ผู้เขียน หัวข้อ: ความสงบมีคุณมาก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี  (อ่าน 2322 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ความสงบมีคุณมาก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

โดย...ภัทร คำพิทักษ์

ต้องทำความสงบเสียก่อนจึงค่อยเข้าใจดี เพราะ‌ธรรมะเป็นของสงบ ไม่มีการเอิกเกริกวุ่นวาย ความสงบเป็น‌ของเยือกเย็น จิตสงบแล้วจึงค่อยฟังเทศน์ได้ความเข้าใจ ‌หมายความว่าจิตสงบลงอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งทั้งปวงจะ‌วุ่นวายไปเท่าไร ก็วุ่นวายไปเถิด เราสงบ

เราต้องการฟังเทศน์ ท่านเทศน์ถึงเรื่อง ความสงบเมื่อเรา‌สงบแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงหมดจะปรากฏขึ้นในที่นั้นในความ‌สงบนี่แหละ ท่านสำเร็จมรรคนิพพาน ท่านก็อาศัยความสงบ ‌ได้ฌาน สมาธิ สมาบัติ ท่านก็อาลัยความสงบความสงบเป็น‌พื้นฐานของพุทธศาสนาถึงศาสนาอื่นๆ ก็ตาม ก็ต้องอาศัย‌ความสงบเสียก่อน จึงค่อยรู้เห็นสิ่งต่างๆ เขาฝึกหัดความสงบ‌นั่นเอง โยคี ฤๅษี ทำความสงบนั่งอยู่นานวันไม่รู้สึกตัวจน‌กระทั่งปลวกหุ้มหมดทั้งตัว ก็ไม่รู้สึก

นั่นจึงว่าความสงบมันเป็นของสำคัญ

เราฝึกหัดทำความสงบ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ถ้าหากทำความ‌สงบมากขึ้นเท่าใด ความสุขก็มากขึ้นเท่านั้น ยิ่งเป็นของแน่น‌แฟ้น ถูกหลักพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี พระพุทธเจ้าทรงสอน‌อย่างนี้ เราปฏิบัติฝึกหัดตามท่าน เพื่อให้เป็นอย่างท่าน เราก็‌ต้องมาฝึกหัด ความสงบ อันนี้

ความสงบมีอยู่ แต่เราไม่มีความสงบให้เกิดมีขึ้น เราอาศัย‌ความสงบนั่นแหละมันจึงค่อยอยู่ได้เดี๋ยวนี้ ก็เราทำความไม่‌สงบ ก็เรียกว่า จริตวิกล หรือเป็นบ้า ก็วุ่นวายไปด้วยประการ‌ต่างๆ ถ้าเราทำความสงบเรียกว่า เพิ่มกำลังขึ้น เรามีความสงบ‌เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว และเราทำความสงบให้เพิ่มยิ่งขึ้น

ความสงบนี้ มีวิธีฝึกหัดอบรมต่างๆ หลายอย่างหลาย‌ประการ ที่จะให้เข้าถึงความสงบ เรียกว่ากัมมัฏฐาน 40มีอนุสสติ 10 กสิณ 10 อสุภะ 10 ฯ เป็นต้น เพื่อให้จิตแน่วแน่‌อยู่ในอารมณ์อันเดียวนั่นเอง เป็นการฝึกหัดอบรมใจ ให้เข้าถึง‌ความสงบ อุบายหลายอย่างที่ท่านแนะนำไว้ แท้ที่จริงเอาอัน‌เดียวก็ใช้ได้ ถ้าฝึกหัดถูกทาง เอาอันเดียวเท่านั้น ถึงความสงบ‌แล้ว ทิ้งอารมณ์ทั้งปวงหมด ที่ท่านสอนไว้หลายอย่างหลาย‌ประการ มันเป็นเพียงอุบาย นิสัยของคนชอบหลายอย่าง คน‌หนึ่งชอบอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งชอบอีกอย่างหนึ่ง หลายคนก็‌หลายอย่าง เอารวมกันเรียกกัมมัฏฐาน 40 อย่าง เมื่อเราชอบ‌อันใดแล้ว อันอื่นเราก็ทิ้งหมด เป็นอันว่ารวมได้

การรวมใจคือ หัดความสงบนั้น ไม่ได้อยู่ที่อื่น อยู่ตรงใจ ‌สติ อันหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมใจ เป็นผู้คุมจิตจิตอันหนึ่งเป็นผู้‌คิดนึก

เอาสองอย่างนี้เสียก่อน

สติคือ ความระลึกได้อยู่ตลอดเวลาจิตคิดนึกส่งส่ายด้วย‌ประการต่างๆสตินั้นรู้เท่ารู้ตัวอยู่ตลอดเวลา

เมื่อสติ คุม จิตอยู่อย่างนี้ จิตมันก็ไม่มีอาการกิริยาเคลื่อน‌ไหวไปไหน อยู่นิ่ง เหมือนกับเขาฝึกหัดช้างที่อยู่ในป่า เมื่อได้มา‌แล้ว เขาก็ผูกมัดมันไว้กับต้นไม้ให้มันอดหญ้า อดน้ำ กินแต่พอ ‌ไม่ให้ตาย หัดอยู่เช่นนั้น 1 เดือน 2 เดือน จนช้างหมดพยศ‌ร้าย มันก็ค่อยฟังคำนายควาญ ที่เขาแนะนำตักเตือนด้วย‌ประการต่างๆ มันอดอาหารมันจึงค่อยยอมทำตาม

จิตของเรา ถ้าหากสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา มันก็ค่อยอ่อน ‌ค่อยชาลง นานหนักเข้ามันก็อยู่คงที่ สติ ตรงนั้น กับ จิต ตรง‌นั้น มันควบคุมกันไว้ ทั้งสองอย่างนั้น เมื่อมันรวมเข้าเป็นอัน‌หนึ่งแล้ว มันจะกลายเข้ามาเป็นใจ

สติคุมจิตเมื่อคุมได้มันจะกลายมาเป็นใจ

คนที่ฝึกหัดอบรมจนเป็นสมาธิแล้ว จะรู้จักความข้อนี้ ถ้ายัง‌ไม่รู้จักก็ยกเอาไว้เสียก่อน ขอให้อบรม“สติ”คุม“จิต”นั้น‌อย่างเดียว คนที่หัด“สติ”คุม“จิต”เป็นแล้วนั้น เมื่อจิตอยู่ไม่‌มีการเที่ยว ไม่มีการไปที่ไหน (การไม่คิดนึกอะไร) มันจะรวมวูบ‌เข้าไป เมื่อรวมวูบเข้าไปแล้ว มันจะไปอยู่อันหนึ่งของมันต่าง‌หาก อันนั้นเรียกว่า มันรวมเข้าไปเป็นใจ

คนเรามีใจทุกคน แต่ไม่เข้าถึงใจได้สักที มาวูบหนึ่งก็ไปมา‌วูบหนึ่งก็ไป ไปตามจิต แล้วคราวนี้เข้าใจว่า จิตนั้นเป็นใจ เลย‌ไปตามแต่จิต ตามเท่าไรมันก็ไม่ทันก็สักที ตามจิตไม่ทันหรอก ‌อย่าไปตามมันเลย มันคิด มันนึก ส่งส่ายไปสารพัด นั่นเรียกว่า ‌จิต“ผู้อยู่”มันมีผู้หนึ่งต่างหาก ครั้นถ้าไม่มี“ผู้อยู่”ผู้หนึ่งแล้ว ‌ผู้คิด ผู้นึกก็ไม่มี

เหตุนั้นอย่าไปตามมัน ปักหลักลงตรงนี้แหละ มันจะไปไหน‌ก็ไปเถิด เราจะตั้งมั่นลงตรงนี้แหละ อยู่ที่ใจ ให้เห็นใจให้รู้ใจ รู้‌ใจอยู่ทุกเมื่อ รู้ใจอยู่ทุกขณะ ถึงว่า จิต อันนั้นมันคิดนึกปรุงแต่ง‌ประการต่างๆ ก็ตาม นั้นเป็นอาการของใจหมดถ้าไม่คิดไม่นึก‌แต่มีความรู้สึกตัวอยู่ ความคิดความนึกไม่มี อันผู้อยู่เฉยนั่น‌แหละคือ ใจ

ถ้าเราอยากจะรู้จักตัวใจ คืออะไรกัน มาสังเกตดู คำว่า“ใจ”นั้น คือว่ามันเป็นกลาง ถึงเรียกว่า ใจ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ‌ไม่คิดหยาบ ไม่คิดละเอียด ไม่ปรุงแต่งอะไรทั้งหมดเฉยอยู่สิ่งทั้ง‌หลายทั้งปวงหมด ถ้าเป็นกลาง เขาเรียกว่า ใจ อย่างคนเรา ‌ครั้นถามว่าใจอยู่ตรงไหน ก็ชี้มาท่ามกลางอก

ตรงนั้นแหละใจ

ใจ คือ ตัวกลาง

คราวนี้เราอยากจะรู้ใจ เห็นใจ ว่าคืออะไร?ก็ทดสอบด้วย‌ตัวเอง นั่งกำหนดภาวนาอยู่คนเดียว หรือกลั้นลมหายใจสักพัก‌หนึ่ง ลองกลั้นเวลานี้ก็ได้ กลั้นลมหายใจสักพักหนึ่งจะมีความ‌รู้สึกไหมขณะนั้น?บอกว่ารู้สึก แต่ไม่ได้คิดนึก ไม่ส่งไปมาหน้า‌หลัง อันความรู้สึกนิ่งอยู่นั้นแหละ คือ ใจ แต่เดี๋ยวนี้เรายังไม่‌ทันถึงอันนั้น จึงต้องภาวนา เดี๋ยวนี้เราเห็นแต่อาการของมัน คือ ‌เห็นแต่การคิด นึก ปรุง แต่ง ครั้นเราตั้งสติควบคุมตรงนั้น ให้‌มันอยู่นิ่งแน่แล้ว มันจะรวมเข้ามาเป็นใจ

รวมเข้ามาเป็นใจได้แล้ว มันได้ผลประโยชน์อะไรคราวนี้?

1.จะต้องหายกังวลเกี่ยวข้องกับภายนอกทุกสิ่งทุกประการ‌หมด ความทุกข์เดือดร้อนของคนทั้งหลายเกิดมีขึ้น เพราะ‌อารมณ์เกี่ยวข้องพัวพันต่างๆ จึงต้องหัดให้เข้าใจ วางเรื่องทั้ง‌หลาย ไม่เกี่ยวข้อง นั่นแหละ การไม่เกี่ยวข้อง ก็พ้นทุกข์เดือด‌ร้อนทั้งปวง

2.ได้รู้ได้เห็น“ภพของใจ”ความคิดความนึกส่งส่ายของคน ‌มันส่งไปไกล มันไปเสียจนไม่มีขอบเขต ไม่ทราบว่า ใจคืออะไร ‌มีแต่จิต เห็นจิตเป็นตัวของตน เลยลุ่มหลงมัวเมาเข้าใจเอาเป็นตัวของตน จึงต้องส่งไป เหตุนั้น เมื่อเวลารวมเข้าไปเป็นใจ ‌ของเหล่านั้น ก็หายไปหมด เมื่อหายจากกังวลเกี่ยวข้องแล้วจะ‌ได้มองเห็น“ภพของใจ”ที่เราเห็นตัวของเราอยู่นี่ มันเป็น“ภพของกาย”ที่คิดนึกส่งส่ายด้วยประการต่างๆ นั่นเป็นภพ‌ของจิต

บางคน“ภพของใจ”เมื่อทำความสงบลงไป จนเห็นตัวใจ‌นั้น สิ่งสารพัดทั้งปวงหมดหายไป ไม่ปรากฏในขณะนั้น มีแต่ ‌“ความรู้อันเดียว”แล้วก็ลองเทียบกันดูซิคราวนี้“ภพของจิต”ก็‌ภพของโลกอันนี้เอง กับ“ภพของใจ”แล้วจะมีความสุขกว่ากัน‌สักเท่าไร เอาแค่นั้นเสียก่อน ให้เห็นอันนั้นเสียก่อน

เมื่อเห็นอันนั้น ได้อันนั้นแล้ว ก็อบรมอันนั้นไว้ให้มากไม่‌หลงไปตามจิต สะสมไว้ให้ชำนิชำนาญ จนกระทั่งยืน เดิน นั่ง ‌นอน ก็มีความสงบเห็นใจอยู่ทุกขณะ จะเป็นกี่ปี กี่สิบปีก็ตาม‌อย่าไปอยากรู้ อย่าไปอยากเห็นอะไรต่างๆ ตามที่เขาเล่า เช่น ‌เห็นเทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม มันเลยไม่เข้าถึงใจการเข้า‌ถึงใจไม่การออก อย่างเคยอธิบายให้ฟังมาแล้ว มันนิ่งอยู่ผู้เดียว‌มีความรู้อยู่เฉพาะตัวของมันเอง

3.เมื่อหัดตรงนี้ให้ชำนิชำนาญแล้ว ต่อนั้นไป เมื่อประกอบ‌การงานธุรกิจทุกอย่างทุกประการ อย่างฆราวาสเรานี่แหละ ‌ทำงานทำการไปเถิด ทำได้ ไม่เป็นอุปสรรคขัดข้องแก่การงาน‌อันนั้นๆ และทำได้ดี เพราะว่าจิตมันมีขณะเร็วเมื่อจิตมันส่ง‌ออกไปประกอบการงานนั้นๆ แล้ว มันก็วกกลับคืนมา เมื่อหัด‌ชำนิชำนาญแล้วจิตมันเป็นอย่างนั้น การงานไม่เสีย การงานก็‌ได้ ความสงบสุขก็มีอยู่

เขากลัวจะเสียงาน เข้าใจกันเองว่า ทำสมาธิภาวนาแล้วจะ‌เบื่อหมด ละทิ้งหมด สิ่งของวัตถุทั้งปวง ครอบครัว บ้านเรือนจะ‌ทิ้งหมด โอ๊ย มันไม่ได้ทิ้งง่ายๆ หรอก ขอให้ทำให้มันเป็น ให้มัน‌รู้เสียก่อน มันติดมานานแสนนาน มันจะทิ้งไปได้ง่ายๆ เมื่อไร ติด‌มาไม่ทราบกี่ภพกี่ชาติแล้ว ชาตินี้ก็ติดสะสมมามากมาย ที่จะละ‌มันได้แสนยาก เหตุนั้น เมื่อเข้าถึงความสงบแล้ว มันยังมีอาการ‌พลัดไปยึดอยู่เสมอ แต่หากความสงบนั้นมันมีเพียงพอ มันจึงละถอนได้ แต่ละถอนแล้วมันก็วิ่งออกไปอีก ความชำนิชำนาญในความสงบมันมีกำลังแรงพอ มันจะต้องอยู่กับความสงบ

นี่วิธีหัดทำสมาธิภาวนา หัดให้รู้จักใจ ให้เห็นใจของตนที่มี‌อาการ คือคิดนึก แล้วให้สติควบคุมอยู่ตลอดเวลา มันจะอยู่หรือ‌ไม่ก็ให้เห็นมันอยู่ทุกเมื่อ สติตัวนั้นคุมอยู่ตลอดเวลาหากมันเข้า‌ถึงสมาธิแน่วแน่ คือ เอกัคตารมณ์ จิตรวมเข้าไปได้รวมเข้าไป‌เป็น ภวังค์ ได้ จึงจะเข้าถึง ใจ

เมื่อเข้าถึงใจแล้วก็เชื่อมั่นว่าเรามีพุทธศาสนาได้แล้วถ้ายัง‌เข้าไม่ถึงใจ ยังไม่เห็นใจ เห็นแต่จิต ยังไม่ทันถึงพุทธศาสนาก่อน ‌เพราะพุทธศาสนา สอนที่ใจ เกิดที่ใจ ไม่ได้เกิดจากอื่น

พุทธศาสนา เกิดจากพระหทัยของพระพุทธเจ้าที่สงบเยือก‌เย็นแล้ว จึงค่อยทรงสำเร็จสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจึงค่อยนำมา‌สอนพวกเรา พุทธศาสนาที่ทรงสอนทั้งหมด 45 ปี หลังจาก‌ตรัสรู้ รวมลงแล้ว สอนตรงนี้แห่งเดียว ไม่ได้ไปสอนที่อื่น เมื่อ‌เสด็จปรินิพพาน ก็ทรงสรุปรวมลงไป อย่าเอามาก อาศัยความ‌ไม่ประมาท เท่านั้นแหละ เป็นหลัก

ความไม่ประมาท ก็คือ มีสติทุกเมื่อที่ฝึกหัดอย่างนี้จึงได้‌ชื่อว่า เราปฏิบัติถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเพราะ‌ฉะนั้น ทุกๆ คนขอให้พากันอบรม ตั้งสติให้มั่นคง มีโอกาสพัก‌ร้อนชั่ว 7 วัน 15 วัน ตั้งใจทำเสียให้สุดกำลังความเพียรของ‌เรา มันจะได้แค่ไหนก็เอาเถิด ดีกว่าที่เราไม่ได้ทำความเพียร‌ภาวนา

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่าบุรุษ (นักปฏิบัติทั้งชายและหญิง) คือ ‌ผู้กล้าหาญ จงเพียรพยายามกระทำไปการทำก็ให้ทำจริงๆ ‌จังๆ ไม่ให้ทำเล่นๆ หลอกๆ จะต้องเข้าถึงที่สุดของความ‌ปรารถนาของตน วันหนึ่งข้างหน้าจนได้ เอาละนั่งสมาธิ

(พระอาจารย์อบรมนำก่อน)

การภาวนา ถ้าตั้งใจเป็นกลางๆ แล้ว มันก็หมดเรื่อง ไม่ต้อง‌เกี่ยวข้องกับอะไรทั้งนั้น ความเป็นกลางนั้นลงปัจจุบันเลยไม่คิด‌เรื่องอดีต อนาคต เป็นการภาวนาในตัว คือ มันเห็นใจของเรา ‌ใจ แปลว่า กลาง ถ้าถึงกลางเมื่อไร นั่นแหละถึงตัวใจ ให้อยู่‌ตรงนั้นเสียก่อน อย่าไปคิดนึกถึงเรื่องอะไรทั้งหมด

ที่หัดอยู่ทุกวันนี้ ก็หัดให้เข้าถึงสมาธิตรงนั้นแหละ เมื่อเข้า‌ถึงตรงนั้นแล้ว มันจะอยู่ได้นานๆ ไม่เหมือนที่เรากลั้นลมหายใจ ‌คือ มันค่อยเย็นลงไป สงบลงไป เข้าถึงจุดนั้นแล้วละก็สบาย คน‌เราจะเอาสบายอะไรอีก นอกไปจากความสบายตรงนั้น ตรงสิ่ง‌ที่ไม่มีอะไรนั่นน่ะ มันสงบเย็นรู้ตัวอยู่ มันก็แสนสุขสบายล่ะซี ‌จะไปหาความสุขสบายที่ไหนอีก ไปคิดถึงบ้านถึงเรือนคิดถึงลูก‌ถึงหลาน คิดถึงการงาน อันนั้นเอาไว้ต่างหาก อย่าเพิ่งไปคิดถึง ‌เวลาทำสมาธิภาวนา ทำให้เข้าใจ“ใจ”ตรงนั้นเสียก่อน ทำ‌ความสงบสุขนั้นให้ได้เสียก่อนแล้วจึงค่อยออกไปคิด

เวลามันออกจากสมาธิแล้ว มันก็วิ่งว่อนไปอีก แต่ว่าคราวนี้มันมีสติอยู่ รู้อยู่ว่ามันไปหาอะไร มีประโยชน์อะไรมีความรู้ตัวอยู่ ตอนนั้นมันจะค่อยมีปัญหาขึ้น ดีกว่าแต่ก่อนแต่‌ก่อนนั้นมันวิ่งว่อนเสียจนหัวซุกหัวซุน ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน‌อะไร ว่าแต่ดีเรื่อยไป พอเราหัดเข้าถึงความสงบนั้นได้แล้วมัน‌ไม่มีอะไร มีเพียงความรู้สึกอยู่นั่น อยู่เช่นนั้นได้นานสักเท่าไรก็‌ตาม เวลามันถอนออกไปคราวนี้ มันจะรู้ตัวขึ้นเห็นความจริงละ‌ทีนี้ มันจะรู้ตัวว่า มันวิ่งว่อนหัวซุกหัวซุนมาแล้วทั้งกลางวันและ‌กลางคืน แม้แต่นอนหลับมันก็ผ่านไป แท้ที่จริงของอันนั้นไม่ใช่‌ของดี แต่มันใช้เราเฉยๆ ถ้าหากเราบังคับใจอยู่แล้ว มันไม่ไป‌หรอก

ให้หัดเข้าถึงตรงกลางนั้นเสียก่อน ให้นิ่งแน่วอยู่สงบเต็มที่ มัน‌จะอยู่ได้นานสักเท่าไร ก็อยู่ไปเถิด เราหาความสุขเมื่อได้ความสุข‌แล้วก็เอาละ พักอยู่แค่นั้นเสียก่อน เอ้า! นั่งภาวนาเลย

.

-http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88/148570/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-

http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88/148570/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)