ผู้เขียน หัวข้อ: แบบฝึกหัดจิต  (อ่าน 1878 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
แบบฝึกหัดจิต
« เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 09:18:02 am »
ทุกคนที่เกิดมาในโลก แม้จะต่างกันด้วย ชาติ ภาษา ศาสนา รูป ลักษณะ เพศ ผิวพรรณ อย่างไรก็ตาม แต่เราก็ยอมรับตามเป็นจริงว่า ทุกคนมีอาการ เกิด แก่ เจ็บ ตายเหมือนกันมีอวัยวะ เช่น แขน ขา หู ตา จมูก ลิ้น กาย มโน จิตต์ เหมือนกัน มีความรู้สึกนึกคิด รับรู้ต่อสิ่งต่างๆ ที่ผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย มโน จิตต์ เหมือนกัน เมื่อสิ่งใดผ่านทางใดก็ตาม จิตต์ที่รับรู้นั้น บางอย่างชอบใจ บางอย่างไม่ชอบใจ บางอย่างทำให้รัก บางอย่างทำให้เกลียด บางอย่างทำให้หลง บางอย่างทำให้ทุกข์ บางอย่างทำให้ความสุข บางอย่างก็เฉยๆอยู่ บางอย่างเป็นคุณ บางอย่างเป็นโทษ เช่นนี้เหมือนกัน ทุกคนย่อมเป็นไปตามกฎสากลแห่งธรรมชาติ เพราะทุกคนเป็นไปตามธรรมชาตินั้น

           การที่จะเป็นไปทั้งฝ่ายดีมีประโยชน์ หรือ จะเป็นฝ่ายชั่วร้ายให้เกิดโทษ อย่างไรนั้น ย่อมเกิดแก่ มโนที่จิตต์รับรู้เป็นสำคัญ เพราะเหตุนี้ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงแสดงว่า มโนเป็นใหญ่ เป็นประธาน สิ่งทั้งปวงสำเร็จด้วยมโนเหมือนกันทุกคน ทุกคนจะต้องทำอะไร อย่างไร ทางกาย วาจา และทางมโนเหมือนกันทั้งสิ้น แต่การทำอะไร อย่างไรนั้น กระทำผิดหรือกระทำชั่วร้ายก็มี กระทำชอบหรือกระทำถูกก็มี การกระทำอะไรอย่างไร ทางใดก็ตาม จิตต์เป็นผู้สั่งให้กระทำทั้งสิ้น

           ทุกคนจำเป็นต้องรู้ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย มโน เป็นต้นเหตุให้จิตต์สั่งให้กระทำการงาน ทางกาย ทางวาจา ทางมโน
การกระทำอะไร อย่างไร ทางใดก็ตาม ผู้นั้นต้องยอมรับผลของการกระทำนั้น เพราะเหตุดังนั้น ทุกคนต้องยอมรับว่าย่อมเป็นไปตามกฎแห่งกรรม

ทุกคนต้องยอมรับว่า
1.ไม่ต้องการให้ผู้ใดมา กระทำร้าย ต่อชีวิตร่างกายของตนให้บาดเจ็บ เสียหาย ล้มตาย
2.ไม่ต้องการให้ผู้ใดมาทำอันตราย ยึดถือแย่งชิงเอาทรัพย์สินสิ่งของของตนไปโดยอาการแห่งขโมย
3.ไม่ต้องการให้ผู้ใดมากระทำผิด ละเมิดสิทธิ์ในคู่ครองของตน
ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นการห้ามไม่ให้ผู้อื่นกระทำผิดต่อตนทางกาย

ทุกคนต้องยอมรับรู้ว่า
1.ไม่ต้องการให้ผู้ใด พูดคำเท็จ หลอกลวง ให้หลงเชื่อในทางที่ผิด
2.ไม่ต้องการให้ผู้ใด พูดคำหยาบ คำด่า คำเสียดสีให้เจ็บใจ
3.ไม่ต้องการให้ผู้ใด พูดยุแหย่ ให้ทะเลาะ วิวาท บาดหมางกับใครๆ
4.ไม่ต้องการให้ผู้ใด พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระกับตน
ทั้ง 4 ประการนี้เป็นการห้ามไม่ให้ผู้อื่นกระทำผิดต่อตน ทางวาจา

ทุกคนต้องยอมรับรู้ว่า
1.ไม่ต้องการให้ผู้ใด คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของตน และคู่ครองของตน
2.ไม่ต้องการให้ผู้ใด คิดอาฆาตพยาบาท มุ่งร้ายทำอันตรายชีวิตร่างกายของตน
3.ไม่ต้องการให้ผู้ใด มีความเห็นผิดต่อ วัตถุประสงค์ที่ชอบของตน

ทั้ง 3ประการนี้เป็นส่วนการห้าม ไม่ให้ผู้อื่นกระทำผิดต่อตนทางมโน

           เมื่อสรุปแล้ว คงได้ความยืนยันว่า ทุกคน ต่างฝ่ายต่างก็ห้ามไม่ให้ผู้อื่นกระทำร้ายแก่ตน ดังนั้น ทุกคนจึงเป็นมูลบัญญัติกฎแห่งกรรม ทุกคนเป็นผู้บัญญัติกฎสากลแห่งสังคม ทุกคนต้องรับบัญญัติ คือปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎสากลสังคมนี้ โดยต่างฝ่ายต่างไม่กระทำผิดต่อกันและกัน โดยไม่กระทำด้วยตนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ ไม่รับใช้ผู้อื่นกระทำ ไม่ส่งเสริมและยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นกระทำ

           กฎสากลแห่งสังคมนี้ เป็นธรรมและยุติธรรมที่สุดเพราะ เมื่อผู้ใด กระทำอะไร อย่างใด เพียงใด ย่อมได้รับผลเพียงนั้น
           กฎสากลแห่งสังคมนี้ เป็นศีลด้วย เพราะเป็นเหตุทรงสภาพบุคคล ให้ตั้งอยู่เป็นปกติในฐานะของตน เป็นธรรมด้วยเพราะเป็นเหตุให้ทรงสภาพความเป็นอยู่ ความเป็นไปของบุคคลให้อยู่ในสันติแห่งสังคมเป็นอันดี
           ทุกคนต้องศึกษาให้รู้ว่า จิตต์เป็นผู้ให้เกิดมาในโลกจิตต์เป็นผู้รู้เหตุผลทั้งปวง จิตต์เป็นผู้สั่งให้ มโน กาย วาจา กระทำการงานทั้งปวง จิตต์เป็นผู้รับผิดชอบ เป็นผู้รับผลของการงานนั้นทุกประการ
           จิตต์ที่สั่งให้มโน กาย วาจา กระทำการงานนั้น สั่งให้กระทำผิดเป็นการละเมิดกฎแห่งสังคมก็ได้ สั่งให้กระทำถูกกระทำชอบ เป็นการรักษากฎแห่งสังคมก็ได้

           จิตต์จะให้กระทำผิดทางใดๆ ด้วยประการใดๆ ก็ตามก็เพราะความโกรธ ความโลภ ความหลง เข้าครอบงำบดบังจิตต์ให้มืดมัว โง่เขลา รู้เท่าไม่ทันเหตุผล ตามเหตุการณ์ที่เป็นจริง จิตต์ที่สั่งให้กระทำชอบ ทางใดๆ ด้วยประการใดๆ ก็ตาม ก็เพราะ ศีล สัมมาสมาธิ ปัญญา เข้าครอบงำจิตต์ให้บริสุทธิ์ สะอาด สงบ สว่าง ส่องให้เห็นเหตุผล ชี้ชัดให้รู้เห็นว่า การกระทำอะไร อย่างไร เป็นเหตุให้เกิดผล เป็นทุกข์โทษ เสียหาย เป็นภัยพิบัติแก่ตนและคนอื่นอย่างไร งดเว้นไม่กระทำอย่างนั้น เมื่อกระทำอะไร อย่างไร เป็นเหตุให้เกิดผล เป็นความสุข เป็นคุณ เป็นประโยชน์ แก่ตนและคนอื่น เป็นเหตุให้สังคมตั้งอยู่ในความสงบสุข ก็กระทำอย่างนั้น

           จิตต์จะเกิดความโกรธ ความโลภ ความหลง ก็ตาม จะเกิดศีล สัมมาสมาธิ ปัญญาก็ตาม ย่อมเกิดเมื่อตาเห็นสิ่งต่างๆมีวิญญาณที่ตารับรู้ เมื่อหูได้ยินเสียงต่างๆ มีวิญญาณที่หูรับรู้ เมื่อจมูกได้รับกลิ่นต่างๆ มีวิญญาณที่จมูกรับรู้ เมื่อลิ้นได้รับรสต่างๆมีวิญญาณที่ลิ้นรับรู้ เมื่อกายได้สัมผัสสิ่งต่างๆมีวิญญาณมีวิญญาณที่กายรับรู้ วิญญาณที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้ง 5นี้ จะผ่านวิญญาณที่จุดศูนย์รวมระบบประสาท ที่มันสมองกึ่งกลางกะโหลกศีรษะ ที่นี่จะเป็นที่รับส่งคลื่นรหัสต่างๆที่วิญญาณ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รับรู้มา เข้าไปสู่จิต โดยผ่าน มโนวิญญาณ ที่ก้อนเนื้อหทัยวัตถุ อีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น ถ้าวิญญาณที่ตา หู จมูก ลิ้น และที่กาย ที่ใดที่หนึ่งก็ตาม รับรูมาผิด จิตต์ก็รู้ผิด สั่งการงานผิด ถ้าวิญญาณทั้ง 5 นั้นที่ใดที่หนึ่งก็ตาม รับรู้มาถูก จิตต์ก็สั่งการงานถูก

           อาศัยเหตุผลดังกล่าวมานี้ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้ทุกคนระวัง เมื่อตาเห็นสิ่งทั้งปวง หูได้ยินเสียงทั่งปวง จมูกได้รับกลิ่นทั้งปวง ลิ้นได้รู้รสทั้งปวง กายได้รับสัมผัสถูกต้องสิ่งทั้งปวง โดยพิจารณาให้รู้เห็นเหตุผลแน่ชัดเสียก่อน ที่จะกระทำงาน ทางกาย ทางวาจา ทางมโน งดเว้นการงานที่จะกระทำผิดต่อกฎแห่งสังคม ให้กระทำแต่ทางที่ดี ที่ชอบ ที่ถูก ประมวลเป็นหลักคำสอนไว้ ให้ทุกคนศึกษา รู้แล้วประพฤติปฏิบัติตาม 3ประการดังนี้
1.ไม่กระทำผิดละเมิดกฎแห่งสังคมด้วยประการทั้งปวง
2.รักษากฎแห่งสังคมให้บริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง
3.ฝึกจิตต์ของตนให้บริสุทธิ์ สะอาดผ่องใส ไม่มีความโลภ ความโกรธ และความหลง เกิดขึ้นในจิตต์

ประการที่ 1 ได้กล่าวแล้วข้างต้น เรื่องกฎแห่งสังคม

ประการที่ 2 การรักษากฎแห่งสังคมให้บริบูรณ์ นั้นมีดังนี้
1.ต่างฝ่ายต่างหวังดีต่อกัน ต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือกัน เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ก็ช่วยเหลือกันตามสมควรแก่กรณีที่เกี่ยวข้องกับสังคม
2.พอใจในการแสวงหาทรัพย์ และแสวงหาอาชีพ ในทางที่ชอบด้วย ศีล ธรรม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อนุเคราะห์สงเคราะห์กันและกันตามสมควรแก่กรณีที่อยู่รวมกันในสังคมเป็นการสมัครสมานไมตรี เกิดสามัคคีธรรม เกิดผลให้เป็นความสุข สงบสุขในสังคม
3.ต่างฝ่ายต่างเคารพสิทธิ์ในคู่ครองของกันและกัน ทุกคนพอใจในคู่ครองของตน พอใจในการแสวงหาคู่ครองแต่ที่ชอบด้วยศีลธรรม และประเพณีธรรม
4.ต่างฝ่ายต่างพูดแต่ที่เป็นความสัจจริงต่อกันและกันเพื่อรักษาประโยชน์ของกันและกัน
5.ต่างฝ่ายต่างพูดแต่คำสุภาพต่อกันและกัน เป็นการยึดเหนี่ยวผูกมิตรไมตรีให้เกิดความสามัคคีธรรม
6.ต่างฝ่ายต่างพูดแต่คำที่ทำให้ผู้อยู่รวมกันในสังคมสมัครสมานไมตรีต่อกัน
7.ต่างฝ่ายต่างพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์ต่อกันและกัน
8.ฝึกจิตต์ให้ละความโลภอยากได้ในทรัพย์สิ่งของ ของผู้อื่น
9.ฝึกจิตต์ให้เกิดความเมตตา กรุณา เพื่อละโทษ และความโกรธ คิดอาฆาตพยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น
10.ฝึกจิตต์ให้เกิดความเห็นชอบตามกฎแห่งสังคม

ประการที่ 3 การฝึกจิตต์ให้บริสุทธิ์สะอาด สงบ สว่าง นั้นมีวิธีฝึกหลายแบบ หลายวิธี จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ เพราะจะเป็นวิธีใดแบบไหนก็ตาม ก็มีความมุ่งหมายอยู่ 4 ประการ คือ
1.เพื่อให้จิตต์ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตต์กระทำการ ไม่สายไปทางอื่น
2.เพื่อให้จิตต์เกิดสัมมาสมาธิ ละความโลภ ความโกรธ ที่เข้ามาครองงำจิตต์ให้มืดมัว
3.เพื่อให้จิตต์บริสุทธิ์ สะอาด สงบ สว่าง ส่องให้เห็นสิ่งต่างๆ ได้ตามที่จิตต์นึกรู้ชัดตามเป็นจริง
4.เพื่อฝึกหัดกระทำวิปัสสนาให้เกิดปัญญา ละอวิชา หรือโมหะที่ทำให้จิตต์หลง ไมรู้เหตุผลตามความเป็นจริง

ขอบพระคุณที่มาhttp://www.2013.ob.tc/1.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 24, 2011, 09:21:57 am โดย lek »

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: แบบฝึกหัดจิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 09:23:16 am »
แบบฝึกหัดที่1

           จิตต์นึกให้เห็นเครื่องหมายบวก ในวงกลมแปะอยู่ตรงกระดูก อก ต่อกับหนังหน้าท้อง ให้จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกอยู่ตรงกระดูกกับหนังหน้าท้องต่อกันพอดี เครื่องหมายบวกนี้ขนาดเส้นตัดนับจากจุดเส้นตัดออกไปด้านละ 4 เชนติเมตร

                     



           เมื่อจิตต์เห็นเครื่องหมายบวกในวงกลมนี้แล้ว (สำหรับเพศหญิงกำหนดให้จิตเห็นเครื่องหมายคูณในวงกลม) จิตต์กำหนดนึกตั้งที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกนั้น พร้อมกับนึกในจิตต์ ว่า “สัมพุทโธ   สัมทุทโธ  สัมพุทโธ ” นึกต่อกันเรื่อยๆ อย่าให้ลืมจนกว่าจะเกิดแสงสว่างขึ้น ที่จุดเส้นตัดนั้น เมื่อแสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แต่มัวหรือเลือนราง พึงนึกให้แสงใสสว่างขึ้นตามที่ต้องการ เมื่อแสงสว่างเกิดตามที่ต้องการได้แล้ว ต้องรักษาไว้อย่าให้หายไป

 
แบบฝึกหัดที่2

           พึงเข้าใจว่า จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกนี้ เป็นจุดกลางศูนย์รวมพลังของจิตต์ แบบฝึกหัดที่ 2 นี้จิตต์กำหนดนึกเห็นจุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกนั้น ใสสว่างได้ตามที่ต้องการแล้วจิตต์นึกให้เครื่องหมายบวกในวงกลมนั้นเป็นจอโทรทัศน์ ได้ตามที่ต้องการเหมือนโทรทัศน์จริงๆ ทุกประการ ต่างแต่พิเศษกล่าวคือ ไม่จำกัดระยะคลื่น ไม่จำกัดสถานีส่ง รหัสภาพและเสียง เมื่อจิตต์นึกจะให้เห็นสิ่งใดๆสิ่งนั้นก็จะปรากฏในจอเครื่องหมายบวกในวงกลมนี้ พึงฝึกให้เห็นชัดแจ้งได้ตามที่ต้องการทุกเวลาทุกสถานที่ พึงฝึกให้ชำนาญ รู้เห็น รู้จัก จำได้ เข้าใจ ในสิ่งนั้นๆ

แบบฝึกหัดที่ 3

           จิตต์ตั้งที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวก กำหนดให้เห็นเครื่องหมายบวกในวงกลม เป็นจอโทรทัศน์ เมื่อเครื่องหมายบวกหายไปแล้ว กำหนดให้เห็นภาพกายของผู้ฝึกปรากฏในจอโทรทัศน์ แล้วกำหนดให้เห็นส่วนต่างๆของร่างกายปรากฏขึ้นตามลำดับดังต่อไปนี้
                                                               

            หมวดที่ 1 ธาตุดิน


ส่วนที่ 1 กำหนดให้เห็นศีรษะ ผม ตา หู จมูก ลิ้น ฟัน มันสมอง  ในกะโหลกศีรษะ
ส่วนที่ 2 เห็น แขน บ่า ศอก ข้อมือ นิ้วมือ เล็บ
ส่วนที่ 3 เห็น ขา ตะโพก เข่า ข้อเท้า นิ้วเท้า เล็บ
ส่วนที่ 4 เห็นหนัง ขนที่ตั้งอยู่ตามผิวหนังทั่วไป
ส่วนที่ 5 เห็นเนื้อ กระดูก เยื้อในโพรงกระดูก เส้นเอ็นที่รึงรัดกระดูก
ส่วนที่ 6 เห็นหทัยวัตถุ ปอด ตับ ม้าม ไต พังพืด
ส่วนที่7 เห็นไส้ใหญ่ ไส้น้อย กรเพาะอาหาร กระเพาะอุจจาระ
ส่วนที่ 8 เห็นต่อมลูกหมาก (หญิง มดลูก ปีกมดลูก รังไข่)
                                                       

             หมวดที่ 2 ธาตุน้ำ


ส่วนที่ 1 เห็นน้ำดีในถุง เม็ดโลหิต เสลด น้ำเหลือง เหงื่อ
ส่วนที่ 2 เห็นมันข้น มันเหลว น้ำตา น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ
                                                                 

            หมวดที่ 3 ธาตุลม


ส่วนที่ 1 เห็นลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื่องต่ำ ลมพัดแผ่เข้าไปทั่วกาย
ส่วนที่ 2 เห็นลมพัดทวนขึ้นบน ภายในท้อง กระทำให้ได้ยินเสียงออกภายนอก
ส่วนที่ 3 เห็นลมพัดในไส้ใหญ่ตลอดทวารทั้ง 9
ส่วนที่ 4 เห็นลมหายใจเข้าออกทางจมูก
                                                             

            หมวดที่ 4 ธาตุไฟ


ส่วนที่ 1 เห็นไฟทำให้กายอบอุ่น ไฟทำให้อาหารสุกระอุเป็นอันดี
ส่วนที่ 2 เห็นไฟเผาย่อยให้เป็นอาหารโอชาไปบำรุงเลี้ยงร่างกาย
ส่วนที่ 3 เห็นไฟเผาร่างกายให้เหี่ยวแห้ง ถึงแก่ความชรา
       

             หมวดที่ 5 ธาตุลมไฟรวมกัน


พึงพิจารณาให้เห็นว่า ธาตุลม และ ธาตุไฟ ทั้งสองหมวดนี้ประกอบกันอภิบาลบำรุงรักษา ธาตุดินและน้ำให้เคร่งตึงและไม่ให้เน่าเปื่อยผุฟัง
           

            ทั้ง 5 หมวดนี้ พึงทำให้ได้แม่นยำ แล้วนึกให้เห็นแจ้งจัดไปตามลำดับ ทุกหมวด ทุกอย่าง ทุกส่วน จนมีความชำนาญ เมื่อนึกให้เห็นเมื่อใดก็เห็นได้ชัดแจ้ง
ประการหนึ่ง เมื่อเห็นส่วนใด อย่างใด เป็นโรคอะไร อย่างใดก็ตาม พึงนึกให้โรคนั้นหายไป

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด
Re: แบบฝึกหัดจิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 24, 2011, 09:25:17 am »
แบบฝึกหัดที่ 4
           จิตต์ตั้งที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลม นึกให้เป็นจอโทรทัศน์ แล้วนึกให้เห็นส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้
           1.ที่ตามีประสาท เรียกว่าจักษุประสาท เป็นส่วนรูป มีวิญญาณที่ส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าจักษุวิญญาณ มีหน้าที่เห็นสิ่งต่างๆ

           2.ที่หูมีประสาท เรียกว่าโสตประสาท เป็นส่วนรูป มีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าโสตวิญญาณ มีหน้าที่ให้ได้ยินเสียงทั้งปวง

           3.ที่จมูกมีประสาท เรียกว่าฆานประสาท เป็นส่วนรูป มีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าฆานวิญญาณ มีหน้าที่ดมและรู้กลิ่นทั้งปวง

           4.ที่ลิ้นมีประสาท เรียกว่าชิวหาประสาท เป็นส่วนรูปมีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนอยู่ เรียกว่าชิวหาวิญญาณ มีหน้าที่รับรู้ รสอาหารทั้งปวง

           5.ที่กายมีประสาท เรียกว่ากายประสาท เป็นส่วนรูปแผ่ซ้อนอยู่ทั่วกาย มีวิญญาณเป็นส่วนนามซ้อนกายประสาทอยู่ เรียกว่ากายวิญญาณ มีหน้าที่รับ และรู้สิ่งต่างๆที่มากระทบถูกต้องกาย

           6.ที่ก้อนเนื้อหทัยวัตถุมีประสาท เรียกว่ามโน เป็นส่วนรูป มีวิญญาณเป็นส่วนนามแผ่ซ้อนอยู่ เรียกมโนวิญญาณมีหน้าที่รับรู้จากวิญญาณทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้วรับช่วงต่อจากวิญญาณที่จุดศูนย์กลางก้อนมันสมอง ภายในกะโหลกศีรษะแล้วส่งต่อให้จิตต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดศูนย์กลางภายในก้อนวัตถุ มโนนั้น

           7.ก้อนมันสมองในกะโหลกศีรษะ มีวิญญาณแผ่ซ่อนอยู่ เรียกว่า ปัญจทวารชวนจิตต์มีหน้าที่รับรู้จากวิญญาณ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วส่งต่อให้มโนวิญญาณ ส่งต่อให้จิตอีกช่วงหนึ่ง มีหน้าที่รับรู้จากจิตต์สั่งผ่านมโน ให้ตาดูสิ่งต่างๆ หูฟังเสียงต่างๆจมูกดมกลิ่นต่างๆ ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายสัมผัสหยิบจับสิ่งต่างๆ

           8.จิตต์ที่เป็นตัวประธาน เรียกว่า วิบากจิตต์ จิตต์นี้นำให้เราเกิดมาเป็นคนในชาตินี้ การที่เราเกิดมาเป็นคนในชาตินั้นก็เพราะชาติก่อน เราไม่ประพฤติผิดกฎแห่งสังคม ถ้าชาตินี้ไม่ประพฤติผิดต่อกฎแห่งสังคมอีก จิตต์ก็จะมีสภาพเป็นคนไปตลอดชาตินี้ และอาจเกิดเป็นคนในชาติต่อไปอีก ถ้าประพฤติผิดต่อกฎแห่งสังคมแล้ว จิตต์ก็เปลี่ยนสภาพไปเป็นอย่างอื่นตามอำนาจของกฎแห่งกรรมคือการกระทำผิดแห่งกฎนั้น จิตต์ที่เปลี่ยนสภาพไปนี้ ก็จะนำให้ไปเกิดเป็นอะไรอย่างไร ตามกำลังของกรรมนั้นเช่นเกิดเป็นสัตว์ดุร้าย ให้คนคอยฆ่าเมื่อพบเห็น หรือแม้ว่าเกิดมาเป็นคนอีก มีอายุสั้นตายเสียในท้องบ้าง ออกมาอายุไม่เท่าไรตายก็มี เหล่านี้เป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้นต้องพยายามฝึกหัดให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า กระทำผิดกฎแห่งสังคมข้อใด แค่ไหน เพียงไร ตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไร อย่างไร ที่ไหน นานเท่าใด ถ้าไม่กระทำผิดกฎแห่งสังคม และรักษากฎแห่งสังคมให้บริบูรณ์แล้ว ตายแล้วจะไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหน อย่างไร


แบบฝึกหัดที่5

เมื่อฝึกหัดตามแบบฝึกหัดที่ 4 เห็น รู้ ดีแล้ว พึงฝึกหัดตามแบบฝึกหัดที่ 5 ต่อไป ดังนี้

                1.เมื่อตั้งจิตต์ที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลมนึกให้เห็นเป็นโทรทัศน์ได้ตามที่ต้องการแล้ว นึกให้เห็นกายของผู้ฝึกปรากฏในจอโทรทัศน์นั้น เมื่อเห็นแล้วนึกให้เห็นกายของผู้ฝึกเคยนอนหลับแล้วฝันไปเห็นอะไร ที่ไหนนั้น ออกจากกายที่ฝึกหัดไปที่ใดที่หนึ่ง ตามแต่ผู้ฝึกจะนึกไป ตามความสะดวกของผู้ฝึก เมื่อกายฝันนี้ไปดูอะไร ที่ไหน เห็นอย่างไรบันทึกไว้เป็นแบบฝึกหัดตรวจสอบดูว่า เห็นจริงหรือไม่ อย่างไร ถ้าไม่จริงหรือคลาดเคลื่อนไป เพราะเหตุใด แล้วฝึกหัดต่อไปให้ชำนาญ เห็นได้ตามจริง เห็นได้ทุกเวลาที่ต้องการเห็น ผู้ฝึกจะอยู่ที่ใด นั่ง นอน ยืน เดิน อยู่อย่างไรก็ตาม ก็ย่อมเห็นได้เมื่อกำหนด เมื่อต้องการเห็น

                  2. จิตต์กำหนดนึกเห็น กายภูต 4 กาย ออกจากกายของผู้ฝึก มานั่งข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง ระยะมือเอื้อมถึง จิตต์เห็นได้ในจอโทรทัศน์นั้น กายนี้มีลักษณะเหมือนผู้ฝึกจิตต์ สีกายต่างกัน กายข้างหน้า สีชมพู ข้างหลังสีขาว ข้างขวาสีฟ้า ข้างซ้ายสีเหลือง เมื่อเห็นกายทั้ง 4 นี้ กายใดไม่ผ่องใส เช่น ดำ หมอกมัว อย่างไร พึงนึกให้ศูนย์วงแหวนมีจุดกลางศูนย์วงแหวนนั้น เส้นวงรัศมี 4 เซนติเมตร 4 วง ซ้อนกันประทับลงที่สะดือของกายภูตนั้น จุดศูนย์กลางวงแหวนตรงจุดกลางสะดือพอดีแล้ว จิตต์นึกให้ศูนย์วงแหวนเอาสีดำหมอกมัวนั้นออกจากกายภูตนั้นจนกว่าจะผ่องใส เมื่อกายภูตทั้งสี่นี้ผ่องใสแล้ว จิตต์นึกให้สี่กายนี้ซ้อนกันรวมเป็น 1 แล้ว นึกเอากายนี้เป็นกายฝันไปดูอะไรที่ไหน เช่นเดียวกันกับข้อ 1 ในแบบฝึกหัดที่ 5 นี้
                การที่ให้กระทำดังที่กล่าวนี้ ก็เพราะว่า ถ้ากายภูตนี้ดำหรือหมอกมัวจะเป็นเหตุเห็นอะไรไม่ตรงกับสิ่งที่เป็นจริงได้

                3. พึงศึกษาให้รู้ว่า คนที่ตายแล้วถูกเชิญมาเพื่อถ่ายภาพนั้น คือ กายภูตตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 แบบฝึกหัดที่ 5 นี้ไม่ใช่กายวิญญาณตามที่รู้กันทั่วไป เพราะกายวิญญาณเป็นนาม กล้องเป็สภาพรูป จึงไม่สามารถถ่ายภาพวิญญาณได้
                คนที่ยังไม่ตาย เราอาจเชิญมาเพื่อถ่ายภายกายภูตหรือกายฝันได้ ในเมื่อกล้องนั้นมีลักษณะเป็นพิเศษกว่ากล้องธรรมดา

                4. เมื่อจิตต์กำหนดเห็นกายของผู้ฝึก ตั้งอยู่ในจอโทรทัศน์แล้ว จิตต์กำหนดให้เห็นกายชีวิตซ้อนกายของผู้ฝึกจิตต์อยู่ กายชีวิตนี้เป็นสีเขียวใบไม้ สีอ่อนแก่ไม่แน่ ต้องแล้วแต่ว่าผู้ฝึกจิตต์จะมีโรคภัยอะไรหรือไม่ มีอายุมากน้อยเท่าใด ฉะนั้นเมื่อกำหนดเห็นมีสีดำ หรือหมอกมัวที่กายชีวิตนั้นถึงกำหนดให้ศูนย์วงแหวน เหมือนที่กล่าวแล้วในข้อ 2 แบบฝึกหัดที่ 5 นี้ 9 วงซ้อนกัน ประทับที่สะดือของกายชีวิตนี้ จุดกลางศูนย์วงแหวนตรงศูนย์กลางสะดือพอดี จิตต์นึกให้ศูนย์วงแหวนหมุนเอาสีดำหมอกมัวออกจากกายชีวิตนี้ออกให้หมดพึงรู้ว่า กายชีวิตนี้ ถ้าดับหรือสลายจากกายเมื่อใด คนเราก็ตาย ถ้ากายชีวิตยังอยู่ คนเราก็จะไม่ตายไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุใด ๆ

แบบฝึกหัดที่ 6
           1.เมื่อนึกให้เห็นจุดตัดเครื่องหมายบวก ในวงกลมเป็นจอโทรทัศน์ขนาดตามที่ต้องการใสสว่างดีแล้ว นึกให้เห็นกายเนื้อของผู้ฝึกหัดปรากฏในจอโทรทัศน์นั้น แล้วฝึกให้เห็นกายประสาท ซ้อนกายเนื้อของผู้ฝึกหัด กายประสาทนี้เป็นสีฟ้า สีอ่อนหรือสีแก่ไม่แน่ ต้องแล้วแต่ผู้ฝึกจิตต์จะมีโรคภัยอะไรหรือไม่ มีอายุมากน้อยเท่าใด ฉะนั้น เมื่อเห็นกายประสาทนี้ มีสีดำหรือหมอกมัวแทรกซ้อนอยู่ พึงนึกเอาศูนย์วงแหวนเหมือนข้อ ๒ ในแบบฝึกหัดที่ ๕ จำนวน ๑๐๐ วงซ้อนกัน จุดกลางในศูนย์วงแหวนประทับจุดศูนย์กลางปุ่มสะดือของกายประสาทพอดี จิตต์สำนึกให้จุดศูนย์วงแหวนนี้ หมุนเอาสีดำหมอกมัวออกจากกายประสาทให้หมด

           2.จิตต์กำหนดให้กาย และจอโทรทัศน์หายว่างไปคงเหลือแต่จุดเส้นตัดในเครื่องหมายบวก ใสสว่าง จิตต์กำหนดนิ่งอยู่ที่จุดเส้นตัดนั้น จะเกิดความผ่องใสยิ่งขึ้น มีอาการขนลุกชูชัน มีอาการกายเบา เหมือนดังลอยอยู่ในอากาศ มีความสุขอันเกิดจากสมาธิ มีจิตต์เป็นหนึ่ง เพราะจิตต์ตั้งมั่นที่จุดเส้นตัดแห่งเครื่องหมายบวกนี้

           3.พึงฝึกจิตต์ให้บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้น โดยจิตต์กำหนดนิ่งที่จุดเส้นตัด เครื่องหมายบวก นึกให้ความรู้สึกที่มีขนลุกชูชัน กายเบาเหมือนว่าลอยอยู่ในอากาศนั้นหายไป คงเหลือแต่ความสุข และจิตต์เป็นหนึ่ง เพราะจิตต์ตั้งมั่นที่จุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลมนั้น

           4.พึงฝึกจิตต์ให้บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้น โดยจิตต์วางเฉยในความสุข คงเหลือแต่จิตต์เป็นหนึ่ง เพราะตั้งมั่นที่จุดเส้นตัดในเครื่องหมายบวกในวงกลมนั้น และจิตต์หยุดนิ่งเฉยจิตต์ถึงความบริสุทธิ์ผ่องใสที่สุดเป็นสัมมาสมาธิ
แบบฝึกหัดที่ ๖ ข้อ ๑.๒.๓. นี้ จะฝึกหัดต่อท้ายแบบฝึกหัดที่ ๓ ก็ได้

 

หมายเหตุ
การฝึกหัดแต่ละแบบแต่ละข้อ พึงฝึกหัดให้ชำนาญไปตามลำดับทุกแบบทุกข้อ ดังนี้

1.จิตต์จะกำหนดจุดเส้นตัดเครื่องหมายบวกในวงกลมเมื่อใดก็ได้

2.จิตต์จะกำหนดให้เห็นเป็นจอโทรทัศน์ ก็เป็นได้ตามคามต้องการ สว่างแจ่มใสไม่มีหมอกมัว

3.จิตต์จะกำหนดดูอะไรสิ่งใดก็เห็นชัด รู้ชัดตามความเป็นจริง

4.เมื่อจะดูอะไรสิ่งใดก็เห็นได้ทันที

5.เมื่อเห็นสิ่งใดแล้ว หรือไม่ต้องการเห็นสิ่งใด ก็นึกให้หายไปได้ทันที

6.เมื่อแบบฝึกหัดแบบใด ข้อใดก็ตาม เมื่อเลิกฝึกหัดแล้ว นึกถึงแบบนั้น ข้อนั้นก็ยังจำได้ รู้เหตุผล ในสิ่งที่รู้เห็นมานานแล้ว

7.วงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ เซนติเมตร มีจุดศูนย์ที่กล่าวนั้น ให้สมมุติเรียกว่าศูนย์จุดดับนี้ มีประโยชน์ในการดับสิ่งต่างๆ ที่มารบกวน หรือบดบังแสงสว่างของเรา ถ้าสิ่งที่จะดับนั้น มีกำลังมาก พึงใช้ศูนย์จุดดับเป็นจำนวนมากเท่ากันไปดับ ถ้ามีสิ่งไม่ดีในตัวเรา มีโรคภัยในตัวเราก็ดับออกไป หรือกายไปจากตัวเราให้หมด ไม่เหลือหลงอยู่

8.เมื่อจิตต์ดูสิ่งใด เห็นสิ่งใด อย่าเอาตาไปช่วยดู เพราะจะทำให้ประสาทเครียด และทำให้เห็นภาพเลือนลางหลอกหลอนลวงให้เห็นผิดไปต่างๆได้

9.ขณะที่ผู้ฝึกหัดจิตต์ ฝึกหัดแบบใดแบบหนึ่งอยู่ก็ตามขณะนั้น ผู้ฝึกหัด จะพูด บอก ตอบ สอบถาม ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยไม่ต้องหยุดการฝึกหัด เว้นแต่แบบที่ ๖ ข้อ ๒-๓-๔ จะนึกให้เห็นอะไร จะพูดอะไรไม่ได้ เพราะต้องการให้จิตต์ว่าง หยุดนิ่ง บริสุทธิ์ขึ้นตามลำดับ ถึงที่สุด


จบภาคว่าด้วยการฝึกจิตต์ให้เป็นสัมมาสมาธิ
(ภาคว่าด้วยการฝึกวิปัสสนากำจัดความโง่ให้หมดไปมีต่อ)

ขอบพระคุณที่มา http://www.2013.ob.tc/6.html