แสงธรรมนำใจ > ดอกบัวโพธิสัตว์

รู้จักคัมภีร์จากภาพ

<< < (2/4) > >>

ฐิตา:

ภาพประกอบคัมภีร์วรโยคสาร



คัมภีร์วรโยคสาร
วร -> ดี โยค -> การประกอบ  การใช้  การร่วม  สาร ->ส่วนสำคัญ หนังสือ
หมายถึง ตำราว่าด้วยองค์แห่งแพทย์ ๓๐ ประการ คุณลักษณะของแพทย์ที่ดี
ลักษณะผู้ป่วย  นิมิตโรค  การรักษาโรค การเก็บสมุนไพร และท้ายสุดว่าด้วยอาหาร
ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ  เป็นตำราทางการแพทย์แผนไทยเล่มเดียว
ที่ไม่กล่าวถึงตำรายาเลย
ภาพนี้มีเนื้อหาแสดงพืชพรรณที่ใช้เป็นสมุนไพร เช่น ข้าวสาลี   ถั่วต่าง ๆ  ฯลฯ

ฐิตา:

ภาพประกอบคัมภีร์มหาโชตรัต



คัมภีร์มหาโชตรัต โชต -> สว่าง รุ่งเรือง รัต -> ยินดี ชอบใจ   
หมายถึง ตำราว่าด้วยโรคสตรีโดยเฉพาะ
ภาพนี้กล่าวถึงโรคเกี่ยวกับสตรีและลักษณะที่เพศหญิงแตกต่างจากเพศชาย

ฐิตา:

ภาพประกอบคัมภีร์ชวดาร



คัมภีร์ชวดาร  ชว -> เร็ว ดาร -> เสียง   เสียงแหลม  ดาล -> เกิดขึ้น   เป็นขึ้น
หมายถึง ตำราว่าด้วยโรคลมและโรคเลือด
ภาพนี้แสดงสัญลักษณ์ของธาตุลม (วาโยธาตุ) ว่ามีคุณสมบัติคือความเบา
และเคลื่อนที่ได้ พระวายุเป็นบุคลาธิษฐานของธาตุลมเป็นเพศชายเนื่องจากมีฤทธิ์
สร้างความวิบัติได้ เช่น ลมพายุ พระคัมภีร์นี้ กล่าวถึงความสำคัญของโลหิตกับลม
ซึ่งโรคภัยเกิดขึ้นได้อันเนื่องมาจากความผิดปกติของโลหิตกับลมในร่างกายคน

ฐิตา:

ภาพประกอบคัมภีร์โรคนิทาน



คัมภีร์โรคนิทาน           นิทาน ->เหตุ
หมายถึง ตำราที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค ภาพนี้แสดงสัญลักษณ์
ของธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ธาตุ  ธาตุน้ำมีคุณสมบัติ
เลื่อนไหลไปมา  อาศัยธาตุดินเพื่อคงอยู่ อาศัยธาตุลมเพื่อการเลื่อนไหล 
พระแม่คงคาเป็นบุคลาธิษฐานของธาตุน้ำตามคติไทยโบราณ เพราะมีความเชื่อว่า
น้ำเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตคือใช้อุปโภคบริโภคเราจึงยกย่องน้ำให้เป็น “แม่”

ฐิตา:

ภาพประกอบคัมภีร์ธาตุวิวรณ์



คัมภีร์ธาตุวิวรณ์       ธาตุ -> ส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย   
 วิวรณ์  -> การเปิด    การเผยแผ่
ตำราว่าด้วย การอธิบายสาเหตุที่ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีอาการไม่ปกติ
รวมถึงการแก้ไข  การรักษาให้ธาตุทั้ง ๔ เป็นปกติ ภาพนี้แสดงสัญลักษณ์ของ
ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) ว่าคือ องค์ประกอบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต มีคุณสมบัติคือความร้อน
ไฟเป็นพลังทำให้ลมและน้ำในร่างกายขับเคลื่อนด้วยพลังที่พอเหมาะ  พระอัคนี (เตโช)
เป็นบุคลาธิษฐานของธาตุไฟ เป็นเพศชายเนื่องจากมีฤทธิ์สร้างความ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version