ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"

<< < (28/58) > >>

sithiphong:
เป็นหนี้บัตรเครดิต ทําไงดี เรามีคำแนะนำมาฝาก

-http://money.kapook.com/view89516.html-

ลดหนี้…… บัตรเครดิต เทคนิคดีๆ ที่ควรรู้  (ธนาคารกสิกรไทย)

          เป็นหนี้บัตรเครดิต ทําไงดี ไม่จ่ายบัตรเครดิต หนี้บัตรเครดิต ไม่จ่าย ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ควรทำอย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำมาฝาก

          ปัญหาหนึ่งของคนมีหนี้บัตรเครดิตที่ยังไม่มีวินัยในการใช้จ่ายเงิน แถมใช้จ่ายเงินด้วยความฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเงินไม่เป็น อาจก่อให้เกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ทันเวลาที่กำหนด ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ค่าปรับจากการผิดเงื่อนไขการชำระ ดอกเบี้ยที่คิดจากยอดค้างชำระ ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลเสียจากความเครียดที่มีเพิ่มขึ้น และสุขภาพจิตที่เสียไปเมื่อขาดเงินชำระหนี้

          เริ่มแรกเมื่อใช้บัตรเครดิตใหม่ ๆ ไม่มีใครคิดอยากเป็นหนี้ แต่พอเริ่มใช้สักระยะหนึ่งแล้ว รู้สึกว่าตนเองมีกำลังซื้อจากเงินในอนาคตมากขึ้น จากเดิมที่เคยชำระแบบเต็มวงเงิน เริ่มเปลี่ยนเป็นการชำระเพียงบางส่วน ดังนั้น หากไม่มีวินัยในการใช้เงินที่ดีแล้ว จะเริ่มมีการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตจาก 1 เดือน เป็น 2 เดือน 3 เดือน และในที่สุดก็ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งส่งผลต่อการขอกู้เงิน หรือการขอสินเชื่อในครั้งต่อ ๆ ไป เช่น ในอนาคตหากมีความประสงค์ต้องการซื้อบ้าน รถยนต์ จะทำให้สูญเสียโอกาสในการกู้เงิน เพราะการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินต่าง  ๆ ในปัจจุบัน ใช้วิธีดูประวัติการผ่อนชำระผ่านทางระบบข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (Credit Bureau) กล่าวคือ หากเป็นผู้ที่มีประวัติการผ่อนชำระไม่ดี อาจไม่สามารถกู้เงินได้อีกในครั้งต่อไป ดังนั้น คุณผู้อ่านควรรู้จักวิธีบริหารจัดการหนี้ เผื่อไว้สำหรับเวลาที่เดือดร้อนเรื่องเงินจริง ๆ จะได้สามารถพึ่งพาเครดิตของตัวเองได้ ไม่ต้องไปขอหยิบขอยืมเงินใครมาใช้

          สำหรับวิธีบริหารจัดการหนี้นั้น ขอเริ่มจากหนี้ที่ง่ายที่สุด คือ หนี้บัตรเครดิต การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมีความง่ายและสะดวกสบาย แต่ หากขาดการวางแผนที่ดี อาจก่อให้เกิดเป็นหนี้สินได้ หนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้อันดับแรกที่ควรชำระ เนื่องจากดอกเบี้ยสูงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะสถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตจะ เริ่มคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่มีการจ่ายเงินแทนลูกค้าออกไป สำหรับเทคนิคการบริหารจัดการหนี้บัตรเครดิตอย่างถูกวิธีนั้น มีดังต่อไปนี้

          ไม่มีเงินจ่าย อย่าได้รูดบัตร ใช้จ่ายให้น้อยกว่า หรือเท่ากับเงินสดที่มีเท่านั้น

          ชำระเต็มจำนวน... ตรงตามเวลา จะช่วยลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย รวมถึงค่าปรับต่าง ๆ ได้

          ถือบัตรที่เหมาะกับ Lifestyle มีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ เช่น เติมน้ำมันผ่านบัตรเครดิตให้ส่วนลดสูงถึง 5% เติมเงินค่าเดินทางรถไฟฟ้าผ่านบัตรเครดิตมีส่วนลดพิเศษ เป็นต้น

           อ่าน Statement อย่างละเอียด เพื่อทบทวนรายจ่ายในแต่ละเดือน

          ใช้ Statement เป็นบันทึกการใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น

          ใช้สิทธิประโยชน์จาก Point อย่างเหมาะสม ไม่เป็นเหยื่อโปรโมชั่น ของบัตรเครดิต

เป็นหนี้บัตรเครดิต ทําไงดี

          สำหรับผู้ที่เริ่มมีหนี้บัตรเครดิต และต้องการหาทางออก มีเคล็ดลับดี ๆ ในการลดหนี้ ก่อนอื่นควรรู้จักกับหนี้ที่เหมาะสมของบัตรเครดิตก่อน คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า มีหนี้บัตรเครดิตเท่าไร ถึงจะไม่เกินตัว สำหรับจำนวนหนี้ที่ต้องผ่อนชำระบัตรเครดิตนั้น ไม่ควรเกิน 10% ของรายได้สุทธิต่อเดือน หรือ ไม่ควรกู้เกิน 20% ของรายได้สุทธิตลอดทั้งปี เพราะจะส่งผลต่อการผ่อนชำระหนี้ได้ ทั้งนี้ เคล็ดลับในการลดหนี้บัตรเครดิต ขอแนะนำ เทคนิคดี ๆ ที่ควรรู้ มีดังต่อไปนี้

          อันดับแรกต้องใจแข็ง ไม่ก่อหนี้เพิ่ม ซื้อเฉพาะสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ยารักษาโรค ค่าเดินทางมาทำงาน เสื้อผ้าตามความจำเป็น ฯลฯ มีข้อคิดดี ๆ สำหรับการประหยัดเงินเพื่อมาชำระหนี้เพิ่ม คือ “ถึงแม้ว่าจะถูกแค่ไหน ถ้าไม่ใช้ ก็ไม่ซื้อ”

          อันดับต่อมา ควรชำระหนี้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ ก่อน หากมีเฉพาะบัตรเครดิต ควรเลือกปิดบัตรที่มียอดหนี้คงเหลือต่ำ ๆ ก่อน  แล้วทยอยปิดบัตรที่มียอดคงเหลือน้อยใบต่อไป เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการลดหนี้ ทั้งนี้ ควรมีการบันทึกบัญชีรับ-จ่าย ควบคู่กันไปด้วย เพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้เพิ่ม (จะได้หมดเร็ว ๆ) และหากต้องการมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ “บัตรเดบิต” แทน “บัตรเครดิต” เพื่อที่จะได้ใช้จ่ายตามเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะมีเงินมาชำระหนี้บัตรเครดิตหรือไม่ ซึ่งการใช้บัตรเดบิตก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง และพยายามหาทางเพิ่มรายได้ เพื่อนำมาชำระหนี้

          อันดับสุดท้ายที่แนะนำ คือ การขายสินทรัพย์เพื่อนำมาชำระหนี้ พิจารณาสินทรัพย์ที่มีอยู่และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หากนำมาชำระหนี้แล้วจะทำให้ลดดอกเบี้ยจ่ายและเงินต้น ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง

          นอกจากนี้ การวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้าเป็นรายเดือน จัดแยกค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค และใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนด จะช่วยให้คุณมีเงินเหลือเก็บมาชำระหนี้มากขึ้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ธนาคารกสิกรไทย
โดย คนอง ศรีพิบูลพานิชย์
ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย
-http://k-expert.askkbank.com/Article/Pages/A4_015.aspx-



http://money.kapook.com/view89516.html

sithiphong:
8 กลยุทธ์ออมเงินอย่างไรให้รวย

-http://guru.sanook.com/27078/8-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2/-



1.ออมเงินก่อนใช้

          การใช้เงินก่อนแล้วค่อยออมจากส่วนที่เหลือถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าไม่วางแผนการใช้เงินแล้วละก็ เราก็จะใช้เงินที่คิดจะออมจนหมดแน่นอน แต่ถ้าเรากำหนดจำนวนเงินที่ตั้งใจจะออมไว้ก่อนแล้วค่อยใช้เงินจากส่วนที่เหลือ จะได้เงินที่ตั้งใจออมและมีเงินไว้ใช้ได้อย่างประหยัด

2.ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น         

          เคยบ่นเรื่องค่าน้ำค่าไฟที่แพงขึ้นไหม เราสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ โดยปิดน้ำและไฟเมื่อไม่ได้ใช้ นอกจากจะประหยัดเงินแล้วเรายังได้ช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย

3.ทำบัญชีการใช้เงิน

          มาตรฐานของการออมเงินคือ การทำบัญชีอย่างละเอียด ต้องจดว่าใช้เงินไปเท่าไร ใช้ทำอะไรบ้าง ถ้าใช้ไปอย่างฟุ่มเฟือยก็จะรู้ได้ทันที แม้จะเป็นเงินแค่๑บาท ก็ต้องจดไว้เสมอ

4.เลือกสินค้าดีราคาประหยัด 

          เวลาซื้อสินค้าต้องเลือกที่มีคุณภาพดี แต่ราคาประหยัด ถ้าสินค้ามีคุณภาพและปริมาณเหมือนกัน แต่ยี่ห้อต่างกัน ก็ควรเปรียบเทียบราคาดูว่าอันไหนถูกกว่า หรือเลือกสินค้าลดราคา ถ้าเป็นอาหารก็ต้องดูวันหมดอายุด้วย การทำแบบนี้จะช่วยให้มีเงินออมมากขึ้น

5.กำหนดเป้าหมายแล้วทำให้ได้

          กำหนดจำนวนเงินที่จะออมภายใน1ปี จากนั้นกำหนดเป้าหมายระยะสั้น1เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน เพราถ้ากำหนดเวลานานเกินไป จะทำให้ใช้เงินอย่างประมาทและลืมเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตั้งเป้าหมายระยะสั้นๆจะทำให้ตื่นตัว และใช้เงินอย่างประหยัดอยู่เสมอ

6.ตามล่าธนาคารดอกเบี้ยสูง   

          ถ้าเปรียบเทียบธนาคารของรัฐบาลกับธนาคารเอกชน ธนาคารเอกชนจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า แต่มีความเสี่ยงมากกว่าธนาคารรัฐบาล จึงต้องเลือกให้ดีและคอยติดตามข่าวสารเรื่องดอกเบี้ยอยู่เสมอ

7.มีธนาคารประจำ       

          ถ้าต้องทำธุรกรรมต่างๆผ่านธนาคาร เช่นชำระค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ควรเปิดบัญชีธนาคารไว้หนึ่งบัญชีเพื่อชำระผ่านธนาคารเดียวกัน จะได้ไม่ต้องกังวลว่าถึงกำหนดชะระเมื่อไรและป้องกันการลืมอีกด้วย

8.ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ     

          สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงควรติดตามข่าวเศรษฐกิจทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจออมเงินได้ดีขึ้น

คนที่ร่ำรวยแต่ไม่รู้จักการเก็บออม ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต่อให้ร่ำรวยมีเงินมากเท่าไร วันหนึ่งก็อาจหมดลงได้และกลายเป็นคนที่ลำบากยากจน ฉะนั้น คำว่า “ร่ำรวย”บางทีอาจหมายถึงการมีชีวิตของวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าวันนี้ เพราะมันเป็นการบอกว่าเราควรใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท และพยายามประหยัดและอดออม เพราะถ้าเราสามารถใช้ชีวิตให้ดีขึ้นทุกๆวัน ก็เหมือนกับเราได้รวยขึ้นทุกๆวัน และคงเป็นเรื่องที่ทุกๆคนต้องการแน่นอน

ที่มา :  -l3nr.org-


sithiphong:
1 ก.ค.นี้ คปภ. เข้ม! ลงดาบตัวแทนไร้จรรยาบรรณ

-http://money.sanook.com/185215/1-%E0%B8%81.%E0%B8%84.%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A0.-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1-%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93/-


นายประเวช  องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)เปิดเผยว่าณ วันที่ 31 มีนาคม 2557 มีจำนวนตัวแทน/นายหน้าประกันภัย รวมทั้งสิ้น 461,585ราย แบ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต 270,599ราย ตัวแทนประกันวินาศภัย 23,322ราย นายหน้าประกันชีวิต 77,557ราย และนายหน้าประกันวินาศภัย 90,107ราย จากสถิติการรับประกันภัยจำแนกตามช่องทางการขายประกันภัย พบว่าช่องทางการขายผ่านตัวแทน/นายหน้าประกันภัย เป็นช่องทางสำคัญที่ทำรายได้สูงสุดให้แก่อุตสาหกรรมประกันภัย และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวแทน/นายหน้าประกันภัยให้มีจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต (วินาศภัย) พ.ศ.2535 (แก้ไขเพิ่มเติม 2551) และเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงได้ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัยกำหนดแนวทางในการเผยแพร่ข้อมูลของตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อให้ความรู้และปกป้องสาธารณชนในวงกว้าง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสำนักงาน คปภ. ได้มีการนำข้อมูลของตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดเช่น การรับชำระเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้วมิได้นำส่งให้บริษัท กระทำการปลอมลายมือชื่อลงในใบคำขอเอาประกันภัย และดำเนินการขอเอาประกันภัยกับบริษัท โดยที่ผู้ถูกปลอมลายมือชื่อมิได้มีเจตนาทำสัญญาประกันภัย ซึ่งได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขึ้นบนเว็บไซต์ของสำนักงานฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบสถานะของตัวแทน/นายหน้าประกันภัยเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปสำนักงาน คปภ. จะมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นอีกโดยการเปิดเผยรายชื่อและพฤติกรรมในการกระทำความผิดของตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน สำนักงาน คปภ. ได้มุ่งเน้นการให้บริการด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม และโปร่งใส บนฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน เข้าใจง่าย และเข้าถึงง่าย เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการใช้ประกอบการเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัย การที่ประชาชนมีข้อมูลที่ครบถ้วนและรับรู้สิทธิประโยชน์ ข้อยกเว้น เงื่อนไขด้านการประกันภัยของตนเองได้ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุดในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนส่วนการเปิดเผยรายชื่อผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวจะผลักดันให้บริษัทประกันภัยหันมาเข้มงวดกับตัวแทนในสังกัด และพัฒนาให้เกิดการแข่งขันทางด้านคุณภาพการให้บริการกับประชาชนและจะส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นต่อธุรกิจประกันภัยต่อไป

sithiphong:

ประกาศ ..แชร์กันต่อๆไปครับ หลังจากพวกเราโดนโกงมานาน...
http://webboard.hitech.sanook.com/forum/?topic=3822115

ผมทำแล้ว จึงอยากให้เพื่อนๆ ทุกคน ทำบ้างครับ (ในโทรศัพท์มือถือของเราเอง)

พอกันเสียที หลังจากถูกมันกินฟรีมานาน ปกติเมื่อท่านโทรศัพท์ออก ไปหาเพื่อน หลังมีเสียงเรียกสักระยะหนึ่ง จะถูกตัดเข้า โหมด voice mail ทำให้ท่านต้องเสียค่าโทร. เพราะเจ้าของเครีอข่ายเค้าถือว่า call completed เค้าจึงคิดเงินทันที แม้เพียงวินาทีเดียวก็คิด 1 นาที

น้องที่ กสทช.แนะวิธียกเลิกโหมดนี้ โดย ให้กด ##002# กดโทร. ออก ก็จะเป็นการยกเลิกการตัดเข้า โหมด voice mail และจะไม่ต้องเสียค่าโทรอีก โดนคนละไม่กี่บาทต่อเดือน แต่เจ้าของเครือข่าย เค้ากินฟรีปีละหลายล้าน..ลบได้เลยทำตามขั้นตอน

ที่มา: FB Atipoj Srisukhon

sithiphong:
ยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีและปฏิรูป LTFและ RMF จริงหรือ?
LTFและRMF ยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีจริงหรือ

-http://money.kapook.com/view89762.html-

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก TaxBugnoms  , ทวิตเตอร์ @TAXBugnoms

          ยกเลิกลดหย่อนกองทุนรวม LTFและRMF จริงหรือไม่ กรมสรรพากรจะทำการปฏิรูปการเก็บภาษีกองทุนรวม LTFและRMF อย่างไร มาดูกัน

          จากกรณีที่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้เตรียมเสนอต่อ คสช. ให้มีการปฏิรูปภาษีใหม่ทั้งระบบ เนื่องจากการปฏิรูปที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหารอบด้าน ทำให้ส่งผลต่อการจัดเก็บภาษี และหนึ่งในข้อเสนอดังกล่าวคือ ทบทวนสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี ของกองทุน LTFและRMF พร้อมทั้งมีการศึกษาว่าค่าลดหย่อนทั้งหมด ผู้ได้ประโยชน์คือกลุ่มใดมากที่สุด … ว่าแต่ กองทุน LTFและRMF คืออะไร? ใครได้ประโยชน์จาก LTFและRMF กันแน่? วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการลงทุนคืออะไร? วันนี้กระปุกดอทคอม ได้รับการเอื้อเฟื้อข้อมูลจาก @TAXBugnoms ที่อนุญาตให้นำข้อมูลเรื่อง “เค้าจะปฏิรูป LTFและRMF จริง ๆ หรอครับ”  มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน รายละเอียดเป็นอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ

เค้าจะปฏิรูป LTFและRMF จริง ๆ หรอครับ

          จากข่าวล่ามาเร็วล่าสุดเมื่อวันก่อน เป็นข่าวที่มีหัวข้อสั้น ๆ แต่สั่นสะท้านทุกวงการลดหย่อนภาษีว่า.. “คลังเลิกลดหย่อน LTF-RMF เสนอลดภาษีบุคคลธรรมดา” เพื่อ “ปฏิรูปภาษี” โดยยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีกองทุนรวม LTFและRMF ดังนั้นบทความพิเศษตอนนี้ @TAXBugnoms อยากจะขอแชร์ข้อมูลดี ๆ แนวคิดใส ๆ และแถลงไขความเข้าใจผิดที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะมีหลายคนหลังไมค์มาถามว่า “ตกลงมันเกิดอะไรกันแน่?”

          อันดับแรก! เรามาทำความเข้าใจกันอีกครั้งนะครับว่า “แรกเริ่มเดิมทีกองทุนรวมเฉพาะ LTF เท่านั้นที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2559 เป็นปีสุดท้าย” แต่สำหรับข่าวล่ามาเร็วนี้เข้าใจว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปทั้ง LTFและRMF ไปพร้อม ๆ กันเลย เนื่องจากเหตุผลว่า “ประชาชนที่มีรายได้น้อยและปานกลางได้รับประโยชน์จริง ๆ หรือไม่” หรือพูดอีกแง่หนึ่งก็คือกลัวว่าสิทธิประโยชน์นี้จะเอื้อประโยชน์ให้ “คนที่มีรายได้มาก” มีโอกาสลดหย่อนภาษีมากกว่า “คนที่มีรายได้น้อย” เอ่อ… ว่าแต่คนแบบไหนเรียกว่ารายได้มากหรือรายได้น้อยกันละเนี่ย

ใครได้ประโยชน์จาก LTFและRMF กันแน่

          จากการค้นคว้าวิจัยด้วยตัวเอง (ฟังดูอนาถพิลึกนะครับ TwT) พบว่ามีกลุ่มคนอยู่ 4 ประเภท ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อกองทุน LTF และ RMF เพื่อประหยัดภาษี อันได้แก่

          1. คนที่ไม่สามารถซื้อ LTF/RMF เพื่อประหยัดภาษีได้ : คนกลุ่มนี้เรียกว่าผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง เนื่องจากลำพังจะยาไส้ยังไม่มีปัญหา แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อกองทุนเพื่อประหยัดภาษีกันละโว้ยยย (โทษครับ อินไปหน่อย)

          2. คนที่ซื้อ LTF/RMF เพื่อลดหย่อนภาษีบ้างตามอัธยาศัย : คนกลุ่มนี้ได้วางแผนการเงินโดยแบ่งเงินออม หรือรายได้บางส่วนมาซื้อกองทุนไม่ว่าจะเป็นเพื่อการลงทุนหรือประหยัดภาษี แต่ไม่ได้ใช้สิทธิเต็มทั้งจำนวน

          3. คนที่ซื้อ LTF/RMF เพื่อลดหย่อนภาษีเต็มจำนวน : คนกลุ่มนี้มีการวางแผนการเงินที่เรียกได้ว่ายอดเยี่ยม ถ้าเป็นเกมส์ก็เรียกได้ว่าเก็บทุกเม็ด อารมณ์ประมาณเล่นคุกกี้รันแล้วเก็บเพชรได้ทุกเม็ด และคนกลุ่มนี้เองแหละที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

          4. คนที่ชีวิตนี้ไม่คิดจะซื้อ LTF/RMF : คนกลุ่มนี้ไม่มีผลใด ๆ ชั้นไม่ซื้อซักอย่าง LTF หรือ RMF ช่างแมร่งงงงง /ฝากออมทรัพย์โลด

          หากเราเปรียบเทียบข้อมูลง่าย ๆ เราจะเห็นว่า กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ที่สุดคือกลุ่มที่ 3 นั่นคือได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเต็มเพดานที่กฎหมายอนุญาต แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้จากการแบ่งประเภทนี้คือ เราไม่รู้เลยว่าคนกลุ่มไหนคือคนรวยหรือคนจน เพราะมันมาจากอุปนิสัยในการใช้เงินและการวางแผนทางการเงินของแต่ละบุคคลมากกว่า








          จากรูปประกอบข้างบนจะเห็นได้ว่า คนที่มีโอกาสประหยัดภาษีได้มากนั้น คือ กลุ่มคนที่มีรายได้สูง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ผู้ที่มีรายได้สูงกว่า ย่อมมีโอกาสมากกว่า” เพราะหลักเกณฑ์ในการซื้อกองทุน LTFและRMF นั้นอ้างอิงกับรายได้ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี

          แต่รูปประกอบด้านล่างนั้น คือการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามความเป็นจริง เนื่องจากบางคนอาจจะมีรายได้สูงแต่ใช้สิทธิลดหย่อนและในขณะเดียวกันก็อาจจะมีบางคนไม่ได้ใช้สิทธิ์ ดังนั้นคำถามหนึ่งที่ทางสรรพากรอาจจะต้องพิจารณาคือ คนที่มีรายได้สูงนั้น ใช่คนกลุ่มเดียวกันกับคนที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ และที่สำคัญก็คือ ผู้ที่มีรายได้สูงนั้น เราจะนิยามได้อย่างไร ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า “เอื้อประโยชน์คนรวย” อาจจะไม่ได้เป็นจริง หากเรื่องนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์จากข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้

วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการลงทุนคืออะไร

          เนื่องจาก LTFและRMF นั้นเป็นกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการออมระยะยาว โดย LTF จะเน้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาตลาดหุ้นไทย เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ลงทุน และเสถียรภาพให้มากขึ้น ส่วน RMF มีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมเงินไว้ใช้หลังวัยเกษียณและความมั่นคงของชีวิตหลังเกษียณ

          อีกข้อหนึ่ง คือ ปัจจุบันระบบประกันสังคมและการบริการด้านสาธารณสุขยังมีไม่พอเพียงต่อความต้องการของประชาชน รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุไว้ว่าคนไทยจำนวน 62% นั้นไม่เคยคิดถึงวันเกษียณ และไม่เคยวางแผนใด ๆ ทางการเงินเลย (โอ้ววแม่เจ้า)

          ณ จุดนี้ เราคงต้องถามตัวเองว่า วัตถุประสงค์ในการลงทุนของเรานั้นคืออะไร? หากเรามองว่าเป็นการลงทุนระยะยาวหรือเพื่อเกษียณ เราก็นั่งหน้ามนยิ้มแป้นลงทุนต่อไปให้สบายใจ เพราะถึงไม่ลดหย่อนภาษีเราก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเรามองว่าเป็นการลงทุนเพื่อ “ลดภาษี” เป็นหลัก เราอาจจะต้องถามตัวเองต่อไปอีกสองข้อว่า “ทุกวันนี้เราลงทุนโดยรู้ความเสี่ยงหรือไม่” และ “เรามีหนทางอื่นในการลงทุนแล้วหรือยัง”

แล้วอนาคตตรูจะเป็นอย่างไร?

          บอกตรง ๆ ว่า งานนี้มีหนาว เพราะหลังจากปี 2559 จำนวนคนซื้อที่จำนวนลดลงในแต่ละปี อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดทุนอย่างแน่นอน โดยข้อมูลจากเฟซบุ๊กส่วนตัว คุณวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง ได้ให้ข้อมูลจำนวนเงินลงทุนและสัดส่วนของกองทุน LTFและRMF ไว้ดังนี้




          ตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่า หากยกเลิกกองทุน น่าจะมีผลกระทบไม่น้อยต่อตลาดกองทุนรวม และอาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นโดยรวมหรือไม่ อันนี้ @TAXBugnoms คงตอบไม่ได้เช่นเดียวกันครับ แต่เท่าที่ลองสอบถามเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ผู้เชี่ยวชาญในวงการ มักจะได้รับคำตอบพร้อมรอยยิ้มว่า “ตก” หรือไม่ก็ “ตกหนักแน่” เพราะหลาย ๆ คนมองว่า คนส่วนใหญ่ซื้อเพราะต้องการผลประโยชน์ทางภาษีมากกว่าลงทุน เนื่องจาก (ความคิดเห็นส่วนตัว) สามารถลงทุนในหุ้นได้ผลตอบแทนมากกว่า หรือว่าสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้

          แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข่าวสารและข้อเสนอที่ทางกรมสรรพากรแจ้งต่อทาง คสช. ไว้ ซึ่งเราทุกคนก็ต้องติดตามดูกันต่อไปว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ขอให้ทุกคนอย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจกันไปจนรีบขายตั้งแต่ปีนี้นะครับ (ย้ำอีกครั้งว่าปี 2559 นะครับที่หมดสิทธิ์)

          สุดท้ายนี้ ผมคาดว่าคงมีหลักการและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ผมขออนุญาตเตือนใจอีกครั้งหนึ่ง คือ ถึงแม้ว่าจะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือไม่ก็ตาม แต่เราทุกคนควรจะสนใจการลงทุนเป็นหลักเพื่ออนาคตในวันหน้า และเพื่อที่จะได้ลัลล้ายามเกษียณนะครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version