ริมระเบียงรับลมโชย > รับสายลมเย็นหน้าระเบียง
รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
sithiphong:
--- อ้างจาก: sithiphong ที่ พฤศจิกายน 05, 2014, 08:08:43 am ---จัดพอร์ตลงทุน
-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-
ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่
แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง
หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)
กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ
แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
--- End quote ---
sithiphong:
--- อ้างจาก: sithiphong ที่ พฤศจิกายน 05, 2014, 08:08:43 am ---จัดพอร์ตลงทุน
-http://money.sanook.com/228577/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/-
ทุกท่านเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าการออมเงินไว้ในธนาคารเป็นการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนโดยไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากมี พรบ คุ้มครองเงินฝากอยู่
แต่อัตราผลตอบแทนของเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากจนน่าใจหาย น้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีเสียอีก นั่นหมายถึงว่า มูลค่าเงินของเราลดลงกว่าเดิมทุกปี พูดง่ายๆคือ ยิ่งฝากนานยิ่งจนลง
หากจินตนาการไม่ออกว่าภาวะเงินเฟ้อร้ายแรงแค่ไหน ให้นึกถึงประโยค "มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท" จะเห็นได้ว่าในอดีตเงินบาทมีค่าใหญ่พอควรถึงขนาดต้องค่อยๆ บรรจบทีละสลึงมาให้ครบ แต่ในปัจจุบันเหรียญสลึงช่างด้อยค่าจนแทบจะหายไปจากตลาดแล้ว ถึงบรรจบให้ครบบาทได้ก็จริง(จะได้สี่เหรียญเล็กๆ) แต่เอาไปซื้อของก็อาจจะถูกร้านค้าปฎิเสธได้ บาทนึงสมัยนี้แทบซื้ออะไรไม่ได้เลย (ซึ่งปัจจุบันสำนวนนี้อาจจะปรับเปลี่ยนจากใช้กับเงินมาใช้กับทองแทนก็ยังพอได้อยู่)
กลายเป็นว่าสิ่งที่ดูเหมือนไม่มีความเสี่ยง ก็มีความเสี่ยงอยู่ดี เนื่องจากค่าเงินที่เล็กลงทุกวันๆ
แล้วเราควรจะจัดสรรเงินออมของเราต่อไปอย่างไรดี ให้งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะด้อยค่าลง...การ์ตูนตอนนี้มีคำตอบจ้า ^^
--- End quote ---
sithiphong:
10 ข้อแนะนำสำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อกองทุน LTF
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤศจิกายน 2557 09:23 น.
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000130509-
โดยทีมจัดการการลงทุน บลจ.ทิสโก้ จำกัด
ต้องยอมรับกันว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยสามารถปรับตัวขึ้นมาได้เหนือความคาดหมายของนักลงทุนโดยรวม แม้ว่าจะมีปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศเข้ามาฉุดรั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงก็ตาม โดย SET Index สามารถไปทำจุดสูงสุดของปีนี้ที่ 1,600.16 ในวันที่ 26 กันยายน 2557 อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนตุลาคมจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยมีการปรับฐานค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะกลุ่มยูโรโซน เนื่องจากความกังวลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวลงจากภาวะเงินฝืดและอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับนักลงทุนทั่วโลกผิดหวังต่อการตอบสนองจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ต่อนโยบายทางการเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร การปรับฐานเนื่องจากแรงเทขายทำกำไรดังกล่าวตามมาซึ่ง “โอกาส” ของการลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนที่มีเงินได้เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปี เครื่องมือในการออมลำดับต้นๆ ที่คนส่วนมากนึกถึงคงจะหนีไม่พ้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
กองทุน LTF ถือได้ว่าเป็นของขวัญจากภาครัฐที่ออกมาเพื่อสนับสนุนการลงทุนในหุ้นระยะยาวแทนที่จะเป็นการซื้อๆ ขายๆ เก็งกำไรกันรายวัน เพราะฉะนั้น นักลงทุนที่นำเงินมาลงทุนในกองทุนนี้จะได้สิทธิลดหย่อนภาษีเป็นของแถม เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่วางไว้ (ซื้อและถือครองไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน) ในวันนี้ทางทีมผู้เขียนมี 10 ข้อแนะนำสำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อกองทุน LTF มาฝากกันครับ
1. เลือกนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้: ปกติแล้ว กองทุน LTF ถูกกำหนดให้ลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 65% ของ NAV ซึ่งปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ มีการออกกองทุน LTF ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่หลากหลาย เช่น หุ้น 70%, 75% หรือ 100% ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนทั่วไปที่ยอมรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน
2. จ่ายปันผล?: กองทุน LTF มีทั้งแบบจ่ายเงินปันผลและไม่จ่ายเงินปันผล หากท่านเลือกแบบจ่ายเงินปันผลก็เสมือนกับท่านได้รับผลตอบแทนระหว่างทาง แต่เงินปันผลที่ได้รับจะต้องเสียภาษี (ให้เลือกระหว่างหัก ณ ที่จ่าย 10% หรือนำมารวมคำนวณในการยื่นภาษีเงินได้ประจำปี) เปรียบเทียบกับแบบไม่จ่ายเงินปันผล ซึ่งผลประโยชน์ต่างๆ ในกองทุนนั้น ผู้จัดการกองทุนก็จะนำเงินที่ได้ไปลงทุนให้ผลประโยชน์งอกเงยต่อไป ช่วยให้ท่านไม่ต้องมาปวดหัวกับการยื่นและคำนวณภาษีประจำปี
3. เลือกกองทุนที่มีผลการดำเนินงานที่“สม่ำเสมอ”: ผลการดำเนินการย้อนหลังที่ดีในปีก่อนอาจไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันได้ว่ากองทุนนั้นจะมีผลงานที่ดีในปีถัดไป หากแต่การมีผลการดำเนินงานที่ดีสม่ำเสมอ ไม่ผันผวนจนเกินไป และบริหารกองทุนสอดคล้องกับนโยบายการลงทุน เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรให้ความสำคัญมากกว่า
4. ค่าใช้จ่ายกองทุน: อย่าลืมพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของกองทุนด้วย โดยข้อมูลตัวหนึ่งที่ควรดูคือ อัตราส่วนค่าใช้จ่าย (Expense Ratio)
5. ไม่รอซื้อ LTF ในนาทีสุดท้าย: หลายๆ ท่านมักรอเวลาจนเกือบสิ้นปีแล้วค่อยลงทุน และอาจจบที่การซื้อของแพง ในขณะที่หลายๆ ครั้งการจับจังหวะลงทุนเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายโดยเฉพาะปีที่ตลาดมีความผันผวนมากๆ การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging) น่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ข้างต้นและยังเป็นการสร้างวินัยการออมที่ดีอีกด้วย
สำหรับท่านยังมีความกังวลเกี่ยวกับความถูกความแพงของตลาดหุ้นไทย 4 ข้อแนะนำต่อไปนี้น่าจะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นครับ
6. Switching: หากท่านมีเงินออมไว้ในหุ้นอยู่แล้ว (หุ้นรายตัว, กองทุนรวมหุ้นไทย) การทำ switching ไปหากองทุน LTF ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีอย่างยิ่ง เพราะด้วยจำนวนเงินเดียวกัน ความเสี่ยงใกล้เคียงกัน ความถูกความแพงก็จะเป็นประเด็นรองไปเลย ยิ่งถ้าจากหุ้นรายตัวมาเป็นกองทุน LTF ก็ยิ่งดีเข้าไปอีก เพราะท่านได้ย้ายเงินไปสู่ปลายทางที่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ
7. LTF = Asset Class: ให้มองกองทุน LTF เสมือนเป็น Asset Class หนึ่งในการทำ Asset Allocation หมายความว่า ความถูกความแพงของตลาดหุ้นยังคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องเอาใจใส่ แต่ก็ไม่มากเท่ากับการจัดสรรเงินลงทุนตามความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ในแต่ละปีที่ผ่านไป ความมั่งคั่ง (wealth) ที่เพิ่มขึ้น ท่านยังคงสามารถเจียดเงินลงทุนตามตราสารประเภทต่างๆ ได้ เพียงแต่การใส่เงินเข้ากองทุน LTF อาจจะต้องถือนานกว่าหุ้นรายตัวอื่นๆ แต่ก็เป็นวินัยที่ดีในการลงทุน
8. ลดหย่อนภาษี = Loss Cushion: ให้มองยอดเงินลดหย่อนภาษีเสมือนเป็น Cushion ของความเสี่ยงหุ้นขาลง ซึ่งถ้าหุ้นปรับตัวลงไปมากพอๆ กับจำนวนเงินที่เราลดหย่อน ก็ยิ่งเป็นโอกาสที่จะทยอยซื้อเพิ่ม เพียงแต่อาจจะร่นเวลาการจัดสรรเงินลงทุนไปยังกองทุน LTF เร็วกว่าการทยอยซื้อตลอดปี ซึ่งก็เป็นทางเลือกที่ดีหากเรามีความยืดหยุ่นในการลงทุน
9. มองกันยาวๆ: หากท่านเป็นคนที่ลงทุนในกองทุน LTF เป็นประจำ ความถูกความแพงของตลาดหุ้นน่าจะเป็นสิ่งที่ไม่น่ากังวล เพราะหากดูผลตอบแทนย้อนหลังไป 2-3 ปี เมื่อนำผลตอบแทนมาเฉลี่ยกันแล้วน่าจะเป็นที่พอใจหากเปรียบเทียบกับตราสารประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ก็เพราะในปีที่ไม่ดีก่อนหน้า ก็มีปีที่ดีปีอื่นๆ ชดเชยกันไป
10. อย่ามองข้าม RMF: คนทำงานส่วนใหญ่มักลงทุนในกองทุน LTF เพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษี และไม่เลือกกองทุน RMF เพราะรู้สึกว่าต้องลงทุนต่อเนื่องจนครบอายุ 55 ปีจึงจะสามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนได้ ความจริงแล้ว กองทุน RMF เป็นเครื่องมือสำคัญของการออมเพื่อวัยเกษียณ การมีเงื่อนไขของเวลาเป็นการสร้างวินัยการออมป้องกันไม่ให้นำเงินก้อนนี้ไปใช้ระหว่างทาง
นอกจากนี้ กองทุน RMF ในปัจจุบันมีนโยบายการลงทุนให้เลือกหลากหลาย (หุ้นในประเทศ/ต่างประเทศ, ตราสารหนี้, สินค้าโภคภัณฑ์) ซึ่งสามารถตอบโจทย์นักลงทุนที่มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี
sithiphong:
สุขภาพการเงินที่แข็งแรง สร้างได้ไม่ยาก
-http://money.kapook.com/view104749.html-
สุขภาพการเงินที่แข็งแรง สร้างได้ไม่ยาก (ธนาคารกสิกรไทย)
สุขภาพการเงินที่แข็งแรงสามารถสร้างได้ โดยการออมเงินสม่ำเสมอทุกเดือน และแบ่งเงินออมบางส่วนไปลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก
หลังจากที่เราได้เช็คสุขภาพการเงินกันไปและได้ทราบผลตรวจสุขภาพการเงินของเราเอง โดยการตอบคำถาม 2 ข้อคือ ทุกวันนี้มีเงินใช้สบาย ๆ แบบที่ไม่มีหนี้ท่วมหัว และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องใช้เงิน ก็มีเงินสำรองเพียงพอไว้ใช้จ่ายกันแล้ว ในสัปดาห์นี้เรามาทำให้สุขภาพการเงินที่ดีของเรามีความแข็งแรงมากขึ้นดีกว่า ด้วยการทำตามคำแนะนำ 2 ข้อ ดังต่อไปนี้ค่ะ
ข้อ 1 เก็บออมเงินสม่ำเสมอทุกเดือน
หลังจากที่เราปลดหนี้ได้สำเร็จและมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6 เท่าของรายจ่ายในแต่ละเดือนแล้ว คราวนี้เราก็จะมีเงินเหลือสำหรับเก็บออมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน
แต่ถ้าใครรู้ตัวว่า ตัวเองเป็นคนใช้เงินเก่งและเก็บเงินไม่ค่อยอยู่ ก็ลองบังคับตัวเองให้ออมเงินก่อนอย่างน้อย 15% ของรายได้ต่อเดือน แล้วค่อยนำเงินที่เหลือจากการออมไปใช้จ่าย เช่น มีรายได้เดือนละ 15,000 บาท ก็ออมก่อน 15% คือ 2,250 บาท โดยแนะนำให้นำเงินส่วนนี้ไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี เนื่องจากเป็นบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีเงินฝากประเภทอื่น และดอกเบี้ยที่ได้ก็ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งบัญชีเงินฝากประเภทนี้จะเหมาะกับคนที่ออมเงินเป็นประจำ ยอดเงินเท่ากันทุกเดือน เช่น ออมเดือนละ 2,000 บาท และออมได้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปค่ะ
สำหรับใครที่สามารถออมเงินได้อย่างสม่ำเสมอทุกเดือนก็ถือว่าเก่งมากค่ะ แต่แค่นั้นยังไม่พอ ถ้าอยากให้สุขภาพการเงินของเราแข็งแรงขึ้นไปอีกก็ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ค่ะ
ข้อ 2 นำเงินไปลงทุนในรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก
เมื่อสามารถออมเงินได้สม่ำเสมอทุกเดือนแล้ว เราควรจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากเพื่อเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แต่จะเลือกลงทุนในรูปแบบไหนนั้น ให้ดูที่จุดประสงค์ในการใช้เงินและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เป็นหลักค่ะ เช่น หากยังไม่มีเป้าหมายในการใช้เงินระยะสั้น และรับความเสี่ยงได้ปานกลาง แนะนำให้แบ่งเงินออมส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมผสม ซึ่งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก แต่หากรับความเสี่ยงได้สูง แนะนำให้แบ่งเงินออมส่วนหนึ่งไปลงทุนในกองทุนรวมหุ้นเนื่องจากมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่ากองทุนรวมผสมค่ะ
ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยง เมื่อมีความเสี่ยงสูงขึ้น ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงหรือขาดทุนสูงได้เช่นกัน ดังนั้นเงินที่จะนำมาลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจะต้องเป็นเงินเย็นเท่านั้น และก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในรูปแบบใดก็ตาม ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นค่ะ
จะเห็นได้ว่า สุขภาพการเงินที่ดีและแข็งแรงสามารถสร้างได้ไม่ยาก เริ่มจาก
มีเงินใช้สบาย ๆ แบบที่ไม่มีหนี้ท่วมหัว
เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องใช้เงิน ก็มีเงินสำรองเพียงพอไว้ใช้จ่าย 6 เท่าของรายจ่ายในแต่ละเดือน โดยออมเงินไว้ในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น
มีเงินเหลือเก็บออมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน
นำเงินไปลงทุนในรูปแบบที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก
เพียงเท่านี้เราทุกคนก็จะมีสุขภาพการเงินที่ดีและแข็งแรงกันถ้วนหน้า หากวันนี้ใครยังไม่สามารถทำได้ครบทั้ง 4 ข้อ ก็อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป ขอเพียงเรามุ่งมั่น ตั้งใจ และมีเป้าหมายอย่างชัดเจน สักวันเราก็จะมีสุขภาพการเงินที่ดีและแข็งแรงได้ค่ะ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับที่ปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com และ เว็บบอร์ด K-Expert ซึ่งจัดทำขึ้นผ่านทางเว็บไซต์ www.askKBank.com/K-Expert และติดตามข่าวสารการเงินได้ที่ Twitter@KBank_Expert
Tips
จดบันทึกรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน และปรับลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลง
ศึกษารูปแบบการลงทุนที่สนใจอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
พยายามดูแลรักษาสุขภาพการเงินให้ดีและแข็งแรงอยู่เสมอ
sithiphong:
วิกฤตพลิกชีวิต...ล้มได้ ก็ลุกได้
-http://money.sanook.com/215569/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95...%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89/-
ตลาดหุ้นมีความผันผวนตลอดเวลา เมื่อมี “หุ้นขึ้น” ก็ต้องมี “หุ้นลง” สลับกันแบบนี้เรื่อยไป ไม่แตกต่างกับชีวิตของเราอาจจะเจอช่วง “ขาขึ้น” ที่เจอแต่สิ่งดีๆ ทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ จับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมดและบางช่วงอาจจะเป็น “ขาลง” ที่เจอแต่เรื่องแย่ๆหลายเรื่องพร้อมกัน เหมือนโปรโมชั่นชีวิตขาลงที่จะทำอะไรล้วนเจอแต่อุปสรรค หากเราเข้าใจสัจธรรมตรงนี้ก็จะสามารถทำใจและปรับตัวให้เข้ากับแต่ละสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น
คุณศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิ หรือที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในชื่อของ "ศิริวัฒน์แซนด์วิช" เป็นอดีตนักลงทุนที่ครั้งหนึ่งเคยประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตจากการเป็นผู้บริหารหลักทรัพย์และเจ้าของโครงการคอนโดมิเนียมมูลค่าหลายพันล้านบาทและรู้จักกับคำว่าล้มละลายในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ชีวิตที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมายเหล่านี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆคนที่เจอวิกฤตเช่นเดียวกันให้ผ่านพ้นมาได้ รวมถึงเป็นประสบการณ์ให้กับนักลงทุนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดีในเรื่องการลงทุนอย่างไม่ประมาท
3 บทเรียนจากวิกฤตพลิกชีวิต...ล้มได้ ก็ลุกได้
บทเรียนที่ 1 การประสบความสำเร็จนั้นนำไปสู่ความล้มเหลว
เมื่อเราทำอะไรที่ประสบความสำเร็จไปทุกอย่าง ทำธุรกิจอะไรก็เติบโตได้กำไรมากมายและไม่เคยล้มเหลวเลยนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะเราจะมีความมั่นใจสูงสุดว่าทุกอย่างต้องทำสำเร็จ เมื่อความมั่นใจมีมากล้นจนมองไม่เห็นสัญญาณของความล้มเหลวก็จะทำให้เราตัดสินใจด้วยความประมาท เช่น กู้เงินมาทำธุรกิจเพื่อให้กิจการขยายตัวเร็วที่สุดเพราะมั่นใจว่าเป็นโอกาสที่สร้างกำไรได้อย่างมหาศาล โดยไม่ระมัดระวังว่าหากเกิดเรื่องเลวร้ายขึ้นจะมีแผนสำรองอย่างไร เหมือนชีวิตที่ไม่รู้จักวางแผนฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากผลลัพธ์ออกมาไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิดไว้ ดังนั้น หากเรามีความมั่นใจกับทุกเรื่องก็ควรใส่คำว่า “ระมัดระวังและไม่ประมาท” เข้าไปด้วย เพื่อเป็นความมั่นใจที่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์
บทเรียนที่ 2 เราจะรู้สึกดีขึ้นหากเจอคนที่แย่กว่าเรา
ช่วงปี 40 หลายคนมีหนี้สินเพิ่มขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัวหรือถูกให้ออกจากงานกระทันหัน เมื่อไม่มีงานทำบวกกับหนี้สินพอกพูน ทำให้หลายคนเกิดความเครียด ไม่มีจิตใจที่อยากจะหายใจอยู่บนโลกนี้อีกต่อไปจึงหนีปัญหาด้วยวิธีฆ่าตัวตายมากขึ้นเพราะคิดว่าปัญหาของตนเองนั้นใหญ่เกินกว่าจะแก้ไขได้ จากกรณีของคุณศิริวัฒน์ที่ยืนขายแซนด์วิชก็มีทั้งคนที่มาให้กำลังใจให้เขาสู้ต่อไปและบางคนที่มาขอบคุณเรื่องราวหนี้สินพันล้าน จนทำให้เขาเลิกคิดฆ่าตัวตายเพราะทำให้รู้สึกว่าหนี้ของคนอื่นมากกว่าแต่ก็ยังสู้ชีวิต ส่วนหนี้ของตนเอง 15 ล้านนั้นดูเล็กลงไปมาก
บทเรียนที่ 3 ล้มได้...ก็ลุกได้
จิตใจที่ไม่เคยถูกกระทบกระเทือนจากความล้มเหลวนั้นเป็นเหมือนเพชรเม็ดงามที่ถูกฝังอยู่ในเหมืองไม่มีใครเห็นความงดงาม แต่ถ้าหากจิตใจผ่านพ้นเรื่องราวเลวร้ายที่สุดในชีวิตมาได้ก็จะเหมือนเพชรที่ถูกเจียระไนกลายเป็นเพชรเม็ดงามทรงคุณค่าที่ใครๆต้องการครอบครอง จากกรณีของคุณศิริวัฒน์ที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายจนทำให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความอดทนกับปัญหา กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และใช้ความรู้ความสามารถที่มีสร้างทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ได้
"ศิริวัฒน์แซนด์วิช" นับเป็นตัวอย่างประสบการณ์ชีวิตที่ครบรสชาติมากๆ ซึ่งคนรุ่นใหม่ควรศึกษาเป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อจะได้ระมัดระวังในการใช้ชีวิตและการลงทุนมากขึ้น แม้ว่าปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอาจจะแตกต่างกับในอดีต แต่เราสามารถนำวิธีคิดเหล่านี้ไปปรับใช้ได้ เพราะไม่มีใครสามารถคาดการณ์อนาคตถูกต้อง 100% เราเพียงใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทโดยเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตเป็นตัวนำทางเพื่อไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย
ผู้เขียน : อภินิหารเงินออม
สนับสนุนข้อมูลโดย : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (-www.set.or.th/onlineinvestor-)
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version