของกรรมให้เกิดขึ้นในจิต ทำบ่อยๆ เข้ามรรคผล ก็จะปรากฎขึ้นเอง

อย่าละความเพียรเสีย กระทบเท่าไหร่-เมื่อไหร่-ที่ไหนก็ต้องรู้ อย่าตำหนิธรรม

ให้เกิดขึ้นกับจิต เห็นกรรมที่เป็นสภาวะอย่างนี้อยู่ให้ชัดเจนตลอดเวลาอยู่กับจิต

ผู้ไม่รู้ย่อมกอปรกรรมให้เกิดด้วยจิตอุปาทานในกรรมนั้นๆ กรรมใดกรรมมัน

พวกเจ้าอย่าไปเกาะยึดเอากรรมนั้นๆ มาตำหนิเลว เพราะเท่ากับมีอุปาทานเห็น

กรรมนั้นๆ ว่าดี-เลว เมื่อจิตมีอุปาทานตำหนิดี-เลวจนเป็นมโนกรรม แล้วยับยั้ง

ไม่อยู่ ก็ออกปากตำหนิดี-เลว จนเป็นวจีกรรมอีก ''




๖. " ถ้าบุคคลที่ไม่รู้อุปาทานนี้ ทำกรรมโดยลงแพไปต่อว่า ต่อขานคนที่จับ

ปลาเข้า ถ้ายังอารมณ์ปฏิฆะให้เกิด ก็จะทะเลาะกัน ดีไม่ดีก็จักทำร้ายร่างกายกัน

จนเป็นกายกรรมสืบเนื่องต่อกันเข้าไปได้ ดังมีตัวอย่างมามากมาย คนอื่นเขาทะเลาะกัน

สร้างกรรมกัน คนนอกเข้าไปสอดแทรก ลงมือทำร้ายกรรมการเสียจนตายไป

ด้วยความหมั่นไส้เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเจ้าปรารถนามรรคผลนิพพาน

ก็ไม่ควรต่อกรรมกันไปอีก

ยุติการตำหนิกรรมลงเสียให้ได้ ไม่ว่าจักเป็นกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม

ก็ต้องยุติลง ใช้ ศีล-สมาธิ-ปัญญา อันเกิดแก่จิต พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงใน

สันตติวงล้อวัฏจักรกรรมว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้เอง พยายามทำจิตให้ยอมรับกฏของกรรม

โทษของกรรมไม่ว่าดีหรือเลวนั้นไม่มี เห็นแต่กงกำกงเกวียนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

จงยอมรับกฎของกรรมซึ่งยุติธรรมที่สุด ใครทำใครได้ อย่าเข้าไปมีหุ้นส่วน

กรรมกับใครๆเขาโดยการตำหนิกรรม เป็นอันขาด จำไว้นะ ''

ขอยกตัวอย่างอารมณ์ที่สอบตกสัก ๒ เรื่อง

เรื่องแรก...มีความโดยย่อว่า มีคนมาเล่าให้ฟังว่า หญิงแก่ผู้หนึ่งว่าจ้างรถจากในเมืองให้มาส่งที่วัดท่าซุง

ในราคา ๕๐ บาท พอรถมาส่งที่วัด หญิงแก่กลับให้ค่ารถเพียง ๑๐ บาท

บอกว่า ฉันมีแค่นี้จะเอาหรือไม่เอา คนรถก็ตำหนิหญิงนั้นว่า อะไรกัน คนมา

ปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่โต แต่ไม่มีสัจจะ พอได้ยินเขาเล่าเพียงแค่นี้ จิตก็ปรุงแต่ง

ตำหนิหญิงแก่นั้นเสียยืดยาว คือ ร่วมวงนินทาปสังสากับผู้เล่าเสียเพลิน

กว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผิดทั้งมโนกรรมและ วจีกรรม ก็ว่าไปครบสูตรแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย

เรื่องที่ ๒ คือ ตัวข้าพเจ้าเอง พอขอขมาพระรัตนตรัย เรื่องการตำหนิกรรมของบุรุษผู้สร้างกรรมกับปลาแล้ว

ตาก็เห็นหนังสือพิมพ์พาดหัวโตๆว่า ''เมืองไทยมีคดีฆ่าคนตายมากเป็นอันดับที่ ๒ ของโลก "

จิตก็ตำหนิกรรมทันทีว่า ''ไม่จริง'' เป็นอุปาทานของนักข่าวเอง

เพราะประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศที่มีคดีฆ่าคนมากกว่าเรา

แต่หนังสือพิมพ์ของเขาไม่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์ หน้าแรกแบบเมืองไทย

เมืองไทยชอบประโคมข่าวชั่วร้ายข่าวไม่ดี ในหน้าแรกตัวโตๆ ชอบขายข่าวบนความทุกข์ของชาวบ้าน

ว่าเสียยาวกว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผลก็คือขอขมาพระรัตนตรัยอีกครั้ง

: หมายเหตุ

นี่คือตัวอย่างเมือ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้อ่านพระธรรมบทนี้แล้ว หากก้าวหน้าในการ

ปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ตัวเองว่าผิด ก็ควรจะละอายแก่ใจ (มีเทวธรรมหรือ หิริ-โอตัปปะ)

ให้ขอขมาพระรัตนตรัยทุกครั้งจนเป็นนิสัย

ผมขออาราธนาบารมีคุณของพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอให้ผู้อ่านด้วยความ

ศรัทธาทุกท่าน จงโชคดีในธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ในชาติปัจจุบันนี้






: อารมณคือกระแสของจิต (คลื่นอารมณ์)



ในวันเดียวกันนี้ หลวงพ่อฤาษีท่านเมตตามาช่วยสอนต่อ มีความสำคัญดังนี้

๑. " อารมณ์ก็คือกระแสของจิต พวกเจ้าต้องหมั่นศึกษาไว้ อารมณ์ราคะกับ

ปฏิฆะ มีแยกไว้ละเอียดโดยพระพุทธเจ้าในจริต ๖ อารมณ์ใดๆ ที่เกิดแก่จิต

ย่อมหนีจริต ๖ ไม่พ้น เพราะมันคือ ธรรมารมณ์ ซึ่งนักปฏิบัติกรรมฐานต้องรอบรู้

หมดทุกๆ อารมณ์ และ สามารถแยกได้ว่า อารมณ์ที่กำลังทรงอยู่นี้ เป็นจริตใด

ในจริต ๖ เป็นราคะ หรือ ปฏิฆะ ซึ่งมีกรรมฐานแก้จริตอยู่ ก็ให้ใช้ตามนั้น

แก้จริตที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เอะอะจะใช้ อารมณ์สังขารุเบกขาญาณลูกเดียว "



๒. พวกเจ้ายังเข้าใจผิด ยังไม่ถึงเวลา เพราะจิตมันยังไม่ยอมเฉยจริง

ยังมีอารมณ์อยู่ จึงยังใช้อารมณ์สังขารุเบกขาญาณไม่ได้ ตัองใช้จริต

๖ รบกันไปก่อน จนกระทั่งจิตทรงตัวดีแล้วจึงค่อยซ้อมอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ "



๓. " ตราบใดที่อารมณ์ยังไม่หมด จริต ๖ ยังเล่นงานอยู่ในจิต อาการตำหนิอารมณ์ก็ต้องเกิด เพราะไม่รู้เท่าทันจริตว่า พอใจหรือไม่พอใจ อย่าให้ความหลงของจิตเข้ามา

ครอบงำ การกระโดดเข้าสู่อารมณ์สังขารุเบกขาญาณลูกเดียว ก็มีหวังตกม้าตายลูกเดียว เพราะว่ามันวางเฉยไม่จริง จิตไม่มีกำลังที่จะวางเฉยตลอดไปได้ "



๔. " ระวัง...อย่าเพิ่งไปคิดว่าจะต้องทำได้ ทุกอย่างมันไม่มีขั้นตอน

อารมณ์ของจิตเรา ถ้าเราไม่รู้แล้วใครจะมารู้ได้ แยกจริต ๖ ให้ออก

ดูราคะและปฏิฆะให้ออก จึงจะรบกับมันได้ รบกับมันถูก

ข้าศึกรูปร่างหน้าตาอย่างไร ต้องรู้ รู้แม้กระทั่งการโจมตีวิธีรบของ ข้าศึกที่เข้า

มาสิงใจเราอยู่นั้นเป็นอย่างไร ถ้ารู้ไม่จริงมีหวังถูกมันฆ่าตายทุกที

ถ้าอยากชนะก็ต้องชนะอย่างรู้เท่าทัน ไม่ใช่รู้กรรมฐานแก้จริต แต่ไม่รู้จักรูปร่าง

หน้าตาของจริต ๖ มีอย่างนี้ ราคะ-ปฏิฆะ มีอย่างนี้ รู้กรรมฐานแก้จริต

แต่ไม่รู้รูปร่างหน้าตาของจริต ๖ ที่แท้จริงก็ป่วยการ

เปรียบเหมือนมีอาวุธอยู่ในมือ แต่ไม่รู้หน้าตารูปร่างของข้าศึกเป็นอย่างไร

มัวยืนเซ่ออยู่ ข้าศึกมาข้างหลังใช้ไม้ตีหัวก็อยู่หมัดแล้ว งงเห็นดาว ไม่รู้ว่า

ถูกตีได้อย่างไร ดังนั้นจึงต้องศึกษาจริต ๖ ให้ดีๆ เอากับมันจริงๆ ให้รู้จริงจึง

จะวิมุติได้ "



http://board.palungjit.com/f8/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1-123492.html
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เรื่องจริต ๖ โดย หลวงปู่ตื้อ




หลวงปู่ตื้อท่านเมตตามาสอนต่อ เรื่องจริต ๖ มีความสำคัญดังนี้


๑. การโมโหจนลืมตัวนั้นโง่หรือฉลาด

เบียดเบียนตนเอง ทำร้ายตนเองหรือเปล่า เมื่อรู้ว่าโง่แล้ว ทีหลังอย่าทำ

ให้คิดไว้เสมอว่า กรรมใครกรรมมัน กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ

หากเราไม่เคยทำกรรมนี้ไว้ก่อนในอดีต วิบากกรรมนี้ก็ไม่เกิดขึ้นกับเราในปัจจุบัน

หากพวกเจ้าเข้าใจ กฎของกรรมอันเป็นอริยสัจขั้นสูง ซึ่งเที่ยงเสมอ

และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย ก็จงหยุดต่อกรรมลงแค่นี้

ยอมรับนับถือกฎของกรรม สร้างอโหสิกรรมให้เกิดขึ้นในจิต สร้างอภัยทานให้เกิดในจิต "



๒. " อยากไปพระนิพพาน ก็ต้องไม่ติดอะไรทั้งนั้น ดี-เลว, ติดสี, ติดรส,

ติดสถานที่, ติดร่างกายของครูบาอาจารย์ ซึ่งไม่เที่ยงทั้งสิ้น

อะไรที่เข้ามากระทบทางทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะ ๖ ต้องวางให้ได้ รู้อารมณ์ตามจริต

ที่เกิดให้ได้ ศึกษากรรมฐาน แก้ให้ดีๆ ต้องคล่องจริงๆ จึงจะชนะอารมณ์ตามจริตได้ "



๓. '' ขี้เกียจเป็นอารมณ์หลง เมื่อรู้แล้วว่ามันไม่ดี ก็จงอย่าทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ขี้เกียจซิ

การตำหนิกรรมผู้อื่น เท่ากับเราไปยึด เอากรรมของเขามาไว้ที่ใจเราแทน

เราว่าเขาขี้เกียจ ก็หมายความว่าเราไปยึดเอาตัวขี้เกียจของเขามาไว้ที่จิตของเรา

หรือเอาอุปาทานของเขามาเป็นอุปทานของเรา เหมือนในกรณีเรื่องคนจับปลาสวาย

เราไปว่าเขาบ้า เราเลยไปเอาความบ้าจากเขามาไว้ที่ใจเรา

เราไปว่าเขาทะลึ่ง เราก็ไปเอาความทะลึ่งของเขามาไว้ที่ใจเรา การตำหนิกรรมให้ผลอย่างนี้''




๔. '' คนขี้เกียจ ทำงานใดๆ ก็ไม่สำเร็จ ปฏิบัติธรรมใดๆ ก็ไม่สำเร็จ

คนจะไปนิพพานนั้นขี้เกียจไม่ได้ แม้เห็นคนอื่นเขาขี้เกียจ แล้วนึกตำหนิกรรม
ของเขา

ก็เท่ากับไปยกเอาความขี้เกียจเขามาไว้ในจิตของเรา เพราะเห็นอารมณ์หลง (โมหะ) เป็นของดี

ยกตัวอย่าง เช่น เห็นถังขยะเต็ม แต่ผู้มีหน้าที่ไม่ยกไปเททิ้ง เดินผ่านครั้งใด

พอเห็นจิตก็นึกตำหนิกรรมของเขาว่าขี้เกียจ (แม้พระวินัย หากพระเห็นของสงฆ์

ชำรุด หรือใช้ของสงฆ์ แล้วทิ้ง ไม่เก็บเข้าที่ เดินผ่าน ๑ ครั้ง เห็นแล้วไม่ซ่อมแซม

หรือบอกให้ผู้อื่นที่มีหน้าที่มาซ่อม เดินผ่านทุกครั้งหากยังวางเฉย จะถูกปรับ

อาบัติทุกครั้งที่เดินผ่านแล้วเห็น ยิ่งไปตำหนิกรรมเข้าด้วย ก็จะมีผลเหมือนกับ

พวกเจ้านี่แหละ) เหตุผลเพราะเดินผ่านครั้งใด อารมณ์ปฏิฆะก็เกิดเมื่อนั้น

เป็นขี้เกียจบวกขี้เกียจ อารมณ์ก็ยิ่งเกิด จิตก็ยิ่งเศร้าหมอง แล้วขาดทุนหรือ
ได้กำไรล่ะ "



๕. " การเลิกคิดเลิกทำอีก ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องยกกรรมฐานแก้จริตขี้นมา

แก้ จึงจะแก้ปัญหาได้ ถ้าไม่คล่องก็เห็นจะแก้ไม่ได้ จริต ๖ ก็กินจิตไปจนตาย

พระนิพพานก็หวังไม่ได้ "





   
คำขอขมาพระรัตนตรัย
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ
(ถ้าหลายคนว่า.....ขะมะตุ โน ภันเต, ฯลฯ....
ขะมะตุ โน ภันเต , อุกาสะ ขะมามะ ภันเต ฯ )

หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ
พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้
ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จ-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ
จากหนังสือสวดมนต์แปล
วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี

-http://board.palungjit.com/f8/%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1-123492.html-

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)