ผู้เขียน หัวข้อ: เผยกลเม็ด “วิธีรับมือน้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล”  (อ่าน 2466 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เอามาฝากค่ะ ...

เผยกลเม็ด “วิธีรับมือน้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล”



เนื่องจากขณะนี้หลายจังหวัด หลายพื้นที่ในประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาอุทกภัย จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นอากาศที่แปรปรวน ผลกระทบจากพายุทั้งนกเต็น เนสาด และล่าสุดนาลแก ซ้ำยังโดนมรสุมถล่ม ทำให้ในหลายพื้นที่อยู่ในสภาวะวิกฤติถึงขั้นรุนแรงเพราะมีน้ำท่วมสูง บ้านเรือนประชาชน ที่อยู่อาศัยเสียหายนับพันหลัง

ทั้งนี้ทาง isn ของเราก็เจอบทความดีๆ ใน “Bloggang ทองกาญจนา” ของผู้ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านครั้งหนึ่ง เผยเคล็ดลับ วิธีการในการป้องกันบ้านไม่ให้ถูกน้ำท่วม ทาง isn จึงไม่รอช้ารีบนำมาเสนอผู้อ่านทันที เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายคนที่คงจะกำลังประสบปัญหาน้ำท่วมหรือกำลังหาวิธีป้องกันบ้านของตนเองให้ปลอดภัยจากน้ำได้นำไปใช้หรือเรียนรู้ไว้ก็คงไม่เสียหายอะไร
วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล

น้ำท่วมเชียงใหม่ปีนี้ บ้านผมก็หนีไม่พ้นอีกเช่นเคย เพราะอยู่ในโซนหมายเลข 1 ที่น้ำจะต้องท่วมก่อนโซนอื่น ๆ ยังโชคดีที่ อบต.ปรับปรุงถนนหน้าหมู่บ้านให้มีความสูงมากขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี ดังนั้นถึงแม้ระดับน้ำจากแม่น้ำปิงจะสูงเกินค่าวิกฤติ คือ 3.70 เมตร น้ำก็ยังไม่ล้นตลิ่งข้ามถนนเข้าไปท่วมหมู่บ้าน แต่ในที่สุดก็ไม่รอด เพราะปีนี้น้ำขึ้นสูงสุดถึง 4.94 เมตร สรุปว่าน้ำเริ่มเข้าท่วมถนนภายในหมู่บ้านตั้งแต่ตอนบ่ายวันพุธที่ 28 กันยายน 2554 และหยุดท่วมในเช้าวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554
ถึงน้ำจะท่วมถนนภายในหมู่บ้านสูงถึง 60 ซม. จนไม่สามารถใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้า-ออกได้ตามปกติ แต่จากประสบการณ์ที่ต้องผจญกับน้ำท่วมในหมู่บ้านนี้มาหลายครั้ง ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่จะป้องกันไม่ให้น้ำจากถนนภายในหมู่บ้าน ไหลเข้าไปท่วมในบริเวณบ้านอย่างได้ผล ขอนำมาบันทึกไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ในวันนี้ครับ

เตรียมการก่อน
ประสบการณ์จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1)บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2)กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้
(1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน

(2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ

(3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่าไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว

(4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

น้ำมาแล้ว
เสียงประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้ว ในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้ามาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

เวลาประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสียหายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว

ภาพบรรยากาศ


ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน


เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว


ขณะที่ถนนด้านนอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที


ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้


บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน


บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน

คิดว่าบทความดีๆ “วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล” นี้ คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้อ่านและผู้ที่กำลังประสบปัญน้ำท่วมโดยตรง และทาง isn ขอเป็นกำลังใจสำหรับเพื่อนพี่น้องที่ประสบปัญหาน้ำท่วมด้วยน่ะค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Bloggang ทองกาญจนา http://www.bloggang.com/viewdiary.ph...roup=6&gblog=4



.

http://board.palungjit.com/f178/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%94-%E2%80%9C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E2%80%9D-309187.html


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม

พี่หนุ่มก็รักษาสุขภาพนะครับ :13:
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

เอามาจากเฟซบุ๊คของคุณ กร ขอเป็นข้าฯ ใต้พระบาททุกชาติไป
รบกวนแบ่งปันกันเยอะๆๆ ครับ

ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวงพิเศษ โทร 02 533 6 111
Motorway สาย 7 กรุงเทพฯ - ชลบุรี โทร 038 577 852-3
Motorway สาย 9 บางปะอิน - บางพลี โทร 02 372 0191
โทรหากู้ภัยบนมอเตอร์เวย์ เบอร์โทร 038-577853
... ตำรวจทางหลวง โทร 1193
สายด่วน กรมทางหลวง โทร 1586

การเตรียมบ้านรับน้ำท่วม
พยายามเก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเสียหายจากความน้ำ บรรจุใส่ลังบรรจุสัมภาระที่ทำจากพลาสติก หรือบรรจุใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ (ถุงดำ) บรรจุลงลังกระดาษ แล้วนำขึ้นไปเก็บไว้บนที่สูง ๆ ที่สามารถทำได้
ย้ายปลั๊กไฟและสวิทซ์ไฟฟ้าที่อยู่ในระดับต่ำ โดยมากจะอยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตรจากพื้นอาคาร ให้สูงขึ้นไปอยู่ ในระดับ 1.20 เซนติเมตร แยกเบรกเกอร์ออกเป็นชั้น ๆ ไป เพื่อความสะดวก ในการตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อน้ำท่วม
ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ให้อยู่ในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
สำรวจช่องเปิดที่คาดว่าบรรดาสัตว์ที่มีอันตรายต่าง ๆ อาจจะสามารถเล็ดลอดเข้ามาทำอันตรายได้ และทำการปิดช่องเปิดนั้น เพื่อระวังป้องกันอันตราย
สำรวจรอยแตกร้าว รอยแยก บริเวณรอบตัวบ้าน หากพบจุดที่คาดว่าน้ำอาจซึมเข้ามาได้ ให้ใช้วัสดุยาแนวหรือซิลิโคลนฉีดอัดบริเวณรอยแตกร้าวภายนอก เพื่อลดการซึมเข้ามาของน้ำ
ให้จัดเตรียมกระสอบทราย ทำเป็นกำแพงกันน้ำ บริเวณทางเข้าออกของบ้าน และประตูห้องน้ำเนื่องจากห้องน้ำจะมีระบบท่อน้ำทิ้งซึ่งน้ำจากภายนอกจะขึ้นมาจากระบบท่อเหล่านั้น

หากไม่สามารถหากระสอบทรายได้ สามารถใช้วิธีก่อผนังฉาบปูนทำผิวขัดมันแทนการใช้กระสอบทรายก็ได้
จัดเตรียมภาชนะสำหรับเก็บของเสียจากการขับถ่าย ไม่ควรขับถ่ายลงระบบส้วมเดิม เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มสิ่งสกปรกลงไปในน้ำ
จัดเตรียมภาชนะบรรจุน้ำสะอาดไว้สำหรับบริโภค ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ หรือจัดหาเครื่องกรองน้ำมาติดตั้ง เพราะเมื่อน้ำท่วมเราไม่ควรใช้น้ำประปามาบริโภค เนื่องจากอาจจะมีสิ่งสกปรกปะปนมากับน้ำประปา
จัดเตรียมเวชภัณฑ์ และอาหารสำเร็จรูปที่สามารถรจัดเตรียมได้ง่าย เช่น อาหารกระป๋อง เพราะเมื่อเกิดน้ำท่วม อาจจำเป็นต้องมีการตัดกระแสไฟ และไม่สามารถหุงหาอาหารได้
ถ้าหากไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนเมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วจะทำอย่างไร เมื่อเกิดน้ำท่วมแล้วเราจะแก้ไขได้ลำบากเพราะระบบอุปโภค และสาธารณูประโภค จะใช้งานไม่ได้ สิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตจะมีราคาสูงขึ้น จนถึงขาดตลาด ดังนั้นการเตรียมตัวป้องกันจึงเป็นการแก้ไขที่ดีที่สุด

ที่มา บ้านและสวน

                             :13: :12: :07:

การรับมือภัยพิบัติน้ำท่วม
มีคำแนะนำสำหรับผู้ประสบอุทกภัย และผู้ที่อยู่ในพื้นที่สุมเสี่ยง ว่าควรปฏิบัติตัวและเตรียมการ ดังนี้

หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น
เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง แก๊ชสำหรับหุงต้ม ยารักษาโรค ไฟฉาย เทียน ไม้ขีดไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม

เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)
หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง
เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน
เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ
ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม

หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด
ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด
หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน
ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที
เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่ม และชำระร่างกาย
เตรียมถุงดำเล็ก - ใหญ่ ไว้ทิ้งขยะและปลดทุกข์
เตรียมอุปกรณ์สำหรับขอความช่วยเหลือ เช่น นกหวีด ชูชีพ
หากน้ำท่วมเป็นเวลานาน อาจเกิดแผ่นดินทรุดตัวได้ แนะนำให้อยู่ห่างตึกหรืออาคารสูง

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อสอบถาม ประสานงานเหตุอุทกภัย
- ศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ติดต่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร 1784
- ประสานงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุ
โทรฟรี 1669 หรือ 02-591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
- สอบถามเส้นทางรถไฟ และเวลาเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร 1690
- สอบถามสภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 02-398-9830
- กฟภ.ตั้งศูนย์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค CallCenter 1129
- สอบถามน้ำท่วม ถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่
โทร 044-242047 ต่อ 21, 044-212200,
037-211098, 036-461422, 036-211105 ต่อ 24

 :13: personal jesus :http://www.prachathon.org/

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด












ศึกษารอบทิศ...ฝ่าวิกฤติอุทกภัย!แนะ'ภูมิปัญญาไทย'ผ่อนคลายทุกข์

สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยยังคงน่าเป็นห่วงในหลายพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาในบ้านเราก็เกิดอุทกภัยทุกปี แต่ปีนี้ดูเหมือนว่าจะหนักกว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่นอนว่าเราต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินไปเป็นจำนวนไม่น้อย ทำให้น่าคิดว่า ทำอย่างไรประเทศไทยของเราจึงจะฝ่าวิกฤติปัญหาน้ำท่วมนี้ไปได้หรือผ่อนหนักให้เป็นเบาลงไปได้ในทุก ๆ ปี

ผศ.ดร.ไพฑูรย์ กิติสุนทร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้ความรู้ว่า ปัญหาน้ำท่วมประเทศไทยมีสาเหตุหลายสาเหตุด้วยกันได้แก่ 1. การปล่อยน้ำไม่ต่อเนื่องหรือไม่สัมพันธ์กัน เพราะเรายังไม่ทราบศักยภาพของร่องน้ำแต่ละสายว่าสามารถรับน้ำได้จำนวนเท่าใด จึงต้องเร่งทำการศึกษา เพราะหากทราบตัวเลขก็จะสามารถปล่อยน้ำได้อย่างสัมพันธ์กัน และเมื่อไม่ทราบจึงต้องกักเก็บน้ำเอาไว้ ทำให้น้ำไหลไม่เป็นระบบที่เหมาะสม ฉะนั้นการกักน้ำไว้ไม่ปล่อยให้หลากไปตามระบบการจัดการที่เหมาะสม จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำท่วมเป็นเวลานาน เพราะระหว่างทางมีช่องทางที่น้ำจะรั่วออกมาได้ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่ประตูน้ำบางโฉมศรี จังหวัดสิงห์บุรีพังน้ำทะลักออกมาท่วมบ้านเรือนประชาชน ซึ่งสาเหตุที่ประตูพังก็เนื่องจากไม่มีการเปิดประตูทำให้น้ำถูกกักไว้ จนกระทั่งน้ำไหลข้ามคันออกมา ทำให้คันกั้นน้ำขาด เกิดน้ำท่วมฉับพลันขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วประตูน้ำมีไว้เพื่อเปิด-ปิดตามจังหวะที่น้ำขึ้นและลง เช่น น้ำทะเลลงจะปล่อยน้ำออกเวลาใด น้ำทะเลหนุนจะปิดเวลาใด ซึ่งต้องลองศึกษาดู

2. การสร้างถนนกีดขวางทางน้ำ ในประเทศไทยเราจะพบมากแทบจะทุกที่ที่เกิดน้ำท่วม เพราะในอดีตน้ำไหลหลากตามธรรมชาติ น้ำอาจจะท่วมแค่ครึ่งเมตร เพราะมีร่องน้ำทำให้น้ำไหลไปตามร่อง ชาวบ้านสามารถอาศัยอยู่ได้ไม่เดือดร้อน แต่เมื่อมีการสร้างถนนอาจปิดกั้นการไหลของน้ำ เช่น พื้นที่เดิมเคยมีร่องน้ำลึก 2 เมตร น้ำอาจจะท่วมครึ่งเมตร แต่เมื่อเราปิดร่อง 2 เมตรนี้แล้วก็ทำให้น้ำท่วมขึ้นมาเป็น 3 เมตรได้เพราะถนนกลายเป็นสันฝาย น้ำจึงต้องเอ่อสูงขึ้นเพื่อข้ามออกไปให้ได้ ซึ่งวิธีแก้ไขคือพื้นที่ตรงไหนเป็นร่องน้ำให้เปิดออกและสร้างสะพานข้ามไป ยกตัวอย่างที่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะไม่ค่อยมีการสร้างถนน แต่ถึงจะมีเมื่อถึงจุดร่องน้ำก็จะมีการใส่สะพานเล็ก ๆ ข้ามไป ซึ่งไม่ได้ใช้งบประมาณมาก อย่างไรก็ตามชาวบ้านในพื้นที่จะทราบดีและต้องคอยจับตามองว่าถ้าใครมาทำอะไรผิดธรรมชาติให้ท้วงติง

3. ควรตรวจสอบความจุของเขื่อนใหญ่ ว่าอ่างเก็บน้ำในเขื่อนใหญ่ ๆ ความจุยังมีค่าเท่าเดิมหรือไม่ เนื่องจากตนสังเกตว่าปีหลัง ๆ มานี้เวลาน้ำขึ้นในเขื่อนใหญ่ ๆ จะขึ้นเร็วมาก ซึ่งปกติเวลาน้ำมาในปริมาณถ้าไม่มากนักช่วงท้าย ๆ จะขึ้นไม่ง่าย เพราะลักษณะเขื่อนด้านล่างจะแคบ แต่ด้านบนปากจะกว้างออก ถ้าช่วงล่างถึงช่วงกลางน้ำขึ้นเร็วก็เป็นเรื่องปกติ ฉะนั้นช่วงปลายที่ปากกว้างออกน้ำจะขึ้นสู่ด้านบนไม่ง่ายนัก ถ้าเขื่อนความจุยังคงเดิมอยู่ แต่การที่เราใช้มาหลายสิบปีจะมีการตกตะกอนทับถมในอ่างเก็บน้ำ อาจทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนเปลี่ยนไป จากที่สามารถเก็บได้ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปัจจุบันอาจจะเก็บได้แค่ 7,000-8,000 ล้านลูกบาศก์เมตรไปแล้วก็ได้ ดังนั้นทุก 5-10 ปี ต้องมีการสำรวจความจุของน้ำที่เปลี่ยนแปลงตลอด จึงต้องย้อนกลับไปดูว่าเขื่อนแต่ละเขื่อนนั้นสามารถเก็บน้ำได้เท่าเดิมตามที่ออกแบบก่อสร้างไว้หรือไม่ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีโอกาสที่จะมีการตกตะกอนสูงมาก เพราะเป็นพื้นที่ในภาคเหนือหรืออีสานเหนือซึ่งมีความลาดชันสูง การพัดพาตะกอนในท้องน้ำจะมาก จึงควรตั้งศูนย์ที่มีนักวิชาการที่มีความรู้มาศึกษาและวัดตะกอนในท้องน้ำเพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลด้วย เพราะถ้าเราไม่ทราบปริมาตรที่แท้จริงก็จะทำให้การบริการจัดการไม่เหมาะสม

นอกจากคำแนะนำทางด้านวิชาการนี้แล้ว สำหรับตัวประชาชนเองก็ต้องรู้จักป้องกันภัยให้ตัวเองจากพิบัติภัยน้ำท่วมด้วย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกับน้ำมาได้เป็นร้อย ๆ ปีย่อมมีภูมิปัญญาในการช่วยเหลือตัวเองจากเหตุการณ์น้ำท่วมอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันครั้งที่ผ่านมาคุณครูโรงเรียนแห่งหนึ่งได้ช่วยเหลือลูกศิษย์ด้วยการนำ ขวดน้ำพลาสติกขนาด 2 ลิตร ใช้เชือกผูกติดกันเป็นคู่แล้วคล้องแขนให้เด็กนักเรียนทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวลอยน้ำได้ ทำให้น้ำไม่เข้าจมูก ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นภูมิปัญญาที่เฉลียวฉลาดมาก

หากเราใช้โฟมก็สามารถช่วยเหลือได้ แต่ไม่แนะนำเพราะโฟมมีข้อเสียคือ แตกหักง่าย อาจเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ขวดน้ำพลาสติกจะมีความปลอดภัยมากกว่า เพราะหาก 1 ขวดรั่วก็ยังเหลือ 3 ขวด แต่ถ้าเป็นโฟม เราใช้ขนาด 1 แผ่น สามารถรองรับน้ำหนักได้ 10 กิโลกรัม ถ้าโฟมแตกหักเป็น 2 ท่อน และอีกท่อนเกิดหลุดมือไป เหลือ 5 กิโลกรัมตัวเราก็จะจมได้ โดยแนะนำว่าถ้าเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ ใช้ขวดน้ำพลาสติกขนาด 2 ลิตร (ขวดน้ำอัดลมขนาดใหญ่) จำนวน 4 ใบ ใช้เชือกผูกเป็นคู่ ๆ คล้องแขนไว้ 2 ข้าง ส่วนผู้ใหญ่ใช้ขนาด 2 ลิตร จำนวน 8 ขวด ก็จะสามารถช่วยพยุงได้ หากจมูกไม่จมน้ำก็ถือว่ารอดแล้ว วิธีทำใช้เชือกผูกที่ขวด ซึ่งขวดมีส่วนเว้าส่วนโค้งสามารถผูกได้แน่น โดยผูกติดกันเป็นคู่ ๆ แต่จริง ๆ แล้วคนไทยก็มีภูมิปัญญาอยู่แล้ว อย่างเช่นในสมัยก่อนใช้ลูกมะพร้าว 2 ลูกก็ลอยน้ำได้แล้ว

สำหรับการทำแพใส่ของไม่แนะนำให้ใช้ต้นกล้วยเพราะรับน้ำหนักได้น้อยอาจจมน้ำได้ ใช้กะละมังดีที่สุด ซึ่งวิธีทำให้นำไม้ไผ่มาสานเป็นแพเป็นล็อก ๆ สี่เหลี่ยม เหมือนตารางหมากรุก แล้วนำกะละมังคว่ำใส่ลงไปในช่อง เมื่ออากาศอยู่ด้านในก็ไม่จมอยู่แล้ว แต่ถ้าหงายน้ำจะเข้าและจมได้ สังเกตว่ากะละมังจะมีขอบที่ปากเราสามารถสานไม้ไผ่กดทับขอบไว้ ถ้าหากกลัวหลุดก็ใช้เชือกผูกไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยคำนวณตามน้ำหนักว่าเราจะใช้ประมาณเท่าไหร่ วิธีคำนวณง่าย ๆ คือขนาด 1 ลิตรรับน้ำหนักได้ 1 กิโลกรัม จากนั้นนำกะละมังมาใส่บริเวณขอบ ๆ ซึ่งถ้าน้ำเลิกท่วมแล้วเราก็ยังสามารถนำกะละมังกลับมาซักผ้าต่อได้ ที่สำคัญต้องตรวจดูว่ากะละมังต้องไม่มีรูรั่วหรือถ้าตรงไหนทรุดหรือมันเอียงเพราะอากาศหลุดออกมาก็ให้กระทุ่มน้ำให้อากาศเข้าไปได้อีกเหมือนการตีโป่ง ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ไม่ต้องสิ้นเปลือง เพราะน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องถาวร เราสามารถนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้

ที่สำคัญที่สุดเราต้องอยู่กับน้ำให้ได้ เมื่อน้ำท่วมการที่จะนั่งเศร้าโศกเสียใจนั้นมีกันทุกคน แต่หลังจากนั้นแล้วต้องตั้งสติและคิดให้ได้ว่าถ้าเราไม่สามารถทิ้งถิ่นฐานนี้ไปได้แล้วเราจะได้ผลประโยชน์อะไรจากน้ำท่วมบ้าง เพราะทุกอย่างในโลกนี้มีความสมดุลว่าสิ่งใดที่มีโทษก็ต้องมีคุณ สิ่งใดมีคุณก็ต้องมีโทษ ไม่มีอะไรได้มาเปล่า ๆ การสูญเสียทรัพย์สินไปนั้นอย่าให้เสียเปล่าให้รีบตั้งสติแล้วคิดว่าในอนาคตจะทำอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเลือกอาชีพซึ่งคนในพื้นที่จะทราบดีมากที่สุด สุดท้ายการป้องกันน้ำท่วมเป็นงานที่ต้องทำร่วมกันเป็นทีมและแบบบูรณาการ เช่น อ่างทองถ้าจะป้องกันน้ำท่วมไม่ใช่ว่าอ่างทองจะสามารถทำได้แต่เพียงผู้เดียว ต้องทำงานร่วมกับชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลงมาตลอดรายทาง เพราะน้ำไม่ใช่ของแข็งไม่สามารถไปกองเก็บที่ไหนได้ ถึงเวลาที่มันต้องหลากก็ต้องหลาก เมื่อถึงจุดจุดหนึ่งต้องปล่อยให้มันสัมพันธ์กันเป็นระบบซึ่งจะท่วมเกือบทุกพื้นที่ แต่ไม่ได้ท่วมหนักเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง.

...............

ฝากแนวคิด'เก็บภาษีคนกรุง ช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างจังหวัด'

ปกติตัวเลขการไหลของน้ำนั้นต้นน้ำจะไหลลงมาท้ายน้ำมีปริมาณมากขึ้น ๆ สมัยก่อนโดยธรรมชาติแม่น้ำสร้างตัวมาเป็นล้านปีสามารถรองรับน้ำที่ลงมาท้ายน้ำได้ เพราะน้ำจะเติมมาตลอดรายทางจนกระทั่งถึงปลายทาง แต่ปัจจุบันกลับกันการจัดการน้ำกลายเป็นว่าน้ำที่ไหลมาท้ายน้ำน้อยลง เพราะมีการกักน้ำซึ่งประตูแต่ละประตูมีการบล็อกน้ำไว้ ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้สามารถทำได้ อย่างเช่นประเทศที่เจริญแล้วก็ทำแต่ต้องถามว่าคนท้ายน้ำยอมชดเชยให้คนต้นน้ำหรือไม่ ซึ่งตนมีแนวคิดว่า ประเทศไทยเราคนกรุงเทพฯ ควรเสียภาษีน้ำท่วม เพื่อนำไปช่วยคนต้นน้ำที่ถูกน้ำท่วม เพราะปกติคนกรุงเทพฯไม่ได้เสียเงินและไม่ได้ถูกน้ำท่วม ซึ่งในประเทศอเมริกาและญี่ปุ่นก็ทำเช่นนี้ โดยแจ้งให้ประชาชนทราบว่าปีนี้จากการศึกษาและคาดคะเนแล้วพบว่าน้ำจะมามาก พื้นที่รอบนอกไม่ต้องทำการเพาะปลูกและมีค่าชดเชยให้

ถึงแม้ว่าเราจะวางระบบดีแล้วแต่ก็ต้องยอมให้มีพื้นที่น้ำท่วมส่วนหนึ่งอยู่เหนือกรุงเทพฯ ซึ่งคนกรุงเทพฯ ต้องชดเชยให้ ฉะนั้นเมื่อถึงฤดูกาลเราต้องแจ้งให้ชาวบ้านทราบว่าเค้าต้องอยู่กับน้ำ และบอกให้ทราบล่วงหน้าว่าน้ำจะท่วมแน่นอน เพื่อวางแผนว่าหน้าแล้งควรปลูกพืชอะไร หน้าน้ำจะต้องปลูกพืชอะไร ซึ่งถ้าแจ้งชัดเจนชาวบ้านจะได้เตรียมพร้อมและเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างไร เช่น ปลูกบ้านที่ลอยน้ำได้ ใช้โครงสร้างเบา ๆ น้ำมาก็ลอยได้ ยกตัวอย่าง เช่น บ้านในประเทศเนเธอร์แลนด์ชั้นล่างทำเป็นโป๊ะมีประตูปิด-เปิด พอหน้าน้ำก็นำรถเข้าไปเก็บไว้ในนั้นและใช้เรือ พอน้ำลดบ้านก็ลงมาวางกับพื้น จากนั้นก็เปิดประตูนำรถออกมาใช้ นำเรือไปเก็บแทน แต่เราไม่ต้องทำขนาดนั้นก็ได้เพราะใช้งบสูง แค่ใช้วัสดุที่เบาให้บ้านลอยน้ำได้ก็พอ.

ทีมวาไรตี้

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=486&contentID=167552



" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...