ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
sithiphong:
รายจ่าย ลงทุนอะไร ที่หักภาษีได้บ้าง?
-http://money.sanook.com/224113/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/-
ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีแล้ว เหลืออีก 2 เดือนเศษก็จะหมดปี สำหรับมนุษย์เงินเดือน มนุษย์ลูกจ้าง ก็คงฝันหวานถึงวันหยุดยาว เงินโบนัส(หากมี)และโอกาสใช้จ่ายเงินกับช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีและรับปีใหม่กันแล้ว
แต่หลังจากนั้น มนุษย์เงินเดือนผู้มีรายได้ทั้งหลาย ต้องไม่ลืมว่า จะต้องเตรียมยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันด้วย ซึ่งตามปรกติ กรมสรรพากรจะกำหนดให้ยื่นแบบตั้งแต่ต้นปี คือวันที่1 มกราคม จนไปถึงสิ้นเดือน มีนาคมของทุกปี
ทั้งนี้คนที่มีรายได้ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบเพื่อเสียภาษีประจำปีด้วย ดังนั้น ในช่วงสุดท้ายของปี หากใครจะลงทุนหรือบริหารการเงินอย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด วันนี้ sanook money จะรวบรวมข้อมูลมาให้เป็นแนวทางเบื้องต้นว่า แต่ละคนสามารถหักค่าใช้จ่ายจากอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะการลงทุนอะไรที่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายในการเสียภาษีได้บ้าง รับรองว่าหลายคนจะได้รับเงินภาษีคืนอย่างแน่นอน.....
เริ่มต้นจากการหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช่จ่ายในครอบครัว
กรณีคนโสด สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ 30,000 บาท
กรณีสมรส หากคู่สมรสไม่มีรายได้และไม่ได้แยกยื่นภาษีสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีก 30,000 บาท
และหากมีบุตร สามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 15,000 บาท(รวมบุตรบุตรธรรม) สามารถหักได้รวมกันแล้วไม่เกิน 3 คน โดยบุตรต้องมีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี และหากกำลังศึกษาอยู่ในประเทศสามารถหักเพิ่มเติมได้อีกคนละ 2,000 บาท
นอกจากนี้หากใครมีบิดา มารดาอายุ 60 ปี ขึ้นไป ต้องเลี้ยงดูสามารถหักค่าใช้จ่าย ได้อีกคนละ 30,000 บาท นอกจากนี้เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ยังนำมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทอีกด้วย
และใครมีภาระต้องอุปการคนพิการ หรือ ทุพพลภาพ ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 60,000 บาท
การหักค่าใช่จ่ายจากรายจ่ายเพื่อเข้ากองทุนต่างๆ
ปรกติคนทำงานกรณีลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท จะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในทุกเดือน ซึ่ง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักภาษีได้ทั้งหมด และ
หากใครที่สมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำเงินที่ส่งเข้ากองทุนฯมาหักภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
ส่วนข้าราชการซึ่งสมัครกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. ก็เช่นกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำเงินส่งกองทุนมาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกัน
การหักค่าใช้จ่ายจากการลงทุนเพื่อสร้างอนาคต หรือ การสร้างหลักประกันในอนาคต
กรณีนี้ ใครที่มองเห็นเงินก้อน หรือ คาดว่าได้โบนัสก้อนงามในปีนี้แน่ๆวางแผนได้เลยครับว่าจะลงทุนในการลงทุนประเภทนี้เท่าไรอย่างไร เพราะสามารถนำมาหักภาษีได้มากโขทีเดียว
ประกันฯ โดยเบี้ยประกันชีวิต และ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF หักได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้มาหักภาษีได้ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีมีคนกู้ร่วมก็สามารถนำไปเฉลี่ยกัน โดยเพดานคือรวมกันแล้วไม่เกิน100,000 บาทเช่นกัน
หลังจากหักค่าลดหย่อนเหล่านั้นแล้ว หากใครที่สนับสนุนทางด้านการศึกษายังมีสิทธิทางภาษีโดย เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการบริจาคเพื่อการกุศลต่างๆที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้อีกซึ่งสามารถติดตามรายระเอียดตามที่มีการประกาศโดยกรมสรรพากรอีกด้วย ทั้งนี้เงินบริจากที่เราคุ้นเคยอย่างเช่น
การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ โดยองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาจะสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นกัน
sithiphong:
--- อ้างจาก: sithiphong ที่ พฤศจิกายน 02, 2014, 08:50:03 am ---รายจ่าย ลงทุนอะไร ที่หักภาษีได้บ้าง?
-http://money.sanook.com/224113/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/-
ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีแล้ว เหลืออีก 2 เดือนเศษก็จะหมดปี สำหรับมนุษย์เงินเดือน มนุษย์ลูกจ้าง ก็คงฝันหวานถึงวันหยุดยาว เงินโบนัส(หากมี)และโอกาสใช้จ่ายเงินกับช่วงเทศกาลวันส่งท้ายปีและรับปีใหม่กันแล้ว
แต่หลังจากนั้น มนุษย์เงินเดือนผู้มีรายได้ทั้งหลาย ต้องไม่ลืมว่า จะต้องเตรียมยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันด้วย ซึ่งตามปรกติ กรมสรรพากรจะกำหนดให้ยื่นแบบตั้งแต่ต้นปี คือวันที่1 มกราคม จนไปถึงสิ้นเดือน มีนาคมของทุกปี
ทั้งนี้คนที่มีรายได้ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบเพื่อเสียภาษีประจำปีด้วย ดังนั้น ในช่วงสุดท้ายของปี หากใครจะลงทุนหรือบริหารการเงินอย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด วันนี้ sanook money จะรวบรวมข้อมูลมาให้เป็นแนวทางเบื้องต้นว่า แต่ละคนสามารถหักค่าใช้จ่ายจากอะไรได้บ้าง โดยเฉพาะการลงทุนอะไรที่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายในการเสียภาษีได้บ้าง รับรองว่าหลายคนจะได้รับเงินภาษีคืนอย่างแน่นอน.....
เริ่มต้นจากการหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช่จ่ายในครอบครัว
กรณีคนโสด สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ 30,000 บาท
กรณีสมรส หากคู่สมรสไม่มีรายได้และไม่ได้แยกยื่นภาษีสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีก 30,000 บาท
และหากมีบุตร สามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 15,000 บาท(รวมบุตรบุตรธรรม) สามารถหักได้รวมกันแล้วไม่เกิน 3 คน โดยบุตรต้องมีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี และหากกำลังศึกษาอยู่ในประเทศสามารถหักเพิ่มเติมได้อีกคนละ 2,000 บาท
นอกจากนี้หากใครมีบิดา มารดาอายุ 60 ปี ขึ้นไป ต้องเลี้ยงดูสามารถหักค่าใช้จ่าย ได้อีกคนละ 30,000 บาท นอกจากนี้เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ยังนำมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทอีกด้วย
และใครมีภาระต้องอุปการคนพิการ หรือ ทุพพลภาพ ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายได้อีกคนละ 60,000 บาท
การหักค่าใช่จ่ายจากรายจ่ายเพื่อเข้ากองทุนต่างๆ
ปรกติคนทำงานกรณีลูกจ้างหรือพนักงานบริษัท จะถูกหักเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในทุกเดือน ซึ่ง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักภาษีได้ทั้งหมด และ
หากใครที่สมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำเงินที่ส่งเข้ากองทุนฯมาหักภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาท
ส่วนข้าราชการซึ่งสมัครกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือ กบข. ก็เช่นกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำเงินส่งกองทุนมาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกัน
การหักค่าใช้จ่ายจากการลงทุนเพื่อสร้างอนาคต หรือ การสร้างหลักประกันในอนาคต
กรณีนี้ ใครที่มองเห็นเงินก้อน หรือ คาดว่าได้โบนัสก้อนงามในปีนี้แน่ๆวางแผนได้เลยครับว่าจะลงทุนในการลงทุนประเภทนี้เท่าไรอย่างไร เพราะสามารถนำมาหักภาษีได้มากโขทีเดียว
ประกันฯ โดยเบี้ยประกันชีวิต และ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญสามารถ หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะกรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF หักได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้มาหักภาษีได้ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนกรณีมีคนกู้ร่วมก็สามารถนำไปเฉลี่ยกัน โดยเพดานคือรวมกันแล้วไม่เกิน100,000 บาทเช่นกัน
หลังจากหักค่าลดหย่อนเหล่านั้นแล้ว หากใครที่สนับสนุนทางด้านการศึกษายังมีสิทธิทางภาษีโดย เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการบริจาคเพื่อการกุศลต่างๆที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้อีกซึ่งสามารถติดตามรายระเอียดตามที่มีการประกาศโดยกรมสรรพากรอีกด้วย ทั้งนี้เงินบริจากที่เราคุ้นเคยอย่างเช่น
การบริจาคเงินให้แก่วัดวาอาราม สภากาชาดไทย สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือองค์การของรัฐบาล สถานศึกษาเอกชน สถานสาธารณกุศล และกองทุนสวัสดิการภายในส่วนราชการ โดยองค์การสถานสาธารณกุศลตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาจะสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นกัน
--- End quote ---
sithiphong:
25 วิธีเด็ด ! ตรวจเช็คบ้านก่อนโอน จะได้ไม่โดนหลอก
-http://home.sanook.com/1153/25-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%94-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81/-
Sanook! Home มีเพื่อนที่เพิ่งเซ็นโอนบ้านไป แต่ผลปรากฏว่าโอนไปตั้งแต่ต้นปี ผ่านไปจนเกือบครึ่งปียังไม่ได้เข้าอยู่ เพราะบ้านมีความเสียหายที่ต้องซ่อมแซมมาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้เพื่อนเลยนั่งกุมขมับ เรื่องนี้จึงเป็นบทเรียนว่าก่อนเซ็นโอนบ้านกับหมู่บ้านใดก็ตาม เราต้องตรวจบ้านอย่างละเอียด ด้วยความเป็นห่วง จึงนำวิธีตรวจรับบ้านมาให้ลูกบ้านสนุก โฮมเก็บเอาไว้เป็นความรู้ค่ะ
เรื่องน้ำ
1.เปิดก๊อกน้ำทุกจุด ทุกตัวในบ้าน ดูว่าน้ำรั่วหรือไม่ หรือเมื่อปิดก๊อกน้ำแล้ว มิเตอร์ยังวิ่งอยู่แสดงว่ามีจุดที่น้ำรั่ว
2.เทน้ำลงบนทุกจุดที่มีทางระบายน้ำเพื่อดูการทำงานของท่อระบายน้ำ
3.เปิดน้ำแล้วดูการทำงานของปั๊มน้ำว่าทำงานปกติไหม และน้ำแรงแค่ไหน
4.ในห้องน้ำต้องมีของให้ครบทั้งอ่างล้างหน้า ก๊อกน้ำ ชักโครก สายชำระ ที่ใส่กระดาษทิชชู ที่แขวนผ้าเช็ดตัว ก๊อกน้ำและฝักบัว ฝาปิดท่อน้ำแบบกันกลิ่น
เรื่องไฟฟ้า
5.เปิด-ปิดไฟทุกดวงในบ้านว่าดวงไหนติด ดวงไหนไม่ติด หากไม่ติดให้รีบแจ้งทันที หรืออยากจะย้ายไฟดวงไหนให้แจ้ง และจดเอาไว้
6.ใช้ไขควงวัดไฟจิ้มไปที่น็อตของปลั๊กไฟ เพื่อตรวจสอบว่าไฟรั่วหรือเปล่า จากนั้นเปิดปลั๊กไฟเพื่อดูการเดินสายไฟว่ามี 3 เส้นหรือไม่ ต้องมีสายดินด้วย แล้วเอาไดร์ทเป่าผมลองเสียบแล้วดูว่ามีปลั๊กไฟอันไหนบ้างที่ใช้ไม่ได้
7.ในห้องน้ำต้องมีการเดินสายไฟสำหรับติดเครื่องทำน้ำอุ่นให้ หรือถ้าจะติดเครื่องทำน้ำร้อนที่อ่างอาบน้ำต้องให้ช่างเดินไฟไว้ให้เรียบร้อย แล้วก็ให้เดินเหมือนเดินไฟในบ้านคือมีสายดินด้วย และต้องมีเบรกเกอร์ติดแยกไว้ต่างหาก
8.ปีนหลังคาขึ้นไปดูใต้ฝ้าว่ามีการร้อยสายไฟใส่ท่อไว้ให้เรียบร้อยหรือเปล่า ก่อนขึ้นไปเปิดใต้ฝ้าต้องปิด Main Breaker ก่อน เหตุที่ใต้ฝ้าต้องร้อยสายไฟใส่ท่อเพราะเผื่อเวลาฝนตก หลังคารั่ว น้ำโดนสายไฟแล้วจะเป็นอันตรายกับบ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้
9.ปิดไฟทุกดวงในบ้าน แล้วดูว่ามิเตอร์ไฟวิ่งไหม ถ้ามิเตอร์วิ่งแสดงว่าไฟรั่ว ต้องตรวจหาและแก้ไขทันที
10.สายดินของ Main Breaker ต้องฝังลึกประมาณ 2 เมตร ลองเช็คดูแล้วให้เขาฝังให้ใหม่ หรือเสียเงินฝังเองก็ได้
11.ให้เปลี่ยนหลอดไฟทุกดวงในบ้านเป็นหลอดประหยัดไฟแทน เพราะจะประหยัดเงินของเราลงได้เยอะ
12.ปลั๊กไฟนอกอาคารต้องมีตัวกั้นน้ำเพราะถ้าฝนตกจะได้ไม่เป็นอันตราย
13.กระดิ่งหน้าบ้านต้องเดินสายไฟ 3 เส้นเหมือนกัน ควรมียางกันน้ำ หรือมีกล่องครอบกันน้ำ
14.ควรติดไฟไว้รอบๆ บ้าน และเลือกติดเป็นสวิทซ์เปิดไฟ
งานพื้น
15.เดินลากเท้าเปล่าไปกับพื้นดูว่าปูพื้นเรียบร้อยไหม จากนั้นใส่ถุงเท้าเดินอีกรอบจะได้รู้ว่ามีรอยหรือเปล่า และตามร่องที่ปูสะอาดไหม
16.ใช้เหรียญบ้านเคาะที่พื้นดูว่ามีเสียงพื้นโป่งหรือเปล่า หากมีให้เอากระดาษกาวแปะทำเครื่องหมายไว้
17.ให้เอาลูกแก้ววางบนพื้น และห่างกันประมาณ 10 ซม.แล้วดูว่าลูกแก้วไหลไปทางไหน ถ้าไหลไปรวมกันแสดงว่าพื้นเป็นหลุม แต่หากจุดไหนไม่มีลูกแก้วอยู่แสดงว่าพื้นปูด
งานกำแพง
18.เช็คดูว่ากำแพงสะอาดไหม วอลเปเปอร์ที่ติดไว้เรียบเสมอกันหรือเปล่า ทำโดยใช้หน้าแนบติดกับกำแพง และดูว่ามีจุดไหนโป่งหรือเปล่า
19.ตรวจความตรงของขอบบัวติดผนังโดยใช้ไม้บรรทัดวางกับพื้นแล้วเลื่อนไปเรื่อยๆ หากมีช่วงที่โป่งหรือเว้าตัวของขอบบัว เราจะเห็นช่องระหว่างไม้บรรทัด
20.เช็คสีนอกอาคาร ดูว่ามีรอยรั่ว หรือร้าวไหม ถ้ามีให้แก้ไขด่วน
21.ประตู หน้าต่าง ต้องลองเปิดดูว่ามีการทรุดตัวไหม ลองปิดประตูแล้วเอาไฟฉายส่องดูว่ามีแสงลอดไหม รวมทั้งเมื่อล็อคประตูแล้วให้เอากุญแจลองไขดูทุกดอก
22.ประตูรั้วหน้าบ้านลงล็อคดีหรือเปล่า ใช้งานได้จริงไหม ใส่แม่กุญแจได้หรือเปล่า
งานใต้หลังคา
23.ควรตรวจในช่วงหน้าฝนเพื่อดูการรั่วซึม โดยขึ้นไปให้เหยียบที่โครงเหล็กของหลังคาแทนเหยียบบนฝ้า เพราะอาจเกิดอันตรายได้ จากนั้นใช้ไฟฉายส่อง ถ้ามีแสงลอดออกมาจากด้านนอกแสดงว่าหลังคารั่ว ต้องให้ทางโครงการมาซ่อมให้ทันที
24.ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาหากฉีกขาดต้องให้ทางโครงการมาซ่อมให้
25.สายไฟต้องร้อยอยู่ใต้โครงเหล็กหลังคา ไม่ใช่ร้อยอยู่เหนือโครงเหล็ก เพราะหากเกิดไฟช็ออตในขณะที่เราปีนขึ้นไป จะเกิดอันตรายได้
เห็นไหมคะ การตรวจเช็คก่อนเซ็นโอนบ้านมีหลายข้อที่คนซื้อบ้านควรรู้ และที่สำคัญเมื่อพบความชำรุด ความเสียหายต่างๆ แล้วต้องรีบแจ้งให้ทางโครงการแก้ไข โดยมีการลงรายละเอียด เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและวันที่ เพียงเท่านี้ลูกบ้าน Sanook! Home ก็จะได้เป็นเจ้าของบ้านแบบมีความสุขกันถ้วนหน้า
ขอบคุณข้อมูลจาก www.pantip.com
sithiphong:
จัดพอร์ตลงทุน
-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-
ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่
แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง
หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)
กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ
แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
sithiphong:
--- อ้างจาก: sithiphong ที่ พฤศจิกายน 05, 2014, 08:08:43 am ---จัดพอร์ตลงทุน
-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-
ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่
แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง
หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)
กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ
แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
--- End quote ---
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version