ผู้เขียน หัวข้อ: คปภ.จ่อออกประกาศเพิ่ม 5 ภัยพิบัติในกรมธรรม์ภาคบังคับ  (อ่าน 1611 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
คปภ.จ่อออกประกาศเพิ่ม 5 ภัยพิบัติในกรมธรรม์ภาคบังคับ


บังคับประกันคุ้มครอง5ภัยพิบัติ บีบคนซื้อจ่ายเพิ่ม-แบงก์เงินล้นพอปล่อยกู้ (ไทยโพสต์)

พิษน้ำท่วมพ่วงการเมืองป่วน คปภ.จ่อออกประกาศเพิ่ม 5 ภัยพิบัติในกรมธรรม์ภาคบังคับ ทั้งอุทกภัย วาตภัย แผ่นดินไหว ลูกเห็บ จลาจล คนซื้อประกันต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 279 บาทต่อวงเงิน 1 ล้านบาท แบงก์เตรียมลดอัตราปล่อยกู้โครงการถูกน้ำท่วม

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในปี 2555 คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จะมีการออกกรมธรรม์ภาคบังคับในการประกันบ้านเพิ่มจากอัคคีภัยอีก 5 ภัย คือ

1. อุทกภัย
2. วาตภัย
3. แผ่นดินไหว
4. ลูกเห็บ
5. จลาจล

ซึ่งจะมีค่าเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น 279 บาทต่อสินเชื่อบ้าน 1 ล้านบาท แต่ถือว่าไม่ได้สร้างภาระด้านการเงินให้แก่ลูกค้ามากนัก ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยซึ่งได้ปรับลดลงมา จะเป็นปัจจัยหนุนในการลดต้นทุนการซื้อที่อยู่อาศัย

ในส่วนของธนาคารได้เตรียมเสนอผลิตภัณฑ์ที่อยู่อาศัย ซึ่งจะพ่วงกับการทำประกันดังกล่าว เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้า อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมจะถูกประเมินราคาตลาดลดลง 10-20% และจะเป็นอุปสรรคในการกำหนดราคาขายของผู้ประกอบการและการปล่อยสินเชื่อของ สถาบันการเงิน ซึ่งในโครงการที่ถูกน้ำท่วมมาก อาจถูกลดอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value : LTV ratio) อยู่ที่ 80-90% ขณะที่พื้นที่ไม่ถูกน้ำท่วมจะให้ LTV อยู่ที่ 90-100%

นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ทิศทางสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2555 จะไม่เติบโตมากกว่าปี 2554 เนื่องจากผู้บริโภคยังมีความกังวลปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อาจชะลอการซื้อบ้าน ดังนั้น ต้องรอดูว่ารัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นตลาดมากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากไม่มีมาตรการใดออกมา จะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึมยาวจนถึงไตรมาส 2 ปี 2555 เพราะธุรกิจนี้ถือเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ

ทั้งนี้ ในส่วนของยอดสินเชื่อใหม่ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 26,000-27,000 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 10% เพราะในช่วงเดือน พ.ย.มีประมาณ 23,000 ล้านบาท จากเป้าที่วางไว้ 30,000 ล้านบาท เนื่องจากภาวะน้ำท่วมทำให้ยอดสินเชื่อชะลอตัว ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 92,000 ล้านบาท และสิ้นปีจะอยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ในระดับต่ำ และควบคุมได้ โดยลูกหนี้รายใดที่คาดว่าจะมีปัญหาในการผ่อนชำระ ธนาคารจะเข้าไปดูแล ซึ่งหากผ่อนชำระไม่ไหวจะต้องเจรจาปรับโครงสร้างหนี้

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัจจุ บันสภาพคล่อองในระบบธนาคารพาณิชย์ รวมถึงในมือของ ธปท.มีสูงมาก โดยธนาคารพาณิชย์มีสินทรัพย์สภาพคล่องทั้งสิ้น 2 ล้านล้านบาท ส่วนสภาพคล่องที่ ธปท.ดูดซับ มีถึง 4.7 ล้านล้านบาท มีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงและมีความมั่นคง ถือว่าเพียงพอสำหรับการปล่อยกู้ที่จะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเพื่อใช้ สำหรับซ่อมแซมบ้านเรือนและโรงงานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม หรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเริ่มเข้าสู่กระบวนการผลิตปกติ หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย

ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดทั้งเงินฝากและเงินกู้ ลงมากนัก หลังจาก ธปท.ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 3.25% จาก 3.5% เพราะธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ได้ปรับลดดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ลงไปก่อน หน้านี้ แต่จากนี้ไป ธนาคารพาณิชย์จะมีการปรับดอกเบี้ยลงอีกหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยในตลาดเงิน การปล่อยกู้ และเงินฝากหรือสภาพคล่องภายในธนาคารนั้นเอง


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก -http://www.thaipost.net/category/1/1-




-http://thaiflood.kapook.com/view34660.html-

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)