ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
sithiphong:
5 สิ่งควรทำ หลังปลดหนี้บัตรเครดิต!
-http://money.sanook.com/192909/5-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95/-
ยินดีด้วย! หากคุณเป็นอีกคนที่พึ่งจัดการปลดหนี้บัตรเครดิตสำเร็จ แล้วหลังจากนี้ต่อไปล่ะ คุณควรจะทำอย่างไรดี คุณจะเลิกใช้บัตรเครดิตเลย หรือยังใช้ต่อไป ควรทำอย่างไรต่อ วันนี้ MoneyGuru เอาเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตหลังปลดหนี้บัตรเครดิตมาฝากกัน
ควรใช้บัตรเครดิตต่อไป......อย่างมีวินัย
หากคุณคิดว่าการใช้บัตรเครดิตอาจเป็นอัตรายสำหรับคุณอีก โปรดคิดใหม่ เพราะครั้งนี้คุณมีประสบการณ์แล้ว ว่าการใช้บัตรเครดิตอย่างไร้วินัย ทำให้คุณต้องจมกองหนี้ และกว่าจะผ่านมันมาได้ต้องเหนื่อยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น คุณคงสามารถเรียนรู้และแก้ไขจากจุดนั้นได้ นอกจากนี้ การตกเป็นหนี้ทำให้เครดิตสกอร์คุณย่ำแย่ และมีผลกระทบแผนการใช้เงินของคุณในอนาคตแน่ๆ อาทิ กู้สินเชื่อบ้าน หรือรถยนต์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น คุณควรกลับมาใช้บัตรเครดิตอีกครั้งอย่างมีวินัย จ่ายบิลเต็มจำนวนทุกเดือน เพราะมันคือวิธีที่ง่ายสุดแล้วในการกู้คะแนนเครดิตกลับคืนมา
เคลียร์หนี้ก้อนอื่นต่อ
ถ้าคุณมีหนี้ก้อนต่อไปรออยู่ คงถึงเวลาที่จะจัดการซะ อาทิ หนี้ค่าเล่าเรียน หนี้รถยนต์ ซึ่งตามทั่วไปแล้ว หากคุณฝากประจำสมมุติว่าได้ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี แต่คุณกลับต้องเสียดอกเบี้ยให้หนี้ก้อนอื่นๆ ข้างต้นมากกว่าร้อยละ 3 นั่นหมายความว่า แทนที่คุณจะเก็บเงินในบัญชีฝากประจำ คุณเร่งปิดหนี้ก้อนนั้นๆ ก่อนจะดีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ก็อย่าลืมเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเสียก่อนล่ะ ว่าคุ้มหรือไม่
กองทุนฉุกเฉินก็สำคัญ อย่าลืม!
คงไม่มีใครล่วงรู้อนาคตได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น วันหนึ่งข้างหน้าคุณอาจจะตกงาน บรฺิษัทที่คุณทำงานมาสิบปีปิดตัวลง สิ่งที่คุณควรทำคือการมีกองทุนฉุกเฉินเก็บไว้ เพื่อให้คุณพยุงตัวเองและครอบครัวเอาไว้ได้ ส่วนจำนวนนั้นอยู่ที่ราว 3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายที่คุณจ่ายทั้งหมดต่อเดือน แล้วแต่สภาพการณ์ของแต่ละคน อาทิ คุณและคู่ มีรายได้มั่นคง ไม่มีปัญหาสุขภาพ การเก็บเงินกันฉุกเฉินไว้ 3-4 เดือนคงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าคุณเป็นซิงเกิล มัม และประกอบธุรกิจส่วนตัว การกันเงินเผื่อไว้ซัก 6-12 เดือนน่าจะปลอดภัยที่สุด นอกจากนี้ยังควรเก็บไว้ในส่วนที่เข้าถึงได้ง่าย สภาพคล่องสูงอีกด้วย
กองทุนเกษียนเพื่ออนาคตในบั้นปลาย
หลายคนอาจจะเกษียณอายุที่ 50 บางคน 60 หรือบางคนทำงานจนถึงอายุ 70 ก็มี ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม คนจำนวนไม่น้อยก็มองว่า หากเราอายุพึ่งเริ่มทำงาน หรือพึ่งสามสิบ จะรีบเก็บเงินไว้ตอนเกษียณทำไม คำตอบคือ ยิ่งคุณเก็บเร็วเท่าไหร่ มากเท่าไหร่ คุณก็จะมีโอกาสได้เกษียณเร็วกว่าคนอื่นเท่านั้น บางคนอาจจะอยากเที่ยวรอบโลกในช่วงเวลาที่ยังแข็งแรงอยู่ บางคนอาจจะอยากเกษียณอายุที่ต่างประเทศซึ่งใช้เงินเยอะ สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการออมและการลงทุน ซึ่งตัวเลือกก็มีหลากหลายตามความเสี่ยงที่คุณรับได้ อาทิ การฝากประจำไปเรื่อยๆ สำหรับคนที่รับความเสี่ยงไม่ได้มาก การเล่นหุ้นระยะยาวสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้มากหน่อย หรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ อย่างที่ดิน คอนโด ที่อาจต้องอาศัยความรู้และหูตาที่ไว ว่าควรซื้อจุดไหน แหล่งไหนที่กำไรดี แต่ก็นั่นแหละรวมๆ คือ ควรวางแผนออมเพื่อเกษียณให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
เก็บเงินไว้ซื้อของชิ้นใหญ่
ครั้งนึงในชีวิตของทุกคน ย่อมมีของชิ้นใหญ่ที่ต้องซื้อให้ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรถ หรือบ้าน ซึ่งการเก็บเงินเพื่อซื้อของเหล่านี้คือเรื่องที่ดี และดีกว่าการใช้เงินฟุ่มเฟือยรายวัน และยังเป็นการเพิ่มกำลังใจในการทำงาน เพื่อเก็บเงินอีกด้วย
หากคุณมีข้อสงสัยด้านการบริหารการเงิน หรือการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์การเงิน MoneyGuru อยู่เคียงข้างคุณเสมอที่ -www.moneyguru.co.th- หรือ info@moneyguru.co.th
sithiphong:
ลูกติดหนี้บัตรเครดิต ควรช่วยจ่ายหรือไม่?
-http://money.sanook.com/193917/%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88/-
หลายคนอาจเคยได้ยินคำเตือนที่ว่า อย่าให้เพื่อนยืมเงินนะ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เพราะหากเกิดอะไรขึ้น ความสัมพันธ์ที่มี อาจสั่นคลอนเพียงแค่เรื่องเงินเรื่องเดียวก็เป็นได้ ดังนั้น อย่าให้ยืมจะดีกว่า แต่ถ้าความสัมพันธ์มันใกล้ชิดมากกว่าการเป็นเพื่อนละ ถ้าเป็นคนในครอบครัว อย่างลูกของเราเอง ซึ่งอยู่ในวัยทำงานแล้ว แต่ดันมาติดหนี้บัตรเครดิต เราอาจจะมารู้ทีหลัง และลูกมาขอความช่วยเหลือ เราควรใช้หนี้แทนลูกหรือไม่ เราควรทำอย่างไร วันนี้ MoneyGuru เอาข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกัน
คุณต้องรู้เรื่องการเงินอย่างหมดเปลือก
หากคุณไม่ใช่คนร่ำรวยอะไรมากมาย ที่ใช้หนี้ให้ลูกก็คงไม่มีผลกระทบอะไร หากคุณยังต้องบริหารเงินของคุณเองอย่างรอบคอบ และรายได้รายจ่ายจำกัด สิ่งที่แรกที่คุณต้องทำ หากลูกมาขอความช่วยเหลือเรื่องหนี้บัตรเครดิต คือ ลูกต้องเล่าเรื่องการใช้จ่ายเงิน นิสัยการใช้เงิน ประวัติเครดิตทั้งหมดให้แก่คุณ หากคุณมีแนวโน้มที่จะช่วย คุณควรถ่ายเอกสารประวัติเครดิตลูกของคุณ และรายการทรัพย์สิน หนี้สินของลูกคุณไว้ทั้งหมด
คุยเปิดใจ
ต่อจากข้อที่แล้ว หากคุณรู้เรื่องการเงินหมดแล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณควรคุยแบบเปิดใจกับลูกของคุณ ว่าเกิดอะไรขึ้น ลูกคุณมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ทำไมถึงเป็นหนี้สินมากมายแบบนี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เหตุการณ์มักแบ่งเป็นสองกรณีคร่าวๆ คือ 1.ลูกของคุณมีความรับผิดชอบด้านการเงินมาตลอด แต่ อาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดจนต้องทำให้เป็นหนี้สิน หรือ 2.ลูกของคุณเป็นพวกไม่มีวินัยทางการเงิน ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย จนสุดท้าย รับภาระหนี้สินไม่ไหว
ซึ่งในสองกรณีสิ่งที่คุณทำได้ต่อมาคือ จับมือลูกของคุณไปหาธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ เพื่อปรึกษาหาทางแก้ ว่าสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ย ปรับโครงสร้างหนี้ได้หรือไม่ หรือโอนยอดหนี้ได้หรือไม่ หลังจากนั้น คุณก็ต้องตัดสินใจเองว่า คุณอยากจะช่วยลูกคุณแบ่งเบาภาระหนี้หรือไม่ อาจช่วยเพียงบางส่วน หรือเต็มจำนวน ก็แล้วแต่การตัดสินใจของคุณ แต่ควรรู้ไว้ว่า เงินจำนวนนี้คุณอาจจะไม่ได้คืนเลยก็เป็นได้ เพราะหากลูกคุณจ่ายคืนคุณได้ เขาก็จ่ายคืนธนาคารได้แล้วตั้งแต่ต้น ไม่ถึงขั้นรวบรวมความกล้าสุดขีด มาขอความช่วยเหลือจากคุณ
สองทางเลือกที่แตกต่าง
หากลูกคุณเป็นคนในกรณีแรก คือมีวินัยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาจะเรียนรู้บทเรียนในครั้งนี้เอง เพียงแค่คุณบอกลูกคุณว่า จะช่วยเพียงครั้งนี้ครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกคุณคิดว่าไม่ว่าอย่างไรคุณก็สามารถช่วยได้นั่นเอง
หากลูกคุณเป็นคนไม่มีวินัยตั้งแต่ต้น วิธีช่วยควรแตกต่างกันออกไป คุณจะต้องไม่ใจดี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการสอนลูกของคุณเอง หากคุณเลือกที่จะช่วย คุณยิ่งต้องบอกกล่าวให้แน่ใจว่า สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก โดยวิธีที่ดีคือ คุณไม่ควรช่วยทั้งหมด แต่เลือกช่วยเฉพาะบัตรที่ต้องดอกเบี้ยสูงกว่าก่อน และอาจให้ลูกคุณดูแลในส่วนที่เหลือเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับแผนที่คุณได้ปรึกษากับทางธนาคารแล้วในตอนแรกนั่นเอง และหากลูกยังไม่สามารถจัดการส่วนของตัวเองได้อีก คุณต้องใจเเข็งและบอกว่า คุณไม่สามารถช่วยได้แล้ว
สำคัญที่สุด!
ห้ามเปิดบัตรเครดิตที่มีชื่อร่วมกันเด็ดขาด เพราะสุดท้าย หากเกิดอะไรขึ้น คุณนั่นแหละที่จะต้องแบกรับภาระหนี้สิน และเครดิตสกอร์คุณจะแย่ตามไปด้วย
หากมีข้อสงสัยเรื่องผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เราอยู่เคียงข้างคุณเสมอที่ -www.moneyguru.co.th-
sithiphong:
เครดิตบูโร จับตาบัญชีที่เริ่มค้างชำระ 1.1 ล้านบัญชี
-http://money.kapook.com/view92222.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
เครดิตบูโร เตรียมจับตาจำนวนบัญชีที่เริ่มค้างชำระ 1.1 ล้านบัญชี เพิ่มจากปี 56 ประมาณ 29% คาดแนวโน้มหนี้เสีย NPL น่าจะลดลง
วันนี้ (2 กรกฎาคม 2557) นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) กล่าวถึงแนวโน้มของหนี้ครัวเรือนว่า ในขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการจับตาจำนวนบัญชีที่เริ่มค้างชำระแต่ไม่เป็นหนี้เสีย (NPL) โดยในไตรมาสแรกมีจำนวนบัญชีที่เริ่มค้างชำระอยู่ที่ 1.1 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ประมาณ 29% ในไตรมาส 2 นี้ คาดว่าแนวโน้มเอ็นพีแอล น่าจะลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีความระวังการให้สินเชื่อมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างรอดูข้อมูลไตรมาส 2 ที่เพิ่งสิ้นสุดลงว่าจะเพิ่มขึ้นหรือไม่
ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการสำรวจการให้เงินกู้ยืมภาคครัวเรือนของสถาบันการเงินและบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ไตรมาสแรกปี 2557 พบว่า มีมูลค่าคงค้างรวมทั้งสิ้น 9,868,264 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 888,846 แสนล้านบาท หรือ 9.89% ส่วนการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน ในหมวดสถาบันรับฝากเงิน ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันรับฝากเงินอื่น ๆ ซึ่งมียอดคงค้างการให้สินเชื่อในไตรมาสแรกปีนี้รวม 8,591,846 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 748,635 ล้านบาท หรือ 9.54%
กลุ่มที่มีการเพิ่มขึ้นของเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนมากสุดในหมวดสถาบันรับฝากเงิน ได้แก่
- กลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยไตรมาสแรกมีมูลค่าคงค้างการให้กู้ยืมอยู่ที่ 4,191,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 429,611 ล้านบาท หรือ 11.42%
- สหกรณ์ออมทรัพย์ มีมูลค่าคงค้างการให้กู้ยืม ณ สิ้นไตรมาสแรกที่ 1,501,641 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 145,797 ล้านบาท หรือ 10.75%
- บริษัทเงินทุน มียอดคงค้างการให้กู้ยืมในไตรมาสแรกอยู่ที่ 2,883 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 8.79% ส่วนธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ มียอดคงค้างการให้กู้ยืมอยู่ที่ 2,896,122 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 6.35%
- กลุ่มบริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง สินเชื่อส่วนบุคคล มียอดคงค้างการให้กู้ยืมไตรมาสแรกที่ 1,276,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 140,211 ล้านบาท หรือ 12.34%
กลุ่มที่มีมูลค่าคงค้างการให้กู้ยืมเพิ่มขึ้นมากสุด ได้แก่
- กลุ่มสถาบันการเงินอื่น เช่น การทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งมีมูลค่าคงค้างการให้กู้ยืมในไตรมาสแรกปี 2557 ที่ 9,176 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 2,544 ล้านบาท หรือ 38.35%
- กลุ่มบริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล โดยไตรมาสแรกมีมูลค่าคงค้างการให้กู้ยืมอยู่ที่ 1,057,880 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 177,227 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20.12%
- บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต มีมูลค่าคงค้างการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนในไตรมาสแรกที่ 81,349 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 8,961 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.38%
กลุ่มที่มีมูลค่าคงค้างการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนลดลงมากสุด ได้แก่
- กลุ่มธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน โดยไตรมาสแรกปี 2557 มีมูลค่าคงค้างอยู่ที่ 25,413 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 จำนวน 26,040 ล้านบาท หรือ 50.6%
- กลุ่มโรงรับจำนำ ซึ่งมีมูลค่าคงค้างการให้กู้ยืมในไตรมาสแรกปี 2557 ที่ 54,239 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 จำนวน 14,010 ล้านบาท หรือ 20.52%
- กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ มีมูลค่าคงค้างการให้กู้ยืม ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2557 อยู่ที่ 48,361 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 จำนวน 8,471 ล้านบาท หรือ 14.9%
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ธปท. ได้ระบุในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนว่า เศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีความเปราะบางขึ้น สะท้อนจากการชำระหนี้ที่มีแนวโน้มลดลง การขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือนปรับชะลอลงต่อเนื่อง ซึ่งการขยายตัวของหนี้ครัวเรือนยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจาก 14.1% ในไตรมาส 3 ปี 2556 มาอยู่ที่ 11.4% ในไตรมาส 4 ปี 2556 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการระมัดระวังการใช้จ่ายและการก่อหนี้ใหม่และสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ระดับการก่อหนี้ใหม่ลดลง
นอกจากนี้ ยังพบว่า สภาพคล่องของภาคครัวเรือนโดยรวมทรงตัวจากช่วงก่อนหน้าสะท้อนจากสัดส่วนสินทรัพย์ทางการเงินต่อหนี้สินของภาคครัวเรือน ณ สิ้นปี 2556 ที่ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2 เท่า ซึ่งยังเพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงระยะสั้นจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
-http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/research/20140702/591027/%C3%A0%C2%A4%C3%B4%D4%B5%C2%BA%C3%99%C3%A2%C3%A8%D1%BA%C2%B5%C3%92%CB%B9%C3%95%C3%A9%C2%A4%C3%A9%D2%A7%C2%AA%C3%93%C3%83%C3%90%C3%A0%C2%BE%C3%94%C3%A8%C3%8130.html-
sithiphong:
5 สิ่งชี้ คุณใช้บัตรเครดิตมีวินัย!
-http://money.sanook.com/195085/5-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2/-
การเป็นคนที่ใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย มีประโยชน์หลายอย่าง นอกจากคุณจะมีประวัติเครดิตที่ดี และมีโอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อก้อนใหญ่ๆ สูงในอนาคตแล้ว มันยังหมายถึง คุณเป็นคนวางแผนบริหารการเงินส่วนบุคคลได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย เรามาดูกันว่าอะไรคือ 5 ข้อที่บ่งชี้ว่าคุณใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย
จ่ายบิลตรงกำหนดตลอด
ข้อนี้ถือเป็นกฎเหล็กเลยก็ว่าได้ หากคุณต้องการขึ้นชื่อว่าเป็นคนที่ใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย คุณต้องชำระเงินก่อนครบกำหนดเสมอ อย่างน้อยคือจ่ายขั้นต่ำ แต่ยิ่งดีไปกว่านั้นคือการจ่ายบิล "เต็มจำนวน" ตลอด ที่จะทำให้คุณทั้งเครดิตสกอร์ดี และเป็นลูกหนี้ชั้นดีของธนาคารอีกด้วย
รู้ครบเรื่องเงิื่อนไขบัตรของคุณ
หลายครั้งที่เราไม่เคยแม้กระทั่งจะเสียเวลาอ่านเงื่อนไขและข้อตกลงเวลาสมัครสินค้าและบริการต่างๆ แต่สำหรับบัตรเครดิต หากคุณสละเวลาอ่านซักนิด จะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากคุณไม่ได้อ่านเมื่อคอนสมัครบัตร ลองอ่านข้อมูลที่แนบมากับบิลชำระบัตรเครดิตแต่ละเดือนสิ มีข้อมูลที่อย่างน้อยคุณควรรู้อยู่ไม่กี่อย่าง ได้แก่ ยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดคิดอย่างไร ทำอย่างไรจึงหลีกเลี่ยงอัตราดอกเบี้ยได้ และกรณีใดบ้างหากเกิดขึ้นคุณต้องเสียดอกเบี้ย และเสียในอัตราที่เท่าไหร่ คุณต้องทำอย่างไรหากเจอข้อผิดพลาดในบิลบัตรเครดิตของคุณ ต้องแจ้งอย่างไร ที่ไหน และหากมีปัญหาในการซื้อขายสินค้า อาทิ สินค้าชำรุด สินค้าไม่ตรงกับที่สั่ง ทางธนาคารมีนโยบายช่วยเหลืออย่างไรบ้าง หากคุณเข้าใจสิ่งเหล่านี้ คุณจะไม่ตกเป็นเหยื่อ และเสียเงินโดยไม่จำเป็นอย่างแน่นอน
เช็คยอดที่คุณใช้จ่ายตลอดว่าตรงกับความเป็นจริงหรือไม่
หลายคนที่อาจจะไม่เก็บแม้กระทั่งสลิบบัตรเครดิต ซึ่งต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ประมาทมาก เพราะความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ แม้กระทั่งธนาคารที่เราคิดว่ามีระบบที่ดีที่สุดก็ตาม เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่มีบิลออกมาในแต่ละเดือน คุณควรเทียบสลิปที่คุณได้มาจากการใช้จ่ายในแต่ละครั้ง กับบิลว่าตรงหรือไม่ หากไม่ตรง รีบติดต่อธนาคารเจ้าของบัตรทันที
ไม่ใช้บัตรเครดิตจนเต็มวงเงิน
หลายคนอาจบอกว่า คุณได้วงเงินมาแล้ว การใช้บัตรจนเต็มวงเงิน ก็ดูจะไม่เป็นไรตราบเท่าที่คุณสามารถแบกรับภาระในการจ่ายบิลได้ แต่สิ่งที่คุณลืมคิดไปคือ สัดส่วนของการใช้บัตรต่อวงเงินที่ได้รับ หรือที่เรียกว่า Credit utilization ก็มีผลต่อประวัติเครดิตของคุณเช่นกัน หากมีสัดส่วนที่มาก คะแนนของคุณจะลดลง แต่ถ้าคุณมีความจำเป็นต้องรูดเต็มวงเงินจริงๆ อาทิ คุณไปเที่ยวเมืองนอกและมีเหตุจำเป็น พยายามแบ่งจ่ายบิลสองครั้งต่อเดือนเป็นทีละครึ่ง จะช่วยได้มากขึ้น อย่าเก็บไว้จ่ายทีเดียวทั้งก้อน
แลกรับของรางวัลเมื่อมีโอกาส
บัตรเครดิตต่างๆ มีสิทธิประโยชน์ของการแลกของรางวัลแตกต่างกัน อาจจะเป็นการสะสมไมล์ แลกเครดิตเงินคืน หรือแลกของรางวัลปกติ ซึ่งทำให้คนที่ใช้บัตรเครดิตเป็นและคุ้มค่าที่สุดคือ แลกของรางวัลเหล่านั้นเมื่อมีโอกาส พยายามเอาค่าใช้จ่ายที่จำเป็น มาผูกกับบัตรเครดิตและจ่ายทีเดียวเป็นก้อน เป็นต้น แต่ถ้าคุณใช้บัตรเครดิตไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจคะแนนและผลประโยชน์เหล่านั้นเลย ก็ไม่รู้ว่าคุณจะใช้บัตรเครดิตไปเพื่ออะไร เพราะฉะนั้น อย่าลืมทวงสิทธิ์ของคุณล่ะ
หากคุณมีข้อสงสัย หรืออยากปรึกษาเราเรื่องผลิตภัณฑ์ทาการเงิน เราอยู่เคียงข้างคุณเสมอที่ -www.moneyguru.co.th-
.
sithiphong:
ต้องซื้อของแพง แต่ไม่มีเงินสด ใช้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคลดี???
-http://money.sanook.com/196397/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%94-%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84/-
ใครจะไปรู้ หากวันหนึ่ง คุณจำเป็นต้องซื้อของชิ้นใหญ่ขึ้นมา อย่าง เครื่องซักผ้าที่ดันมาเจ๊งพอดี ทีวีจอยักษ์ที่คุณอยากได้มาก เพราะเครื่องเก่าดันมาเสียซะอีก แต่ในตอนนั้นคุณกำลังขาดเเคลนเงินสด จึงเกิดคำถามที่ว่า คุณควรใช้บัตรเครดิตกับโปรโมชั่นผ่อน 0% ที่ออกมาล่อตาล่อใจมากมายเสียเหลือเกิน หรือ สินเชื่อส่วนบุคคลดีกว่า วันนี้เรา MoneyGuru.co.th จะช่วยคุณหาคำตอบ
บัตรเครดิตผ่อน 0% ดีเกินจริงไปหรือเปล่า?
บัตรเครดิตหลายใบในท้องตลาดเวลานี้ ล้วนเสนอโปรโมชั่นผ่อน 0% สำหรับการซื้อสินค้าให้ผู้ถือบัตร โดยเริ่มตั้งแต่ 3 เดือน 4 เดือน 6 เดือน ไปจนถึง 24 เดือนก็มี ซึ่งโปรโมชั่นนี้จะมีประโยชน์มากเพราะในระยะเวลาดังกล่าว คุณจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเลย เพียงแต่คุณต้องมั่นใจว่าคุณจะเล่นไปตามกฎของมันได้ แต่ถ้าไม่ โปรโมชั่นนี้มีข้อเสียอยู่สองอย่าง
ประการแรก หากคุณไม่สามารถจ่ายได้ทุกเดือนตามกำหนด คุณจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าปกติ เพราะฉะนั้น คุณต้องมั่นใจว่าคุณแบกรับภาระต่อเดือนในส่วนนั้นไหว
ประการที่สอง คุณต้องระวังในส่วนของ Credit Utilization หรือสัดส่วนการใช้บัตรเครดิตต่อวงเงินที่คุณได้รับ หากคุณมีหนี้บัตรเครดิตอยู่แล้ว และคุณยังเพิ่มยอดการใช้จ่ายด้วยการผ่อนเข้าไปอีก แน่นอนว่า ประวัติเครดิตคุณจะเสียอย่างแน่นอน เพราะ Credit Utilization คือปัจจัยหนึ่งที่เครดิตบูโร นำไปพิจารณาคะแนนของคุณด้วย
ถ้าเช่นนั้น สินเชื่อส่วนบุคคลดีกว่าหรอ?
เว้นเสียแต่ว่าคุณจะยิมยืมเงินในครอบครัวของคุณ การสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลที่เริ่มมีให้เห็นมากมาย ทั้งในรูปของเงินก้อน หรือบัตรเงินสด ที่คุณสามารถกดเงินได้ตามวงเงินที่ได้รับ ทางเลือกเหล่านี้ย่อมทำให้คุณเสียดอกเบี้ย อ่าว แล้วถ้าเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนแรก ก็แย่กว่าบัตรเครดิตเสียอีกสิ? ตรงนี้เป็นข้อเสียก็จริง แต่ข้อดีคือ สินเชื่อส่วนบุคคลจะมีระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ที่ยาวนานกว่าบัตรเครดิต โดยมักเริ่มตั้งแต่ 6 เดือน ไปจนถึง 5 ปีเลยทีเดียว ซึ่งเหมาะกับคนที่อยากจ่ายเพียงขั้นต่ำ ซึ่งในกรณีของสินเชื่อนั้น อาจหมดได้ภายใน 3-5 ปี แต่บัตรเครดิตนั้น การจ่ายเพียงขั้นต่ำ ของยอดชำระต่อเดือน จะทำให้หนี้สินของคุณกว่าจะหมด ยาวนานกว่า 5 ปีเป็นส่วนมาก ขึ้นอยู่กับยอดและดอกเบี้ยที่ทบต้นไปเรื่อยๆ นั่นเอง
คิดให้ดี
จริงๆ แล้ว ทางเลือกที่ดีที่สุด คือการที่คุณเก็บเงินก่อนให้พอแล้วค่อยซื้อ คุณไม่ควรนำเงินสำรองฉุกเฉินที่ควรมีมาใช้ เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าอนาคต อาจเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินอะไร หรือไม่ แต่กระนั้น หากคุณจำเป็นต้องซื้อจริงๆ คุณควรดูสถานะทางการเงินของคุณอย่างละเอียด ว่าคุณเหมาะกับทางเลือกทางการเงินแบบไหน จึงจะคุ้มค่าที่สุด เพราะทั้งสองวิธีข้างต้น มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน
หากต้องการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน MoneyGuru อยู่เคียงข้างคุณเสมอที่ -www.moneyguru.co.th-
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version