ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง

รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"

<< < (33/58) > >>

sithiphong:
ใครๆ อาจจะมองว่าเหรียญบาท เหรียญ5บาท มีค่าน้อย แต่ในความเป็นจริงเหรียญกษาปณ์เหล่านี้สามารถใช้ฝากหรือชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไม่ต่างจากธนบัตร เพียงแต่มีกฎเกณฑ์ที่ต้องเข้าใจ

วันเสาร์ 2 สิงหาคม 2557 เวลา 05:00 น.


-http://www.dailynews.co.th/Content/economic/256506/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2!+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81-


จากกรณีที่มีการแชร์ภาพและข้อความเหรียญผู้ปกครองพาลูกสาววัย5ขวบ นำเงินเหรียญที่หยอดกระปุกได้กว่า6600บาท ไปฝากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ แต่กลับถูกปฏิเสธว่าตู้เซฟเต็ม ไม่มีที่เก็บ ให้นำไปธนาคารพาณิชย์อื่นที่อยู่ติดกันนั้น ได้สร้างคำถามให้เด็กน้อยไร้เดียงสาว่า "ทำไมเขาไม่รับฝากเงินหนูคะ" จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์และข้อสงสัยในสังคมว่า การรับฝากเหรียญของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันใช้หลักเกณฑ์ใดในการตอบรับหรือปฏิเสธการรับฝาก มีค่าธรรมเนียมการรับฝากอย่างไร และหากธนาคารไม่รับฝากตัวลูกค้าเองจะต้องดำเนินการอย่างไรกับเหรียญที่เหมือนไร้ค่าในปัจจุบันนี้

เบื้องต้นจากการสอบถามไปยังศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบว่า ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้เข้าไปกำกับดูแลเรื่องการรับฝากหรือไม่รับฝากเหรียญกษาปณ์ของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากเป็นการทำข้อตกลงของชมรมธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารจะตั้งหลักเกณฑ์และค่าธรรมเนียมการรับฝากเหรียญกษาปณ์ไว้ อาทิ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร้อยละ1ของมูลค่าเหรียญกษาปณ์, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ฝากเงินไม่เกิน 2,000บาท ไม่คิดค่าบริการ หากยอดเงินฝากส่วนที่เกิน2,000บาท คิดร้อยละ1 ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 2 ของมูลค่าที่ฝากหรือแลกเงินทั้งหมดตั้งแต่100 เหรียญขึ้นไป, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) ไม่เกิน500เหรียญ ไม่คิดค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 501เหรียญขึ้นไป ร้อยละ1ของมูลค่ารวม, ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ร้อยละ2ของมูลค่ารวม หรือของยอดเงินฝากส่วนที่เกิน100บาท ยอดเงินฝากต่ำกว่า100บาท ไม่คิดค่าบริการ, ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ตั้งแต่ 200เหรียญ ขึ้นไปอัตราค่าบริการร้อยละ2ของจำนวนรวมมูลค่าเหรียญขั้นต่ำ20บาท

ทั้งนี้ กฎกระทรวงได้กำหนดจำนวนเหรียญกษาปณ์ที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย กล่าวคือ เหรียญ1สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน5บาท,เหรียญ5, 10, 25, 50สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน10บาท,เหรียญ1บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาท, เหรียญ5 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน500บาทและเหรียญ10บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน1,000บาท

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) 1213

หากธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธการรับฝากเหรียญ สามารถร้องเรียนมายัง ศคง. โดยส่ง Email มาที่ fcc@bot.or.thและระบุข้อมูลดังนี้

1. ชื่อ – นามสกุลจริงของผู้ร้องเรียน

2. ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้

3. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

4. รายละเอียดเรื่องร้องเรียน

5. เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ หากมีเหรียญเป็นจำนวนมาก สามารถรวบรวมเหรียญดังกล่าวไปแลกคืนได้ที่สำนักบริหารเงินตรา กรมธนารักษ์ โทร. 0-2280-7404-8

ขอบคุณข้อมูลจาก -http://www2.bot.or.th/feerate/internal.aspx?PageNo=1,http://www.treasury.go.th/ewt_news.php?nid=93&filename=index-

sithiphong:
เลือกบัตรเครดิตผิด! ทำไงดี???
 
-http://www.komchadluek.net/detail/20140801/189351.html-

 
         คุณเพิ่งได้รับบัตรเครดิตที่คุณสมัครไปเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน พร้อมวงเงินที่น่าพอใจ ซึ่งอาจจะเป็นบัตรเครดิตประเภทคืนเงิน บัตรเครดิตช้อปปิ้ง บัตรเครดิตสะสมแอร์ไมล์ แต่เมื่อคุณใช้ไปได้สักพัก คุณกลับรู้สึกว่า ตายล่ะ! สไตล์การใช้เงินของเราไม่เหมาะกับบัตรเครดิตประเภทนี้เลย ทำอย่างไรดี วันนี้ MoneyGuru.co.th ขอเอาเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาสถานการณ์นี้มาฝากกัน
 
 
         วิธีแก้ทั่วไป
         จริงๆ แล้ววิธีแก้ปัญหานั้น จะรู้ได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้ว่าเรามีปัญหากับเจ้าบัตรนี้ที่จุดไหน แต่คร่าวๆ ก็คือ เราอยากจะ "ปิดบัตรเครดิต" นั้นทิ้ง แล้วสมัครบัตรใหม่ ซึ่งถามว่าทำได้หรือไม่ ต้องบอกว่าทำได้ แต่สิ่งที่คุณต้องระวังคือ ผลกระทบต่อเครดิตบูโร เพราะเครดิตบูโรที่ดีจะขึ้นอยู่กับความยาวนานของการคงบัญชีบัตรเครดิตเอาไว้ เพราะฉะนั้น หากคุณต้องการยกเลิกจริงๆ ยิ่งคุณรู้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดี หลังจากนั้น รีบเลือกบัตรเครดิตที่ดีที่สุดสำหรับคุณ แล้วสมัครบัตรเครดิตนั้นเสีย และหลังจากนั้น ก็ใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย ก็สามารถสร้างเครดิตบูโรให้กลับมาดีตามเดิมได้ หรือถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงอะไร การเปิดบัตรเครดิตเพิ่มอีกซักหนึ่งใบ ก็ไม่เสียหายอะไร และอาจจะเป็นข้อดีด้วยซ้ำ เพราะคุณจะได้รับวงเงินรวมมากขึ้น และการคิดคะแนนเครดิตบูโรอีกส่วนหนึ่งคือ อัตราส่วนยอดการใช้จ่ายต่อวงเงิน เพราะฉะนั้น ยิ่งวงเงินเยอะ ยิ่งดีนั่นเอง
 
         อย่างไรก็ตาม หากมาดูกันเจาะลึกถ้าแต่ละคนมีปัญหากับบัตรเครดิตของตนเองต่างกัน แล้วเราจะแก้อย่างไร?
 
         มีปัญหากับบัตรเครดิตเงินคืน
         คุณได้รับบัตรเครดิตแบบเน้นการคืนเงินจากการช้อปปิ้งมา 1 ใบ และเน้นว่าจะได้มากเมื่อช้อปปิ้งกับศูนย์การค้า A และในเครือเท่านั้น เวลาผ่านไปสองเดือน คุณมีเหตุให้ต้องย้ายบ้าน และในละแวกบ้านคุณไม่มีห้างสรรพสินค้าดังกล่าวแล้ว ส่งผลให้คุณไม่สามารถช้อปปิ้ง และได้รับเงินคืนอีกต่อไปเหมือนที่ตั้งใจไว้ จึงทำให้คุณอยากปิดบัตรนั้นเสีย  สำหรับวิธีแก้คือ ลองยกหูโทรศัพท์หาธนาคารเจ้าของบัตรดู และเล่าสถานการณ์ให้ฟัง ธนาคารมักมีปัตรเครดิตเงินคืนมากกว่าหนึ่งบัตร บางทีธนาคารสามารถอณุญาตให้คุณเปลี่ยนบัตรเป็นบัตรประเภทอื่นได้ เพียงแค่คุณต้องระวังในเรื่องค่าธรรมเนียมรายปี อัตราดอกเบี้ยที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากบัตรเดิมแค่นั้นเอง
 
         มีปัญหากับบัตรเครดิตสะสมแอร์ไมล์ หรือสะสมคะแนน
         ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มักมีคนมีปัญหากับบัตรเครดิตแบบสะสมแอร์ไมล์มากขึ้น เพราะอัตราการแลกที่สูงขึ้น หรือข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเวลาแลกจริงๆ เพราะฉะนั้น ทำให้การแลกไมล์ เพื่อได้ตั๋วเครื่องบิน หรือส่วนลดทำได้ยากกว่าเดิม หรือไม่ก็ต้องใช้จ่ายมหาศาล กว่าจะได้ตั๋วเครื่องบินไปญี่ปุ่นซักหนึ่งใบ สิ่งนี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับบัตรเครดิตสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัลเช่นเดียวกัน ที่ของแต่ละชิ้นที่คุณอยากได้ ต้องใช้คะแนนสูงมากจนแทยจะเป็นลมเลยทีเดียว แล้วแถมบัตรเครดิตพวกนี้ มีค่าธรรมเนียมรายปีแพงเสียด้วยสิ ทำให้คุณกลับมาคิดใหม่ว่า นี่เราทำบัตรเครดิตอันนี้แล้วจะคุ้มค่าจริงหรืออ?
 
         วิธีแก้คือ คล้ายๆ กับข้อแรก คือ ติดต่อกับธนาคาร ลองดูว่าเขาอนุญาติให้คุณสมัครบัตรใหม่ที่อาจจะได้สิทธิพิเศษน้อยลง แต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีเท่าเดิมได้หรือไม่ ส่วนบัตรเครดิตสะสมแอร์ไมล์นั้น ด้วยความที่เป็นบัตรเครดิตประเภทร่วมธุรกิจของธนาคารกับสายการบิน อาจจะเป็นการยากที่คุณจะเปลี่ยนไปสู่บัตรร่วมของสายการบินอื่น แต่คุณอาจเปลี่ยนไปยังบัตรร่วมกับสายการบินเดิม ที่ต่ำลงมา และเสียค่าธรรมเนียมน้อยลง เป็นต้น
 
         หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกซื้อบัตรเครดิต เราอยู่ข้างคุณเสมอที่ -www.moneyguru.co.th-

sithiphong:
 เงินทองต้องรู้ : คนแคระทั้งเจ็ด : โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล
-k_wuttikul@hotmail.com-


-http://www.komchadluek.net/detail/20140801/189224.html-

 
                           ในขณะที่ “คนแคระทั้งเจ็ด” เป็นเพื่อนตัวเล็กที่แสนดี ผู้ให้ที่พักพิงกับสโนไวท์ เจ้าหญิงน้อยแสนสวยในเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์ ที่ถูกราชินีแม่เลี้ยงใจร้ายริษยาในความงามจนหาทางกำจัดเธอทุกวิธี แต่สำหรับ “เงินทองต้องรู้” วันนี้ “คนแคระทั้งเจ็ด” กลับมีความหมายในทางตรงข้าม เพราะหมายถึง “อุปสรรค 7 ประการ” ที่ทำให้หลายคนไม่สามารถบรรลุเป้าหมายชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข เพราะถูกทำให้ “แคระแกร็น” เสียก่อน
 
                           เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ผลวิจัยการเตรียมความพร้อมการวางแผนการเงินของคนวัยทำงาน” โดยสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน วัตถุประสงค์ก็เพื่อติดตามพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยทำงาน อายุ 40-60 ปี เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมกับวัยเกษียณ
 
                           ตลอดระยะเวลาหลายชั่วโมงของการนำเสนอผลวิจัย ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดทำบทสรุปฉบับย่อ โดยระบุว่า กลุ่มคนทำงานช่วงอายุ 40-60 ปี ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินเพื่อเกษียณ และมีอัตราการออมและอัตราการใช้เงินออมอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ซึ่งหากแยกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม พบว่า เป็นกลุ่มเกษียณสุข 44% เกษียณพอเพียง 27% และเกษียณทุกข์ 29%
 
                           บทวิจัยของ ดร.บุญเลิศ จิตรมณีโรจน์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บ่งชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตกอยู่ในกลุ่มเกษียณทุกข์จำนวน 29% นั้น มี “ข้อผิดพลาด” ในการวางแผนเพื่อเกษียณอยู่ 7 ประการ ทำให้คนที่อยู่ในวัยนี้มีเงินออมไม่พอใช้หลังเกษียณ
 
                           “ข้อผิดพลาด” ที่ทำให้เงินออมกลายเป็น “แคระแกร็น” ทั้งเจ็ดประการ คือ เริ่มวางแผนการเงินช้าเกินควร มีความมั่นใจมากเกินควร ไม่มีความเข้าใจด้านการวางแผนเท่าที่ควร ประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณน้อยเกินควร ประมาณอายุคาดเฉลี่ยน้อยเกินควร ออมเงินไว้น้อยเกินควร และเกษียณอายุก่อนกำหนดเร็วเกินควร
 
                           ลองแยกดูทีละเรื่อง เริ่มจากเรื่องแรก “เริ่มวางแผนการเงินช้าเกินควร” บทวิจัยระบุว่า คนส่วนใหญ่รู้จักวางแผนการออม ที่มุ่งเน้นการออมเงินในช่วงวัยทำงาน แต่ขาดความรู้ความเข้าใจด้านการวางแผนเกษียณ ซึ่งมุ่งเน้นที่รายได้ในวัยหลังเกษียณ ผลการสำรวจพบว่า คนทำงานช่วงอายุ 21-30 ปี เริ่มวางแผนเกษียณในสัดส่วน 20% อายุ 31-40 ปี สัดส่วน 27% อายุ 41-50 ปี สัดส่วน 35% และอายุระหว่าง 51-60 ปี คิดเป็น 19%
 
                           ดังนั้น อายุเฉลี่ยในการเริ่มวางแผนเกษียณจึงอยู่ที่ 42 ปี ซึ่งช้าเกินไป !
 
                           มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงก่อนอายุ 40 ปี เราอาจให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินเพื่อเรื่องอื่นก่อน เช่น ซื้อรถ ซื้อบ้าน แต่งงาน รวมทั้งท่องเที่ยวและสันทนาการ
 
                           ข้อผิดพลาดประการที่ 2  การวางแผนด้วยความมั่นใจมากเกินควร เพราะทั้งๆ ที่กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยวางแผนเพื่อการเกษียณเลย แต่กลับมั่นใจว่า คุณภาพชีวิตหลังเกษียณจะใกล้เคียงกับปัจจุบัน มีสัดส่วนสูงถึง 43% ส่วนอีก 28% เชื่อว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นกว่าปกติ สิริรวมแล้วกลุ่มนี้มีสัดส่วนสูงถึง 71% ขณะที่คนที่ไม่แน่ใจมีจำนวน 22% และคนที่เชื่อว่าชีวิตหลังเกษียณจะแย่กว่าปัจจุบัน มีจำนวนเพียง 7%
 
                           มีผลสำรวจพนักงานชาวอเมริกันจำนวน 1,057 คน เมื่อปี 2552 พบว่า มีเพียง 47% ที่เคยวางแผนเพื่อการเกษียณ แต่มีคนมากถึง 61% ที่ตอบว่า ตนเองมีความมั่นใจมากและมากที่สุดที่จะมีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณ ซึ่งก็อาจจะสะท้อนได้ว่า “หลักคิด” ในเรื่องนี้ไม่ว่าจะชาติใด ก็น่าจะใกล้เคียงกัน
 
                           ข้อผิดพลาดประการที่ 3  ไม่มีความเข้าใจด้านการวางแผนเท่าที่ควร ทั้งนี้ เพราะกลุ่มตัวอย่างคาดว่าจะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในสัดส่วนที่สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และละเลยผลของเงินเฟ้อในอนาคต โดยจากผลสำรวจพบว่า ในปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างคาดว่าจะลงทุนในหุ้น 11% และเพิ่มเป็น 18% ในวัยเกษียณ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว กฎของการลงทุนในหุ้นข้อหนึ่ง ก็คือ สัดส่วนการลงทุนในหุ้น เท่า 100 ลบด้วยอายุ แปลว่า ยิ่งอายุมากขึ้น สัดส่วนการลงทุนในหุ้นยิ่งควรจะลดลง
 
                           ส่วนข้อผิดพลาดประการที่ 4 ประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณน้อยเกินควร โดยสัดส่วนค่าใช้จ่ายในปีแรกหลังเกษียณต่อรายได้ในปีสุดท้ายก่อนเกษียณ ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวางแผนมีค่าเฉลี่ยเพียง 34% ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ 70% ซึ่งเป็นค่าขั้นต่ำที่นิยมใช้ในการวางแผนทางการเงิน
 
                           ข้อผิดพลาดประการที่ 5  การประมาณอายุขัยเฉลี่ยน้อยเกินควร โดยอายุคาดเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเพศชาย คือ 76.5 ปี ซึ่งมากกว่าอายุคาดเฉลี่ยของประชากรชายไทยซึ่งอยู่ที่ 74 ปี ดังนั้น ผู้ชายส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะเผชิญกับความเสี่ยงด้านสุขภาพชีวิต เพราะพยายามใช้เงินในช่วงหลังเกษียณน้อยๆ เพื่อจะได้มีเงินใช้ตลอดช่วงอายุ ขณะที่อายุคาดเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง คือ 76.6 ปี น้อยกว่าอายุคาดเฉลี่ยของประชากรหญิงไทยซึ่งอยู่ที่ 79 ปี ดังนั้น ผู้หญิงส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะเผชิญกับความเสี่ยงที่เกิดจากการมีชีวิตอยู่ยืนยาวกว่าที่คาดไว้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เงินออมเพื่อเกษียณหมดก่อนสิ้นอายุขัย เพราะพวกเธอคิดว่า อายุจะสั้น ทั้งๆ ที่จริง อายุคาดเฉลี่ยของผู้หญิงยืนยาวกว่านั้น
 
                           มาถึงข้อผิดพลาดประการที่ 6  การออมเงินไว้น้อยเกินควร ถ้าพิจารณาสินทรัพย์เพื่อการเกษียณไม่รวมอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ แต่ถ้ารวมอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีเงินออมเพียงพอสำหรับวัยเกษียณ
 
                           และข้อผิดพลาดประการสุดท้าย  การเกษียณอายุก่อนกำหนด โดยพบว่า 28% ของกลุ่มตัวอย่างต้องการเกษียณก่อนกำหนด แต่ผู้ที่ต้องการเกษียณก่อนกำหนดส่วนใหญ่มีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับวัยเกษียณ
 
                           บทวิจัยยังปิดท้ายด้วยการสรุปว่า กลุ่มของผู้ตอบที่มีโอกาสเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ ได้แก่ 1.เพศหญิง อายุ 51-60 ปี 2.เป็นกลุ่มที่ไม่สามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้เลย  และ 3.เป็นกลุ่มที่ขาดการได้รับความรู้หรือขาดความเข้าใจหรือไม่เคยวางแผนเกษียณ
 
                           ส่วนตัวแล้วเกลียดคำว่า “มนุษย์ป้า” เพราะรู้สึกไม่แฟร์กับคนที่ไม่ได้ตั้งใจมีพฤติกรรมเบียดเบียนหรือเบียดบังคนอื่น แต่อาจจะทำอะไรไม่ถูกที่ถูกทาง เพราะความ “ไม่รู้” กฎกติกามารยาทที่ “คนรุ่นใหม่” สร้างขึ้น แต่พอเอาเข้าจริง เมื่อเขียนมาถึงย่อหน้าสุดท้ายก็อดนึกถึง “มนุษย์ป้ากับคนแคระ (แกร็น) ทั้งเจ็ด” ไม่ได้
 

-------------------------------
 
(เงินทองต้องรู้ : คนแคระทั้งเจ็ด : โดย...ขวัญชนก วุฒิกุล -k_wuttikul@hotmail.com-)

sithiphong:
“เครดิตบูโร” ปล่อยผีลูกหนี้รายย่อย 6 แสนรายเฮ 8ปี ปลดพ้นแบล็กลิสต์

-http://money.sanook.com/204329/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%A3-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2-6-%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AE-8%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C/-


เครดิต บูโรปล่อยผี ลูกหนี้รายเล็กเบี้ยวหนี้เกิน 8 ปี วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท โละชื่อออกจากฐานข้อมูล เตรียมออกประกาศ กันยายนนี้ เผยลอตแรก 6 แสนราย ย้ำชัดแค่ถอนชื่อออก แต่ภาระหนี้ยังมีอยู่ ฟากนายแบงก์ยันรับมาตรการนี้ได้ ชี้ดูรายได้ปัจจุบัน-ภาระหนี้เป็นหลัก

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต (กคค.) ซึ่งมีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธาน กำลังพิจารณาเตรียมออกประกาศฉบับใหม่ เกี่ยวกับเรื่องการจัดเก็บข้อมูลของเครดิตบูโร โดยจะให้ถอนชื่อลูกหนี้รายย่อยที่ผิดนัดชำระเกิน 8 ปี และมีมูลหนี้ไม่เกิน 10,000 บาทออกจากฐานข้อมูลเครดิตบูโร เนื่องจากที่ผ่านมา สถาบันการเงินจะแจ้งข้อมูลสถานะเครดิตของลูกหนี้เข้ามารวมไว้ที่เครดิตบูโร ย้อนหลังได้ถึง 36 เดือน ซึ่งในรายที่มีสถานะผิดนัดชำระ และยอดหนี้ น้อยมาก ไม่เกิน 10,000 บาท สถาบันการเงินก็มักจะไม่ยื่นฟ้องดำเนินคดี เพราะไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย แต่จะแสดงการค้างชำระต่อไปเรื่อย ๆ

จากการตรวจสอบพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เกิดความผิดพลาดของลูกหนี้ และมีบางส่วนที่เป็นลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งขายหลักทรัพย์มาใช้หนี้แล้วแต่ยังเหลือเงินค้างบางส่วน ทั้งธนาคารและลูกหนี้ก็ไม่ได้ติดตามหนี้กันมานาน แต่ยังมีรายงานสถานะเครดิตว่าผิดนัดชำระมาตลอด จึงเป็นเหตุให้ลูกหนี้เหล่านี้ไม่สามารถกลับเข้ามาใช้บริการสินเชื่อในระบบ ได้ และต้องหันไปหาสินเชื่อนอกระบบแทน ซึ่งเป็นนโยบายที่ภาครัฐและ ธปท.พยายามแก้ไขอยู่

"ประกาศฉบับนี้เหมือนเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชน ที่เคยมีปัญหาข้อมูลค้างในเครดิตบูโรมายาวนาน ซึ่งคณะกรรมการมองแล้วว่า สมควรแก่เหตุ เนื่องจากเป็นลูกหนี้รายเล็กที่มียอดหนี้ผิดนัดชำระน้อยมาก ไม่เกิน 10,000 บาท เพื่อให้สามารถกลับตัวและมีโอกาสเข้ามาใช้บริการสินเชื่อในระบบได้อีกครั้ง" นายสุรพลกล่าว

ทั้งนี้ คาดว่ามีลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวประมาณ 6 แสนราย จากจำนวนลูกหนี้ที่อยู่ในฐานข้อมูลเครดิตบูโรกว่า 27 ล้านราย คาดว่าภายในเดือน ก.ย.นี้ กคค.น่าจะออกประกาศดังกล่าวได้

ก่อนหน้า นี้นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ได้ให้คณะกรรมการไปศึกษาแนวทางจัดการปัญหาลูกหนี้รายเล็กที่มีข้อมูลค้าง ชำระเป็นเวลานาน ซึ่งพบว่าในหลายประเทศใช้วิธีกำหนดระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลเอาไว้เช่นกัน กรณีประเทศสหรัฐอเมริกาจัดเก็บข้อมูลไว้เพียง 7 ปี หากเจ้าหนี้ไม่ดำเนินการแก้ไขก็จะถอดข้อมูลออกจากเครดิตบูโร ขณะที่ประเทศอังกฤษก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่เก็บข้อมูลไว้เพียง 6 ปีเท่านั้น

นาย สุรพลย้ำว่า การถอนรายชื่อลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ตามประกาศที่จะออกมาดังกล่าวนั้น เป็นการถอนออกจากฐานข้อมูลของเครดิตบูโรเท่านั้น มิได้หมายความว่าหนี้สินต่าง ๆ ที่ลูกหนี้ค้างอยู่กับสถาบันการเงินจะหมดสิ้นไปด้วย ลูกหนี้ยังคงมีภาระใช้คืนหนี้เช่นเดิม เพียงแต่จะไม่ได้แสดงรายการข้อมูลนี้ในเครดิตบูโร หลังจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับทางสถาบันการเงินว่าจะไปดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งอาจตัดเป็นหนี้สูญ ขายหนี้ออกให้บริษัทรับจ้างติดตามหนี้ หรือยื่นฟ้องศาลเพื่อดำเนินคดี

ด้านนายฐากร ปิยะพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด (กรุงศรี คอนซูเมอร์) กล่าวว่า การแก้กฎหมายดังกล่าว คงไม่กระทบต่อการทำงานของสถาบันการเงินจนเกิดความเสี่ยงเร่งตัวขึ้นอย่างมี นัยสำคัญ เนื่องจากปกติบริษัทก็ปล่อยกู้ให้แก่ลูกค้าที่มีประวัติการค้างชำระหนี้ใน เครดิตบูโรอยู่แล้ว หากสามารถพิสูจน์เจตนาได้ และคุณสมบัติทางการเงินอื่น ๆ ผ่านเกณฑ์

ส่วนการบริหารจัดการลูกหนี้กลุ่มนี้ หากพบว่ามีมูลหนี้น้อยกว่า 1,000 บาท ค้างชำระมาหลายปี บริษัทจะตัดเป็นหนี้สูญเลย แต่ถ้าเกินนั้นก็จะติดตามหนี้ตามปกติ แต่ก็ต้องดูว่าคุ้มค่ากับต้นทุนค่าติดตามทวงหนี้หรือไม่ หรือบางรายอาจขาดทุนด้วยซ้ำ โดยปัจจุบันบริษัทมีหนี้เสียสินเชื่อบัตรเครดิตประมาณ 1.3-1.4% ของสินเชื่อรวม ขณะที่หนี้เสียสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 3.2-3.3%

"ถ้า เครดิตบูโรล้างหนี้ให้ลูกค้ากลุ่มนี้ เราก็จะมีประวัติลูกค้ากลุ่มนี้แค่ในส่วนที่เป็นลูกค้าของเรา หากลูกค้าสถาบันการเงินอื่นที่เคยถูกล้างชื่อไปแล้วมาขอ เราไม่มีประวัติก็อาจเป็นความเสี่ยงได้ แต่ก็คงจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบมากมายนัก"

ส่วนนายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดของเครดิตบูโรดังกล่าว เพราะเชื่อว่าส่วนใหญ่ลูกหนี้ไม่มีเจตนาที่จะค้างชำระหนี้ แต่ช่วงหนึ่งอาจประสบปัญหาในชีวิต ซึ่งการล้างข้อมูลดังกล่าวก็เหมือนเป็นการให้โอกาสกับเขากลับเข้ามาสู่ระบบ การเงินได้อีกครั้ง ปกติธนาคารจะดูข้อมูลเครดิตบูโร 3 ปีย้อนหลัง ทั้งประวัติการชำระหนี้ ประกอบกับหน้าที่การทำงาน รายได้ หนี้ต่อรายได้ หากผ่านเกณฑ์ก็ปล่อยสินเชื่ออยู่แล้ว

ขณะที่นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวเช่นกันว่า ส่วนใหญ่ธนาคารจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจากความสามารถของลูกค้าเป็นหลัก หากเครดิตบูโรต้องการล้างรายชื่อลูกหนี้รายเล็ก ๆ ที่ผิดนัดชำระมานานออกไปจากระบบ ส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าสินเชื่อบุคคล ซึ่งธนาคารกำหนดเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำไว้ที่ 15,000 บาทต่อเดือนอยู่แล้วเป็นกลุ่มที่มีความสามารถชำระหนี้ดีพอ มีแรงต้านทานพอสมควรหากปัจจัยทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ ปัญหาการผิดนัดชำระจำนวนเงินเล็กน้อยไม่น่าจะมีนัยมากนัก

http://money.sanook.com/204329/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%A3-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2-6-%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AE-8%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C/

sithiphong:



 วิธีสังเกตธนบัตร

-http://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/production_and_security/Pages/identify.aspx-


          ธนบัตรเป็นสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทหนึ่ง มีความพิเศษแตกต่างจากสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทอื่น เพราะนอกจากลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่ต้องบรรจุไว้ในพื้นที่พิมพ์อันจำกัดแล้ว ลวดลายในธนบัตรยังต้องมีคุณค่าทางศิลปะ มีความประณีตสวยงาม และเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย  ดังนั้น เพื่อคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือสมเป็นสื่อกลางสำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยน ธนบัตรต้องมีลักษณะพิเศษที่ยากต่อการปลอมแปลง แต่ประชาชนสามารถสังเกตจดจำได้ดี และแยกแยะความแตกต่าง ด้วยวิธีสังเกตง่าย ๆ ๓ วิธี ได้แก่ สัมผัส  ยกส่อง และพลิกเอียง

          อย่างไรก็ดี เพื่อความมั่นใจจึงควรสังเกตจุดสำคัญต่าง ๆ บนธนบัตรอย่างน้อย ๓ จุด ขึ้นไป สำหรับธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบัน มีรายละเอียดการสังเกต  ดังนี้







.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version