วิถีธรรม > แนวทางปฏิบัติธรรม

อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑

<< < (2/2)

ฐิตา:


   อาสวักขยสูตร
   ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ
   
                [๑๗๐๕] ดูกร.. ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้เห็น ไม่กล่าวความ
   สิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ไม่เห็น ก็ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อะไร ผู้เห็นอะไร?  ความสิ้นอาสวะของ
   ผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกร.. ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อย่างนี้
   ผู้เห็นอย่างนี้แล ดูกร.. ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ  เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้
   ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
   จบ สูตรที่ ๕
   
   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๒๔๕ - ๑๐๒๖๓. หน้าที่ ๔๒๘.
   :http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=10245&Z=10263&pagebreak=0             
   ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1698



ขอบพระคุณผู้รวบรวมพระสูตรนำมาแบ่งปัน.. baby@home
ลิ้งค์รวมพระสูตรจากพระไตรปิฎก : http://agaligohome.com/index.php?board=67.0
Pics by : Google
อกาลิโกโฮมดอทคอม * สุขใจดอทคอม
ใต้ร่มธรรมดอทเนต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ฐิตา:


               

สังขตธรรมและอสังขตธรรม

เห็นเอาเรื่องบัญญัติมาเถียงกัน มันก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก เพียงแต่อยากแนะนำว่า
จะเถียงกันในบัญญัติ จำเป็นอย่างยิ่งต้องเอาปรมัตถ์มาเทียบเคียง
มิฉะนั้นจะเถียงกันไม่รู้จบ มันก็ต่างคนจะแปลบัญญัติไปตามจริตตน

ถ้าพูดกันโดยสภาพตามปรมัตถ์ธรรมแล้ว แบ่งธรรมออกเป็นสองชนิด
นั้นก็คือ.....สังขตธรรมและอสังขตธรรม

.....สังขตธรรม ก็คือธรรมที่มีปัจจัยมาปรุงแต่ง หมดเหตุ ธรรมก็ดับไปพร้อมเหตุ
ได้แก่ จิต เจตสิกและรูป

.....อสังขตธรรม ก็คือ ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่แปรปรวน ไม่ทุกข์ หมดเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
อสังขตธรรมได้แก่นิพพาน

กล่าวโดยสภาวะธรรมที่เป็นปรมัตถ์ ทั้งจิต เจตสิกและรูปมันเป็นเพียงสมมุติบัญญัติ(สัจจะ)
ที่เอามาใช้แทน สภาวะที่มีอยู่จริง สภาวะที่ว่าก็คือ เหตุปัจจัยต่างๆ

ดังนั้น ทั้งจิต เจตสิกและรูป เป็นเพียงสิ่งที่สมมุติขึ้นมา
ตัวตนจริงๆมันไม่มี มันเป็นเพียงแค่เหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น หมดเหตุมันก็ดับ

แม้แต่สภาวะจริงยังเกิดแล้วก็ดับ ที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ก็เพื่อดับเหตุแห่งการปรุงแต่ง
แล้วจะไปสร้างตัวสมมุติมันขึ้นมาให้เป็นเหตุอีกทำไม

สรุปให้ฟัง ที่เถียงกันอยู่ว่าตัวนี้เป็นนั้น ตัวนั้นเป็นนี้
แท้จริงแล้วมันก็เหมือนกัน นั้นก็คือเป็นสภาวะที่เกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ
และที่เราดูมันแตกต่างกันเป็นเพราะ การเปลี่ยนไป
จากเหตุกลายเป็นผล และจากผลกลายเป็นเหตุ

                 

43272.เรื่องของ "จิต" และ เรื่องของ "วิญญาณ"
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43272

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version