ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
sithiphong:
6 มาตรการปลอดภัย เมื่อใช้แอพธนาคารผ่านสมาร์ทโฟน
โพสต์เมื่อ : 1 สิงหาคม 2557 เวลา 16:21:57
-http://money.kapook.com/view94837.html-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
วิธีใช้งานแอพพลิเคชั่นธนาคารผ่านสมาร์ทโฟนอย่างปลอดภัย ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกให้เราได้มากขนาดนี้ ความปลอดภัยในการใช้งานแอพพลิเคชั่นธนาคารผ่านสมาร์ทโฟนก็เป็นเรื่องที่ควรศึกษาไว้ก่อน
เมื่อมีสมาร์ทโฟนเกิดขึ้นในโลกใบกลม ๆ พร้อมด้วยเทคโนโลยี 3G ก็เอื้อให้เราโหลดแอพพลิเคชั่นชนิดต่าง ๆ มาใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันใจ ลดภาระให้เราไม่ต้องเสียเวลาไปทำธุรกรรมที่ไหนให้เหนื่อย อย่างตอนนี้เพียงแค่โหลดแอพพลิเคชั่นของธนาคารที่เราฝากเงินไว้ ก็สามารถทำธุรกรรมได้แทบจะทุกอย่าง เสมือนได้ไปธนาคารด้วยตัวเองจริง ๆ ทว่ากระแสข่าวเรื่องการโจรกรรมข้อมูลและเงินผ่านแอพลิเคชั่นที่เคยเกิดขึ้น ก็อาจทำให้หลายคนไม่กล้าจะทำธุรกรรมผ่านแอพพลิเคชั่นของธนาคารเลยสักครั้ง ถ้าอย่างนั้นเพื่อความมั่นใจ ลองมาดู 6 มาตรการความปลอดภัยในการใช้งานแอพพลิเคชั่นธนาคารผ่านสมาร์ทโฟนกันก่อนดีกว่า
1. ดาวน์โหลดจากลิงก์ในเว็บไซต์หลักของธนาคาร
ในเมื่อแอพพลิเคชั่น ใน App Store หรือ Google Play ยังปะปนไปด้วยแอพพลิเคชั่นปลอมอยู่บ้าง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเราควรดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นธนาคารจากลิงก์ในเว็บไซต์หลักของธนาคารที่มักจะแปะไว้ให้ลูกค้ามาดาวน์โหลด อีกทางหนึ่งก็สามารถไหว้วานให้พนักงานธนาคารดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นให้เลยก็ได้ จะได้มั่นใจว่าเราดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นธนาคารของจริงมาใช้งาน
2. หมั่นอัพเดทแอพพลิเคชั่นเสมอ
เมื่อดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นมาใช้งานแล้วก็ใช่ว่าจะแล้วกันไปนะคะ แต่เราต้องคอยตรวจสอบเวอร์ชั่นล่าสุดของแอพพลิเคชั่นบ่อย ๆ แล้วจัดการอัพเดทแอพของเราให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ด้วย เพราะสาเหตุที่เขาต้องอัพเดทเวอร์ชั่นแอพอยู่ตลอด ก็เพื่อแก้ปัญหาและจุดด้อยทางเทคนิค หลีกเลี่ยงการเจาะเข้าถึงข้อมูลของพวกมิจฉาชีพนั่นเอง
3. เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ
ขั้นแรกคุณควรจะตั้งรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดที่เดายากเอาไว้ก่อน เหล่า วัน/เดือน/ปี เกิดพยายามอย่าเอามาตั้งเป็นรหัสผ่านเลยดีกว่า แต่แนะนำให้นำเอาเลขสำคัญ ๆ ของหลาย ๆ คนมาผสมกัน เพื่อสร้างความซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ก็ควรเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ แต่ทั้งนี้คุณเองก็ควรจดจำรหัสผ่านของตัวเองให้แม่นด้วยนะคะ
4. เข้าแอพพลิเคชั่นด้วยอินเทอร์เน็ตส่วนตัวเท่านั้น
แอพพลิเคชั่นของบางธนาคารจะตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้งานให้เราโดยอัตโนมัติ ด้วยการบล็อกไม่ให้เข้าใช้งานหากตรวจจับได้ว่าเรากำลังใช้งาน Wifi สาธารณะอยู่ หรืออาจมีข้อบังคับให้ต้องใช้สัญญาณ 3G และ 4G เพื่อเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น ทว่าแอพพลิเคชั่นจากบางธนาคารก็เปิดให้เข้าใช้งานด้วย Wifi ได้สบาย ๆ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลตัวคุณเอง ควรตรวจสอบให้ดีก่อนทุกครั้งว่า กำลังจะเข้าถึงข้อมูลบัญชีธนาคารของตัวเองด้วยสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ใช่สัญญาณ Wifi
5. เก็บรักษาสมาร์ทโฟนให้ดี
บ่อยครั้งที่เราได้ข่าวว่าข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลสู่สาธารณะเพราะโทรศัพท์ถูกมือดีขโมยไป ฉะนั้นเราก็ควรก็บรักษาโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟนให้ดี ๆ โดยเฉพาะคนที่บันทึกข้อมูลส่วนตัวสำคัญ ๆ ไว้ในสมาร์ทโฟนหลายอย่าง ก็ยิ่งต้องระวังสมาร์ทโฟนสูญหายให้มาก เพราะแม้ว่าแอพพลิเคชั่นธนาคารในสมาร์ทโฟนจำเป็นต้องล็อกอินเข้าไปใหม่ทุกครั้ง ทว่าโจรอาจล็อกอินเข้าสู่ระบบแอพพลิเคชั่นธนาคารได้ง่าย ๆ ด้วยการปะติดปะต่อข้อมูลที่เราบันทึกไว้ในโทรศัพท์ได้
6. เคลียร์ข้อมูลส่วนตัวออกจากสมาร์ทโฟน
อย่างที่บอกไปแล้วว่าหากโทรศัพท์มือถือหายไป ก็อาจจะเป็นได้ที่โจรจะนำข้อมูลที่เราบันทึกไว้ในสมาร์ทโฟนไปใช้ทำธุรกรรมอื่น ๆ ได้อย่างหวานหมู ดังนั้นเพื่อเป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม เราก็ไม่ควรบันทึกข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ เช่น เลขประจำตัวประชาชน เลขบัญชีธนาคาร และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ ไว้ในสมาร์ทโฟน พร้อมกันนั้นก็ควรต้องล็อกเอาท์ทุกครั้งหลังเลิกใช้งานแอพพลิเคชั่นธนาคาร อีเมล และโซเชียลเน็ตเวิร์กทุกชนิดด้วย
อย่างไรก็แล้วแต่ก็ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคนี้ ที่มีขีดความสามารถในการอำนวยความสะดวกให้เราได้มากขึ้นทุกวัน เพียงแค่เราเองก็ต้องตามให้ทันเทคโนโลยีและใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดด้วยเท่านั้นเองนะคะ
sithiphong:
ทำไมบางร้านต้องกำหนดขั้นต่ำรูดบัตรเครดิต???
-http://money.sanook.com/207253/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95/-
คุณอยู่ที่ร้านค้าแห่งหนึ่ง คุณกำลังจะจ่ายเงินซื้อสินค้าราคาราว 300 บาท คุณกำลังหยิบบัตรเครดิตใบโปรดขึ้นมาจ่าย เพราะคุณไม่อยากใช้เงินสด และอยากสะสมแต้ม ยังไม่ทันที่คุณจะยื่นบัตร พนักงานก็บอกคุณว่า ทางเรารับบัตรเครดิตขั้นต่ำ 500 บาทนะคะ คุณประหลาดใจ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ นอกเสียจากก้มหยิบเงิน จ่ายเงิน และรีบออกจากร้านไป วันนี้ MoneyGuru.co.th จะมาไขข้อสงสัยให้คุณว่า ทำไมบางร้านถึงกำหนดขั้นต่ำการรูดบัตรเครดิต ซึ่งเราเห็นกันอย่างหลากหลายในปัจจุบัน ตั้งแต่ 300 500 800 หรือบางร้านกำหนดไว้สูงถึง 1,500 บาท ถึงจะรูดบัตรเครดิตได้
คำตอบง่ายๆ คือ ทุกอย่างมีต้นทุน และการให้บริการบัตรเครดิตแก่ลูกค้า หมายถึงต้นทุนต่อสินค้าที่เพิ่มขึ้นของคนขาย กล่าวคือ สินค้าชนิดเดียวกัน แทนที่เขาจะได้กำไรส่วนต่างเต็มๆ เหมือนกับการเก็บเงินสด เขาต้องได้กำไรลดลงนั่นเอง ซึ่งต้นทุนตรงนั้น มาในส่วนของค่าธรรมเนียมที่ทางร้านจะต้องจ่ายให้กับธนาคาร ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ราว 2-3% ของยอดในการรูดแต่ละครั้ง
เพราะฉะนั้น หากมองในฐานะที่เราเป็นผู้ประกอบการ สินค้าที่ราคาไม่แพง นั่นหมายถึงสินค้าที่เราได้กำไรส่วนต่างไม่มากอยู่แล้ว และหากต้องเสียค่าธรรมเนียมอีก คงเป็นเรื่องที่ไม่น่าพอใจ และสมเหตุสมผลเท่าไหร่
อย่างไรก็ตาม อาจขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ประกอบการและร้านค้าด้วย หากสัดส่วนกำไรมากอยู่แล้ว การให้บริการบัตรเครดิต อาจจะกลายเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามากกว่าขาดทุน หรือกำไรน้อยลง เพราะอย่างไรเสีย จากการวิจัยได้บอกว่า ผู้คนเลือกที่จะใช้บัตรเครดิตมากกว่าเงินสดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะสินค้าที่ไม่จำเป็น เป็นสินค้าฟุ้มเฟือย อาทิ เสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องประดับ สิ่งเหล่านี้ หากคุณให้บริการบัตรเครดิต อาจช่วยให้คุณเพิ่มยอดขายมากขึ้น จากการดึงดูดลูกค้าที่อยากใช้บัตรเครดิตมากกว่า เป็นต้น หรือไม่ก็ หากคุณไม่ให้บริการบัตรเครดิต คุณอาจจะเสียลูกค้าให้คู่แข่งของคุณที่เลือกให้บริการด้วยบัตรเครดิตนั่นเอง
ผลักภาระให้ผู้ซื้อ
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้บางร้านตัดสินใจแก้ปัญหา ด้วยการคิดค่าธรรมเนียม 2-3% จากลูกค้า หากตัดสินใจที่จะซื้อด้วยบัตรเครดิตแทน เพื่อผลักภาระ เราจะเห็นได้บ่อยในเอเจนซีซื้อตั๋วเครื่องบิน หรือร้านอาหารแพงๆ บางร้าน ซึ่งสุดท้ายก็มักจะได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการกระทำดังกล่าว
แล้วจริงๆ มีการกำหนดขั้นต่ำในการรูดบัตรหรือไม่??
คนที่ดูแลนโยบายด้านนี้ไม่ใช่ธนาคาร แต่คือ เครือข่ายให้บริการบัตรเครดิต ได้แก่ Visa MasterCard Amex หรือ JCB ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่มีการกำหนดขั้นต่ำในการรูดบัตรเครดิตใดๆ ทั้งสิ้น สุดท้ายอำนาจจึงตกอยู่ในมือของคนขายเพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่ต้องการจะให้บริการในส่วนนี้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม หากเราได้เข้าใจถึงสาเหตุว่าทำไมเขาถึงต้องกำหนดขั้นต่ำ ก็อาจจะทำให้เราอารมณ์เสียน้อยลงเวลาถูกปฏิเสธไม่ให้ใช้บัตรเครดิตก็เป็นได้
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสมัครบัตรเครดิต เราอยู่เคียงข้างคุณเสมอที่ -www.moneyguru.co.th-
sithiphong:
ภาษีอากรจากการลงทุนในตราสารหนี้
-http://money.kapook.com/view95240.html-
เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำหรับนักลงทุนสิ่งสำคัญที่ควรรู้และศึกษาข้อมูลให้ดี ก็คือ การเสียภาษีอากร จากการลงทุนในตราสารหนี้นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น หุ้นกู้ หรือพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่ทราบข้อมูล หรือคนที่ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาฝากให้ทำความเข้าใจกันค่ะ
รายได้ที่เกิดจากการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการขายตราสารหนี้ และเงินได้จากส่วนลดของตราสารหนี้ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการซื้อ-ขายครั้งแรกจากผู้ออกตราสารหนี้ โดยอัตราและวิธีการเสียภาษีของเงินได้ดังกล่าว แยกตามประเภทของผู้ที่ได้รับเงินได้ว่า เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล และยังแบ่งประเภทย่อยเป็นต่างประเทศและในประเทศ
ท่านนักลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาในประเทศ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ทุกประเภท และมีสิทธิเลือกนำไป รวมคำนวณภาษี ณ สิ้นปีได้
นิติบุคคลในประเทศ ให้นำรายได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษี ตามอัตราที่ตนเสียภาษี โดยอาจถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 สำหรับ นิติบุคคลบางประเภท และในกรณีที่เป็นสถาบันการเงิน จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของเงินได้ประเภทดอกเบี้ยและเงินได้จากส่วนลด โดยรายละเอียดของอัตราภาษีแต่ละประเภท ปรากฏในตารางต่อไปนี้
1. อัตราภาษีของบุคคลธรรมดา (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549)
2. อัตราภาษีของนิติบุคคล (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549)
หมายเหตุ : กรณีนักลงทุนต่างประเทศ (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ที่ได้รับยกเว้นภาษีจากเงินได้ที่ได้รับจากพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรมข้างต้นนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของภาครัฐและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีได้ที่ www.rd.go.th
sithiphong:
ทำไมใช้บัตรเดบิต ไม่ช่วยสร้างเครดิตบูโร?
-http://www.komchadluek.net/detail/20140815/190205.html-
คุณคงเคยได้ยินใช่หรือไม่ว่า การมีเครดิตบูโรที่ดี จะทำให้การเงินของคุณในอนาคตเป็นเรื่องหายห่วง จะกู้สินเชื่อ สมัครบัตรเครดิต ขอวีซ่าไปประเทศใหญ่ๆ ก็ง่ายไปหมด เพราะมันถือว่าคุณเป็นคนมีเครดิตดี มีการเงินที่มั่นคง ประเด็นที่ MoneyGuru.co.th จะหยิบยกวันนี้ก็คือ หากวันนี้คุณเลือกที่จะใช้บัตรเดบิต เป็นวิธีในการใช้จ่ายเป็นหลัก คุณกำลังพลาดโอกาสสำคัญในการสร้างเครดิตบูโรที่ดีให้กับตัวคุณเอง และเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น เรามาดูกัน
บัตรเดบิต กับ บัตรเครดิต ทำงานต่างกัน!
หลายคนคิดว่า บัตรทั้งสองใบ ก็รูดใช้จ่ายเหมือนกัน แต่ทำไมบัตรเครดิตช่วงสร้างเครดิตบูโรได้ แต่อีกใบไม่สามารถทำได้ คำตอบก็คือ การทำงานของทั้งสองประเภทที่แตกต่างกัน เมื่อคุณใช้บัตรเดบิต คุณต้องมีเงินในบัญชีธนาคารเพียงพอที่คุณจะซื้อของนั้นๆ คุณจะสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ โดยเงินจะถูกหักออกไปในทันทีที่คุณใช้จ่าย
ในขณะที่ บัตรเครดิต ไม่ใช่ บัตรเครดิตทำงานในลักษะณะที่ว่า คุณไม่จำเป็นต้องมีเงินในบัญชี แต่คุณมีสิ่งที่เรียกว่า "เครดิตวงเงิน" ที่ธนาคารเห็นว่าสถานะทางการเงินระดับคุณ รายได้ระดับคุณ สามารถมีวงเงินได้เท่าไหร่ และหลังจากนั้น คุณก็นำบัตรเครดิตไปรูดใช้จ่ายได้ เปรียบเสมือน "การยืมเงินธนาคารทุกๆ ครั้งที่คุณใช้จ่าย" นั่นเอง
เมื่อไม่ใช่การยืม เครดิตบูโร ก็ไม่เกิด!!
บางคนอาจจะคิดว่า มันไม่ตลกหรอ ที่เราก็มีเงินซื้อของอยู่ ทำไมเราต้องไปยืมธนาคารมาจ่ายแทนเราก่อนล่ะ เราก็ใช้เงินเราไม่ดีกว่าหรือ? คำตอบคือ ไม่ การที่เรายืมเงินธนาคารมาใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยในวันนี้ จะเป็นประโยชน์กับเราในการยืมเงินธนาคารก้อนใหญ่มาใช้จ่ายในอนาคต หากจำเป็น เช่นการซื้อบ้าน ซื้อรถ เพราะอะไร? เพราะถ้าเราไม่เคยยืมเงินธนาคารเลย ไม่ว่าจะมาก จะน้อย ธนาคารไม่สามารถประเมิน หรือไม่มีประวัติเราอยู่ในระบบเลยว่าเราจะสามารถเป็นลูกหนี้ของธนาคารได้ดีแค่ไหน มีความรับผิดชอบทางการเงินมากแค่ไหน
เพราะฉะนั้น การใช้บัตรเครดิต คือวิธีการที่ง่ายที่สุดที่คุณจะสร้างประวัติเครดิตของคุณ เพียงแค่คุณใช้จ่ายปกติ เพียงแต่หันมาใช้บัตรเครดิต แทนที่จะเป็นบัตรเดบิต เมื่อถึงรอบบิล คุณก็ชำระบิลบัตรเครดิตเต็มจำนวนในทุกเดือน คุณก็สามารถสร้างเครดิตได้ง่ายๆ แล้ว
อย่างไรก็ตามหากคุณคิดว่า การใช้บัตรเครดิตเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่งต่อการเป็นหนี้มากเกินไป และคุณไม่จำเป็นต้องใช้เครดิตบูโรในอนาคตอยู่แล้ว คุณไม่มีแพลนจะขอสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ การใช้บัตรเดบิตเพื่อตัดปัญหาเสียแต่ต้นลม ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีก็เป็นได้ แต่ถ้าคุณยังมีความไม่แน่ใจว่าคุณต้องใช้เครดิตบูโรหรือไม่ การเริ่มสร้างเสียตั้งแต่วันนี้ ก็ไม่น่าจะเสียหลายอะไร
sithiphong:
กลับบ้านตรงเวลา... ไม่ทุ่มเทให้กับงาน ?
-http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1408180959#-
คอลัมน์ เอชอาร์ คอร์เนอร์ ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ http://tamrongsakk.blogspot.com
พนักงานที่ทำงานแล้วกลับบ้านดึก ๆ เป็นคนทุ่มเทให้กับงานจริงหรือครับ ?
หัวหน้างานหลายคนมักจะนำเรื่องนี้มาเป็นเรื่องสำคัญในการพิจารณาช่วงขึ้นเงินเดือนประจำปี หรือจ่ายโบนัสเสียด้วยสิ
หลักคิดก็ไม่ซับซ้อนอะไรมาก ใครกลับดึกคนนั้นอุทิศตัวให้กับงาน ใครกลับเร็ว (หมายถึงพอถึงเวลาเลิกงานแล้วสักพักก็กลับบ้าน
ไม่ได้หมายถึงกลับก่อนเวลาเลิกงานนะครับ) ก็แสดงว่าคนคนนั้นไม่สู้งาน ไม่ขยัน ไม่ทุ่มเทให้กับงาน ฯลฯ แล้วแต่สารพัดข้อหาจะยัดเยียดให้
หัวหน้าหลายคนที่มีความคิดทำนองนี้มักจะเรียกลูกน้องประชุมช่วงใกล้ ๆ จะเลิกงานอยู่เป็นประจำ
เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อง (บางคน) กลับบ้านเร็วเกินไป
และการประชุมก็มักจะลากยาวไปจนค่ำ ๆ เสียด้วย
ท่านเคยเจอหัวหน้างานทำนองนี้บ้างไหมครับ ?
ผมว่าปัญหาทำนองนี้เป็นปัญหาในเรื่องของวิธีคิดแบบเชื่อมโยงตรรกะที่อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้
ซึ่งความคิดทำนองนี้ก็เลยทำให้เกิดค่านิยมบางอย่างในตัวคนขึ้นมา ยิ่งถ้าคนคนนั้นได้เป็นหัวหน้า
หรือเป็นผู้บริหารแล้วยังมีวิธีคิดแบบรวบยอดที่อาจจะไม่ถูกต้องทำนองนี้ ย่อมจะทำให้คนที่เป็นลูกน้องอึดอัดหาวเรอ เผลอ ๆ นั่งเซ็งกันได้เป็นธรรมดา
ส่วนลูกน้องที่ "ทำงานเป็น" รู้ว่าหัวหน้าชอบคนกลับดึก ๆ ก็มักจะดึงเชิงในช่วงเวลางาน คือในชั่วโมงทำงานก็ทำแบบเนียน ๆ เรื่อย ๆ
จะได้มีอะไรเอาไว้ทำตอนหลังเลิกงาน บางคนอาจจะคิดว่ากลับค่ำ ๆ ดึก ๆ หน่อยก็ดี รถจะได้ไม่ติดมาก ก็นั่งเล่น Facebook ไปตอนที่หัวหน้าไม่ได้เดินมาตรวจงาน
พอหัวหน้าเดินมาก็ทำเป็นเอางานขึ้นมาทำ ฯลฯ ก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน
เรามาลองดูอีกมุมหนึ่งไหมครับว่า การมีค่านิยมให้ลูกน้องกลับบ้านดึก ๆ ทั้ง ๆ ที่ลูกน้องก็เคลียร์งานหมดแล้ว บริษัทจะเกิดความเสียหายอะไรบ้าง
1.ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ในกรณีที่หัวหน้าสั่งให้ลูกน้องทำงานหลังเวลาทำงานปกติ ซึ่งบริษัทก็จะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้
2.ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า, ค่าโทรศัพท์ ที่บริษัทต้องจ่าย เพราะการที่พนักงานอยู่หลังเวลางาน หน่วยงานนั้น ๆ ยังต้องเปิดไฟแสงสว่าง,
เปิดแอร์, พนักงานยังต้องไปเข้าห้องน้ำใช้น้ำใช้กระดาษทิสชู, ใช้เครื่องถ่ายเอกสาร, เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ (แต่อาจเล่น Facebook ส่วนตัว),
โทรศัพท์คุยกับคนที่บ้าน ฯลฯ ลองให้ฝ่ายบัญชีเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายของแต่ละฝ่ายหลังเวลางานดูสิครับว่า วัน ๆ หนึ่งหรือเดือน ๆ หนึ่งคิดเป็นเงินกี่บาท ปีละกี่บาท
3.พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง "Work Life Balance" ที่ต้องเสียไป กว่าจะกลับถึงบ้านกี่โมง
หลายคนต้องมีครอบครัวต้องดูแล การพักผ่อนน้อย ไม่ได้ออกกำลังกายทำให้เสียสุขภาพในระยะยาว
บริษัทอาจจะมีคนขี้โรคเพิ่มมากขึ้นจากการไม่สมดุลชีวิตกับการทำงาน คนนะครับไม่ใช่เครื่องจักร (ขนาดเครื่องจักรยังต้องมีการพักซ่อมบำรุงเลย)
ต้องมีการพักผ่อนให้เหมาะสมด้วย ไม่ใช่โหมงานดึกทุกวันทุกเดือนตลอดทั้งปี
4.จากผลกระทบข้อ 3 พนักงานบางคนมีปัญหาครอบครัว เช่น ภรรยา (บางคนที่ทำตัวเป็นฝ่ายสืบสวน)
จะคอยซักถามว่าทำไมสามีกลับบ้านดึก มีกิ๊กหรือเปล่า แล้วก็ทะเลาะกัน หรือลูกไม่มีใครดูแลทำให้เป็นเด็กติดเกม ฯลฯ
ซึ่งปัญหาครอบครัวเหล่านี้หลายครั้งจะกลับมาเป็นปัญหาในเรื่องงาน
เพราะเมื่อพนักงานเครียดเรื่องครอบครัวก็เลยทำให้เซ็ง เบื่อ ไม่อยากทำงานไปเลยก็มี
อย่าลืมว่าแต่ละคนล้วนมีครอบครัว มีญาติพี่น้อง ไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวในโลก หรือมีแต่เรื่องงานเพียงอย่างเดียว
จึงจำเป็นต้องมีชีวิตส่วนตัวและครอบครัวด้วยนะครับ
5.พนักงานที่รับแนวคิดทำนองนี้ไม่ได้ (โดยเฉพาะพนักงานรุ่นใหม่ไฟแรงพวก Gen Y)
จะมองว่าหัวหน้าเป็นพวกบริหารเวลาไม่ดี ครอบครัวมีปัญหา โลกแคบเพราะมีแต่ที่ทำงานไม่รู้จักไปสังคมสังสรรค์ซะบ้างเลย ฯลฯ
ก็เลยลาออกไปอยู่ที่อื่นดีกว่า บริษัทก็จะต้องเสียเวลามาสัมภาษณ์หาคนมาแทนกันอีก
ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการหาคนมาทดแทน แถมเมื่อได้คนมาแทนแล้วอีกไม่นานก็มีแนวโน้มจะทำให้พนักงานใหม่ลาออกอีกเช่นเคย
เพราะรับค่านิยมแบบนี้ไม่ได้ ยิ่งบางแห่งทำงานสัปดาห์ละ 6 วันแล้วต้องกลับดึก ๆ ทุกวันจะพบว่าอัตราการลาออกสูงเพราะสาเหตุนี้แหละครับ
ที่ผมพูดมาข้างต้นนี้ไม่ได้หมายความว่าผมสนับสนุนให้ท่านทำงานกันไปวัน ๆ โดยคอยจ้องนาฬิกาว่าพอถึงเวลาเลิกงานก็รีบกระโจนไปรูดบัตรออกจากบริษัททันทีนะครับ !
เพียงแต่อยากจะให้ข้อคิดว่า ในการทำงานนั้นเขาให้เวลาทำงานกัน 8 ชั่วโมงต่อวัน เราก็ควรจะทำให้เต็มประสิทธิภาพหรือเต็มที่กับมัน
บริหารเวลาให้ดี ทำงานให้เสร็จสิ้นตามที่ได้รับมอบหมาย หรือควบคุมดูแลงานของเราให้ดีในแต่ละวัน
และมีเวลาหลังเลิกงานในการสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานบ้าง, ออกกำลังกายบ้าง, พักผ่อนบ้าง ฯลฯ เพื่อสมดุลชีวิตไม่ให้บ้างาน (Workaholic มากจนเกินไป)
แต่ถ้าช่วงไหนที่มีงานด่วน งานเร่ง งานฉุกเฉินที่ต้องรับผิดชอบ อาจจะต้องอยู่ดึกดื่นเพื่อเคลียร์งานด่วนเหล่านั้น
อย่างนี้ก็ยังพอรับได้เพราะเป็นงานที่จำเป็นเร่งด่วน ซึ่งคงไม่ใช่การทำงานเกินเวลาแบบเป็นประจำทุกวัน วันละเกิน 12 ชั่วโมงไปอย่างนี้ตลอดทั้งปี
และติดต่อกันหลายปี แถมเมื่อมีพนักงานใหม่เข้ามาทำงานก็ต้องทำงานกันตามค่านิยมอย่างนี้แหละถึงจะอยู่ด้วยกันได้
ถ้ามีแนวคิดอย่างนี้ละก็ ผมว่าคงไม่สมเหตุสมผลแล้วละครับ !
ก็ในเมื่อถ้าพนักงานทำงานเสร็จสิ้นตามที่ได้รับมอบหมาย ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะมีเหตุผลอะไรอีกที่หัวหน้าจะต้องให้อยู่ดึก ๆ ทุกวันล่ะ
คงมาสรุปกันตรงที่หลักพระพุทธองค์ท่านเคยสอนไว้ก็คือ การเดินสายกลาง ไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งน่ะ น่าจะเป็นทางที่ดีที่สุด
เพียงแต่หัวหน้างานหันกลับมาใช้คติ "Work Life Balance" ให้ดีทั้งตัวเองและลูกน้อง จะได้มีความสุขทั้งในงานและชีวิตส่วนตัว จะได้ Win-Win ไม่ดีกว่าหรือครับ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version