ผู้เขียน หัวข้อ: หย่ากัน แต่ไม่จดทะเบียนแบ่งที่ดินกัน แล้วจะเอาที่ไปจำนองได้หรือไม่  (อ่าน 1425 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
หย่ากัน แต่ไม่จดทะเบียนแบ่งที่ดินกัน แล้วจะเอาที่ไปจำนองได้หรือไม่
/มังกรซ่อนกาย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
14 ตุลาคม 2554 12:26 น.

สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วนั้นหากได้ทรัพย์สินใดมาระหว่างสมรสที่มิใช่สินส่วนตัวเดิม ทรัพย์สินเหล่านั้นย่อมตกเป็นสินสมรส แต่ทรัพย์สินบางอย่างเช่นที่ดินในหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน สามี หรือภริยาอาจให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินเพียงฝ่ายเดียว ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือ หากสามีหรือภริยาที่เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินฝ่ายเดียวนำที่ดินไปก่อหนี้ผูกพันที่ดิน เช่น การจำนอง กรณีดังกล่าวนี้จะถือว่าที่ดินทั้งแปลงต้องผูกพันตกเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้ทั้งแปลงหรือไม่ มีตัวอย่างให้ท่านได้ศึกษากันดังนี้
       
       นายเปรี้ยวกับนางหวานได้จดทะเบียนสมรสกันตั้งแต่ปีพ.ศ. 2515 ทั้งคู่ได้ร่วมกันซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 555 จากนายขมเพื่อปลูกสร้างบ้านเป็นที่อยู่อาศัยในราคา 1 ล้านบาท แต่ในการทำสัญญาซื้อขายนางหวานได้ให้นายเปรี้ยวแต่ผู้เดียวเป็นผู้ซื้อ โดยนายเปรี้ยวได้กู้ยืมเงินจากธนาคารมั่นคงและนำที่ดินโฉนดเลขที่ 555 จำนองไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ซึ่งในการผ่อนชำระหนี้นายเปรี้ยวและนางหวานได้ช่วยกันผ่อนค่าที่ดินต่อธนาคารมั่นคงและออกเงินช่วยกันสร้างบ้านบนที่ดินดังกล่าว จนต่อมาในปี 2525 ทั้งคู่ได้ผ่อนชำระหนี้ต่อธนาคารมั่นคงครบถ้วนแล้ว ธนาคารมั่นคงได้ปลดจำนองให้แก่นายเปรี้ยว นายเปรี้ยวจึงเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 555 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งในระหว่างที่นายเปรี้ยวกับนางหวานอยู่ด้วยกันนั้น นายเปรี้ยวประกอบธุรกิจส่วนตัวมีการหมุนเงินอยู่เสมอ
       
       ส่วนนางหวานนั้นรับราชการมีเงินเดือนประจำ ซึ่งตั้งแต่ปี 2525 ถึงปี 2535 นายเปรี้ยวได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 555 จำนองต่อธนาคารหลายแห่งโดยจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี เมื่อชำระหนี้หมดก็ไถ่ถอนจำนอง เมื่อเงินไม่พอหมุนเวียนในธุรกิจก็นำไปจำนองอีก ซึ่งมีการกระทำลักษณะเช่นนี้เรื่อยมาเป็นเวลา 10 ปี
       
       ต่อมาในปี 2536 นายเปรี้ยวและนางหวานก็จดทะเบียนหย่ากันเพราะนางหวานเป็นห่วงว่าการทำธุรกิจของนายเปรี้ยวจะทำให้นายเปรี้ยวถูกฟ้องร้องหรือล้มละลาย ซึ่งจะกระทบต่อทรัพย์สินของตัวเองด้วยในช่วงเกษียน จึงตกลงหย่ากันโดยในบันทึกท้ายทะเบียนหย่านายเปรี้ยวได้ยกสินสมรสในส่วนของตนทั้งบ้านและที่ดินโฉนดเลขที่ 555 ให้แก่นางหวานแต่ผู้เดียว ซึ่งภายหลังจากหย่ากันได้ 2 ปี โฉนดที่ดินเลขที่ 555 ยังมิได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนเป็นชื่อของนางหวาน นายเปรี้ยวจึงได้นำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้กับธนาคารยืนยาวอีกในปี 2538 เป็นประกันการกู้ยืมเงิน แต่คราวนี้นายเปรี้ยวไม่สามารถชำระหนี้ได้เพราะเกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้ธนาคารยืนยาวฟ้องนายเปรี้ยวให้ชำระหนี้และบังคับจำนอง ศาลพิพากษาให้นายเปรี้ยวชำระหนี้กู้ยืม หากไม่ชำระหนี้ให้บังคับที่ดินโฉนดเลขที่ 555 มาขายทอดตลาดชำระหนี้ให้กับธนาคารยืนยาว นางหวานจะมาร้องขอให้ปล่อยที่ดินอ้างว่าได้มีการตกลงแบ่งสินสมรสแล้ว หรือขอให้ศาลมีคำสั่งกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด อ้างว่าเป็นสินสมรสของตนกึ่งหนึ่งได้หรือไม่


       กรณีดังกล่าวนี้ศาลจะพิจารณาคำร้องของนางหวานอย่างไร เห็นได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 555 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสของนายเปรี้ยวกับนางหวาน ซึ่งเมื่อบุคคลทั้งสองจดทะเบียนหย่ากันสินสมรสต้องแบ่งให้แก่นายเปรี้ยวกับนางหวานคนละส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ("ป.พ.พ.") มาตรา 1533 แม้นายเปรี้ยวและนางหวานจดทะเบียนหย่ากันเมื่อปี 2536 โดยนายเปรี้ยวทำบันทึกยกสินสมรสส่วนของตนให้แก่นางเปรี้ยว แต่เมื่อการยกให้มิได้ไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (กรมที่ดิน) นิติกรรมการให้จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 นายเปรี้ยวจึงยังคงเป็นเจ้าของร่วม มีส่วนเท่าๆกับนางเปรี้ยว
       
       อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่านับแต่นายเปรี้ยวจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 555 พร้อมสิ่งปลูกสร้างต่อธนาคารมั่นคงครั้งแรกในปี 2515 ซึ่งในขณะนั้นนายเปรี้ยวกับนางหวานยังมิได้จดทะเบียนหย่ากัน และต่อมาได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนจำนองแก่นิติบุคคลอีกหลายรายต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนถึงธนาคารยืนยาว เป็นระยะเวลายาวนานถึง 23 ปี ไม่ปรากฏว่านางหวานได้ใช้สิทธิโต้แย้งการทำนิติกรรมจำนองของนายเปรี้ยว จึงมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่านางหวานได้รับรู้และไม่คัดค้าน
       
       ดังนี้ เมื่อรับฟังไม่ได้ว่าธนาคารยืนยาวจดทะเบียนรับจำนองโดยรู้อยู่แล้วว่านายเปรี้ยวมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนองแต่ผู้เดียว (เพราะขณะนั้นนายเปรี้ยวเป็นผู้มีชื่อในโฉนดแต่ผู้เดียวและจดทะเบียนหย่ากับนางหวานแล้ว) ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่าธนาคารยืนยาวรับจำนองโดยสุจริจ นิติกรรมจำนองทรัพย์สินดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ธนาคารยืนยาวในฐานะเจ้าหนี้จำนองย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จำนองได้ทั้งหมด เพราะสิทธิจำนองครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 716 และเป็นทรัพยสิทธิใช้ยันแก่นางหวานและบุคคลทั่วไปอีกทั้งถือได้ว่าการยื่นคำร้องคดีนี้ของนางหวานเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 4803/2553)
       
       มังกรซ่อนกาย
       hiddendragon2552@gmail.com

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130186

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)