วิถีธรรม > กฏแห่งกรรม-ชาติภพ
การล่วงเกิน "ผู้มีธรรม"
sithiphong:
ปรามาสภิกษุ กรรมที่ต้องระมัดระวัง
-http://www.tteen.net/view.php?time=20100922145155-
กรรมของอัมปาลี เกิดเป็นโสเภณี
บุรกรรมของอัมพปาลีเกิดขึ้นในอดีตชาติเมื่อครั้ง ๓๑ กัปก่อน ครั้งนั้นเป็นพุทธกาลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าพระสิขีทศพล
นางอัมพปาลีเกิดเป็นธิดาตระกูลพราหมณ์ในนครอมรปุระ วันหนึ่งนางได้ด่าภิกษุณีรูปหนึ่งว่าเป็นหญิงแพศยา
ด้วยเหตุที่ภิกษุณีรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ กรรมนี้จึงเป็นกรรมหนักมาก
เมื่อทำกาละแล้วนางอัมพปาลีจึงต้องไปรับกรรมหมกไหม้อยู่ในนรกนานแสนนาน
เมื่อพ้นกรรมหนักจากนรกกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง เศษของกรรมได้ส่งผลให้
นางอัมพปาลีต้องเกิดเป็นหญิงแพศยามานับหมื่นๆ ชาติ จนถึงพุทธกาลปัจจุบันนางเกิดขึ้นโดยการอุบัติ (โอปปาติกกำเนิด)
เป็นสาวสวยที่โคนต้นมะม่วงในพระราชอุทยานกรุงเวสาลี จึงได้ชื่อว่า อัมพปาลี
แต่ด้วยเศษของอกุศลกรรมที่เคยด่าพระเถรีในครั้งนั้นยังคงหลงเหลืออยู่ ความงามของนางจึงเป็นโทษ
เพราะทำให้บรรดาเจ้าชายลิจฉวีทะเลาะแย่งชิงกันเพื่อจะได้นางไปเป็นสนม
คณะผู้พิพากษาแห่งวัชชีต้องยุติข้อขัดแย้งโดยตัดสินให้อัมพปาลีเป็นหญิงแพศยา เป็นนางคณิกานคร
เป็นสมบัติของทุกคน การแย่งชิงนางจึงสงบลงได้
(ภายหลังบวชเป็นภิกษุณีและสำเร็จเป็นพระอรหันต์)
กรรมของโสไรยบุตร จากชายกลายเป็นหญิง
โสไรยบุตร เป็นบุตรเศรษฐีในโสไรยนครซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ใกล้กรุงสาวัตถี เขามีภริยา และมีบุตรชายแล้ว ๒ คน
วันหนึ่ง โสไรยบุตรนั่งยานออกไปอาบน้ำนอกนครกับบริวาร ระหว่างทางเห็นพระมหากัจจายนเถระกำลังบิณฑบาตอยู่
พระเถระรูปนี้มีรูปสวย มีผิวพรรณวรรณะงดงามดังทองคำ โสไรยบุตรเห็นพระเถระแล้วเผลอใจคิดไปว่า
“สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้น่าจะได้เป็นภริยาของเรา”
ด้วยจิตอันเป็นอกุศลต่อพระเถระขีณาสพผู้ล่วงอาสวะแล้ว เพศชายของโสไรยบุตรจึงหายไป
กลับกลายเป็นเพศหญิงมาแทนที่ โสไรยบุตรกลับกลายเป็นโสไรยธิดา เป็นกุลธิดารูปงาม
ด้วยความตกใจและความอายเธอจึงลงจากยานแอบหนีไป คนรู้จักแม้มองเห็นก็จำไม่ได้ว่ากุลธิดานี้คือโสไรยบุตร
โสไรยธิดาลงจากยานแล้วไม่รู้ว่าจะไปทางไหน เธอจึงเดินตามขบวนเกวียนสินค้าขบวนหนึ่งไป
เมื่อเดินจนเมื่อย เธอจึงถอดแหวนให้ และขอนั่งไปบนเกวียน
ขบวนเกวียนนั้นเดินทางถึงตักกศิลา แคว้นคันธาระ นายเกวียนคิดว่าบุตรเศรษฐีในกรุงตักกศิลายังไม่มีภริยา
กุลธิดาผู้นี้มีรูปงามสมกัน เขาจึงพาโสไรยธิดาไปพบบุตรเศรษฐีหวังได้รางวัล บุตรเศรษฐีเห็นนางแล้วหลงรัก
รับนางเป็นภริยา โสไรยธิดาจึงได้เป็นภริยาของบุตรเศรษฐีกรุงตักกศิลา ต่อมาเธอก็ตั้งครรภ์
และมีบุตรกับสามี ๒ คน ตอนนี้เธอจึงมีบุตรแล้ว ๔ คน บุตร ๒ คนแรกมีเธอเป็นบิดาอยู่ที่โสไรยนคร
ส่วนบุตรอีก ๒ คนมีเธอเป็นมารดาอยู่ร่วมกันที่ตักกศิลา
(ต่อมาโสไรยธิดาธิดาได้ขอขมาพระเถระจึงได้กลับเพศเป็นชาย ออกบวช และสำเร็จเป็นพระอรหันต์)
กรรมของอุคคเสน จากบุตรเศรษฐีเป็นนักแสดงกายกรรม
ในอดีตกาลครั้งพุทธกาลของพระกัสสปทศพล ชนจำนวนมากช่วยกันสร้างเจดีย์บูชาพระบรมศาสดา
ในครั้งนั้นมีสองสามีภรรยามีจิตศรัทธาขนของกินของใช้บรรทุกยานเดินทางไปร่วมงานก่อสร้างพระเจดีย์
ระหว่างทางพบพระเถระองค์หนึ่งกำลังบิณฑบาตอยู่ ภรรยาเห็นพระเถระจึงบอกสามีว่าของกินในยานเรามีจำนวนมาก
นายจงนำบาตรของพระคุณเจ้ามาเพื่อถวายภิกษาเถิด
เมื่อสามีรับบาตรมาแล้วภรรยาก็ใส่บาตรนั้นจนเต็ม ให้สามีนำกลับไปถวายพระเถระ
เสร็จแล้วภรรยาได้กล่าวคำปรารถนาว่า ท่านเจ้าข้า ด้วยผลบุญที่ดิฉันและสามีได้ถวายภิกษาแก่ท่านนี้
ขอให้ดิฉันทั้งสองได้เห็นธรรมอันท่านได้เห็นแล้วด้วยเถิด
พระเถระตรวจดูความปรารถนานั้นเห็นว่าจะสำเร็จสมความปรารถนาในพุทธกาลถัดไป ท่านจึงทำอาการยิ้ม
ภรรยาเห็นพระเถระยิ้มจึงพูดกับสามีว่า ดูสินาย พระคุณเจ้าของเราท่านยิ้มเหมือนเด็กนักฟ้อนเลย
สามีเห็นดีเห็นงามตามภรรยาตอบว่า จริงสิ
แม้คำพูดนี้จะไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ แต่ก็เป็นกรรมที่ทำกับพระเถระขีณาสพ
ในพุทธกาลปัจจุบันภรรยาผู้นั้นจึงเกิดมาเป็นหญิงนักฟ้อน ส่วนสามีได้เกิดมาเป็นบุตรเศรษฐีในนครราชคฤห์ชื่อว่า
อุคคเสน แต่เพราะเห็นดีเห็นงามไปกับภรรยาด้วยเขา
จึงมีกรรมต้องออกจากเรือนเศรษฐีไปเร่ร่อนอยู่ในคณะมหรสพกับหญิงผู้เป็นภรรยา
(ภายหลังทั้งสองสำเร็จเป็นพระอรหันต์)
กรรมของพระจูฬปันถก ภิกษุปัญญาทึบ
จูฬปันถกเป็นหลานชายราชคฤห์เศรษฐี พี่ชายชื่อมหาปันถกซึ่งออกบวช
และสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วมาชวนให้ออกบวชด้วย จูฬปันถกจึงออกบวชในสำนักของพระพี่ชาย
แต่ด้วยกรรมเก่าเมื่อครั้งบวชเป็นภิกษุในพุทธกาลก่อน เคยพูดเยาะเย้ยภิกษุรูปหนึ่งว่าปัญญาทึบ
แม้จะมีวาสนาบารมีจากการบวชมาแล้ว แต่กรรมเก่านั้นได้ส่งผลให้พระจูฬปันถกมีปัญญาทึบมาก
พระพี่ชายให้ท่องคาถาแค่ ๔ บาท ใช้เวลาท่อง ๔ เดือนยังท่องไม่ได้ จนถูกพระพี่ชายไล่ให้สึกไปยืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตูวิหาร
(สุดท้ายได้อุบายธรรมโดยตรงจากพระบรมศาสดา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก และมีปัญญามาก)
กรรมของวัสสการพราหมณ์ เกิดเป็นลิง
วัสสการพราหมณ์เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ เป็นคนมีปัญญามากกว่าอำมาตย์อื่น
จึงเป็นที่ไว้วางพระทัยของพระเจ้าอชาตศัตรู ได้รับมอบหมายให้ไปเฝ้าทูลถามราชกิจจากพระบรมศาสดาบ่อยๆ
แต่วัสสการพราหมณ์เป็นคนนอกศาสนา แม้จะไปเฝ้าพระศาสดาบ่อยครั้ง
แต่ก็ไปเพราะพระบัญชาของพระเจ้าอชาตศัตรู ไม่ได้ไปเพราะนับถือพระรัตนตรัย
วันหนึ่งวัสสการพราหมณ์เห็นพระมหากัจจายนะเถระลงมาจากเขาคิชฌกูฏิ
ด้วยความคะนองปากจึงเอ่ยวาจาเปรียบพระกัจจายนะเถระว่าคล้ายลิง
พระพุทธองค์ตรัสเตือนว่า การพูดปรามาสพระอรหันต์ขีณาสพผู้พ้นอาสวะแล้วเป็นกรรมหนัก
กรรมนี้จะทำให้วัสสการพราหมณ์ต้องไปเกิดเป็นลิงอยู่ในสวนภายในวัดเวฬุวัน
ต้องขอขมาโทษจากพระเถระจึงจะพ้นจากกรรมนี้ได้
วัสสการพราหมณ์ฟังแล้วไม่ได้ทำตาม แต่ก็ครั่นคร้ามว่าคำของพระศาสดาไม่เคยคลาดเคลื่อน
เขาจึงเร่งปลูกไม้ผลสารพัดชนิดภายในวัดเวฬุวัน และว่าจ้างคนมาดูแลสวนเป็นอย่างดี
หวังเพียงว่าเมื่อต้องไปเกิดเป็นลิงเขาจะได้มีผลไม้กิน
เมื่อทำกาละแล้ว วัสสการพราหมณ์ก็ได้ไปเกิดเป็นลิงอยู่ในสวนภายในเวฬุวันวิหารสมดังพุทธดำรัส
เวลาใครเอ่ยชื่อเรียกวัสสการพราหมณ์ ลิงตัวนี้ก็จะเข้ามายืนใกล้ๆ ด้วยความเข้าใจ
กรรมของปัญจปาปี ผู้หญิง ๕ บาป
อดีตกาลครั้งสิ้นพุทธกาลจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนไปแล้ว มีหญิงยากไร้คนหนึ่งอาศัยในนครพาราณสี
วันหนึ่งขณะที่เธอกำลังนั่งขยำดินเหนียวเพื่อใช้ทาฝาเรือนอยู่
ก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเที่ยวบิณฑบาตหาดินเหนียวเนื้อดีเพื่อจะนำไปทาเงื้อมฝาที่อยู่อาศัยของท่านที่ชำรุด
มาหยุดยืนอยู่ตรงหน้า หญิงยากไร้นั้นรู้สึกโกรธ เธอทำหน้าบึ้ง มองค้อน
และทำปากหมุบหมิบพูดประชดประชันพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า เช้าก็บิณฑบาตอาหาร
พอสายยังมาบิณฑบาตดินเหนียวอีก พระปัจเจกพุทธเจ้าประสงค์จะโปรดหญิงยากไร้นั้น
ท่านจึงยืนสงบนิ่งอยู่ ครั้นหญิงยากไร้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าสงบนิ่งอยู่ในอาการสำรวมเช่นนั้น
ความรู้สึกโกรธก็หายไป กลับมีจิตเลื่อมใส เธอจึงยกดินเหนียวก้อนใหญ่ใส่ลงในบาตร
เมื่อถึงกาลกิริยาแล้ว หญิงยากไร้นั้นได้ไปเกิดเป็นธิดาของหญิงทุคตะ
ชาวบ้านที่อยู่ใกล้ประตูนอกเมืองพาราณสีนั้นเอง และด้วยวิบากกรรมที่เธอทำกิริยาไม่งามต่อพระปัจเจกพุทธเจ้า
ร่างกายของเธอจึงผิดปกติ ๕ อย่าง คือ มือ เท้า ปาก ตา และจมูก เป็นหญิงอัปลักษณ์ ใครเห็นใครเมิน
ใครมองก็รังเกียจ บางคนแค่เห็นหน้าก็จะอาเจียน ชาวบ้านเรียกเธอว่า ปัญจปาปี หรือหญิง ๕ บาป
แต่เพราะกุศลกรรมที่ใส่บาตรด้วยดินเหนียว ผิวกายของนางจึงอ่อนนุ่มมาก
ใครได้สัมผัสนางเป็นต้องหลงรักทุกคน ต่อมานางจึงได้เป็นราชินีถึงสองนคร มีสามีทีเดียวถึงสองคน
-http://www.tteen.net/view.php?time=20100922145155-
.
sithiphong:
กรรมในการปรามาสหรือล่วงเกินพระอริยะเจ้า
-www.dhammajak.net-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
พยสนสูตร
[๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ
ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ
ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑
เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑
สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑
เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑
เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑
ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑
ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑
เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ
ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ
จบสูตรที่ ๘
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔
๘. พยสนสูตร
อรรถกถาพยสนสูตรที่ ๘
พยสนสูตรที่ ๘ ....พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในคำว่า อกฺโกสกปิรภาสโก อริยุปวาที สพฺรหฺมจารีนํ นี้ พึงประกอบ สพฺรหฺมจารี
กับ อกฺโกสนบท และ ปริภาสกบท. บทว่า เป็นผู้ด่าสพรหมจารี เป็นผู้บริภาษสพรหมจารี.
ผู้ว่าร้ายด้วยอันติมวัตถุว่า เราจักฆ่าคุณของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมชื่อว่า อริยุปวาที.
บทว่า สทฺธมฺมสฺส น โวทายนฺตี ความว่า สัทธรรมคือศาสนาที่นับได้ว่า
ไตรสิกขาของภิกษุนั้นย่อมไม่ถึงความผ่องแผ้ว. โรคเท่านั้น พึงทราบว่าอาตังกะ
เพราะกระทำให้ชีวิตลำบาก ในคำว่า โรคาตงฺกํ นี้.
จบอรรถกถาพยสนสูตรที่ ๘
-www.dhammajak.net-
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=23511
.
sithiphong:
ปรามาสภิกษุ กรรมที่ต้องระวัง อุทธาหรณ์จากพระไตรปิฎก
โพสโดย คุณอังคาร
-http://larndharma.org/index-
นำเรื่องกรรมปรามาสภิกษุมาเล่าสู่กันฟังครับ เป็นอุทาหรณ์ให้ระมัดระวังกัน
ในฐานะเป็นพุทธศาสนิกชนเราต้องช่วยกันจรรโลงรักษาพุทธศาสนาก็จริง
แต่การวิพากษ์วิจารณ์พระภิกษุควรเป็นไปด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุด
ใช้สติและความสำรวมให้มากครับ
กรรมของอัมปาลี เกิดเป็นโสเภณี
บุรพกรรมของอัมพปาลีเกิดขึ้นในอดีตชาติเมื่อครั้ง ๓๑ กัปก่อน
ครั้งนั้นเป็นพุทธกาลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าพระสิขีทศพล
นางอัมพปาลีเกิดเป็นธิดาตระกูลพราหมณ์ในนครอมรปุระ
วันหนึ่งนางได้ด่าภิกษุณีรูปหนึ่งว่าเป็นหญิงแพศยา ด้วยเหตุที่ภิกษุณีรูปนั้นเป็นพระอรหันต์
กรรมนี้จึงเป็นกรรมหนักมาก เมื่อทำกาละแล้วนางอัมพปาลีจึงต้องไปรับกรรมหมกไหม้อยู่ในนรกนานแสนนาน
เมื่อพ้นกรรมหนักจากนรกกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง
เศษของกรรมได้ส่งผลให้นางอัมพปาลีต้องเกิดเป็นหญิงแพศยามานับหมื่นๆ ชาติ
จนถึงพุทธกาลปัจจุบันนางเกิดขึ้นโดยการอุบัติ (โอปปาติกกำเนิด)
เป็นสาวสวยที่โคนต้นมะม่วงในพระราชอุทยานกรุงเวสาลี จึงได้ชื่อว่า อัมพปาลี
แต่ด้วยเศษของอกุศลกรรมที่เคยด่าพระเถรีในครั้งนั้นยังคงหลงเหลืออยู่
ความงามของนางจึงเป็นโทษ เพราะทำให้บรรดาเจ้าชายลิจฉวีทะเลาะแย่งชิงกัน
เพื่อจะได้นางไปเป็นสนม คณะผู้พิพากษาแห่งวัชชีต้องยุติข้อขัดแย้ง
โดยตัดสินให้อัมพปาลีเป็นหญิงแพศยา เป็นนางคณิกานคร เป็นสมบัติของทุกคน
การแย่งชิงนางจึงสงบลงได้
(ภายหลังบวชเป็นภิกษุณีและสำเร็จเป็นพระอรหันต์)
โสไรยบุตร
โสไรยบุตร เป็นบุตรเศรษฐีในโสไรยนครซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ใกล้กรุงสาวัตถี
เขามีภริยา และมีบุตรชายแล้ว ๒ คน
วันหนึ่ง โสไรยบุตรนั่งยานออกไปอาบน้ำนอกนครกับบริวาร
ระหว่างทางเห็นพระมหากัจจายนเถระกำลังบิณฑบาตอยู่
พระเถระรูปนี้มีรูปสวย มีผิวพรรณวรรณะงดงามดังทองคำ
โสไรยบุตรเห็นพระเถระแล้วเผลอใจคิดไปว่า “สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้น่าจะได้เป็นภริยาของเรา”
ด้วยจิตอันเป็นอกุศลต่อพระเถระขีณาสพผู้ล่วงอาสวะแล้ว
เพศชายของโสไรยบุตรจึงหายไป กลับกลายเป็นเพศหญิงมาแทนที่
โสไรยบุตรกลับกลายเป็นโสไรยธิดา เป็นกุลธิดารูปงาม
ด้วยความตกใจและความอายเธอจึงลงจากยานแอบหนีไป
คนรู้จักแม้มองเห็นก็จำไม่ได้ว่ากุลธิดานี้คือโสไรยบุตร
โสไรยธิดาลงจากยานแล้วไม่รู้ว่าจะไปทางไหน เธอจึงเดินตามขบวนเกวียนสินค้าขบวนหนึ่งไป
เมื่อเดินจนเมื่อย เธอจึงถอดแหวนให้ และขอนั่งไปบนเกวียน
ขบวนเกวียนนั้นเดินทางถึงตักกศิลา แคว้นคันธาระ
นายเกวียนคิดว่าบุตรเศรษฐีในกรุงตักกศิลายังไม่มีภริยา กุลธิดาผู้นี้มีรูปงามสมกัน
เขาจึงพาโสไรยธิดาไปพบบุตรเศรษฐีหวังได้รางวัล บุตรเศรษฐีเห็นนางแล้วหลงรัก รับนางเป็นภริยา
โสไรยธิดาจึงได้เป็นภริยาของบุตรเศรษฐีกรุงตักกศิลา ต่อมาเธอก็ตั้งครรภ์
และมีบุตรกับสามี ๒ คน ตอนนี้เธอจึงมีบุตรแล้ว ๔ คน บุตร ๒ คนแรกมีเธอเป็นบิดาอยู่ที่โสไรยนคร
ส่วนบุตรอีก ๒ คนมีเธอเป็นมารดาอยู่ร่วมกันที่ตักกศิลา
(ต่อมาโสไรยธิดาธิดาได้ขอขมาพระเถระจึงได้กลับเพศเป็นชาย ออกบวช และสำเร็จเป็นพระอรหันต์)
อุคคเสน เกิดเป็นนักแสดงกายกรรม
ในอดีตกาลครั้งพุทธกาลของพระกัสสปทศพล ชนจำนวนมากช่วยกันสร้างเจดีย์บูชาพระบรมศาสดา
ในครั้งนั้นมีสองสามีภรรยามีจิตศรัทธาขนของกินของใช้บรรทุกยานเดินทางไปร่วมงานก่อสร้างพระเจดีย์
ระหว่างทางพบพระเถระองค์หนึ่งกำลังบิณฑบาตอยู่
ภรรยาเห็นพระเถระจึงบอกสามีว่าของกินในยานเรามีจำนวนมาก
นายจงนำบาตรของพระคุณเจ้ามาเพื่อถวายภิกษาเถิด
เมื่อสามีรับบาตรมาแล้วภรรยาก็ใส่บาตรนั้นจนเต็ม ให้สามีนำกลับไปถวายพระเถระ
เสร็จแล้วภรรยาได้กล่าวคำปรารถนาว่า ท่านเจ้าข้า ด้วยผลบุญที่ดิฉันและสามีได้ถวายภิกษาแก่ท่านนี้
ขอให้ดิฉันทั้งสองได้เห็นธรรมอันท่านได้เห็นแล้วด้วยเถิด
พระเถระตรวจดูความปรารถนานั้นเห็นว่าจะสำเร็จสมความปรารถนาในพุทธกาลถัดไป ท่านจึงทำอาการยิ้ม
ภรรยาเห็นพระเถระยิ้มจึงพูดกับสามีว่า ดูสินาย พระคุณเจ้าของเราท่านยิ้มเหมือนเด็กนักฟ้อนเลย
สามีเห็นดีเห็นงามตามภรรยาตอบว่า จริงสิ
แม้คำพูดนี้จะไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ แต่ก็เป็นกรรมที่ทำกับพระเถระขีณาสพ
ในพุทธกาลปัจจุบันภรรยาผู้นั้นจึงเกิดมาเป็นหญิงนักฟ้อน
ส่วนสามีได้เกิดมาเป็นบุตรเศรษฐีในนครราชคฤห์ชื่อว่า อุคคเสน
แต่เพราะเห็นดีเห็นงามไปกับภรรยาด้วยเขาจึงมีกรรมต้องออกจากเรือนเศรษฐี
ไปเร่ร่อนอยู่ในคณะมหรสพกับหญิงผู้เป็นภรรยา
(ภายหลังทั้งสองสำเร็จเป็นพระอรหันต์)
พระจูฬปันถก ภิกษุปัญญาทึบ
จูฬปันถกเป็นหลานชายราชคฤห์เศรษฐี พี่ชายชื่อมหาปันถกซึ่งออกบวช
และสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วมาชวนให้ออกบวชด้วย จูฬปันถกจึงออกบวชในสำนักของพระพี่ชาย
แต่ด้วยกรรมเก่าเมื่อครั้งบวชเป็นภิกษุในพุทธกาลก่อน เคยพูดเยาะเย้ยภิกษุรูปหนึ่งว่าปัญญาทึบ
แม้จะมีวาสนาบารมีจากการบวชมาแล้ว แต่กรรมเก่านั้นได้ส่งผลให้พระจูฬปันถกมีปัญญาทึบมาก
พระพี่ชายให้ท่องคาถาแค่ ๔ บาท ใช้เวลาท่อง ๔ เดือนยังท่องไม่ได้
จนถูกพระพี่ชายไล่ให้สึกไปยืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตูวิหาร
(สุดท้ายได้อุบายธรรมโดยตรงจากพระบรมศาสดา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก และมีปัญญามาก)
วัสสการพราหมณ์ เกิดเป็นลิง
วัสสการพราหมณ์เป็นมหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ เป็นคนมีปัญญามากกว่าอำมาตย์อื่น
จึงเป็นที่ไว้วางพระทัยของพระเจ้าอชาตศัตรู ได้รับมอบหมายให้ไปเฝ้าทูลถามราชกิจจากพระบรมศาสดาบ่อยๆ
แต่วัสสการพราหมณ์เป็นคนนอกศาสนา แม้จะไปเฝ้าพระศาสดาบ่อยครั้ง
แต่ก็ไปเพราะพระบัญชาของพระเจ้าอชาตศัตรู ไม่ได้ไปเพราะนับถือพระรัตนตรัย
วันหนึ่งวัสสการพราหมณ์เห็นพระมหากัจจายนะเถระลงมาจากเขาคิชฌกูฏิ
ด้วยความคะนองปากจึงเอ่ยวาจาเปรียบพระกัจจายนะเถระว่าคล้ายลิง
พระพุทธองค์ตรัสเตือนว่า การพูดปรามาสพระอรหันต์ขีณาสพผู้พ้นอาสวะแล้วเป็นกรรมหนัก
กรรมนี้จะทำให้วัสสการพราหมณ์ต้องไปเกิดเป็นลิงอยู่ในสวนภายในวัดเวฬุวัน
ต้องขอขมาโทษจากพระเถระจึงจะพ้นจากกรรมนี้ได้
วัสสการพราหมณ์ฟังแล้วไม่ได้ทำตาม แต่ก็ครั่นคร้ามว่าคำของพระศาสดาไม่เคยคลาดเคลื่อน
เขาจึงเร่งปลูกไม้ผลสารพัดชนิดภายในวัดเวฬุวัน และว่าจ้างคนมาดูแลสวนเป็นอย่างดี
หวังเพียงว่าเมื่อต้องไปเกิดเป็นลิงเขาจะได้มีผลไม้กิน
เมื่อทำกาละแล้ว วัสสการพราหมณ์ก็ได้ไปเกิดเป็นลิงอยู่ในสวนภายในเวฬุวันวิหารสมดังพุทธดำรัส
เวลาใครเอ่ยชื่อเรียกวัสสการพราหมณ์ ลิงตัวนี้ก็จะเข้ามายืนใกล้ๆ ด้วยความเข้าใจ
ปัญจปาปี เกิดเป็นหญิงอัปลักษณ์
อดีตกาลครั้งสิ้นพุทธกาลจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนไปแล้ว มีหญิงยากไร้คนหนึ่งอาศัยในนครพาราณสี
วันหนึ่งขณะที่เธอกำลังนั่งขยำดินเหนียวเพื่อใช้ทาฝาเรือนอยู่
ก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเที่ยวบิณฑบาตหาดินเหนียวเนื้อดี
เพื่อจะนำไปทาเงื้อมฝาที่อยู่อาศัยของท่านที่ชำรุด มาหยุดยืนอยู่ตรงหน้า
หญิงยากไร้นั้นรู้สึกโกรธ เธอทำหน้าบึ้ง มองค้อน
และทำปากหมุบหมิบพูดประชดประชันพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า เช้าก็บิณฑบาตอาหาร
พอสายยังมาบิณฑบาตดินเหนียวอีก พระปัจเจกพุทธเจ้าประสงค์จะโปรดหญิงยากไร้นั้น
ท่านจึงยืนสงบนิ่งอยู่ ครั้นหญิงยากไร้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าสงบนิ่งอยู่ในอาการสำรวมเช่นนั้น
ความรู้สึกโกรธก็หายไป กลับมีจิตเลื่อมใส เธอจึงยกดินเหนียวก้อนใหญ่ใส่ลงในบาตร
เมื่อถึงกาลกิริยาแล้ว หญิงยากไร้นั้นได้ไปเกิดเป็นธิดาของหญิงทุคตะ
ชาวบ้านที่อยู่ใกล้ประตูนอกเมืองพาราณสีนั้นเอง และด้วยวิบากกรรมที่เธอทำกิริยาไม่งามต่อพระปัจเจกพุทธเจ้า
ร่างกายของเธอจึงผิดปกติ ๕ อย่าง คือ มือ เท้า ปาก ตา และจมูก เป็นหญิงอัปลักษณ์
ใครเห็นใครเมิน ใครมองก็รังเกียจ บางคนแค่เห็นหน้าก็จะอาเจียน ชาวบ้านเรียกเธอว่า
ปัญจปาปี หรือหญิง ๕ บาป แต่เพราะกุศลกรรมที่ใส่บาตรด้วยดินเหนียว
ผิวกายของนางจึงอ่อนนุ่มมาก ใครได้สัมผัสนางเป็นต้องหลงรักทุกคน
ต่อมานางจึงได้เป็นราชินีถึงสองนคร มีสามีทีเดียวถึงสองคน
-http://larndharma.org/index.php?/topic/380-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B8-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87/-
http://larndharma.org/index.php?/topic/380-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B8-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87/
.
sithiphong:
กรรมไม่มีเอียง... หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
สัตว์ไปตกนรกถามถึงเรื่องกรรม กรรมของสัตว์นี้ก็มีมาตลอด มาถึงจุดนี้ๆ นั่นเห็นไหมล่ะ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ มาตกตูมเอาเลย ตกมาด้วยสายของกรรมส่งเข้ามาๆ ทั้งนั้นเมื่อส่งเข้ามานรกหลุมใด สุขที่ไหน ทุกข์ที่ไหน ภพใด ชาติใดมันก็ต้องเป็นผู้เสวยอยู่ตามภพชาตินั้นๆ เช่น ส่งมาเป็นมนุษย์นี้ เราเองไม่รู้ว่าเราเกิดมาจากอะไร เราถึงได้มาเป็นมนุษย์
นี่ให้พระพุทธเจ้าทายปุ๊บทันทีเลยไม่ต้องนานละ นี่แต่ก่อนเธอสร้างอันนั้นๆ มาได้มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างนี้คือ ความดีนั้นแหละ เรื่องความชั่วไม่มีหวัง ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็เกิดเป็นเศษมนุษย์ เศษส้วมเศษถานไปอีก ไม่ว่าจะเป็นส้วมเป็นถานยังเศษไปอีก นู่น เกิดเป็นอะไรๆ มาตามสายทั้งนั้น
เป็น มนุษย์เป็นสัตว์แต่ละประเภท มาตามสายของกรรมตัวเองที่สร้างมาๆ สร้างดีสร้างชั่ว กรรมของตัวเองสร้างมา ไม่มีผู้อื่นใดมาสร้างให้ แล้วใครจะมาลบล้างได้
นี่ละเป็นอย่างนั้น ฟังซิสัตว์ตกนรกอยู่นั้น พระพุทธเจ้าทำนายซิ สัตว์ตัวนี้ตกนรกนี้เพราะทำกรรมอะไร ทำกรรมอันนั้นๆ บอกตลอดถึงตัวเหตุเลย ทำมาจากโน้นมาถึงนี้ ทำจากโน้นมาถึงนี้ๆ สัตว์นรกแต่ละรายๆ จะบอกสายทางเข้ามาตลอดๆ นะ
ใครทำดีทำชั่วขนาดไหน บรรดาสัตว์ทั่วโลกจะมีมาตามสายทางทั้งนั้นๆ สายทางบุญทางกรรม ทำชั่วก็มาตามสายทางชั่ว กรรมดีก็มาตามสายทางดี เหมือนนักโทษ นักโทษยังมีแน่นอนบ้างไม่แน่นอนบ้าง
แต่พอเป็นหลักฐานได้ก็คือว่า ที่เป็นนักโทษนี่เพราะอะไร เพราะ เขาไปฉกไปลักไปปล้น คนนี้ไปลักคนนี้ไปขโมย คนนี้ไปปล้น มันก็มีสายทางของมันเข้ามา บางคนบริสุทธิ์แต่สู้หลักฐานพยานเขาไม่ได้ เขาเอาหลักฐานพยานมาทับ ทั้งๆ ที่บริสุทธิ์เขาหาว่าไม่บริสุทธิ์ ติดคุกได้อยู่ แต่อันนี้ก็เป็นกรรมของผู้นี้อีก
เหตุแต่ก่อนที่มาเป็นคนบริสุทธิ์มาติดคุกนี้ คือแต่ก่อนไปแกล้งทำเขาอย่างนั้นๆ ให้เขาเป็นอย่างนั้นๆ แน่ะ มีอีกเข้าใจไหมล่ะ ไม่ใช่อยู่ๆ มานะ ที่ แกล้งทำเขาที่บริสุทธิ์ให้เป็นคนมีโทษมีกรรม แล้วกรรมนั้นตามมาจึงได้มาเป็นนักโทษทั้งที่ไม่ได้ขโมย แน่ะ มันมีสายกรรมมาอย่างนั้นตลอด
สายกรรมจะไม่ปล่อยสำหรับผู้ทำเลย ใครทำสัตว์ทำ สัตว์ไม่รู้กรรมก็ตาม กรรมไม่เอียง กรรมทางดีทางชั่วเป็นกรรมมาตลอดในสายสัตว์สายบุคคล ตลอดไปเลย อย่าพากันประมาทนะ ไม่พ้นจากสายกรรมติดตัวไปเอง
ไม่ว่าไปทางดี ทางชั่ว มาเกิดเป็นมนุษย์ไปสวรรค์ชั้นพรหมเพราะกรรมอะไรๆ นี้ กรรมของตัวเองนั้นแหละ ติดแนบไปเรื่อย ส่งไปด้วยๆ จนกระทั่งถึงนิพพานเพราะอะไรอีก แน่ะ ก็คือว่าสร้างบารมีคือความด้ล้วนๆ ถึงขั้นเต็มที่แล้วหลุดพ้น แน่ะ เป็นอย่างนั้นนะ พากันจำเอา
http://www.dhammathai.org/store/talk/view.php?No=334
.
sithiphong:
ผู้ใดอดทน ต่อคำล่วงเกินผู้อื่นได้ จัดว่าประเสริฐสุด _/\_
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะคำนินทาและคำสรรเสริญฉันนั้น ดูก่อนภราดา ข้าพเจ้าตามเสด็จไปทุกหนทุกแห่งเหมือนกัน ถูกด่าแรงๆ จิตใจของข้าพเจ้าก็กระวนกระวาย แต่พระตถาคตเจ้าทรงมีอาการแช่มชื่นอยู่เสมอ สีพระพักตร์ยังคงสงบนิ่ง เช่นเดียวกับเวลาได้รับคำสรรเสริญ จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม คือนินทาและสรรเสริญนั้น เป็นจิตที่ประเสริฐยิ่ง พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ และพระองค์ก็ทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง อาวุโส ตราบใดที่บุคคลยังพอใจด้วยคำสรรเสริญ เขาย่อมยังต้องหวั่นไหวเพราะถูกนินทา นี่เป็นกฎที่แน่นอน พระตถาคตเจ้าทรงทำพระมนัสให้เป็นเช่นแผ่นดิน หนักแน่น และไม่ยินดียินร้ายว่าใครจะโปรยปรายของหอมดอกไม้ลงไป หรือใครจะทิ้งเศษขยะของปฏิกูลอย่างไรลงไป ข้าพเจ้าเองสุดที่จะทนได้ จึงกราบทูลพระองค์ว่า “พระองค์ผู้เจริญ อย่าอยู่เลยที่นี่ คนเขาด่ามากเหลือเกิน” “จะไปไหน อานนท์” พระศาสดาตรัส มีแววแห่งความเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตร และสีพระพักตร์ “ไปเมืองอื่นเถิด พระเจ้าข้า สาวัตถี ราชคฤห์ สาเกต หรือเมืองไหนๆ ก็ได้ ที่ไม่ใช่โกสัมพี” “ถ้าเขาด่าเราที่นั่นอีก?” “ก็ไปเมืองอื่นอีก พระเจ้าข้า?” “ถ้าที่เมืองนั้นเขาด่าเราอีก?” “ไปต่อไป พระเจ้าข้า” “อย่าเลย อานนท์? เธออย่าพอใจให้ตถาคตทำอย่างนั้น ถ้าจะต้องทำอย่างเธอว่า เราจะไม่มีแผ่นดินอยู่ มนุษย์เราอยู่ที่ไหนจะไม่ให้มีคนรักคนชังนั้น เห็นจะไม่ได้ เรื่องเกิดขึ้นที่ใด ควรให้ระงับลง ณ ที่นั่นเสียก่อน แล้วจึงค่อยไป อานนท์ เรื่องที่เกิดขึ้นแก่ตถาคตนั้น จะไม่ยืดยาวเกิน ๗ วันคือจะต้องระงับลงภายใน ๗ วันเท่านั้น” แล้วพระพุทธองค์ก็ตรัสต่อไปว่า “อานนท์ เราจะอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่น เหมือนช้างศึกก้าวลงสู่สงคราม ต้องทนลูกศร ซึ่งมาจากทิศทั้งสี่ เพราะคนในโลกนี้ส่วนมากเป็นคนชั่ว คอยแส่หาแต่โทษของคนอื่น เธอจงดูเถิด พระราชาทั้งหลายย่อมทรงราชพาหนะ ตัวที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ชุมนุมชน เป็นสัตว์ที่ออกชุมนุมชนได้ อานนท์เอย ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใดฝึกตน ให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสดร ม้าสินธพ พญาช้างตระกูลมหานาคที่ได้รับฝึกแล้ว จัดเป็นสัตว์อาชาไนย สัตว์อาชาไนยเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่คนที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น “ดูก่อนอานนท์ ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่า ก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกัน เพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกิน ของผู้ซึ่งด้อยกว่าตน เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน มีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถขุดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิ เป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น” ในที่สุด ทาสและกรรมกรที่พระนางมาคันทิยาว่าจ้างมาด่า พระมหาสมณะก็เลิกราไปเองเพราะเขาทั้งหลายรู้สึกว่า เขากำลังด่าเสาศิลาแท่งทึบ ซึ่งไม่หวั่นไหวเลย ความพยายามของพระนางมาคันทิยา เป็นอันล้มเหลว อาวุโส พระศาสดาเคยตรัสไว้ว่า ภูเขาศิลาล้วนย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลมจากทิศทั้งสี่ฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะคำนินทาและคำสรรเสริญฉันนั้น พระอานนท์ พุทธอนุชา ตอน บนกองกระดูกแห่งตัณหานุสัย อ.วศิน อินทสระ
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะคำนินทาและคำสรรเสริญฉันนั้น
ดูก่อนภราดา
ข้าพเจ้าตามเสด็จไปทุกหนทุกแห่งเหมือนกัน
ถูกด่าแรงๆ จิตใจของข้าพเจ้าก็กระวนกระวาย
แต่พระตถาคตเจ้าทรงมีอาการแช่มชื่นอยู่เสมอ
สีพระพักตร์ยังคงสงบนิ่ง เช่นเดียวกับเวลาได้รับคำสรรเสริญ
จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม
คือนินทาและสรรเสริญนั้น
เป็นจิตที่ประเสริฐยิ่ง พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้
และพระองค์ก็ทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
อาวุโส ตราบใดที่บุคคลยังพอใจด้วยคำสรรเสริญ
เขาย่อมยังต้องหวั่นไหวเพราะถูกนินทา นี่เป็นกฎที่แน่นอน
พระตถาคตเจ้าทรงทำพระมนัสให้เป็นเช่นแผ่นดิน หนักแน่น
และไม่ยินดียินร้ายว่าใครจะโปรยปรายของหอมดอกไม้ลงไป
หรือใครจะทิ้งเศษขยะของปฏิกูลอย่างไรลงไป
ข้าพเจ้าเองสุดที่จะทนได้ จึงกราบทูลพระองค์ว่า
“พระองค์ผู้เจริญ อย่าอยู่เลยที่นี่ คนเขาด่ามากเหลือเกิน”
“จะไปไหน อานนท์” พระศาสดาตรัส มีแววแห่งความเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตร และสีพระพักตร์
“ไปเมืองอื่นเถิด พระเจ้าข้า สาวัตถี ราชคฤห์ สาเกต
หรือเมืองไหนๆ ก็ได้ ที่ไม่ใช่โกสัมพี”
“ถ้าเขาด่าเราที่นั่นอีก?”
“ก็ไปเมืองอื่นอีก พระเจ้าข้า?”
“ถ้าที่เมืองนั้นเขาด่าเราอีก?”
“ไปต่อไป พระเจ้าข้า”
“อย่าเลย อานนท์? เธออย่าพอใจให้ตถาคตทำอย่างนั้น
ถ้าจะต้องทำอย่างเธอว่า เราจะไม่มีแผ่นดินอยู่
มนุษย์เราอยู่ที่ไหนจะไม่ให้มีคนรักคนชังนั้น เห็นจะไม่ได้
เรื่องเกิดขึ้นที่ใด ควรให้ระงับลง ณ ที่นั่นเสียก่อน
แล้วจึงค่อยไป อานนท์ เรื่องที่เกิดขึ้นแก่ตถาคตนั้น
จะไม่ยืดยาวเกิน ๗ วันคือจะต้องระงับลงภายใน ๗ วันเท่านั้น”
แล้วพระพุทธองค์ก็ตรัสต่อไปว่า
“อานนท์ เราจะอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่น
เหมือนช้างศึกก้าวลงสู่สงคราม ต้องทนลูกศร
ซึ่งมาจากทิศทั้งสี่ เพราะคนในโลกนี้ส่วนมากเป็นคนชั่ว
คอยแส่หาแต่โทษของคนอื่น
เธอจงดูเถิด พระราชาทั้งหลายย่อมทรงราชพาหนะ
ตัวที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ชุมนุมชน เป็นสัตว์ที่ออกชุมนุมชนได้
อานนท์เอย ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใดฝึกตน
ให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด
ม้าอัสดร ม้าสินธพ พญาช้างตระกูลมหานาคที่ได้รับฝึกแล้ว
จัดเป็นสัตว์อาชาไนย สัตว์อาชาไนยเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ
แต่คนที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น
“ดูก่อนอานนท์ ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่า
ก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกัน
เพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกิน
ของผู้ซึ่งด้อยกว่าตน เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด
ผู้มีความอดทน มีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข
เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย
สามารถขุดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้
คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิ เป็นต้น
ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น”
ในที่สุด ทาสและกรรมกรที่พระนางมาคันทิยาว่าจ้างมาด่า
พระมหาสมณะก็เลิกราไปเองเพราะเขาทั้งหลายรู้สึกว่า
เขากำลังด่าเสาศิลาแท่งทึบ ซึ่งไม่หวั่นไหวเลย
ความพยายามของพระนางมาคันทิยา เป็นอันล้มเหลว
อาวุโส พระศาสดาเคยตรัสไว้ว่า
ภูเขาศิลาล้วนย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลมจากทิศทั้งสี่ฉันใด
บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะคำนินทาและคำสรรเสริญฉันนั้น
พระอานนท์ พุทธอนุชา
ตอน บนกองกระดูกแห่งตัณหานุสัย
อ.วศิน อินทสระ
-https://th-th.facebook.com/forshare.sharing/posts/653853471315182-
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version