ผู้เขียน หัวข้อ: ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา  (อ่าน 16564 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

    อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณหนุ่ม...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ครั้นแรม ๔ ค่ำศกนั้น พระยาพิษณุโลกได้อาราธนาสมเด็จพระวันรัต พระอาจารย์แก้ว พระภิกษุโตบวชใหม่เข้าไปฉันในจวน เลี้ยงข้าหลวงเสมียนตรา ฝีพายพราหมณ์เสร็จแล้วก็ลงเรือล่องลงมาเป็น ๕ ลำด้วยกัน
· วันแรม ๖ ค่ำศกนั้น ครั้นถึงวัดนิพพานาราม สมเด็จพระวันรัต พระอาจารย์แก้วได้พาภิกษุโต พระยาพิษณุโลก พระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง เฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพร้อมกัน กราบเรียนให้ทราบพอสมควร สมเด็จพระสังฆราชเจ้าจึงมอบให้เป็นหน้าที่ของสมเด็จพระวันรัตเป็นอาจารย์สอนและบอกคัมภีร์พระปริยัติธรรมต่อไป ด้วยพระดำรัส “การสอนการบอกจงเป็นภาระของสมเด็จฯ ด้วยข้าพเจ้าชรามากแล้วลมก็กล้า อาหารก็น้อยจำวัดไม่ใคร่หลับ บอกหนังสือก็ออกจะพลาดๆ ผิดๆ” รับสั่งให้พระครูฐานาจัดกุฏิให้ภิกษุโตอาศัยต่อไปในคณะตำหนักวัดนิพพานารามแต่วันนั้นมา ฯ
· บรรดาสัปปุรุษ สีกา ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เลื่อมใสคุ้นเคยกับพระภิกษุโตแต่ครั้งเป็นสามเณร ครั้นทราบว่าอุปสมบทแล้ว ต่างก็พากันมาเยี่ยมเยียนปวารณาตัว ความอัตคัตขัดข้องไม่มีแก่ภิกษุโตเลย ฟุ่มเฟือยสง่าโอ่โถงองอาจผึ่งผายเสมอๆ มา ฯ
· ครั้นเข้าพรรษาปีนั้น จึงได้ข้ามไปเรียนคัมภีร์กับสมเด็จพระวันรัตเสมอๆ มาก็มีความรู้แตกฉานลึกซึ้งในพระธรรมวินัยไตรปิฎกไม่ติดขัด ทั้งท่านก็ปฏิบัติตรงต่อพระธรรมวินัย มีความเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่ ปฏิบัตินอบน้อมยอมตนให้สม่ำเสมอไป จึงเป็นเหตุให้อำมาตย์ราชเสนา คฤหบดี คฤหปตานี คุณท้าว คุณแก่ คุณแม่ คุณนาย คุณชาย คุณหญิง ผู้คุ้นเคยไปมาหาสู่อาราธนาให้แสดงธรรมตลอดไตรมาสบ้าง พิเศษบ้าง เทศน์มหาชาติบ้าง สวดมนต์เย็น ฉันเช้าในงานมงคลต่างๆ เกิดอดิเรกลาภเสมอๆ มิได้ขาดทั้งพระโหราธิบดี เสมียนตราด้วง พระวิเชียร ขุนพรหม ปลัดนุท ขรัว ยายโหง เสมียนบุญ ๗ ท่านนี้ ได้เป็นอุปัฏฐากประจำที่ไว้วางใจ ฯ
· ครั้นเห็นว่างราชกิจควรเข้าเฝ้าถวายราชกุศล จึงหารือด้วยพระโหราธิบดี พระวิเชียร เสมียนตราด้วง ทั้งหมดเห็นดีด้วย จึงพร้อมกันเข้าเฝ้าถวาย ณ พระราชวังเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จออกทรงรับพระราชกุศล ถวายองค์เป็นอุปัฏฐากแต่นั้นมา ท่านก็รุ่งเรืองในกรุงเทพฯ แต่นั้นมา ฯ
· ครั้นลุปีขาล อัฏฐศก จุลศักราช ๑๑๖๘ ปี พระภิกษุโตมีอายุ ๓0 ปี มีพรรษาได้ ๑0 อันเป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้รับพระราชทานพระบวรราชอิศรศักดิ์สูงขึ้น เมื่อเสร็จอุปราชาภิเศกแล้ว ท่านได้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคลจึงได้ทรงโปรดพระราชทานเรือพระที่นั่งกราบเป็นเรือสี ถวายแก่พระภิกษุโต โปรดรับสั่งว่า “เอาไว้สำหรับไปเทศน์โปรดญาติโยม” ทั้งยังทรงตั้งให้เป็น “มหาโต” ด้วย แต่นั้นมาทุกคนจึงเรียกท่านมหาโตทั่วทั้งแผ่นดิน หากมีราชกิจกุศลในวังหน้าหรือการงานเล็กน้อยแล้ว พระมหาโตเป็นต้องถูกราชการด้วยองค์หนึ่ง ฯ
(๒ ปีล่วงมา สมเด็จพระสังฆราชมีชราภาพ ถึงมรณะล่วงไปแล้ว ยังหามีสมเด็จพระสังฆราชครองวัดนิพพานารามไม่) ปีมะเส็งเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ ปี กรมพระราชวังบวรเสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงทรงพระมหากรุณาโปรดยกพระปัญญาวิสารเถร (พระชินวร) วัดถมอรายขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงพระราชทานนามวัดนิพพานารามเสียใหม่ว่า “วัดมหาธาตุ” สมเด็จพระสังฆราชได้ลงมาประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุด้วย พระมหาโตจึงร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับสมเด็จพระสังฆราชถึง ๒ พระองค์ คือสมเด็จพระสังฆราชมี สมเด็จพระสังฆราชนาค (จึงได้ให้ช่างเขียนเป็นรูปพระสังฆราชไว้ ๒ พระองค์ ตามที่ท่านได้ผ่านพบมา ที่ฝาผนังโบสถ์ วัดอิทรวิหาร บางขุนพรหม) ในศกนี้ พระมหาโตมีพรรษา ๑๒ ในแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กรุงเทพฯ พระมหาโตทำสง่าโอ่โถงพากพูมมาก เทศนาวาจากล้าหาญองอาจ เพราะเชี่ยวชาญรอบรู้พระไตรปิฎกแตกฉาน ทั้งยังเป็นพระของพระเจ้าแผ่นดิน อันพระองค์ทรงเป็นอุปัฏฐากอีกด้วย อดิเรกลาภก็มีทวีคูณมากมาย ลูกศิษย์ลูกหามากมาย ชื่อเสียงโด่งดังกึกก้องตลอดกรุง ฯ
· ลุปีฉลู นพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ ปี ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระตำหนักใหม่ในวัดมหาธาตุ เพราะทูลกระหม่อมฟ้าพระองค์ใหญ่จะทรงพระผนวชเป็นสามเณร ครั้นทรงพระผนวชแล้วก็เสด็จมาประทับอยู่ พระมหาโตก็ได้เข้าเป็นพระพี่เลี้ยง และได้เป็นครูสอนอักขระขอม ตลอดจนถึงคัมภีร์มูลกัจจายน์ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชมีกิจพระมหาโตก็ได้อธิบายขยายความแทน เป็นเหตุให้ทรงสนิทคุ้นเคยกันแต่นั้นมา ฯ
· ครั้นทูลกระหม่อมเณรทรงลาสิกขานิวัติกลับราชวังแล้ว ก็ทรงทำสักการะแก่พระมหาโตยิ่งขึ้น พระมหาโตเลยกว้างขวางยิ่งใหญ่รู้จักคุณท้าว คุณนางฝ่ายในทั้งจ้าวนายฝ่ายนอกมากมาย บ้านขุนนางก็แยะ เมื่อมีงานต้องนิมนต์พระมหาโตมิได้ขาด ฯ
· จุลศักราช ๑๑๘๖ ปีวอก ฉศกวันพุธ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ทูลกระหม่อมองค์ใหญ่ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เสด็จขึ้นไปประทับวัดถมอราย (เปลี่ยนเป็นวัดราชาธิวาส) ภายหลังเสด็จกลับมาประทับ ณ ตำหนักเดิมวัดมหาธาตุ พระมหาโตก็ได้เป็นผู้บอกธรรมวินัย และพระปริยัติธรรมอีก เป็นเหตุให้ทรงคุ้นเคยกันมากขึ้น เพราะมีอัธยาศัยตรงกัน ฯ
· ในศกนี้ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต วันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ ปีวอก ฉศกจุลศักราช ๑๑๘๖ เสด็จขึ้นเถลิงราชย์ได้ ๑๔ ปี ๑0 เดือน ศิริพระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา ฯ
· ปีนี้พระมหาโตอายุได้ ๔๙ พรรษา ๒๘ พระชนมายุทูลกระหม่อมได้ ๒๑ พรรษา พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงราชย์ เปลี่ยนเป็นรัชกาลที่ ๓ ในปีนั้น วันนั้น ฯ
· ลุจุลศักราช ๑๑๘๘ ปีจอ อัฏฐศก สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้เผดียงทูลกระหม่อมพระองค์ใหญ่ ให้ทรงแปลพระปริยัติธรรม ๓ วันก็ทรงแปลได้หมด แล้วให้พระมหาโตแปลแก้รำคาญหูเสียบ้าง ท่านเข้าแปลถวายวันหนึ่ง แปลไปได้สักลานกว่า ผู้กำกับการสอบไล่ถือพัดยศเข้ามาท่านก็เลยม้วนหนังสือถวายกราบลามาข้างนอกพระราชวังใครถามว่า “ได้แล้วหรือครับคุณมหา” ท่านรับคำว่า “ได้แล้วจ๊ะ” ฯ
· ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๑๑๙๑ ปี ทูลกระหม่อมองค์ใหญ่ไม่สำราญพระหฤทัยในวัดมหาธาตุ จึงทรงกลับมาประทับ ณ พระตำหนักเดิมวัดถมอราย ฯ
· ในศกนี้พระมหาโตมีอายุ ๕๔ ปี พรรษา ๓๒ ยังรอรักอยู่วัดมหาธาตุ มีผู้บอกข่าวว่าโยมผู้หญิงอยู่ทางเหนือป่วยหนัก ท่านขี่เรือเสาขึ้นไป พร้อมกับนำเรือสีไปด้วยเพื่อจะพายอวดโยมของท่าน แต่โยมก็ถึงแก่อนิจจกรรมเสียก่อน ท่านก็ทำฌาปนกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงแบ่งทรัพย์มรดกของโยมแก่บรรดาญาติและหลานๆ ทั่วกันแล้ว ที่ยังเหลือเป็นเงินทองก็นำมาถึงอำเภอป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง ณ ที่วัดขุนอินทร์ประมูล ท่านก็เอาทรัพย์นั้นออกสร้างพระนอนไว้ มีลักษณะงดงามองค์หนึ่งยาวมาก สร้างอยู่หลายปีจึงสำเร็จ ต่อนั้นท่านก็เป็นพระสงบมีจิตแน่วแน่ ต่อญาณคติมีวิถีจิตแน่วไปในโลกกุตตรภูมิ ไม่ฟุ้งซ่านโอ่อ่า เจียมตัวเจียมตนเทศน์ได้ปัจจัยมาสร้างพระนอนนั้นจนหมด ท่านทำซอมซ่อเงียบๆ สงบปากเสียงมา ๒๕ ปี ตลอดรัชสมัยของแผ่นดินพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ครั้นถึงปีกุน ยังเป็นโทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ ปี วันพุธขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๘ ทุ่ม ๕ บาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเสด็จสวรรคต ศิริพระชนมายุได้ ๖๓ พรรษา กับ ๑๑ วัน ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ๒๕ ปี ๗ เดือน ๒๓ วัน พระมหาโตอายุได้ ๖๔ ปี ๔๒ พรรษา พวกข้าราชการได้ทูลอัญเชิญเสด็จทูลกระหม่อม พระราชาคณะ วัดบวรนิเวศน์วรวิหาร ให้เสด็จนิวัติออกเถลิงราชย์ พระมหาโตเลยออกธุดงค์หนีหายไปหลายเดือน ครั้นทรงระลึกได้จึงรับสั่งให้หาตัวมหาโตก็ไม่พบ ก็ทรงกริ้วสังฆการี รับสั่งว่า “ท่านเหาะก็ไม่ได้ ดำดินก็ไม่ได้ แหกกำแพงจักรวาฬหนีก็ยังไปไม่ได้” จึงรับสั่งให้พระญาณโพธิออกติดตามก็ไม่พบ ก็รับสั่งว่า “ฉันจะตามเอง” ครั้นถึงเดือน ๗ ปีนั้น มีกระแสร์รับสั่งถึงเจ้าเมืองฝ่ายใต้ ฝ่ายเหนือ ตะวันตก ตะวันออก ทั่วพระราชอาณาจักร จับพระมหาโตส่งมายังเมืองหลวงให้ได้ ให้เจ้าคณะเหนือ กลาง ใต้ ตก ออก ออกค้นหามหาโต เลยสนุกกันใหญ่ทั้งฝ่ายพุทธจักร์ อาณาจักร์ แม้จะมีท้องตรารับสั่งเร่งรัดอย่างไรก็ยังเงียบอยู่ เจ้าเมืองเจ้าหมู่ฝ่ายพระร่วมใจกันจับพระอาคันตุกะทุกองค์ส่งยังศาลากลาง คราวนี้พระมหาโตลองวิชาเปลี่ยนหน้า ทำให้คนรู้จักกลับจำไม่ได้เห็นเป็นพระองค์อื่นปล่อยท่านไปก็มี (อาคมชนิดนี้พระอาจาริย์เจ้า เรียกว่า นารายณ์แปลงรูป) ต่อมาท่านพิจารณาเห็นว่านายด่าน นายตำบล เจ้าเมืองกรมการ จับพระไปอดเช้าบ้าง เพลบ้าง ตากแดดตากฝนได้รับความลำบาก ทำทุกข์ทำยากแก่พระสงฆ์คงไม่ดีแน่ จึงแสดงตนให้กำนันบ้านไผ่รู้จัก จึงส่งตัวมายังศาลากลาง เจ้าเมืองมีใบบอกมายังกระทรวงธรรมการๆ บอกส่งไปวัดโพธิเชตุพนฯ พระญาณโพธิขึ้นไปดูตัวก็จำได้ แล้วคุมตัวลงมาเฝ้า ณ พระที่นั่งอมรินทรท่ามกลางขุนนางข้าราชการ ครั้นเห็นพระญาณโพธินำมหาโตเข้าเฝ้า จึงมีพระดำรัสว่า “เป็นสมัยของฉันปกครองแผ่นดินท่านต้องช่วยกันพยุงพระบวรพุทธศาสนาด้วยกัน” แล้วมีพระบรมราชโองการให้กรมสังฆการีวางฎีการตั้งพระราชาคณะตามธรรมเนียม พระมหาโตก็เข้าไปตามฎีกานิมนต์ จึงทรงถวายสัญญาบัตรตาลิปัตแฉกหักทองขวางด้ามงาเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม มีฐานานุกรม ๓ องค์ มีนิตยภัตรเดือนละ ๔ ตำลึง ๑ บาท ทั้งค่าข้าวสาร เมื่อออกจากพระบรมราชวังแล้ว ท่านแบกพัดไปเองถึงบางขุนพรหมและบางลำภูบอกลาพวกสัปปุรุษที่เคยนับถือ มีเสมียนตราด้วงและพระยาโหราธิบดีเก่า และผู้อื่นอีกมาก แล้วท่านก็กลับมาวัดมหาธาตุลาพระสงฆ์ทั้งปวง ลงเรือกราบสีที่ได้รับพระราชทานมาแต่พระพุทธเลิศหล้าข้ามไปกับเด็กช้างผู้เป็นหลาน ท่านถือบาตร ผ้าไตร และบริขารไปบอกพระวัดระฆังว่า “จ้าวชีวิต ทรงตั้งฉันเป็นที่พระธรรมกิตติมาเฝ้าวัดระฆังวันนี้จ๊ะ เปิดประตูโบสถ์รับฉันเถอะจ๊ะ ฉันจะต้องเข้าจำวัดเฝ้าโบสถ์ จะเฝ้าจัดตามพระราชโองการรับสั่งจ๊ะ” ท่านแบกตาละปัดพัดแฉก สพายถุงย่ามสัญญาบัตรไป เก้ๆ กังๆ พะรุงพะรัง พวกพระนึกขบขันจะช่วยท่านถือ เจ้าคุณธรรมกิตติก็ไม่ยอม พระเลยสนุกตามมุงดูกันแน่น แห่กันป็นพรวนเข้าไปแน่นในโบสถ์ บางองค์ก็จัดโน่นทำนี่ ต้มน้ำบ้าง ตักน้ำถวายบ้าง ตะบันหมากบ้าง กิติศัพท์เกรียวกราวตลอดกรุง คนนั้นก็มาเยี่ยม คนนั้นก็มาดูเลื่อมใสในจรรยาบ้าง เลื่อมใสในยศศักดิ์บ้าง ท่านทำขบขันมาดูสนุกเป็นมหรสพโรงใหญ่ทีเดียว บางคนชอบหวยก็เอาไปแทงหวยขลังเข้าทุกๆ วัน คนก็ยิ่งเอาไปแทงหวยถูกกันมากรายยิ่งขึ้น เลยไม่ขาดคนไปมาหาสู่ บางคนก็ว่าท่านบ้าบ้าง บางคนก็ตอบว่า “เมื่อขรัวโตบ้า พวกกันนิยมชมว่าขรัวโตเป็นคนดียามนี้ ขรัวโตเป็นคนดีพูดกันบ่นอู้อี้ว่าขรัวโตบ้า” บางวันเขานิมนต์ไปเทศน์ เมื่อจบท่านบอกว่า “เอวํ พังกุ้ย” บ้าง บางวันก็บอกว่า “เอวํ กังสือ” บางวันก็บอกว่า “เอวํ หุนหัน” เล่ากันต่อๆ มาว่าท่านเทศน์ไม่เว้นแต่ละวัน ครั้งหนึ่ง ที่วังเจ้าฟ้ามหามาลากรมหมื่นบำราบปรปักษ์มีเทศน์ไตรมาส ๓ วัน ยกพระพิมลธรรม (อ้น) ถวายเทศน์พระธรรมกิตติเป็นผู้รับสัพพี พระพิมลธรรมถวายเทศน์เรื่องปฐมสมโพธิ ปริเฉทลักขณะปริวัติความว่า “กาลเทวินทร์ดาบร้องไห้ เสียใจว่า ตนจะตายไปก่อนไม่ทันเห็นพระสิทธาตถ์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซ้ำจะต้องไปเกิดในอสัญญีภพเสียอีก เพราะผลของอรูปสมาบัติเนวะสัญญานาสัญญายะตะนะฌานในปัจจุบันชาติ” วันที่ ๓ ก็มาถวายอีก พระธรรมกิตติ (โต) ก็ไปรับสัพพีอีก เจ้าฟ้ามหามาลาฯ ทรงรับสั่งถามพระพิมลธรรมว่า “พระคุณเจ้าฌาณโลกีย์นี้ได้ยินว่าเสื่อมได้ไม่ใช่หรือ” พระพิมลธรรมรับว่า “ถวายพระพรเสื่อมได้” ทรงรับสั่งรุกอีกว่า “เสื่อมก็ได้ ทำไมกาลเทวินทร์ไม่ทำให้เสื่อมเสียก่อน บำเพ็ญแต่กามาวจรฌาณถึงตายก่อนสิทธาตถ์ ก็พอไปเกิดอยู่ในรูปพรหม หรือฉกามาพจรชั้นใดชั้นหนึ่งก็พอจะได้ เหตุใดไม่ทำฌาณของตนให้เสื่อม ต้องมานั่งร้องไห้เสียน้ำตาอยู่ทำไม” คราวนี้พระพิมลอั้นตู้ ไม่สามารถแก้ไขออกให้แจ้งได้ ส่วนพระธรรมกิตติ(โต) เป็นพระรับสัพพี เห็นพระพิมลธรรมเฉยไม่เฉลยข้อปัญหานั้น จึงออกเสียงเรอดัง “เออ” แล้วบ่นว่า “เราหนอช่างกระไรวัดระฆังอยู่ใกล้ๆ ตรงวังข้ามฟาก เหตุใดจึงไม่ข้ามฟาก ต้องมาฝืนร่างกายทนลำบากจนดึกดื่น ๒ วัน ๓ คืนดังนี้” แล้วท่านก็นั่งนิ่ง สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ ก็ทรงจุดเทียน พระพิมลธรรมก็ขึ้นถวายเทศน์จนจบ ลงธรรมาสน์แล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ ก็ประเคนเครื่องไทยธรรม พระพิมลธรรมยะถา พระธรรมกิตติรับสัพพี พระพิมลธรรมถวายพระพรลา เมื่อถึงกำหนด เทศน์อีก พระธรรมกิตติก็ได้รับฎีกาอันเป็นลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ นิมนต์เทศน์ต่อจากพระพิมลธรรมท่านเต็มใจรับ และบอกมหาดเล็กให้ไปกราบทูลให้ทรงทราบ ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ครั้นวัน ๗ ค่ำ เวลา ๓ ทุ่ม พระธรรมกิตติก็ไปถึงท้องพระโรง สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ เสด็จออกทรงเคารพ แล้วปราศรัยแล้วจุดเทียน พระธรรมกิตติขึ้นธรรมาสน์ ถวายศีล ถวายศักราช ถวายพระพร แล้วจึงเดินคาถาที่ผูกขึ้นว่า วมลธมฺมสฺส ฯลฯ กสฺมาโส วิโสจตีติ อธิบายความว่า “มหาบพิตรเจ้า มีพระปุจฉาแก่เจ้าคุณพระพิมลธรรมว่า เหตุไฉนกาลเทวินทร์จึงร้องไห้ ควรทำฌาณของตนให้เสื่อมดีกว่านั่งร้องไห้” ดังนี้ข้อนี้อาตมาภาพผู้มีสติปัญญาทรามหากได้รับพระอภัยโทษ โปรดอนุญาติให้แสดงต่อข้อปุจฉา อาตมาจำต้องแก้ต่างเจ้าคุณพระพิมลธรรมดังมีข้อความตามพระบาลีที่มีมาในพระปุคคลบัญญัติ มีอรรถกถาฎีกา แก้ไว้พร้อมตามพระคัมภีร์ว่า กุปฺธมฺโม อกุปฺปธมฺโม ท่านแสดงตามคัมภีร์เสียพักหนึ่ง ว่าด้วยข้อฌาณโลกีย์ เสื่อมได้ในคนที่ควรเสื่อม ไม่เสื่อมได้ในคนที่ไม่ควรเสื่อม ฌาณก็เสื่อมไม่ได้ตามบาฬี แล้วอธิบายซ้ำว่า ธรรมดาฌาณโลกีย์เสื่อมได้เร็วก็จริงอยู่ แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของผู้ได้ฌาณมีความกระหายต่อเหตุการณ์ อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจเป็นของใหม่ ของเก่าก็ยังอาลัย สละทอดทิ้งเสียไม่ได้ เพราะเคยเสวยสุขคุ้นเคยกันมานาน ของเก่าคือฌาณที่ตนอาศัยสงบอารมณ์ก็เห็นมีคุณดีอยู่ของใหม่ตามข่าวบอกเล่ากันต่อมา และคนที่ควรเชื่อได้ชี้แจงอย่างถี่ถ้วนว่า ของใหม่ดีอย่างนั้นๆ แต่อาลัยของเก่ามาก จึงทิ้งไม่ได้ ทำไปไม่ได้ จะยึดสองฝ่ายก็ไม่ได้ เพราะของใหม่ไม่คุ้นกัน ไม่เคยเห็นใจกันผะอืดผะอมมากเสียดายของรักก็มีเสียดายของใหม่ คือรู้แน่ว่าพระสิทธาตถ์จะตรัสเป็นพระพุทธเจ้าก็มี แต่แกเสียใจว่าจะตายไปเสียก่อน และเห็นว่าพรหมโลกอยู่ในเงื้อมือแน่นอน แต่คุณของการพบพระพุทธเจ้านั้นจะทำประโยชน์สุขสมบัติอะไร กาลเทวินทร์ยังไม่รู้ จึงไม่อาจทำฌาณให้เสื่อม ทั้งเป็นบุคคลที่เป็นอุปปธรรมยังไม่เป็นคนที่ควรเสื่อมจากคุณธรรมที่ตนได้ตนถึงด้วย เปรียบเหมือนคนที่ป่วยไข้อยู่ จะกระทำกระปรี้กระเปร่าแข็งแรงคึกคัก กินข้าว กินน้ำ อร่อยอย่างคนธรรมดาดีดีนั้นไม่ได้ คนที่ดีดีผิวพรรณผุดผ่องจะมารยาทำป่วยไข้ จะนั่งห่มผ้าคลุมกรอมซอมซ่อพูดกระร่อกระแร่เป็นคนไข้ก็ทำไม่ได้ ทำให้คนอื่นแลเห็นรู้เป็นแน่ว่า คนที่ทำเป็นไข้นั้น เป็นไข้มารยาไข้ไม่จริง คนในเห็นคนนอกเป็นสุขสบายก็ออกมาเป็นคนนอกไม่ได้เหตุอาลัยความคุ้นเคยข้างในอยู่มาก คนนอกเห็นคนในนวยนาฏน้ำนวลผ่องใสด้วยผ้านุ่งห่ม แต่ไม่อาจเป็นคนในกับเขา เพราะเป็นห่วงอาลัยของข้างนอก จะไปเที่ยวชั่วคราวนั้นได้ แต่จะไปอยู่ทีเดียวไม่ได้ เพราะไม่ได้วางใจว่าเหตุการณ์ข้างในจะดีหรือเลวยังไม่แน่ใจ เป็นแต่กระหายอยู่เท่านั้น คนที่มีความสุขสบายอยู่ด้วยเพศบวชมาช้านาน แต่แลเห็นคนที่ไม่เคยบวชเที่ยวแตร่ กินนอน ดู ฟัง เล่นหัวสบาย ไม่มีเครื่องขีดคั่นอะไร บางคราวชาววัดบางคนเห็นดีแต่ไม่อาจออกไป เพราะถ้าออกไปไม่เหมือนเช่นเขา หรือเลวทรามกว่าเขา จะทุกข์ตรมระบมทวีมาก จะเดือดร้อนยิ่งใหญ่มาก ก็เป็นแต่นึกสนุกแต่ไม่ออกไปทำอย่างเขา เพราะอาลัยในความสุขในการบวชค้ำใจอยู่ออกไปไม่ได้ เป็นแต่ทำเอะอะฮึดฮัดไปตามเพลง คนที่ยังไม่เคยบวชนั้น เห็นว่าผู้บวชสบายไม่ต้องกังวลอะไรกินแล้วก็นอน นอนแล้วก็เที่ยวตามสบาย ไม่ต้องเหงื่อไหลไคลย้อย ไม่ต้องแสวงหาอาหารมีคนเลี้ยงคนเชิญน่าสบาย คนที่ไม่บวชคิดเห็นดีไปเพ้อๆ เท่านั้น แต่ไม่กล้าหันเข้ามาบวช เหตุว่ากามคุณทั้งห้าเหนี่ยวรั้งน้ำใจไว้ สละมาเอาอย่างผู้บวชไม่ได้ เลยนั่งดูกันไปดูกันมา เพราะยังไม่ถึงคราวจะบวช หรือยังไม่ถึงคราวจะสึก ก็ยังสึกและยังบวชไม่ได้นั่นเอง ข้ออุปมาทั้งหลายดังถวายวิสัชนามานี้ ก็มีอุปมัยเปรียบเทียบด้วยฌาณทั้ง ๙ ประการ ที่เป็นธรรมเสื่อมได้เร็วก็จริง แต่ยังไม่ถึงคราวเสื่อม ก็ยังเสื่อมไม่ได้ กาลเทวินทร์ดาบสก็เปรียบดังชาววัด ชาวบ้าน ชาวนอก ชาวใน ต่างเห็นของกันและกัน ไม่อาจแสร้งให้ฌาณเสื่อม ที่ตรงแกร้องไห้นั้น อาตมาภาพเข้าใจว่า แกร้องไห้เสียดายขันธ์ เพราะแกกล่าวโดยอันยังไม่รู้เท่าทันขันธ์ว่ามันเป็นสภาพแปรปรวนแตกดับเป็นธรรดาของมันเอง แต่เวลานั้นโลกยึดถือขันธ์มาช้านาน ที่กาลเทวินทร์เจริญอรูปฌาณจนสำเร็จก็เพราะคิดรักษาขันธ์ เพื่อมิให้ขันธ์พลันแตกสลายทำลาย จึงพยายามมาได้สำเร็จความปรารถนาและเสียดายหน้าตา ถ้าชีวิตของแกอยู่มาอีก ๓๖ ปี แกจะได้เข้าบรรจบประสบคุยกับหมู่พุทธบริษัทและหมู่พระประยูรญาติ และหมู่พุทธมามกะผู้นับถือ แกจะพลอยมีชื่อยกตัวเป็นครูอย่างดีกว่าที่แล้วมา แต่พระอรรถกถาจารย์ท่านไม่ว่าอย่างขรัวโตเห็นท่านว่าเพียงว่า กาลเทวินทร์เสียใจว่าจะตายเสียก่อนเท่านั้น ไม่ทันพระสิทธาตถ์เป็นพระพุทธเจ้าเท่านี้ ฯ
· เรื่องเทศน์ถวายและเฉลยพระปัญหาถวายสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ กรมหมื่อบำราบปรปักษ์ ตามที่เรียบเรียงไว้นี้ ได้ฟังมาจากสำนักพระปรีชาเฉลิม(แก้ว) เจ้าคุณพระปรีชาเฉลิม(แก้ว) ได้ฟังมาจากเจ้าคุณปรีชาเฉลิม(เกษ) พระปรีชาเฉลิม(เกษ) เป็นเปรียญ ๖ ประโยค อยู่วัดอรุณราชวรารามได้เป็นพระรับสัพพี จึงได้ยินเทศนาถวายของคุณธรรมกิตติ(โต) ภายหลังเลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ฯ
· ต่อแต่นั้นมาท่านก็มีชื่อเสียงในทางเทศน์ ตัดทอนธรรมะให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายไม่ต้องเสียเวลาไตร่ตรองสำนวน เพราะเทศน์อย่างคำไทยตรงๆ จะเอาข้อธรรมะอะไรมาแสดงก็ง่ายต่อผู้ฟังดังประสงค์ อย่างที่ถวายในวังสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลาฯ ผู้ฟังชมว่าดี เกิดโอชะในธรรมสวนะได้ง่าย โลกนิยมเทศน์อย่างนี้มาก พระธรรมกิตติแสดงธรรมตามภาษาชาวบ้าน ถือเอาความเข้าใจของผู้ฟังเป็นเกณฑ์ไม่ต้องร้อยกรอง ฯ
· ครั้นถึงปีชวดฉศก จุลศักราช ๑๒๒๖ ปี ได้ถูกนิมนต์เทศน์หน้าพระที่นั่ง พอเข้าไปถึงพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จออก จึงปราศรัยสัพยอก “ว่าไงเจ้าคุณ เขาพากันชมว่าเทศน์ดีนักนี่ วันนี้ต้องลองดู” พระธรรมกิตติ(โต) ถวายพระพรว่า “ผู้ที่ไม่มีความรู้เหตุผลในธรรม ครั้นเขาฟังรู้ เขาก็ชมว่าดี ขอถวายพระพร” พระองค์ทรงพระสรวล แล้วทรงถามว่า “ได้ยินข่าวเขาว่า เจ้าคุณบอกหวยเขาถูกกันจริงหรือ” ทูลว่า “ขอถวายพระพร อาตมาภาพจะขอแถลงแจ้งคำให้การแก้พระราชกระทู้ดดยสัจจ์ว่า ตั้งแต่อาตมาภาพได้อุปสมบทมา ไม่เคยออกวาจาว่าหวยจะออก ด กวางเหมงตรงๆ เหมือนดังบอก ด กวางเหมงแด่สมเด็จพระบรมบพิตร์ พระราชสมภารเจ้าอย่างวันนี้ไม่ได้เคยบอกแก่ใครเลย” ได้ทรงฟังแล้วพระสรวลอีกแล้วทรงจุดเทียน พระธรรมกิตติจับตาลปัตแฉกขึ้นธรรมมาสน์ เมื่ออาราธนาแล้ว ก็ถวายศีลแล้วถวายศักราช พอถึงปีชวดท่านก็ย้ำ “ฉศก ฉศก ฉศก ฉศก” สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังทรงพระอักษรอยู่ ได้ทรงฟังปีชวด ฉศก ย้ำๆ อยู่นาน ก็เงยพระพักรขึ้นพนมหัตถ์รับว่า “ถูกแล้ว ชอบแล้ว เจ้าคุณ” แต่กาลก่อนที่ล่วงมาแล้ว เดิมเลข ๖ ท้ายศักราช เขียนและอ่านต่อๆมาว่า “ฉ้อศอ” นั้นไม่ถูก แล้วรับสั่งกรมราชเลขาให้ตราพระราชบัญญัติ ออกประกาศเป็นใบปลิวให้รู้ทั่วกันทั่วพระราชอาณาจักร์ว่า “ตั้งแต่ปีชวด ฉศก เหมือนศกนี้มีเลข ๖ เป็นเศษท้าย ไม่ให้เขียนและอ่านว่า ฉ้อศก อย่าเขียนตัว อ เคียงไม่ให้เขียนไม้โท ลงไปเป็นอันขาด ให้เขียน ฉ เฉยๆก็พอ ถ้าเขียนและอ่านว่า ฉ้อศก อีก จะต้องว่าผู้นั้นผิดและฝ่าฝืน” กรมราชเลขาก็บันทึกและออกประกาศให้ทราบทั่วกัน และนิมนต์ท่านเทศน์ต่อไป ฯ
· พระธรรมกิตติก็ตั้งคัมภีร์บอกศักราชต่อจนจบ ถวายพรแล้วเดินคาถาจุณณียบท อันมีมาในพราหมณ์สังยุตตนิกายปฏิกวรรคนั้น แปลถวายว่า ยังมีพราหมณืผู้หนึ่งแกนั่งคิดว่า “สมณํ โคตมํ อุปสงฺกมิตฺวา อิมํ ปณฺหํ ปุจฺฉามิ อหํ กูจะเข้าไปหาพระสมณะโคดมแล้ว กูจะถามปัญหากับเจ้าสมณะโคดมดูสักหน่อย” สีสณฺหตฺวา ปารุปนํ นิวาเสตฺวา คามโตนิกฺขมิตฺวา เชตวน มหาวิหาราภิมุโข อคมาสิ” แปลว่า โสพฺราหฺมโณ พราหมณ์ผู้นั้น คิดฉะนี้แล้ว แกจึงลงอาบน้ำดำเกล้า โสพฺเภ ในห้วยแล้วแกออกจากบ้านแก แกตั้งหน้าตรงไป พระเชตวันมหาวิหาร ถึงแล้ว แกจึงตั้งข้อถามขึ้นต้น แกเรียกกระตุกให้รู้ตัวขึ้นก่อนว่า “โภ โคตม นี่แน่ะพระโคดม” ฯ
· ครั้นท่านว่ามาถึงคำว่า “นี่แน่ะพระโคดม”เท่านี้แล้ว ก็กล่าวว่า คำถามของพราหมณ์และคำเฉลยของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีอยู่เป็นประการใด สมเด็จพระบรมพิตร์เจ้าได้ทรงตรวจตราตริตรองแล้ว ก็ได้ทรงทราบแล้วทุกประการ ดังรับประทานวิสัชชนามาควรแก่เวลาแต่เพียงนี้ เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้ ขอถวายพระพร ฯ
· พอยถาสัพพีแล้ว ก็ทรงพระสรวลตบพระหัตถ์ว่า “เทศน์เก่งจริงพวกพราหมณ์ที่เขาถือตัวว่าเขารู้มากเขาแก่มาก เขาไม่ใคร่ยอมคำรพพระเจ้านักเขามาคุยๆ ถามๆ พอแก้รำคาญต่อนานๆ เขาก็เชื่อในธรรม เขาก็สำเร็จเป็นพระโสดาที่ความดำริห์ของพราหมณ์ผู้เจ้าทิฏฐิทั้งหลายเขาวางโตทุกคน เจ้าคุณแปล อหํ กูว่านั้น ชอบแท้ทางความดีจริงๆ รางวัล ก็ได้รับพระราชทานรางวัล ๑๖ บาท เติมท้องกัณฑ์ ๒0 บาท รวมเป็น ๓๖ บาท” ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
* (เรื่อง ฉศก เรื่องถวายเทศน์อย่างที่เรียงมานี้ พระปรีชาเฉลิมแก้วเคยเล่าให้ฟังเป็นพื้นจำมีอยู่บ้าง ซึ่งได้สืบถามพระธรรมถาวรอีกท่านก็รับว่าจริง แต่เทศน์ว่าอย่างไรนั้นลืมไป พระธรรมถาวรว่า แต่ความคิดของพราหมณ์ใช้คำว่ากู กูนี้ยังจำได้ เจ้าคุณธรรมถาวรเลยบอกต่อไปว่าวันที่ถวายเทศน์ถวาย ฉศก นี้ และถวาย ด กวางเหมงไว้ก่อนขึ้นเทศน์นั้นว่า วันนั้นหวยจำเพาะออก ด กวางเหมงจริงอย่างที่ท่านแก้พระราชกระทู้ว่า ไม่เคยบอกตัวตรงๆ กับใครๆ เหมือนดังบอกสมเด็จพระบรมพิตรวันนี้)
· ครั้นถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีชวดศกนี้เอง ทรงพระมหากรุณาโปรดเลื่อนสมณศักดิ์พระธรรมกิตติ(โต) ขึ้นเป็นพระเทพกวีราชาคณะผู้ใหญ่ในตำแหน่งสูง มีนิตยภัตร ๒๘ บาท ค่าเข้า ๑ บาท ฯ
· ครั้นออกพรรษาในปีชวดศกนั้นแล้ว พระเทพกระวี(โต) จึงลงมากวาดล้างกุฏิใหญ่ ๕ ห้อง ข้างคลองคูวัดระฆังข้างใต้ แล้วบอกบุญแก่บรรดาผู้ที่มาสันนิบาตให้ช่วยการทำบุญขึ้นกุฏิ ได้เผดียงสงฆ์ลงสวดมนต์ทั้งวัดที่กุฏินั้น ค่ำวันนั้นมีมหรสพฉลองผู้ที่ศรัทธานับถือลือไปถึงไหน ก็ได้มาช่วยงานถึงนั่น บรรดาผู้ที่มานั้นต่างก็หาเลี้ยงกันเอง งานที่ทำคราวนั้นเป็นงานใหญ่มาก เลี้ยงพระถึง ๕00 องค์ ผู้คนต่างนำสำรับคาวหวานเครื่องไทยทานมาถวายพระเทพกระวีแน่นวัดแน่นวา ครั้นการเลี้ยงพระเลี้ยงคนสำเร็จเรียบร้อย ท่านลงแจกด้ายผูกถักข้อมือคนละเส้น แล้วท่านบอกว่าดีนักจ๊ะ ลองดูจ๊ะตามประสงค์ ฯ
· ครั้นพระเทพกระวี(โต) ขึ้นอยู่บนกุฏิ ๕ ห้องแล้ว ผู้คนก็ละเล้าละลุมเพื่อจับหวยทุกวัน ครั้นนั้นพระยาโหราธิบดี ทำบุญฉลองสัญญาบัตร พระเทพกระวีก็ได้ไปสวดมนต์ไปฉัน ครั้นพระยาโหราธิบดี และเสมียนตราด้วง ปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหม (วัดอินทรวิหาร) สมเด็จพระสังฆราช (นาค) พระเทพกระวีก็ได้ไปเทศน์ไปฉันการฉลองวัด เมื่อท่านพระยานิกรบดินทร์สร้างวัดกัลยาณมิตรแล้วก็มีการฉลอง สมเด็จพระสังฆราช(นาค) พระเทพกระวี(โต) ก็ได้ไปฉันคราวพระยานิการบดินทร์สร้างโบสถ์วัดเกตุไชโย พระเทพกระวี(โต) ก็ได้ไปเป็นแม่งานฉลองโบสถ์ มีการมหรสพใหญ่โตตามประสาชาวบ้านนอกอำเภอไชโยนั้น มีพระสงฆ์ผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ขึ้นไปช่วยงานฉลองโบสถ์วัดเกตุไชโยนั้นมากท่านด้วยกัน ฯ
· ครั้นกาลล่วงมาสมเด็จพระวันรัตวัดมหาธาตุ ถึงมรณภาพแล้ว สมเด็จพระวันรัตเซ่ง วัดอรุณเป็นเจ้าคณะกลาง ครั้งนั้นพระอันดับในวัดระฆังทะเลาะกัน และฝ่ายหนึ่งได้ตีฝ่ายหนึ่งศีรษะแตก ฝ่ายศีรษะแตกได้เข้าฟ้องพระเทพกระวีเจ้าอาวาสๆ ก็ชี้หน้าว่าคุณตีเขาก่อน พระองค์หัวแตกเถียงว่าผมไม่ได้ทำอะไร องค์นั้นตีกระผม พระเทพกระวีว่าก็เธอตีเขาก่อน เขาก็ต้องตีเธอบ้าง พระก็เถียงว่าเจ้าคุณเห็นหรือ พระเทพกระวีเถียงว่าถึงฉันไม่ได้เห็นก็จริง แต่ฉันรู้อยู่นานแล้วว่าคุณตีเขาก่อน คุณอย่าเถียงฉันเลย พระองค์ศีรษะแตกเสียใจมาก จึงได้อุตส่าห์เดินลงไปวัดอรุณ เข้าอุทธรณ์ต่อสมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) เจ้าคณะกลาง ฯ

ส่วนสมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) จึงเรียกตัวพระเทพกระวี(โต) ไปชำระตามคำอุทธรณ์ พระเทพกระวี(โต) ก็โต้คำอุทธรณ์และตอบสมเด็จพระวันรัตว่า ผมรู้ดีกว่าเจ้าคุณอีก เจ้าคุณได้รู้แต่ว่าเห็นเขาหัวแตกเท่านั้น ไม่รู้ถึงเหตุในกาลเดิมมูลกรณี ผมรู้ดีว่าคุณองค์นั้นได้ตีคุณองค์นั้นก่อน แต่เขาบ่ห่อนจะรู้สึกตัว เขามามัวแต่ถือหัว หัวเขาจึงแตก ฯ
· สมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) ฟังๆ ก็นึกแปลก แยกวินิจฉัยก็ไม่ออก กลับจะเป็นคนถือเอาแต่คำบอก จึงย้อนถามว่า เจ้าคุณเห็นอย่างไรจึงรู้ได้ว่า พระองค์นี้ตีพระองค์นั้นก่อน แจ้งให้ฉันฟังสักหน่อยให้แลเห็นบ้าง จะได้ช่วยกันระงับอธิกรณ์ ฯ
· พระเทพกระวีว่า พระเดชพระคุณจะมีวิจารณ์ยกขึ้นพิจารณาแล้ว กระผมก็เต็มใจอ้างอิงพยานถวาย พระวันรัตว่า เอาเถอะผมจะตั้งใจฟังเจ้าคุณชี้พยานอ้างอิงมา พระเทพกระวีจึงว่า ผมทราบตามพุทธฎีกา บอกให้ผมทราบว่า นหิเวรานิวูปสัมมันติ ว่าเวรต่อเวรย่อมเป็นเวรกันร่ำไป ถ้าจะระงับเวรเสียด้วยไม่ตอบเวร เวรย่อมระงับ นี่แหละพระพุทธเจ้าบอกผมเป็นพยานกระผมว่าเวรต่อเวร มันจึงทำกันได้ ผมเห็นตามคำพระพุทธเจ้าบอกผมเท่านี้ ผมจึงวิจารณ์พิจารณากล้ากล่าวได้ว่า คุณตีเขาก่อน ฯ
· สมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) ชักงงใหญ่ จะเถียงก็ไม่ขึ้น เพราะท่านอ้างพุทธภาษิตจึงล้มเข้าหาพระเทพกระวี(โต) ว่าถ้ากระนั้นเจ้าคุณต้องระงับอธิกรณ์เรื่องนี้ว่าใครเป็นผู้ผิด ผู้ถูกโทษจะตกกับผู้ใด แล้วแต่เจ้าคุณจะตัดสินเถิด พระเทพกระวีมัดคำพระวันรัตว่าพระเดชพระคุณอนุญาติตามใจผม ผมจะชี้โทษชี้คุณให้ยินยอมพร้อมใจกันทั้งคู่ความทั้งผู้พิพากษาให้อธิกรณ์ระงับได้ ให้เวรระงับด้วย สมเด็จพระวันรัตก็อนุญาติ ฯ
· พระเทพกระวี(โต) ก็ประเล้าประโลมโน้มน้าวกล่าวธัมมิกถาพรรณาอานิสงฆ์ของผู้ระงับเวร พรรณาโทษของผู้ต่อเวรให้โจทย์จำเลยสลดจิต คิดเห็นบาปบุญคุณโทษ ปราโมทย์เข้าหากัน ท่านจึงแก้ห่อผ้าไตรออกกับเงินอีกสามตำลึง ทำขวัญองค์ที่ศีรษะแตกแยกบทชี้เป็นสามสถาน ผู้ตีตอบเอาเป็นหมวดเวรจักไม่ตีใครต่อไป ถ้าขืนไปตีใครอีกจะลงโทษว่าเป็นผู้ก่อเวรฝืนต่อพระบวรพุทธศาสนา มีโทษหนักฐานละเมิด ฯ
· ผู้ที่ถูกตีก็ระงับใจไม่อาฆาฏ ไม่มุ่งร้ายต่อก่อเวรอีก ถ้าขืนคดในใจทำหน้าไหว้หลังหลอกเอาฉันเป็นผู้ปกครอง หรือขืนฟ้องร้องกันต่อไป ว่าฉันเอนเอียงไม่เที่ยงธรรมแล้ว จะต้องโทษฐานบังอาจหาผู้ใหญ่ โดยหาความผิดมิได้ ทั้งจะเป็นเสี้ยนหนามต่อพระบวรพุทธศาสนาเป็นโทษใหญ่ร้อนถึงรัฐบาล จะต้องลงอาญาตามรบิลเมือง ฯ
· ฝ่ายฉันเป็นคนผิดเอาแต่ธุระอื่น ไม่สอดส่องดูแลลูกวัด ไม่คอยชี้แจงสั่งสอนอันเตวาสิก สัทธิงวิหาริก ให้รู้ธรรมรู้วินัย จึงลงโทษตามพระวินัยว่าไม่ควรย่อมเป็นโทษแท้ ขอคดีเรื่องนี้จะเลิกระงับไปตามวินัยนี้ พระถานาที่นั่งฟังทั้งมหาและพระอันดับพระคู่ความ ก็สาธุการเห็นดีพร้อมกันอย่างเย็นใจ พระวันรัต(เซ่ง) ก็เห็นดีสงบเรื่องลงเท่านี้ ฯ
· ครั้งหนึ่งพระวัดระฆังเต้นด่าท้าทายกันขึ้นอีกคู่ พระเทพกระวี(โต) ท่านเอกเขนกนั่งอยู่นอกกุฏิท่าน ท่านแลเห็นเข้า ทั้งได้ยินพระทะเลาะกันด้วย จึงลุกเข้าไปในกุฏิ จัดดอกไม้ธูปเทียนใส่พานรีบเดินเข้าไปในระหว่างวิวาท ซุดองค์ลงนั่งคุกเข่าไปถวายดอกไม้ธูปเทียนพระคู่นั้นแล้วอ้อนวอนวอนฝากตัวว่า พ่อเจ้าประคุณ พ่อจงคุ้มฉันด้วย ฉันฝากตัวกับพ่อด้วย ฉันเห็นจริงแล้วว่า พ่อเก่งเหลือเกิน เก่งพอได้เก่งแท้แท้ พ่อเจ้าประคุณ ลูกฝากตัวด้วย เลยพระคู่นั้นเลิกทะเลาะกัน มาคุกเข่ากราบพระเทพกระวีๆ ก็คุกเข่ากราบต่อพระ กราบกันอยู่นั่น หมอบกันอยู่นั่นนาน ฯ
· ครั้งหนึ่งสมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง) นิมนต์เข้าไปเทศน์ที่จวน สมเด็จเจ้าพระยาจุดเทียน พระเทพกวีขึ้นธรรมาสน์ ครั้นรับศีลเสร็จแล้ว พวกหัวเมืองเข้ามาหาสมเด็จเจ้าพระยาหมอกันเป็นแถว ส่วนตัวเจ้าพระยานั้นเอกเขนกรินน้ำชาไขว่ห้างกำลังพระเทศน์ พระเทพกวีเลยเทศน์ว่า สัมมามัวรินกินน้ำชามิจฉาหมอบก้มประนมมือ สมเด็จเลยบาดหูลุกเข้าเรือน ส่วนพระเทพกวีก็ลงจากธรรมาสน์กลับวัดระฆัง ข่าวว่าตึงกันไปนาน ฯ
· ครั้นสมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) ถึงมรณภาพแล้ว พระเทพกวีต้องเป็นผู้ใหญ่นั่งหน้า ครั้งหนึ่งเมื่อมีกิจการฉลองสวดมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระเทพกวีเป็นผู้ชักนำพระราชาคณะอ่อนๆ ลงมา ครั้นสวดเสร็จแล้วยถา พระรับสัพพีแล้วสวดคาถาโมทนาจบแล้ว พระเทพกวี(โต) จึงถวายอดิเรกขึ้นองค์เดียวดังนี้
อติเรกวสฺสตํ ชีวตุ อติเรกวสฺสตํ ชีวตุ อติเรกวสสฺตํ ชีวตุ ฑีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ สุขิโต โหตุ มหาราชา สิทฺธิกิจฺจำ สิทฺธิกัมมํ สิทฺธิลาโก ชโย นิจฺจํ มหาราชสฺส ภวตุ สพฺพทา ขอถวายพระพรดังนี้
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สมเด็จพระจอมเกล้าทรงโปรดมาก รับสั่งถามว่า แก้ลัดตัดเติมจะได้บ้างไหม พระเทพกระวี(โต) ถวายพระพรว่าอาตมาภาพได้เปยยาลไว้ในตัวบทคาถา สำหรับสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าได้ทรงตรอกลง ตามพระบรมราชอัธยาศัยแล้ว สมเด็จพระจอมเกล้าทรงตรอกซ้ำลงตรงฑีฆายุอีกบันทัดหนึ่ง ทรงตรอกลงที่หน้าศัพท์มหาราชสฺสเป็นปรเมนฺ ทรงมหาราชวรสฺส นอกนั้นคงไว้ตามคำพระเทพกระวี(โต) ทุกคำ แล้วตราพระราชบัญญัติประกาศไปทุกๆ พระอารามให้เป็นขนบธรรมเนียม ต้องให้พระราชาคณะผู้นั่งหน้าถวายคาถาอติเรกนี้ก่อน จึงรับภาตุสัพฯ จึงถวายพรลาออกจากพระที่นั่งได้ ตลอดจนการพระเมรุ การถวายพระกฐินทานตามพระอารามหลวง ต้องมีพระราชาคณะถวายอติเรกนี้ทุกคราวพระราชดำเนิน จึงเป็นราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้แล ฯ
· ครั้นถึงปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเทพกระวี(โต) ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รับหิรัญบัตรมีถานา ๑0 มีนิตยภัตร ๓๒ บาท ค่าข้าวสาร ๑ บาทต่อเดือน สมเด็จฯ มีชนมายุ ๗๔ พรรษา ๕๖ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีโสกันต์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโสกันต์คราวนี้มีเขาไกรลาศ รวมที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังมาได้ ๑๕ ปี จึงได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพพระมหานครแล ฯ
· ครั้งหนึ่งมีราชการโสกันต์ สังฆการีวางฎีกาว่าย่ำรุ่งถึง แล้วถวายพระพร ถวายชัยมงคลคาถา พระฤกษ์โสกันต์วางฎีกาสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ครั้นได้เวลาย่ำรุ่งตรงท่านก็มาถึง พระมหาปราสาทยังไม่เปิดพระทวารสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็มานั่งอยู่บนบันไดพระมหาปราสาทชั้นบน แล้วท่านก็สวดชัยมงคลคาถาชยันโตโพธิยาลั่นอยู่องค์เดียว สามจบแล้ว ท่านก็ไปฉันข้าวต้มที่ทิมสงฆ์ แล้วท่านก็ไปพักจำวัดในโรงม้าต้น ในพระบรมมหาราชวัง ครั้นเวลาสามโมงเช้า เสด็จออกจวนพระฤกษ์ สังฆการีประจุพระราชาคณะประจำที่หมดยังขาดแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์เดียว เที่ยวตามหากันลั่นไปหมด สมเด็จพระจอมทรงกริ้วใหญ่ พวกทนายเลือกสนมใน บอกต่อๆ กันเข้าไปว่าได้เห็นสมเด็จหายเข้าไปในโรงม้าต้นพวกสังฆการีเข้าไปค้นคว้าเอาองค์ท่านมาได้ ช่วยกัรรุนกันดันส่งเข้าไปในพระทวาร ครั้นทอดพระเนตร์เห็นก็กริ้วแหวรับสั่งว่าถอดๆ ไม่ระวังรั้วงานราชการเป็นขุนนางไม่ได้แฉกคืนๆ เร็วๆ เอาชยันโตทีเดียวขรัวโตก็เดินชยันโตจนถึงอาสน์สงฆ์ แล้วนั่งลงเข้าแถวสวด พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงคีบพระเมาฬี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ใหญ่ก็คีบแลโกนเป็นลำดับไป ครั้นเสด็จแล้วทรงประเคน อังคาสพระสงฆ์แล้วเสด็จเข้าในพระฉาก ฯ
· ขรัวโตฉันแล้วก็นั่งนิ่ง เสด็จออกเร่งให้ยถา ขรัวโตก็ยถาแต่ไม่ตั้งตาลิปัต เวลานั้นพระธุระมาก มัวหันพระพักตร์ไปรับสั่งราชกิจอื่นๆ พระพุฒาจารย์โต ก็เดินดุ่มๆ รีบออกไปลงเรือข้ามฟาก พอแปรพักตร์มารับสั่งว่าถวายอติเรก จะรีบฯ พระราชาคณะรองๆ ลงมา ก็ไม่มีใครกล้านั่งงันกันไปหมด รับสั่งถามว่า อ้าวสมเด็จหายไปไหน เขาทูลว่าท่านกลับไปแล้ว อ้าวพัดยังอยู่ ชรอยจะทำใจน้อยไม่เอาพัดไป เร็วเอาพัดไปส่งตัวมาถวายอติเรกก่อน สังฆการีรับออกเรือตามร้องเรียกเจ้าคุณขอรับ นิมนต์กลับมาก่อนเอาพัดแฉก ท่านร้องตอบมาว่า พ่อจะมาตั้งสมเด็จกลางแม่น้ำได้หรือ สังฆการีว่ารับสั่งให้หา ท่านก็ข้ามกลับมาเข้าทางประตูต้นสนดุ่มๆ ขึ้นมาบนพระปราสาท แล้วรับสั่งให้ถวายอติเรกเร็วๆ ฯ ทูลว่าขอถวายพระพรถวายไม่ได้ฯ รับสั่งถามว่าทำไมถวายไม่ได้ฯ ทูลว่าขอถวายพระพร เหตุพระราชบัญญัติตราไว้ว่า ให้พระราชาคณะถวายอติเรก บัดนี้อาตมภาพกลายเป็นพระอันดับแล้ว จึงไม่ควรถวายอติเรก ขอถวายพระพรฯ รับสั่งว่า อ้อจริงๆ เอาสิตั้งกันใหม่ กรมวังออกหมายตั้งสมเด็จ บอกวิเสศเลี้ยงพระอีก สังฆการีวางฎีกาเอาพระชุดนี้ก็ได้ วิเศสทำไม่ทันก็ทำแต่น้อยก็ได้เพียง ๕ องค์ ศุภรัตน์เตรียมผ้าไตรตั้งและพระไตรพระชยันโต แล้วเสด็จพวกสังฆการี วางฎีกาพระชุดโสกันต์กำหนดเวลาเลยกลับไม่ได้
ครั้นเวลา ๕ โมงเสด็จออกทรงประเคน พระฉันแล้ว (ประกาศตั้งสมเด็จ) ทรงประเคนหิรัญบัตร ประเคนไตร บาตร์ ตาลิปัต ย่าม พระชยันโต คราวนี้สมเด็จยกไตรแพรครองกลับเข้ามาอนุโมทนาแล้ว ถวายอติเรก ถวายพระพรลา เป็นอันเสร็จการไปคราวหนึ่ง ฯ
· ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมราชวัง ได้ทรงประเคนไตรแพร ท่านก็นำไตรแพรนั้นเช็ดปากเช็ดมือยุ่งไปหมด รับสั่งทักว่าไตรเขาดีดี เอาไปเช็ดเปรอะหมด ท่านตอบว่าอะไรถวายได้ผ้าเช็ดมือถวายไม่ได้ อาตมภาพก็ต้องเอาผ้าไตรของอาตมาเองเช็ดอาตมาเอง เป็นอันได้บริโภคของทายกแล้ว ไม่เป็นสัทธาเทยยวินิบาต ฯ
· ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมมหาราชวังอีก ถวายเงินองค์ละ ๒0 บาท สมเด็จทำดีใจรวบเงินใส่ย่ามกราว ทรงทักว่าอ้าว พระจับเงินได้หรือ ขอถวายพระพร เงินพระจับไม่ได้ผิดวินัย แต่ขรัวโตชอบ เรื่องแผลงๆ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) องค์นี้ ตั้งแต่เป็นพระธรรมกิตติ มาจนเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ต่อหน้าที่นั่งเสมอๆ มา แต่ก็ทรงอภัย ซ้ำพระราชทานรางวัลอีกด้วย ถึงวันรวบเงินนี้ ก็รางวัลอีก ๓0 บาท รวบใส่ย่ามทันที ครั้นหิ้วคอนย่ามออกมา คนนั้นล้วงบ้าง คนนี้ล้วงบ้าง จนหมดย่ามท่านคุยพึมว่า วันนี้รวยใหญ่ๆ ฯ
· ครั้นคราวหนึ่งนักองค์ด้วง เจ้าแผ่นดินเขมร กลุ้มพระหทัยมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เผดียงสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ให้ออกไปแสดงธรรมโปรดนักองค์ด้วง ณ เมืองเขมร คราวนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงกับบ่นที่วัดระฆังว่า สมเด็จพระนั่งเกล้าก็ไม่ใช่โง่ แต่ว่าใช้ขรัวโตไม่ได้ สมเด็จพระจอมเกล้าฉลาดว่องไวกลับมาได้ใช้ขรัวโต ฯ
· ครั้นถึงวันกำหนด ท่านก็พาพระถานา ๔ รูป ไปลงเรือสยามูปสดัมถ์ เจ้าพนักงานไปส่งถึงเมืองจันทบุรี แล้วขึ้นเกวียนไปทางเมืองตราด ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แขวงเมืองตราดนั้น เป็นตำบลที่มีเสือชุมมาก มันเผ่นเข้าขวางหน้าเกวียน เวลารอนๆ จวนค่ำ คนนำทางหน้าเกวียนจดพลองเล่นตีกับเสือ เจ้าเสือแยกเขี้ยวหื้อใส่รุกขนาบคนถือพลองถอยหลังทุกที จนถึงหน้าเกวียนสมเด็จ คนหน้าเกวียนยกเท้ายันคนถือพลองไว้ไม่ให้ถอย ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านเห็นเสือมีอำนาจดุมาก ท่านจึงบอกว่าเสือเขาจะธุระฉันคนเดียวดอกจ๊ะ ฉันจะพูดจาขอทุเลาเสือสักคืนในที่นี้ ครั้นแล้วท่านก็ลงส่งเกวียนส่งคนให้ไปคอยอยู่ข้างหน้า ท่านก็นอนขวางทางเสือเสีย เสือก็นั่งเฝ้าท่านคืนหนึ่ง เสือก็ไปไหนไม่ได้ จะไปไล่คนอื่นก็ไปไม่ได้ต้องเฝ้ายามสมเด็จยันรุ่ง ครั้นเวลาเช้าท่านเชิญเสือให้กลับไป แล้วท่านลาเสือว่า ฉันลาก่อนจ๊ะ เพราะมีราชกิจใช้ให้ไปจ๊ะ ว่าแล้วท่านก็เดินตามเกวียนไปทันกันแล้วท่านเล่าให้พระครูปลัดฟัง (พระครูปลัดคือ พระธรรมถาวรเดี๋ยวนี้) พวกครัวก็หุงต้มเลี้ยงท่าน เลี้ยงกันเสร็จแล้วก็นิมนต์สมเด็จขึ้นเกวียนคนลาก ท่านไม่ชอบวัวควายเทียมเกวียน ฯ
· ครั้นไปถึงเมืองพระตระบอง ข้าหลวงฝ่ายสยามบอกการเข้าไปถึง กรมเมืองเมืองเขมร กรมเมืองทราบแล้ว นำความทูลนักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมร ๆ เขมรทรงทราบ แล้วสั่งคนนำแคร่ออกไปรับสมเด็จ เข้าไปถึงในวัง กระทำความเคารพปฏิสันฐาน ปราศรัยปรนนิบัติแก่สมเด็จเป็นอันดี แล้วสั่งให้จัดการเลี้ยงดูข้าหลวง และผู้คนที่เชิญสมเด็จมานั้น แล้วให้จัดที่พักที่อยู่ให้ตามสมควร ครั้นเวลาเช้าจัดแจงตั้งธรรมาสน์บอกกล่าวพระยาพระเขมร แล้วเจ้านายฝ่ายเขมรตลอดพ่อค้าคฤหบดีเขมร ให้มาฟังธรรมของสมเด็จจอมปราชญ์สยาม สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามรับสั่งโปรดให้สมเด็จพระพุฒาจารย์มาโปรดเขมร เขมรทั้งหลายต่างก็ยินดีเต็มใจ พร้อมใจกันมาฟังเทศนาสมเด็จทุกตัวคน ฯ
· ครั้นเพลแล้วก็อาราธนาให้ขึ้นเทศน์ สมเด็จก็เลือกเฟ้นหาธรรมะนำมายกขึ้นแสดงชี้แจงและแปลงแก้ไขเป็นภาษาเขมร ให้พวกเขมรเข้าใจต่อตลอดมา ถึงพระมหากรุณาธิคุณของกรุงสยามด้วย เชื่อมกับสาสนปสาสน์ และพระรัฏฐปสาสน์ ให้กลมเกลียวกลืนกันเทศน์ให้ยึดโยงหยั่งถึงกัน ชักเอาเหตุผลตามชาดกต่างๆ พระสูตรต่างๆ ทางพระวินัยต่างๆ อานิสงษ์สันติภาพ และอานิสงษ์สามัคคีธรรม นำมาปรุงเป็นเทศนากัณฑ์หนึ่ง ครั้นจบลงแล้วนักองค์จันทร์มารดานักองค์ด้วง ได้สละราชบุตร ราชธิดา บูชาธรรม และสักการะด้วยแก้วแหวนเงินทองผ้าผ่อน และขัชชะโภชาหารตระการต่างๆ เขมรนอกนั้นก็เลื่อมใส เห็นจริงตามเทศนาของสมเด็จทุกคน และต่างก็เกิดความเลื่อมใสในองค์เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สมเด็จพระจอมเกล้าทรงโปรดมาก รับสั่งถามว่า แก้ลัดตัดเติมจะได้บ้างไหม พระเทพกระวี(โต) ถวายพระพรว่าอาตมาภาพได้เปยยาลไว้ในตัวบทคาถา สำหรับสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าได้ทรงตรอกลง ตามพระบรมราชอัธยาศัยแล้ว สมเด็จพระจอมเกล้าทรงตรอกซ้ำลงตรงฑีฆายุอีกบันทัดหนึ่ง ทรงตรอกลงที่หน้าศัพท์มหาราชสฺสเป็นปรเมนฺ ทรงมหาราชวรสฺส นอกนั้นคงไว้ตามคำพระเทพกระวี(โต) ทุกคำ แล้วตราพระราชบัญญัติประกาศไปทุกๆ พระอารามให้เป็นขนบธรรมเนียม ต้องให้พระราชาคณะผู้นั่งหน้าถวายคาถาอติเรกนี้ก่อน จึงรับภาตุสัพฯ จึงถวายพรลาออกจากพระที่นั่งได้ ตลอดจนการพระเมรุ การถวายพระกฐินทานตามพระอารามหลวง ต้องมีพระราชาคณะถวายอติเรกนี้ทุกคราวพระราชดำเนิน จึงเป็นราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้แล ฯ
· ครั้นถึงปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเทพกระวี(โต) ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รับหิรัญบัตรมีถานา ๑0 มีนิตยภัตร ๓๒ บาท ค่าข้าวสาร ๑ บาทต่อเดือน สมเด็จฯ มีชนมายุ ๗๔ พรรษา ๕๖ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีโสกันต์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโสกันต์คราวนี้มีเขาไกรลาศ รวมที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังมาได้ ๑๕ ปี จึงได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพพระมหานครแล ฯ
· ครั้งหนึ่งมีราชการโสกันต์ สังฆการีวางฎีกาว่าย่ำรุ่งถึง แล้วถวายพระพร ถวายชัยมงคลคาถา พระฤกษ์โสกันต์วางฎีกาสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ครั้นได้เวลาย่ำรุ่งตรงท่านก็มาถึง พระมหาปราสาทยังไม่เปิดพระทวารสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็มานั่งอยู่บนบันไดพระมหาปราสาทชั้นบน แล้วท่านก็สวดชัยมงคลคาถาชยันโตโพธิยาลั่นอยู่องค์เดียว สามจบแล้ว ท่านก็ไปฉันข้าวต้มที่ทิมสงฆ์ แล้วท่านก็ไปพักจำวัดในโรงม้าต้น ในพระบรมมหาราชวัง ครั้นเวลาสามโมงเช้า เสด็จออกจวนพระฤกษ์ สังฆการีประจุพระราชาคณะประจำที่หมดยังขาดแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์เดียว เที่ยวตามหากันลั่นไปหมด สมเด็จพระจอมทรงกริ้วใหญ่ พวกทนายเลือกสนมใน บอกต่อๆ กันเข้าไปว่าได้เห็นสมเด็จหายเข้าไปในโรงม้าต้นพวกสังฆการีเข้าไปค้นคว้าเอาองค์ท่านมาได้ ช่วยกัรรุนกันดันส่งเข้าไปในพระทวาร ครั้นทอดพระเนตร์เห็นก็กริ้วแหวรับสั่งว่าถอดๆ ไม่ระวังรั้วงานราชการเป็นขุนนางไม่ได้แฉกคืนๆ เร็วๆ เอาชยันโตทีเดียวขรัวโตก็เดินชยันโตจนถึงอาสน์สงฆ์ แล้วนั่งลงเข้าแถวสวด พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงคีบพระเมาฬี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ใหญ่ก็คีบแลโกนเป็นลำดับไป ครั้นเสด็จแล้วทรงประเคน อังคาสพระสงฆ์แล้วเสด็จเข้าในพระฉาก ฯ
· ขรัวโตฉันแล้วก็นั่งนิ่ง เสด็จออกเร่งให้ยถา ขรัวโตก็ยถาแต่ไม่ตั้งตาลิปัต เวลานั้นพระธุระมาก มัวหันพระพักตร์ไปรับสั่งราชกิจอื่นๆ พระพุฒาจารย์โต ก็เดินดุ่มๆ รีบออกไปลงเรือข้ามฟาก พอแปรพักตร์มารับสั่งว่าถวายอติเรก จะรีบฯ พระราชาคณะรองๆ ลงมา ก็ไม่มีใครกล้านั่งงันกันไปหมด รับสั่งถามว่า อ้าวสมเด็จหายไปไหน เขาทูลว่าท่านกลับไปแล้ว อ้าวพัดยังอยู่ ชรอยจะทำใจน้อยไม่เอาพัดไป เร็วเอาพัดไปส่งตัวมาถวายอติเรกก่อน สังฆการีรับออกเรือตามร้องเรียกเจ้าคุณขอรับ นิมนต์กลับมาก่อนเอาพัดแฉก ท่านร้องตอบมาว่า พ่อจะมาตั้งสมเด็จกลางแม่น้ำได้หรือ สังฆการีว่ารับสั่งให้หา ท่านก็ข้ามกลับมาเข้าทางประตูต้นสนดุ่มๆ ขึ้นมาบนพระปราสาท แล้วรับสั่งให้ถวายอติเรกเร็วๆ ฯ ทูลว่าขอถวายพระพรถวายไม่ได้ฯ รับสั่งถามว่าทำไมถวายไม่ได้ฯ ทูลว่าขอถวายพระพร เหตุพระราชบัญญัติตราไว้ว่า ให้พระราชาคณะถวายอติเรก บัดนี้อาตมภาพกลายเป็นพระอันดับแล้ว จึงไม่ควรถวายอติเรก ขอถวายพระพรฯ รับสั่งว่า อ้อจริงๆ เอาสิตั้งกันใหม่ กรมวังออกหมายตั้งสมเด็จ บอกวิเสศเลี้ยงพระอีก สังฆการีวางฎีกาเอาพระชุดนี้ก็ได้ วิเศสทำไม่ทันก็ทำแต่น้อยก็ได้เพียง ๕ องค์ ศุภรัตน์เตรียมผ้าไตรตั้งและพระไตรพระชยันโต แล้วเสด็จพวกสังฆการี วางฎีกาพระชุดโสกันต์กำหนดเวลาเลยกลับไม่ได้
ครั้นเวลา ๕ โมงเสด็จออกทรงประเคน พระฉันแล้ว (ประกาศตั้งสมเด็จ) ทรงประเคนหิรัญบัตร ประเคนไตร บาตร์ ตาลิปัต ย่าม พระชยันโต คราวนี้สมเด็จยกไตรแพรครองกลับเข้ามาอนุโมทนาแล้ว ถวายอติเรก ถวายพระพรลา เป็นอันเสร็จการไปคราวหนึ่ง ฯ
· ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมราชวัง ได้ทรงประเคนไตรแพร ท่านก็นำไตรแพรนั้นเช็ดปากเช็ดมือยุ่งไปหมด รับสั่งทักว่าไตรเขาดีดี เอาไปเช็ดเปรอะหมด ท่านตอบว่าอะไรถวายได้ผ้าเช็ดมือถวายไม่ได้ อาตมภาพก็ต้องเอาผ้าไตรของอาตมาเองเช็ดอาตมาเอง เป็นอันได้บริโภคของทายกแล้ว ไม่เป็นสัทธาเทยยวินิบาต ฯ
· ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมมหาราชวังอีก ถวายเงินองค์ละ ๒0 บาท สมเด็จทำดีใจรวบเงินใส่ย่ามกราว ทรงทักว่าอ้าว พระจับเงินได้หรือ ขอถวายพระพร เงินพระจับไม่ได้ผิดวินัย แต่ขรัวโตชอบ เรื่องแผลงๆ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) องค์นี้ ตั้งแต่เป็นพระธรรมกิตติ มาจนเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ต่อหน้าที่นั่งเสมอๆ มา แต่ก็ทรงอภัย ซ้ำพระราชทานรางวัลอีกด้วย ถึงวันรวบเงินนี้ ก็รางวัลอีก ๓0 บาท รวบใส่ย่ามทันที ครั้นหิ้วคอนย่ามออกมา คนนั้นล้วงบ้าง คนนี้ล้วงบ้าง จนหมดย่ามท่านคุยพึมว่า วันนี้รวยใหญ่ๆ ฯ
· ครั้นคราวหนึ่งนักองค์ด้วง เจ้าแผ่นดินเขมร กลุ้มพระหทัยมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เผดียงสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ให้ออกไปแสดงธรรมโปรดนักองค์ด้วง ณ เมืองเขมร คราวนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงกับบ่นที่วัดระฆังว่า สมเด็จพระนั่งเกล้าก็ไม่ใช่โง่ แต่ว่าใช้ขรัวโตไม่ได้ สมเด็จพระจอมเกล้าฉลาดว่องไวกลับมาได้ใช้ขรัวโต ฯ
· ครั้นถึงวันกำหนด ท่านก็พาพระถานา ๔ รูป ไปลงเรือสยามูปสดัมถ์ เจ้าพนักงานไปส่งถึงเมืองจันทบุรี แล้วขึ้นเกวียนไปทางเมืองตราด ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แขวงเมืองตราดนั้น เป็นตำบลที่มีเสือชุมมาก มันเผ่นเข้าขวางหน้าเกวียน เวลารอนๆ จวนค่ำ คนนำทางหน้าเกวียนจดพลองเล่นตีกับเสือ เจ้าเสือแยกเขี้ยวหื้อใส่รุกขนาบคนถือพลองถอยหลังทุกที จนถึงหน้าเกวียนสมเด็จ คนหน้าเกวียนยกเท้ายันคนถือพลองไว้ไม่ให้ถอย ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านเห็นเสือมีอำนาจดุมาก ท่านจึงบอกว่าเสือเขาจะธุระฉันคนเดียวดอกจ๊ะ ฉันจะพูดจาขอทุเลาเสือสักคืนในที่นี้ ครั้นแล้วท่านก็ลงส่งเกวียนส่งคนให้ไปคอยอยู่ข้างหน้า ท่านก็นอนขวางทางเสือเสีย เสือก็นั่งเฝ้าท่านคืนหนึ่ง เสือก็ไปไหนไม่ได้ จะไปไล่คนอื่นก็ไปไม่ได้ต้องเฝ้ายามสมเด็จยันรุ่ง ครั้นเวลาเช้าท่านเชิญเสือให้กลับไป แล้วท่านลาเสือว่า ฉันลาก่อนจ๊ะ เพราะมีราชกิจใช้ให้ไปจ๊ะ ว่าแล้วท่านก็เดินตามเกวียนไปทันกันแล้วท่านเล่าให้พระครูปลัดฟัง (พระครูปลัดคือ พระธรรมถาวรเดี๋ยวนี้) พวกครัวก็หุงต้มเลี้ยงท่าน เลี้ยงกันเสร็จแล้วก็นิมนต์สมเด็จขึ้นเกวียนคนลาก ท่านไม่ชอบวัวควายเทียมเกวียน ฯ
· ครั้นไปถึงเมืองพระตระบอง ข้าหลวงฝ่ายสยามบอกการเข้าไปถึง กรมเมืองเมืองเขมร กรมเมืองทราบแล้ว นำความทูลนักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมร ๆ เขมรทรงทราบ แล้วสั่งคนนำแคร่ออกไปรับสมเด็จ เข้าไปถึงในวัง กระทำความเคารพปฏิสันฐาน ปราศรัยปรนนิบัติแก่สมเด็จเป็นอันดี แล้วสั่งให้จัดการเลี้ยงดูข้าหลวง และผู้คนที่เชิญสมเด็จมานั้น แล้วให้จัดที่พักที่อยู่ให้ตามสมควร ครั้นเวลาเช้าจัดแจงตั้งธรรมาสน์บอกกล่าวพระยาพระเขมร แล้วเจ้านายฝ่ายเขมรตลอดพ่อค้าคฤหบดีเขมร ให้มาฟังธรรมของสมเด็จจอมปราชญ์สยาม สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามรับสั่งโปรดให้สมเด็จพระพุฒาจารย์มาโปรดเขมร เขมรทั้งหลายต่างก็ยินดีเต็มใจ พร้อมใจกันมาฟังเทศนาสมเด็จทุกตัวคน ฯ
· ครั้นเพลแล้วก็อาราธนาให้ขึ้นเทศน์ สมเด็จก็เลือกเฟ้นหาธรรมะนำมายกขึ้นแสดงชี้แจงและแปลงแก้ไขเป็นภาษาเขมร ให้พวกเขมรเข้าใจต่อตลอดมา ถึงพระมหากรุณาธิคุณของกรุงสยามด้วย เชื่อมกับสาสนปสาสน์ และพระรัฏฐปสาสน์ ให้กลมเกลียวกลืนกันเทศน์ให้ยึดโยงหยั่งถึงกัน ชักเอาเหตุผลตามชาดกต่างๆ พระสูตรต่างๆ ทางพระวินัยต่างๆ อานิสงษ์สันติภาพ และอานิสงษ์สามัคคีธรรม นำมาปรุงเป็นเทศนากัณฑ์หนึ่ง ครั้นจบลงแล้วนักองค์จันทร์มารดานักองค์ด้วง ได้สละราชบุตร ราชธิดา บูชาธรรม และสักการะด้วยแก้วแหวนเงินทองผ้าผ่อน และขัชชะโภชาหารตระการต่างๆ เขมรนอกนั้นก็เลื่อมใส เห็นจริงตามเทศนาของสมเด็จทุกคน และต่างก็เกิดความเลื่อมใสในองค์เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงได้ฝากนางธิดากุมารี ไว้กับมารดาเจ้านักองค์ด้วงรับมาแต่เจ้ากุมารชายคนเดียว นักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมรจึงจัดการส่งสมเด็จ มีเกวียนส่งเข้ามาจนถึงเมืองตราด เจ้าเมืองตราดจัดเกวียนส่งมาถึงเมืองจันทบุรี เจ้าเมืองจันทบุรีจัดเรือใบเรือเสาส่งเข้ามาถึงกรุงเทพพระมหานครจอดหน้าวัดระฆังทีเดียว ฯ
· ครั้นรุ่งเช้าสมเด็จพระพุฒาจารย์จึงเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เสด็จออกรับและทรงสดับรายงาน การที่ไปและไปถึง และเจ้าเขมรยินดีรับรองเลื่อมใส ได้เทศน์โปรดด้วยข้อนั้น นำข้อนั้นเทียบข้อนั้น ให้เจ้าเขมรเข้าใจด้วยนัยอย่างนั้น ลงมติอย่างนั้นตลอดเสนาเขมรทั่วกัน เขมรบูชาธรรมเป็นธรรมพลีบรรณาการมาอย่างนั้นเท่านั้น ของเท่านั้นๆ ให้ทรงถวายโดยละเอียดทุกประการ ฯ
· สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบรายงานของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) บรรยายถวาย เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ทรงนิยมชมเชยความสามารถของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงทรงยินดีถวายเครื่องกัณฑ์ที่ได้มานั้น จงเป็นสรรพสิทธิของเจ้าคุณทั้งหมด ทั้งทรงปวารณาว่าเจ้าคุณประสงค์สิ่งอะไร พอที่โยมจะอนุญาตได้โยมก็จะถวายแล้วก็เสด็จขึ้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ก็กลับวัดระฆัง ฯ
· ครั้นหายเหนื่อยสองสามวัน จึงเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เสด็จออกรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขอถวายพระพร ขอพระบรมราชานุญาตที่ดินที่วัดเกตุไชโยเท่านั้นวา ขอพระราชานุญาตสร้างพระใหญ่นั่งหน้าตัก ๘ วาไว้ในอำเภอไชโย ขอให้ทรงพระกรุณารับสั่งเจ้าเมืองกรมการให้วัด ให้มีพระราชลัญจกรประทับ รับสั่งว่าดีแล้ว จึงเป็นแบบที่ต้องขอพระบรมราชานุญาตก่อน ต้องมีบัตรพระราชลัญจกรอนุญาตแล้วจึงเป็นวิสุงคาม ทรงพระกรุณาโปรดมีใบพระบรมราชานุญาต ประทับตราแผ่นดินถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เลยตราพระราชบัญญัติวิสุงคามสีมาต่อไปในคราวนั้นเป็นลำดับมา ฯ
· สมเด็จจึงจำหน่ายเครื่องกัณฑ์เทศน์จากเมืองเขมรลงเป็นอิฐ เป็นปูน เป็นทราย เป็นค่าแรงงานคน เป็นทุนรองงานขึ้นไปจัดการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ ที่ริมวัดเกตุไชโย เจ้าเมืองกรมการก็มารางวัดที่ตามที่มีท้องตราบังคับ ราชบุรุษทั้งปวงให้สมเด็จนำชี้ที่ สมเด็จก็ชี้หมดทั้งวัด และชี้ที่สร้างพระวิหารวัดเกตุ สำหรับคลุมองค์พระ และชี้ที่ถานสุกะชี ชี้ที่สร้างองค์พระ ราชบุรุษก็วัดตามประสงค์ ชี้ที่โบถ์ด้วย ชี้ที่อุปจารทั้งหมดด้วย รวมเนื้อที่วัดเกตุไชโยมีประมาณแจ้งอยู่ในบัญชีหรดารของหลวงเสร็จแล้ว ฯ
· เมื่อกำลังสร้างพระใหญ่องค์นี้ พระยานิกรบดินทร์ และอำมาตย์ราชตระกูล ราษฎรพ่อค้าแม่ค้า คฤหบดี และสมเด็จพระจอมเกล้า สมเด็จพระปิ่นเกล้า และแขก ฝรั่ง เขมร ลาว มอญ จีน ก็ได้เข้าส่วนด้วยมากบ้างน้อยบ้าง สร้างอยู่นานเกือบสามปีจึงสำเร็จ จึงได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง พระราชทานนามว่า วัดเกตุไชโย แปลว่า พระธงไชย วัดธงไชย ในอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีอธิบายว่า รถต้องมีธงที่งอนรถ เป็นที่ปรากฏประเทศ เมืองหลวงว่า ราชรัฏฐะต้องมีธงทุกประเทศ ทุกชาติ ทุกภาษา พระศาสนาก็ควรมีธงประกาศให้เทวดา มนุษย์ รู้ว่าประเทศนี้นับถือพระพุทธศาสนา จึงสมมุติพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ เป็นประดุจดังธงไชย ให้ปลิวไปปลิวมาปรากฏทั่วกัน เหตุนั้นเทพยดาผู้มีฤทธิ์จึงเข้าสถิตย์ในองค์พระปฏิมากร จึงได้ศักดิ์สิทธิ์ลือขจรทั่วนานาทิศาภาคย์ คนหมู่มากเส้นสรวงบวงบน ให้คุ้มกันรักษาช่วยทุกข์ร้อนยากจน บางคนบางคราวก็ได้สมมาตร์ปรารถนาจึงมีผู้สักการะบูชามิได้ขาด เป็นด้วยอำนาจสัจจาธิฐานของสมเด็จบรมพิตรพระราชสมภารเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงปณิธานไว้อย่างหนึ่ง เป็นไปด้วยความสัจความจริงที่ดีที่แท้ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านแน่วแน่อยู่ในเมตตา กรุณา หวังว่าจะให้เป็นประโยชน์แล ความสุขสวัสดิมงคลแก่ปัจฉิมชนิกชน แต่บรรดาที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้บูชาได้หยั่งน้ำใจแน่วแน่ลงไปถึงคุณพระพุทธเจ้าว่า มีพระคุณแก่สัตว์โลกพ้นประมาณ พระจึงบันดาลเปล่งแสงออกมาด้วยอำนาจเทวดารักษา แสดงอิทธิฤทธิ์ออกรับเส้นสรวงบวงบนของคนที่ตั้งใจมาจริง จึงให้สำเร็จประโยชน์สมคิดทุกสิ่งทุกประการ ฯ
· แหละในขณะระหว่างการสร้างพระนั้น ท่านได้ขึ้นไปดูแลกิจการต่างๆ อยู่เสมอได้ตั้งพระสมุห์ไว้องค์หนึ่ง ชื่อพระสมุห์จั่น พระสมุห์จั่นได้เล่าให้ใครๆ ฟังอยู่เสมอว่า ได้ถามสมเด็จดูว่า พระโพธิสัตว์นั้นจะรู้จักได้อย่างไร สมเด็จก็ชูแขนของท่านว่าจงคลำดูแขนขรัวโต ครั้นพระสมุห์และใครๆ คลำแขนก็เห็นเป็นกระดูกท่อนเดียว ฯ
· ครั้งหนึ่งท่านตั้งขรัวตาขุนเณรเป็นพระวัดชีปะขาว เป็นที่พระอุปัชฌาย์ เมื่อแห่จากวัดมาวัดเกตุไชโยแล้ว นั่งพร้อมกันบนอาสน์สงฆ์ สมเด็จเจ้าโตอุ้มไตรเข้าไปกระแทกลงที่ตักขรัวตาขุนเณรแล้วออกวาจาว่า ฉันให้ท่านเป็นอุปัชฌาย์หนาจ๋า พระอื่นก็เศกชยันโตโพธิยา ฯ
· ขรัวตาทองวัดเกตุไชโยเล่าว่า ท่านได้ทันเห็นสมเด็จฝังตุ่มใหญ่ไว้เหนือพระโตแล้วเอาเงินใส่ไว้ ๑ บาท เอากระเบื้องหน้าวัวปิดหลุมไว้ ครั้งหนึ่งท่านขึ้นไปตรวจงานที่วัดเกตุไชโย ท่านป่าวร้องชาวบ้านมาช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระบนศาลา ท่านแจกทานของท่านคนละเหรีญ ฬศ ๑ ในรัชกาลที่ ๔ กับผ้าขาวคนละฝ่ามือจนทั่วกันหมดทุกคน ครั้นตอนสุดที่พระแล้วท่านขึ้นไปที่วัดเกตุไชโย สัปปรุสเอาแคร่คานหามลงไปรับท่าน ครั้นท่านนั่งมาบนแคร่แล้วสองมือเหนี่ยวแคร่ไว้แน่น ปากก็ว่าไปไม่หยุดว่า หามเขาดีดีจ๊ะ อย่าให้เขาตกหนาจ๋า เขาเป็นของหลวงหนาจ๋า ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทำแปลกๆ ทำขันๆ พูดแปลกๆ พูดขันๆ แต่พูดทำแล้วแล้วไม่ซ้ำยักร่ำไป ได้ปรากฏทันตาเห็นทันหูได้ยินแจ้วๆ แว่วๆ อยู่จนทุกวันนี้ เมื่อการสร้างพระเสร็จถวายเป็นวัดหลวงแล้ว ทรงรับเข้าทะเบียนแล้ว ท่านอยู่ในกรุงเทพ ท่านก็ไม่มีเวลาว่างเปล่าสักวันเดียว มีผู้คนไปมาหาสู่ไม่ขาดสาย จนท่านต้องนำปัสสาวะสาดกุฏิบ้าง เอาทาหัวบ้างจนหัวเหลือง ต้องมาพักผ่อนอารมณ์ในป่าช้าผีดิบวัดสระเกษ เป็นที่สำราญของท่านมาก จนพวกวัดสระเกษหล่อรูปท่านไว้ ปรากฏจนทุกวันนี้ กุฏิเก่าเขาสร้างถวายท่านหลังหนึ่ง ท่านเขียนภาษิตไว้ในกุฏินี้บทหนึ่งยาวมาก จำได้บ้าง ๒ วรรค ท่านว่า “อย่าอวดกล้ากับผี อย่าอวดดีกับตาย” บางวันก็ไปผ่อนอารมณ์อยู่ในวัดบางขุนพรหม มีคนแถบนั้นนิยมนับถือท่านมาก บางรายถวายที่สวนเข้าเป็นที่วัดก็มากเต็มไปทั้ง ๔ ทิศ ทางตะวันตกถึงแม่น้ำซึ่งเป็นวัดทั้ง ๒ อยู่ในบัดนี้ ฝั่งเหนือจดคลองตะวันออกก็เป็นพรมแดนกับบ้านพานบ้านหล่อ พระนคร เป็นวัดกลางสวน ท่านจึงสร้างพระคิด จะสร้างพระปางโปรดยักษ์ตนหนึ่งในป่าไม้ตะเฆียน ท่านคิดจะทำพระนั่งบนตอไม้ตะเฆียนใหญ่ ท่านจึงเตรียมอิฐ ปูน ทราย ช่างก่อ แต่เป็นการไม่เร่ง ท่านก่อตอไม้ขึ้นก่อนแล้วก่อขาพระเป็นลำดับขึ้นไป อนุมาณดูราวๆ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ ปี ทำพระพิมพ์ ๓ ชนิด สามชั้นนั้น ๘๔000 องค์ ทำด้วยผงบ้างลานจานเผาบ้าง กระดาษว่าว เขียนยันต์เผาบ้าง ปูนบ้าง น้ำมันบ้าง ชันบ้าง ปูนแดงบ้าง น้ำลายบ้าง เสลดบ้าง เมื่อเข้าไปมองดูคนตำคนโขลก มีจามมีไอขึ้นมา ท่านก็บอกว่าเอาใส่เข้าลงด้วย เอาใส่เข้าลงด้วย แล้วว่าดีนักจ๊ะ ดีนักจ๊ะ เสร็จแล้วตำผสมปูนเพ็ชร์ กลางคืนก็นั่งภาวนาไปกดพิมพ์ไป ตั้งแต่ยังเป็นพระเทพกวี จนเป็นพระพุฒาจารย์ พระยังไม่แล้ว ยังอีก ๘ หมื่น ๔ พัน ที่สามกับที่สี่ ฯ
· ครั้นถึงปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓0 ปี ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลายามกับ ๑ บาท นาฬิกา สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระชนมายุศม์ได้ ๖๔ พรรษา เถลิงถวัลยราชได้ ๑๗๖ เดือนกับ ๑๔ วัน เวลานั้น อายุสมเด็จได้ ๘๑ ปี เป็นสมเด็จมาได้ ๓ ปีเศษ ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เมื่อสมเด็จทราบแน่ว่า สมเด็จพระจอมเกล้าสวรรคตแล้ว ท่านเดินร้องไห้รอบวัดเดินบ่นได้ด้วยร้องไห้ไปด้วยว่าสิ้นสนุกแล้วๆ ครั้งนี้ๆ สิ้นสนุกแล้ว เดินร้องไห้โฮๆ รอบวัดระฆัง ดังจนใครๆ ได้ยิน ครั้นสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเถลิงถวัลยราชสืบสันตติวงศ์แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงทำพระพิมพ์ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น ขึ้นอีก ตั้งใจว่าจะถวายสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ พิมพ์แล้วครั้งก่อนนั้น ได้แอบบันจุไว้ในพระเกตุไชโยหมด แล้วพิมพ์พระ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น รวมกันให้ได้ ๘๔000 เท่ากับพระธรรมขันธ์ กำลังพิมพ์อยู่ วิธีกระทำเช่นครั้งก่อน แปลกแต่เสกข้าวใส่บาตร์ใส่ด้วย จานหนังสือใส่บาตร์ไปด้วย ไปบิณฑบาตร์ก็จานหนังสือไปด้วย แล้วทำผงลงตัวเขียนยันต์ ตำปูน เพ็ชร์พิมพ์ไปทุกวันๆ กลางวันไปก่อเท้าพระบางขุนพรหม เจริญทิวาวิหารธรรมด้วย ดูช่างเขียนออกแบบกะส่วนให้ช่างเขียนๆ ประวัติของท่านขึ้นที่ผ่านมาแล้วแต่ต้นจนจบตลอด จนท่านนมัสการพระพุทธบาท ตั้งแต่เป็นพระมหาโตมา จนเป็นพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ยังขึ้นพระพุทธบาทตามฤดูเสมอ เมื่อครั้งทูลกระหม่อมพระ คือสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงผนวชอยู่วัดถมอราย (ราชาธวาส) ยังทรงซักถามพระมหาโตว่า ท่านเชื่อพระบาทลพบุรีเป็นของแท้หรือ พระมหาโตทูลว่า เป็นเจดีย์ที่น่าประหลาด เป็นที่ไม่ขาดสักการะ ฯ
· ครั้นเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ยังเป็นมหาโตในแผ่นดินพระนั่งเกล้า ทูลกระหม่อมพระยังเป็นพระราชาคณะ เจ้าอาวาสวัดถมอราย ได้นิมนต์มหาโตไปสนทนาด้วยเป็นทางที่จะชวนเข้าหมู่ รับสั่งถามว่ามีบุรุษสองคนเป็นเพื่อนเดินทางมาด้วยกัน คนทั้งสองเดินมาพบไหมเข้าจึงทิ้งปอที่แบกมาเสียเอาไหมไป อีกคนหนึ่งไม่เอาคงแบกเอาปอไป ท่านจะเห็นว่าคนแบกปอดี หรือคนแบกไหมดี ฯ
· มหาโตเฉลยไปอีกทางหนึ่งว่า ยังมีกระต่ายสองตัว ขาวตัวหนึ่ง ดำตัวหนึ่ง เป็นเพื่อนร่วมหากินกันมาช้านาน วันหนึ่งกระต่ายสองตัวเที่ยวและเล็มหญ้ากิน แต่กระต่ายขาวเห็นหญ้าอ่อนๆ ฝั่งฟากโน้นมีชุมจึงว่ายน้ำข้ามฟากไปหากินฝั่งข้างโน้น กระต่ายดำไม่ยอมไปทนกินอยู่ฝั่งเดียว แต่นั้นมากระต่ายขาว ก็ข้ามน้ำไปหาหญ้าอ่อนกิน ฝั่งข้างโน้นอยู่เรื่อย วันหนึ่งขณะที่กระต่ายขาวกำลังว่ายน้ำข้ามฟาก บังเกิดลมพัดจัด มีคลื่นปั่นป่วน กระแสน้ำเชี่ยวกราดพัดเอากระต่ายขาวไป จะเข้าฝั่งไหนก็ไม่ได้ เลยจมน้ำตายในที่สุด แต่กระต่ายดำก็ยังเที่ยวหากินอยู่ไม่ได้ตาย ฝ่าธุลีพระบาทลองทำนายว่ากระต่ายตัวไหนจะดี ฯ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)