แนะวิธีนอน-นั่งช่วยทุกบ้านห่างไกลอาการปวด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
1 กุมภาพันธ์ 2555 11:57 น.
เป็นที่ทราบกันดีว่า การป้องกันอาการบาดเจ็บ และการเคลื่อนของกระดูกสันหลังสามารถทำได้ง่าย ๆ จากอิริยาบถท่าทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนอน การลุก การนั่งซึ่งจะมีท่าที่ถูกต้อง แต่หลาย ๆ ครอบครัวมักมองข้าม และไม่ค่อยใส่ใจเท่าที่ควร ยกตัวอย่างบางคน พอเวลาตื่นนอนก็ลุกขึ้นมาพรวดพราด ทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังที่มีความตึงหรือบิดในขณะที่กำลังนอนหลับ เกิดการคลาดเคลื่อนส่วนใดส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลังอย่างฉับพลันได้
ดังนั้น หากผู้อ่านท่านใดไม่อยากทุกข์ทรมานกับอาการปวดเมื่อย วันนี้ทีมงาน Life & Family มีวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับอิริยาบถต่าง ๆ มาฝากทุกครอบครัวกันครับ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น พิชช์ฌามุก สิงห์ปัน นักกายภาพบำบัด ประจำสถาบันพัฒนาโครงสร้างดีสปายน์ ได้ให้ข้อแนะนำและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องไว้ดังนี้
1. การนอน ไม่ ควรนอนคว่ำเพราะเวลาที่เรานอนคว่ำท่านี้จะบังคับให้เราต้องบิดลำคอไปด้านใด ด้านหนึ่งเส มอ ซึ่งจะทำให้กระดูกสันหลังบริเวณคอเกิดความตึง เพราะถูกบิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้องทั้งคืน อาจทำให้เกิดอาการล็อคหรือเรียกว่าคอตกหมอน ตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกเมื่อยคอ หรือคอเคล็ด ดังนั้นท่านอนที่ถูกต้องและดีต่อกระดูกสันหลังก็คือท่านอนหงายเพราะถือเป็น ท่าที่รองรับกระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี
ท่านอนหงาย
สำหรับท่านใดที่ชอบ "นอนตะแคง" แม้ ท่านอนตะแคงจะไม่ใช่ท่านอนที่เหมาะสำหรับร่างกายและกระดูกสันหลังแล้ว เพราะท่านอนตะแคงจะเป็นท่าที่ทำให้บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างลงไปช่วงขา ถูกการกดทับ ควรหาหมอนข้างหรือหมอนใบเล็ก ๆ มาวางแทรกไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างเพื่อรับน้ำหนักและช่วยป้องกันการกดทับ นั่นเอง
ท่านอนตะแคง
2. การลุกนั่ง บางครั้งหลังจากตื่นนอนคนส่วนใหญ่มักจะลุกขึ้นทันที อาจทำให้กระดูกสันหลังที่ตึงเครียดตลอดทั้งคืนเกิดการคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น ท่าที่ถูกต้องและช่วยถนอมกระดูกสันหลังคือ ควรเปลี่ยนจากท่านอนหงายให้ค่อย ๆ นอนตะแคงโดยหันหน้าไปทางด้านที่เราต้องการ หลังจากนั้นค่อย ๆ ลุกและพยุงตัวขึ้นนั่งให้ตรง แล้วจึงลุกขึ้นยืนและทำกิจวัตรประจำวันต่อไป
ท่าลุกนั่ง (เริ่มจากบนลงล่าง)
3. การนั่ง ควร นั่งบนเก้าอี้ที่มีส่วนที่หนุนหรือรองรับกับกระดูกสันหลัง หรือมีพนักพิงข้างหลัง การนั่งพิมพ์งานหลังควรตรง ข้อศอกตั้งฉาก 90 องศา โดยที่เท้าสัมผัสกับพื้น หากไม่สามารถนั่งเช่นนี้ได้ให้หาที่วางขาให้เข่าอยู่ในลักษณะเท่ากัน และควรมีการหยุดพัก 1-2 นาที ทุก ๆ 20-30 นาที ลุกขึ้นและผ่อนคลาย พยายามนั่งให้หลังชิดพนักเก้าอี้ทุกครั้ง ไม่ควรนั่งจมลงไปในเก้าอี้ เพราะจะทำให้หลังงอได้ และไม่ควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักเก้าอี้ใหญ่มากเกินไป เพราะจะทำให้ต้องเขยิบเข้าไปนั่งกลางเก้าอี้ ทำให้ขาไม่ได้รับน้ำหนัก อาจทำให้ปวดหลังได้
4. การก้ม โดย เฉพาะคนที่ชอบก้มหน้าในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ไอแพด หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ท่านี้จะทำให้เกิดอาการปวดคอ และที่สำคัญหากก้มเป็นเวลานาน ๆ จะส่งผลต่อการหายใจ ซึ่งจะทำให้การหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้น้อย ทางที่ดี ควรจะมีการหยุดพักและเงยหน้าขึ้นพร้อมกับหายใจเข้ายาว ๆ ทำบ่อย ๆ ก็จะช่วยทำให้อ๊อกซิเจนเข้าไปยังปอดและไปยังสมองและเซลล์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น ร่างกายก็จะทำงานได้ปกติ
ท่าผ่อนคลายหลังจากก้มเป็นเวลานาน ๆ
รู้แบบนี้แล้ว ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ
-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000014294-
.