ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา  (อ่าน 16563 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ครั้นเวลารุ่งเช้าสว่างแล้ว เจ้าจรเข้ใหญ่ในน่านน้ำหน้าท่านั้น ก็ขึ้นเสือกตัวมาตรงหัวเรือเป็ดของตาผลนั้น คนบนเรือริมตลิ่ง ๓ คน แม่ลูกและหญิงผู้ใหญ่ลงอาบน้ำหน้าบันไดบ้านแต่เช้า ครั้นเห็นจรเข้ขึ้นจะคาบคนนอนหลับที่หัวเรือใหญ่ จึงพากันตกใจกลัว แล้วร้องบอกกล่าวกันโวยวายขึ้น คนแจวที่ ๒ นอนถัดเข้ามา ได้ยินเสียงคนบนบ้านเรือนนั้นร้องเอะอะโวยวายจึงตกใจตื่นขึ้น เห็นจรเข้ขึ้นตรงหัวเรือ ลุกขึ้นโยงโย่จับบั้นเอวคนนอนหลับหัวเรือ เพื่อจะให้พ้นจากปากจรเข้ ส่วนคนแจวเรือคนที่ ๓ ก็ตื่นขึ้นนั่งไขว่ห้างหัวเราะคนบนบ้านที่กำลังหนีจรเข้ขึ้นบันไดผ้าผ่อนหลุดลุ่ยล่อนจ้อน ลูกเด็กหญิงเหนี่ยวขาแม่นางแม่เหนี่ยวขายาย ยายผ้าลุ่ยหมดก้าวขาต่อไปก็ก้าวไม่ออก ตาผลอยู่ในเรือก็โผล่ออกมายืนดูอยู่หน้าอุดเรือเฉย จะว่าอย่างไรก็ไม่ว่าดูชอบกล ฯ

· ฝ่ายสามเณรโตก็ลุกขึ้นนั่งภาวนาอยู่ในประทุนเรือ จรเข้ขึ้นมาแล้วก็อ้าปากไม่ออกจมก็ไม่ลง และไม่ว่ายไม่ฟาดหางทั้งนั้น ดูอาการอ่อนมาก คนบนบ้านก็งง คนในเรือก็งันอยู่ท่าเดียว ฯ

· ครั้นเวลาเช้า โยมของสามเณรโต ก็จัดแจงหุงต้มอาหารอยู่ตอนท้ายเรือเป็ดนั้น ครั้นได้เวลาก็จัดแจงเลี้ยงดูกัน ถวายอาหารให้เณรขบฉันเสร็จแล้วพอถึงเวลา ๓ โมงเช้าก็พาเณรขึ้นจากเรือ เณรเดินหน้า ตาผลตามเณร นางงุดโยมผู้หญิงพากันเดินตามเป็นแถว ขึ้นกุฏิท่านพระครู ครั้นถึงท่านพระครูแล้วต่างคนต่างปูผ้าลงกราบกันเป็นแถว เณรก็ยืนวันทา แล้วลงกราบท่านพระครูแล้วนั่ง ฯ

· ฝ่ายท่านพระครูวัดเมืองไชยนาทบุรี จึงมีปฏิสันฐานปราศรัยไต่ถามถึงเหตุการณ์ที่มา ถามถึงบ้านช่องและถามความประสงค์ ฯ

· ฝ่ายตาผลจึงกราบเรียนท่านว่า เณรหลานชายของเกล้ากระผมบวชอยู่ในสำนักท่านพระครูใหญ่ เจ้าคณะวัดใหญ่ในเมืองพิจิตร ได้ร่ำเรียนบาลีไวยากรณ์ทั้ง ๕ คัมภีร์จบแล้ว เณรใคร่จะเรียนคัมภีร์ใหญ่ต่อไป จึงขอเรียนที่ท่านพระครูวัดใหญ่ แต่ท่านไม่เต็มใจสอนเณรและท่านพระครูวัดใหญ่ได้แนะนำเณรให้ได้มาสู่สำนักพระเดชพระคุณเพื่อเล่าเรียนคัมภีร์ใหญ่กับพระเดชพระคุณแล้ว จะมีความรู้ดีกว่าเรียนกับท่านๆ แนะนำมาดังนี้ เณรดีใจเต็มใจใคร่เรียนในสำนักของพระเดชพระคุณ เณรจึงมารบเร้าเกล้ากระผมและมารดาเณร ขอร้องให้เกล้ากระผมเป็นผู้นำพามาสู่สำนักพระเดชพระคุณ ในวันนี้เกล้ากระผมพร้อมด้วยมารดาเณร ขอถวายเณรให้เป็นศิษย์เรียนพระคัมภีร์กับพระเดชพระคุณต่อไป ฯ

· ครั้นกล่าวสุดถ้อยคำแล้ว จึงบอกให้เณรถวายดอกไม้ธูปเทียนต่อท่านพระครู ฝ่ายท่านพระครูผู้รู้พระปริยัติธรรมวัดเมืองไชยนาทบุรี จึงรับเครื่องสักการะแล้ว พิจารณาดูเณรก็รรู้ด้วยการพินิจพิจารณาว่า สามเณรนี้มีวาสนาบารมีธรรมประจำอยู่สรรพอวัยวะก็สมบูรณ์โตพร้อมไม่บกพร่องต้องตามลักษณะ ท่านก็ออกวาจาว่า รูปจะช่วยแนะนำเสี้ยมสอนให้มีความรู้ในคัมภีร์ต่างๆ ตามวัยและภูมิของสามเณรดังที่โยมทั้ง ๒ ได้อุตส่าห์มาทางไกล ไม่เป็นไรรูปจะช่วยให้สมดังประสงค์ทุกประการ ฯ

· ตาผลและนางงุดก็ดีใจ กราบไหว้แล้วมอบหมายฝากฝังทุกสิ่งอัน แล้วถวายกับปิยะจรรหรรมัจฉะมังสาหารทั้งปวงแล้ว พระสมุห์ของท่านก็เรียกคนมายกถ่ายทันที แล้วจัดห้องหับให้พักอาศัยสำราญ ตาผลและนางงุดก็ยกบริขารของสามเณรเข้าบรรจุจัดปูอาศน์เรียบเรียงตั้งไว้ตามตำแหน่งที่ แล้วออกมากราบลาท่านพระครูลงไปพักในเรือค้างคืนคอยปรนนิบัติสามเณรดูลาดเลา การอยู่การขบฉันบิณฑบาตรยาตรา เห็นว่าสะดวกดีไม่คับแค้นเดือดร้อน พอเป็นที่ไว้วางใจได้แล้วจึงขึ้นนมัสการลาท่านพระครู กลับมายังบ้าน ณ แขวงเมืองพิจิตร ฯ

· ตั้งแต่สามเณรโตได้เข้าสู่สำนักท่านพระครูวัดเมืองไชยนาทบุรีแล้ว เป็นปรกติก็หมั่นทำกรณียกิจตามหน้าที่และอนุโลมตามข้อกติกาไม่ฝ่าฝืน ชะอ้อนอ่อนน้อมต่อพระลูกวัดมิให้ขัดอัชฌาสัย เพื่อนศิษย์เพื่อนเณรเหล่านั้นก็ปราณีปรานอมกันพร้อมหน้าไม่ไว้ท่า ไม่ถือตัว ไม่หัวสูง อดเอาเบาสู้ ระงับไม่หาเหตุแข่งดีกว่าเพื่อนไม่ส่อเสียดสอพลอพร่อย เรียบร้อยหยิบเสงี่ยมเจียมตัวหมั่นเอาใจใส่รับใช้รับปฏิบัติท่านพระครู ระแวดระวังหน้าหลัง ท่านมีกิจธุระจะไปไหน ก็จัดการสิ่งของที่จะต้องเอาไป ไม่เกี่ยงงอนเพื่อนศิษย์เวลาท่านจะกลับ ก็รับรองเก็บงำสม่ำเสมอตลอดมา ครั้นถึงเวลาเรียนก็เข้าเรียน ถึงคราวฟังก็ฟัง ตั้งสติสัมปชัญญะ สำเหนียกสำเนาเสมอ เรียนแล้วจดจำตกแต้มกำหนดกฏหมาย กลางคืนก็เข้ารับโอวาทปริยายของท่านพระครู สิ่งใดที่ไม่รู้ก็ถาม รู้เท่าไม่ถึงความก็ซัก ที่ตรงไหนขัดข้องไม่ต้องกันก็หารือ ตามบาฬีที่มีมาในพระคัมภีร์นั้นๆ ถ้าบทไหนบาฐไหนเป็นนิรุติ ไม่ชอบด้วยเหตุผลไม่เข้ากัน เธอก็ยังไม่ลงมติไม่ถือเอาความคิดเห็นความรู้ของตนเองป็นประมาณ ตั้งใจวิจารณ์จนเห็นถ่องแท้แน่นอนตามพระบาฬี ในธรรมบททีปะนีทศะชาติ (๑0 ชาติ) สาราตถ์ สามนต์ ฎีกาโยชนาคันฐี ในคัมภีร์พระไตรปิฎกธรรมนั้น ทุกวันทุกเวลาเรียน แปลเป็นภาษาลาวบ้าง แปลเป็นภาษาเขมรบ้าง แปลเป็นภาษาพม่าบ้างตามเวลา ครั้งล่วงมาได้ ๓ ปี เรียนจบถึงแปดบั้นบาฬี สามเณรโตไม่มีอุปสรรคกีดกั้น ไม่มีอาการเจ็บป่วยไข้ สดวกดีทุกเวลาทั้งไม่เบื่อไม่หน่าย นิยมอยู่แต่ที่จะหาความจริงซึ่งยังบกพร่องภูมิปัญญาอยู่ร่ำไป

· ครั้งถึงเดือน ๑๒ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ สามเณรโตมีความกระหายใคร่จะล่องลงมาร่ำเรียนในสำนักราชบัณฑิตย์นักปราชญ์หลวงบ้าง ใคร่จะเข้าสู่สำนักพระเถระเจ้าผู้สูงศักดิ์อรรคฐานในกรุงเทพพระมหานครโดยความเต็มใจ ฯ

· ครั้นสามเณรโต อายุได้ ๑๘ ปีย่าง ปลงใจแน่วแน่แล้วในการที่จะละถิ่นฐานญาติโยมได้ จะทนทานในการอนาถาในกรุงเทพ ฯ ได้แน่ใจแล้ว จึงได้กราบกรานท่านพระครูจังหวัดบรรยายแถลงยกย่องพิทยาคุณและความรู้ของท่านพระครูเมืองไชยนาทบุรี พอเป็นที่ปลื้มปราโมทย์ปราศจากความลบหลู่ดูหมิ่น ด้วยระเบียบถ้อยคำอันดีพอสมควรแล้ว ขอลาว่าเกล้ากระผมขอถวายนมัสการลาฝ่าท้าวเพื่อจะลงไปสู่สำนักราชบัณฑิตย์ ผู้สูงศักดิ์อรรคฐานให้เป็นการเชิดชูเกียรติคุณของฝ่าท้าวให้แพร่หลายในกรุงเทพฯ ขอบารมีฝ่าท้าวจงกรุณาส่งเกล้ากระผมให้ถึงญาติโยม ณ แขวงเมืองพิจิตรด้วย ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แปดคิว

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 797
  • พลังกัลยาณมิตร 389
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.blogger.com/home
*8q*

ก่อนเกิดใครเป็นเรา
เมื่อเกิดแล้วเราเป็นใคร

สิ่งที่ทำอยู่คือกรรมใหม่
ผลที่ได้รับคือกรรมเก่า

ฟังในสิ่งที่ไม่ได้ยิน
มองในสิ่งที่ไม่เห็น
ทำในสื่งที่ไม่มี   

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ไว้ค่อยทยอยลงนะครับ

ลงรอบเดียว  ไม่ไหว

 :19:
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ฝ่ายท่านพระครูเจ้าคณะเมืองไชยนาทบุรีได้ฟัง ซึ่งมีความพอใจอยู่แล้วในการที่จะแสวงหาศิษย์ที่ดีมีสาระทะแกล้วกล้าองค์อาจ ฉลาดเฉลียวรอบรู้คัมภีร์ คิดจะส่งศิษย์อย่างดีเข้ากรุงเทพฯ เพื่อช่วยเผยแพร่ให้ความรู้และความดีของท่านนั้นโด่งดังปรากฏแพร่หลายไปในกรุงเทพฯ บ้าง แทนคำประกาศโฆษณา ก็พอดีที่สามเณรโตขอลากลับไปบ้านเพื่อให้ญาติจัดการส่งเข้ากรุงเทพฯ อนึ่งสามเณรองค์นี้ก็เป็นคนดี มีความรู้ กอปร์ด้วยคติสติปัญญา ความเพียรก็กล้าไม่งอนง้อท้อถอยเลย หัวใจก็จดจ่ออยู่แต่การเล่าเรียนหาความรู้ดูฟังตั้งใจจริง ไม่เป็นคนโง่งมซมเซา พอจะเข้าเทียบเทียมเมธีที่กรุงเทพพระมหานครได้ ท่านพระครูเห็นสมควรจะอนุญาติได้ ท่านจึงกล่าวเถระวาทสุนทรกถาเป็นการปรุงปลูกผูกอาลุยแก่สามเณรพอสมควรแล้ว ท่านก็ออกวาจาอนุญาติว่า “ดีแล้วนิมนต์เถอะจ๊ะ” เราขอรอผลัดจัดการส่งสัก ๓ วัน เพื่อเตรียมตัวเตรียมการส่งให้เป็นที่เรียบร้อยตามระเบียบแบบธรรมเนียมการ สามเณรก็กราบถวายนมัสการลามายังกุฏิที่อยู่แล้วก็จัดการตระเตรียมเก็บสรรพสิ่งเครื่องอุปโภคต่างๆ ที่ควรจะนำไปใช้สรอยข้างหน้าจัดบรรจุลงหีบลั่นกุญแจผูกรัดมัดหนังสือคัมภีร์ต่างๆ ส่งคืนเข้าที่ตามเดิม คัมภีร์ที่ยังเรียนค้างอยู่ ก็ทำใบยืมๆ ไปเรียนต่อ สิ่งของที่เหลือบริโภค อุปโภคแล้ว ก็แบ่งปันถวายเพื่อนสามเณรที่อยู่ที่เคยเป็นเพื่อนกันไว้ใช้สรอยพอเป็นทางผูกอาลัยทำไมตรี ฯ
· ครั้นเวลารุ่งเช้า สามเณรโตก็ออกพายเรือสามปั้นบิณฑบาตรไปถึงบ้านที่สุดเหนือน้ำและใต้น้ำ สามเณรก็บอกกล่าวร่ำลาแก่ญาติโยมอุปฐากและที่ปวารณา และผู้ที่มีวิสาสะทั่วน้ากันทั้งสองฝั่ง ที่อยู่บ้านดอนขึ้นไปก็บอกลาฝากขึ้นไปทั่วกัน ฯ
· ฝ่ายเจ้าพวกเด็กๆ ลูกศิษย์วัดทั้งปวงรู้ว่าหลวงพี่เณรของเขาจะลงไปอยู่บางกอก พวกเด็กทั้งหลายก็พากันเสียดายใจเขาหาย เขาทำได้แต่หน้าแห้ง ทำตาแดงๆ เหตุเขามีความคุ้นเคยรักใคร่อาลัยหลวงพี่สามเณรโต เขาเคยกินอยู่สำราญด้วยอาหารเกิดทวีขึ้น เพราะอำนาจบารมีศีลธรรมของสามเณรโต จนเข้าของแปลกประหลาดเหลือเฟือเอื้อเอาใจเขามาช้านานประมาณ ๓ ปีล่วงมา ฯ
· ฝ่ายแม่รุ่นสาวๆ คราวกันกับพ่อเณร ซึ่งมีใจโอนเอนไปข้างฝ่ายรักก็ทำอึกอักผะอืดผะอมกระอักกระอ่วนรัญจวนใจ ด้วยพ่อเณรเธอจะไปอยู่ไกลถึงบางน้ำบางกอกต่างก็อั้นอันจนใจไม่อาจออกวาจาห้ามปรามเพราะความอาย รักก็รักเสียดายก็เสียดาย ทั้งความยึดถือมุ่งหมายก็ยังมีอยู่มั่นคงในใจ ทั้งเกรงผู้หลักผู้ใหญ่จะล่วงรู้ดูแคลน แสนกระดากทำกระเดื่องชำเรืองชมโฉมพ่อเณรโต แอบโผล่หน้าต่างตามมองแลรอดสอดตามช่องรั้วหัวบ้านแลจนลับนัยน์ตา เสียวซ่านถึงโสกาเช็ดน้ำตาอยู่ก็มี ฯ
· ฝ่ายพวกเด็กๆ พอกลับถึงวัด เขาก็ตะโกนบอกเพื่อนกันว่า ต่อแต่วันนี้พวกเราจะอดกันละโว้ยๆ ฯ
· ครั้นพระเณรฉันเช้าแล้ว ท่านพระครูเจ้าคณะจังหวัดจึงเรียกพระปลัด พระสมุห์มาสั่งการว่า แน่ะพระปลัดจ๋าพรุ่งนี้เธอต้องสั่งเลขวัด ให้เขาจัดเรือเก๋ง ๔ แจวคนแจวประจำพร้อมและจัดเสบียงทางไกลให้พร้อมมูลด้วย ให้พอเลี้ยงกันทั้งเวลาไปและมาด้วย ส่วนเธอและพระสมุห์ช่วยพาสามเณรโตเข้าไปส่งให้ถึงญาติโยมเณร ณ เมืองพิจิตร ในวันรุ่งพรุ่งนี้แทนตัวดิฉันด้วย พรุ่งนี้มารับจดหมายส่งของฉันก่อน ฯ
· ฝ่ายพระปลัด ๑ พระสมุห์ ๑ รับเถระบัญชาแล้วออกมาเรียกร้องกะเกณฑ์เลขวัดสั่งให้จัดเรือจัดเสบียงให้พร้อมทั้งเครื่องต้ม เครื่องแกง หม้อน้อยหม้อใหญ่ กระทะ หม้ออวย จวัก จรว ครกใหญ่ ครกเล็ก ไม้ตีพริก กระชอน แผงลวดนึ่ง เกลือ กะปิ น้ำปลา ข้าวเหนียว น้ำตาล มะขามเปียก พริกสด พริกแห้ง หอม กระเทียม ขิง ข่า กระทือ พริกไทให้พร้อมไว้ เวลาเที่ยงแล้วมาจอดไว้ที่ท่าวัดนี้ตามที่ท่านพระครูสั่ง ฯ
· ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ ๓ พระปลัดฉันเช้าแล้วเข้าหาท่านพระครู รับจดหมายแล้วกราบลาออกมา แล้วนัดหมายพระสมุห์และนัดสามเณรโตว่าเที่ยงแล้วลงเรือพร้อมกัน ครั้นเวลาเพลฉันเพลแล้ว ขอแรงศิษย์วัดและเพื่อนเณร ๒-๓ คน ช่วยขนบริขารหีบ ตระกร้า กระเช้า กระบุงที่บรรจุของของสามเณรโตลงท่าวัดพร้อมกัน สามเณรโตก็เข้าสักการวันทา ลาท่านพระครูด้วยความเคารพ ฯ
· ส่วนท่านพระครูก็ประสิทธิ์ประสาทพรให้วัฒนาถาวรภิญโญภาวะยิ่ง ให้สัมฤทธิ์สมความมุ่งหมาย จงทุกสิ่งทุกประการเทอญ ฯ
· ครั้นเวลาเที่ยงทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว พระปลัด พระสมุห์ และสามเณรโต พร้อมด้วยคนแจวก็ลงเรือ ได้เวลาบ่ายโมงก็ออกเรือทางแม่น้ำ บ่ายหัวเรือไปเมืองพิจิตรในวันนั้น ฯ
· ครั้นแจวมา ๒ คืนก็ถึงท่าหน้าบ้านสามเณรโต ฝ่ายตาผล ยายลา นางงุด เห็นเรือเป็ดเก๋งมาจอดท่าหน้าบ้าน ต่างก็ออกมาดู รู้ว่าท่านปลัด ท่านสมุห์และสามเณรโตมาก็ดีใจลงไปถึงในเรือต้อนรับแล้วนิมนต์ขึ้นเรือน แล้วขึ้นมาปูลาดอาศน์ ตักน้ำเย็น ต้มน้ำร้อน จัดเภสัชเพลายาสูบใส่พานแล้ว ครั้นพระปลัด พระสมุห์ สามเณรขึ้นมาอาราธนาที่หอนั่งประเคนหมาก น้ำ ยาสูบ แล้วก็กราบ ฯ
· ครั้นพระปลัดเห็นเจ้าบ้านนั่งปรกติเรียบราบแล้วจึงปฏิสันฐาน และนำจดหมายของท่านพระครูเมืองไชยนาทบุรี ส่งให้ตาผล ๆ รับมาอ่านได้ทราบความตลอดแล้วด้วยความพอใจ เมื่อสนทนาเสร็จจึงพาพระปลัด พระสมุห์และสามเณรออกไปยังวัดใหญ่ เข้าหาท่านพระครูใหญ่แล้วถวายลายลิขิตของท่านพระครูวัดเมืองไชยนาทบุรี ออกให้ท่านพระครูใหญ่วัดเมืองพิจิตรทราบ ฯ
· ครั้นท่านพระครูอ่านดูรู้ข้อความตลอดแล้ว ก็เห็นดี เห็นชอบด้วย ตกลงก็เห็นดีเห็นงามด้วยกันทั้งครูอาจารย์ และคณะญาติโยมพร้อมใจกันหมด ครั้นได้เวลาพระปลัด พระสมุห์ ตาผล และนางงุดก็ลาท่านพระครูใหญ่กลับมาบ้าน แล้วก็จัดแจงอาหารเลี้ยงพระเลี้ยงเณร และคนแจวเรือจนอิ่มหนำสำราญแล้วทั้ง ๓ เวลา ส่วนพระปลัดและพระสมุห์ เมือได้ทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายมาเสร็จและสมควรแก่เวลา ก็ลาเจ้าบ้านๆ ก็จัดการส่งพระปลัดและพระสมุห์ให้กลับไปยังวัดเมืองไชยนาทบุรี ฯ
· ส่วนทางบ้านเมื่อได้กำหนด นางงุดก็จัดเรือจัดคนจักลำเลียงเสบียงอาหาร จัดของแจกของให้ ของฝากชาวกรุงเทพฯ ทั้งของถวาย ของกำนัลท่านผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ลงบรรทุกในเรือเรียบร้อยเสร็จแล้ว ก็เกณฑ์ตาผลให้เป็นผู้นำพร้อมด้วยคนแจวส่งสามเณรไปกรุงเทพฯ แต่ต้องให้แวะนมัสการบูชาพระพุทธชิณราชในวันกลางเดือน ๑๒ นี้ก่อน และพ่อต้องอ้อนวอนขอหลวงพ่อชิณราชให้ช่วยคุ้มกันกำกับรักษาส่งพ่อเณรอย่าให้มีเหตุการณ์ และอย่าให้ป่วยไข้ได้เจ็บอย่าให้มีภัยอันตราย ตั้งแต่วันนี้จนตราบเท่าจนเฒ่าจนแก่ และขอให้เณรร่ำเรียนลุสำเร็จทุกสิ่งทุกประการ กับขอบารมีหลวงพ่อชิณราชช่วยป้องกันศัตรูหมู่อันธพาล อย่าผจญและอย่าเบียดเบียฬพ่อเณรได้ ขอพ่อจงแวะไหว้บูชาอ้อนวอนว่าตามคำข้าสั่งนี้อย่าหลงลืมเลย ฯ
· ฝ่ายตาผลรับคำลูกสาวแล้ว ก็ลงเรือออกเรือจากท่าหน้าบ้าน และให้แจวออกทางแม่น้ำพิษณุโลก ล่องมาหลายเพลาก็มาถึงวัดพระชิณราชในวันขึ้น ๑๔ เดือน ๑๒ ปีฉลู เบญจศกจุลศักราช ๑๑๕๕ ปีนั้น
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ครั้น ณ วันที่ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ศกนั้น ตาผลนิมนต์สามเณรโตขึ้นไปโบสถ์ พระชิณราช เดินปทักษิณรอบแล้วเข้านมัสการทำสักการะบูชา สามเณรยืนขึ้นวันทาแล้วตั้งสักการะ โดยสักกัจจะเคารพแก่พระพุทธชิณราช ตาผลจึงพร่ำรำพรรณาถวายเณรแก่พระชิณราชและวิงวอนขอฝาก ขอความคุ้มครองป้องกัน ขอให้พระพุทธชิรราชบันดาลดลส่งเสริมแก่สามเณรตามคำนางงุดโยมของเณรสั่งมาทุกประการ ฯ
· ครั้นทำการเคารพสักการะบูชาแกพระพุทธชิณราชเสร็จแล้ว ก็กราบลาพาสามเณรโตมาลงเรือแจวล่องลงมา ๒ คืนก็ถึงหน้าท่าวัดบางลำภูบนกรุงเทพฯ ตอนเวลาเช้า ๒ โมงวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ เป็นปีที่ ๑๒ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงเทพพระมหานคร ฯ
· ตาผลชาวเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถอยลงมาตั้งถิ่นฐานภูมิลำเนาอยู่เหนือเมืองพิจิตรได้นำสามเณรโตผู้หลานอันเป็นลูกของนางงุดลูกสาว สามเณรโตนั้นมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี ตาผลผู้เป็นตา จึงได้นำพาสามเณรโตขึ้นไปมอบถวายพระอาจารย์แก้ววัดบางลำภูบน พระนคร ตาผลได้เล่าถึงการเรียนของสามเณรโตจนกระทั่งถึงท่านพระครู จังหวัดวัดเมืองเหนือทั้ง ๒ อาราม มีความเห็นชอบพร้อมกันที่จะให้ลงมากรุงเทพฯ เกล้ากระผมจึงได้นำสามเณรโตมาสู่ยังสำนักของหลวงพ่อ เพื่อหลวงพ่อจะได้ทำนุบำรุงชี้ช่องนำทาง ให้สามเณรดำเนินหาคุณงามความดีมีความรู้ยิ่งในพระมหานครสืบไป ฯ
· ฝ่ายพระอาจารย์แก้วทราบพฤติการณ์ ตามที่ตาผลเล่า ก็เกิดความเชื่อและเลื่อมใสในสามเณรโต และมีความเห็นพ้องด้วยกับท่านพระครูทั้ง ๒ จังหวัด สมจริงดังที่พยากรณ์ไว้แต่ยังนอนเบาะและได้รับเป็นลูกไว้ จึงนึกขึ้นได้ถึงเงินที่ได้ลั่นวาจาว่าจะจ้างแม่มันเลี้ยงปีละ ๑00 บาท ส่งมอบให้ตาผลเพื่อฝากไปใช้ให้นางงุดเป็นค่าน้ำนม ข้าวป้อน ๓ ปีเงิน ๓00 บาท ฯ
· ตาผลน้อมคำนับรับเอาเงิน ๓00 บาทมากำไว้สักครู่ เมื่อจวนจะลากลับจึงพร่ำพรรณนามมอบฝากเณรโดยเอนกประการแล้วถวายเงิน ๓00 บาทนั้นคืนหลวงพ่อแก้ว แล้วถวายอีก ๑00 บาทเป็นค่าบำรุงเณรสืบไป แล้วก็ลาท่านพระอาจารย์แก้วไปเยี่ยมญาติพี่น้อง ณ บางขุนพรหมต่อไป ฯ
· ฝ่ายพระอาจารย์แก้ว จึงจัดห้องหับให้สามเณรอยู่บนหมู่บนคณะวัดบางลำภูบน วันนั้นมา เวลาเช้าก็ลุกขึ้นบิณฑบาต และสำรับกับข้าวของฉันในคณะอาจารย์แก้วนั้นอุดมล้นเหลือไม่บกพร่อง ทั้งบารมีศีลและธรรมที่สามเณรโตประพฤติดี ก็บันดาลให้มีผู้ขึ้นถวายเช้าและเพลและที่ปวารณาก็กลายเป็นโภชนะสับบายของโยคะบุคคล ทุกเวลา ฯ
· ฝ่ายพระอาจารย์แก้วเมื่อเห็นเวลาฤกษ์ดีแล้ว จึงได้นำพาสามเณรโตไปฝากพระโหราธิบดี,พระวิเชียร กรมราชบัณฑิตให้ช่วยแนะนำสั่งสอนสามเณรให้มีความรู้ดีในคัมภีร์พระปริยัติธรรมทั้ง ๓ ปิฎก พระโหราธิบดี,พระวิเชียรก็รับและสอนตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ฯ
· พระโหราธิบดี พระวิเชียร อยู่บ้านหลังวัดบางลำภูบนเสมียนตราด้วงบ้านบางขุนพรหม ท่านขุนพรหมเสนา บ้านบางขุนพรหม ปลัดกรมนุท บ้านบางลำภูบน เสมียนบุญ และพระกระแสร ทั้ง ๗ ท่านนี้เป็นคนมั่งคั่งหลักฐานดีทั้งมีศรัทธาความเชื่อมั่นในบวรพุทธศาสนาเมื่อได้เห็นจรรยาอาการของสามเณรโต และความประพฤติดี หมั่นเรียนเพียรมาก ปากคอลิ้นคางคล่องแคล่วไม่ขัดเขิน เคร่งครัดดี รูปร่างก็ผึ่งผายองอาจ ดูอาการมิได้น้อมไปในกามคุณ มรรยาทเณรก็ละมุนละม่อม เมื่อร่ำเรียนธรรมะในคัมภีร์ไหนก็เอาใจใส่ไต่ถามให้รู้ลักษณะ จะเดินประโยคอะไร ก็ถูกต้องตามในของรูปประโยคแบบอย่าง ถูกใจอาจารย์มากกว่าผิด ท่านทั้ง ๗ คนดั่งออกนามมานี้พร้อมกันเข้าเป็นโยมอุปัฏฐากช่วยกันอุปถัมภ์บำรุง หมั่นไปมาหาสู่ที่วัดบางลำภูเสมอ และสัปปรุษอื่นๆ ต่างก็เลื่อมใสใส่บาตร์อย่างบริบูรณ์ บางคนก็นิมนต์แสดงธรรมเทศนา ถึงฤดูหน้าเทศน์มหาชาติตามวัดแถวนั้น คนก็ชอบนิมนต์สามเณรโตเทศน์ หิมพานบ้าง เทศน์ทานกัณฑ์บ้าง เทศน์วันประเวศน์บ้าง เทศน์ชูชกบ้าง เทศน์จุลพนบ้าง เทศน์มหาพนบ้าง เทศน์กุมารบรรพบ้าง เทศน์มัทรีบ้าง เทศน์สักกะบรรพบ้าง เทศน์มหาราชบ้าง เทศน์ฉกษัตริย์บ้าง เทศน์นครกัณฑ์บ้าง ตกลงเทศน์ได้ถูกต้องทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ทำเสียงเล็กแหลมก็ได้ ทำเสียงหวานแจ่มใสก็ได้ ทำเสียงโฮกฮากก็ได้ กลเม็ดมหาพนและแหล่สระแหล่ราชสีห์ ว่ากลเม็ดแพรวพราวที่หยุดที่ไป ที่หายใจขึ้นลงเข้าออกสนิททุกอย่างทุกกัณฑ์ กระแสเสียงเสนาะน่าฟังทุกกัณฑ์ ทำนองเป็นหมดไม่ว่ากัณฑ์อะไรเทศน์ได้ทุกกัณฑ์ จังหวะก็ดีเสมอ แต่สามเณรโตมิได้มัวเมาหลงใหลในการรวยเรื่องเทศนามหาชาติ และมิได้มัวเมาหลงใหลด้วยอุปัฏฐากมาก เอาใจใส่แต่การเรียนการปฏิบัติทางเพลิดเพลินเจริญสมณธรรมเป็นเบื้องหน้า จึงได้เป็นที่รักที่นับถือของท่านโหราธิบดี,พระวิเชียร,เสมียนตราด้วง,ปลัดกรมนุท,ขุนพรหมเสนา,และท่านขรัว ยายโหง,เสมียนบุญ,พระกระแสร,ท่านยายง้วน และใครต่อใครอีกเป็นอันมากจนจดไม่ไหว ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ครั้นถึงวันเดือนห้า ปีขาล ฉศกจุลศักราช ๑๑๕๖ เป็นปีที่ ๑๓ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงเทพพระมหานครฯ พระชนมายุกาลแห่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรย่างขึ้นได้ ๒๘ พระพรรษาโดยจันทรคตินิยม อายุสามเณรโตก็ได้ ๑๘ ปีบริบูรณ์ในเดือน ๕ ศกนั้น ฯ
· จึงท่านพระโหราธิบดี,พระวิเชียร,และเสมียนตราด้วง ได้พิจารณาเห็นกิริยาท่าทาง และจรรยาอาการสติปัญญาอย่างเยี่ยมแปลกกว่าที่เคยได้เห็นมาแต่ก่อน ทั้งมีรัดประคด หนามขนุนคาดด้วย จะทักถามและพยากรณ์เองก็ใช่เหตุ จึงปรึกษาเห็นตกลงพร้อมกันว่าควรจะนำเข้าถวายตัวแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรให้ได้ทรงทอดพระเนตร อนึ่งพระองค์ท่านก็ทรงโปรดพระและเณรที่ร่ำเรียนรู้ในธรรมทั้ง ๒ คือ คัณถธุระและวิปัสสนาธุระ บางทีพ่อเณรมีวาสนาดีก็อาจจะเป็นพระหลวง เณรหลวงก็ได้ ครั้นท่านขุนนางทั้ง ๓ ปฤกษาตกลงเห็นพร้อมใจกันแล้ว จึงแนะนำสามเณรโตให้รู้ตัวว่าจะนำเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอิศรสุนทร ในวันเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำศกนี้เป็นแน่ ฯ
· ฝ่ายสามเณรโตรู้ตัวแล้วจึงเตรียมตัวสุผ้าย้อมผ้า และสุย้อมรัดประคดหนามขนุนของโยมผู้หญิงให้มานั้น ซึ่งโยมผู้หญิงกระซิบสั่งสอนเป็นความลับกำกับมาด้วย ฟอกย้อมรัดประคดสายนั้นจนใหม่เอี่ยมดี
· ครั้นถึงวันกำหนด จึงพระโหราธิบดี,พระวิเชียร และเสมียนตราด้วงได้ออกมาที่วัดบางลำภู เรียนกับท่านอาจารย์แก้วให้รู้ว่าจะพาสามเณรโต, เข้าเฝ้าถวายตัวแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรฯ พระอาจารย์แก้วก็อนุมัติตามใจ แล้วท่านจึงเรียกสามเณรโต มาซ้ำร่ำสอนทางขนบธรรมเนียมเดินนั่ง พูดจากับเจ้าใหญ่นายโตใช้ถ้อยคำอย่างนั้นๆ เมื่อจะทรงถามอะไรมาให้มีสติระวังระไว พูดมากเป็นขี้เมาก็ใช้ไม่ได้ พูดน้อยจนต้องซักต่อก็ใช้ไม่ได้ ไม่พูดก็ใช้ไม่ได้ พูดเข้าตัวก็ใช้ไม่ได้ จงระวังตั้งสติสัมปะชัญญะไว้ในถ้อยคำของตน เมื่อพูดอย่าจ้องหน้าตรงพระพักตร์ เมื่อพูดอย่าเมินเหม่อไปอื่น ตั้งอกตั้งใขฃจเพ็ดทูลให้เหมาะถ้อยเหมาะคำ ให้ชัดถ้อยชัดคำ อย่าหัวเราะ อย่าตกใจ อย่ากลัว อย่ากล้า จงทำหน้าที่ให้ดีอย่ามีความสะทกสะท้าน จงไปห่มผ้าครองจีวรให้เรียบร้อยไปกับพระคุณเดี๋ยวนี้ ฯ
· สามเณรโตน้อมคำนับรับเถโรวาใส่เกล้าแล้ว ไปเข้าห้องครองผ้า คาดรัดประคดเสร็จแล้ว จุดธูปเทียนอาราธนาพระบริกรรมภาวนาประมาณอึกใจหนึ่ง แล้วก็ออกเดินมาหาพระโหราธิบดี พระวิเชียร เสมียนตราด้วง ท่านทั้ง ๓ จึงนมัสการลาพระอาจารย์แก้ว แล้วพาสามเณรโตลงเรือแหวด ๔ แจว คนแจวล่องลงมาจอดที่ท่าตำหนักแพ หน้าพระราชวังเดิม แล้วนำพาเณรขึ้นไปบนท้องพระโรงในพระราชวังเดิม ณ ฝั่งธนบุรีใต้ วัดระฆังนั้น ฯ
· ฝ่ายพนักงานหน้าท้องพระโรง นำความขึ้นกราบทูลว่า พระโหราธิบดี พาสามเณรมาเฝ้า จึงเสด็จออกท้องพระโรง ทรงปราศรัยทักถามพระโหราธิบดี พระวิเชียร และเสมียนตราด้วงแล้ว ได้ทรงสดับคำพระโหราธิบดีกราบทูลเสนอคุณสมบัติของสามเณรขึ้นก่อน เพื่อให้ทรงทราบ ฯ
· จึงทอดพระเนตรสามเณรโต ทรงเห็นสามเณรโตเปล่งปลั่งรังษีรัศมีกายออกงามมีราษี เหตุด้วยกำลังอำนาจศีละคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณหากอบรมสมกับผ้ากาสาวะพัตร์ และมีรัดประคดหนามขนุน อย่างของขุนนางนายตำรวจใหญ่,คาดเป็นบริขารมาด้วย ฯ
· สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ พระองค์นั่น ทรงพระเกษมสันต์โสมนัสยิ่งนัก จึงเสด็จตรงเข้าจับมือสามเณรโตแล้ว จูงมาให้นั่งพระเก้าอี้เคียงพระองค์แล้วทรงถามว่าอายุท่ไรฯ ทูลว่า ขอถวายพระพรอายุได้ ๑๘ เต็มในเดือนนี้ฯ ทรงถามว่าเกิดปีอะไรฯ ทูลว่า ขอถวายพระพรเกิดปีวอกอัฐศกฯ รับสั่งถามว่า บ้านเกิดอยู่ที่ไหนฯ ทูลว่าขอถวายพระพรฯ บ้านเดิมอยู่ใต้เมืองกำแพงเพชร์ แล้วย้ายลงมาตั้งบ้านอยู่เหนือเมืองพิจิตร ขอถวายพระพรฯ รับสั่งถามว่า โยมผู้ชายชื่ออะไรฯ ทูลว่าขอถวายพระพรไม่รู้จักฯ รับสั่งถามวง่า โยมผู้หญิงชื่ออะไรฯ ทูลว่าขอถวายพระพร ชื่อแม่งุดฯ รับสั่งถามว่า ทำไมโยมผู้หญิงไม่บอกตัวโยมผู้ชายให้เจ้ากูรู้จักบ้างหรือฯ ทูลว่า โยมผู้หญิงเป็นแต่กระซิบบอกว่า เจ้าต้องรัดประคดนี้เป็นเจ้าคุณแม่ทัพขอถวายพระพร ฯ
· ครั้นได้ทรงฟัง ตระหนักพระหฤทัยแล้ว ทรงพระปราโมทย์เอ็นดูสามเณรยิ่งขึ้น จึงทรงรับสั่งทึกทักว่า แน่ะคุณโหราเณรองค์นี้ ฟ้าจะทึกเอาเป็นพระโหรานำช้างเผือกเข้ามาถวาย จงเป็นเณรของฟ้าต่อไป ฟ้าจะเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงเอง แต่พระโหราต้องเป็นผู้ช่วยเลี้ยงช่วยสอนแทนฟ้า ทั้งพระวิเชียรและเสมียนตราด้วง ช่วยฟ้าบำรุงเณร เณรก็อย่าศึกเลยไม่ต้องอนาทรอะไร ฟ้าขอบใจพระโหรามากทีเดียว แต่พระโหราอย่าทอดธุระทิ้งเณรช่วยเลี้ยง ช่วยสอนต่างหูต่างตาช่วยดูแลให้ดีด้วย และเห็นจะต้องย้ายเณรให้มาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราชมี จะได้ใกล้ๆ กับฟ้า ให้อยู่วัดนิพพานารามจะดี (วัดนิพพานาราม คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์เดี๋ยวรนี้) ฯ
· ครั้นรับสั่งแล้ว จึงทรงพระอักษรเป็นลายพระราชหัตถเลขามอบสามเณรโตแก่สมเด็จพระสังฆราช (มี) แล้วส่งลายพระราชหัตถเลขานั้นมอบพระโหราธิบดีให้นำไปถวาย พระโหราธิบดีน้อมเศียรคำนับรับมาแล้วกราบถวายบังคมลา ทั้งพระวิเชียรและเสมียนตราด้วง สามเณรโตก็ถวายพระพรลา ฯ
· ฝ่ายขุนนางทั้ง ๓ ก็พาสามเณรลงเรือแจวข้ามฟากมาขึ้นท่าวัดมหานิพพานารามตามคำสั่ง พาเณรเดินขึ้นบนตำหนักสมเด็จพระสังฆราช (มี) ครั้นพบแล้วต่างถวายนมัสการ พระโหราธิบดีก็ทูลถวายลายพระราชหัตถเลขาแก่สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ คลี่ลายพระหัตถออกอ่านดูรู้ความในพระกระแสรับสั่งนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้พระครูใบฎีกาไปหาตัวพระอาจารย์แก้ว วัดบางลำภูบน ซึ่งเป็นเจ้าของสามเณรเดิมนั้นขึ้นมาเฝ้า ครั้นพระอาจารย์แก้วมาถึงแล้วจึงรับสั่งให้อ่านพระราชหัตถเลขา พระอาจารย์แก้วอ่านแล้วทราบว่าพระยุพราชนิยมก็มีความชื่นชม อนุญาติถวายเณรให้เป็นเณรอยู่วัดนิพพานารามต่อไปได้รับนิสัยแต่สมเด็จ พระสังฆราชด้วย แต่วันนั้นมา ฯ
· สามเณรโตนั้นก็อุตส่าห์ทำวัดปฏิบัติแก่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และเข้าเรียนคัมภีร์พระปริยัติธรรม จนทราบสัทธิวิธีของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าจนชำนิชำนาญดี และเรียนกับพระอาจารย์เสมวัดนิพพานารามอีกอาจารย์หนึ่งด้วย ฯ
· ครั้นถึงเดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๑๑๕๙ เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาลที่ ๑ กรุงเทพพระมหานครฯ จึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงพระคำนวนปีเกิดของสามเณรโต เป็นกำหนดครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ควรอุปสมบทได้แล้ว จึงรับสั่งให้พระโหราธิบดีกับเสมียนตราด้วงมาเฝ้า แล้วทรงรับสั่งโปรดว่า พระโหราฯ ต้องไปบวชสามเณรโตแทนฟ้า ต้องบวชที่วัดตะไกร เมืองพิษณุโลก แล้วทรงมอบกิจการทั้งปวงแก่พระโหราธิบดี พร้อมทั้งเงินที่จะใช้สอย ๔00 บาท ทั้งเครื่องบริขารพร้อม และรับสั่งให้ทำขวัญนาค เวียนเทียนแต่งตัวนาคอย่างนาคหลวง การซู่ซ่าแห่แหนนั้นอนุญาติตามใจญาติโยมและตามคติชาวเมือง แล้วรับสั่งให้เสมียนตราด้วง แต่งท้องตราบัวแก้วขึ้นไปวางให้เจ้าเมืองพิษณุโลก ให้เจ้าเมืองเป็นธุระช่วยการบวชนาคสามเณรโตให้เรียบร้อยดีงาม ตลอดทั้งการเลี้ยงพระเลี้ยงคน ให้อิ่มหนำสำราญทั่วถึงกัน กับทั้งให้ขอแรงเจ้าเมืองกำแพงเพชร์ เจ้าเมืองพิจิตร เจ้าเมืองพิชัย และเจ้าเมืองไชยนาทบุรี ให้มาช่วยกันดูแลการงานให้เจ้าเมืองพิษณุโลกจัดการงานในบ้านในจวนนั้นให้เรียบร้อยและให้ได้บวชภายในข้างขึ้นเดือน ๖ ปีนี้ แล้วแต่จะสะดวกด้วยกันทั้งฝ่ายญาติโยมของเณร ฯ
· รับสั่งให้สังฆการีในพระราชวังบวรวางฎีกาอาราธนาสมเด็จพระวันรัต วัดระฆังให้ขึ้นไปบวชนาคที่วัดตะไกร ให้ขึ้นไปแต่ข้างขึ้นอ่อนๆ ให้สำเร็จกิจบรรพชาอุปสมบทภายในกลางเดือน ให้ไปนัดหมายการงานต่อเจ้าเมืองพิษณุโลกพร้อมด้วยญาติโยมของเณร และตามเห็นดีของเจ้าเมืองด้วย ฯ
พระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง รับพระกระแสร์รับสั่งแล้วถวายบังคมลา ออกมาจัดกิจการตามรับสั่งทุกประการ ฯ
· ฝ่ายข้างญาติโยมของสามเณรโต ทราบพระกระแสร์รับสั่งแล้ว จึงจัดเตรียมข้าวของไว้พร้อมสรรพ แล้วไปนิมนต์ท่านพระอาจารย์แก้ววัดบางลำภูบนให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์รับขึ้นไปพร้อมด้วยตน แล้วนิมนต์ท่านเจ้าอธิการวัดตะไกรเป็นอนุสาวนาจารย์ จะเป็นวัดไหนก็แล้วแต่สมเด็จพระอุปัชฌาย์จะกำหนดให้ และเผดียงพระสงฆ์อันดับ ๒๕ รูป ในวัดตะไกรบ้าง วัดที่ใกล้เคียงบ้าง ให้คอยฟังกำหนดวันที่ๆ สมเด็จพระอุปัชฌาย์จะกำหนดให้ ฯ
· ฝ่ายพระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง จึงจัดเรือญวณใหญ่ ๖ แจว ๑ ลำ เรือญวณใหญ่ ๘ แจว ๑ ลำ,เรือครัว ๑ ลำคนแจวพร้อม และจัดหาผ้าไตรคู่สวดอุปัชฌาย์ จัดเทียนอุปัชฌาย์คู่สวด จัดเครื่องทำขวัญนาคพร้อมผ้ายกตลอมพอกแว่น เทียน ขัน ถม ผ้าคลุม บายศรี เสร็จแล้วเอาเรือ ๖ แจว ไปรับสมเด็จพระวันรัต ลาเณรจากสมเด็จพระสังฆราช แล้วนำมาลงเรือ ๖ แจว ส่วนพระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง ไปลงเรือ ๘ แจว ฯ
· เรือสมเด็จพระวันรัตและสามเณรโต เรือพระโหราธิบดี เสมียนตราด้วงออกเรือแจวขึ้นไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาตามกันเป็นแถวขึ้นไปรอนแรมค้างคืนตามหนทางล่วง ๒ คืน ๒ วัน ก็ถึงเมืองพิษณุโลก ตรงจอดที่ท่าหน้าจวนพระยาพิษณุโลก เสมียนตราด้วงจึงขึ้นไปเรียนท่านผู้ว่าราชการเมือง ให้เตรียมตัวรับท้องตราบัวแก้ว และรับรองเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัตวัดระฆังตามพระกระแสร์รับสั่ง ฯ
· ครั้นท่านพระยาพิษณุโลกทราบแล้ว จึงจัดการรับท้องตราก่อน เสมียนตราด้วงจึงเชิญท้องตราบัวแก้วขึ้นไปบนจวน เชิญท้องตราตั้งไว้ตามที่เคยรับมาแต่กาลก่อน เมื่อเจ้าเมืองยกกระบัตร กรมกรามาประชุมพร้อมกันแล้ว เสมียนตราด้วงจึงแกะครั่งประจำถุงตรา เปิดซองออกอ่านท้องตรา ให้เจ้าเมือง ยกกระบัตร กรมการฟัง ทราบพระประสงค์ และพระกระแสร์รับสั่งตลอดเรื่องแล้ว เจ้าเมืองกรมการน้อมคำนับถวายบังคมพร้อมกันแล้ว เสมียนตราด้วงจึงวางไว้บนพานถมบนโต๊ะแล้วคุกเข่าถวายบังคมภายหลังแล้วจึงคำนับท่านเจ้าเมือง ไหว้ยกกระบัตรกรมการทั่วไป ตามฐานันดรแลอายุท่านเจ้าเมืองจึงลงไปอาราธนาสมเด็จพระวันรัต แลสามเณรโตขึ้นพักบนหอนั่งบนจวนกระทำความคำนับต้อนรับเชื้อเชิญตามขนบธรรมเนียม โดยเรียบร้อยป็นอันดี ผู้ว่าราชการจึงสั่งหลวงจ่าเมือง หลวงศุภมาตรา ๒ นาย ให้ออกไปบอกข่าวท่านสมภารวัดตะไกรให้ทราบว่า สมเด็จพระวันรัตวัดระฆัง มาถึงตามรับสั่งแล้ว ให้ท่านสมภารจัดเสนาศ์ ปูอาศนะให้พร้อมไว้ ขาดแคลนอะไร หลวงจ่าเมือง หลวงศุภมาตรา ต้องช่วยท่านสมภารสั่งหลวงแพ่ง หลวงวิจารณ์ ให้จัดที่พักคนเรือ และนำเรือเข้าโรงเรือ เอาใจใส่ดูแลรักษาเหตุการณ์ทั่วไป สั่งขุนสรเลขให้ขอแรงกำนันที่ใกล้ๆ ช่วยยกสำรับเลี้ยงพระเลี้ยงคนในตอนพรุ่งนี้ จนตลอดงาน สั่งพระยายกกระบัตรให้มีตราเรียกเจ้าเมืองทั้ง ๔ ให้มาถึงปะรืนนี้ สั่งหลวงจู๊ให้ขอกำลังเลี้ยงผู้พายบางกอก สั่งรองวิจารณ์ รองจ่าเมือง ให้นัดประชุมกำนันในวันปะรืนนี้ สั่งรองศุภมาตราให้เขียนใบเชิญพ่อค้าคฤหบดี ครั้นเวลาเย็นเห็นว่าที่วัดจัดการเรียบร้อยแล้ว จึงอาราธนาสมเด็จวันรัต ออกไปพักผ่อนอิริยาบทที่วัด สบายกว่าพักบ้านตามวิสัยของพระส่วนท่านเจ้าเมืองพร้อมด้วยเสมียนติดตาม ส่งสมเด็จพระวันรัต ณ วัดตะไกร และนัดหมายสามเณรโตให้นัดญาติโยมพร้อมหาฤากันใน ๒ วันนี้ ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ครั้นท่านเจ้าเมืองมาส่งสมเด็จพระวันรัตที่วัดตะไกรถึงแล้ว ได้ตรวจตราเห็นว่าเพียงพอถูกต้องแล้ว จึงสั่งกรรมการ ๒ นายให้อยู่ที่วัดคอยระวังปฏิบัติ และให้กำนันตำบลนี้คอยดูแลระวังพวกเรือญาติโยมของสามเณรโต อย่าให้มีเหตุการณ์ได้ ครั้นสั่งเสียแล้วจึงนมัสการลาสมเด็จพระวันรัต นัดหมายกับท่านว่าอีก ๒ หรือ ๓ วัน จึงจะออกมาให้พร้อมจะได้นัดหมายการงานให้รู้กัน แล้วนมัสการลามาจัดแจงการเลี้ยงดูที่บ้านอีก ท่านเจ้าเมืองได้สั่งให้หลวงชำนาญคดีจัดห้องบนจวนให้ข้าหลวงและเสมียนตราพักให้เป็นที่สำราญ สั่งในบ้านหุงต้มเลี้ยงคนเลี้ยงแขกเลี้ยงกรรมการ ที่มีหน้าที่ทำงานในวันพรุ่งนี้ต่อไปติดกันไปในการเลี้ยง ฯ
· ครั้นล่วงมาอีก ๓ วัน เจ้าเมืองกำแพงเพชร์ ๑ เจ้าเมืองพิจิตร ๑ เจ้าเมืองไชยนาท ๑ เจ้าเมืองพิชัย ๑ พ่อค้าคฤหบดี กำนันในตำบลเมืองพิษณุโลก กรมการเมืองพิษณุโลกทั้งสิ้นมาประชุมพร้อมที่จวนท่านเจ้าเมืองพิษณุโลก จึงได้พาคนทั้งปวงออกไปประชุมที่ศาลใหม่วัดตะไกร โดยอาราธนาสมเด็จพระวันรัต ให้ลงมาประชุมร่วมด้วยพร้อมทั้งตาผลนางงุดและคณะญาติของสามเณรโต ครั้นเข้าในที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว ท่านเจ้าเมืองพิษณุโลกจึงขอความตกลงที่แม่งุด เจ้าของนาคหลวงนั้นก่อนว่าการบวชนาคหลวงครั้งนี้ มีพระกระแสร์รับสั่งโปรดเกล้า ให้เจ้าเมือง กรมการ อำเภอ เจ้าภาษี นายอากร คฤหบดี ทั้งปวงนี้เป็นผู้ช่วยสนับสนุนการจนตลอดแล้วโดยเรียบร้อย แต่รับสั่งให้อนุมัติตามเจ้าของนาคหลวง ก็ฝ่ายแม่งุดเป็นมารดาจะคิดอ่านอย่างใดขอให้แจ้งมา ฝ่ายบ้านเมืองจะเป็นผู้ช่วยอำนวยการทั้งสิ้น ฯ
· ฝ่ายนางงุดจึงเรียนท่านเจ้าเมืองพิษณุโลกว่า ดิฉันกะไว้ว่าจะบวชแต่เช้าบวชแล้วเลี้ยงเช้าทั้ง ๒๙ รูป เลี้ยงเพลอีก ๒๙ รูป ดิฉันจะตั้งโรงครัวที่วัดนี้ ดิฉันใคร่จะมีพิณพาทย์ กลองแขกตีกระบี่กระบอง มีแห่นาคมีแห่พระใหม่ มีการสมโภชฉลองพระใหม่ ดิฉันใคร่จะนิมนต์ท่านพระครูวัดใหญ่ที่เมืองพิจิตร ๑ ท่านพระครูที่วัดเมืองไชยนาท ๑ มาสวดมนต์ฉันเช้าในการฉลองพระใหม่ มีการทำขวัญเวียนเทียน มีการสมโภชพระใหม่ มีการมหรสพด้วยเจ้าคะ ท่านเจ้าเมืองพิษณุโลก ก็รับที่จะจัดทำตามทุกประการ ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ท่านเจ้าเมืองพิษณุโลก หันเข้าขอประทานมติ ต่อสมเด็จพระวันรัต ต่อไปว่า เมื่อวันไหนจะสะดวกในรูปการเช่นนี้ สมเด็จพระวันรัตตอบว่า โครงการที่ร่างรูปเช่นนี้เป็นหน้าที่ๆ เจ้าคุณจะดำริห์และสั่งการ จะนานวันสักหน่อย ข้าพเจ้าคิดเห็นเหมาะว่า วันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๖ ปีมะเส็งนพศกนี้ เป็นวันนิวัติสามเณรออกมาเป็นเจ้านาค สามโมงเย็นวันนั้นห้อมล้อมอุปสัมปทาเปกเข้าษ์ไปทำขวัญในจวน ให้นอนค้างในจวน เช้ามืดจัดขบวนแล้วแห่มา วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ เวลา ๑ โมงเช้า บวชเสร็จ ๒ โมงเช้าพระฉัน มีมหรสพเรื่อยไปวันยังค่ำ พอ ๕ โมงเย็นจัดกระบวนแห่พระใหม่ เข้าไปในจวนเจ้าคุณ เริ่มการสวดมนต์ธรรมจักร์ต่อ ๑๓ ตำนานตามแบบหลวง แล้วรุ่งเช้าฉัน ฉันแล้วเลี้ยงกัน มีเวียนเทียน แล้วมีการเล่นกันไปวันยังค่ำอีกค่ำลงเสร็จการ เจ้าเมืองรับเถรวาทว่าสาธุ เอาละ ฯ
· ครั้นท่านเจ้าเมืองพิษณุโลก หารือด้วยสมเด็จพระวันรัต ลงมติกำหนด การกำหนดวันเป็นที่มั่นคงแล้ว จึงประกาศให้บรรดาที่มาประชุมกันรู้แน่ว่า วันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๖ เป็นวันทำขวัญ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ เป็นวันบวชเช้า ตามโครงการบวชนาคหลวงคราวนี้มีรายงานอย่างนั้นๆ ท่านทั้งหลายทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย จงได้กำหนดไว้ทุกคน และขอเชิญไปฟังคำสั่งที่แน่นอนที่จวนอีกครั้ง แล้วท่านเจ้าเมืองพิษณุโลกก็นมัสการลาสมเด็จพระวันรัตและพระสงฆ์ทั้งปวง นำเจ้าเมืองทั้ง ๔ กับบรรดาที่มาประชุมกันสู่จวนท่านเจ้าเมืองพิษณุโลกจึงแสดงสุนทรกถาชลอเกียรติคุณของทางพระรัฎฐะปสาสน์ ปลุกน้ำใจข้าราชการ และราษฎรทั้งปวงให้มีความเอื้อเฟื้อต่อพระกุศลอันนี้ พอเป็นที่พร้อมใจกันแล้ว จึงสั่งกิจการทั้งปวงและแบ่งหน้าที่ทุกแห่งตำแหน่งการ ทั้งทางที่วัดและจัดที่บ้านตลอดการปรุงปลูกมุงบังบุดาษปูปัดจัดตั้งแบกหามยกขน และขอแรงมาช่วยเพิ่มพระบารมีกุศลตามมีตามได้ ตามสติกำลังความสามารถ จงทุกกำนันเป็นต้นว่าขอเลี้ยงกันเข้าโรงครัวถั่วผัก มัจฉมังสากระยาหารตาลโตนด ตาลทราย หมาก มะพร้าว ข้าวเหนียว ข้าวสาร เจ้าภาษี นายอากรขุนตำบลช่วยกันให้แข็งแรง พวกที่ไม่มีจะให้ มีแต่ตีเป่าเต้นรำทำท่าพิณพาทย์ กลองแขก กระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ ให้มีอะไรมาช่วยกันให้พร้อมทั้งของข้าว นำมาเข้าโรงครัว แต่ ณ วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นต้นไป จนถึงขึ้น ๑๓ ค่ำ สิ้นกำหนดส่งจะลงบัญชีขาด การโยธาเล่าให้เรียบร้อยแล้วเสร็จ ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำเหมือนกัน ฝ่ายท่านเจ้าเมืองทั้ง ๔ จงนำฎีกาสวดมนต์ฉันเช้า ไปวางฎีกาอาราธนาพระครูจังหวัดทั้ง ๔ มาสวดมนต์พระธรรมจักรแล ๑๒ ตำนาน ในการสมโภชพระบวชใหม่ที่จวนนี้ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำเดือนนี้ ศกนี้ นิมนต์ฉัน เจ้าเมืองทั้ง ๔ ต้องนำบอกงานแก่ผู้มีชื่อในจังหวัดของเมืองนั้นๆ จงทั่วหน้า ฯ
· ถ้าหากว่าผู้ที่จะมาช่วยงานในการนี้ ติดขัดมาไม่สดวก ขอเจ้าเมืองจงเป็นธุระส่งแลรับให้ไปมาจงสดวกทุกย่านบ้านบึงบาน ขอให้เจ้าเมืองมอบเมืองแก่ยกกระบัตร กรมการ ให้กำนันเป็นธุระเฝ้าบ้านเฝ้าควายเฝ้าเกวียน แก่บรรดาผู้ที่จะมาในงานนี้ แต่ ณ วันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือนนี้ศกนี้ ท่านเจ้าเมืองทั้ง ๔ จงมาถึงให้พร้อมกัน คำสั่งดังกล่าวนี้จงอย่าขาดเหลือได้ กิจการทั้งวัดทั้งบ้านทั้งใกล้ทั้งไกล ขอให้ยกกระบัตรเป็นพนักงานตรวจตรา แนะนำตักเตือนต่อว่าเร่งรัดจเรทั่วไปจนตลอดงานนี้ หลวงจ่าเมือง รองจ่าเมือง เป็นหน้าที่พนักงานตรวจตราอาวุธ การทะเลาะวิวาทอย่าให้มีในการนี้ หลวงแพ่ง รองแพ่ง เป็นหน้าที่รับแขกคนเชิญนั่ง หลวงวิจารณ์ รองวิจารณ์ เป็นพนักงานจัดการเลี้ยงน้ำร้อนน้ำชา ทั้งพระทั้งแขกคนที่จะมาจะไป หลวงชำนาญ รองชำนาญ เป็นพนักงานเลี้ยงหมากพลูยาสูบ ทั้งพระทั้งแขกคนเตรียมเครื่องด้วยหลวงศุภมาตรา รองศุภมาตราเป็นพนักงานจัดการหน้าฉากทุกอย่าง ทั้งการพระ การแขก ขุนสรเลข เป็นเสมียนจดนามผู้นำของมา จดทั้งบ้านเมืองอำเภอหมู่บ้านให้ละเอียด ทั้งมากทั้งน้อย พระธำรงผู้คุมต้องเป็นพนักงานปลูกปรุงมุงบังบุดาษ เสมียนทนายดูเลี้ยง หลวงจ่าเมืองต้องจัดหาตะเกียงจุดไฟทั่วไป ขัดข้องต้องบอกข้าพเจ้าช่วยกันให้เต็มฝีมือด้วยกัน สั่งการเสร็จแล้ว สั่งแขกที่เชิญมากลับไป ส่งเจ้าเมืองทั้ง ๔ กลับขึ้นบ้านเมือง ฯ
· ส่วนผู้ว่าราชการเมืองพร้อมด้วยโหราธิบดี เสมียนตราด้วง คิดการจัดไทยทานถวายพระ จัดซื้อผ้าดอกผ้ายี่โป้ไว้สำหรับสำร่วยการมหรสพทั้งปวง ขอแรงภรรยากรมการเป็นแม่ครัว ท่านผู้หญิงเป็นผู้อำนวยการครัว พระยกกระบัตรเป็นพนักงานเลี้ยงพระเลี้ยงคนด้วย พวกผู้หญิงลูกหลานพี่น้องกรมการ ขอแรงเย็นบายศรี เจียนหมากจีบพลู มวนยาควั่น เทียน ตำโขลก ขนมจีน ทำน้ำยาเลี้ยงกัน ครั้นท่านผู้ว่าราชการเมือง จัดการสั่งการเสร็จสรรพแล้ว พักผ่อนพูดจากับท่านเสมียน ท่านพระโหราธิบดี ตามผาสุขสำราญคอยเวลา ฯ
· ตั้งแต่วันที่กำหนดส่งของเข้าครัว อาหารก็ล้นไหลเรื่อยมาแต่ขึ้น ๘ ค่ำ จนถึงขึ้น ๑๓ ค่ำ ทางเจ้าเมืองส่งไปครัวทางวัดบ้าง เข้าครัวบ้านบ้าง คนทำกิจการงานได้ บริโภคอิ่มหนำตลอดถึงกรมการและลูกเมีย กำนันและลูกบ้านที่ยังค้างอยู่ก็ได้บริโภคอิ่มหนำทั่วกัน นายอากรสุราก็ส่งสุรามาเลี้ยงกันสำราญใจ ต่างก็ชมเชยบารมีพ่อเณร และชมอำนาจเจ้าคุณผู้ว่าราชการเมืองและชมเชยพระยุพราชกุศลกัลยาณวัตรของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพระองค์นี้ เป็นที่สนุกสนานทั่วกัน ฯ
· ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือนหก ปีมะเส็งนพศก จุลศักราช ๑๑๕๙ ปี เวลาเช้าเจ้าเมืองทั้ง ๔ ก็มาถึงพระครูจังหวัดก็มาถึง ผู้มีชื่อที่มาช่วยกิจการอุปสมบทนี้ ก็มาถึงพร้อมกันทั้งใกล้ไกล ท่านเจ้าเมืองพิษณุโลกก็ยิ้มแย้มทักทายต้อนรับ พระยายกกระบัตรก็ดูแลเลี้ยงดูเชื้อเชิญให้รับประทานทั่วถึงกัน ตลอดจนพวกมหรสพ ฝีพาย ทั้งเรือพระเรือเจ้าเมือง เรือคฤหบดี ก็เรียกเชิญเลี้ยงดูอิ่มหนำทุกเวลา ฯ
· ครั้นเวลาเที่ยงแล้ว ท่านผู้ว่าราชการเมืองพิษณุโลก พร้อมด้วยเจ้าเมืองทั้ง ๔ และพระโหราบดี เสมียนตราด้วงกับทั้งพวกกระบวนแห่ก็เตรียมออกไปรับนาคที่วัด สมเด็จพระวันรัตก็ให้สามเณรโตลาสิกขาบท นิวัติออกเป็นนาค ท่านสมภารวัดตะไกร ก็สั่งพระให้โกนผมเจ้านาคแล้ว พระโหราธิบดีก็บอกให้ญาติโยมช่วยกันอาบน้ำขัดถู แต่อย่าทาขมิ้น ครั้นอาบน้ำขัดถูกันเสร็จแล้ว พระโหราก็แต่งตัวเจ้านาค นำเครื่องผ้ายกออกจากหีบ เสื้อกรุยเชิงมีดอกพราวออกแล้ว นุ่งจีบโจงหางโหง ชักพก แล้วติดผ้าหน้าเรียกว่าเชิงงอน ที่ภาษชวาเรียกว่า “ซ่าโปะ” แล้วคาดเข็มขัดทองประดับเพชร์ สอดแหวนเพชร์ถือพัชนีด้ามสั้น สรวมเสริดยอดประดับพลอยทับทิมแลมรกฎที่คำสามัญเรียกว่า “ตะลอมพอก” ทรงเครื่องแต่งตัวเสร็จแล้ว ท่านผู้ว่าราชการก็นำนาค พระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง เดินแซงข้างนาค ญาติโยมตามหลังเป็นลำดับลงไป พวกกระบวนแห่ก็เต้นรำตามกันมา ตามเจ้าคุณพระยาพิษณุโลกนำนาคเข้ามาทำขวัญที่จวนเมื่อเวลาบ่าย ๓ โมงเย็น วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ศกนั้น ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ครั้นถึงจวนเจ้าเมืองก็นำนาคเข้าโรงพิธีที่จัดไว้บนหอนั่ง แล้วเรียงรายเจ้าเมือง กรมการ เจ้าบ้านคหบดี เจ้าภาษี นายอากร ราษฎรสูงอายุ และญาติโยมของเจ้านาค พระโหราธิบดีเรียกคนเชิญขวัญ ที่นำไปแต่กรุงเทพทั้งพราหมณ์ พรหมบุตรชุดหนึ่งขึ้นมาจากเรือ แล้วเข้านั่งทำขวัญๆ แล้วเวียนเทียน พิณพาทย์ก็บรรเลงตามเพลงกระ,กรม,กราว,เชิด,ไปเสร็จแล้วจัดการเลี้ยงเย็น ค่ำลงจุดไฟแล้วมีการเต้นรำร้องเพลงสนุกจริง ฯ
· ครั้นเวลาย่ำรุ่ง ท่านผู้ว่าราชการเมืองพิษณุโลก พร้อมด้วยเจ้าเมืองทั้ง ๔ แลกรมการผู้ใหญ่ผู้น้อย พ่อค้าแม่ค้า เจ้าภาษีนายอากร อำเภอ กำนัน พันทนายบ้านขุนตำบล พระธำมะรงผู้คุม ผู้ใหญ่มาพร้อมกันที่หน้าจวน จึงจัดกระบวนแห่เป็น ๗ ตอน ตอน ๑ พวกกระบี่กระบอง ตอน ๒ พวกมวยชกมวยปล้ำ ตอน ๓ กลองยาว ตอน ๔ เทียนอุปัชฌาย์ไตรบาตร์ ไตรอุปัชฌาย์ ตอน ๕ เจ้าเมืองทั้ง๕ กรมการเสมียนตรา ข้าหลวง ตอน ๖ ญาติมิตรคนช่วยงานถือของถวายอันดับ ตอน ๗ พวกเพลงพวกเต้นรำต่างๆ เป็นแถวยืดไปแห่แหนห้อมล้อมเป็นขบวนเดินมา จนถึงเขตกำแพงวัดตะไกร ผ่อนๆ กันเดินเข้าไป ตั้งชุมนุมเป็นกองๆ แต่พวกกลองยาวพวกขบวนถือเทียน ถือไตรบาตร์บริขารของถวายพระนั้นเวียนโบสถ์ไปด้วย พวกพิณพาทย์ กลองแขกนั่งตีที่ศาลาหน้าโบสถ์ ครบสามรอบแล้ว เจ้านาควันทาสีมา เจ้าเมืองทั้ง ๔ แวดล้อม พระโหราเป็นผู้คุมและสอน แล้วขึ้นโบสถ์ก็ทิ้งทานเปลื้องเครื่องที่แต่งแห่มา ผลัดเป็นยกพื้นขาว ผ่กรองทองห่มสะไบเฉียง เปลื้องเสื้อกรุยออกถอดตะลอมพอก ถอดแหวนแลสร้อยส่งให้เสมียนตราๆ รับบันจุลงหีบลั่นกุญแจมอบเจ้าเมืองทั้ง ๕ เป็นผู้รักษา แล้วโยมญาติช่วยกันจูงช่วยกันรุมเข้าโบสถ์ พระโหราธิบดีนำเข้าวันทาพระประทาน แล้วมานั่งคอยพระสงฆ์ ฯ
· ฝ่ายพระสงฆ์ ๒๙ รูป มีสมเด็จพระวันรัตเป็นประธานที่พระอุปัชฌาย์ลงโบสถ์พร้อมกันแล้ว นางงุดจึงยื่นผ้าไตรบวชส่งให้นาคๆ พร้อมคำนับรับเอาเข้ามาในท่ามกลางสงฆ์พวก กรมการยกเทียนอุปัชฌาย์ ไตรอุปัชฌาย์พร้อมด้วยกรวยหมากเข้ามาส่งให้เจ้านาคถวายพระอุปัชฌาย์ แล้วให้เจ้านาคยืนขึ้นวันทาอ้อนวอนขอบรรพชาเป็นภาษาบาฬี (ตามวิธีบวชพระมหานิกาย) ครั้นเสร็จเรียนกัมมัษฐานแล้วออกไปครองผ้าเข้ามาถวายเทียน ผ้าไตร แก่พระกรรมวาจา แล้วยืนขึ้นขอประทานวิงวอนขอพระสรณาคมณ์นั่งลงรับพระสรณาคมณ์ เสร็จรับศีล ๑0 ประการเป็นเณรแล้วเข้ามายืนขอนิสสัยพระอุปัชฌาย์สำเร็จเป็นภิกษุภาวะในเพลา ๓๒ ชั้นคือ ๗ นาฬิกาเช้า วันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ปีมะเส็งนพศก จุลศักราช ๑๑๕๙ ปี ประชุมสงฆ์ ๒๘ รูป เป็นคณะปักกะตัดตะในพัทธสีมา วัดตะไกร เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระวันรัตวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แก้ววัดบางลำภูบน เป็นกัมวาจา พระอธิการวัดตะไกรเมืองพิษณุโลก เป็นอนุสาวะนะ ครั้นเสร็จการอุปสมบทแล้ว พระสงฆ์ทั้งปวงออกจากโบสถ์ ลงมาฉันเช้าที่ศาลาวัดตะไกรพร้อมกันทั้งพระภิกษุโตด้วย ฯ
· ครั้นเจ้าภาพอังคาสถวายอาหารบิณฑบาตร์ พระสงฆ์ทำภัตตกิจเสร็จแล้วก็ถวายไทยทานเป็นอันมากมายนักหนา พระภิกษุโตก็รับของถวายเป็นก่ายกองสุดจะพรรณา ครั้นเสร็จแล้วพระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพจัดการเลี้ยงกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว พวกกระบี่ก็รำกระบี่กระบองราวี พวกมวยก็เข้าคลีเป็นคู่คู่ พวกเพลงก็ร้องสู้กันแซ็งแซร่ พวกกลองยาวของพม่าก็บุ้มบ้ำรำถวาย คนดูก็เดินกรายชายตามองจ้องที่ต้องใจ สมโภชพระบวชใหม่จนถึงห้าโมงเย็น ครั้นเย็นแล้ว ท่านเจ้าเมืองทั้ง ๕ จัดกระบวนพระ กระบวนแห่ แห่พระเข้าไปเจริญพุทธมนต์เย็นที่จวนสมโภชพระบวชใหม่ ฯ
· ครั้นถึงแล้ว พระสงฆ์นั่งบนอาสนะถวายน้ำร้อนน้ำตาลเภสัชหมากพลูบุหรี่เป็นที่สำราญ ผู้ว่าราชการจุดเทียนหลวงบูชา หลวงนาวาว่าที่กรมการอาราธนาศีล แล้วอาราธนาพระปริตต์ สวดธรรมจักร์ต่อกับ ๑๒ ตำนาน จบแล้วพระสงฆ์ก็กลับ ก็จัดการเลี้ยงกันจนเรียบร้อยก็จุดไฟมีการสมโภชต่อไปเป็นที่สนุกสนานครึกครื้นรื่นเริงทั่วหน้ากัน ฯ
· เวลาเช้าพระสงฆ์มาสวดมนต์ฉันเช้าแล้ว ก็ถวายเครื่องไทยทานต่างๆ เป็นอันมาก พระสงฆ์รับแล้วอนุโมทนาทานเสร็จแล้วก็กลับ พราหมณ์ ๓ คนเข้าที่ โอมอ่านพระศุลีเทวราชประสิทธิ์ เบิกแว่นอุณาโลม แล้วตีพิณพาทย์ฆ้องกลอง เป่าแตร เป่าสังข์ แกว่งบัณเฑาะว์ เดาะกรับ และเวียนเทียน ๗ รอบสมโภชพระภิกษุโตผู้บวชใหม่ เป็นอันเสร็จพิธีดีงามทุกสิ่งทุกประการ ฯ
· ครั้นรุ่งขึ้นเป็นวันแรมสองค่ำเดือนหกศกนั้น ท่านพระยาพิษณุโลกได้มาส่งสมเด็จพระวันรัตและพระภิกษุโตกับพระอาจารย์แก้วกลับกรุงเทพฯ ได้ขอทุเลากับสมเด็จพระวันรัตว่า “เกล้าฯ ขอทุเลาให้หายเหนื่อยสัก ๒ วัน และสั่งกิจการ ต่อวันแรม ๔ ค่ำเดือน ๖ จึงจะไปหาพระคุณเจ้า” สมเด็จพระวันรัตว่า “ตามใจเจ้าคุณเถิด” ครั้นตกลงกันแล้วพระยาพิษณุโลกก็ทำรายงานเรื่องอุปสมบทตามพระกระแสร์รับสั่ง มอบให้เสมียนตราด้วงน้อมเกล้าถวายแล้วส่งเจ้าเมืองทั้ง ๔ กลับพร้อมทั้งผู้คน สั่งยกกระบัตรและกรมการใหญ่น้อยให้ทำหน้าที่ แล้วจัดเรือแจว ๖ แจวมีฝีพาย เรือครัวไปส่งพระในกรุงเทพฯ ในวันแรม ๔ ค่ำเดือนนั้น ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)