อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา
sithiphong:
* (เรื่อง ฉศก เรื่องถวายเทศน์อย่างที่เรียงมานี้ พระปรีชาเฉลิมแก้วเคยเล่าให้ฟังเป็นพื้นจำมีอยู่บ้าง ซึ่งได้สืบถามพระธรรมถาวรอีกท่านก็รับว่าจริง แต่เทศน์ว่าอย่างไรนั้นลืมไป พระธรรมถาวรว่า แต่ความคิดของพราหมณ์ใช้คำว่ากู กูนี้ยังจำได้ เจ้าคุณธรรมถาวรเลยบอกต่อไปว่าวันที่ถวายเทศน์ถวาย ฉศก นี้ และถวาย ด กวางเหมงไว้ก่อนขึ้นเทศน์นั้นว่า วันนั้นหวยจำเพาะออก ด กวางเหมงจริงอย่างที่ท่านแก้พระราชกระทู้ว่า ไม่เคยบอกตัวตรงๆ กับใครๆ เหมือนดังบอกสมเด็จพระบรมพิตรวันนี้)
· ครั้นถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีชวดศกนี้เอง ทรงพระมหากรุณาโปรดเลื่อนสมณศักดิ์พระธรรมกิตติ(โต) ขึ้นเป็นพระเทพกวีราชาคณะผู้ใหญ่ในตำแหน่งสูง มีนิตยภัตร ๒๘ บาท ค่าเข้า ๑ บาท ฯ
· ครั้นออกพรรษาในปีชวดศกนั้นแล้ว พระเทพกระวี(โต) จึงลงมากวาดล้างกุฏิใหญ่ ๕ ห้อง ข้างคลองคูวัดระฆังข้างใต้ แล้วบอกบุญแก่บรรดาผู้ที่มาสันนิบาตให้ช่วยการทำบุญขึ้นกุฏิ ได้เผดียงสงฆ์ลงสวดมนต์ทั้งวัดที่กุฏินั้น ค่ำวันนั้นมีมหรสพฉลองผู้ที่ศรัทธานับถือลือไปถึงไหน ก็ได้มาช่วยงานถึงนั่น บรรดาผู้ที่มานั้นต่างก็หาเลี้ยงกันเอง งานที่ทำคราวนั้นเป็นงานใหญ่มาก เลี้ยงพระถึง ๕00 องค์ ผู้คนต่างนำสำรับคาวหวานเครื่องไทยทานมาถวายพระเทพกระวีแน่นวัดแน่นวา ครั้นการเลี้ยงพระเลี้ยงคนสำเร็จเรียบร้อย ท่านลงแจกด้ายผูกถักข้อมือคนละเส้น แล้วท่านบอกว่าดีนักจ๊ะ ลองดูจ๊ะตามประสงค์ ฯ
· ครั้นพระเทพกระวี(โต) ขึ้นอยู่บนกุฏิ ๕ ห้องแล้ว ผู้คนก็ละเล้าละลุมเพื่อจับหวยทุกวัน ครั้นนั้นพระยาโหราธิบดี ทำบุญฉลองสัญญาบัตร พระเทพกระวีก็ได้ไปสวดมนต์ไปฉัน ครั้นพระยาโหราธิบดี และเสมียนตราด้วง ปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหม (วัดอินทรวิหาร) สมเด็จพระสังฆราช (นาค) พระเทพกระวีก็ได้ไปเทศน์ไปฉันการฉลองวัด เมื่อท่านพระยานิกรบดินทร์สร้างวัดกัลยาณมิตรแล้วก็มีการฉลอง สมเด็จพระสังฆราช(นาค) พระเทพกระวี(โต) ก็ได้ไปฉันคราวพระยานิการบดินทร์สร้างโบสถ์วัดเกตุไชโย พระเทพกระวี(โต) ก็ได้ไปเป็นแม่งานฉลองโบสถ์ มีการมหรสพใหญ่โตตามประสาชาวบ้านนอกอำเภอไชโยนั้น มีพระสงฆ์ผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ได้ขึ้นไปช่วยงานฉลองโบสถ์วัดเกตุไชโยนั้นมากท่านด้วยกัน ฯ
· ครั้นกาลล่วงมาสมเด็จพระวันรัตวัดมหาธาตุ ถึงมรณภาพแล้ว สมเด็จพระวันรัตเซ่ง วัดอรุณเป็นเจ้าคณะกลาง ครั้งนั้นพระอันดับในวัดระฆังทะเลาะกัน และฝ่ายหนึ่งได้ตีฝ่ายหนึ่งศีรษะแตก ฝ่ายศีรษะแตกได้เข้าฟ้องพระเทพกระวีเจ้าอาวาสๆ ก็ชี้หน้าว่าคุณตีเขาก่อน พระองค์หัวแตกเถียงว่าผมไม่ได้ทำอะไร องค์นั้นตีกระผม พระเทพกระวีว่าก็เธอตีเขาก่อน เขาก็ต้องตีเธอบ้าง พระก็เถียงว่าเจ้าคุณเห็นหรือ พระเทพกระวีเถียงว่าถึงฉันไม่ได้เห็นก็จริง แต่ฉันรู้อยู่นานแล้วว่าคุณตีเขาก่อน คุณอย่าเถียงฉันเลย พระองค์ศีรษะแตกเสียใจมาก จึงได้อุตส่าห์เดินลงไปวัดอรุณ เข้าอุทธรณ์ต่อสมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) เจ้าคณะกลาง ฯ
ส่วนสมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) จึงเรียกตัวพระเทพกระวี(โต) ไปชำระตามคำอุทธรณ์ พระเทพกระวี(โต) ก็โต้คำอุทธรณ์และตอบสมเด็จพระวันรัตว่า ผมรู้ดีกว่าเจ้าคุณอีก เจ้าคุณได้รู้แต่ว่าเห็นเขาหัวแตกเท่านั้น ไม่รู้ถึงเหตุในกาลเดิมมูลกรณี ผมรู้ดีว่าคุณองค์นั้นได้ตีคุณองค์นั้นก่อน แต่เขาบ่ห่อนจะรู้สึกตัว เขามามัวแต่ถือหัว หัวเขาจึงแตก ฯ
· สมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) ฟังๆ ก็นึกแปลก แยกวินิจฉัยก็ไม่ออก กลับจะเป็นคนถือเอาแต่คำบอก จึงย้อนถามว่า เจ้าคุณเห็นอย่างไรจึงรู้ได้ว่า พระองค์นี้ตีพระองค์นั้นก่อน แจ้งให้ฉันฟังสักหน่อยให้แลเห็นบ้าง จะได้ช่วยกันระงับอธิกรณ์ ฯ
· พระเทพกระวีว่า พระเดชพระคุณจะมีวิจารณ์ยกขึ้นพิจารณาแล้ว กระผมก็เต็มใจอ้างอิงพยานถวาย พระวันรัตว่า เอาเถอะผมจะตั้งใจฟังเจ้าคุณชี้พยานอ้างอิงมา พระเทพกระวีจึงว่า ผมทราบตามพุทธฎีกา บอกให้ผมทราบว่า นหิเวรานิวูปสัมมันติ ว่าเวรต่อเวรย่อมเป็นเวรกันร่ำไป ถ้าจะระงับเวรเสียด้วยไม่ตอบเวร เวรย่อมระงับ นี่แหละพระพุทธเจ้าบอกผมเป็นพยานกระผมว่าเวรต่อเวร มันจึงทำกันได้ ผมเห็นตามคำพระพุทธเจ้าบอกผมเท่านี้ ผมจึงวิจารณ์พิจารณากล้ากล่าวได้ว่า คุณตีเขาก่อน ฯ
· สมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) ชักงงใหญ่ จะเถียงก็ไม่ขึ้น เพราะท่านอ้างพุทธภาษิตจึงล้มเข้าหาพระเทพกระวี(โต) ว่าถ้ากระนั้นเจ้าคุณต้องระงับอธิกรณ์เรื่องนี้ว่าใครเป็นผู้ผิด ผู้ถูกโทษจะตกกับผู้ใด แล้วแต่เจ้าคุณจะตัดสินเถิด พระเทพกระวีมัดคำพระวันรัตว่าพระเดชพระคุณอนุญาติตามใจผม ผมจะชี้โทษชี้คุณให้ยินยอมพร้อมใจกันทั้งคู่ความทั้งผู้พิพากษาให้อธิกรณ์ระงับได้ ให้เวรระงับด้วย สมเด็จพระวันรัตก็อนุญาติ ฯ
· พระเทพกระวี(โต) ก็ประเล้าประโลมโน้มน้าวกล่าวธัมมิกถาพรรณาอานิสงฆ์ของผู้ระงับเวร พรรณาโทษของผู้ต่อเวรให้โจทย์จำเลยสลดจิต คิดเห็นบาปบุญคุณโทษ ปราโมทย์เข้าหากัน ท่านจึงแก้ห่อผ้าไตรออกกับเงินอีกสามตำลึง ทำขวัญองค์ที่ศีรษะแตกแยกบทชี้เป็นสามสถาน ผู้ตีตอบเอาเป็นหมวดเวรจักไม่ตีใครต่อไป ถ้าขืนไปตีใครอีกจะลงโทษว่าเป็นผู้ก่อเวรฝืนต่อพระบวรพุทธศาสนา มีโทษหนักฐานละเมิด ฯ
· ผู้ที่ถูกตีก็ระงับใจไม่อาฆาฏ ไม่มุ่งร้ายต่อก่อเวรอีก ถ้าขืนคดในใจทำหน้าไหว้หลังหลอกเอาฉันเป็นผู้ปกครอง หรือขืนฟ้องร้องกันต่อไป ว่าฉันเอนเอียงไม่เที่ยงธรรมแล้ว จะต้องโทษฐานบังอาจหาผู้ใหญ่ โดยหาความผิดมิได้ ทั้งจะเป็นเสี้ยนหนามต่อพระบวรพุทธศาสนาเป็นโทษใหญ่ร้อนถึงรัฐบาล จะต้องลงอาญาตามรบิลเมือง ฯ
· ฝ่ายฉันเป็นคนผิดเอาแต่ธุระอื่น ไม่สอดส่องดูแลลูกวัด ไม่คอยชี้แจงสั่งสอนอันเตวาสิก สัทธิงวิหาริก ให้รู้ธรรมรู้วินัย จึงลงโทษตามพระวินัยว่าไม่ควรย่อมเป็นโทษแท้ ขอคดีเรื่องนี้จะเลิกระงับไปตามวินัยนี้ พระถานาที่นั่งฟังทั้งมหาและพระอันดับพระคู่ความ ก็สาธุการเห็นดีพร้อมกันอย่างเย็นใจ พระวันรัต(เซ่ง) ก็เห็นดีสงบเรื่องลงเท่านี้ ฯ
· ครั้งหนึ่งพระวัดระฆังเต้นด่าท้าทายกันขึ้นอีกคู่ พระเทพกระวี(โต) ท่านเอกเขนกนั่งอยู่นอกกุฏิท่าน ท่านแลเห็นเข้า ทั้งได้ยินพระทะเลาะกันด้วย จึงลุกเข้าไปในกุฏิ จัดดอกไม้ธูปเทียนใส่พานรีบเดินเข้าไปในระหว่างวิวาท ซุดองค์ลงนั่งคุกเข่าไปถวายดอกไม้ธูปเทียนพระคู่นั้นแล้วอ้อนวอนวอนฝากตัวว่า พ่อเจ้าประคุณ พ่อจงคุ้มฉันด้วย ฉันฝากตัวกับพ่อด้วย ฉันเห็นจริงแล้วว่า พ่อเก่งเหลือเกิน เก่งพอได้เก่งแท้แท้ พ่อเจ้าประคุณ ลูกฝากตัวด้วย เลยพระคู่นั้นเลิกทะเลาะกัน มาคุกเข่ากราบพระเทพกระวีๆ ก็คุกเข่ากราบต่อพระ กราบกันอยู่นั่น หมอบกันอยู่นั่นนาน ฯ
· ครั้งหนึ่งสมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง) นิมนต์เข้าไปเทศน์ที่จวน สมเด็จเจ้าพระยาจุดเทียน พระเทพกวีขึ้นธรรมาสน์ ครั้นรับศีลเสร็จแล้ว พวกหัวเมืองเข้ามาหาสมเด็จเจ้าพระยาหมอกันเป็นแถว ส่วนตัวเจ้าพระยานั้นเอกเขนกรินน้ำชาไขว่ห้างกำลังพระเทศน์ พระเทพกวีเลยเทศน์ว่า สัมมามัวรินกินน้ำชามิจฉาหมอบก้มประนมมือ สมเด็จเลยบาดหูลุกเข้าเรือน ส่วนพระเทพกวีก็ลงจากธรรมาสน์กลับวัดระฆัง ข่าวว่าตึงกันไปนาน ฯ
· ครั้นสมเด็จพระวันรัต(เซ่ง) ถึงมรณภาพแล้ว พระเทพกวีต้องเป็นผู้ใหญ่นั่งหน้า ครั้งหนึ่งเมื่อมีกิจการฉลองสวดมนต์ในพระบรมมหาราชวัง พระเทพกวีเป็นผู้ชักนำพระราชาคณะอ่อนๆ ลงมา ครั้นสวดเสร็จแล้วยถา พระรับสัพพีแล้วสวดคาถาโมทนาจบแล้ว พระเทพกวี(โต) จึงถวายอดิเรกขึ้นองค์เดียวดังนี้
อติเรกวสฺสตํ ชีวตุ อติเรกวสฺสตํ ชีวตุ อติเรกวสสฺตํ ชีวตุ ฑีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ สุขิโต โหตุ มหาราชา สิทฺธิกิจฺจำ สิทฺธิกัมมํ สิทฺธิลาโก ชโย นิจฺจํ มหาราชสฺส ภวตุ สพฺพทา ขอถวายพระพรดังนี้
sithiphong:
สมเด็จพระจอมเกล้าทรงโปรดมาก รับสั่งถามว่า แก้ลัดตัดเติมจะได้บ้างไหม พระเทพกระวี(โต) ถวายพระพรว่าอาตมาภาพได้เปยยาลไว้ในตัวบทคาถา สำหรับสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าได้ทรงตรอกลง ตามพระบรมราชอัธยาศัยแล้ว สมเด็จพระจอมเกล้าทรงตรอกซ้ำลงตรงฑีฆายุอีกบันทัดหนึ่ง ทรงตรอกลงที่หน้าศัพท์มหาราชสฺสเป็นปรเมนฺ ทรงมหาราชวรสฺส นอกนั้นคงไว้ตามคำพระเทพกระวี(โต) ทุกคำ แล้วตราพระราชบัญญัติประกาศไปทุกๆ พระอารามให้เป็นขนบธรรมเนียม ต้องให้พระราชาคณะผู้นั่งหน้าถวายคาถาอติเรกนี้ก่อน จึงรับภาตุสัพฯ จึงถวายพรลาออกจากพระที่นั่งได้ ตลอดจนการพระเมรุ การถวายพระกฐินทานตามพระอารามหลวง ต้องมีพระราชาคณะถวายอติเรกนี้ทุกคราวพระราชดำเนิน จึงเป็นราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้แล ฯ
· ครั้นถึงปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเทพกระวี(โต) ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รับหิรัญบัตรมีถานา ๑0 มีนิตยภัตร ๓๒ บาท ค่าข้าวสาร ๑ บาทต่อเดือน สมเด็จฯ มีชนมายุ ๗๔ พรรษา ๕๖ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีโสกันต์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโสกันต์คราวนี้มีเขาไกรลาศ รวมที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังมาได้ ๑๕ ปี จึงได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพพระมหานครแล ฯ
· ครั้งหนึ่งมีราชการโสกันต์ สังฆการีวางฎีกาว่าย่ำรุ่งถึง แล้วถวายพระพร ถวายชัยมงคลคาถา พระฤกษ์โสกันต์วางฎีกาสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ครั้นได้เวลาย่ำรุ่งตรงท่านก็มาถึง พระมหาปราสาทยังไม่เปิดพระทวารสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็มานั่งอยู่บนบันไดพระมหาปราสาทชั้นบน แล้วท่านก็สวดชัยมงคลคาถาชยันโตโพธิยาลั่นอยู่องค์เดียว สามจบแล้ว ท่านก็ไปฉันข้าวต้มที่ทิมสงฆ์ แล้วท่านก็ไปพักจำวัดในโรงม้าต้น ในพระบรมมหาราชวัง ครั้นเวลาสามโมงเช้า เสด็จออกจวนพระฤกษ์ สังฆการีประจุพระราชาคณะประจำที่หมดยังขาดแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์เดียว เที่ยวตามหากันลั่นไปหมด สมเด็จพระจอมทรงกริ้วใหญ่ พวกทนายเลือกสนมใน บอกต่อๆ กันเข้าไปว่าได้เห็นสมเด็จหายเข้าไปในโรงม้าต้นพวกสังฆการีเข้าไปค้นคว้าเอาองค์ท่านมาได้ ช่วยกัรรุนกันดันส่งเข้าไปในพระทวาร ครั้นทอดพระเนตร์เห็นก็กริ้วแหวรับสั่งว่าถอดๆ ไม่ระวังรั้วงานราชการเป็นขุนนางไม่ได้แฉกคืนๆ เร็วๆ เอาชยันโตทีเดียวขรัวโตก็เดินชยันโตจนถึงอาสน์สงฆ์ แล้วนั่งลงเข้าแถวสวด พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงคีบพระเมาฬี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ใหญ่ก็คีบแลโกนเป็นลำดับไป ครั้นเสด็จแล้วทรงประเคน อังคาสพระสงฆ์แล้วเสด็จเข้าในพระฉาก ฯ
· ขรัวโตฉันแล้วก็นั่งนิ่ง เสด็จออกเร่งให้ยถา ขรัวโตก็ยถาแต่ไม่ตั้งตาลิปัต เวลานั้นพระธุระมาก มัวหันพระพักตร์ไปรับสั่งราชกิจอื่นๆ พระพุฒาจารย์โต ก็เดินดุ่มๆ รีบออกไปลงเรือข้ามฟาก พอแปรพักตร์มารับสั่งว่าถวายอติเรก จะรีบฯ พระราชาคณะรองๆ ลงมา ก็ไม่มีใครกล้านั่งงันกันไปหมด รับสั่งถามว่า อ้าวสมเด็จหายไปไหน เขาทูลว่าท่านกลับไปแล้ว อ้าวพัดยังอยู่ ชรอยจะทำใจน้อยไม่เอาพัดไป เร็วเอาพัดไปส่งตัวมาถวายอติเรกก่อน สังฆการีรับออกเรือตามร้องเรียกเจ้าคุณขอรับ นิมนต์กลับมาก่อนเอาพัดแฉก ท่านร้องตอบมาว่า พ่อจะมาตั้งสมเด็จกลางแม่น้ำได้หรือ สังฆการีว่ารับสั่งให้หา ท่านก็ข้ามกลับมาเข้าทางประตูต้นสนดุ่มๆ ขึ้นมาบนพระปราสาท แล้วรับสั่งให้ถวายอติเรกเร็วๆ ฯ ทูลว่าขอถวายพระพรถวายไม่ได้ฯ รับสั่งถามว่าทำไมถวายไม่ได้ฯ ทูลว่าขอถวายพระพร เหตุพระราชบัญญัติตราไว้ว่า ให้พระราชาคณะถวายอติเรก บัดนี้อาตมภาพกลายเป็นพระอันดับแล้ว จึงไม่ควรถวายอติเรก ขอถวายพระพรฯ รับสั่งว่า อ้อจริงๆ เอาสิตั้งกันใหม่ กรมวังออกหมายตั้งสมเด็จ บอกวิเสศเลี้ยงพระอีก สังฆการีวางฎีกาเอาพระชุดนี้ก็ได้ วิเศสทำไม่ทันก็ทำแต่น้อยก็ได้เพียง ๕ องค์ ศุภรัตน์เตรียมผ้าไตรตั้งและพระไตรพระชยันโต แล้วเสด็จพวกสังฆการี วางฎีกาพระชุดโสกันต์กำหนดเวลาเลยกลับไม่ได้
ครั้นเวลา ๕ โมงเสด็จออกทรงประเคน พระฉันแล้ว (ประกาศตั้งสมเด็จ) ทรงประเคนหิรัญบัตร ประเคนไตร บาตร์ ตาลิปัต ย่าม พระชยันโต คราวนี้สมเด็จยกไตรแพรครองกลับเข้ามาอนุโมทนาแล้ว ถวายอติเรก ถวายพระพรลา เป็นอันเสร็จการไปคราวหนึ่ง ฯ
· ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมราชวัง ได้ทรงประเคนไตรแพร ท่านก็นำไตรแพรนั้นเช็ดปากเช็ดมือยุ่งไปหมด รับสั่งทักว่าไตรเขาดีดี เอาไปเช็ดเปรอะหมด ท่านตอบว่าอะไรถวายได้ผ้าเช็ดมือถวายไม่ได้ อาตมภาพก็ต้องเอาผ้าไตรของอาตมาเองเช็ดอาตมาเอง เป็นอันได้บริโภคของทายกแล้ว ไม่เป็นสัทธาเทยยวินิบาต ฯ
· ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมมหาราชวังอีก ถวายเงินองค์ละ ๒0 บาท สมเด็จทำดีใจรวบเงินใส่ย่ามกราว ทรงทักว่าอ้าว พระจับเงินได้หรือ ขอถวายพระพร เงินพระจับไม่ได้ผิดวินัย แต่ขรัวโตชอบ เรื่องแผลงๆ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) องค์นี้ ตั้งแต่เป็นพระธรรมกิตติ มาจนเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ต่อหน้าที่นั่งเสมอๆ มา แต่ก็ทรงอภัย ซ้ำพระราชทานรางวัลอีกด้วย ถึงวันรวบเงินนี้ ก็รางวัลอีก ๓0 บาท รวบใส่ย่ามทันที ครั้นหิ้วคอนย่ามออกมา คนนั้นล้วงบ้าง คนนี้ล้วงบ้าง จนหมดย่ามท่านคุยพึมว่า วันนี้รวยใหญ่ๆ ฯ
· ครั้นคราวหนึ่งนักองค์ด้วง เจ้าแผ่นดินเขมร กลุ้มพระหทัยมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เผดียงสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ให้ออกไปแสดงธรรมโปรดนักองค์ด้วง ณ เมืองเขมร คราวนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงกับบ่นที่วัดระฆังว่า สมเด็จพระนั่งเกล้าก็ไม่ใช่โง่ แต่ว่าใช้ขรัวโตไม่ได้ สมเด็จพระจอมเกล้าฉลาดว่องไวกลับมาได้ใช้ขรัวโต ฯ
· ครั้นถึงวันกำหนด ท่านก็พาพระถานา ๔ รูป ไปลงเรือสยามูปสดัมถ์ เจ้าพนักงานไปส่งถึงเมืองจันทบุรี แล้วขึ้นเกวียนไปทางเมืองตราด ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แขวงเมืองตราดนั้น เป็นตำบลที่มีเสือชุมมาก มันเผ่นเข้าขวางหน้าเกวียน เวลารอนๆ จวนค่ำ คนนำทางหน้าเกวียนจดพลองเล่นตีกับเสือ เจ้าเสือแยกเขี้ยวหื้อใส่รุกขนาบคนถือพลองถอยหลังทุกที จนถึงหน้าเกวียนสมเด็จ คนหน้าเกวียนยกเท้ายันคนถือพลองไว้ไม่ให้ถอย ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านเห็นเสือมีอำนาจดุมาก ท่านจึงบอกว่าเสือเขาจะธุระฉันคนเดียวดอกจ๊ะ ฉันจะพูดจาขอทุเลาเสือสักคืนในที่นี้ ครั้นแล้วท่านก็ลงส่งเกวียนส่งคนให้ไปคอยอยู่ข้างหน้า ท่านก็นอนขวางทางเสือเสีย เสือก็นั่งเฝ้าท่านคืนหนึ่ง เสือก็ไปไหนไม่ได้ จะไปไล่คนอื่นก็ไปไม่ได้ต้องเฝ้ายามสมเด็จยันรุ่ง ครั้นเวลาเช้าท่านเชิญเสือให้กลับไป แล้วท่านลาเสือว่า ฉันลาก่อนจ๊ะ เพราะมีราชกิจใช้ให้ไปจ๊ะ ว่าแล้วท่านก็เดินตามเกวียนไปทันกันแล้วท่านเล่าให้พระครูปลัดฟัง (พระครูปลัดคือ พระธรรมถาวรเดี๋ยวนี้) พวกครัวก็หุงต้มเลี้ยงท่าน เลี้ยงกันเสร็จแล้วก็นิมนต์สมเด็จขึ้นเกวียนคนลาก ท่านไม่ชอบวัวควายเทียมเกวียน ฯ
· ครั้นไปถึงเมืองพระตระบอง ข้าหลวงฝ่ายสยามบอกการเข้าไปถึง กรมเมืองเมืองเขมร กรมเมืองทราบแล้ว นำความทูลนักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมร ๆ เขมรทรงทราบ แล้วสั่งคนนำแคร่ออกไปรับสมเด็จ เข้าไปถึงในวัง กระทำความเคารพปฏิสันฐาน ปราศรัยปรนนิบัติแก่สมเด็จเป็นอันดี แล้วสั่งให้จัดการเลี้ยงดูข้าหลวง และผู้คนที่เชิญสมเด็จมานั้น แล้วให้จัดที่พักที่อยู่ให้ตามสมควร ครั้นเวลาเช้าจัดแจงตั้งธรรมาสน์บอกกล่าวพระยาพระเขมร แล้วเจ้านายฝ่ายเขมรตลอดพ่อค้าคฤหบดีเขมร ให้มาฟังธรรมของสมเด็จจอมปราชญ์สยาม สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามรับสั่งโปรดให้สมเด็จพระพุฒาจารย์มาโปรดเขมร เขมรทั้งหลายต่างก็ยินดีเต็มใจ พร้อมใจกันมาฟังเทศนาสมเด็จทุกตัวคน ฯ
· ครั้นเพลแล้วก็อาราธนาให้ขึ้นเทศน์ สมเด็จก็เลือกเฟ้นหาธรรมะนำมายกขึ้นแสดงชี้แจงและแปลงแก้ไขเป็นภาษาเขมร ให้พวกเขมรเข้าใจต่อตลอดมา ถึงพระมหากรุณาธิคุณของกรุงสยามด้วย เชื่อมกับสาสนปสาสน์ และพระรัฏฐปสาสน์ ให้กลมเกลียวกลืนกันเทศน์ให้ยึดโยงหยั่งถึงกัน ชักเอาเหตุผลตามชาดกต่างๆ พระสูตรต่างๆ ทางพระวินัยต่างๆ อานิสงษ์สันติภาพ และอานิสงษ์สามัคคีธรรม นำมาปรุงเป็นเทศนากัณฑ์หนึ่ง ครั้นจบลงแล้วนักองค์จันทร์มารดานักองค์ด้วง ได้สละราชบุตร ราชธิดา บูชาธรรม และสักการะด้วยแก้วแหวนเงินทองผ้าผ่อน และขัชชะโภชาหารตระการต่างๆ เขมรนอกนั้นก็เลื่อมใส เห็นจริงตามเทศนาของสมเด็จทุกคน และต่างก็เกิดความเลื่อมใสในองค์เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ
sithiphong:
สมเด็จพระจอมเกล้าทรงโปรดมาก รับสั่งถามว่า แก้ลัดตัดเติมจะได้บ้างไหม พระเทพกระวี(โต) ถวายพระพรว่าอาตมาภาพได้เปยยาลไว้ในตัวบทคาถา สำหรับสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้าได้ทรงตรอกลง ตามพระบรมราชอัธยาศัยแล้ว สมเด็จพระจอมเกล้าทรงตรอกซ้ำลงตรงฑีฆายุอีกบันทัดหนึ่ง ทรงตรอกลงที่หน้าศัพท์มหาราชสฺสเป็นปรเมนฺ ทรงมหาราชวรสฺส นอกนั้นคงไว้ตามคำพระเทพกระวี(โต) ทุกคำ แล้วตราพระราชบัญญัติประกาศไปทุกๆ พระอารามให้เป็นขนบธรรมเนียม ต้องให้พระราชาคณะผู้นั่งหน้าถวายคาถาอติเรกนี้ก่อน จึงรับภาตุสัพฯ จึงถวายพรลาออกจากพระที่นั่งได้ ตลอดจนการพระเมรุ การถวายพระกฐินทานตามพระอารามหลวง ต้องมีพระราชาคณะถวายอติเรกนี้ทุกคราวพระราชดำเนิน จึงเป็นราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้แล ฯ
· ครั้นถึงปีกุน สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาพระเทพกระวี(โต) ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รับหิรัญบัตรมีถานา ๑0 มีนิตยภัตร ๓๒ บาท ค่าข้าวสาร ๑ บาทต่อเดือน สมเด็จฯ มีชนมายุ ๗๔ พรรษา ๕๖ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีโสกันต์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโสกันต์คราวนี้มีเขาไกรลาศ รวมที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะ เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังมาได้ ๑๕ ปี จึงได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ปี เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพพระมหานครแล ฯ
· ครั้งหนึ่งมีราชการโสกันต์ สังฆการีวางฎีกาว่าย่ำรุ่งถึง แล้วถวายพระพร ถวายชัยมงคลคาถา พระฤกษ์โสกันต์วางฎีกาสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ครั้นได้เวลาย่ำรุ่งตรงท่านก็มาถึง พระมหาปราสาทยังไม่เปิดพระทวารสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็มานั่งอยู่บนบันไดพระมหาปราสาทชั้นบน แล้วท่านก็สวดชัยมงคลคาถาชยันโตโพธิยาลั่นอยู่องค์เดียว สามจบแล้ว ท่านก็ไปฉันข้าวต้มที่ทิมสงฆ์ แล้วท่านก็ไปพักจำวัดในโรงม้าต้น ในพระบรมมหาราชวัง ครั้นเวลาสามโมงเช้า เสด็จออกจวนพระฤกษ์ สังฆการีประจุพระราชาคณะประจำที่หมดยังขาดแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์เดียว เที่ยวตามหากันลั่นไปหมด สมเด็จพระจอมทรงกริ้วใหญ่ พวกทนายเลือกสนมใน บอกต่อๆ กันเข้าไปว่าได้เห็นสมเด็จหายเข้าไปในโรงม้าต้นพวกสังฆการีเข้าไปค้นคว้าเอาองค์ท่านมาได้ ช่วยกัรรุนกันดันส่งเข้าไปในพระทวาร ครั้นทอดพระเนตร์เห็นก็กริ้วแหวรับสั่งว่าถอดๆ ไม่ระวังรั้วงานราชการเป็นขุนนางไม่ได้แฉกคืนๆ เร็วๆ เอาชยันโตทีเดียวขรัวโตก็เดินชยันโตจนถึงอาสน์สงฆ์ แล้วนั่งลงเข้าแถวสวด พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงคีบพระเมาฬี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ใหญ่ก็คีบแลโกนเป็นลำดับไป ครั้นเสด็จแล้วทรงประเคน อังคาสพระสงฆ์แล้วเสด็จเข้าในพระฉาก ฯ
· ขรัวโตฉันแล้วก็นั่งนิ่ง เสด็จออกเร่งให้ยถา ขรัวโตก็ยถาแต่ไม่ตั้งตาลิปัต เวลานั้นพระธุระมาก มัวหันพระพักตร์ไปรับสั่งราชกิจอื่นๆ พระพุฒาจารย์โต ก็เดินดุ่มๆ รีบออกไปลงเรือข้ามฟาก พอแปรพักตร์มารับสั่งว่าถวายอติเรก จะรีบฯ พระราชาคณะรองๆ ลงมา ก็ไม่มีใครกล้านั่งงันกันไปหมด รับสั่งถามว่า อ้าวสมเด็จหายไปไหน เขาทูลว่าท่านกลับไปแล้ว อ้าวพัดยังอยู่ ชรอยจะทำใจน้อยไม่เอาพัดไป เร็วเอาพัดไปส่งตัวมาถวายอติเรกก่อน สังฆการีรับออกเรือตามร้องเรียกเจ้าคุณขอรับ นิมนต์กลับมาก่อนเอาพัดแฉก ท่านร้องตอบมาว่า พ่อจะมาตั้งสมเด็จกลางแม่น้ำได้หรือ สังฆการีว่ารับสั่งให้หา ท่านก็ข้ามกลับมาเข้าทางประตูต้นสนดุ่มๆ ขึ้นมาบนพระปราสาท แล้วรับสั่งให้ถวายอติเรกเร็วๆ ฯ ทูลว่าขอถวายพระพรถวายไม่ได้ฯ รับสั่งถามว่าทำไมถวายไม่ได้ฯ ทูลว่าขอถวายพระพร เหตุพระราชบัญญัติตราไว้ว่า ให้พระราชาคณะถวายอติเรก บัดนี้อาตมภาพกลายเป็นพระอันดับแล้ว จึงไม่ควรถวายอติเรก ขอถวายพระพรฯ รับสั่งว่า อ้อจริงๆ เอาสิตั้งกันใหม่ กรมวังออกหมายตั้งสมเด็จ บอกวิเสศเลี้ยงพระอีก สังฆการีวางฎีกาเอาพระชุดนี้ก็ได้ วิเศสทำไม่ทันก็ทำแต่น้อยก็ได้เพียง ๕ องค์ ศุภรัตน์เตรียมผ้าไตรตั้งและพระไตรพระชยันโต แล้วเสด็จพวกสังฆการี วางฎีกาพระชุดโสกันต์กำหนดเวลาเลยกลับไม่ได้
ครั้นเวลา ๕ โมงเสด็จออกทรงประเคน พระฉันแล้ว (ประกาศตั้งสมเด็จ) ทรงประเคนหิรัญบัตร ประเคนไตร บาตร์ ตาลิปัต ย่าม พระชยันโต คราวนี้สมเด็จยกไตรแพรครองกลับเข้ามาอนุโมทนาแล้ว ถวายอติเรก ถวายพระพรลา เป็นอันเสร็จการไปคราวหนึ่ง ฯ
· ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมราชวัง ได้ทรงประเคนไตรแพร ท่านก็นำไตรแพรนั้นเช็ดปากเช็ดมือยุ่งไปหมด รับสั่งทักว่าไตรเขาดีดี เอาไปเช็ดเปรอะหมด ท่านตอบว่าอะไรถวายได้ผ้าเช็ดมือถวายไม่ได้ อาตมภาพก็ต้องเอาผ้าไตรของอาตมาเองเช็ดอาตมาเอง เป็นอันได้บริโภคของทายกแล้ว ไม่เป็นสัทธาเทยยวินิบาต ฯ
· ครั้งหนึ่งเข้าไปฉันในพระบรมมหาราชวังอีก ถวายเงินองค์ละ ๒0 บาท สมเด็จทำดีใจรวบเงินใส่ย่ามกราว ทรงทักว่าอ้าว พระจับเงินได้หรือ ขอถวายพระพร เงินพระจับไม่ได้ผิดวินัย แต่ขรัวโตชอบ เรื่องแผลงๆ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) องค์นี้ ตั้งแต่เป็นพระธรรมกิตติ มาจนเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ต่อหน้าที่นั่งเสมอๆ มา แต่ก็ทรงอภัย ซ้ำพระราชทานรางวัลอีกด้วย ถึงวันรวบเงินนี้ ก็รางวัลอีก ๓0 บาท รวบใส่ย่ามทันที ครั้นหิ้วคอนย่ามออกมา คนนั้นล้วงบ้าง คนนี้ล้วงบ้าง จนหมดย่ามท่านคุยพึมว่า วันนี้รวยใหญ่ๆ ฯ
· ครั้นคราวหนึ่งนักองค์ด้วง เจ้าแผ่นดินเขมร กลุ้มพระหทัยมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงทราบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เผดียงสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ให้ออกไปแสดงธรรมโปรดนักองค์ด้วง ณ เมืองเขมร คราวนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงกับบ่นที่วัดระฆังว่า สมเด็จพระนั่งเกล้าก็ไม่ใช่โง่ แต่ว่าใช้ขรัวโตไม่ได้ สมเด็จพระจอมเกล้าฉลาดว่องไวกลับมาได้ใช้ขรัวโต ฯ
· ครั้นถึงวันกำหนด ท่านก็พาพระถานา ๔ รูป ไปลงเรือสยามูปสดัมถ์ เจ้าพนักงานไปส่งถึงเมืองจันทบุรี แล้วขึ้นเกวียนไปทางเมืองตราด ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แขวงเมืองตราดนั้น เป็นตำบลที่มีเสือชุมมาก มันเผ่นเข้าขวางหน้าเกวียน เวลารอนๆ จวนค่ำ คนนำทางหน้าเกวียนจดพลองเล่นตีกับเสือ เจ้าเสือแยกเขี้ยวหื้อใส่รุกขนาบคนถือพลองถอยหลังทุกที จนถึงหน้าเกวียนสมเด็จ คนหน้าเกวียนยกเท้ายันคนถือพลองไว้ไม่ให้ถอย ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ ท่านเห็นเสือมีอำนาจดุมาก ท่านจึงบอกว่าเสือเขาจะธุระฉันคนเดียวดอกจ๊ะ ฉันจะพูดจาขอทุเลาเสือสักคืนในที่นี้ ครั้นแล้วท่านก็ลงส่งเกวียนส่งคนให้ไปคอยอยู่ข้างหน้า ท่านก็นอนขวางทางเสือเสีย เสือก็นั่งเฝ้าท่านคืนหนึ่ง เสือก็ไปไหนไม่ได้ จะไปไล่คนอื่นก็ไปไม่ได้ต้องเฝ้ายามสมเด็จยันรุ่ง ครั้นเวลาเช้าท่านเชิญเสือให้กลับไป แล้วท่านลาเสือว่า ฉันลาก่อนจ๊ะ เพราะมีราชกิจใช้ให้ไปจ๊ะ ว่าแล้วท่านก็เดินตามเกวียนไปทันกันแล้วท่านเล่าให้พระครูปลัดฟัง (พระครูปลัดคือ พระธรรมถาวรเดี๋ยวนี้) พวกครัวก็หุงต้มเลี้ยงท่าน เลี้ยงกันเสร็จแล้วก็นิมนต์สมเด็จขึ้นเกวียนคนลาก ท่านไม่ชอบวัวควายเทียมเกวียน ฯ
· ครั้นไปถึงเมืองพระตระบอง ข้าหลวงฝ่ายสยามบอกการเข้าไปถึง กรมเมืองเมืองเขมร กรมเมืองทราบแล้ว นำความทูลนักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมร ๆ เขมรทรงทราบ แล้วสั่งคนนำแคร่ออกไปรับสมเด็จ เข้าไปถึงในวัง กระทำความเคารพปฏิสันฐาน ปราศรัยปรนนิบัติแก่สมเด็จเป็นอันดี แล้วสั่งให้จัดการเลี้ยงดูข้าหลวง และผู้คนที่เชิญสมเด็จมานั้น แล้วให้จัดที่พักที่อยู่ให้ตามสมควร ครั้นเวลาเช้าจัดแจงตั้งธรรมาสน์บอกกล่าวพระยาพระเขมร แล้วเจ้านายฝ่ายเขมรตลอดพ่อค้าคฤหบดีเขมร ให้มาฟังธรรมของสมเด็จจอมปราชญ์สยาม สมเด็จพระเจ้ากรุงสยามรับสั่งโปรดให้สมเด็จพระพุฒาจารย์มาโปรดเขมร เขมรทั้งหลายต่างก็ยินดีเต็มใจ พร้อมใจกันมาฟังเทศนาสมเด็จทุกตัวคน ฯ
· ครั้นเพลแล้วก็อาราธนาให้ขึ้นเทศน์ สมเด็จก็เลือกเฟ้นหาธรรมะนำมายกขึ้นแสดงชี้แจงและแปลงแก้ไขเป็นภาษาเขมร ให้พวกเขมรเข้าใจต่อตลอดมา ถึงพระมหากรุณาธิคุณของกรุงสยามด้วย เชื่อมกับสาสนปสาสน์ และพระรัฏฐปสาสน์ ให้กลมเกลียวกลืนกันเทศน์ให้ยึดโยงหยั่งถึงกัน ชักเอาเหตุผลตามชาดกต่างๆ พระสูตรต่างๆ ทางพระวินัยต่างๆ อานิสงษ์สันติภาพ และอานิสงษ์สามัคคีธรรม นำมาปรุงเป็นเทศนากัณฑ์หนึ่ง ครั้นจบลงแล้วนักองค์จันทร์มารดานักองค์ด้วง ได้สละราชบุตร ราชธิดา บูชาธรรม และสักการะด้วยแก้วแหวนเงินทองผ้าผ่อน และขัชชะโภชาหารตระการต่างๆ เขมรนอกนั้นก็เลื่อมใส เห็นจริงตามเทศนาของสมเด็จทุกคน และต่างก็เกิดความเลื่อมใสในองค์เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ
sithiphong:
สมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงได้ฝากนางธิดากุมารี ไว้กับมารดาเจ้านักองค์ด้วงรับมาแต่เจ้ากุมารชายคนเดียว นักองค์ด้วงเจ้าเมืองเขมรจึงจัดการส่งสมเด็จ มีเกวียนส่งเข้ามาจนถึงเมืองตราด เจ้าเมืองตราดจัดเกวียนส่งมาถึงเมืองจันทบุรี เจ้าเมืองจันทบุรีจัดเรือใบเรือเสาส่งเข้ามาถึงกรุงเทพพระมหานครจอดหน้าวัดระฆังทีเดียว ฯ
· ครั้นรุ่งเช้าสมเด็จพระพุฒาจารย์จึงเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เสด็จออกรับและทรงสดับรายงาน การที่ไปและไปถึง และเจ้าเขมรยินดีรับรองเลื่อมใส ได้เทศน์โปรดด้วยข้อนั้น นำข้อนั้นเทียบข้อนั้น ให้เจ้าเขมรเข้าใจด้วยนัยอย่างนั้น ลงมติอย่างนั้นตลอดเสนาเขมรทั่วกัน เขมรบูชาธรรมเป็นธรรมพลีบรรณาการมาอย่างนั้นเท่านั้น ของเท่านั้นๆ ให้ทรงถวายโดยละเอียดทุกประการ ฯ
· สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบรายงานของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) บรรยายถวาย เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ทรงนิยมชมเชยความสามารถของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงทรงยินดีถวายเครื่องกัณฑ์ที่ได้มานั้น จงเป็นสรรพสิทธิของเจ้าคุณทั้งหมด ทั้งทรงปวารณาว่าเจ้าคุณประสงค์สิ่งอะไร พอที่โยมจะอนุญาตได้โยมก็จะถวายแล้วก็เสด็จขึ้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ก็กลับวัดระฆัง ฯ
· ครั้นหายเหนื่อยสองสามวัน จึงเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง เสด็จออกรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขอถวายพระพร ขอพระบรมราชานุญาตที่ดินที่วัดเกตุไชโยเท่านั้นวา ขอพระราชานุญาตสร้างพระใหญ่นั่งหน้าตัก ๘ วาไว้ในอำเภอไชโย ขอให้ทรงพระกรุณารับสั่งเจ้าเมืองกรมการให้วัด ให้มีพระราชลัญจกรประทับ รับสั่งว่าดีแล้ว จึงเป็นแบบที่ต้องขอพระบรมราชานุญาตก่อน ต้องมีบัตรพระราชลัญจกรอนุญาตแล้วจึงเป็นวิสุงคาม ทรงพระกรุณาโปรดมีใบพระบรมราชานุญาต ประทับตราแผ่นดินถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เลยตราพระราชบัญญัติวิสุงคามสีมาต่อไปในคราวนั้นเป็นลำดับมา ฯ
· สมเด็จจึงจำหน่ายเครื่องกัณฑ์เทศน์จากเมืองเขมรลงเป็นอิฐ เป็นปูน เป็นทราย เป็นค่าแรงงานคน เป็นทุนรองงานขึ้นไปจัดการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ ที่ริมวัดเกตุไชโย เจ้าเมืองกรมการก็มารางวัดที่ตามที่มีท้องตราบังคับ ราชบุรุษทั้งปวงให้สมเด็จนำชี้ที่ สมเด็จก็ชี้หมดทั้งวัด และชี้ที่สร้างพระวิหารวัดเกตุ สำหรับคลุมองค์พระ และชี้ที่ถานสุกะชี ชี้ที่สร้างองค์พระ ราชบุรุษก็วัดตามประสงค์ ชี้ที่โบถ์ด้วย ชี้ที่อุปจารทั้งหมดด้วย รวมเนื้อที่วัดเกตุไชโยมีประมาณแจ้งอยู่ในบัญชีหรดารของหลวงเสร็จแล้ว ฯ
· เมื่อกำลังสร้างพระใหญ่องค์นี้ พระยานิกรบดินทร์ และอำมาตย์ราชตระกูล ราษฎรพ่อค้าแม่ค้า คฤหบดี และสมเด็จพระจอมเกล้า สมเด็จพระปิ่นเกล้า และแขก ฝรั่ง เขมร ลาว มอญ จีน ก็ได้เข้าส่วนด้วยมากบ้างน้อยบ้าง สร้างอยู่นานเกือบสามปีจึงสำเร็จ จึงได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง พระราชทานนามว่า วัดเกตุไชโย แปลว่า พระธงไชย วัดธงไชย ในอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีอธิบายว่า รถต้องมีธงที่งอนรถ เป็นที่ปรากฏประเทศ เมืองหลวงว่า ราชรัฏฐะต้องมีธงทุกประเทศ ทุกชาติ ทุกภาษา พระศาสนาก็ควรมีธงประกาศให้เทวดา มนุษย์ รู้ว่าประเทศนี้นับถือพระพุทธศาสนา จึงสมมุติพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้ เป็นประดุจดังธงไชย ให้ปลิวไปปลิวมาปรากฏทั่วกัน เหตุนั้นเทพยดาผู้มีฤทธิ์จึงเข้าสถิตย์ในองค์พระปฏิมากร จึงได้ศักดิ์สิทธิ์ลือขจรทั่วนานาทิศาภาคย์ คนหมู่มากเส้นสรวงบวงบน ให้คุ้มกันรักษาช่วยทุกข์ร้อนยากจน บางคนบางคราวก็ได้สมมาตร์ปรารถนาจึงมีผู้สักการะบูชามิได้ขาด เป็นด้วยอำนาจสัจจาธิฐานของสมเด็จบรมพิตรพระราชสมภารเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงปณิธานไว้อย่างหนึ่ง เป็นไปด้วยความสัจความจริงที่ดีที่แท้ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านแน่วแน่อยู่ในเมตตา กรุณา หวังว่าจะให้เป็นประโยชน์แล ความสุขสวัสดิมงคลแก่ปัจฉิมชนิกชน แต่บรรดาที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้บูชาได้หยั่งน้ำใจแน่วแน่ลงไปถึงคุณพระพุทธเจ้าว่า มีพระคุณแก่สัตว์โลกพ้นประมาณ พระจึงบันดาลเปล่งแสงออกมาด้วยอำนาจเทวดารักษา แสดงอิทธิฤทธิ์ออกรับเส้นสรวงบวงบนของคนที่ตั้งใจมาจริง จึงให้สำเร็จประโยชน์สมคิดทุกสิ่งทุกประการ ฯ
· แหละในขณะระหว่างการสร้างพระนั้น ท่านได้ขึ้นไปดูแลกิจการต่างๆ อยู่เสมอได้ตั้งพระสมุห์ไว้องค์หนึ่ง ชื่อพระสมุห์จั่น พระสมุห์จั่นได้เล่าให้ใครๆ ฟังอยู่เสมอว่า ได้ถามสมเด็จดูว่า พระโพธิสัตว์นั้นจะรู้จักได้อย่างไร สมเด็จก็ชูแขนของท่านว่าจงคลำดูแขนขรัวโต ครั้นพระสมุห์และใครๆ คลำแขนก็เห็นเป็นกระดูกท่อนเดียว ฯ
· ครั้งหนึ่งท่านตั้งขรัวตาขุนเณรเป็นพระวัดชีปะขาว เป็นที่พระอุปัชฌาย์ เมื่อแห่จากวัดมาวัดเกตุไชโยแล้ว นั่งพร้อมกันบนอาสน์สงฆ์ สมเด็จเจ้าโตอุ้มไตรเข้าไปกระแทกลงที่ตักขรัวตาขุนเณรแล้วออกวาจาว่า ฉันให้ท่านเป็นอุปัชฌาย์หนาจ๋า พระอื่นก็เศกชยันโตโพธิยา ฯ
· ขรัวตาทองวัดเกตุไชโยเล่าว่า ท่านได้ทันเห็นสมเด็จฝังตุ่มใหญ่ไว้เหนือพระโตแล้วเอาเงินใส่ไว้ ๑ บาท เอากระเบื้องหน้าวัวปิดหลุมไว้ ครั้งหนึ่งท่านขึ้นไปตรวจงานที่วัดเกตุไชโย ท่านป่าวร้องชาวบ้านมาช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระบนศาลา ท่านแจกทานของท่านคนละเหรีญ ฬศ ๑ ในรัชกาลที่ ๔ กับผ้าขาวคนละฝ่ามือจนทั่วกันหมดทุกคน ครั้นตอนสุดที่พระแล้วท่านขึ้นไปที่วัดเกตุไชโย สัปปรุสเอาแคร่คานหามลงไปรับท่าน ครั้นท่านนั่งมาบนแคร่แล้วสองมือเหนี่ยวแคร่ไว้แน่น ปากก็ว่าไปไม่หยุดว่า หามเขาดีดีจ๊ะ อย่าให้เขาตกหนาจ๋า เขาเป็นของหลวงหนาจ๋า ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านทำแปลกๆ ทำขันๆ พูดแปลกๆ พูดขันๆ แต่พูดทำแล้วแล้วไม่ซ้ำยักร่ำไป ได้ปรากฏทันตาเห็นทันหูได้ยินแจ้วๆ แว่วๆ อยู่จนทุกวันนี้ เมื่อการสร้างพระเสร็จถวายเป็นวัดหลวงแล้ว ทรงรับเข้าทะเบียนแล้ว ท่านอยู่ในกรุงเทพ ท่านก็ไม่มีเวลาว่างเปล่าสักวันเดียว มีผู้คนไปมาหาสู่ไม่ขาดสาย จนท่านต้องนำปัสสาวะสาดกุฏิบ้าง เอาทาหัวบ้างจนหัวเหลือง ต้องมาพักผ่อนอารมณ์ในป่าช้าผีดิบวัดสระเกษ เป็นที่สำราญของท่านมาก จนพวกวัดสระเกษหล่อรูปท่านไว้ ปรากฏจนทุกวันนี้ กุฏิเก่าเขาสร้างถวายท่านหลังหนึ่ง ท่านเขียนภาษิตไว้ในกุฏินี้บทหนึ่งยาวมาก จำได้บ้าง ๒ วรรค ท่านว่า “อย่าอวดกล้ากับผี อย่าอวดดีกับตาย” บางวันก็ไปผ่อนอารมณ์อยู่ในวัดบางขุนพรหม มีคนแถบนั้นนิยมนับถือท่านมาก บางรายถวายที่สวนเข้าเป็นที่วัดก็มากเต็มไปทั้ง ๔ ทิศ ทางตะวันตกถึงแม่น้ำซึ่งเป็นวัดทั้ง ๒ อยู่ในบัดนี้ ฝั่งเหนือจดคลองตะวันออกก็เป็นพรมแดนกับบ้านพานบ้านหล่อ พระนคร เป็นวัดกลางสวน ท่านจึงสร้างพระคิด จะสร้างพระปางโปรดยักษ์ตนหนึ่งในป่าไม้ตะเฆียน ท่านคิดจะทำพระนั่งบนตอไม้ตะเฆียนใหญ่ ท่านจึงเตรียมอิฐ ปูน ทราย ช่างก่อ แต่เป็นการไม่เร่ง ท่านก่อตอไม้ขึ้นก่อนแล้วก่อขาพระเป็นลำดับขึ้นไป อนุมาณดูราวๆ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ ปี ทำพระพิมพ์ ๓ ชนิด สามชั้นนั้น ๘๔000 องค์ ทำด้วยผงบ้างลานจานเผาบ้าง กระดาษว่าว เขียนยันต์เผาบ้าง ปูนบ้าง น้ำมันบ้าง ชันบ้าง ปูนแดงบ้าง น้ำลายบ้าง เสลดบ้าง เมื่อเข้าไปมองดูคนตำคนโขลก มีจามมีไอขึ้นมา ท่านก็บอกว่าเอาใส่เข้าลงด้วย เอาใส่เข้าลงด้วย แล้วว่าดีนักจ๊ะ ดีนักจ๊ะ เสร็จแล้วตำผสมปูนเพ็ชร์ กลางคืนก็นั่งภาวนาไปกดพิมพ์ไป ตั้งแต่ยังเป็นพระเทพกวี จนเป็นพระพุฒาจารย์ พระยังไม่แล้ว ยังอีก ๘ หมื่น ๔ พัน ที่สามกับที่สี่ ฯ
· ครั้นถึงปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓0 ปี ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลายามกับ ๑ บาท นาฬิกา สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระชนมายุศม์ได้ ๖๔ พรรษา เถลิงถวัลยราชได้ ๑๗๖ เดือนกับ ๑๔ วัน เวลานั้น อายุสมเด็จได้ ๘๑ ปี เป็นสมเด็จมาได้ ๓ ปีเศษ ฯ
sithiphong:
เมื่อสมเด็จทราบแน่ว่า สมเด็จพระจอมเกล้าสวรรคตแล้ว ท่านเดินร้องไห้รอบวัดเดินบ่นได้ด้วยร้องไห้ไปด้วยว่าสิ้นสนุกแล้วๆ ครั้งนี้ๆ สิ้นสนุกแล้ว เดินร้องไห้โฮๆ รอบวัดระฆัง ดังจนใครๆ ได้ยิน ครั้นสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเถลิงถวัลยราชสืบสันตติวงศ์แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงทำพระพิมพ์ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น ขึ้นอีก ตั้งใจว่าจะถวายสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ พิมพ์แล้วครั้งก่อนนั้น ได้แอบบันจุไว้ในพระเกตุไชโยหมด แล้วพิมพ์พระ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น รวมกันให้ได้ ๘๔000 เท่ากับพระธรรมขันธ์ กำลังพิมพ์อยู่ วิธีกระทำเช่นครั้งก่อน แปลกแต่เสกข้าวใส่บาตร์ใส่ด้วย จานหนังสือใส่บาตร์ไปด้วย ไปบิณฑบาตร์ก็จานหนังสือไปด้วย แล้วทำผงลงตัวเขียนยันต์ ตำปูน เพ็ชร์พิมพ์ไปทุกวันๆ กลางวันไปก่อเท้าพระบางขุนพรหม เจริญทิวาวิหารธรรมด้วย ดูช่างเขียนออกแบบกะส่วนให้ช่างเขียนๆ ประวัติของท่านขึ้นที่ผ่านมาแล้วแต่ต้นจนจบตลอด จนท่านนมัสการพระพุทธบาท ตั้งแต่เป็นพระมหาโตมา จนเป็นพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ยังขึ้นพระพุทธบาทตามฤดูเสมอ เมื่อครั้งทูลกระหม่อมพระ คือสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงผนวชอยู่วัดถมอราย (ราชาธวาส) ยังทรงซักถามพระมหาโตว่า ท่านเชื่อพระบาทลพบุรีเป็นของแท้หรือ พระมหาโตทูลว่า เป็นเจดีย์ที่น่าประหลาด เป็นที่ไม่ขาดสักการะ ฯ
· ครั้นเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ยังเป็นมหาโตในแผ่นดินพระนั่งเกล้า ทูลกระหม่อมพระยังเป็นพระราชาคณะ เจ้าอาวาสวัดถมอราย ได้นิมนต์มหาโตไปสนทนาด้วยเป็นทางที่จะชวนเข้าหมู่ รับสั่งถามว่ามีบุรุษสองคนเป็นเพื่อนเดินทางมาด้วยกัน คนทั้งสองเดินมาพบไหมเข้าจึงทิ้งปอที่แบกมาเสียเอาไหมไป อีกคนหนึ่งไม่เอาคงแบกเอาปอไป ท่านจะเห็นว่าคนแบกปอดี หรือคนแบกไหมดี ฯ
· มหาโตเฉลยไปอีกทางหนึ่งว่า ยังมีกระต่ายสองตัว ขาวตัวหนึ่ง ดำตัวหนึ่ง เป็นเพื่อนร่วมหากินกันมาช้านาน วันหนึ่งกระต่ายสองตัวเที่ยวและเล็มหญ้ากิน แต่กระต่ายขาวเห็นหญ้าอ่อนๆ ฝั่งฟากโน้นมีชุมจึงว่ายน้ำข้ามฟากไปหากินฝั่งข้างโน้น กระต่ายดำไม่ยอมไปทนกินอยู่ฝั่งเดียว แต่นั้นมากระต่ายขาว ก็ข้ามน้ำไปหาหญ้าอ่อนกิน ฝั่งข้างโน้นอยู่เรื่อย วันหนึ่งขณะที่กระต่ายขาวกำลังว่ายน้ำข้ามฟาก บังเกิดลมพัดจัด มีคลื่นปั่นป่วน กระแสน้ำเชี่ยวกราดพัดเอากระต่ายขาวไป จะเข้าฝั่งไหนก็ไม่ได้ เลยจมน้ำตายในที่สุด แต่กระต่ายดำก็ยังเที่ยวหากินอยู่ไม่ได้ตาย ฝ่าธุลีพระบาทลองทำนายว่ากระต่ายตัวไหนจะดี ฯ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version