"กุพชกะขาวพราวสะอ้าน ดั่งดวงมานบริสุทธิ์พิศิษฐ์ศรี"ขีณาสพ หรือ กษีณาศรพ = อาสวกิเลส - อุปกิเลสขีณาสพ หรือ กษีณาศรพ แปลว่า ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้สิ้นอาสวะแล้ว
หมายถึงพระอรหันต์ผู้หมดอาสวะแล้ว
เพราะกำจัดอาสวะคือกิเลสที่หมักหมมอยู่ในจิต ที่ชุบย้อมจิต
ให้ชุ่มอยู่เสมอได้แล้วอย่างสิ้นเชิงไม่กลับมาเกิดทำอันตรายจิตได้อีกต่อไป
เรียกเต็มว่า พระขีณาสพ หรือ พระอรหันตขีณาสพ
ขีณาสพ เป็นผู้ละอาสวกิเลส
ได้แล้วทั้ง 3 อย่าง คือ
กาม ความติดใจรักใคร่ในกามคุณ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น
ภพ คือ ความติดอยู่ในภพ ในความเป็นนั่นเป็นนี่
อวิชชา ความไม่รู้จริง ความลุ่มหลงมืดมัวด้วยโมหะ
อาสวกิเลส แปลว่า กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต
อาสวกิเลส คือ กิเลสที่หมักหมม นอนเนื่องทับถมอยู่ในจิต
ชุบย้อมจิตให้เศร้าหมอง ให้ขุ่นมัว ให้ชุ่มอยู่เสมอ เรียกย่อว่า อาสวะ ก็ได้
มี ๔ อย่าง คือ
กาม ได้แก่ ความติดใจรักใคร่อยู่ในกามคุณ
ภพ ได้แก่ ความติดอยู่ในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่
ทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็นผิด ความหัวดื้อหัวรั้น
อวิชชา ได้แก่ ความไม่รู้จริง ความลุ่มหลงมัวเมา
อุปกิเลส แปลว่า ธรรมชาติที่เข้าไปทำให้ใจเศร้าหมอง เครื่องทำให้ใจเศร้าหมอง
หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัวไม่แจ่มใส ทำให้ใจหม่นไหม้
ทำให้ใจเสื่อมทราม กล่าวโดยรวมก็คือสิ่งที่ทำให้ใจสกปรก ไม่สะอาดบริสุทธิ์นั่นเอง
อุปกิเลส ท่านแสดงไว้ 16 ประการคือความเพ่งเล็งอยากได้ไม่เลือกที่ ความพยาบาท ความโกรธ
ความผูกเจ็บใจ ความลบหลู่บุญคุณ ความตีเสมอ
ความริษยา ความตระหนี่ ความเจ้าเล่ห์
ความโอ้อวด ความหัวดื้อถือรั้น ความแข่งดี
ความถือตัว ความดูหมิ่น ความมัวเมา ความประมาทเลินเล่ออุปกิเลส ทั้ง 16 ประการนี้
แม้ประการใดประการหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในใจแล้ว
ก็จะทำให้ใจสกปรกไม่ผ่องใสทันที และจะส่งผลให้เจ้าของใจ
หมดความสุขกายสบายใจ
เกิดความเร่าร้อน
หรือเกิดความฮึกเหิมทะนงตัว เต้นไปตามจังหวะที่
อุปกิเลสนั้นๆ บงการให้เป็นไป
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
sirivinit..
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=08-2010&date=31&group=35&gblog=74