ผู้เขียน หัวข้อ: ท่าน “ว.วชิรเมธี” แนะ “มหาสงกรานต์ มหาสติ”  (อ่าน 1518 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



  “สสส.-สคล.” ผนึกสถาบันวิมุตตยาลัย  เปิดแคมเปญ “มหาสงกรานต์ มหาสติ” ขณะที่ “ท่าน ว.วชิรเมธี” แนะแนวคิด มีสติก่อนเฉลิมฉลอง ด้าน “หมออุดมศิลป์” ชูกลยุทธ์ “1 ให้  4 ไม่” ชวนเล่นน้ำอย่างสร้างสรรค์ ไม่โป๊-ไม่ดื่ม เชื่อประชาชนอยากได้พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้าเราปลอดภัย
                 
     
      วันนี้ (30 มี.ค.)  ที่หอศิลป์  กทม.  สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิมุตตยาลัย  จัดกิจกรรมรณรงค์ภายใต้แคมเปญ “มหาสงกรานต์ มหาสติ” ในงานมีการแสดงจำลองละครสงกรานต์เสื่อม  เมา อนาจาร วิวาท   การแสดงแร็พ “เพลงต้านเหล้า” โดยกลุ่มนักศึกษา  ทั้งนี้ มีเยาวชนผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 คน
                 
      จากนั้น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี  (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย   กล่าวในเวทีเสวนาหัวข้อ “หยุดความเสื่อม...คืนความดีงามสงกรานต์” ว่า สงกรานต์คือเทศกาลแห่งความสุข แต่มีทุกครั้งที่สงกรานต์ต้องกลายเป็นเวลาแห่งความทุกข์ เพราะคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อไปเฉลิมฉลองแล้วประสบอุบัติเหตุระหว่างเดินทาง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเมาแล้วขับ ทั้งนี้หากย้อนดูสถิติช่วงสงกรานต์ รอบ 10 ปี 2545-2554 ได้คร่าชีวิตคนไปแล้วมากถึง 4,470 ราย ซึ่งเป็นความเสียหายอย่างมหาศาล ส่งผลกระทบต่อครอบครัว การงาน สังคม และเศรษฐกิจของประเทศชาติ และถ้าหากเปรียบเทียบกับต่างประเทศ สถิติการเสียชีวิตบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากขนาดนี้ คงเกิดจากการทำสงครามกลางเมือง ดังนั้นการฉลองช่วงสงกรานต์ปีนี้ หากคนไทยยังขาดสติอาจกลายเป็นเทศกาลแห่งความโศกเศร้าที่มีคนบาดเจ็บล้มตายหลายร้อยรายอย่างที่เคยเป็นมา
             
     
      “เราต้องช่วยกันเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนการเฉลิมฉลองสงกรานต์ด้วยการฉลองอย่างมีสติที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มหาสงกรานต์ มหาสติ” วิธีปฏิบัติ คือ ตั้งสติ 5 ประการ ดังนี้ 1. ตั้งสติก่อนสตาร์ท ก่อนออกเดินทางควรศึกษาเส้นทางที่ปลอดภัยที่สุด 2. ตั้งสติก่อนขับรถ ควรภาวนาว่า “ขับดีถึงที่หมายขับอันตรายถึงยมบาล”  3. ตั้งสติก่อนฉลอง ควรหลีกเลี่ยงการฉลองด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาเสพติดทุกชนิด เพราะเป็นวิธีที่เสี่ยงอันตราย 4. ตั้งสติก่อนสาดน้ำ ควรทำอย่างมีสติไม่ควรใช้ความคึกคะนองจนก่อความเดือดร้อน”  พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี   กล่าว
                       
      ศ.นพ.อุดมศิลป์  ศรีแสงนาม ประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า  กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์ของคนไทยได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก  โดยเฉพาะในวัยรุ่นหรือวัยทำงานที่นิยมดื่มแอลกอฮอล์  ระหว่างการเล่นน้ำ  ทำให้สงกรานต์ในแต่ละปี มียอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก  การดื่มสุราเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ดังนั้นการควบคุมทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสาร การสร้างจิตสำนึกให้เยาวชน และประชาชนเล่นน้ำในช่วงสงกรานต์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย  จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดความสูญเสียได้   เครือข่ายงดเหล้าจึงเสนอแง่คิด “1 ให้ 4  ไม่”  เพื่อเป็นหลักในการเล่นน้ำสงกรานต์อย่างปลอดภัย   ไม่ทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของไทย  ซึ่ง 1 ให้ หมายถึงการให้พร  ให้ความปรารถนาดีซึ่งกันและกัน  เด็กๆรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่  และ 4 ไม่ คือ “ไม่ดื่ม”  ไม่ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะจะนำไปสู่การขาดสติ  “ไม่โป๊”  ควรแต่งกายมิดชิด  ไม่วาบหวิว ยั่วยุ “ไม่รุนแรง”  เป็นการเล่นสาดน้ำด้วยความสุภาพนุ่มนวล ซึ่งรวมไปถึงการไม่ทะเลาะวิวาทด้วย   และสุดท้ายคือ “ไม่ฉวยโอกาส”   เป็นข้อที่สำคัญที่พึงตระหนักในสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้อื่นด้วยการให้เกียรติ เคารพ ยำเกรง และนับถือซึ่งกันและกัน  จึงอยากฝากไว้เป็นหลักง่ายๆเพื่อนำไปเป็นข้อคิดในการเล่นน้ำช่วงสงกรานต์ปีนี้
                 
     
      ศ.นพ.อุดมศิลป์  กล่าวเพิ่มเติมว่า  สงกรานต์ปีนี้เชื่อว่าประชาชนต้องการมีพื้นที่ปลอดภัย   เพราะหลายปีที่ผ่านมาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้สร้างความเสื่อมเสียให้ประเพณีอันดีงามของไทยไปมาก    ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจล่าสุด เกี่ยวกับความคิดเห็นประชาชนเขต กทม. เกี่ยวกับการท่องเที่ยวช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ ที่ระบุว่า 87.8% อยากให้สนับสนุนเขตเล่นน้ำสงกรานต์สนุกสนาน ปลอดภัย โดยระบุว่า อยากได้พื้นที่สนุกสนาน ปลอดภัย คือไม่มีคนเมา ไม่มีการลวนลาม อนาจาร  ไม่มีความรุนแรงใดๆ  ทั้งนี้  61.2% ยังเห็นว่าหน้าบ้านตัวเองเป็นพื้นที่เล่นน้ำสงกรานต์ที่ปลอดภัยที่สุด นอกจากนี้ ในหลายพื้นที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทศกาลสงกรานต์ จึงได้จัดโซนนิ่งพื้นที่เล่นสงกรานต์และห้ามนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป ทั่วประเทศ เช่นนนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น  อุบลราชธานี ยโสธร นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร  ซึ่งคาดว่าการจัดโซนนิ่งพื้นที่ปลอดเหล้าจะส่งผลให้ความรุนแรง อนาจาร และอุบัติเหตุลดลงได้
               
     
      “เครือข่ายต้องการให้สังคมเห็นคุณค่าของงานสงกรานต์ เพื่อสร้างวัฒนธรรมปีใหม่ไทยที่ดีงาม ครอบครัวได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้า และเล่นน้ำในพื้นที่ที่อยู่อาศัย แทนที่จะเดินทางไกลไปเล่นต่างจังหวัด อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ช่วงสงกรานต์ให้ปลอดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก เนื่องจากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังใช้โอกาสนี้ส่งเสริมการขาย ไม่คำนึงถึงคนไทยที่ต้องเสียชีวิต พิการ และเจ้าภาพจัดงานเอง ยังละเลยข้อกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551” ศ.นพ.อุดมศิลป์ กล่าว


http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000040551
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...