ธรรมฐิติญาณนิทเทส เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ ข้อ [๙๔] ถึง [๙๘]
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๙๔] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณอย่างไร ปัญญา
ในการกำหนดปัจจัยว่า
อวิชชาเป็นเหตุเกิด เป็นเหตุให้เป็นไป เป็นเหตุ
เครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบไว้ เป็นเหตุพัวพัน
เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัยไปแห่งสังขาร
ด้วยอาการ ๙
ประการ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ใน
อดีตกาลก็ดี ใน
อนาคตกาลก็ดี
อวิชชาเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสังขารด้วย
อาการ ๙ ประการ
ประการนี้
อวิชชาจึงเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า
สังขารเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัย
เป็นไปแห่งวิญญาณ ฯลฯ
วิญญาณเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไป
แห่งนามรูป ...
นามรูปเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสฬายตนะ
...
สฬายตนะเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งผัสสะ ...
ผัสสะเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งเวทนา ...
เวทนาเป็นเหตุเกิด
... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งตัณหา ...
ตัณหาเป็นเหตุเกิด ... และ
เป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งอุปาทาน ...
อุปาทานเป็นเหตุเกิด ... และ
เป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งภพ ...
ภพเป็นเหตุเกิด ... และเหตุอาศัยเป็นไปแห่ง
ชาติ ...
ชาติเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่ง
ชราและมรณะ ...
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ใน
อดีตกาลก็ดี ใน
อนาคตกาลก็ดี
ชาติเป็นเหตุ
เกิด เป็นเหตุให้เป็นไป เป็นเครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบ
ไว้ เป็นเหตุพัวพัน เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัยเป็นไป
แห่งชราและมรณะ ด้วย
อาการ ๙ ประการนี้
ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะ
เกิดแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็น
ธรรมฐิติญาณ ฯ
[๙๕] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า
อวิชชาเป็นเหตุ
สังขารอาศัยเหตุ
เกิดขึ้น
แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ใน
อดีตกาลก็ดี ใน
อนาคตกาลก็ดี
อวิชชาเป็นเหตุ
สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า
สังขารเป็นเหตุ
วิญญาณเกิดขึ้นแต่เหตุ... วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นแต่เหตุ ... นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะ
เกิดขึ้นแต่เหตุ ... สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ผัสสะเป็น
เหตุ เวทนาเกิดขึ้นแต่เหตุ ... เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ตัณหา
เป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นแต่เหตุ ... อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นแต่เหตุ ... ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นแต่เหตุ
แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ใน
อดีตกาลก็ดี ใน
อนาคตกาลก็ดี
ชาติเป็น
เหตุ ชราและมรณะ
เกิดขึ้นแต่เหตุ แม้ธรรมทั้งสองนี้
ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้
เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[๙๖] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขาร
อาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรม
ฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ใน
อดีตกาลก็ดี ใน
อนาคตกาลก็ดี
อวิชชาอาศัย
ปัจจัยเป็นไป
สังขารอาศัย
อวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็
อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัย
สังขารเกิดขึ้น วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นามรูป
อาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น สฬายตนะอาศัยปัจจัยเป็นไป
ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนาอาศัยผัสสะเกิด
ขึ้น เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป
อุปาทานอาศัยตัณหาเกิดขึ้น อุปาทานอาศัยปัจจัยเป็นไป ภพอาศัยอุปาทานเกิดขึ้น
ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและ
มรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็น
ธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ใน
อดีตกาลก็ดี ใน
อนาคตกาลก็ดี ชาติ
อาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็
อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[๙๗] ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้น
เพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะ
ปัจจัย วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย นามรูปเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดขึ้น
เพราะปัจจัย ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดขึ้นเพราะปัจจัย อุปาทานเป็นปัจจัย
ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ภพเป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะปัจจัย ชาติเป็นปัจจัย
ชราและมรณะเกิดขึ้น
เพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัยดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ใน
อดีตกาลก็ดี ใน
อนาคตกาลก็ดี ชาติ
เป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้น
เพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น
เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
[๙๘]
ในกรรมภพก่อน ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็น
สังขาร ความพอใจเป็น
ตัณหา ความเข้าถึงเป็น
อุปาทาน ความคิดอ่านเป็น
ภพธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้ปฏิสนธิเป็น
วิญญาณ ความก้าวลงเป็น
นามรูป ประสาท (
ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็น
ผัสสะ ความเสวยอารมณ์ เป็น
เวทนาในอุปปัตติภพนี้
ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็น
ปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
ความหลงเป็นอวิชชา กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร ความพอใจเป็นตัณหา
ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี) เพราะอายตนะทั้งหลาย
ในภพนี้สุดรอบ ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้
เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิใน
อนาคต ปฏิสนธิในอนาคตเป็น
วิญญาณ ความก้าวลงเป็น
นามรูป ประสาทเป็น
อายตนะ ส่วนที่ถูกต้องเป็น
ผัสสะ ความเสวยอารมณ์เป็น
เวทนา ธรรม ๕ ประ-
*การ
ในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระ-
*โยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่ง
ปฏิจจสมุปบาทมี
สังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดย
อาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้
ชื่อว่า
ญาณ เพราะอรรถว่า
รู้ธรรมนั้น ชื่อว่า
ปัญญา เพราะอรรถว่า
รู้ชัดเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๑๓๐ - ๑๒๑๘. หน้าที่ ๔๖ - ๕๐.
:http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1130&Z=1218&pagebreak=0