ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
สงกรานต์ปีนี้ 2555
sithiphong:
ความเป็นมาและเกร็ดน่ารู้ของวันสงกรานต์
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
แดดร้อนเปรี้ยงกลางเดือนเมษายนเช่นนี้ เชื่อเลยค่ะว่า หลาย ๆ คนคงกำลังตั้งหน้าตั้งตารอคอยเทศกาลแห่งความสุขอย่าง "เทศกาลสงกรานต์" อย่างแน่นอน เพราะนอกจากที่เราจะได้สาดน้ำคลายร้อนในวันหยุดยาว ๆ 3 วันกันแล้ว เทศกาลนี้ยังเป็นวันนัดพบของคนในครอบครัวที่อยู่ต่างถิ่นต่างแดน ให้กลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมกันด้วย อีกทั้งยังเป็นเทศกาลที่เปรียบเสมือนวันปีใหม่ไทย ให้ชาวไทยได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตตลอดทั้งปี
วันนี้กระปุกดอทคอมก็ขอหยิบยกนำเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "วันสงกรานต์" มาให้เพื่อน ๆ ได้รับทราบกัน ไปดูกันซิว่า เทศกาลสงกรานต์ เริ่มขึ้นเมื่อไร และมีความสำคัญอย่างไรบ้าง...
สำหรับคำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า "สํ-กรานต" ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการย้ายที่ เคลื่อนที่ โดยหมายความอีกนัยนึงว่า เป็นการเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่นั้นเอง ส่วนเทศกาลสงกรานต์นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ของคนไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กันมากับประเพณีตรุษจีน จึงมีการเรียกรวมกันว่า "ประเพณีตรัษสงกรานต์" ซึ่งหมายถึง ประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั่นเอง
ทั้งนี้ วันหยุดสงกรานต์ เป็นวันหยุดราชการ แบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์, วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา, วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก ส่วนกิจกรรมหลัก ๆ ที่ทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะเป็นการทำความสะอาดบ้านเรือน การร่วมกันทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำของพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำคลายร้อนกัน เป็นต้น
วันสงกรานต์
วันสงกรานต์
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์
ในสมัยโบราณ คนไทยถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตกราว ๆ เดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าเป็นช่วงฤดูหนาว ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 เมษายน แต่เมื่อในยุคสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นสากล คือวันที่ 1 มกราคม แต่กระนั้น คนไทยส่วนมาก็คุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงกำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทิน เกรกอรี่
นอกจากประเทศไทยได้ถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่แล้ว รู้หรือไม่ว่า ประเทศมอญ พม่า ลาว ก็นำเอาวันดังกล่าว เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเขาด้วยเช่นกัน
วันสงกรานต์
วันสงกรานต์
สำหรับภาษาและความเชื่อของวันสงกรานต์ในแต่ละภาคก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้ ...
ภาคกลาง
วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" และเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันเนา" ซึ่งในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ประกาศให้เป็นวันครอบครัว
วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันเถลิงศก" คือวันเริ่มจุลศักราชใหม่
ภาคเหนือ
วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันสังขารล่อง" ซึ่งมีความหมายว่า อายุสิ้นไปอีกปี
วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันเน่า" เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าและไม่เจริญ
วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันพญาวัน" คือวันเปลี่ยนศกใหม่
ภาคใต้
วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันเจ้าเมืองเก่า" หรือ "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" เพราะเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์
วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันว่าง" คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง ชาวบ้านก็จะงดงานอาชีพต่าง ๆ แล้วไปทำบุญที่วัด
วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันรับเจ้าเมืองใหม่" คือวันรับเทวดาองค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิมที่ย้ายไปประจำเมืองอื่น
คำว่า "ดำหัว" ปกติแปลว่า "สระผม" แต่ประเพณีสงกรานต์ล้านนา หมายถึง การแสดงความเคารพ และขออโหสิกรรมที่ตนอาจจะเคยล่วงเกิน รวมทั้งขอพรจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส ครูบาอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา ส่วนมากจะใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยนำไปไหว้ และผู้ใหญ่ก็จะจุ่มเอาน้ำแปะบนศีรษะก็เป็นอันเสร็จพิธี
วันสงกรานต์
วันสงกรานต์
วันสงกรานต์
วันสงกรานต์
อย่างไรก็ตาม พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกครอบครัว หรือชุมชนบ้านเรือนละแวกใกล้เคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามสมัย และค่านิยม จากเดิมชาวบ้านจะใช้น้ำเป็นตัวแทนในการประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ โดยถือว่า น้ำจะแก้ความร้อนของฤดูร้อน และใช้ช่วงเวลาดังกล่าวขอพรจากผู้ใหญ่ รวมไปถึงระลึกบุญคุณต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ส่วนประเพณีสงกรานต์ในสมัยใหม่นั้น จะเป็นประเพณีกลับบ้านเกิดเสียมากกว่า หรือถือว่าเป็นวันครอบครัว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
วิชาการดอทคอม
-http://www.vcharkarn.com/varticle/36247-
-http://hilight.kapook.com/view/21047-
.
sithiphong:
กิจกรรมและข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ก่อนหน้านี้ เราได้ฉลองวันปีใหม่สากลกันมาแล้ว ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลวันปีใหม่ของไทยแล้วนะคะ นั่นก็คือ เทศกาลสงกรานต์ นั้นเองค่ะ ในวันนี้ ลูกหลานที่แยกย้ายออกไปสร้างครอบครัวอยู่ที่ใดก็จะกลับบ้านมาพบปะ กราบไหว้บุพการี นอก จากนี้ในวันสงกรานต์ยังมีกิจกรรมมากมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การสาดน้ำอย่างเดียวนะคะ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำกิจกรรมและข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์ ที่เชื่อแน่ว่า หลายคนอาจยังไม่เคยทราบมาฝากกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูพร้อมกันเลยค่ะ
การเตรียมงาน
วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าวันตรุษคือวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องตระเตรียมงานกันเป็นการใหญ่ จนมีคนที่พูดกันติดปากว่า "ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่" สิ่งที่ตระเตรียมกันนั้นจึงเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำกันเป็นพิเศษตามลำดับ ดังนี้...
1. เครื่องนุ่งห่ม
เพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกายอย่างค่อนข้างจะพิถีพิถัน
2. ของทำบุญ
เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษของที่จะทำขนมพิเศษ 2 อย่าง ได้แก่ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวน หรือกะละแมในวันสงกรานต์ นอกจากจะทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้ว ยังแลกเปลี่ยนแจกกันในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรีในวันสำคัญ
3. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง
เพื่อให้ดูเรียบร้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูฃาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ แม้เสื้อผ้าที่ใช้สอยก็ต้องซักฟอกให้สะอาดหมดจดโดยถือว่ากำจัดสิ่งสกปรกให้ สิ้นไปพร้อมกับปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
4. สถานที่ทำบุญ
วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน นอกจากจะทำความสะอาดกุฎีที่อาศัยแล้วยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนลานวัด เพราะต้องใช้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ ก่อพระเจดีย์ทราย และงานรื่นเริงต่าง ๆ ด้วย
ก่อนหน้านี้ เราได้ฉลองวันปีใหม่สากลกันมาแล้ว ตอนนี้ก็ใกล้จะถึงเทศกาลวันปีใหม่ของไทยแล้วนะคะ นั่นก็คือ เทศกาลสงกรานต์ นั้นเองค่ะ ในวันนี้ ลูกหลานที่แยกย้ายออกไปสร้างครอบครัวอยู่ที่ใดก็จะกลับบ้านมาพบปะ กราบไหว้บุพการี นอก จากนี้ในวันสงกรานต์ยังมีกิจกรรมมากมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การสาดน้ำอย่างเดียวนะคะ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้นำกิจกรรมและข้อควรปฏิบัติในวันสงกรานต์ ที่เชื่อแน่ว่า หลายคนอาจยังไม่เคยทราบมาฝากกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูพร้อมกันเลยค่ะ
การทำบุญ
การทำบุญในวันสงกรานต์มีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. พิธีหลวง หรือ พระราชพิธีสงกรานต์
วันที่ 15 เมษายน ในเวลาเช้า 10.30 น. พระสงฆ์ที่รับอาราธนามาเจริญพระพุทธมนต์ที่พระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปสำคัญต่าง ๆ ที่หอพระสุราลัยพิมาน แล้วเสด็จหอพระบรมอัฐิที่หอพระธาตุมณเฑียร สรงน้ำพระ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ ถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนบุฃาพระรัตนตรัย ทรงศีล พระสงฆ์จำนวน 67 รูป เท่าจำนวนพระบรมอัฐิ และพระอัฐิที่อาราธนาจากวัดที่เกี่ยวข้อง กับพระบรมอัฐิและพระอัฐิ เจริญพระพุทธมนต์ ฉันภัตตาหารเพล
เสร็จแล้วอัญเชิญพระบรมอัฐิ จากหอพระธาตุมณเฑียรเป็นกระบวนแห่ มีประโคมสังข์ แตร กลองชนะ ตั้งแต่เวลาเชิญออก จนกระทั่งถึงบนราชบัลลังก์นพปฏลมหาเศวตฉัตร ในพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนราชสักการะพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ของพระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียน ถวายสักการะพระบรมอัฐิและพระอัฐิ ทรงทอดผ้าคู่ (ถือผ้าขาว 2 ผืน นุ่งผืน 1 ห่มผืน 1) มีขวดน้ำหอม 1 ขวด พระสงฆ์นั่งสดับปกรณ์ตามลำดับวัดประจำพระบรมอัฐิ
เวลา 16.30 น. เสด็จสรงน้ำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธสัมพรรณี พระชัยหลังช้าง พระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 เสด็จสรงน้ำพระคันธราษฎร์ สรงน้ำ พระโพธิ์ พระนิโครธ พระพุทธเจดีย์ทอง พระไตรปิฎกฉบับทองทึบ พระนาคที่วิหารขาวสดับปกรณ์ พระบรมอัฐิกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และพระอัฐิเจ้านายต้นราชสกุลต่าง ๆ
เปิดปราสาทพระเทพบิดรวันที 13, 14, 15, 16 เมษายน เพื่อให้ประชาชนถวายสักการะพระบรมรูปบูรพมหากษัตริยาธิราช
เมื่อก่อนการบำเพ็ญพระราชกุศลในพระบรมมหาราชวัง มี 4 วัน คือวันที่ 13-16 เมษายน ปัจจุบันมีเฉพาะวันที่ 15 เมษายน วันเดียว ซึ่งในเช้าวันที่ 15 เมษายน โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานนิมนต์พระ 150 รูป เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตรทีในพระบรมมหาราชวัง
เวลา 10.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตไปยังพระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จฯ พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญที่หอพระสุลาลัยพิมาน ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วเสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนบูชาพระสยามเทวาธิราชที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เสด็จฯ ไปยังหอพระธาตุมณเฑียรทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะและสรงน้ำพระบรมอัฐิ พระอัฐิ แล้วเสด็จออกพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยทางพระทวารเทวราชมเหศวร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ 71 รูป เจริญพระพุทธมนต์การพระราชพิธีสงกรานต์ จบแล้วทรงประเคนภัตตาหาร
เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จเจ้าพนักงานเชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิออก ประดิษฐานบนพระราชบัลลังก์ ภายใต้นพปฏลมหาเศวตฉัตรและบนที่นั่งกงภายใต้ฉัตรขาวลายทอง 5 ชั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะถวายบังคมพระอัฐิ แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดผ้าคู่ พระสงฆ์สดับปกรณ์ พระบรมอัฐิและพระอัฐิ แล้วถวายอนุโมทนาถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เสด็จพระราชดำเนินประทับรถยนต์พระที่นั่ง ที่พระที่นั่งทวารเทเวศรรักษาเสด็จพระราชดำเนินกลับ
เวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าพนักงานกราบบังคมทูลรายงานเครื่องราชสักการะที่ทรงพระราชอุทิศ พระราชทานให้กระทรวงมหาดไทยเชิญไปถวายเป็นพุทธบูชาเจดียสถานต่างๆ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงพระสุหร่ายสรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปสรงน้ำปูชนียวัตถุตามเจดียสถานในพระอารามนี้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่หอพระนาก ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระอัฐิ 5 รูป สดับปกรณ์แล้วทรงทอดผ้าพระสงฆ์อีก 50 รูป สดับปกรณ์พระอัฐิพระราชวงศ์ พระสงฆ์ถวายอนูโมทนา ถวายดิเรก เป็นเสด็จการ
2. พิธีราษฎร์
การทำบุญตักบาตรในวันสงกรานต์
การทำบุญในวันสงกรานต์อาจจะทำการตักบาตรทำบุญได้ 2 แห่ง คือ ที่วัดหรือในบริเวณงานที่จัดไว้แล้ว วิธีตักบาตร ใช้วิธีเรียงแถวและนิมนต์พระเดินตามลำดับ โดยชายตักบาตรด้วยข้าว หญิงตักบาตรด้วยของคาวหวาน ถ้าเต็มบาตรก็ถ่ายใส่ภาชนะอื่น และนิมนต์ท่านรับจนทั่ว เสร็จแล้วอาจนิมนต์ท่านฉัน ณ สถานที่จัดงาน หรือให้ท่านนำไปฉันที่วัดก็ได้ ในเวลาตักบาตรพระสงฆ์จะสวดถวายพร คือ พาหุง พอเสร็จก็ช่วยกันยกอาหารคาวหวานไปถวายพระ ขณะพระฉันจะมีการอ่านประกาศสงกรานต์กันในตอนนี้ บางคนก็อาจจะอยู่ฟังอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี
กิจกรรมที่ประชาชนทำในวันสงกรานต์
การก่อเจดีย์ทราย
จะทำในวันใดวันหนึ่งของวันที่ 13-15 เมษายนก็ได้ ผู้ทำบุญจะช่วยกันขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ ในบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ให้ใช้ก่อสร้างหรือถมพื้นที่เป็นเรื่องที่ถือว่าได้บุญและสนุกสนาน แต่ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องทำทุกวัด
การปล่อยนกปล่อยปลา
เป็นการทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์และไม่จำกัดว่าจะทำในวัดเท่านั้น
การสรงน้ำพระ
มีทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นศิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่อันเป็นเวลาที่อากาศร้อน
การรดน้ำผู้ใหญ่
เป็นเรื่องของการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้ร่วมพิธีควรนำผ้า 1 สำรับ คือ ผ้านุ่ง 1 ผืน ผ้าห่ม 1 ผืน ไปมอบให้ท่านพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียน การรดน้ำผู้ใหญ่ดังกล่าวมานี้มักจะรดหรืออาบท่านจริง ๆ จึงต้องมีผ้าไปมอบให้ ปัจจุบันบางแห่งรดเฉพาะที่ฝ่ามือ โดยจะเอาน้ำหอมเจือในน้ำด้วย แต่ก็ยังคงมีผ้านุ่งห่ม 1 สำรับ และดอกไม้ธูปเทียนไปแสดงความคารวะ และขอพรท่านก็จะให้ศีลให้พรให้มีความสุขปีใหม่ คือตั้งแต่วันสงกรานต์เป็นต้นไป
การทำบุญอัฐิ
เป็นเรื่องที่นิยมทำแบบนิมนต์พระ ชักบังสุกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ โดยนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หรือถ้าไม่มีอัฐิจะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ เมื่อบังสุกุลแล้วก็เผากระดาษแผ่นนั้นเสีย เหมือนเผาศพ การทำบุญอัฐิจะทำในวันไหนก็ได้สุดแต่จะนัดหมายกัน การรื่นเริงจัดขึ้นเพื่อเชิ่อมความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นการอนุรักษ์ประเพณีต่างๆ ในท้องถิ่นไว้ด้วย
การสาดน้ำ
เป็นการสนุกสนานรื่นเริงอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ คือ สาดน้ำกันโดยมากจะเริ่มต้นในวันสรงน้ำพระ แต่บางแห่งพอเริ่มสงกรานต์ ก็เริ่มสาดน้ำกันทีเดียว ส่วนใหญ่แล้วใช้น้ำสะอาดมีน้ำอบน้ำหอม หรือแป้งหอมผสมบ้างก็ได้ และไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย
การแห่นางแมว
บางแห่งอาจมีการแห่นางแมวเพื่อขอฝนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสนุกสนานรื่นเริงเหมือนกัน แต่ก็หวังผลในทางเกษตรกรรมด้วย กล่าวคือถ้าเกิดฝนแล้งก็แห่นางแมวกันในช่วงวันทำบุญสงกรานต์ เช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับ ประเพณีสงกรานต์ที่แตกต่างกันออกไป ก็สมควรให้ปฏิบัติไปตามนั้น เพื่อเป็นการเคารพภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้กลั่นกรองเลือกสรรแล้วว่า เหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงใดๆ จึงขึ้นกับวิจารณญาณของเจ้าของวัฒนธรรมนั้นๆ โดยตรงที่จะเลือกรับหรือไม่รับสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม รวมทั้งสิ่งใหม่ๆ ที่แทรกเข้ามาอย่างไม่หยุดยั้ง
สิ่งที่ได้จากการทำบุญสงกรานต์
1. เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งที่ตนเคารพ ต่อบิดามารดา และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
2. เป็นการชำระจิตใจ และร่างกายให้สะอาด
3. เป็นการรักษาประเพณีมาแต่เดิม
4. เป็นการสนุกสนานรื่นเริงในรอบปี และพักจากงานประจำชั่วคราว เพื่อจะไปพักผ่อนหย่อนใจ
5. เป็นการเตือนสติว่ามนุษย์นั้นผ่านไป 1 ปีแล้ว และในรอบปีที่ผ่านมาเราได้ทำอะไรบ้างและควรจะทำอะไรต่อไปในปีที่กำลังจะมาถึง
6. เป็นการเตรียมตัวบวช ถ้าเป็นผู้ชายโดยเอาระยะเวลานี้บวชกัน เพราะหลังสงกรานต์ต้องเตรียมตัวทำนาแล้ว
7. เป็นการทำความสะอาดพระ โต๊ะบูชา บ้านเรือน ทั้งในและนอกบ้าน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
-http://hilight.kapook.com/view/21053-
.
sithiphong:
ความหมายของ วันสงกรานต์
-http://hilight.kapook.com/view/21046-
คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13, 14, 15 เมษายน ทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือวันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เป็นวันเนา วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก
ความหมายของคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้
สงกรานต์ ที่แปลว่า "ก้าวขึ้น" "ย่างขึ้น" นั้นหมายถึงการที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือนที่เรียกว่า สงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีกจัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์
มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึงได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว
วันเนา แปลว่า "วันอยู่" คำว่า "เนา" แปลว่า "อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา 1 วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว
วันเถลิงศก แปลว่า "วันขึ้นศก" เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่าการย่างขึ้นสู่จุดเดิมสำหรับต้น ปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็นวันที่ 3 ก็หมายความว่าอย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ไม่น้อยกว่า 1 องศา แล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้
วัน สงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ.ศ. 1181 โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ 1 องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย
ใน ปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ 13 เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ 13 เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณีก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธีซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ 13 จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี
ปกติวันสงกรานต์จะมี 3 วัน คือเริ่มวันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันแรกคือวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ 14 เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที 0 องศา) วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง 4 วัน คือวันที่ 13-16 เป็นวันเนาเสีย 2 วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ) เป็นวันว่างพักการงานนอกบ้านชั่วคราว
จะ เห็นได้ว่าวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ประชาชนก็ยังยึดถือว่าวัน สงกรานต์มีความสำคัญ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
-http://hilight.kapook.com/view/21046-
.
sithiphong:
10 เทคนิคเซฟพลังงาน ตะลุยหยุดยาว...เที่ยวสงกรานต์
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000045735-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 เมษายน 2555 11:45 น.
10 เทคนิคเซฟพลังงาน ตะลุยหยุดยาว...เที่ยวสงกรานต์
ปีใหม่ไทย วันสงกรานต์ หลายคนเดินทางออกต่างจังหวัด กลับบ้านหรือไปเพื่อพักผ่อนท่องเที่ยว สิ่งที่ควรระวังนอกเหนือจากอุบัติเหตุ หลายๆ คน อาจลืมนึกถึงสิ่งที่จะตามมาภายหลังการเดินทาง คือ การเพิ่มปริมาณคาร์บอน หรือทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
ผศ.ดร.จิรพล สินธุนาวา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะรองประธาน และเลขาธิการมูลนิธิใบไม้เขียว ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีข้อมูลดีๆ มาแนะนำในการบรรเทาการเพิ่มคาร์บอน ลดโลกร้อน โดยมีข้อปฏิบัติน่าสนใจ ที่สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยโลดใบนี้ได้ไม่ยาก
1.ตรวจสอบการปิดสวิตช์และดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งานออกให้หมด หมั่น สังเกตอุปกรณ์ภายในบ้าน เช่น ปั๊มน้ำ หากได้ยินเสียงการทำงานตลอดเวลา แม้ไม่ได้ใช้งาน หมายถึงอาจมีรอยรั่วที่ใดที่หนึ่งในระบบส่งน้ำ นอกจากซ่อมแซม ก็ต้องปิดสวิตช์เมื่อไม่ใช้งานด้วย
2.เลือกพักผ่อนในที่ที่ไม่ต้องเดินทางไกล หรือใช้รถสาธารณะ เพื่อ ไม่ให้สูญเสียพลังงานอย่างสูญเปล่า เพราะทุกๆ ลิตรของการเผาไหม้น้ำมันดีเซล รถยนต์จะปล่อยคาร์บอนมากถึง 2.7 กิโลกรัม ส่วนน้ำมันเบนซินจะเผาไหม้ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.3 กิโลกรัม โดยเดินทางได้เพียง 8-10 กิโลเมตร หากรถติดมากก็จะวิ่งได้เพียง 4-6 กิโลเมตร
3.หลีกเลี่ยงการตั้งวางและผูกมัดสิ่งของบนตะแกรงเหนือหลังคารถยนต์ เพื่อลดการสูญเสียเชื้อเพลิงพลังงานมากกว่าปกติ เพราะสิ่งของเหล่านั้นจะเพิ่มแรงต้าน ซึ่งเป็นต้นเหตุให้สูญเสียพลังงานเพิ่มมากขึ้น
4.วางแผนเดินทางหลีกเลี่ยงช่วงเวลาการเดินทางหนาแน่น เช่น ในวันแรกของการเดินทางรอบๆ สถานีขนส่งจะมีการจราจรหนาแน่นมาก ก็ต้องเลือกช่วงเวลาเพื่อกระจายการเดินทางไม่ให้เกิดการจราจรติดขัดมาก
5.ทางเดียวกันไปด้วยกัน ก็จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนเหล่านี้ลง ก่อนเดินทางจึงต้องวางแผนให้ดีว่าจะไปทางไหน อย่างไร หรือหากมีเพื่อนไปทางเดียวกัน ก็ใช้รถคันเดียวเพื่อลดปริมาณการจราจร ลดระยะเวลาในการเดินทาง ซึ่งจะลดค่าใช้จ่าย สิ้นเปลืองน้ำมันน้อยลง และปริมาณคาร์บอนได้
6.ใช้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอ ถ้าการจราจรไม่หนาแน่น เกินไปผู้ขับขี่จะสามารถเดินทางด้วยความเร็วสม่ำเสมอได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้ ความเร็วที่ประหยัดพลังงาน และปลอดภัยอยู่ที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนการใช้ความเร็วนอกจากสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นยังทำให้เกิดการปล่อย คาร์บอนมากขึ้นด้วย ที่สำคัญ การใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดยังทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด อุบัติเหตุได้
ผศ.ดร.จิรพล สินธุนาวา
7.ในช่วงเดือนเมษายนอากาศร้อนมากกว่าปกติ การเดินทางจึงต้องเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ในการจอดรถสามารถประหยัดและลดการปล่อยคาร์บอนได้ โดยวางแผนการจอดรถ ไม่จอดรถบ่อยครั้งมากเกินไป เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน
8.เลือกจอดรถในที่ร่ม เมื่อต้องพักรถเปิดฝากระโปรงรถเพื่อช่วยระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เพื่อลดความร้อนของรถยนต์
9.เลือกที่พักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันมีโรงแรมจำนวนมากร่วมโครงการทำกิจกรรมเพื่อลดโลกร้อน เช่น ใช้น้ำ พลังงานอย่างรู้คุณค่า คัดแยกมูลฝอย หรือเป็นโรงแรมปลอดบุหรี่ โรงแรมสร้างเสริมสุขภาพ โรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โรงแรมใบไม้เขียว สามารถตรวจสอบรายชื่อโรงแรมเหล่านนี้ได้ที่
10.ลดขยะมูลฝอย หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก หรือกล่องโฟม โดยใช้อุปกรณ์แก้วน้ำที่เตรียมไปเอง หรือหากต้องใช้ควรทิ้งในถังขยะไม่ทิ้งในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เพื่อให้เกิดการกำจัดขยะที่เหมาะสม
การมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยกิจกรรมการใช้ทรัพยากรที่ มีความรอบคอบจะทำให้วันหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ เป็นวันหยุดยาวที่เราไม่ร่วมสร้างปัญหาใหม่ให้แก่โลกใบนี้ และจะทำให้โลกใบนี้น่าอยู่มากขึ้น
สงกรานต์นี้เดินทางโดยสวัสดิภาพ เย็นกาย เย็นใจ ทั่วกัน
sithiphong:
ฝากไว้ในช่วงสงกรานต์ครับ
.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
Go to full version