ผู้เขียน หัวข้อ: พาหุสัจจะ : ความเป็นผู้ได้สดับมาก  (อ่าน 2688 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

                   

พาหุสัจจะ : ความเป็นผู้ได้สดับมาก

-พาหุสัจจะ แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับมาก หมายถึงการได้ศึกษาเล่าเรียนมาก การมีความรู้ประสบการณ์มาก เรียกบุคคลผู้มีภาวะอย่างนั้นว่า พหูสูต คือผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมากมาก ผู้มีความรู้มาก ผู้คงแก่เรียน นักปราชญ์ หนังสือบางฉบับเรียกว่า "หัวใจนักปราชญ์"
-พาหุสัจจะ เกิดจากการศึกษาและการศึกษาที่ดีเกิดจากการศึกษา๔แบบคือศึกษาด้วยการฟัง ด้วยการคิด ด้วยการสอบถามและด้วยการจดจำบันทึก

-มีคาถาบทหนึ่งที่ถือว่าเป็นหัวใจนักปราชญ์คือ "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปํณฑิโต ภเว
"แปลว่าผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
-----สุ ย่อมาจาก สุตะ แปลว่า ฟัง
-----จิ ย่อมาจาก จินตะ แปลว่า คิด
-----ปุ ย่อมาจาก ปุจฉา แปลว่า ถาม
-----ลิ ย่อมาจาก ลิขิต แปลว่า จด

-พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,
ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ

-----๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก
-----๒. ธตา ทรงจำไว้ได้
-----๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก
-----๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ
-----๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี

-พหุสูต,พหูสูต ผู้ได้ยินได้ฟังมามาก คือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก,
ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก, ผู้คงแก่เรียน
-อัครพหูสูต พหูสูตผู้เลิศ,ยอดพหูสูต,ผู้คงแก่เรียนอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง พระอานนท์
- พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 10
พาหุสัจจะของพหุสุตบุคคลชื่อว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งอิฏฐผลมีสรรเสริญเป็นต้น,และชื่อว่าเป็นมงคลแม้ เพราะเหตุแห่งการละอกุศล และการบรรลุกุศล ด้วยประการฉะนี้.

--สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในนคโรปมสูตร๒ ทุติยวรรค ทุติยปัณณาสก์ในสัตตกนิบาต อังคุตตรนิกายดังนี้ว่า"ภิกษุทั้งหลายก็อริยสาวกผู้สดับแล้วแล ย่อมละอกุศลเสียได้ ทำกุศล ให้เจริญ,ย่อมละกรรมอันมีโทษเสียทำกรรมไม่มีโทษให้เจริญบริหารตนให้หมดจด"

--อนึ่ง พาหุสัจจะ ชื่อว่าเป็นมงคลแม้เพราะเป็นเหตุแห่งการทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจโดยลำดับ.สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ชื่อภารทวาชะ ตรัสไว้ว่า"กุลบุตรผู้เกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปหา(บัณฑิต),ครั้นเข้าไปหาแล้ว ย่อมนั่งใกล้,เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสต,เงี่ยโสตแล้ว ย่อมสดับธรรม,ครั้งสดับแล้ว ย่อมทรงธรรมไว้,ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว,เมื่อเขาพิจารณาเนื้อความอยู่,ธรรม ทั้งหลายย่อมทนซึ่งความเพ่งพินิจ,เมื่อความทนซึ่งความเพ่งพินิจ แห่งธรรมมีอยู่, ความพอใจย่อมเกิด,เขาเกิดความพอใจแล้วย่อมอุตสาหะ,ครั้นอุตสาหะแล้ว  ย่อมไตร่ตรอง,ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร,เขาเป็นผู้มีตนตั้งความเพียรแล้ว ย่อมทำปรมัตถสัจให้แจ้งด้วยกายและย่อมเห็น(แจ้ง)แทงตลอดปรมัตถสัจนั้นด้วยปัญญา."

--ปฏิสัมภิทาญาณคือความแตกฉาน,ความรู้แตกฉาน,ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ
-----๑.   อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
-----๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
-----๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา
-----๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ

--ปัจจัยเครื่องอุดหนุนของปฏิสัมภิทา มี ๘ คือ
-----ปุพพโยคะ ๑   พาหุสัจจะ ๑
-----เทศภาษา ๑    อาคม ๑
-----ปริปุจฉา ๑     อธิคม ๑
----ครุสันนิสัย ๑   และมิตตสมบัติ ๑

-ในปัจจัยเหล่านั้น ปุพพโยคะก็มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล ความฉลาดในคัมภีร์และกระบวนศิลปะทั้งหลาย ชื่อว่า พาหุสัจจะ …


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ดวงตาเห็นธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2011, 03:24:30 pm »




ดวงตาเห็นธรรม
   
พุทธพจน์ที่กล่าวถึง ทุกขอริยสัจ มีความว่า :

"ภิกษุ ทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์"
   
   ความ คิดปรุงแต่งของบุคคลที่เข้ายึดถือเอารูปกาย พร้อมด้วยความรู้สึกนึกคิดที่เกิดประกอบรูปกายว่าเป็นตนเป็นของตน ย่อมเป็นการเข้าแบกภาระอันหนักของการดำรงชีวิตไว้ รูปกายหรือร่างกายมนุษย์ สัตว์ เป็นผลจากการเข้าประกอบกันของแร่ธาตุในธรรมชาติ จึงย่อมเปลี่ยนแปรไปตามกฎของธรรมชาติฝ่ายรูปธรรม ซึ่งเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยอันกำหนดแน่นอน ไม่ขึ้นต่อความปรารถนาของผู้หนึ่งผู้ใด
   
   เมื่อกระบวนการ สัมพันธ์ของแร่ธาตุในร่างกาย เป็นไปอย่างเหมาะสมสอดคล้อง สุขเวทนาทางกายเกิดขึ้นก็เรียกว่ามีสุขภาพดี ถ้าหากกระบวนการสัมพันธ์ของแร่ธาตุขัดแย้งกัน จะโดยเหตุปัจจัยชนิดใดก็ตาม สุขภาพก็เสื่อม ทุกขเวทนาทางกายเกิดขึ้น นี้คือ ความทุกข์ที่ย่อมเกิดมีตามธรรมดาของการมีรูปกาย ผู้ที่เข้าไปยึดถือเอาว่ารูปกายเป็นตนเป็นของตน ก็ย่อมยึดถือว่าความทุกข์กายนั้นเป็นตนเป็นของตนด้วย
   
   ความ ทุกข์ที่ได้รับมักไม่หยุดอยู่เพียงขณะเมื่อความทุกข์กายกำลังเกิด อยู่ แต่จะชักจูงให้เกิดโทมนัสอันเป็นความทุกข์ทางใจด้วย ทั้งนี้เพราะความรู้สึกนึกคิดนั้นเอง ก็ถูกยึดถือมั่นไม่ปล่อยว่าเป็นตนเป็นของตนด้วยอย่างลึกซึ้งแน่นหนา แผ่คลุมสมมติบัญญัติแห่งกาลทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต
   
   ภาวะ บกพร่อง ขัดข้อง ขัดแย้ง กดดัน และบีบคั้น ทนได้ยาก อันเป็นไปตามธรรมดาของกลุ่มแร่ธาตุทั้งภายในและภายนอก จึงกลายเป็นความทุกขโทมนัสทั้งของตนเองและผู้อื่น ซึ่งปรากฏเป็นตัวตนบุคคลแสดงบทบาทบนเวทีชีวิตและโลก อันความคิดปรุงแต่งอย่างยึดถือมั่นนั้นเอง สร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิศดารและซับซ้อน แต่ละบุคคลมีโลกส่วนตัวซึ่งเป็นทั้งบ้านและที่คุมขังจองจำ ทรมานให้ขาดอิสรภาพด้วยผู้คุม คือ ความยึดติดถือมั่นไม่ยอมปล่อย เพราะความอยากสุขหนีทุกข์ อันเกิดจากความโง่เขลา ไม่รู้เท่าทันธรรมชาติธรรมดานั้นเอง
   
   เมื่อยึดติดถือมั่นว่ามี ตนทั้งภายในและภายนอก ก็เกิดตนเอง เกิดผู้อื่นอันเป็นที่รักที่ชอบใจ เป็นต้น เมื่อความบกพร่องขัดข้องปรากฏ ก็ถือว่าตนเองเจ็บป่วย ผู้อื่นเจ็บป่วย เมื่อการประชุมกันเข้าชั่วคราวของกลุ่มแร่ธาตุตามธรรมชาติสลายลง ก็ถือเอาว่าตนตาย ผู้อื่นตาย เมื่อความสัมพันธ์สิ้นสุดขาดสะบั้นลง ก็ถือว่าตนเองและผู้อื่นพลัดพรากจากกัน ฯลฯ การเข้าไปยึดติดถือมั่นว่ารูปกายและความรู้สึกนึกคิดที่รวมกลุ่มอยู่ว่า เป็นตนเป็นของตน นี้จึงเป็นตัวทุกข์ ดังพุทธพจน์ที่อ้างอิงมาข้างบนว่า "โดยย่อ อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์" เพราะอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นก็คือ รูปกายและนามกาย ๔ กองคือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งความยึดติดถือมั่นเข้าไปจับไว้ไม่ปล่อยนั่นเอง
   
   หน้าที่ ซึ่งเราทั้งหลายพึงมีต่อ ทุกขอริยสัจ หรือความจริงแท้แน่นอนข้อนี้ก็คือ พิจารณาให้รู้อย่างชัดแจ้งถ่องแท้ ด้วยประสบการณ์ของตนเอง จึงควรใช้วาระแห่งความทุกข์เป็นโอกาสสำคัญ ที่จะทำหน้าที่อันนี้ให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้
   
   ความยึดติดถือ มั่น คืออุปาทาน เป็นผลปรากฏในชีวิตเพราะความโลภ ความอยาก หรือ ตัณหา อันแรงจัด ซึ่งมีรากเหง้าคือ อวิชชา อันหมายถึงความโง่เขลาไม่รู้จริง หรือรู้ไม่จริงในเรื่องธรรมชาติธรรมดาของโลกและชีวิต ท่านจึงเรียก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ว่า กิเลส เพราะเป็น เครื่องเศร้าหมองของชีวิตจิตใจอันบุคคลมีหน้าที่จะต้องละ เพื่อความทุกข์จะได้สิ้นสุดลง
   
   พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า :
   
   "ภิกษุ ทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหาที่ทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความเพลินและความติดใจ คอยเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา"
   
   อารมณ์คือสิ่งใดก็ตามที่ จิตหรือความรู้สึกนึกคิดเข้าไปจับรู้เสพเสวย จิตปุถุชน คือจิตในบุคคลมีกิเลส ย่อมเสพเสวยอารมณ์ที่ชอบ ด้วยความเพลิดเพลินติดใจ และอยากอีกไม่หยุดหย่อน เมื่อประสบอารมณ์ที่ไม่ชอบก็ขัดเคืองขุ่นแค้นอยากทำลาย อยากไปให้พ้น ความยินดีอยากใคร่ยิ่งนักในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกายคือ กามตัณหา ความพอใจรักใคร่ในภพกล่าวคือ สภาพชีวิตความมีอยู่ เป็นอยู่แบบใดแบบหนึ่ง คือ ภวตัณหา ความขึ้งเคียดเกลียดชังสถานการณ์เฉพาะหน้าอันไม่สบใจ ปรารถนารุนแรงให้มันหมดไปสิ้นไป จะโดยการทำลายล้างหรือหลีกหนีคือ วิภวตัณหา เมื่อเฝ้าสำรวจตรวจดูความรู้สึกนึกคิดของตนเองอยู่เสมอ ผู้มีสติพิจารณากำหนดจะเกิดปัญญาเห็นชัดขึ้นทุกทีว่า ความอยากทุกชนิด คือ ตัณหา นี้เองที่รุนแรงขึ้นเป็นอุปาทาน ทำให้กระบวนการสัมพันธ์ของรูปขันธ์ และนามขันธ์ ตามธรรมชาติกลายเป็นวงจรชีวิตทุกข์ขึ้น
   
   ดังนั้น หน้าที่ของบุคคลต่อทุกขสมุทัยอริยสัจ หรือความจริงแท้ว่าด้วยเหตุแห่งความทุกข์ ข้อนี้ก็คือการละตัณหา อย่างสิ้นเชิง ซึ่งก็หมายความถึงการละทั้ง อวิชชา ตัณหา และอุปทาน ไปพร้อมกัน
   
   ในพุทธกาลระยะต้น ท่านพระอัสสชิกล่าวหัวข้อธรรมแก่สารีบุตรปริพาชก ดังนี้ :
   
   "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้"
   
   ทุกข์ ทั้งปวงก็เป็นสังขารธรรม คือธรรมที่เกิดแต่เหตุอันได้แก่ กิเลสคือตัณหา พร้อมทั้งอวิชชาและอุปทาน ในเทศนาอริยสัจนั้น ทรงจำแนกทั้งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความสิ้นทุกข์เพราะดับเหตุแห่งทุกข์ และวิถีทางปฏิบัติเพื่อการนั้น ผู้มีปัญญาเจริญแล้วเช่น สารีบุตรปริพาชกได้ฟังเพียงหัวข้อสรุปข้างบน ก็เกิด ดวงตาเห็นธรรม คือเห็นความดับทุกข์สิ้นเชิงในพริบตา




:http://www.jengsud.com/webboard-8994/
baby@home : http://agaligohome.com/index.php?topic=4907.msg13574;topicseen#msg13574

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 11, 2012, 09:58:40 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ต๊ะติ้งโหน่ง

  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • ***
  • กระทู้: 259
  • พลังกัลยาณมิตร 76
    • ดูรายละเอียด
Re: พาหุสัจจะ : ความเป็นผู้ได้สดับมาก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 07, 2011, 08:01:40 pm »
 :25: :25: :25:

พหูสูตร จะได้ดีเพราะมีอาหาร

อิฎฐผลอัน  น่าใคร่ น่าชอบใจ จริงๆๆหรือ 
บางอย่าง น่าจะเป็นพิษเป็นภัย ทำให้อาหารตัวอื่นไม่ย่อย อ่า




ภิกษุทั้งหลายธรรม ๑๐ ประการเป็นอาหารของธรรม

๑๐ ประการนี้แลซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนาน่าใคร่น่าชอบใจ

หาได้ยากในโลก คือ

ความไม่เกียจคร้านความขยันหมั่นเพียรเป็นอาหารของโภคสมบัติ ๑

การประดับการตกแต่งร่างกายเป็นอาหารของวรรณะ ๑

การทำสิ่งเป็นที่สบายเป็นอาหารของความไม่มีโรค ๑

ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นอาหารของศีลทั้งหลาย ๑

การสำรวมอินทรีย์เป็นอาหารของพรหมจรรย์ ๑

การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริงป็นอาหารของมิตรทั้งหลาย ๑

การกระทำการสาธยายเป็นอาหารของความเป็นพหูสูต ๑

การฟังด้วยดีการสอบถามเป็นอาหารของปัญญา ๑

การประกอบความเพียรการพิจารณาเป็นอาหารของธรรมทั้งหลาย ๑

การปฏิบัติชอบเป็นอาหารของสัตว์ทั้งหลาย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๑๐

ประการนี้เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แลซึ่งเป็นธรรมอัน

น่าปรารถนาน่าใคร่น่าชอบใจหาได้ยากในโลก