ริมระเบียงรับลมโชย > พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี(ว.วชิรเมธี)
ใครทำ"นิพพาน"หล่นหาย
ฐิตา:
ต่อมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระโอรสองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษาของคณะสงฆ์ พระองค์ซึ่งทรงได้รับการศึกษาแผนใหม่ ภายใต้โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยม/มนุษยนิยมเช่นเดียวกับพระราชบิดา ก็ได้สานต่อแนวคิดแบบลดทอนความสำคัญของโลกุตรธรรมลงให้เด่นชัดยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า ตำราที่ทรงรจนานั้นก็เน้นเฉพาะ "ประโยชน์ในปัจจุบัน" (ทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์) เป็นหลัก
หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งสำคัญมากคือ "นวโกวาท" นั้นต้องนับว่าเป็นตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดที่แสดงให้เห็นแนวความคิดแบบเหตุผลนิยม และความจริงเชิงประจักษ์แบบวิทยาศาสตร์ เพราะในหนังสือเล่มนี้ไม่กล่าวถึง "โลกุตรธรรม" เอาเลย
เมื่อกล่าวถึงหลักธรรมสำคัญต่างๆ แล้ว ก็มาหยุดอยู่เพียง "คิหิปฏิบัติ" (หลักธรรมสำหรับคฤหัสถ์) หรือเมื่อทรงกล่าวถึงสมาธิภาวนาบ้าง ก็ทรงกล่าวถึงแต่ในฐานะที่เป็นวิชาการทางปริยัติ (ทฤษฎี) ล้วนๆ ทั้งนี้ จึงไม่จำต้องกล่าวถึงธรรมขั้นลึกอย่างปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจยตาว่าจะได้รับการยกขึ้นมาเน้นย้ำหรือไม่
แต่หลักฐานชิ้นสำคัญที่ทำให้เราเห็นได้ว่า แนวคิดเรื่องมรรค ผล นิพพาน ถูกทำให้เลือนหายไปอย่างเด่นชัดในสมัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ก็คือ การที่ทรงปฏิเสธที่จะนับเอา "ปฏิบัติสัทธรรม" (สมถกรรมฐาน, วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาคณะสงฆ์ โดยทรงให้เหตุผลว่า "เพราะเป็นวิชาที่ไม่มีหลักที่จะสอบไล่ได้"
นอกจากไม่ทรงสนพระทัยที่จะจัดให้ปฏิบัติสัทธรรม (โลกุตรธรรม) เป็นวิชาสำคัญในหลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์แล้ว พระองค์ยังไม่ทรงมีนโยบายในทางส่งเสริมให้พระสงฆ์สนใจในวิปัสสนากรรมฐาน หากแต่ทรงหันมาส่งเสริมให้พระสงฆ์สนใจแต่เรื่องปริยัติธรรมและการปกครองอย่างเป็นด้านหลัก
เครื่องมือสำคัญของพระองค์ที่ทรงใช้เพื่อการนี้ก็คือ ระบบสมณศักดิ์ นั่นเอง
ฐิตา:
และด้วยเหตุดังที่กล่าวมา การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสมถกรรมฐาน/วิปัสสนากรรมฐานอันเกี่ยวเนื่องกับมรรคผลนิพพานหรือโลกุตรธรรม จึงค่อยๆ เลือนหายไปจากวิถีชีวิตและจากระบบการศึกษาของคณะสงฆ์โดยลำดับอย่างเป็นรูปธรรม และกลายเป็นมรดกที่ตกทอดมาจนถึงยุคสมัยของ พระมหาเงื่อม อินทปัญโญ (พ.ศ.2475-ปัจจุบัน)
จนเป็นเหตุให้ท่านปฏิเสธระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักโดยให้เหตุผลว่า ไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้ค้นพบความบริสุทธิ์ และการศึกษาพระปริยัติธรรมทางเจือด้วยยศศักดิ์ ก็เป็นการ "ก้าวผิด" ไปก้าวหนึ่ง จนทำให้ท่านเลิกก้าวตามโลกอย่างสิ้นเชิงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2475 ก่อนจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงหนึ่งเดือน
การค้นพบ "เงื่อน" ที่ทำให้เราได้รับคำตอบว่าโลกุตรธรรมกล่าวคือ มรรค ผล นิพพาน หายไปจากระบบการศึกษาของคณะสงฆ์กระแสหลักได้อย่างไร ทำให้เราเข้าใจคณะสงฆ์ในปัจจุบันได้ชัดขึ้น รวมทั้งสามารถอธิบายสาเหตุแห่งความเสื่อมทรามของคณะสงฆ์ได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น
และประการสำคัญยังทำให้เราได้ค้นพบคำตอบด้วยว่า เหตุไรการศึกษาที่เป็นผลมาจากการปฏิรูปพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความใฝ่รู้ความจริงของท่านพุทธทาสภิกขุได้
และสิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ทำให้เราได้เห็นความแตกต่างระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุ กับนักปฏิรูปพุทธศาสนาชั้นนำอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญารวโรรส ซึ่งเติบโตมากับโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยม/มนุษยนิยมเหมือนกัน แต่ทว่า นักปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งสองฝ่ายกลับมีปฏิสัมพันธ์ต่อพระพุทธศาสนาหรือโลกุตรธรรมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะท่านพุทธทาสภิกขุได้นำเอาโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เหตุผลนิยมและมนุษยนิยมนั้นเองมาช่วยในการขับเคลื่อนเพื่อ "รื้อฟื้น" โลกุตรธรรมให้คืนกลับมา
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กลับนำเอาโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์นั้นแหละมาเป็นเครื่องมือเพื่อลดทอนโลกุตรธรรม จนหายไปจากวิถีชีวิตของพระสงฆ์ และระบบการศึกษาของคณะสงฆ์อย่างแทบจะสิ้นเชิง
Credit by :http://info.matichon.co.th/weekly/wk_txt.php?srctag=MTMyMzAwNjQ5
Pics by : Google
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
กราบ.. อนุโมทนาสาธุค่ะ...
กระตุกหางแมว:
ขยันจังครับ
หลับตื่นเป็นสุขครับพี่แป๋ม
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
--- อ้างจาก: ทามะ ที่ สิงหาคม 02, 2010, 09:55:41 am ---ขยันจังครับ
หลับตื่นเป็นสุขครับพี่แป๋ม
--- End quote ---
คุ้นๆนะคำนี้ ทีคุงเพื่อนเลิฟ คุ้นมากอ่ะ 55+
:13: ขอบคุณครับพี่แป๋ม อนุโมทนาจิตครับ
ฐิตา:
เหตุปัจจัย ที่พระศาสนา จะตั้งอยู่นาน
ภายหลัง พุทธปรินิพพาน
“ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุ อะไร เป็นปัจจัย
ที่เมื่อพระตถาคต ปรินิพพานแล้ว
พระสัทธรรม จะไม่ตั้งอยู่นาน ?
ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่เมื่อ
พระตถาคต ปรินิพพานแล้ว
พระสัทธรรม จะตั้งอยู่นาน พระเจ้าข้า !”
พราหมณ์ ! เพราะไม่มีการทำให้เจริญ เพราะไม่มี
การกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐานทั้งสี่ ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมไม่ตั้งอยู่นาน.
แต่พราหมณ์เอ๋ย ! เพราะมีการกระทำให้เจริญ
มีการกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐานทั้งสี่ ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว สัทธรรมย่อมตั้งอยู่นาน.
สติปัฏฐานสี่ อย่างไรเล่า ?
พราหมณ์ ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็น
กายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส
มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออก เสียได้ซึ่ง อภิชฌาและ
โทมนัสในโลก;
เป็นผู้ตามเห็น เวทนาใน เวทนาทั้งหลายอยู่เป็น
ประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌา และ โทมนัสในโลก;
เป็นผู้ตามเห็นจิตใน จิตอยู่เป็นประจำ มีความ
เพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่ง
อภิชฌาและโทมนัสในโลก;
เป็นผู้ตามเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลายอยู่เป็น
ประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌา และ โทมนัสในโลก.
พราหมณ์ ! เพราะ ไม่มีการทำให้ เจริญ เพราะไม่
มีการกระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ทั้งสี่เหล่านี้แล ในเมื่อ
ตถาคตปรินิพพาน แล้ว สัทธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน.
แต่เพราะมี การกระทำให้เจริญ มีการกระทำ ให้มาก ซึ่ง
สติปัฏฐานทั้งสี่เหล่านี้แล ในเมื่อ ตถาคต ปรินิพพานแล้ว
สัทธรรมย่อมตั้ง อยู่นาน, ดังนี้.
พราหมณสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๓๒/๗๗๘ - ๗๗๙.
-http://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version