นิ ก า ย ฌ า ณ (เ ซ็ น, Z E N)
ข้อปฏิบัติ ส ำ คั ญ ข อ ง นิ ก า ย ฌ า ณ (เ ซ็ น, Z E N)
โดย นายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง
จงดูตัวอย่างในเรื่อง นั่งสมาธิของท่านภิกษุ หม่าจู่เต้าอิ๊ก
"ท่านภิกษุหม่าจู่เต้าอิ๊ก ได้บำเพ็ญสมาธิ ณ ภูเขาชงหวี้ซัน ท่านสมาธยาจารย์
ฮว้ายย่าง รู้ว่าท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยแห่งการตรัสรู้ จึงได้เดินทางมาหาและถาม
ท่านว่า "พระคุณเจ้านั่งสมาธิเพื่อหวังอะไร ?" ตอบว่า "เพื่อหวังเป็นพุทธะ"
ท่านสมาธยาจารย์ได้ฟังแล้ว ก็กำอิฐก้อนหนึ่ง มานั่งฝนบนก้อนหินที่หน้าอาราม
ท่านภิกษุหม่าจู่ เห็นดังนั้น ก็แปลกใจถามว่า "พระคุณเจ้าฝนอิฐนี้เพื่อทำอะไรหรือ ?"
ตอบว่า "เพื่อทำกระจกเงา "
ถามว่า "เอาอิฐมาฝนนี้จะสำเร็จเป็นกระจกได้หรือ ?"
ตอบว่า "ฝนอิฐไม่สำเร็จเป็นกระจกได้ การนั่งทำสมาธิจักสำเร็จเป็นพุทธะได้อย่างไร "
ถามว่า "ถ้าอย่างนั้นแล้วจะทำอย่างไรเล่า ?"
ตอบว่า "เหมือนกับลากเกวียน เมื่อเกวียนไม่เดินนั้น เราจะตีเกวียนหรือตีโคเล่า ?"
เมื่อได้ฟังดังนั้น ท่านหม่าจู่ ก็ได้บรรลุ
7. การขจัดความสงสัยในเรื่อง
"รู้ฉับพลันเป็นพุทธะ" ของนิกาย ฌาน
หากจะมีผู้สงสัยถามว่า นิกายฌาณกล่าวว่าเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ก็จักบรรลุเป็นพุทธะ
อย่างฉับพลันนั้นในโลกนี้จะมีเรื่องง่ายดายเช่นนี้หรือ ?
ทั้งนี้ถ้าอาศัยข้อความใน
คัมภีร์กล่าวว่า ผู้ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าจักต้องบำเพ็ญ
บารมี ตั้ง 4 อสงไขย แสนกัลป์จึงบรรลุได้ ข้อความที่กล่าวในนิกาย ฌาน จะมิเป็น
การขัดกับพระปริยัติธรรมหรือ ?
ขอ
ตอบว่า
ที่กล่าวในพระคัมภีร์นั้น พระพุทธเจ้าอย่างชนิดที่ค่อยๆ ปฏิบัติไป
แล้วค่อย ๆ รู้ไป กับที่กล่าวในนิกายฌาน ที่ว่า ตรัสรู้ฉับพลันเป็นพระพุทธะนั้น
หาเหมือนกันไม่ ข้อนี้อุปมาดั่งห้องที่มืดนั้น พลันสว่างขึ้น หรือ เหมือนกับ
กองฟืนที่สะสมมาตั้งปีๆ แต่อาศัยไฟเพียงนิดเดียว ก็ไหม้ได้หมดถ้ามีปัญหาถามมาอีกว่า ถ้าได้บรรลุเป็นพุทธะแล้วเหตุไรจึงไม่มีคุณปัญญาและ
อิทธิปาฏิหาริย์ เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเล่า ?
ตอบว่า "พระพุทธเจ้าในพระคัมภีร์นั้น เป็นพระพุทธเจ้าที่เห็นแจ้งสูงสุดอย่าง
แท้จริง ฉะนั้น จึงบริบูรณ์ ด้วยคุณลักษณะพิเศษต่าง ๆ มี
มหาปุริสลักษณะอัน
งดงามและอิทธิปาฎิหาริย์
ส่วนพุทธะของนิกาย ฌานนั้น อุปมาดัง ทารกแรกคลอด จำต้องอาศัยการเลี้ยงดู
ซึ่งต้องกินเวลานาน จึงจักเป็นผู้ใหญ่ เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีคุณปัญญาและ
อิทธิปาฏิหาริย์
อุปมาดั่งพระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ลงรักปิดทอง ไม่มีมหาปุริสลักษณะอันงดงาม
แต่เราจะไปดูถูกไม่ได้ เพราะเหตุว่า ผู้ที่บำเพ็ญสมาธิ เมื่อได้เห็นแจ้งว่าตนเอง
คือพุทธะ และ
ไม่มีวิจิกิจฉาใด ๆ เวลาใดแล้ว เวลานั้นเรียกว่า เขาได้ บรรลุ
ถึงปัญญาอันดั้งเดิม หรือเรียกว่า เข้าสู่
ศรัทธาภูมิถ้าได้มีการทะนุถนอมรักษาภาวะนั้น ภาวะแห่งจิตก็นับวันยิ่งจะก้าวหน้ายิ่งขึ้น
คุณชาติแห่งปัญญาและอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ก็จะมีมาเอง เหมือนกับน้ำเมื่อ
ไหลไปที่ไหนที่นั่นก็เป็นแม่น้ำ ลำคลองไป ท่านสังฆปรินายกที่ 6 จึงได้พูดว่า
"ถ้าตลอดชาตินี้ไม่ท้อถอยแล้ว ก็ (เป็นการแน่ที่จะต้อง) เข้าสู่อริยภูมิ"
และใน
ศูรางคมสมาธิสูตร ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวว่า
"ไม่จำเป็นที่จะต้องผ่านอสงไขยกัลป หรอก ในการที่จะบรรลุถึงธรรมกาย
(พุทธภาวะ)" ก็ต้องการให้มีความหมายเช่นนี้.
8.
สรุปรวบยอดแห่งข้อปฏิบัติผู้ที่ได้ทำสมาธิเมื่อได้เห็นแจ้งแล้ว ก็ควรจะต้องมี
มหาปณิธาน 4 ทั้งนี้เพื่อการ
บรรลุสัมโพธิอันสมบูรณ์ ถ้ามิฉะนั้นแล้วก็กลายเป็นผู้เอาแต่ตัวรอด อะไรคือ
มหาจตุรปณิธานเล่า คือ
1. สรรพสัตว์อันไม่มีขอบเขตนั้น เราจะต้องทำการโปรด ให้หมด
2. กิเลสทั้งหลายอันมากมายนั้น เราจะทำลายให้หมดสิ้น
3. พระธรรมอันไม่มีประมาณนั้น เราจะร่ำเรียนให้รอบรู้
4. พุทธภูมิอันสูงสุดนั้น เราจะต้องบรรลุให้ได้ข้าแต่ท่านผู้ทรงคุณธรรรมทั้งหลาย ท่านทั้งหลายล้วนแต่รอบรู้ในพระปริยัติธรรม
และปฏิบัติธรรม ข้าพเจ้าพูดในวันนี้
เพียงแต่เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าได้ศึกษามา ถ้าหาก
มีผิดพลาดที่ใดแล้ว ก็ขอท่านทั้งหลายได้โปรดอภัยด้วย และวันนี้ได้อาศัย
ธรรมสมาคมอันพิเศษนี้ ข้าพเจ้าขออำนวยพรให้ผู้ที่มาในสมาคมทั้งหลาย
จงได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณทั่วหน้ากัน.
ที่มา : หนังสือ ศาสนาต่างนิกาย สำนักพิมพ์ ธรรมบูชา ถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด
กรุงเทพฯ/2517
โดย mindsoul:http://www.oknation.net/blog/print.php?id=115912