คลังธรรมปัญญา > หนังสือธรรมะ
พุทธโอวาท 62 ข้อ ก่อนปรินิพพาน :ปู่ลิงถอดความ
ฐิตา:
Nirvana of the Buddha
18.-สรุปความเกิด อุปาทานในตัณหา เป็นทุกข์ในโลก
-เกิดแก่เจ็บตาย เป็นทุกข์
-ดินฟ้าอากาศแปรปรวน เป็นทุกข์
-ความหิว โรคภัยไข้เจ็บ เป็นทุกข์
-ดิ้นรนเอาตัวรอด ทำมาหากิน เป็นทุกข์
-สวมหัวโขน มีตำแหน่งหน้าที่ อยากเป็นหนึ่งในสังคม ก็เป็นทุกข์
-ทะเลาะวิวาท สงคราม ก็เป็นทุกข์
-กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ เผาใจ ก็เป็นทุกข์
-ปรารถนาสิ่งไดไม่ได้ สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
-พลัดพราก จากของรักของชอบ ก็เป็นทุกข์
-อุปาทานในตัณหา อุปาทานในขันธ์ห้า ก็เป็นทุกข์
.....การดับอุปาทาน ในตัณหา หรืออุปาทานในขันธุ์ห้าเสียได้ จึงสิ้นเหตุทุกข์ทั้งปวง
19.ถอนอุปาทานในตัณหาเสียได้ ก็ไม่ต้องหลั่งน้ำตา อิๆ
อาสวะ ขยะชีวิตที่เราเก็บมา ปรุงเป็นอุปาทานในตัณหาคือ
-ความคิดชั่วร้าย กระแสชั่วร้าย คนร้าย สัตว์ร้าย ที่เราเก็บมาเป็น ต้นแบบชีวิต เราต้องเว้น
-หากต้องประสบ ต้องอดทน
-หากจำเป็นต้องใช้ ต้องพิจารณา ไม่ตกเป็นทาส
-ความทรงจำ ที่ขาดไตรลักษณ์กำกับ ต้องเอามาล้าง ให้จิตเป็นกลาง พ้นชอบชัง
-แรงทะยานอยากภายใน เกิดจากสัญชาติญาณชีวิต ต้องฝึกเปลี่ยน กิเลสให้เป็นโพธิ
-คิด ให้เป็น
-เห็นให้แจ้ง รู้ว่า คิด พูด ทำ อย่างนี้ ผลจะเป็นอย่างไร
-พลิกจิตให้ทัน ด้วยสติ ปัญญาฝึกดีแล้ว เดินในทาง สัมมาทิฐิฝ่ายเดียว อิๆ
20.ชีวิตที่ ไม่พบโลกุตระธรรมย่อม อยู่ในเพลิงเผา
เพลิงกิเลส คือ เพลิงราคะ เพลิงโทสะ เพลิงโมหะ
เพลิงทุกข์ เพราะอุปาทานในขันธ์ห้า ปรุงแต่ง ด้วยขาดสติกุมสภาพจิต
พ้นได้โดยฝึก
ถอนอาลัย คลายกำหนัด ตัดวัฏฏะทุกข์ ทำอาสวะให้สิ้น อย่างไม่ละลด
..........................
พักก่อนง่วงแย้ว บาย อิๆ
21.ทางสายกลาง คือทาง ดับเพลิงกิเลส และเพลิงทุกข์ ได้สิ้นเชิง
การ เพลิดเพลินในกามคุณ เพราะเชื่อมั่นใน อุจเฉททิฐิ
การทรมาน กาย ให้ลำบาก เพราะเชื่อมั่นใน สัสสตทิฐิ
ทางสองสายนี้ ดับทุกข์ทั้งปวงไม่ได้(ทำให้สบายกาย สบายใจชั่วคราว)
การฝึกตนใน มรรคแปดคือ
-ใช้ทฤษฎีเหมาะสม
-ตั้งเป้าหมายชัดเจน
-เปลี่ยนวิธีคิด ด้วย วาจาสุภาษิต
-สุจริตในกายกรรม
-อาชีพ ที่สุจริต
-เพียรล้าง อกุศล เจริญกุศลให้มั่นคง
-สร้างพลังจิตด้วย ฝึกสติปฐานสี่
-สร้างความตั้งใจมั่นคง ในอารมณ์และ ความคิด มโนธรรม
.........................
22. อุปาทานในขันธ์ห้า นั่นแหละสร้าง อารมณ์ทุกข์
โลกย่อม ไม่ขาดซึ่ง....ปัญหา
โลกย่อม ไม่ขาดซึ่ง....ความทุกข์
แต่อารมณ์ทุกข์.........เราปรุงขึ้นมาเอง
ปัญหามี ความทุกข์มี แต่อารมณ์ทุกข์ไม่มี
เพราะเราดับ อุปาทานในขันธ์ห้าได้แล้ว อิๆ
23.ทุกข์เกิด จากเหตุ(อวิชชา ในอุปาทานในตัณหา)
ทุกข์ก็ดับได้ เมื่อ ดับเหตุ ด้วย มีสติตอนผัสสะโลก ธรรม (วิชชา)
ไม่เอาเหตุทุกข์มาปรุงอีก
"ผัสสะโลก ธรรม.......................ด้วยสติ กุมสภาพจิต
จิตเบิกบาน แจ่มใส...................ไร้กิเลสนั่น
จิตมั่นคง ในอารมณ์ มโนธรรม.....อันดีงามกัน
ใครทำได้อย่างนี้นั้น ย่อมประสบ....บรมโชคดีฯ
(มงคลชีวิต)
24.ถอนอารมณ์ทุกข์ ทันที คือสิ่งที่เร่งด่วน
ทุกครั้งที่ ผัสสะโลก ธรรม แล้วเกิดอารมณ์ทุกข์
ต้องพลิกจิต พ้นจากเพลิงอารมณ์ทุกข์ทันที
ดุจผู้ถูกศรปัก ต้องถอนศร เยียวยาด่วนที่สุด
ศรที่เสียบแทงชีวิตคือ
ราคะ โทสะ โมหะ ทิฐิ มานะ โศก อภิสังขาร
(คิดแบบขาดสติกุมสภาพจิตอวิชชาเป็นแดนเกิด)
25.ร้อนเพราะไฟกิเลส ดับได้เพราะฝึก ด้วยตนเอง
เมื่อเจอปัญหา เราสู้ เรายอมจำนน เราหนี เราประนีประนอม
ทางที่ถูก ต้องดับเหตุทันที
ดุจคนถือคบเพลิง แล้วร้อน ก็ต้องวางทิ้งออกไปจากชีวิต อิๆ
26.ของร้อนในชีวิตที่แท้จริง
หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะโลกด้วย
ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อไหร่ ไฟ กิเลส ก็สร้างไฟทุกข์ ให้ชีวิตเร่าร้อนได้ ทันที
เป็นไฟที่ให้โทษ
ไฟที่ให้คุณแก่ชีวิต คือ ไฟสติปัญญาที่ฝึกมาดีแล้ว
27.กามคุณคือเหยื่อล่อของมาร
กิเลสกาม..........เกิดขึ้นภายใน
วัตถุกาม...........มีมายาบิดบัง (ซ่อนความเสื่อม สลายไว้)อยู่ภายนอก
ไม่มีกิเลสกาม....ก็ดุจตบมือข้างเดียว
เจโตวิมุติ คือ......ผู้ชนะกิเลสกามและโทสะในตน
ผู้รู้จึงเร่ง ฝึกตนฯ
28.จิตอันฝึกดีแล้ว เป็นที่พึ่งอันหาได้ยาก
ฝึกจิตได้ คือ ฝึก ใช้สติ กุมสภาพ
ยามคิด ยามเกิดอารมณ์ ยามตั้งเจตนา ยามเรียนรู้ ยาม แรงขับชีวิตประทุ
ด้วยหลัก สติปฐานสี่ มีสติรู้เท่าทันใน
กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เอามาปรุงแต่งความคิดฯ
29.ชนะกิเลสในตน คือพุทธะ
ชนะโลก คือ จักรพรรดิ
ชนะความรู้เข้าใจโลก คือนักปราชญ์
ชนะกิเลสภายใน คือ พุทธะ
30.บุคคลที่ฝึกจิตดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ
ผู้ออกกำลัง..................ย่อมได้กำลัง
ผู้เจริญกุศล.................ย่อมได้รับกุศล
ผู้มีจิตเอื้อเฟื้อ...............ย่อมมีวาสนา
ผู้มีสัจจะในขันติธรรม....ย่อมมีบารมี
ผู้ฝึกตน พ้น ราคะ โทสะ โมหะ..มีปกติสงัดจากกิเลส ย่อมเป็นผู้ประเสริฐ ในหมู่มนุษย์
พระพุทธองค์ทรงปรินิพพาน ศิลปะญี่ปุ่น พุทธศตวรรษที่23
มีต่อค่ะ
ฐิตา:
31.ขันติโสวจัสสตา เป็นความงาม ของอริยะ
อดทน ต่อคนยก...............ไม่ลอย
อดทนต่อคนเหยียบ...........ไม่พอง
อดทนต่อ วาทะผู้เสมอกัน....ด้วยเมตตาจิต
ย่อม ดับไฟแห่งวิวาท เปิดประตูแห่งสันติธรรมให้เกิดขึ้น
จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้งดงาม ในจริยาวัตร ท่ามกลางหมู่มนุษย์
32.กรรมที่ทำแล้วเดือดร้อนภายหลัง ต้องเว้น
คฤหัสถ์.......................ไม่ขยัน ในกิจควรทำ หนึ่ง
ราชะ........................ บ่รอบคอบ ก่อนตัดสิน หนึ่ง
บรรพชิต.....................ไม่สำรวม หนึ่ง
อ้างเป็นบัณฑิต..............แต่เป็นทาสโทสะ หนึ่ง
เป็นธรรม ที่ให้โทษฯ
33.ผู้ชนะมาร
ทรงเล่า ประวัติพระองค์
ออกจากโลกียะ สมบัติ
ฝึกฝน จิตให้ยิ่ง
ทิ้งอาสวะ ทั้งหลายได้แล้ว
ไม่อยู่ในอำนาจของ
ศุภะ อรดี ตัณหา ราคะ อภิสังขาร
ความทยานอยาก อันเนื่องด้วยอุปทานในตัณหา
จึงได้ชื่อว่า"ชนะมาร"
34.เจ้ามา มือเปล่า แล้วเจ้าจะเอาอะไร?
เมื่อเจ้ามามีอะไรมาด้วยเจ้า
เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เมื่อเจ้ามามือเปล่าไม่มีอะไร
เจ้าก็ไปมือเปล่าเหมือนเจ้ามา
......โอวาทของ สมเด็จพระพุฒจารย์โต พรหมรังสี
...........................................
ทุกอย่าง เรายืม ธรรมชาติมาใช้
หากใช้สร้าง กุศล วาสนา และ ดับเพลิงกิเลส ทุกข์ ด้วยตนเอง
ชีวิตที่เหลืออยู่ คือ กำไรชีวิต ที่แท้จริง
...........................................
35.ชีวิตต้องพลัดพราก เป็นธรรมดา
เมื่อพลัดพราก สูญเสีย................ฤาเสียใจ
เมื่อพบความ อยุติธรรม................ยังใจมั่นคงได้
เมื่อตกระหกเหิน........................ยังมั่นคงใน
เมื่อเจ็บป่วยไข้ เจียนตาย..............ยังเบิกบาน จิตสว่างใน
เมื่อมีสิทธิอำนาจ........................ไม่หลง เหลิง ให้โทษ คุณ
เลิกสร้างเพลิง กิเลส เพลิงทุกข์......เผา แล้วหนอ
การเกิดครั้งนี้............................พบคำว่า "พอ"
ทุกข้อนั้น..................................ต้องฝึก จึงพ้นเอยฯ
36.ราคะ เป็นยาพิษ สำหรับสมณะ
นักบวช มีภัยสี่คือ
สตรี ที่อุดมด้วยกามคุณ
สตางค์ อดิเรกลาภ ที่ไม่เอาไปปริวัตร เป็นประโยชน์ต่อชาวโลก
เสือ หลงในสิทธิ อำนาจ ไม่ทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ
ขาดสติ ไม่ฝึกฝนตน ในโพธิปักขิยะธรรม จนจิตอ่อนแอ ขาดปัญญา
37.ชีวิตอยู่กับ การเปลี่ยนแปลง ทุกขณะจิต
ดุจเกลียวคลื่น ที่ม้วนตัวซบฝั่ง ไม่ยั่งยืน
38.อวิชชา บังวิสัยทัศน์ของปัญญา
ชีวิต จึงเหมือน คนหลงป่า
หน้าชื่น อกตรม
39.มีธรรมเป็นที่พึ่ง
เจริญสัมมาสติ ให้ยิ่ง
เป็นอุดมคติของชีวิต
40.บัณฑิต แม้นประสบทุกข์ ย่อมไม่ทิ้งธรรม
41.บุคคลหายากยิ่ง คือผู้ทิ้งข้าศึก ของพรหมจรรย์
42.กัลยาณธรรม คือที่พึ่งของชีวิตที่ดี ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
43.สุขจาก จิตเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ขณะมีชีวิต มีคุณค่าที่แท้จริง
44.ผู้ให้ ย่อมเป็นสุข
45.ทุกสิ่ง เป็นเพียง สิ่งที่ยืมมา ไม่ใช่ตัวตู ของตูที่แท้จริง
46.โภคทรัพย์ของคนดี ย่อมมีประโยชน์แก่คนหมู่มาก
47.ผู้มีจาคะธรรม จิตย่อมสะอาดเสมอ เช่นแม่น้ำที่ไหลอยู่
48.ผู้ไม่จาคะ เหมือนน้ำเน่าขังอยู่
49.ทานที่มีอนิสงค์ มาก
คิด ให้ ให้แล้ว จิตผ่องใส ทั้งผู้ให้ผู้รับ ปลอด ราคะ โทสะ โมหะ
50.ผู้เจริญกุศล ย่อม เปี่ยมด้วย กุศล
กุศลคือ ความฉลาด ทางโลกและทางธรรม
"ฉลาด รู้ถ้วนทั่ว........ทำดี
ฉลาด รู้วิธี ราวี...........กำหราบชั่ว
ฉลาด รู้ วิธีพัฒนา.......ศักยภาพ ของตัว
ฉลาด รู้ วิธีพาจิต........พ้นความพันพัว สู่วิมุติธรรมฯ
ฐิตา:
51.เป้าหมาย ของการประพฤติพรหมจรรย์ ของพุทธองค์
-ไม่เป็นไปเพื่อปรับวาทะ กับลัทธิอื่น
-ไม่เป็นไปเพื่อหลอกลวง
-ไม่เป็นไปเพื่อ ชื่อเสียง
-ไม่เป็นไปเพื่อ ลาภสักการะ
-ไม่เป็นไปเพื่อ อนิสงค์แห่งศีล
-ไม่เป็นไปเพื่อ อนิสงค์แห่งสมาธิ
-ไม่เป็นไปเพื่อ อนิสงค์แห่งปัญญา
เป็นไปเพื่อ สังวร สำรวม และประหาร
เพลิงกิเลส และเพลิงทุกข์ ด้วยการทำอาสวะให้สิ้น
(และเอื้อเฟื้อ ต่อสามโลก)
52.โลกุตระธรรม นั้น บัณฑิต พึงรู้ได้เฉพาะตน
เพราะละเอียด ลึกซึ้ง ประณีต เกินวิสัยสัตว์ ผู้หยาบ จะรู้ตาม
53.ตถาคต เป็นเพียงผู้ชี้ทาง ธรรมที่เจริญดีแล้ว เป็นที่พึ่งอันหาได้ยากยิ่ง
54.ร่างกาย อันโสโครก ไม่จีรัง เป็นที่พอใจของผู้ไร้ปัญญา
55.ร่างกาย ดุจป่าช้าของสรรพสัตว์ แต่เป็นเรือ ที่นำเราข้ามฝั่งนิพพานได้
(พึงปล่อยวาง แต่ไม่ใช่ปล่อยตัว ไม่ดูแล ให้มีสุขภาพดี อิๆ)
56.ร่างกาย คือโลงศพ ที่มีชีวิต
57.มรรคแปด คือทางสู่อมฤตธรรม(ธรรมที่ชีวิตมีชีวา พ้นเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง)
58.ตราบเท่าที่ เจริญธรรมในมรรคแปดโดยชอบ โลกย่อมไม่ว่างจาก พระอรหันต์(ผู้ไกลจากกิเลส)
59.ผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน
คือผู้ เคารพในพระรัตนตรัย
มีความเพียรเผา กิเลส
เคารพในไตรสิกขา
เคารพในปฏิสันฐานธรรม
เคารพในสหายในธรรม
ย่อมไม่ห่างจากพระนิพพาน
“ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน” ผลงานของ มาโนชญ์ เพ็งทอง
60.ธรรมที่ให้ความเจริญแต่ฝ่ายเดียว
-ประชุมกันเสมอ
-มีความพร้อมเพรียง
-ไม่ละเมิดสิกขา ที่บัญญัติไว้ดีแล้ว
-เคารพ ผู้ อวุโส
-ไม่ตกอยู่ในอำนาจตัณหา
-ยินดีใน ความสงบ สงัด สันโดษ
-ยินดีในปิยะมิตร กัลยาณธรรม
ย่อมเป็นทางแห่งความเจริญทางโลกและธรรม
61.ธรรม ของผู้ไม่ประมาท
-ไม่หมกมุ่นกับ กิจการงาน มากเกินไป
-ไม่ คุย สนทนา ในเรื่องที่ทำให้ฟุ้งซ่าน
-ไม่เกียจคร้าน เอาแต่นอน
-ไม่มัวคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ
-ไม่มี ความปรารถนาลามก
-ไม่ตกอยู่ในอำนาจ ความชั่ว
-ไม่คบคนพาล
-ไม่หยุดความเพียรฝึกตน
-ทบทวน ชีวิต และปรับสู่เส้นทางแห่งมรรค เสมอ
62.วาจาสุภาษิต ย่อมมีประโยชน์ เมื่อนำไปปฏิบัติ
.................................
"ปัจฉิมวาจา"
"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อม เป็นธรรมดา
เธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตน และประโยชน์
ให้ถึงพร้อม ด้วย ความไม่ประมาทเทอญฯ"
ประโยชน์ตน คือ....ฝึกฝนตนเองให้พ้นเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ด้วยการทำอาสวะให้สิ้น
ประโยชน์ท่าน........คือมีจิตเอื้อเฟื้อ เมตตากรุณา ทักษิณาทาน ต่อตนและโลกเสมอกัน
หรือ มี โลกุตระจิต กับโพธิ์จิต เจริญไปด้วยกัน
..............................
สาธุ สาธุ สาธุ
โดย : 62 พุทธโอวาท ก่อนปรินิพพาน ปู่ลิงถอดความ
Credit by :http://www.212cafe.com/boardvip/view.php?user=cm99&id=2004
ขอบคุณลิ้งค์ที่มาจาก.. น้องโมเม
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 10
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่ง แห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ยิ่งเป็นพิษแก่จิตใจทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อย่าหวังอะไรให้มากนัก
จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า
ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง
และแตกกระจายเป็นฟองฝอย
จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่ง
มองดูเกลียวในมหาสมุทรฉะนั้น"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อย ผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบ ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายน่าหวาดเสียว และว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่า ภายในส่วนลึกแห่งหัวใจ เขาจะว้าเหว่และเงียบเหงาสักปานใด ถ้าทุกคนซึ่งกำลังว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักที่แน่นอนของชีวิต"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้นควรเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้นย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติภายหลังแล้ว ก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมดาว่าไม้จันทน์ แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายได้สละเพศฆราวาสมาแล้วซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้นคือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ บุคคลร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน บุคคลพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน บุคคลแสนคนหาคนพูดความจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบว่าจะหาในบุคคลจำนวนเท่าไร จึงจะพบได้หนึ่งคน"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทองหรือของที่บุคคลหวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งทาส กรรมกร คนใช้และที่อยู่อาศัย สิ่งอื่นๆ ทั้งหมดนี้บุคคลนำไปไม่ได้ ต้องทอดทิ้งไว้หมด แต่สิ่งที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ นั่นแหละที่จะเป็นของเขา เป็นสิ่งที่เขาต้องนำไปเหมือนเงาตามตัว เพราะฉะนั้นผู้ฉลาดพึงสั่งสมกัลยาณกรรม อันจะนำติดตัวไปสู่สัมปรายภพได้ บุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อไฟไหม้บ้านภาชนะเครื่องใช้อันใดที่เจ้าของนำออกไปได้ ของนั้นก็เป็นประโยชน์แก่เจ้าของ ที่นำออกไม่ได้ก็ถูกไฟไหม้วอดวายอยู่ ณ ที่นั้นเองฉันใด คนในโลกนี้ถูกไฟคือความแก่ ความตายไหม้อยู่ก็ฉันนั้น คนผู้ฉลาดย่อมนำของออกด้วยการให้ทาน ของที่บุคคลให้แล้วชื่อว่านำออก ดีแล้ว มีความสุขเป็นผล ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่โจรอาจขโมยเสียบ้าง ไฟอาจจะไหม้เสียบ้าง อีกอย่างหนึ่งเมื่อความตายมาถึงเข้า บุคคลย่อมสละทรัพย์สมบัติและแม้สรีระของตนไว้ นำไปไม่ได้เลย ผู้มีปัญญารู้ความจริงข้อนี้แล้ว พึงบริโภคใช้สอย พึงให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นเพื่อได้ให้บริโภคตามสมควรแล้วเป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าสู่ฐานะอันประเสริฐ"
-http://dhamma.vayoclub.com/index.php/topic,444.0/nowap.html
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าหวังอะไรให้มากนัก
จงมองชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า
ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่น ซึ่งก่อตัวแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง
และแตกกระจายเป็นฟองฝอย
จงยืนมองดูชีวิต เหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่ง
มองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทร ฉะนั้น
...อ.วศิน อินทสระ
"พระอานนท์พุทธอนุชา"
- http://www.dharma-gateway.com/ubasok/wasin/wasin-062-02.htm
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
lek:
:07: :13:
ฐิตา:
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน อัปโหลดโดย hiphoplanla เมื่อ 22 ธ.ค. 2011
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
เรียบเรียงโดย อ.วศิน อินทสระ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง มหาปรินิพพานสูตร
: http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version